สุดยอดวิธีเก็บเงินแสนก้อนแรก ฉบับเด็กเพิ่งจบ!!

 
            “จะรีบลงทุนไปทำไม ยังไม่แก่เลย มีเวลาอีกเยอะ” “โหย...จะเอาเงินจากไหนมาออม รายได้ก็ยังไม่มี” “ใช้ไปก่อนละกัน เดี๋ยวทำงานแล้วค่อยเก็บเงิน” ข้อความต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นเพียงความคิดที่เกิดจากความไม่มั่นใจ หรือข้ออ้างในการออมเงิน  เนื่องจากยังเป็นนักศึกษาที่ต้องพึ่งพาคุณพ่อคุณแม่อยู่ วันนี้ผู้เขียนมีเทคนิคบริหารการเงินง่ายๆ มาฝาก เพื่อขจัดความคิดเหล่านี้ ให้กลายเป็นเงินแสนก้อนแรกเข้ากระเป๋าแทนค่ะ

            หากพูดถึงแหล่งเงินออม น้องๆ บางคนอาจเกิดข้อสงสัยว่า “แล้วเราจะเอาเงินมาจากไหน”...คำตอบคืออาจจะเป็นเงินค่าขนมที่ได้ทุกเดือน ซึ่งอาจต้องบริหารจัดการเงินให้ดีเพื่อจะได้มีเหลือไว้ออม หรือ อาจจะได้รับเป็นของขวัญจากญาติผู้ใหญ่ในเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน หรือสงกรานต์ นอกจากนี้ น้องๆ อาจใช้ความสามารถพิเศษเพื่อหารายได้เสริม เช่น รับงานฟรีแลนซ์ (ทำกราฟฟิก/ออกแบบ/ถ่ายภาพงานรับปริญญา/ถ่ายภาพวิว)  หรือการส่งผลงานเข้าประกวดชิงเงินรางวัล...พอจะนึกออกแล้วใช่ไหมละคะ จากนั้นเรามาดูเทคนิคบริหารการเงินต่อไปเลยค่ะ


 


ปรับความคิด
 
  • หาความฝันและสร้างแรงบันดาลใจด้วยการเรียนรู้
                ในยุคแห่ง Social Media ที่มีแต่คนแชร์เทคนิคการเก็บเงินด้วยวิธีต่างๆ เช่น วิธีการออมเงินด้วยแบงค์ 50 สมมติ 1 เดือนได้ 1,000 บาท 1 ปีก็จะเก็บได้ถึง 12,000 บาท นี่ถ้าเดือนไหนเจอแบงค์ 50 ถี่หน่อย จำนวนเงินออมก็เยอะขึ้น หรือการออมเงินวันละ 20 บาททุกวัน ครบ 1 ปี มีเงินออม 7,300 บาท หรือตั้งกฎหยอดเงินในกระปุกออมสินตัวโปรดทุกวัน โดยน้องๆ อาจค้นหาแรงบันดาลใจจากวิธีออมเงินของคนอื่นๆ แล้วนำมาลองใช้กับตัวเอง สัก 2-3 วิธี พอครบปีก็ลองมาคำนวณดูก่อน  ในปีต่อไปอาจปรับวิธีการออมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตอนนั้นด้วยก็ได้ค่ะ อย่าลืมว่าความสำเร็จ Copy  อย่างเดียวไม่ได้ ต้องลงมือทำด้วยนะคะ

รู้จักวางแผน
  • ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
            หนึ่งในการวางแผนการใช้เงิน คือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้รู้ว่าในแต่ละวันเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง เช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ค่าความบันเทิง น้องๆ ลองคิดเป็นสัดส่วนว่าในแต่ละเดือนเราใช้เงินจำนวนมากหมดไปกับอะไรบ้าง เพื่อเดือนต่อไปเราจะได้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังค่ะ
 
  • แบ่งสัดส่วนเงินออม
            หลังจากที่เราลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้แล้ว ก็จะมีเงินออมมากขึ้นใช่ไหมคะ ทีนี้เราลองมาแบ่งสัดส่วนการออมเงินดู สมมติเรามีเงินออมอยู่ 5,000 บาท อาจแบ่งเป็น ฝากบัญชีออมทรัพย์ 1 ส่วน ซื้อกองทุน 1 ส่วน และฝากประจำอีก 1 ส่วน เพื่อสร้างผลกำไรจากการลงทุนหลายๆ ทาง เนื่องจากการลงทุนแต่ละแบบให้ผลตอบแทนต่างกันค่ะ
 
  • สิทธิพิเศษอย่าปล่อยให้หลุดมือ
            นักเรียน-นักศึกษามักได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ซื้อบัตรรถไฟฟ้า ซื้อตั๋วภาพยนตร์ หรือส่วนลดในการรับประทานอาหาร แม้ว่าจะเป็นเงินเล็กๆน้อยๆ แต่ก็อย่ามองข้ามไปนะคะ เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ทำให้เงินออมของเราเพิ่มขึ้น
 
เริ่มลงมือทำ
  1. เปิดบัญชีเฉพาะ No ATM! 
            นอกจากบัญชีออมทรัพย์ที่มีกันอยู่แล้ว เราควรเปิดบัญชีเพิ่ม เพื่อแยกเงินออมออกจากเงินส่วนที่ใช้ประจำวัน เช่น การเปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ไม่มีบัตร ATM (เมื่อเป็นเงินออม บัตร ATM ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป) ซึ่งเป็นการสร้างความสม่ำเสมอและยังเป็นการสร้างนิสัยที่ดีในการออมเงินอีกด้วย
 
  1. ให้เงินทำงาน ด้วยการเลือกสไตล์เงินออมที่ใช่
            พอเริ่มมีเงินก้อนแล้ว ลองหาช่องทางการลงทุนอื่นๆ เพื่อให้เงินของเราทำงานดูบ้าง เช่น เปิดบัญชีฝากประจำที่มีตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าประเภทออมทรัพย์ ซื้อสลากออมสิน นอกจากจะได้รับดอกเบี้ยแล้ว ยังสามารถลุ้นรางวัลได้ทุกเดือน ซื้อกองทุน โดยพิจารณาจากความเสี่ยง แม้ว่าจะเลือกความเสี่ยงต่ำสุด ดอกเบี้ยที่ได้รับยังไงก็ดีกว่าการฝากประเภทออมทรัพย์แน่นอน ซื้อหุ้น ในส่วนนี้น้องๆ จำเป็นต้องมีความรู้และอาศัยประสบการณ์ของนักลงทุนอย่างมาก โดยวิธีการออมหุ้นที่มีประสิทธิผล คือ Value Averaging (VA) คือ ควบคุมให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตการลงทุนให้เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ และ Dollar Cost Averaging (DCA) คือ ลงทุนอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนเท่าๆกันทุกเดือนๆ ละ 5,000 บาท
 
            ทั้งนี้  สไตล์การลงทุนขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและจำนวนเงินจากการออมของเราด้วย รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้วยนะคะ ยังไงลองปรึกษากับผู้รู้ก่อนตัดสินใจลงทุนดีกว่าค่ะ เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ แต่ถ้าไม่ลงทุนเลยเสี่ยงกว่านะคะ
 
  1. ออมเงินเป็นเรื่องสนุก
            ฝึกนิสัยการออมเงินให้เป็นเรื่องสนุก โดยอาจหากิจกรรมทำร่วมกับเพื่อน หรือแชร์เทคนิคเวิร์คๆ ให้กัน เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าการออมเงินเป็นเรื่องน่าเบื่อ เมื่อออมเงินได้จำนวนหนึ่งแล้ว (โดยอาจตั้งเป้าไว้ 50% ก่อน) อย่าลืมให้รางวัลกับตัวเองบ้างนะคะ เพื่อที่จะได้มีกำลังใจสู้ต่อไปค่ะ

 
            นอกจากเทคนิคที่กล่าวมาแล้ว ก่อนจะตัดสินใจใช้จ่ายเงิน อย่าลืมคิดก่อนใช้ โดยให้ความสำคัญกับความจำเป็นก่อนความอยากนะคะ แล้วจะรู้ว่าเงินแสนในวัยเรียนเริ่มได้ไม่ยากค่ะ ^^
 
            อ่านสาระดีๆ  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการออมเงินที่ www.krungsri.com


 
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

4 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นิรนาม 20 ก.ย. 58 22:04 น. 4
มาร่วมกันใช้จ่ายอย่างประหยัดครับ แม้พวกเราไม่ได้หน้่าได้ตาจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจากการซื้อสินค้าและบริการสูงๆ แต่ว่าเงินในกระเป๋าพวกเราไม่แห้ง เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด