พี่เกียรติขอนำเสนออาชีพไม่แปลก แต่น่าสนใจด้วยชื่อเท่มากๆ และก็หวังว่าจะเปิดโลกอาชีพให้น้องๆ ชาว Dek-D ได้รู้จักมากขึ้น และขอเอาใจน้องๆ หัวใจวิทยาศาสตร์กันหน่อยล่ะ เพราะยกขบวนสาระอาชีพของนักวิทยาศาสตร์มาถึง 3 อาชีพเลยทีเดียว 

 

Image: Argonne National Laboratory,flickr

 

นักอนินทรีย์เคมี (Chemist, Inorganic)

           คือ นักเคมีที่เชียวชาญงานเคมีแขนงอนินทรีย์ ทำงานในห้องปฏิบัติการเพื่อวิจัย พัฒนา ทดลอง ทดลอง และวิเคราะห์เกี่ยวกับสํวนประกอบ คุณสมบัติ และการเปลี่ยนแปลงอันอาจเกิดขึ้นได้ของสารประกอบอนินทรีย์ โดยใช้เครื่องมือ และเทคนิคตำงๆ เพื่อทดสอบ และทดลองเคมีอนินทรีย์ตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสูตรที่กำหนด  เตรียมหรือควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเคมีอนินทรีย์ตามสูตรที่รับรอง

            การทำงานต้องอยูํกับสารเคมี ซึ่งอาจจะทำปฏิกิริยาทำให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องรู้จักวิธีใช้ และวิธีป้องกัน ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันสํวนบุคคล เชํน ถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น รวมทั้งปฏิบัติงานตามขั้นตอนตามระเบียบที่กำหนดไว้ 

             น้องผู้สนใจต้องเรียนสายสามัญ วิทย์ - คณิต และเลือกเรียนคณะคณะวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวกับเคมี เช่น แร่วิทยา เคมีวัสดุ เคมีสิ่งแวดล้อม เคมีวิเคราะห์ เป็นต้นค่ะ สํวนใหญํการทำงานนั้นอยูํในภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมสี เป็นต้นจ้า

 

Image: RDECOM ,flickr

 

นักเคมีโพลิเมอร์ (Chemist, Polymer)

            คือ นักเคมีที่เชียวชาญงานเคมีแขนงโพลิเมอร์ ทำงานในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษา วิจัย ทดสอบ สังเคราะห์ และวิเคราะห์โพลิเมอร์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ในงานอื่นๆ ต่อไป ภาพของงานเหมือนการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ต้องแยกสารประกอบ เพื่อวิเคราะห์สารและสิ่งเจือปน โดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ วัด ชั่ง ตวงปริมาณสาร วิเคราห์คุณสมบัติเชิงกล เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ไฟฟ้าทางเคมี และการเหนี่ยวนำความร้อยของโพลิเมอร์ ว่าง่ายๆ ก็คือดูคุณภาพโพลิเมอร์ พลาสติก ทนความร้อนความเย็นได้ขนาดไหน นำไฟฟ้าได้ไหมนี่เองละจ้า 

          ห้องทดลองของอาชีพนี้ไม่ใช้แลปธรรมดานะเออ ต้องมีชุดเตาเผาปรับอุณหภูมิได้ เครื่องทำความเย็นด้วยก๊าซ และเครื่องประเมินสภาพงานอื่นๆ ที่ต้องมีชุดป้องกันในการทำงาน โดยมากก็อยู่ตามเขตโรงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เช่นกันจ้า  

          น้องผู้สนใจต้องเรียนสายสามัญ วิทย์ - คณิต และเลือกเรียนคณะคณะวิทยาศาสตร์ สาขา/ภาค/เอกวิชาปิโตรเลียมเคมี และวัสดุโพลิเมอร์จ้า

 

Image: Argonne National Laboratory,flickr

 

นักวิทยาศาสตร์นาโนเทคโนโลยี (Nanoscientist) 

            คือ นักวิทยาศาสตร์สารจิ๋วที่ศึกษาเรื่องวัสดุ อินทรีย์ อนินทรีย์ และรวมไปถึงสารชีวโมเลกุล ในการสร้าง ออกแบบหรือสังเคราะห์วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร เชํน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งหํม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ  เชํน ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ (E-tongue) มีคุณสมบัติคล้ายกับลิ้นของมนุษย์ สามารถรับรู้รสชาติของอาหาร หรือส่วนผสมของอาหารได้อย่างแม่นยำ ด้วยการใช้ขั้นไฟฟ้าขนาดเล็กหลายขั้ว หรือมุ้งนาโนฆ่ายุง ลดการเกิดโรคมาลาเรียช่วงน้ำท่วม รวมถึงการออกแบบ หรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างงานนาโนนั้นๆ ด้วย ว้าว ต้องเป็นนักประดิษฐ์ด้วยนะนี่

            สํวนใหญํทำงานในสำนักงานทั่วไป อาจจะอยูํในรูปแบบของสถาบันวิจัย ศูนย์วิจัย ที่มีห้องสำหรับการทดลอง อาจมีการออกไปดูสถานที่ผลิตสินค้านาโน หรือติดต่อหน่วยงานอื่นๆ บ้างเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น อาจต้องทำงานล่วงเวลาบ่อยๆ  

            น้องผู้สนใจต้องเรียนสายสามัญ วิทย์ - คณิต และเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโน หรือคณะวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ เช่น สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาชีวเคมี สาขาเทคโนโลยีวัสดุ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์ สาขาวัสดุศาสตร์ ทั้งนี้เพราะสาขานี้เป็นสาขาประยุกต์จ้า ใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทุกแขนงเลย ดังนั้นเพื่อความเน้นปึ๊กของความรู้ สามารถเรียนต่อปริญญาโทในสาขานาโนเทคโนโลยีโดยตรงก็ได้จ้า

 


             

"ชอบค้นคว้า ช่างสังเกต มีระเบียบแบบแผน แต่ก็เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ 

นี่แหละนักวิทยาศาสตร์"

             น้องๆ ที่สนใจทั้งสามอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติแบบนักวิทยาศาสตร์ คือ ชอบการค้นคว้าทดลอง ชอบวิเคราะห์ ชอบใช้สมองว่างั้น!  ใจเย็น ละเอียดรอบคอบ  มีความช่างสังเกต คิดอะไรเป็นระบบระเบียบ  มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถ และชอบใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ รวมทั้งงานคอมพิวเตอร์ และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี ควรมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม ที่สำคัญ คือ มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เป็นอยำงดี เพราะฉะนั้นต้องชอบวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 

 

                 โดยหลักของทั้งสามอาชีพจะมีเนื้องานแบบนี้ แต่หากนอกเหนือไปจากนี้ไปอย่างไรก็ขึ้นกับแต่ละหน่วยงานด้วยจ้า แต่ใครจะเจอแบบไหนก็ต้องอนาคตเนอะ  ไม่ต้องถามว่าทำไมพี่เกียรติถึงเลือกเสนอชื่อนักวิทยาศาสตร์ 3 แขนงนี้มา เพราะพี่เกียรติว่าชื่อเท่ดีนั่นเอง เป็นคนชอบชื่อยาก ฮ่าๆๆ แต่อาชีพก็น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ

 

หนุ่มสาวชาว Dek-D หัวใจวิทย์ช่วยรับ 3 อาชีพนี้ไว้ในหัวใจด้วยนะคะ อิอิ

 

 

แหล่งข้อมูล:  doe.go.th, nanotec.or.th

 

พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

14 ความคิดเห็น

NIC 29 มิ.ย. 55 13:55 น. 1
นาโน เป็น นักวิท สายแมททีเรียล แอ๊ด มองว่าเป็นนักฟิสิกมากกว่านะ

น่าจะเรียกว่า นักแมททีเรียลฟิสิก หรือ ฟิสิกนาโนอะไรประมานนี้ จะเหมาะกว่ามั๊ยครับ อิอิ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
keroCH Member 3 ก.ค. 55 21:36 น. 7
ตอนนี้เีัรียนคณะวิทยาศาตร์เเละเทคโนโลยี สาขาเคมีอยู่ค่ะ ได้เรียนทั้ง เคมีอนินทรีย์ พอลิเมอร์ เเละอื่นๆค่ะ สนุกดีค่ะ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
แมวเหมียว-13 Member 7 ก.ค. 55 23:14 น. 10
อยากให้พี่ เอาอาชีพทุกอาชีพมาลงเลยได้มั้ยครับ ( มากไปเปล่า ) อยากรู้ไว้อะจะได้เลือกสาขาถูก ตอนนี้ ม.5 ละ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด