P
คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
                        วิศวกรรมการบิน
ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย (การบิน)   

          สวัสดีค่ะน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ตามที่สัญญาไว้คราวที่แล้วว่า พี่แป้ง จะไปตามติดชีวิตของคนที่จบคณะการบินไปแล้วว่าเป็นยังไง ตอนนี้กลับมาแล้ว และขอบอกเลยว่า พี่แป้ง ไปสัมภาษณ์มา 2 คนซึ่งเป็นอาชีพเด่น ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ คือ นักบิน และ เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ(ATC) แต่ละคนที่ประสบความสำเร็จมีแนวคิดยังไงบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

    พี่เฟิร์น ATC วิทยุการบิน ฯ    


พี่แป้ง : ช่วยแนะนำตัวเองให้น้อง ๆ รู้จักหน่อยค่ะ ^_^ 
พี่เฟิร์น : ก่อนอื่นทำความรู้จักกันก่อนนะครับ พี่ชื่อ ฐิตพงษ์ จุรีกานนท์ เรียกเล่นๆว่า พี่เฟิร์น ชื่อเหมือนผู้หญิงนะครับ แต่ผู้ชายเต็มร้อยนะครับ เกิดที่จังหวัดชลบุรีครับ เด็กต่างจังหวัด เรียนโรงเรียนฝรั่งสมัยเป็นเด็ก(อัสสัมชัญ ศรีราชา) ต่อมาก็เข้ามากรุงเทพ เรียนต่อโรงเรียนหอวัง และเข้ารั้วมหาวิทยาลัยที่บางเขน(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรการบินและอวกาศเมื่อปี 2537 เรียนตามเกณฑ์ ไม่ขาดไม่เกิน 4 ปีก็จบพอดีครับ

พี่แป้ง : ทำไมตอนนั้น ถึงเลือกเรียนวิศวกรรมการบิน ม.เกษตร­
พี่เฟิร์น : พอถามถึงเรื่องการเลือกสาขาวิชาในรั้วมหาวิทยาลัย ก็ต้องใช้เวลาคิดกันหน่อย (เพราะผ่านมาเป็นเวลานานพอสมควร) จะบอกว่าในช่วงเวลานั้น คือตัวพี่เองก็มีความชื่นชอบ เรื่องเครื่องบินเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว ในเวลานั้น การเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียนรวมกันก่อนในปีแรก และให้เลือกสาขาที่ต้องการเมื่อจะขึ้นปีที่สอง ตอนนั้นไม่อยากจะบอกเลยว่า ถ้าใครเลือกเรียนสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ถือว่าต้องระดับแนวหน้ากันเลยทีเดียว เพราะด้วยชื่อและความใหม่ของสาขาวิชานี้ เป็นที่ต้องการสำหรับนิสิต คณะวิศวกรรมกันเลยนะครับ เหตุผลดังกล่าวนี้ทำให้ตัวพี่ในขณะนั้น เลือกสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศโดยไม่ต้องรีรอกันเลยครับ

พี่แป้ง : ตอนที่เข้าไปเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยจริง ๆ แตกต่างจากที่คิดไหม?
พี่เฟิร์น : ถ้าพูดกันจริงๆ ในเวลานั้นก็คิดว่าไม่ได้ต่างกันมาก เหมือนเป็นการเปลี่ยนที่เรียนจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง มุ่งเน้นไปที่อยากเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะดูเหมือนเท่ ยิ่งได้เป็นเด็กวิศวะอีก และโดยส่วนตัวคิดว่าไม่มีอะไรยากลำบากซักเท่าไหร่ครับ เพราะเป็นคนอยู่ในกฏระเบียบพอสมควร แต่อยากแนะนำน้องๆ ว่าให้ทำในสิ่งที่ควรกระทำ เข้าร่วมกิจกรรมพอสมควร เรียนรู้ชีวิตที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงขึ้น ไม่เหมือนสมัยมัธยมที่ผ่านมา ดังนั้น เท่าที่เห็นก็จะมีผู้ที่หลงระเริงในชีวิตมหาวิทยาลัยที่สั้นมาก(คือเรียนได้เพียงปีเดียวก็ต้องถูกเชิญให้ออกก็มี) หรือจะพูดได้ว่ามีอิสระมาก แต่ในความเป็นอิสระที่มากขึ้น เราก็ต้องรับผิดชอบมากขึ้นด้วยครับ 

พี่แป้ง : บรรยากาศตอนสมัยเรียนเป็นอย่างไรบ้าง­ 
พี่เฟิร์น : บรรยากาศในสมัยนั้น ยังไม่มีไอแพด ไอโฟน หรืออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยเท่าทุกวันนี้ เราก็นั่งแซวสาวบ้าง ไปห้องสมุดบ้าง ไปเที่ยวห้างสรรพสินค้า ดูหนัง กินข้าว ก็อาจไม่แตกต่างจากยุคนี้ซักเท่าไหร่ เพียงแต่ในสมัยนั้นตึกยังไม่มากขนาดนี้ ไม่มีเลนจักรยานใหญ่ขนาดนี้ ห้องเรียนก็ไม่ได้ใหม่ขนาดนี้ แต่เชื่อว่าคุณภาพทางวิชาการคงไม่ได้ด้อยไปกว่าสมัยก่อน แต่สิ่งที่อาจแตกต่างกันมากในความคิดพี่ ก็น่าจะเป็นเรื่องการรับน้อง เข้าห้องเชียร์ ในมุมมองของพี่ พี่คิดว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียนะครับ แต่เอารวมๆ แล้ว พี่คิดว่าน่าจะมีข้อดีมากว่าข้อเสีย ยกตัวอย่างคือ ทำให้นิสิตรู้จักกันอย่างรวดเร็ว มีความรัก ความสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่น แต่ข้อเสียคือ ทำให้นิสิตที่อาจไม่สามารถจัดระเบียบตัวเองได้ ทำกิจกรรมจนมากเกินไป จนทำให้ไม่มีเวลาสำหรับการศึกษา จนอาจทำให้ตัวเองมีปัญหากับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้ครับ 

พี่แป้ง : เรียนจบแล้ว ทำงานอะไรคะ­ 
พี่เฟิร์น : พอพูดถึงเรียนจบจากรั้วมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังอดเสียดายชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอยู่เลยครับ เพราะหลังจากเรียนจบแล้ว พี่ก็ได้ไปเรียนภาษาอักกฤษ ฟุตฟิตฟอไฟ อยู่ที่ ประเทศอังกฤษอยู่ได้ประมาณ 8-9 เดือน แล้วก็กลับมาเมืองไทย พี่เชื่อว่าเรื่องดวง พรหมลิขิต โชคชะตามีจริงนะครับ แต่ไม่ได้เป็นตัวกำหนดชีวิตเราซะทั้งหมดนะครับ พี่ก็ยังคงเชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เราเลือกเอง แต่มีเรื่องดวงเข้ามาเป็นส่วนน้อย เพื่อสร้างโอกาสให้เรา แล้วเราก็ทำมันต่อเอง ฟังดูแล้วอาจรู้สึกวกวน พี่จะเล่าเรื่องของพี่ให้ฟัง คือ

           หลังจากพี่กลับมาจากต่างประเทศ พี่ตั้งใจจะสอบเป็นนักบินอย่างเดียวเลยครับ แต่มีเพื่อนพี่มาบอกครอบครัวพี่ว่า มี บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เปิดรับสมัครพนักงานอยู่ ตอนนั้นพูดจริงๆ นะครับ ว่าไม่รู้จักบริษัทฯนี้เลยด้วยซ้ำ แต่ก็ไปสมัครนะครับ เพราะเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการบิน(ชื่อมีคำว่าการบินก็โอเคแล้ว) แล้วในที่สุดก็ได้เข้าสู่การทำงานที่บริษัทฯ นี้จนถึงปัจจุบัน แต่อย่างที่บอกครับ ว่าพี่มาสมัครงานแบบไม่ได้ตั้งใจ แต่เรื่องการเตรียมตัวสอบเนี่ย ก็เต็มที่นะครับ เพราะสอบไปพร้อมๆ กับการสอบนักบิน โชคดีขั้นตอนการสอบของนักบิน และเอทีซีคล้ายๆ กันครับ คือมี 4 ขั้นตอนครับ ในขั้นตอนแรก ก็คือการสมัครสอบเป็นพนักงาน ไม่มีอะไรมากครับ ก็คือ เตรียมเอกสารสมัครงานทั่วไป เพิ่มเติมในส่วนของการสอบภาษาอังกฤษ(TOEIC)เท่านั้น พี่ก็เป็นคนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่เค้าระบุไว้ เลยผ่านขั้นตอนนี้มาอย่างไม่ยากเย็นครับ รอบต่อมาก็สอบข้อเขียนครับ รอบนี้ต้องใช้ความรู้ความสามารถซักหน่อยครับ เพราะมีสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และความรู้ทั่วไป แต่เราก็ยังคงผ่านไปได้อยู่ครับ มาถึงรอบที่สาม ก็จะเป็นการตรวจร่ายกายครับ รอบนี้ก็อย่างว่าครับ ทำร่างการให้สมบูรณ์ครับ เพียงแต่การตรวจร่ายการรอบนี้จะตรวจกันแบบละเอียดเลยทีเดียวครับ แถมยังมีการตรวจจิตเวชด้วยนะครับ ถ้าเป็นคนปกติก็น่าจะผ่านรอบนี้นะครับ ตรงนี้พี่ก็ผ่านมาได้ด้วยดีครับ รอบสุดท้ายเป็นการสอบสัมภาษณ์กับผู้บริหารระดับสูง เป็นการดูบุคลิกภาพ และสอบถามถึงเรื่องทั่วๆไปครับ และเมื่อผ่านขั้นตอนนนี้ ก็แสดงว่าคุณมีความพร้อมที่จะเป็นพนักงานของบริษัทฯ แล้วครับ

           ดูไม่น่าจะยากเท่าไหร่ใช่ไหมครับ แต่สำคัญที่ความสามารถขอเราจะอยู่ในโควตาที่เค้ารับรึป่าวเพราะในแต่ที่สอบ จะมีสัดส่วน จำนวนผู้สอบผ่าน/จำนวนผู้สมัคร ประมาณ 1/20 เลยทีเดียวนะครับ ตอนนั้นพี่สอบผ่านมาได้ก็รู้สึกภูมิใจไม่น้อยเลยนะครับ โดยพี่ทำงานในอาชีพเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ(ATC)มาแล้ว 10 ปี ปัจจุบันตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานควบคุมจราจรทางอากาศอาวุโสครับ 


พี่แป้ง : อนาคตวางแผนอย่างไรบ้างคะ­
พี่เฟิร์น : อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร มันสำคัญที่วันนี้ครับ ว่าเราอยากจะให้มันเป็นอย่างไร ก็คงมี 3 เรื่องที่สำคัญสำหรับพี่ครับ 
  1. อนาคตครอบครัว สำหรับพี่ พี่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับแรก คือพยายามให้ทุกคนในครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับฐานะที่เป็น มีความสุขกับครอบครัวทุกวัน ทั้งในวันนี้และอนาคต ไม่ได้หวังว่าอยากให้คนในครอบครัวทำอะไรเป็นพิเศษ เพียงแค่มีความสุขก็พอใจแล้วครับ
  2. อนาคตทางหน้าที่การงาน ตอนนี้ก็ถือว่าหน้าที่การงานก็ดำเนินไปด้วยดีนะครับ พยายามหาความรู้เพิ่มเติม เพราะโลกทุกวันนี้ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ ความรู้มีเกิดขึ้นใหม่เสมอ ถ้าเรายิ่งมีความรู้มาก ทำในสิ่งที่ถูกต้อง คงไม่ต้องหวังอะไรกับหน้าที่การงาน เพราะความรู้ความสามารถของเราจะพาเราไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานเอง
  3. อนาคตสังคม อันนี้ความหวังมากครับ เพราะอยากเห็นประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมการบินให้มาก พี่พยายามหาเวลาเอาความรู้ที่พี่มีถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังให้น้องๆ ได้มีความรู้มากๆ เพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป  

พี่แป้ง : อยากให้ฝากข้อความถึงน้อง ๆ ที่อยากเรียนคณะนี้ เดินตามทางความฝันด้านการบิน­
พี่เฟิร์น : สำหรับข้อความฝากถึงน้องๆ ที่อยากเข้าเรียนคณะนี้ อยากให้น้องๆ หาฝันของตัวเองให้เจอ แล้วตั้งใจทำให้ฝันนั้นเป็นจริง สำหรับทางด้านอุตสาหกรรมการบิน มีหลากหลายหน้าที่ให้น้องๆได้ค้นหา มันสำคัญว่าน้องจะตั้งใจเพียงใด ไม่มีอะไรที่เราได้มาง่ายๆ แต่มันอาจไม่ได้ยากเย็นนัก ขอเพียงน้องๆ มีความตั้งใจเท่านั้น แล้วมีเรื่องสำคัญอีกเรื่องนะครับ ปัจจุบันนี้ภาษาเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าความรู้ที่จะใช้ในการทำงาน ขอให้น้องๆ ตั้งใจฝึกฝนนะครับ




    พี่ไผ่ นักบินการบินไทย    


พี่แป้ง : ช่วยแนะนำตัวเองให้น้อง ๆ รู้จักหน่อยค่ะ ^_^  
พี่ไผ่ : ชื่อ กิตติ สัตตธารา ชื่อเล่น ไผ่  เรียนจบจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาการบินและอวกาศ สาขาการจัดการการบินครับ

พี่แป้ง :ทำไมตอนนั้นถึงเลือกเรียนการจัดการการบิน ม.เกษตร คะ­ 
พี่ไผ่ : จะว่าไปจริงๆ ก็เหมือนดวงมันพาไปครับ เพราะว่าจริงๆ แล้วไม่รู้จักสาขานี้เลย ตอนนั้นสาขานี้เพิ่งเปิดใหม่ แต่เห็นเพื่อนๆ คุยกันถึงคณะนี้ พอได้ยินเข้าก็สนใจ และมีใบสมัครเหลือให้ใบสุดท้ายพอดีเลย แบบว่าดวงพาไปสุดๆ (จริงๆแล้วถ่ายเอกสารเพิ่มใหม่ก็ได้) พอได้ศึกษาว่าจริงๆแล้ว สาขานี้เรียนอะไรบ้างก็ทำให้อยากเข้ามาเรียน นึกในใจว่า นี้แหละเหมาะกับเราสุดๆ (แค่ชื่อสาขาก็เท่แล้ว 555)

พี่แป้ง : ตอนที่เข้าไปเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยจริงๆ แตกต่างจากที่คิดไว้ไหม­ 
พี่ไผ่ : พอเข้ามาเรียนก็รู้สึกว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิด เข้ามาเรียนเทอมแรกเกรดยังเกิน 3 อยู่ เพราะว่ายังมีบุญเก่าจาก ม.ปลาย วิชาก็ไม่ค่อยต่างกันมาก แต่พอมาเทอม 2 เกรดนี่ร่วงไปแทบจะติดดิน ทำให้เรารู้ว่า เราต้องพยายามมากขึ้นกว่านี้นะ จากนั้นเกรดก็ค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่น่าพอใจ

พี่แป้ง : บรรยากาศตอนสมัยเรียนเป็นอย่างไรบ้าง­ 
พี่ไผ่ : บรรยากาศตอนสมัยเรียนก็สนุกดีได้เจอกับเพื่อนๆ จากหลายๆ โรงเรียน ซึ่งทำให้เราต้องรู้จักปรับตัวเข้าหาคนอื่น เรียนตอนกลางวันก็ตั้งใจเรียน แต่ก็มีหลับบ้างตามประสาวัยรุ่น หลังเลิกเรียนก็เตะบอลบ้าง เล่นเกม(ที่แยกเกษตร)บ้าง ในช่วงนี้จะรู้สึกว่าเราไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมากแค่เรียนอย่างเดียว แต่ก็ต้องระวังตัวไม่ให้หลงระเริงกับการไม่ต้องรับผิดชอบอะไรจนทำให้เสียการเรียน ซึ่งตัวอย่างของการเรียนไม่จบก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป

พี่แป้ง : เรียนจบแล้ว ทำงานอะไรคะ­ 
พี่ไผ่ : หลังจากเรียนจบระหว่างหางาน ผมสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์ ไปด้วย รับงานเล็กๆ น้อยๆ ไปด้วย แล้วพอดีการบินไทยเปิดรับสมัคร student pilot ซึ่งผมก็สนใจมากๆ ก็เลยสมัครไป ระหว่างที่สอบก็ยังทำงานพิเศษ รวมไปถึงหางานอื่นทำด้วย (เผื่อว่าสอบไม่ติด) การสอบนักบินมีทั้งหมด 7 รอบ หลังจากการสอบอันยาวนาน ประมาณ เกือบ1ปี (โดนน้องน้ำท่วม ทำให้เลื่อนบ่อย) ก็สามารถสอบผ่านเข้ามาเป็น นักบินทุนการบินไทยได้ตามที่ตั้งใจไว้ ตอนนี้มาฝึกบินกับสถาบันการบินพลเรือน ที่หัวหินครับ บรรยากาศที่นี้ดีมาก จะมีสักกี่ที่ ที่หอพัก ติด Runway และทะเล

พี่แป้ง : อนาคตวางแผนอย่างไรบ้างคะ­ 
พี่ไผ่ : ในอนาคตผมวางแผนว่าอยากไปเล่น snowboard ตามสถานที่ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก แล้วก็อยากมีครอบครัวที่มีความสุขครับ (ไม่ได้เกี่ยวกับอาชีพเลย)

พี่แป้ง : อยากให้ฝากข้อความถึงน้อง ๆ ที่อยากเรียนคณะนี้ เดินตามทางความฝันด้านการบิน­ 
พี่ไผ่ : น้องๆที่อยากเรียนคณะนี้ก็ต้องตั้งใจให้มาก ต้องพยายามด้วยตัวเองเท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จ ทำให้ดีที่สุด และยังไม่ต้องกังวลถึงผลที่ยังไม่มาถึง ส่วนใครที่อยากเป็นนักบิน ผมก็อยากจะฝากทัศนคติที่นักบินทุกคนจำเป็นต้องมีสัก 2ข้อ (จริงๆมีเยอะกว่านี้)
           1. มีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง ทั้งการกระทำและคำพูด 
           2. มีระเบียบวินัยต่อการดำเนินชีวิตของตนเอง และไม่ฝ่าฝืนกฏข้อบังต่างๆ

สุดท้ายก็ขอฝากไว้ว่า " ไม่มีสิ่งที่สูงค่าใดๆในโลก ที่ได้มาโดยไม่พยายาม "
        


โอ้โห้ให้กับทั้ง 2 คนที่สามารถยืนอยู่ ณ จุดที่ตนเองฝันไว้ได้

น้อง ๆ คนไหนอยากเรียนการบินบ้าง ยกมือขึ้นหน่อย !!


พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด

13 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
jaisungma007 Member 11 ก.ค. 55 16:43 น. 2
น้องๆครับ....เห็นข้อมูลที่น้องๆๆแต่ละคนให้มานั้น ก้อเข้าใจได้ในแต่ละอาชีพครับ แต่สำหรับเรื่องเรียนที่มหาลัยนั้นแล้วมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับนั้น ผมไม่ค่อยเห็นด้วยแล้วละครับ เพราะเดี๋ยวนี้มีมหาวิทยาลัยหลายๆๆที่ ที่สามารถสอนวิชาการให้มีมาตราฐานทัดเทียมกับมหาลัยดังๆๆได้แล้วละครับ ไม่จำเป็นต้องเป็น ม.เกษตรฯ หรือจุฬาแล้วละครับ ตรงนี้ผมว่าเปลี่ยนค่านิยมกันได้แล้วครับ ซึ่งที่จริงผมก้อจาก ม.เกษตรมานะครับ.  จากพี่ เคยู42
0
กำลังโหลด
AERO 11 ก.ค. 55 18:19 น. 3
สำหรับน้องๆที่อ่านแล้วอยากเรียนการบิน ขอให้ลืมความคิดว่าการบินนั้นสวยงามไปจากสมอง
แล้วลองคิดอีกทีว่า ยังอยากเรียน อยากทำงานด้านนี้อยู่มั้ย
ถ้าคำตอบคือ ใช่ อยากเป็นส่วนหนึ่งในการบิน น้องค่อยตัดสินใจมาทางด้านนี้ครับ

การเลือกจะเรียนต่อไม่ว่าจะด้านไหนนั้น ขอให้เลือกจาก ใจรักและความสามารถ
โดยขอให้เลือกจากใจรักก่อน ถ้าความสามารถถึงก็ลุยเลย
หากความสามารถไม่ถึง ก็ดูว่าจะพยายามได้มั้ย ถ้าไม่ฝืนเกินไปนัก ก็ขอให้ลองดู
และสุดท้าย ถ้าเลือกตามความสามารถ(หรือกระแส) ถึงแม้น้องจะทำได้ และทำได้ดี
แต่นั่นอาจไม่ใช่ความสุขของน้องจริงๆเลยก็ได้

สุดท้ายขอให้ตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเองให้ดีนะครับ :)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
KU58 12 ก.ค. 55 16:08 น. 5
ตอบความเห็นที่ 2 เห็นด้วยกับคำว่าไม่จำเป็น แต่ว่าคำว่า"ค่านิยม"มันก็มีที่มาที่ไปของมันนะครับ
แล้วก็อยากให้มองในเชิงรายละเอียดด้วยครับ ว่าคณะที่เปิดหลักสูตรที่เกี่ยวกับการบินที่เป็นสายบริหาร ในระดับปริญญาตรี มีที่นี่ที่เดียวนะครับ ที่เหลือจะเป็นสายบริการและสายอาชีพซะมากกว่า
ที่สำคัญ ผมอยู่ในวงการการบินมานานพอสมควร ซึ่งมัั่นใจว่าในด้าน Capacity นี่ วิศวกรรมการบินเกษตรนี่ไม่เป็นรองใครในประเทศครับ
0
กำลังโหลด
Kai 23 ต.ค. 55 13:11 น. 6
ขอแจมด้วยคน จบปีละกี่คน ไปทำอะไรกันบ้าง(จบการบินพลเรือนนะครับ) หรือว่ารู้จักแค่สองคน ค้นหามาอีกครับ เพื่อชื่อเสียงของการบินพลเรือน และเพื่อเด็กไทยที่หลงชื่นชอบ ช่วยตอบกันหน่อยครับ
0
กำลังโหลด
third 28 ต.ค. 57 12:34 น. 7
อยากรุ้อะคะว่า ถ้าเข้าวิศวะการบินแล้วเวลาตบไปต้องเป้นแต่นักออกแบบรึเปล่าคะหรือเป้นอย่างอื่นก้ได้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Stormy1 3 ส.ค. 59 23:45 น. 11
ถ้าอยากออกแบบเครื่องบิน พัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ควรเรียนคณะนี้ไหม ? หรือควรไปหาเอาที่ต่างประเทศคับ เขิลจุง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด