ชีวิตอาจต้องผิดหวัง ถ้ายังไม่รู้จัก "คณะ" ให้ดี


     การค้นหาสิ่งที่ใช่ สิ่งที่ชอบในการเรียนต่อระดับใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องที่หลายๆ คนสับสน มีทั้งคนที่เลือกเรียนเพราะชอบ สนใจ ถูกบังคับให้เรียน จนถึงคะแนนถึงก็เอา! แต่ไม่ว่าจะตั้งใจเลือกด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผลในอนาคตก็อาจไม่ได้สวยหรูเสมอไป เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกให้ดีนะคะ  

     
  
วันนี้มีเกียรติมีประเด็นหนึ่งนำเสนอน้องๆ ชาว Dek-D ทุกคนที่คิดหมายอยากเลือกคณะไว้ และอาจพอมีคณะในดวงใจอยู่แล้วบ้าง แต่การเลือกที่เรียนก็ไม่ได้มีแต่การเลือกคณะเท่านั้น มีการเลือกมหาวิทยาลัยด้วย และไม่ใช่แค่การเลือกชื่อเสียงเท่านั้น แต่อาจหมายถึงความสะดวกในการเดินทางไปเรียน อยากใกล้/ไกลบ้าน พ่อแม่เป็นศิษย์เก่า สีประจำมหาวิทยาลัยถูกโฉลก  ตามแฟนไปเรียน (เหตุผลชักจะฮาไปเรื่อยๆ แฮะ) แต่สิ่งที่พี่เกียรติอยากบอกว่า สิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กัน และทุกคนอาจลืมเลือน คือ "หลักสูตรของคณะ" ค่ะ


    มีหลายมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนในชื่อคณะเดียวกัน แต่อาจเรียนต่างกัน มีรายละเอียดปลีกย่อยในการเรียนต่างกัน  แต่ในบางมหาวิทยาลัย อาจเรียนเหมือนๆ กัน แต่ใช้ชื่อคณะ/สาขาหลักสูตรต่างกัน เช่น ศึกษาศาสตร์ - ครุศาสตร์ หรือบางคณะเรียนคล้ายกันมาก ชื่อสาขาหรือเอกก็คล้ายกัน แต่เวลาเรียนจบมีคุณสมบัติตามวุฒิปริญญาต่างกัน เช่น จิตวิทยา ศศ.บ - จิตวิทยา วท.บ ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนในระหว่างที่เราเรียน และมีผลต่อไปต่อไปถึงอาชีพที่เราจะทำงานได้อย่างคาดไม่ถึงเลยนะ เคยมีใช่ไหมล่ะ...ข่าวที่มีนักศึกษาออกมาเรียกร้องว่าเรียนในหลักสูตร กอ นี้มาตั้งนาน น่าจะทำอาชีพ กอ นี้ได้ แต่กลับทำไม่ได้เพราะหลักสูตรไม่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการ คือตัวอย่างปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดจากการไม่ศึกษาหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยที่เราสนใจให้ดีค่ะ                            

   
 
 ดังนั้น พี่เกียรติจึงขอเชิญชวนน้องๆ ใช้เหตุเลือกคณะ/มหาวิทยาลัยให้มากกว่าเรื่องชื่อเสียงและความสะดวก ด้วยการมองให้ถึงหลักสูตร
 และต้องดูไปถึงระดับที่ว่าเรียนแล้วได้วุฒิอะไร ได้ใบประกอบวิชาอะไรหรือไม่ (ถ้ามี) และวุฒิดังกล่าวทำอะไรได้บ้างคะ ภาษาเท่ๆ ของการเรียนจบปริญญานี้คือ "มีศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญานี้ทุกประการ" เราจึงต้องทราบด้วยว่าศักดิ์และสิทธิ์ที่เราพากเพียรเรียนอย่างตั้งใจมาโดยตลอดของเรานี้ทำอะไรได้บ้าง   แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เราจะทำประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัว และสังคมได้สมกับที่เรามี ศักดิ์ และสิทธิ์ ที่เราได้รับค่ะ 

      กรณีที่เราพอมีคณะในดวงใจแล้ว ก็ง่ายหน่อย เหลือแค่การไปหาข้อมูลหรือสอบถามจากรุ่นพี่เกี่ยวกับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยที่สนใจ แต่หากยังไม่แน่ใจเรื่องคณะก็อาจเลือกดูข้อมูลสักสองสามคณะที่อยู่ในใจก่อนค่ะ การเปรียบเทียบหลักสูตร หรือเรื่องที่เราจะได้เรียน จะทำให้เราเลือกและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ว่าเราจะเหมาะเรียนกับคณะไหนค่ะ ว่าแล้วก็ลองหาข้อมูลตามลำดับวิธีการนี้เลยค่ะ


     1. มองหาคณะ สาขา/เอก และมหาวิทยาลัยที่เราสนใจหรือมีแนวโน้มว่าจะเหมาะสมกับตนเองไว้




     2. เปิดเข้าเวปไซต์ของมหาวิทยาลัย และคณะดังกล่าว เพื่อศึกษารายวิชาที่มีการเรียนการสอน และคำอธิบายรายวิชา  

 ซ้ายโบราณคดี เอกอังกฤษ ขวาอักษรศาสตร์ เอกอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เรียนด้านภาษาเหมือนๆ กัน ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่อยู่คนละคณะ!
 

       3. หาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องจากอินเทอร์เน็ต  ใน Dek-D เองก็มีมุม คณะในฝัน  โดยพี่เป้ ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลของแต่ละคณะมานำเสนอด้วยค่ะ  ข้อมูลที่ควรศึกษาไว้ก็เช่น บรรยากาศการเรียน เช่น เน้นงานกลุ่มไหม เน้นการนำเสนอไหม สอบเป็นอย่างไร เป็นวิชาหลักทุกคนต้องเรียน เอกสารการสอน (ถ้าพอหาดูได้) รุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้วทำงานอะไร จะสอบถามรุ่นพี่ตามเว็บบอร์ด หรือกลุ่มในสังคมออนไลน์ อย่าง Facebook ก็ได้ค่ะ



    4. นำข้อมูลต่างๆ มาประมวลร่วมกัน ว่าเราสนใจคณะไหน ชอบบรรยากาศของมหาวิทยาลัยไหน จุดเน้นของคณะหรือเอกนั้นๆ เป็นอะไร เข้าได้กับตัวเราไหม เช่น เขาว่ากันว่าคณะครุศาสตร์ เป็นคณะแห่งรายงาน  ถ้าน้องๆ ไม่ชอบรายงานมากๆ ไม่ชอบงานเอกสาร แถมไม่ชอบนำเสนอหน้าชั้นบ่อยๆ ด้วย ก็อาจจะมองหาคณะอื่นก็ได้ค่ะ เป็นต้น



      วิธีการไปค้นหาหลักสูตร วิชาที่เรียนอาจดูยุ่งยากและเสียเวลา แต่นี่เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการเลือกคณะ สาขา/เอก และมหาวิทยาลัยได้อีกวิธีการหนึ่ง บางทีระหว่างที่เราหาข้อมูลไปมา อาจเจอคณะใหม่ๆ หรือรู้จักคณะอื่นๆ มากขึ้น แนะนำเพื่อนต่อก็ได้นะ อย่างไรก็ตามพี่เกียรติ อยากให้น้องๆ พิจารณาคณะ สาขา/เอกในดวงใจให้เหลือเพียงสองหรือสามคณะที่สนใจที่สุดนะคะ น้อยกว่านั้นได้ยิ่งดี จะได้เปรียบเทียบเพียงวิชาเรียนและบรรยากาศของมหาวิทยาลัย เพราะถ้าเกินกว่าสามคณะแล้ว เราอาจต้องค้นหา ศึกษาข้อมูลมากเกินไป ข้อมูลมากอาจยิ่งกลายเป็นเลือกไม่ถูกไปอีกก็ได้นะคะ  (แต่ถ้าในคณะเดียวกัน แต่ต่างสถาบัน แบบนี้หาข้อมูลได้ไม่จำกัดนะ)  อย่างไรถ้าเราไม่ค่อยรู้จักคณะเรียนต่างๆ จะศึกษาให้พอรู้จักว่าแต่ละคณะเรียนอะไรก่อนเป็นเบื้องต้นก็ได้ค่ะ 


        อย่าลืมว่ามีวิธีการค้นหาตนเองอีกหลายวิธี ไม่เฉพาะแค่การรู้จักหลักสูตรวิชาเรียน น้องๆ ชาว Dek-D สามารถกลับไปอ่านบทความจากมุม admission และคอลัมน์ค้นหาตนเองของพี่เกียรติ เผื่อเจอข้อมูลน่าสนใจต่างๆ ได้นะ อิ อิ


ขอให้โชคดี ค้นพบคณะที่ใช่ ที่เรียนที่ชอบทุกคนค่ะ


พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

16 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
—★EmoMelody™ϟHP Member 6 ม.ค. 55 15:58 น. 5
 หนูชอบคอลัมน์ที่พี่เกียรติเขียนมากเลยค่ะ
ดูมาตั้งแต่คอลัมน์แรกๆ
แต่หลังๆมาไม่ค่อยได้อ่าน(ฮา)
ชอบพี่เกียรติจัง ><
ขอบคุณนะคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
22222222222 16 ม.ค. 55 13:14 น. 12
ดูแล้วค่ะ 55555

ตอนนี้มั่นใจแล้วว่า เข้าคณะไหนถึงจะมีความสุข

ขอบคุณนะคะที่เอามาลงให้ ตอนแรกก็ลืมไปจริงๆ
0
กำลังโหลด
hope 21 ม.ค. 55 10:59 น. 14
 พี่คะ หนูหาข้อมูลได้น้อยมากเลยคะเกี่ยวกับ สาขาวิชาดนตรีและการแสดง (วิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง) ม.บูรพา อ่าค่ะ อยากรู้ว่าเรียนเป็นยังไงเกี่ยวกับอะไร แล้วจบไปทำงานด้านไหนอ่าาา TT
0
กำลังโหลด
YaM&MaY Member 26 ม.ค. 55 15:47 น. 16
คือหนอยากเรียนจบป.เอก ธุรกิจอ๊ะค่ะ

คือหนูอยากเป็นเจ้าของบริษัท อยากเรียนทางด้านคอมเเละธุรกิจปะปนกับเลย

ไม่รู้จะเรียน คณะ อะไร เขาต้องการเกรดอะไร  คือจะต้องทำไงด้วย ตอนนี้เรียนอยู่ม.3จบเเล้วค่ะ



0
กำลังโหลด
NewB Member 3 ก.พ. 55 13:57 น. 17
 กำลังสับสนกับชีวิต
ไม่รู้ว่าอยากเข้าคณะอะไร
ไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับคณะไหน
ไม่มีความชอบเป็นพิเศษ
แต่จะพยายามหาให้เจอ
จะได้มีความสุขกับชีวิตในอนาคต
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด