สวัสดีครับ สอบ O-NET จบแล้ว แต่เหมือนอารมณ์ผู้สอบยังไม่จบ 555 เพราะตอนนี้ในกระทู้แชร์คำตอบ หรือบอร์ดแอดมิชชั่นเว็บ Dek-D ยังมีน้องๆ มาตั้งกระทู้เม้าท์กันอยู่เลย (ตี 3 ตี 4 ก็ยังเม้าท์สู้ตายนะ 555) โดยเฉพาะเรื่องข้อสอบกำกวม ข้อสอบผิด หรือกฏที่ไม่ชัดเจน ที่มีมาแชร์กันเยอะมาก 555 เห็นแล้วก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า GAT PAT รอบหน้า หรือ O-NET ปีต่อไป หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก คนสอบอย่างเราจะทำยังไง

        ว่าแล้ววันนี้ พี่ลาเต้ ก็มีบทความ "จับทาง สทศ. !! เมื่อเจอโจทย์ข้อสอบ "กำกวม" ต้องทำยังไง ?" ไปดูกันเลยคร้าบบ



"โจทย์กำกวม" ต้องตอบแบบไหนดี ?

        มีมาให้ได้เห็นบ่อยๆ โดยเฉพาะ O-NET ซึ่งเมื่อรู้ว่าโจทย์กำกวม แต่ผู้สอบอย่างเราก็ต้องทำ และต้องทำให้ถูกด้วย ก็ทำไปเถอะครับ อย่าไปหวังว่า "มั่วๆ ไปเถอะเดี๋ยวเขาก็ให้ฟรี" ซึ่งหากมันไม่ฟรี เรานี่แหละจะเสียคะแนนไปฟรีๆ ซะเอง ดังนั้นหาก โจทย์มันกำกวม โดยเฉพาะข้อสอบ O-NET หรือ GAT PAT ให้ใช้สูตรนี้เลยครับ "เลือกตอบตามความถูกต้อง อย่าตอบตามความเป็นจริง"

        เพื่อให้เห็นภาพ พี่ลาเต้ ขอยกบทสัมภาษณ์ อ.อุทุมพร จามรมาน อดีตผู้อำนวยการ สทศ. ที่ให้สัมภาษณ์กับ นสพ.ข่าวสด ไว้ว่า "คำถาม O-NET ข้อหากเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นมาต้องทำอย่างไร ? คำตอบที่ถูกต้องคือ "ปรึกษาครอบครัว" ซึ่งข้อสอบเหล่านี้เป็นข้อสอบที่แสดงถึงข้อเท็จจริง ต้องตอบอิงความเป็นจริงที่ถูกต้อง ไม่ใช่ตอบตามความเป็นจริงในสังคม และตนคิดว่าเรื่องนี้คุณครูจะต้องสอนตามข้อเท็จจริงอยู่แล้ว ตนจึงคิดว่าข้อสอบดังกล่าวออกได้ เพราะโอเน็ตเป็นข้อสอบที่วัดผลการเรียนการสอน ไม่ได้วัดผลตามการใช้ชีวิต" อ่านแล้วชัดเจนไหมครับ ว่า สทศ.เวลาเขาจะ ให้คะแนนถูกในข้อไหน เขามีหลักคิดยังไง ดังนั้น หากเจอโจทย์ หรือคำตอบแนวไหนกำกวมเน้นตอบตามความถูกต้องไว้ก่อนเลย ได้คะแนนจาก สทศ.ชัวร์แน่นอน

วิธีตอบ เมื่อพบ "ช้อยส์ซ้ำ หรือช้อยส์ผิด"

         เป็นอีกกระแสนึงที่พูดถึงในบอร์ดเว็บ Dek-D เยอะมากกกก ว่า "O-NET เป็นข้อสอบระดับชาติ สอบทีนึงทั้งประเทศเกือบแสนคน แต่ปีนี้ทำไมมีคำผิดเยอะจัง" เช่น คำว่า "รสชาติ" แต่ในข้อสอบดันเขียนว่า "รสชาด" หรือแม้แต่ในวิชาวิทยาศาสตร์ และสุขศึกษาที่ช้อยส์ซ้ำกันเยอะมาก ไม่รู้ว่าตั้งใจพลาด หรือพลาดจริงๆ แต่หากเจอเหตุการณ์แบบนี้ในข้อสอบของ สทศ. พี่ลาเต้ แนะนำเลยว่าอย่าตอบ "ช้อยส์ซ้ำ" เด็ดขาด ให้เลือกตอบช้อยส์อื่น

         เพราะเท่าที่จับทาง สทศ.จากข้อสอบปีก่อนๆ มาจะพบว่า.... "หากช้อยส์ที่ซ้ำนั้นเป็นคำตอบที่ถูก ข้อนั้นจะได้ฟรีทันที" (ไม่ว่าจะตอบช้อยส์ไหนก็จะได้คะแนนหมด) ดังนั้น หากเราเห็นว่าช้อยส์ซ้ำ เราก็อย่าไปตอบมันเลย ให้เลี่ยงไปตอบช้อยส์อื่นดีกว่า เพราะอย่างน้อยหากช้อยส์ที่ซ้ำดันถูกขึ้นมา เราก็ได้คะแนนฟรีๆ เหมือนกัน แต่หากมันไม่ถูก ข้อที่เราเลี่ยงไปตอบก็มีโอกาสถูกมากขึ้นใช่ไหมล่ะ (เปอร์เซนต์เดาถูกก็สูงขึ้นด้วย)



กรรมการคุมสอบ เชื่อได้ หรือไม่ ?

         สิ่งที่ฮือฮามากของการสอบ O-NET วันแรกคือ "เด็กไทยครึ่งประเทศฝนคำตอบพาร์ท Error ผิด" ตามคำสั่ง และรูปแบบของการทำพาร์ทนี้ต้องตอบแค่ 1 คำตอบ แต่บางคนล่อไปซะ 4 คำตอบ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับ ม.6 รุ่นไหน ?? สืบไปสืบมาทำให้ทราบว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของการฝนผิด คือ "กรรมการคุมสอบบอกให้ฝน" ซึ่งไม่รู้ด้วยว่าทาง สทศ.ให้ความคิดเห็นเรื่องนี้ยังไงไหม เพราะคำสั่งในข้อสอบก็ยืนยันชัดเจนว่า "ฝนแค่ 1 คำตอบ"

         ดังนั้น หากจะถามว่าผิดที่ไหน ก็ผิดคนละครึ่งทางแล้วกัน ครึ่งนึงยกให้เป็นความผิดของ สทศ.ที่ไม่รู้แจ้งกฏการทำข้อสอบแต่ละพาร์ทไหม กรรมการแต่ละสนามถึงแนะนำผู้สอบไปคนละทิศละทาง ส่วนอีกครึ่งก็ต้องยกเป็นความผิดของผู้สอบเอง ที่คำสั่งก็บอกไว้ กระดาษคำตอบก็มีให้ดูล่วงหน้าเป็นเดือนๆ แต่ก็ยังพลาดได้ แต่ก็นะ "คนที่ฝนถูก ก็ใช่ว่าจะตอบถูก" 555 ถือซะว่าเป็นพาร์ทถวายวัดแล้วกันเนอะ

      ทั้งหมดนี้เป็นการจับทางข้อสอบเท่านั้นนะคร้าบ รวบรวมมาจากบอร์ดแอดมิชชั่นเว็บ Dek-D อยากให้น้องๆ ม.6 ทุกคนได้อ่านไว้ เผื่อได้เจอในสนามสอบ GAT PAT รอบหน้า หรือมีน้องๆ เรียนอยู่ ม.5 ก็ส่งให้เขาผ่านได้นะ จะได้รู้ทัน O-NET ไม่พลาดเหมือนรุ่นพี่ๆ 555

        ลาเต้ลิขิต :
ไหนๆ น้องๆ คนไหนเจอเหตุการณ์อะไรในห้องสอบ มาเล่าให้พี่ฟังหน่อย


ใครเล่นทวิตเตอร์มา Follow ตามข่าวรับตรงแอดมิชชั่นจากพี่ได้นะ @lataedekd



พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

53 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
แพรว 22 ก.พ. 55 19:07 น. 2
ม.6 ปีนี้โคตรเหนื่อย ไหนจะน้ำทวมไหนจะค่าGAT PAT ของสทศ เยอะจริงๆ

เอาเงินที่ไปสอบรับตรงและGat ทั้งหมดมารวมกันซื้อบ้านได้หลังนึงแล้วมั้ง !
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
สทศ สถาบันทำร้ายนักเรียนก่อนเข้าศึกษา 22 ก.พ. 55 19:25 น. 4
เอือมระอากับแนวคิดของ สทศ ที่คิดการให้คะแนนแบบนี้ โอโล่มาก

ตกลงเรามาเรียนหนังสือ เพื่อเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งนั่นคือจุดประสงค์ที่ Gu มาเรียน

หรือเรียนเพื่อให้สอบได้ แต่เอาชีวิตในสังคมไม่รอด ?
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
pahkorn Member 22 ก.พ. 55 20:31 น. 12
 ไอข้อที่ถามว่าเกิดอารมณ์ทางเพศแล้วควรทำยังไง เล่าให้พ่อฟังพ่อบอกว่า แค่มีอารมณ์นี่ต้องมาปรึกษาครอบครัวเลยหรอ ถ้างั้นเวลาจะเข้าหอก็ต้องปรึกษาครอบครัวก่อนดิ 55555
0
กำลังโหลด
Undernetwork Member 22 ก.พ. 55 20:58 น. 13
เจอข้อไหนกำกวม ต้องเลือกข้อที่ดูเป็นลูกแหง่ที่สุด รับรองถูกแน่
เพราะอุทุมสนับสนุนเด็กไทยเป็นลูกแหง่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นานา 23 ก.พ. 55 01:06 น. 19
ใช่ๆๆ เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่18 เพราะตอนเราตอบเราก็นึกถึงที่เรียนมาเนี่ยแหละ ว่าเวลาเกิดอารมณ์ทางเพศ ให้หาทางออกโดยการออกกำลังกาย ซึ่งไปเตะบอลกับเพื่อนก็ถูกต้องแล้ว เราไม่ได้นึกถึงความเป็นจริงทางสังคมซะหน่อย ปรึกษาครอบครัวไม่ใช่ทางออกที่อยู่ในตำราเรียนเลย

ไปประท้วงกันถ้าสทศ.เฉลยว่าปรึกษาครอบครัวเป็นข้อที่ถูก
0
กำลังโหลด
LMN-4FEveR- Member 23 ก.พ. 55 09:35 น. 20

อยากรู้จริงว่าใครตอบ ไปปรึกษาพ่อแม่  ปรึกษาแล้วได้อะไร?
ความรู้สึกหรือฮอร์โมนที่หลั่งออกมา มันลดลงหรือยังไง..

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด