คณะครุศาสตร์ Issue 003 week3, August 2009
คณะคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ตอนที่ 3/4 : จากรุ่นพี่ถึงรุ่นน้อง : ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย
เสียงจากศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
        สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com คณะในฝันประจำเดือนตุลาคมก็เข้าสู่เดือนที่ 3 แล้ว เรายังคงอยู่กันที่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
วันนี้พี่เป้จะพาน้องๆ มาพูดคุยกับรุ่นพี่ที่จบจากรั้วมหาวิทยาลัยไปแล้ว เราไปดูกันเลยดีกว่าตอนนี้พี่ๆ เค้าทำงานอะไรที่ไหน
ประสบความสำเร็จกันแค่ไหนแล้ว
รุ่นพี่คนที่ 1: พี่ ป้อม - พรยศ มณีโชติปีติ
อาชีพ : Animator บริษัท IMAGIMAX,อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พี่เป้: ช่วยแนะนำตัวให้น้องๆ รู้จักหน่อยค่ะ?
พี่ป้อม: ชื่อ พี่ป้อม พรยศ มณีโชติปีติ จบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาไม่มีนะ ตอนผมเรียนมีแค่ สถาปัตย์ฯ กับสถาปัตย์ฯไทย
พี่เป้: การเรียนตอนนั้นเป็นยังไงบ้างคะ?
พี่ป้อม: บรรยากาศตอนเรียน ดีครับ วิชาความรู้แน่นมาก เน้นปฎิบัติไปพร้อมๆ กับทฤษฎี ทำให้จดจำได้ง่าย โดยเฉพาะวิชาโครงสร้างอาคารของอาจารย์ชัยชาญ โหดมาก แต่ผ่านมาได้ก็รู้สึกดี 555 ผมชอบปฏิบัตินะ มันได้ลองได้ทำ ท่องอย่างเดียวไม่ได้ทำ เดี๋ยวก็ลืม แถมเวลาเจอปัญหาตอนทำ ก็จะได้ถามเพื่อนถามอาจารย์ได้
พี่เป้: แล้วสังคมสถาปัตย์ ศิลปากรเป็นยังไงบ้างคะ?
พี่ป้อม: สังคมก็แบบพี่ น้อง เพื่อน กันเอง สนุก เฮฮา อย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ชอบมาก เห็นรุ่นพี่บางคนหน้าโหดๆ แต่จริงๆแล้วฮาแตก 555 คณะเราเมื่อก่อนก็ไม่ใหญ่มาก รุ่นผมมีอยู่ 72 คน ก็เลยรู้จักคุ้นเคยกันดี มีอะไรก็ช่วยกันบ้าง ตอนมีงานก็แบ่งๆ กันทำในหมู่เพื่อน คณะนี้ถ้าขยันก็หาเงินได้ตั้งแต่ปี 1 เลยนะ
พี่เป้: แล้วตอนนี้พี่ป้อมทำงานอะไรอยู่คะ?
พี่ป้อม: ตอนนี้จบมา เป็น animator อยู่ที่บริษัท IMAGIMAX ถึงจะไม่ใช่งานสถาปัตย์โดยตรง ก็เอาพวกหลักการคิด ขั้นตอนการทำงาน จากที่เรียนมาประยุคใช้ได้ งานที่รับผิดชอบก็พวก 3D model background character lighting /rendering /composite Paint Texture แล้วแต่โปรเจคท์ครับ บางโปรเจ็คก็ทำแค่โมเดล บางโปรเจคท์ก็ทำเกือบหมด
 
 
พี่เป้: แล้วปัญหาที่มักพบในการทำงานมีอะไรบ้างคะ?
พี่ป้อม: ปัญหาที่มักจะเจอคือ lan หลุด ไฟดับ ไฟล์งานลก render ไม่ไหว แต่ก็พอแก้ไขได้ บางทีก็แก้ง่าย บางทีก็ต้องทำใหม่ วงการการ์ตูนไทย..... อันนี้พูดไปแล้วเอาลงเว็บจะอันตรายมั้ยหว่า "ยังไม่ได้รับการสนับสนุนในทางที่ควร จากผู้ใหญ่ และส่งเสริมยังไม่ตรงจุด"
พี่เป้: แล้วเพื่อนๆ ที่จบไปทำงานอะไรกันบ้างคะ?
พี่ป้อม: เพื่อนๆ ที่จบไป ส่วนมากก็ทำงานสายตรงนะ คือทำสถาปัตย์เป็นหลัก แล้วก็มีทำเว็บ กิจการส่วนตัว ขายเสื้อผ้า รองเท้า ร้านอาหาร ทำหนังสือเป็นคอลัมนิสท์ ทำevent
พี่เป้: สุดท้ายนี้อยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้หน่อยค่ะ?
พี่ป้อม: ฝากถึงน้องๆ ที่จะเข้าคณะนี้ และคณะอื่นๆ เลยด้วย อย่าฝืนตัวเองหรือเลือกตามเพื่อนตามผู้ใหญ่บังคับ ถ้าอยากจะเรียนจริงๆ ต้องเตรียมใจเหนื่อยไว้ได้เลย ปีแรกต้องปรับตัวเยอะ ผมเป็นคนนึงที่ปรับตัวไม่ทัน เลย F ไป 2 ตัว เด็กสมัยนี้โดนสื่อชักจูงเยอะแยะไปหมด ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาให้กับการเรียนเท่าที่ควร ผมก็ไม่ใช่คนขยันอะไร แต่ก็ไม่อยากอายใครเหมือนกัน บางทีเราต้องแบ่งเวลาให้ถูก เล่นได้เพื่อผ่อนคลาย แต่งานหรือการเรียนต้องมาก่อน อย่าหวังว่าเข้ามาแล้ว อาจารย์จะบอกทุกอย่าง บางอย่างต้องศึกษาเอง เพราะงานด้านนี้อาจารย์แต่ละท่านก็จะมีความถนัดต่างกัน เราต้องศึกษาแล้วก็ทำโปรเจคท์ในแนวความคิดของเราแล้วนำมาเสนออาจารย์ เพื่ออาจารย์จะได้รู้ว่า เราคิดยังไง มีความสามารถแค่ไหน มีอะไรต้องแก้ไขบ้าง

เราไม่จำเป็นต้องเก่งไปซะทุกอย่างก็ได้ แค่หาสิ่งที่เราถนัดแล้วก็ศึกษาลงลึกในสิ่งนั้น ส่วนที่เหลือก็ทำให้ดีก็ใช้ได้แล้ว ตอนผมเรียนผมไม่เก่งออกแบบ ผมถนัดการหาข้อมูล ผมก็เน้นไปในทางโครงสร้าง งานระบบแทน ส่วนเพื่อนที่เก่งออกแบบเขาก็จะคิดเรื่อง form shape space ให้งานดูสวยงามได้ มันมีทางเลือกอยู่ ลองทำดูก่อนอย่างเพิ่งท้อถ้ายังไม่ได้ลองนะครับ
รุ่นพี่คนที่ 2: พี่วาว -วริศ กมลาศน์ ณ อยุธยา
อาชีพ : สถาปนิกอิสระ , อาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พี่เป้: แนะนำตัวแก่น้องๆ ชาว Dek-D.com หน่อยค่ะ?
พี่วาว: วาวครับ วริศ กมลาศน์ ณ อยุธยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ รหัส44 รุ่น69 ปี่ที่จบปีการศึกษา 2548 ครับ
พี่เป้: เนื้อหาวิชาที่พี่วาวเรียนตอนนั้นมีอะไรบ้างคะ แล้วปี 1-5 ปีไหนที่หนักที่สุดคะเนี่ย ?
พี่วาว: คณะสถาปัตย์ จุฬา(ARCH CU : The Faculty of Architecture, Chulalongkorn University) เรียน 5 ปีจบครับ แยกเอ็นท์แต่ละสาขาไป ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตย์ อินทีเรีย ไอดี แลนด์สเคป ผังเมืองและอื่นๆ เอ็นท์ติดจะได้เข้าไปเรียนพร้อมกันหมด เจอวิชาสนุกๆ ทั้งนั้นครับ

-วิชา STUDIO DESIGN (สอนเบสิคดีไซน์ทั้งหมด มนุษย์ทุกคนบนโลกควรเรียนนะครับ)
-วิชา ARCH DRAW (สอนเขียนแบบ เพราะแบบเป็นการสื่อสารของสถาปนิกครับ สำคัญมาก)
-วิชา ARCH PRESENT (ฝึกเส้น ฝึก Sketch ฝึกPresentationอย่างไรเพื่อช่วยส่งเสริมแบบให้สวยงามครับ)
-วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ,วิชา Material and Construction ,วิชา Structure และอื่นๆ เรียกได้ว่าทุกคนที่เข้ามาเรียนเริ่ม start ใหม่พร้อมกันหมดครับ ไม่มีใครเคยเจอวิชาเหล่านี้ในสมัยมัธยมมาก่อนครับ มันส์มาก พอขึ้นปีแก่ๆ ขึ้นก็จะเรียนวิชาเดิมครับแต่เป็นขั้น Advanceไป ให้น้องๆ นึกถึงวิชาแปลกในแฮรี่ พอตเตอร์ แบบนั้นเลย ยิ่งกว่าไตรภาคครับมันเป็นมหากาพย์ เบญจภาค ระหว่างทาง 5 ปี เหมือนรายการ Survivor นะครับ คนที่แข็งแกร่งและพร้อมจะเป็นสถาปนิกเท่านั้นที่จะอยู่รอด 555

 นอกจากจะมีสอบเหมือนคณะอื่นๆ แล้ว ยังมีส่งโปรเจคท์ คือให้นิสิตลองออกแบบสถาปัตยกรรมจริงๆ ออกแบบ เขียนแบบ ทำโมเดล ฝึกพูดพรีเซนต์ และอื่นๆ ตัดออกมาเป็นเกรด สำหรับพี่ที่เรียนสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์นะครับ ซึ่งเรียนการออกแบบสถาปัตยกรรม คือ บ้านและอาคารทั่วไป หนักมากก็ตอนปี 3 ที่มีหลายๆ วิชาที่ต้องส่งโปรเจคพร้อมกัน น้ำตาเล็ดทีเดียว อีกทีก็ตอนปี 5 ก่อนจบที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ (Thesis)อันนี้ชี้เป็นชี้ตาย ว่าจบมาเราจะเป็นสถาปนิกที่เพียบพร้อมหรือไม่
พี่เป้: แล้วกิจกรรมที่พี่วาวทำตอนเรียนมีอะไรบ้างคะ?
พี่วาว: โห ในคณะมีกิจกรรมมันส์ๆ เยอะมาก ปี 1 ฟิตมากทุกคนมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม เช่น รับน้อง จะเป็นช่วงตั้งแต่ประกาศผลเอ็นท์จนถึงเปิดเทอมไปแล้วเดือนนึง ทำให้คณะเราสนิทกันมากจริงๆ เรียกว่ารู้จักกันทุกคน ทุกชั้นปี ไม่ได้โหดไร้สาระ เป็นแนว Creative สอนให้น้องสร้างสรรค์ เช่น Present ชื่อยังไงให้พี่จำได้ คิด theme งานวันสำคัญต่างๆ คิดมุขตลกที่สอดคล้องกับงานนั้น เล่นรักบี้ เป็นต้น ที่แน่ๆ ทุกวันที่มารับน้องจะขำมาก ระหว่างภาคการศึกษาก็มีกิจกรรมต่อเนื่องตลอด เช่น งานไหว้ครู กีฬา เฟรชชี่ รักบี้สตู งานรับปริญญา งานลอยกระทงจุฬา แต่หลักๆ ก็ทุ่มเทให้กับการเรียน ปิดเทอมตุลา ก็จะมีค่ายอาสา ก่อสร้างจริงให้กับชาวบ้าน ทั้งห้องสมุด หอประชุม ได้รู้จักชุมชนและเข้าใจคนที่ลำบากกว่าเรา ที่สำคัญคือได้เอาความรู้ที่เรียนมาไปใช้จริง

ปิดเทอมใหญ่ก็มีละคอนถาปัด ที่เป็นประเพณีเลย รวมพลังทุกชั้นปีเลย ทั้งนิสิตปัจจุบันและพี่ๆ ที่จบไปแล้ว เราไม่ทำช่วงอื่นนะ เพราะมันทุ่มเทมากต้องรอปิดเทอมใหญ่เพราะมันมีเวลาว่างมากจริงๆ ไม่คิดค่าแรง ฉะนั้นต้นทุนการทำละคอนจะถูกมากถ้าเทียบกับแรงกายและแรงสมองที่ทุ่ม งานละคอนเป็นการแสดงความอัจฉริยะสร้างได้ของเราในเชิงอื่นๆ โดยมีพื้นฐานทางการดีไซน์ เช่น เขียนบทละครตลกมาก ออกแบบฉากและเครื่องแต่งกายที่สวยงามมาก ออกแบบและแต่งเพลงประกอบ ออกแบบท่าเต้น ทำอาหาร เป็นต้น
 
 
 
 
 
พี่เป้: ได้ยินว่าพี่วาวเป็นเชียร์ลีดเดอร์จุฬา รุ่น 58 ในงานฟุตบอลประเพณีด้วย แล้วพี่วาวแบ่งเวลาเรียนกับซ้อมยังไงคะ?
พี่วาว: 5555 เค้าเรียกว่าหาเรื่องครับ! เห็นพี่ๆ ลีดจุฬา ตอนวันรับน้องรวมจุฬา แล้วรู้สึกเท่ห์จัง คณะเราไม่มีลีดด้วย เลยลองไปคัดดู เป็นโอกาสดีมากครับ ได้ฝึกบุคลิกภาพ ฝึกทีมเวิร์ค ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มาจากแต่ละคณะ พื้นฐานความคิดคนละแบบกัน แต่ต้องมาอยู่ร่วมกันฝึกซ้อม ฝึกบริหารจัดการเวลาอันจำกัดของเรา เพราะต้องซ้อมทุกวันหลังเลิกเรียนถึงเกือบเช้า ตลอด 3 เดือนจนถึงงานพุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ช่วงปลายเดือนมกราคม

ความรู้สึกเหมือนเข้าบ้าน AF น่ะ เพียงแต่ไม่ได้มีใครจับตาดูเราตลอด 24 ชั่วโมง การบ้านเราเยอะมาก มีแทบทุกวัน ทุกวิชา ให้เพื่อนช่วยทำเลย ไม่ได้เพื่อนๆ นี่ตายเลย ขอบคุณทุกคนมากๆ ตอนนั้นครับ เรียนทุกวันด้วย พี่พยายามไม่ขาดเรียนนะ อย่างน้อยก็เข้าไปหลับในห้อง 55 ท้อตลอดเลย มีคุณแม่และเพื่อนที่คณะนี่แหละที่เป็นกำลังใจให้ ทำให้รู้สึกว่าเรามีคนคาดหวังและคอยอยู่เคียงข้าง จบงานบอลแล้วมันเป็นความภูมิใจมากนะที่ผ่านมาได้ เรียกได้ว่ามีอุปสรรคอะไรมาก็ไม่หวั่นแล้ว แถมยังได้เพื่อนที่ผูกพันกันมาก บุคลิกภาพดี แลกเปลี่ยนความคิด พบปะกันตลอด ที่สำคัญหน้าตาดีมากๆ อิอิ
พี่เป้: แล้วตอนนี้พี่วาวทำงานอะไร อยู่ที่ไหนคะ?
พี่วาว: จบมาก็ทำงานที่บริษัทของอาจารย์เลย เป็นรุ่นพี่ที่คณะและยังเป็นรุ่นพี่เชียร์ลีดเดอร์ด้วย ความโชคดีที่เป็นบริษัทขนาดเล็กนะ โปรเจคท์เลยไม่ใช่ mega project อะไรนัก ได้ออกแบบบ้าน ทำอินทีเรีย เล็กๆ น้อยๆ แต่ได้มีส่วนร่วมทุกอย่างๆจริงๆ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนจบ ได้รับความไว้วางใจจากรุ่นพี่มากเลยครับ

ปัจจุบันเป็นสถาปนิกอิสระ รับdesign เป็น Freelance
ให้กับออฟฟิศเดิมที่ทำตั้งแต่จบมา และก็มีจ๊อบของตัวเองครับ ภูมิใจและดีใจมากที่ได้ทำอาชีพนี้ที่ใฝ่ฝัน ได้ออกแบบบ้าน พอมีโปรเจคท์ที่ได้สร้างจริง เสร็จสมบูรณ์จากการออกแบบของเราในกระดาษมันยิ่งปลื้มใหญ่ ยังได้ทำอินทีเรีย กราฟฟิคดีไซน์และก็เว็บไซต์ด้วย ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ก็ได้มีโอกาสไปเป็นอาจารย์พิเศษด้วย สอนที่จุฬานี่แหละ วิชา STUDIO DESIGN ใช้ประสบการทำงานมาสอนการออกแบบให้กับนิสิตปี 1 เป็นเกียรติมากๆ เลยครับ
พี่เป้: แล้วเนื้อหาหลักๆ ของงานที่ต้องรับผิดชอบมีอะไรบ้างคะ?
พี่วาว: การได้เป็นสถาปนิกอิสระ ทำให้มีความคล่องตัวสูงนะครับ และต้องมีวินัยสูงด้วย เพราะเราเป็นเจ้านายของตัวเอง รับผิดชอบทุกอย่างเองหมด ทำงานที่บ้าน ต้องสั่งตัวเองให้ขยันมากๆ งานfreelanceที่ออฟฟิศเดิมก็ยังคงให้ความไว้วางใจเรามาก คือให้มีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นเสนอโครงการเลย กำหนดและคุมขอบเขตของความงามทั้งหมดก่อนจะออกแบบ ว่าโปรเจคท์นี้ควรจะออกมาแนวไหน Conceptเป็นอย่างไร เหมาะกับสภาพความเป็นจริง ทันสมัย สวยงาม ก่อสร้างง่าย ประหยัด คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดด้วย

จากนั้นก็ลงมือออกแบบเริ่มจากเขียนแปลนซึ่งเป็นหัวใจของงานสถาปัตยกรรมทั้งหมด ออกแบบทุกองค์ประกอบทางกายภาพ มีบทบาทจนงานก่อสร้างแล้วเสร็จครับ โปรเจคท์นึงใช้เวลาพัฒนาแบบไปจนถึงขั้นก่อสร้างนานทีเดียวครับ เราได้มีโอกาสประสานงานกับเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมา SALES SUPPLIER ผู้คนทั้งหมดที่เกี่ยวข้่องกับวงการก่อสร้าง ได้ฝึกศักยภาพต่างๆ ในการทำงานที่หาไม่ได้จากในคณะมากมายเลยครับ บอกตามตรงว่าตอนนี้ก็ยังไม่ได้เก่งฉกาจ ทุกวินาทีเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่เราได้เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียกว่าหาประสบการณ์สั่งสมไป ให้ผิดเป็นครู เพื่อทำให้เราประสบความสำเร็จยิ่งๆขึ้นไปในอนาคต
 
 พี่เป้: แล้วนอกจากสถาปนิกแล้ว พี่วาวคิดว่าจบคณะนี้ทำงานอะไรได้บ้างคะ?
 พี่วาว: จบคณะนี้ไปแล้วทำได้ทุกอย่างครับว่างั้น เช่น ประกอบธุรกิจของครอบครัว ทำงานราชการ เล่นการเมือง วงการบันเทิง การออกแบบอื่นที่ไม่ใช่แค่สถาปัตยกรรมก็มี เพราะคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ สอนให้เราเป็นนักคิด คิดทำอย่างไรให้แตกต่าง เป็นระบบ และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน สอนให้เราเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ ไม่แปลกเลยที่จะเห็นนิสิตที่จบไปประสบความสำเร็จมากมายในวงการต่างๆ ไม่มีทางอดตาย ถ้าสมองเรายังแล่นไป
พี่เป้: แล้วปัญหาที่พี่วาวพบในการงานทำมีอะไรบ้างคะ?
พี่วาว: ปัญหาที่พบเหรอ พี่ว่าเด็กจบใหม่ๆ มันเหมือนเปิดโลกแห่งความเป็นจริง เราได้เจอสิ่งต่างๆ มากมายที่สมัยเรียนไม่เคยเจอ อย่างที่บอกช่วงนี้พี่ยังเก็บเกี่ยวประสบการณ์หาแนวทางที่เป็นของตัวเองนะ ให้ประสบการณ์สอนเรา ปัญหาที่เจอเลยยังคิดว่าเป็นบทเรียนต่างๆ ที่เข้ามาไม่ซ้ำอยู่ ที่พอจะเรียกว่าปัญหาชัดๆ และเจอบ่อยๆ ในการทำงาน คือในสังคมไทยเรายังไม่รู้สึกว่าอาชีพนี้จำเป็น คิดเองได้ไม่เห็นต้องจ้าง ยังไม่ได้ให้ความสำคัญของอาชีพสถาปนิกมากพอ (นอกจากจะยกให้เป็นอาชีพของพระเอกในละครหรือในมิวสิควีดิโอ ซึ่งเห็นบ่อยมาก สำคัญแค่นั้นเองนะ) การปฏิบัติและให้ความไว้เนื้อเชื่อใจยังไม่ดีเท่าที่ควร เจ้าของโครงการหลายคนยังไม่รู้สึกว่าสมองที่เราคิดงานออกมามีคุณค่า ไม่มีประโยชน์ ตีราคาค่าความคิดไม่คุ้มกับที่เราทุ่มเทไป
 
พี่เป้: สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้หน่อยค่ะ?
พี่วาว: คณะสถาปัตย์ไม่ได้สอนวาดรูป หรือสอนให้เป็นศิลปินครับ แต่สอนให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ เน้นที่การคิดอย่างมีระบบเชิงสร้างสรรค์ ไม่ได้อิงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเดียว เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้ทฤษฎีทางศิลปะ อยากให้น้องที่ฝักใฝ่และหมกมุ่น (ต้องใช้คำว่าฝักใฝ่และหมกมุ่น เพราะกว่า 80% ถ้าไม่เอ็นท์คณะนี้ก็ไม่รู้จะเอ็นท์อะไรแล้วจริงๆ) อยากให้ทำความเข้าใจด้วย คณะสถาปัตย์เป็นคณะทางสายวิทยาศาสตร์ครับ เรียนรู้ในเหตุและผล เป็นเหตุและผลที่ทำให้เกิดความงาม เป็นเรียนศิลปะเชิงประยุกต์ (APPLIED ART) ทดลองให้เกิดความงามตามทฤฎี แล้วนำไปใช้ในชีวิตจริง เด็กยุคใหม่มีโอกาสที่ดีนะในการรับรู้ข้อมูลวึ่งผ่านเข้ามาเร็วมาก มีคณะสถาปัตย์เยอะมากในประเทศ หลากหลายสาขา น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในเชิงลึกทั้งนั้นนะครับ

ถ้าคิดจะเป็นสถาปนิกหรือดีไซน์เนอร์ เข้าไม่ยากนะครับ แต่เรียนสาหัสมาก อยากให้ตั้งใจ เพราะทุกวิชาสำคัญมาก จบไม่ยากแต่จบมาให้เพียบพร้อมมันยาก ลองคิดให้ดี คิดให้ไกลๆ ไม่ใช่แค่มาเรียนเพราะความเท่ห์ จบไปแล้วอาจจะไม่ได้เป็นสถาปนิกก็ได้ แต่เชื่อว่าจบออกไปแล้วน้องๆจะเป็นผู้มีบทบาทในการสร้างสรรค์กายภาพของโลกครับ ช่วยกันสร้างสรรค์กายภาพของโลกให้ดี ไม่ฟุ่มเฟือย เปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมไทยต่ออาชีพสถาปนิก และดีไซเนอร์ด้วยนะครับ อาชีพนี้มันเหนื่อย เหนื่อยไม่คุ้มกับรายได้นะ เรียกว่างั้น แต่เราก็ทำเพราะความรัก “ตราบใดที่ยังมีรักก็ยังมีหวังไง” หวังว่าซักวันนึงจะพัฒนาไปในทางที่ดีถ้ามีคนรุ่นใหม่ๆ ช่วยกัน จากพี่วาวครับ
 
รุ่นพี่คนที่ 3 : พี่เก็ต - พลเอก สังฆคุณ
อาชีพ : สถาปนิก,เจ้าของสตูดิโอส่วนตัว,อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยศิลปากร,ผู้กำกับศิลป์

พี่เป้: ช่วยแนะนำตัวด้วยค่ะ?
พี่เก็ต: พลเอก สังฆคุณ(เก็ต) จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เอกสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

พี่เป้: บรรยากาศการเรียนในตอนนั้นเป็นยังไง สนุกมากน้อยแค่ไหนคะ?
พี่เก็ต: คณะขนาดเล็กคนน้อย จะรู้จักกันในชั้นปีทั่วถึง รวมทั้งรู้จักสนิทสนมกับรุ่นพี่และรุ่นน้อง ช่วยเหลือเกื้อกูลเรื่องงานได้ มีการเรียนที่หนักในเรื่องของงาน มีงานทุกสัปดาห์ หลายวิชา ต้องใช้เวลากับการทำงานของตัวเองมาก

พี่เป้: แล้วตอนเรียน พี่เก็ตได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างคะ?
พี่เก็ต: กิจกรรมมีหลายประเภท ทั้งจัดกิจกรรมติวน้อง เตรียมงานนิทรรศการ ทำหนังสือต่างๆ ได้เข้าทำกิจกรรมส่วนใหญ่เพราะเป็นเพื่อนสนิทกับหัวหน้าชั้นปี เรียนเครียด ก็ใช้วิธีการนี้เป็นการพักผ่อน เหมือนคิดทำอะไรบ้า บ้า บอ บอ แต่เหมือนเป็นการฝึกการเอามาใช้งานชีวิตจริง

พี่เป้: แล้วตอนนี้พี่เก็ตทำงานอะไรอยู่บ้าง ได้ข่าวว่าทำงานหลากหลายนะคะเนี่ย?
พี่เก็ต: อาชีพหลัก เปิดสตูดิโอออกแบบเล็กๆ ที่ทำงานออกแบบหลากหลาย ทั้งสถาปัตย์ กราฟฟิคดีไซน์ โพรดักชั่นดีไซน์ รวมทั้งมีการสอน เป็นอาจารย์พิเศษที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร แล้วก็มีงานเป็นผู้กำกับศิลป์ด้วย

พี่เป้: แล้วแต่ละงานมีความยากง่ายยังไงบ้างคะ?
พี่เก็ต: แต่ละงานมีพื้นฐานเหมือนกันที่ขั้นตอนการออกแบบ เริ่มด้วยการคิดแนวคิดหลัก ที่เรียกว่า concept จากนั้นขั้นตอนการพัฒนางานต่างๆ ก็จะตามมา




 

พี่เป้: แล้วการเป็นอาจารย์ เป็นสถาปนิก และผู้กำกับศิลป์ มีความเหมือนและแตกต่างกันยังไงบ้างคะ?
พี่เก็ต: ทั้ง 3 อย่างเหมือนกันที่ใช้พื้นฐานขั้นตอนการออกแบบ โดยปกติการออกแบบจะมีขั้นตอนที่รวบรัด การเป็นอาจารย์ก็จะต้องทำการขยายขั้นตอนการออกแบบให้ชัดเจนเพื่อมาถ่ายทอดกับนักศึกษาได้ งานออกแบบที่ต้องใช้การคิดที่มีรายละเอียดซับซ้อนและอ้างอิงกับหลักการทำงานของวัสดุอย่างแท้จริงก็จะเกิดกับงานสถาปนิก ส่วนงานกำกับศิลป์ก็จะคล้ายกับงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน (Interior Design) ในส่วนที่เรียกว่างานออกแบบฉาก ต้องจัดพื้นที่ตามความต้องการของผู้กำกับ จัดอุปกรณ์ประกอบเข้าไปในฉาก เพื่อถ่ายทอดลักษณะนิสัยตัวละคร ให้คนดูเกิดอารมณ์ร่วม แต่ต้องใช้จินตนาการสูง รวมทั้งยังใส่ความเหนือจริงเข้าไปกับงานออกแบบได้ จากทั้งสามงาน งานออกแบบสถาปัตย์จะเป็นงานที่ต้องใช้เวลานานที่สุดในการเข็นโปรเจคท์แต่ละชิ้นให้ผ่านไป 

พี่เป้: แล้วมีผลงานอะไรเจ๋งๆ ที่เคยทำมาบ้างคะ?
พี่เก็ต: งานออกแบบสถาปัตย์ก็ยังทำอยู่ต่อเนื่อง ถ้าแนวภาพยนต์จะเป็นเรื่อง ณ ขณะรัก ที่เพิ่งฉายไป ทำหน้าที่กำกับศิลป์

พี่เป้: แล้วมีผลงานอะไรจะฝากบ้างไหมคะ?
พี่เก็ต: (ยังกับดารา) ไม่มีฝาก ฝากให้นักเรียนเตรียมพร้อมให้มาก การเรียนมหาวิทยาลัยจะต้องขับเคี่ยวกับตัวเอง

พี่เป้: แล้ววางแผนอนาคตไว้ยังไงบ้างคะ?
พี่เก็ต: มีบริษัทออกแบบขนาดเล็ก มีผู้ช่วยที่รู้ใจ ใช้จักรยานให้เยอะขึ้น

พี่เป้: ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเรียนสถาปัตย์หน่อยค่ะ?
พี่เก็ต: เริ่มแรกต้องมีความนิยมในศิลปะก่อน แบบใดๆก็ตาม ทักษะฝึกกันภายหลัง คณะสถาปัตย์มีหลายที่ สถาบันที่ดังที่สุด ไม่สำคัญเท่าเข้ากับมันได้ ใกล้บ้านเดินทางสะดวก อยู่บ้านกับหอ มันจะเกิดการพัฒนาชีวิตคนละแบบ หาข้อมูลให้มากเข้าไปแทรกซึมกับสถาบันที่สนใจ จะช่วยการตัดสินใจได้ และหากโชคดีคบกับกลุ่มเพื่อนที่ช่วยกันผลักดันด้านการเรียน ก็จะไปได้โลด

      ที่เห็นชัดๆ เลยว่า ใครจบจากคณะนี้นั้น สามารถทำเป็นได้ทั้งงานหลักและงานฟรีแลนซ์ หากฝีมือเจ๋งแล้ว อนาคตทางสายงานนี้รับรองรุ่งแน่ๆ ใครอยากประสบความสำเร็จและเก่งเหมือนพี่ๆ ทั้ง 3 คนนั้น ก็อย่าลืมตั้งใจเรียนกันด้วยนะคะ

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

85 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ออมม่าของลูกด๊อง~คุคุ Member 21 ต.ค. 52 19:33 น. 15
อ.เก็ต ~~ เห็นอ.แล้วนึกถึงตอนทำการบ้านคอมกราฟ TT^TT อยากให้เห็นภาพตอนอ.ขี่จักรยานมาสอน >////< อ๊ายยยเท่
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
O_indy Designer 21 ต.ค. 52 21:19 น. 18
น้องICTนิเทศ ฝากถ่ายรูปลูกพี่ตอนปั่นจั๊กมาทำงานทีอยากเห็น ....วันหลังจะแอบไปดักถ่ายรูป อิอิ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด