จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง? (เศรษศาสตร์)

 
 
คณะเศรษศาสตร์
 
ข้อมูลคณะในฝัน
 
จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
 
       เศรษศาสตร์เป็นคณะที่จบมาแล้วทำงานได้กว้างมากครับ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้ในหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่โบรกเกอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้า ที่ปรึกษาทางการเงิน ทำงานเกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้น อาจารย์และนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ นักลงทุน ธุรกิจส่วนตัว รวมถึงนักวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจครับ

          บัณฑิตจากคณะเศรษฐศาสตร์สามารถเข้าทำงานได้ ทั้งในหน่วยงานของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานเอกชน ตั้งแต่ธนาคาร
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์ไปช่วยวางแผนธุรกิจในบริษัทครับ
 
 
พี่ปอน
พี่ปอน - Webmaster Chief Commercial Officer (CCO)

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

พี่จบแล้ว 3 มิ.ย. 52 00:52 น. 2
1. wealth advisor นี่คาดว่าคงจะเป็นหนึ่งใน Financial Advisor ค่ะคือเป็นอาชีพที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษากับบริษัทที่เป็นลูกค้า หรือกับบุคคลที่ต้องการคำแนะนำในการบริหารเงิน และสินทรัพย์ที่มีอยู่ คำแนะนำที่เกี่ยวข้องก็เช่น: การปกป้องรักษาเงินที่มีอยู่,การนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด เป็นต้น
นี่เป้นอาชีพที่เป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ แต่ยังใหม่อยู่สำหรับไทย ส่วนมากของใทย อาชีพนี้จะเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารหรือประกันที่ขายสินค้าทางการเงินของสังกัดที่อยู่ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า (แต่ในอนาคต คงจะพัฒนาเป็นAdivsorอิสระที่ไม่ได้ขึ้นกับสถาบันใดๆ เหมือนกับต่างประเทศค่ะ)

2.โบรคเกอร์ จริงๆแล้วเป็นชื่อที่ใช้เรียกบริษัทที่ได้รับอณุญาติซื้อขายหลักทรัพย์(ถ้าเรียกง่ายๆกว้างๆก็อาจจะเรียกว่า "หุ้น") เพราะบุคคลทั่วไปถ้าจะทำการซื้อขายหุ้นต้องทำผ่านบริษัทดังกล่าวเท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายได้ด้วยตนเอง โดย โบรคเกอร์จะรับจัดการเปนผู้ซื้อขายหลักทรัพยให้เรา ส่วนเจ้าหน้าที่ จะมีหลายแบบ คือ มีตั้งแต่ Maketer หรือคนที่เป็นฝ่ายขาย(หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าBrokerก็คือคนนี้ค่ะ) มีหน้าที่ป้อนคำสั่งซื้อขายให้ลูกค้า นอกจากนี้ คนเหล่านี้อาจจะแนะนำ รวมถึงวิเคราะห์หลักทรัพย์แต่ละตัวได้ ถ้าหากสอบผ่านเป็นผู้วิเคราะห์หลักทรัพย์ตามกำหนด เช่นการสอบ CFA เป็นต้น(CFAก้อยังแบ่งเป็นอีกหลายเลเวลเหมือนกัน)

นอกจากสองอาชีพที่กล่าวมา เด็กที่จบเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะทำงานกับธนาคารพาณิชย์(ได้เกือบทุกตำแหน่ง เพราะใช้พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก) ข้อดีคือ จะมีความมั่นคงสูงมาก แต่อาจจะน่าเบื่อสำหรับบางคน
หรือบางคนอาจะเลือกทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นนักวิเคราะห์หรือวิจัยเศรษฐกิจของประเทศก็ได้ค่ะ หลายคนบอกว่าทำแล้วท้าทาย เน้นทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เต็มๆ

เศรษฐศาสตร์มีส่วนช่วยอย่างมากในการทำความเข้าใจรวมถึงการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการเงินการคลังของประเทศค่ะ การเพิ่ม หรือลดดอกเบี้ย หรือการเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกินด้วยวิธีต่างๆที่รัฐบาลหรือแบ๊งชาติชอบออกมาประกาศบ่อยๆ ล้วนแล้วแต่สามารถอธิบายได้ด้วยเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าน้องอยากเป็นผู้ว่าแบ๊งชาติ หรือเป็นรัฐนตรีกระทรวงการคลัง น้องก็ควรจบเศรษฐศาสตร์นะคะ
หรือ อย่างน้อย น้องๆที่เรียนไป ไม่จำเป็นต้องเป็นProหรือได้เกียรตินิยม ก็ต้องเข้าใจว่า"มันทำไปทำไม" คือถ้า ไม่ได้จะจบมาเอาดีทางเศรษฐศาสตร์โดยตรง อย่างน้อยน้องก็น่าจะอ่านหนังสือพิมพ์รู้เรื่องนะคะ(เหนไหม มีประโยชน์สุดๆ5555)

สุดท้ายค่ะ อยากจะบอกว่า จริงๆแล้ว เศรษฐศาสตร์คือ "ศาสตร์แห่งการเลือก" ค่ะ นี่คือหัวใจของวิชานี้

(ไม่ใช่แค่ "การเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด.....ฯลฯ" อย่างที่น้องเคยเรียนในหนังสืออย่างเดียวนะคะ อย่างน้อย ถ้าน้องได้ไปสอบสัมภาษณ์ ก็จะได้ไม่ใช้ประโยคนี้ เดี๋ยวจะซ้ำกับเพื่อนๆ5555)

คณะนี้จะสอนวิธีคิดและวิธีการ"เลือก" และอธิบาย ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต(ใช่ค่ะ ถ้าน้องจะใช้ มันใช้ได้หมดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องระดับชาติ ไปจนถึงเรื่องความรัก)ได้อย่างมีเหตุผล ไม่มากก็น้อยค่ะ

หวังว่าคงช่วยได้บ้างนะคะ
0
กำลังโหลด
พี่จบแล้ว 10 พ.ย. 53 16:05 น. 15
ถ้าจะเรียนเศรษฐศาสตร์ให้ได้ดี(คือเรียนแล้วเข้าใจจริงๆ เอาไปประยุกต์ใช้ได้) พื้นฐานเลขก็ค่อนข้างจำเป็นเหมือนกันค่ะ เพราะวิชาส่วนมากจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐาน หรือสร้างแบบจำลองสถานการณ์จริง(ที่เค้าเรียกว่า Modelนี่แหละค่ะ) เพราะนักเศรษฐศาสตร์จะชอบตั้งคำถามและหาคำตอบโดยการจำลองสถานการณ์ และหาทางที่ลงทุนน้อยที่สุดและได้ประโยชน์สูงสุด ซึงเรื่องพวกนี้ส่วนมากต้องใช้ความรู้ด้านการคำนวณและหลักสถิติเข้ามาช่วยค่ะ

เช่น ถ้าเราอยากรู้ว่าจะไปกินข้าวร้านชื่อดังอาหารอร่อยราคาแพงหน่อย แล้วก็เดินทางไกล กับไปกินร้านแถวบ้านแต่ไม่อร่อยเท่า แต่ราคาถูก อันไหนจะทำให้เราพอใจมากกว่ากัน เราอาจจะใช้หลักเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยเรา"เลือก"อย่างมีระบบ โดยการตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเราให้ความสำคัญกับรสชาติ ราคา และความขี้เกียจ เป็นตัวเลขเท่านี้ แล้วสมมติให้คะแนนของแต่ละร้านในแต่ละด้านเป็นตัวเลข(สมมติว่าไม่มีปัจจัยอื่นมาเกี่ยว เช่นแฟนอยากกินที่อื่น หรือ ร้านปิด)ถ้าเราตีข้อมูลทั้งหมดเป็นตัวเลขแล้วนำมาหาค่าความพอใจสูงสุด เราก็จะสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุด

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะเริ่มคิดแล้วว่า 'เรื่องแค่นี้ไม่เห็นต้องใช้เลขเลย แค่นึกแล้วเปรียบเทียบเอาก็ได้แล้ว' แต่สถาณการณ์บางอย่างที่มีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวขอ้งเยอะๆ หรือเรื่องการตัดสินใจระดับชาติมันจะซับซ้อนกว่านี้มาก หรือถ้าเป็นเรื่องง่ายๆ การคำนวนจะทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่าตัดสินใจไม่ผิดพลาด เพราะจะมีความแม่นยำกว่า

ส่วนเรื่องถ้าไม่เก่งเลขแล้วจะเรียนรอดมั๊ย พี่บอกได้เลยว่ารอดค่ะ เพราะพี่ก็ไมเก่งเลขอย่างแรงเหมือนกัน ขนาดที่ว่าคะแนนเลขทีสอบติดเข้ามาน้อยกว่าเพื่อนสายภาษาที่เข้าไปมั่วในห้องสอบเล่นๆอะค่ะ - -" แต่ก็ผ่านมาได้ แต่ว่าความรู้ที่ได้ก้องูๆปลาๆ จะไปเอาดีเต็มที่ด้านสร้างโมเดลนี่คงไม่ไหว
ก่อนที่น้องๆจะหมดศัทธากะพี่นะคะ พี่ขอแก้ตัวก่อนว่า พี่เรียนอยู่สถาบันที่น้องๆหลายคนอยากเข้าแน่ๆค่ะ (สอบเค้ามาได้ด้วยวิชาอื่นค่ะ) ดังนั้น สิ่งที่พี่บอกน้องๆไปพี่ไม่ได้มั่วนิ่มนะคะ โดยเฉพาะเรื่องไม่เก่งเลขนี่ confirm ค่ะ 55555

เรียนเศรษฐศาสตร์นี่ถ้าชอบเลขกับสถิติจะช่วยได้มาก แต่ถ้าไม่ชอบก็ยังเรียนสนุกอยู่ค่ะ ถ้าชอบวิธีการคิดของนักเศรษฐศาสตร์นะคะ(แต่เกรดอาจจะไม่ค่อยงาม)

ดังนั้น ทางที่ดี น้องๆควรจะเตรียมตัวปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ไว้ค่ะ เวลาเข้าไปเรียนจะได้ไม่ลำบาก ถ้าใครชอบอ่านหนังสือแนะนำให้ไปลองหาหนังสือเกี่ยวกับ basic statistics หรือ math for economics มาพลิกดูเล่นๆ เพราะจะบอกว่า หนังสือที่ใช้เรียนจริงส่วนใหญ่(โดยเฉพาะที่เป็นภาษาไทย) มันจะอ่านยาก(มวากก) เข้าใจยากสุดๆ ถ้าเป็นไปได้ให้ลองกัดฟันอ่านหนังสือ math ดีๆแทนค่ะ เพราะหนังสือเมืองนอก (ถ้าเลือกดีๆ) จะอธิบายตั้งแต่เริ่มต้นว่าทำไมต้องเรียน สูตรนี้มาจากไหน เอาไปทำอะไรได้ แล้วจะใช้เมื่อไหร่ยังไง อ่านแล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดค่ะ
น้องคนไหนมีคำถามอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามพี่ได้นะคะ เพราะพี่ไม่ค่อยได้เข้ามาดู (ขอโทษที่มาตอบช้าค่ะ)
0
กำลังโหลด
พี่จบแล้ว 19 มี.ค. 53 15:26 น. 7
เศรษฐศาสตร์กับบัญชีนี่ไม่เหมือนกันเลยจ้า เศรษฐศาสตร์จะเน้นการมองและวิเคราะห์เศรษฐกิจในมุมกว้างมากกว่า
ส่วนบัญชีนี่ก็น่าจะแล้วแต่ว่าเรียนบัญชีสายอะไร แต่เท่าที่พี่เข้าใจ บัญชีจะเน้นวิชาชีพมากกว่าทฤษฎี สายหลักๆบัญชีก็น่าจะมี Audit กะ Corporate Control อันแรกน่าจะเรียนเกี่ยวกับการตรวจสอบงบการเงินของบริษัท ส่วนอีกอันน่าจะเกี่ยวกับการใช้การเงินเปน็นเครื่องมือในการบริหารบริษัท เช่นการตั้งเงินเดือนหรือโบนัสให้มีผลกับการทำงานของลูกจ้าง อย่างเช่นการผูกโบนัสไว้กับราคาหุ้นของบรัษัท หรืออะไรพวกนี้ (อันนี้เป็นความเข้าใจแบบผิวเผินจากคนที่ไม่ได้จบบัญชี ถ้าเข้าใจผิดก็ขอโทษพี่ที่เรียนบัญชีด้วยจ้า)
อีกอย่างที่สำคัญ เศรษฐศาสตร์จะไม่มีสายที่เกี่ยวกับ Finance โดยตรง วิชาด้านการเงินของเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวกับการเงินในระบบเศรษฐกิจทั้งระบบแล้วก็พวกนโยบายการเงินการคลังของรัฐกับธนาคารมากกว่า(Monetary) ในขณะที่การเงินของบัญชีจะเกี่ยวข้องกับ ตลาดเงิน ตลาดทุน (Finance) โดยเฉพาะ
โทษที ที่พี่มาตอบช้า หวังว่าคงไม่ช้าไปนะจ๊ะ
1
พลอย 22 พ.ค. 58 18:59 น. 7-1
หนูอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ค่ะ แต่ไม่เก่งเลขเลย แต่หนูชอบสถิติมาก ตอนนี้พยายามฝึกทำโจทย์ทุกวัน หนูอยู่ม.6ค่ะ อยู่สายศิลป์ภาษาจีน หนูจะได้มั้ยคะ แล้วแต่ละสาขาเรียนแล้วไปทำงานอะไรได้บ้างคะ หนูอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ เอกธุรกิจค่ะ จบไปทำงานอะไรได้บ้างคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Karine!! et ~KiaT_T~ Community 6 ส.ค. 54 14:18 น. 25
^
^
^
 ได้ค่ะ
สามารถสอบได้ และถ้าสอบผ่านทั้งข้อเขียนและสัมภาษณ์ก็ได้เรียน
แต่บางที่ก็ต้องการประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ 
0
กำลังโหลด

45 ความคิดเห็น

นิสิตเสดสาด 7 พ.ค. 52 21:52 น. 1
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่จบเสดสาดแล้วทำได้อะค่ะ
ที่สนใจอยู่ (แต่ไม่รู้จะถามใคร และสามารถไขข้อข้องใจได้ 55) ก็คือ

1.wealth advisor นี่มีหน้าที่อย่างไรบ้างคะ ทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง
2.สนใจอาชีพ นายหน้าโบรกเกอร์อะค่ะ ทำหน้าที่อะไรคะ และทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง

โดยส่วนตัวแล้ว อยากทำงานที่ได้วิเคราะห์ และได้พบปะคนเยอะๆอะค่ะ สนใจงานพวกหลักทรัพย์
ไม่ทราบว่า มีอาชีพไหนที่น่าสนใจอีกมั้ยคะ ที่จบตรีเสดสาด แล้วไปทำแนวที่เขียนไว้ข้างต้นได้อะค่ะ

ขอบคุนมากนะคะ ^^
0
กำลังโหลด
พี่จบแล้ว 3 มิ.ย. 52 00:52 น. 2
1. wealth advisor นี่คาดว่าคงจะเป็นหนึ่งใน Financial Advisor ค่ะคือเป็นอาชีพที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษากับบริษัทที่เป็นลูกค้า หรือกับบุคคลที่ต้องการคำแนะนำในการบริหารเงิน และสินทรัพย์ที่มีอยู่ คำแนะนำที่เกี่ยวข้องก็เช่น: การปกป้องรักษาเงินที่มีอยู่,การนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด เป็นต้น
นี่เป้นอาชีพที่เป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ แต่ยังใหม่อยู่สำหรับไทย ส่วนมากของใทย อาชีพนี้จะเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารหรือประกันที่ขายสินค้าทางการเงินของสังกัดที่อยู่ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า (แต่ในอนาคต คงจะพัฒนาเป็นAdivsorอิสระที่ไม่ได้ขึ้นกับสถาบันใดๆ เหมือนกับต่างประเทศค่ะ)

2.โบรคเกอร์ จริงๆแล้วเป็นชื่อที่ใช้เรียกบริษัทที่ได้รับอณุญาติซื้อขายหลักทรัพย์(ถ้าเรียกง่ายๆกว้างๆก็อาจจะเรียกว่า "หุ้น") เพราะบุคคลทั่วไปถ้าจะทำการซื้อขายหุ้นต้องทำผ่านบริษัทดังกล่าวเท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายได้ด้วยตนเอง โดย โบรคเกอร์จะรับจัดการเปนผู้ซื้อขายหลักทรัพยให้เรา ส่วนเจ้าหน้าที่ จะมีหลายแบบ คือ มีตั้งแต่ Maketer หรือคนที่เป็นฝ่ายขาย(หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าBrokerก็คือคนนี้ค่ะ) มีหน้าที่ป้อนคำสั่งซื้อขายให้ลูกค้า นอกจากนี้ คนเหล่านี้อาจจะแนะนำ รวมถึงวิเคราะห์หลักทรัพย์แต่ละตัวได้ ถ้าหากสอบผ่านเป็นผู้วิเคราะห์หลักทรัพย์ตามกำหนด เช่นการสอบ CFA เป็นต้น(CFAก้อยังแบ่งเป็นอีกหลายเลเวลเหมือนกัน)

นอกจากสองอาชีพที่กล่าวมา เด็กที่จบเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะทำงานกับธนาคารพาณิชย์(ได้เกือบทุกตำแหน่ง เพราะใช้พื้นฐานเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก) ข้อดีคือ จะมีความมั่นคงสูงมาก แต่อาจจะน่าเบื่อสำหรับบางคน
หรือบางคนอาจะเลือกทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นนักวิเคราะห์หรือวิจัยเศรษฐกิจของประเทศก็ได้ค่ะ หลายคนบอกว่าทำแล้วท้าทาย เน้นทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เต็มๆ

เศรษฐศาสตร์มีส่วนช่วยอย่างมากในการทำความเข้าใจรวมถึงการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการเงินการคลังของประเทศค่ะ การเพิ่ม หรือลดดอกเบี้ย หรือการเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกินด้วยวิธีต่างๆที่รัฐบาลหรือแบ๊งชาติชอบออกมาประกาศบ่อยๆ ล้วนแล้วแต่สามารถอธิบายได้ด้วยเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าน้องอยากเป็นผู้ว่าแบ๊งชาติ หรือเป็นรัฐนตรีกระทรวงการคลัง น้องก็ควรจบเศรษฐศาสตร์นะคะ
หรือ อย่างน้อย น้องๆที่เรียนไป ไม่จำเป็นต้องเป็นProหรือได้เกียรตินิยม ก็ต้องเข้าใจว่า"มันทำไปทำไม" คือถ้า ไม่ได้จะจบมาเอาดีทางเศรษฐศาสตร์โดยตรง อย่างน้อยน้องก็น่าจะอ่านหนังสือพิมพ์รู้เรื่องนะคะ(เหนไหม มีประโยชน์สุดๆ5555)

สุดท้ายค่ะ อยากจะบอกว่า จริงๆแล้ว เศรษฐศาสตร์คือ "ศาสตร์แห่งการเลือก" ค่ะ นี่คือหัวใจของวิชานี้

(ไม่ใช่แค่ "การเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด.....ฯลฯ" อย่างที่น้องเคยเรียนในหนังสืออย่างเดียวนะคะ อย่างน้อย ถ้าน้องได้ไปสอบสัมภาษณ์ ก็จะได้ไม่ใช้ประโยคนี้ เดี๋ยวจะซ้ำกับเพื่อนๆ5555)

คณะนี้จะสอนวิธีคิดและวิธีการ"เลือก" และอธิบาย ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต(ใช่ค่ะ ถ้าน้องจะใช้ มันใช้ได้หมดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องระดับชาติ ไปจนถึงเรื่องความรัก)ได้อย่างมีเหตุผล ไม่มากก็น้อยค่ะ

หวังว่าคงช่วยได้บ้างนะคะ
0
กำลังโหลด
Esther-yui 23 ก.ค. 52 02:02 น. 3
ว้าวว ...ขอบคุณข้อมูลดีๆของความคิดเห็นที่สองน๊ะค่ะ

เราเพิ่งเข้ามาอ่าน กำลังสนใจอยู่สองคณะ คือ เศรษศาสตร์กับรัฐศาสตร์

ก็เลยต้องหาข้อมูลเกียวกับสองคณะนี้ให้มากๆ ว่าเค้าเรียนอะไรบ้าง จบมาแล้วทำอะไร เงี้ยอ่ะค่ะ

ยังไงก้อขอบคุณน่ะค่ะ~
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
พี่จบแล้ว 19 มี.ค. 53 15:26 น. 7
เศรษฐศาสตร์กับบัญชีนี่ไม่เหมือนกันเลยจ้า เศรษฐศาสตร์จะเน้นการมองและวิเคราะห์เศรษฐกิจในมุมกว้างมากกว่า
ส่วนบัญชีนี่ก็น่าจะแล้วแต่ว่าเรียนบัญชีสายอะไร แต่เท่าที่พี่เข้าใจ บัญชีจะเน้นวิชาชีพมากกว่าทฤษฎี สายหลักๆบัญชีก็น่าจะมี Audit กะ Corporate Control อันแรกน่าจะเรียนเกี่ยวกับการตรวจสอบงบการเงินของบริษัท ส่วนอีกอันน่าจะเกี่ยวกับการใช้การเงินเปน็นเครื่องมือในการบริหารบริษัท เช่นการตั้งเงินเดือนหรือโบนัสให้มีผลกับการทำงานของลูกจ้าง อย่างเช่นการผูกโบนัสไว้กับราคาหุ้นของบรัษัท หรืออะไรพวกนี้ (อันนี้เป็นความเข้าใจแบบผิวเผินจากคนที่ไม่ได้จบบัญชี ถ้าเข้าใจผิดก็ขอโทษพี่ที่เรียนบัญชีด้วยจ้า)
อีกอย่างที่สำคัญ เศรษฐศาสตร์จะไม่มีสายที่เกี่ยวกับ Finance โดยตรง วิชาด้านการเงินของเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวกับการเงินในระบบเศรษฐกิจทั้งระบบแล้วก็พวกนโยบายการเงินการคลังของรัฐกับธนาคารมากกว่า(Monetary) ในขณะที่การเงินของบัญชีจะเกี่ยวข้องกับ ตลาดเงิน ตลาดทุน (Finance) โดยเฉพาะ
โทษที ที่พี่มาตอบช้า หวังว่าคงไม่ช้าไปนะจ๊ะ
1
พลอย 22 พ.ค. 58 18:59 น. 7-1
หนูอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ค่ะ แต่ไม่เก่งเลขเลย แต่หนูชอบสถิติมาก ตอนนี้พยายามฝึกทำโจทย์ทุกวัน หนูอยู่ม.6ค่ะ อยู่สายศิลป์ภาษาจีน หนูจะได้มั้ยคะ แล้วแต่ละสาขาเรียนแล้วไปทำงานอะไรได้บ้างคะ หนูอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ เอกธุรกิจค่ะ จบไปทำงานอะไรได้บ้างคะ
0
กำลังโหลด
ซุ่มยิง 22 มี.ค. 53 21:54 น. 8
ขอบคุณ "พี่จบแล้ว" มากเลย ครับ ทำให้ผมมีแรงบันดาล เพิ่มขึ้น เยอะ เลย
แล้วไม่ทราบว่าพี่จบที่ไหน ครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
วุฒิคร๊าฟ 4 พ.ย. 53 17:56 น. 13
หวาดดีคร๊าฟ เพื่อนๆๆเศรษฐศาสตร์ทุกท่าน
เรียนเหมือนกัน เศรษฐศาสตร์การเงิน วิเคราะห์ ล้วนๆๆ (สายนี้เหมือนคนโรคจิต ไปไหนเหมือนคนคิดมาก อิอิๆๆ)
0
กำลังโหลด
4114 Member 7 พ.ย. 53 20:03 น. 14

อยากเข้าเศรษฐศาสตร์เหมือนกันค่ะ

แต่ต้องเลขมากๆๆเลย ป่ะค่ะ

ตนที่เรียนเลขได้ปานกลาง มีสิทธิลุ้นรึป่าว??

0
กำลังโหลด
พี่จบแล้ว 10 พ.ย. 53 16:05 น. 15
ถ้าจะเรียนเศรษฐศาสตร์ให้ได้ดี(คือเรียนแล้วเข้าใจจริงๆ เอาไปประยุกต์ใช้ได้) พื้นฐานเลขก็ค่อนข้างจำเป็นเหมือนกันค่ะ เพราะวิชาส่วนมากจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐาน หรือสร้างแบบจำลองสถานการณ์จริง(ที่เค้าเรียกว่า Modelนี่แหละค่ะ) เพราะนักเศรษฐศาสตร์จะชอบตั้งคำถามและหาคำตอบโดยการจำลองสถานการณ์ และหาทางที่ลงทุนน้อยที่สุดและได้ประโยชน์สูงสุด ซึงเรื่องพวกนี้ส่วนมากต้องใช้ความรู้ด้านการคำนวณและหลักสถิติเข้ามาช่วยค่ะ

เช่น ถ้าเราอยากรู้ว่าจะไปกินข้าวร้านชื่อดังอาหารอร่อยราคาแพงหน่อย แล้วก็เดินทางไกล กับไปกินร้านแถวบ้านแต่ไม่อร่อยเท่า แต่ราคาถูก อันไหนจะทำให้เราพอใจมากกว่ากัน เราอาจจะใช้หลักเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยเรา"เลือก"อย่างมีระบบ โดยการตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเราให้ความสำคัญกับรสชาติ ราคา และความขี้เกียจ เป็นตัวเลขเท่านี้ แล้วสมมติให้คะแนนของแต่ละร้านในแต่ละด้านเป็นตัวเลข(สมมติว่าไม่มีปัจจัยอื่นมาเกี่ยว เช่นแฟนอยากกินที่อื่น หรือ ร้านปิด)ถ้าเราตีข้อมูลทั้งหมดเป็นตัวเลขแล้วนำมาหาค่าความพอใจสูงสุด เราก็จะสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุด

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะเริ่มคิดแล้วว่า 'เรื่องแค่นี้ไม่เห็นต้องใช้เลขเลย แค่นึกแล้วเปรียบเทียบเอาก็ได้แล้ว' แต่สถาณการณ์บางอย่างที่มีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวขอ้งเยอะๆ หรือเรื่องการตัดสินใจระดับชาติมันจะซับซ้อนกว่านี้มาก หรือถ้าเป็นเรื่องง่ายๆ การคำนวนจะทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่าตัดสินใจไม่ผิดพลาด เพราะจะมีความแม่นยำกว่า

ส่วนเรื่องถ้าไม่เก่งเลขแล้วจะเรียนรอดมั๊ย พี่บอกได้เลยว่ารอดค่ะ เพราะพี่ก็ไมเก่งเลขอย่างแรงเหมือนกัน ขนาดที่ว่าคะแนนเลขทีสอบติดเข้ามาน้อยกว่าเพื่อนสายภาษาที่เข้าไปมั่วในห้องสอบเล่นๆอะค่ะ - -" แต่ก็ผ่านมาได้ แต่ว่าความรู้ที่ได้ก้องูๆปลาๆ จะไปเอาดีเต็มที่ด้านสร้างโมเดลนี่คงไม่ไหว
ก่อนที่น้องๆจะหมดศัทธากะพี่นะคะ พี่ขอแก้ตัวก่อนว่า พี่เรียนอยู่สถาบันที่น้องๆหลายคนอยากเข้าแน่ๆค่ะ (สอบเค้ามาได้ด้วยวิชาอื่นค่ะ) ดังนั้น สิ่งที่พี่บอกน้องๆไปพี่ไม่ได้มั่วนิ่มนะคะ โดยเฉพาะเรื่องไม่เก่งเลขนี่ confirm ค่ะ 55555

เรียนเศรษฐศาสตร์นี่ถ้าชอบเลขกับสถิติจะช่วยได้มาก แต่ถ้าไม่ชอบก็ยังเรียนสนุกอยู่ค่ะ ถ้าชอบวิธีการคิดของนักเศรษฐศาสตร์นะคะ(แต่เกรดอาจจะไม่ค่อยงาม)

ดังนั้น ทางที่ดี น้องๆควรจะเตรียมตัวปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ไว้ค่ะ เวลาเข้าไปเรียนจะได้ไม่ลำบาก ถ้าใครชอบอ่านหนังสือแนะนำให้ไปลองหาหนังสือเกี่ยวกับ basic statistics หรือ math for economics มาพลิกดูเล่นๆ เพราะจะบอกว่า หนังสือที่ใช้เรียนจริงส่วนใหญ่(โดยเฉพาะที่เป็นภาษาไทย) มันจะอ่านยาก(มวากก) เข้าใจยากสุดๆ ถ้าเป็นไปได้ให้ลองกัดฟันอ่านหนังสือ math ดีๆแทนค่ะ เพราะหนังสือเมืองนอก (ถ้าเลือกดีๆ) จะอธิบายตั้งแต่เริ่มต้นว่าทำไมต้องเรียน สูตรนี้มาจากไหน เอาไปทำอะไรได้ แล้วจะใช้เมื่อไหร่ยังไง อ่านแล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดค่ะ
น้องคนไหนมีคำถามอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามพี่ได้นะคะ เพราะพี่ไม่ค่อยได้เข้ามาดู (ขอโทษที่มาตอบช้าค่ะ)
0
กำลังโหลด
เรียนเหมือนกัน 17 พ.ย. 53 18:20 น. 16
"ทรัพยากรมีจำกัด แต่ ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด"
เศรษฐศาสต์จึงเกิดขึ้น คุณว่ามั้ย......หิหิ
เรียนเหมือนกัน จ๊ะ ปี4แล้วจ๊ะ เศรษฐศาสตร์การเงิน
0
กำลังโหลด
นู๋น้ามเสดสาดขอนแก่นจร้า 15 ม.ค. 54 00:12 น. 17
เรียนเสดสาดด้ายรัยมากกว่าที่คุนคิด เค้าเองก้อปีสองเเล้ว จบด้ายสามปีชัวร์ สู้ๆๆคระเปงกะลังจัยไห้ เสดสาดจร้าๆๆๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
วุฒิ 30 เม.ย. 54 12:41 น. 20
อืมๆ จริงๆ ได้ตัดสินใจอะไรได้มากเลยคร๊าฟ
ผมคิดว่า เศรษฐศาสตร์น่าจะปรับใช้อะไรได้เยอะมากเลยที่เดียว
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด