ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แพทย์แผนไทยประยุกต์ ศิริราช

    ลำดับตอนที่ #2 : แพทย์แผนไทยทำไมต้อง 'ประยุกต์'

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 15.95K
      12
      22 ก.ย. 55

     

    แพทย์แผนไทยทำไมต้อง 'ประยุกต์'

                   หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่าแพทย์แผนไทยมาแล้ว อาจจะรู้จักมากน้อยต่างกันไป แต่ถ้าพูดถึง แพทย์แผนไทยประยุกต์หลายๆคนคงทำหน้าเป็นเครื่องหมาย question mark กันทีเดียว !!

     

                    “แพทย์แผนไทยประยุกต์คืออะไร?”

                    “เหมือนแพทย์แผนไทยป่ะ?”

                    “หมอนวด?”

                    “มีคณะนี้ด้วยเหรอ?”

                    “เรียนยากมั้ย?”

                   “จบมาทำงานอะไรอ่ะ?”

     

                    ถ้าจะว่ากันตามนิยามของกฎหมาย..

                   “การแพทย์แผนไทยหมายความว่า การประกอบโรคศิลปะตามความรู้หรือตำราแบบไทยที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา หรือตามการศึกษาจากสถานศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง

                   “การแพทย์แผนไทยประยุกต์หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะตามการศึกษาจาก สถานศึกษาที่คณะกรรมการรับรอง และใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการบำบัดโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

     

                    หลายๆคนอ่านจบแล้ว คงงงเป็นไก่ตาแตกยิ่งกว่าเดิม..

     

                    เรามาพูดง่ายๆเป็นภาษาชาวบ้านกันดีกว่า

                   "แพทย์แผนไทย" เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการแพทย์แผนไทยเพียวๆในการวินิจฉัยโรคและรักษาโรค ทำให้การเรียนการสอนจะมุ่งศึกษาองค์ความรู้ทางแผนไทยเพียงอย่างเดียว ไม่มีการเรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกอบ

                   "แพทย์แผนไทยประยุกต์" เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของนพ.อวย เกตุสิงห์ ที่ต้องการพัฒนาแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน มีวิทยาศาสตร์เข้ามารองรับในการอธิบาย มีความรู้ทางการแพทย์พื้นฐานที่จะสามารถสื่อสารกับแพทย์แผนปัจจุบัน และใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิดได้ จึงมีการเรียนการสอนทั้งองค์ความรู้ทางด้านแผนไทยและวิทยาศาสตร์การแพทย์ควบคู่กัน  (แต่ในทางปฏิบัติเราเน้นแผนไทยเป็นหลักนะ)

     

                     สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองศาสตร์ คือในเรื่องการศึกษาทฤษฎี หลักการ และวิธีการรักษาด้านแผนไทย ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสาขาเวชกรรม เภสัชกรรม หัตถเวชกรรม และผดุงครรภ์ (แต่ละสาขาคืออะไร เดี๋ยวเราค่อยว่ากันอีกทีนะจ๊ะ)

                     สำหรับข้อแตกต่างนั้น คือ ในแง่ของการศึกษาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ความสามารถในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ และที่สำคัญ...ใบประกอบโรคศิลปะของทั้งสองสาขานี้ก็ต่างกัน

     

                     น้องๆหลายคนอ่านจบ คงคิดว่า

                     เอ๊ะ...อย่างงี้แพทย์แผนไทยประยุกต์ก็ดีกว่าสิ รู้ทั้งแผนไทยแผนปัจจุบัน

     

                     แต่ช้าก่อน..มันไม่ได้เป็นอย่างงั้นเสมอไป !!!

     

                     อย่าลืมว่าทั้งสองสาขานี้เรียน 4 ปีเท่ากัน ดังนั้นคนที่เรียนแพทย์แผนไทย จะมีข้อได้เปรียบคือ เค้ามีเวลาในการศึกษาองค์ความรู้แผนไทยได้ลึกซึ้งกว่า อีกทั้งการที่แพทย์แผนไทยประยุกต์ได้ศึกษาความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็อาจทำให้เรายึดติดกับแนวคิดสมัยใหม่ ทำให้กลายเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงมุมมองแนวคิดของแพทย์แผนไทยที่แท้จริง (อันนี้ประสบการณ์ตรงเลยนะ เวลาเรียนวิชาแผนไทยกับแผนปัจจุบัน เอามาคิดรวมกันทีไร เป็นอันงงทุกที ~)

     

                    สำหรับพี่แล้วไม่ว่าจะแพทย์แผนไหน ต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป หากจะนำมาเปรียบเทียบว่าใครดีกว่าใครคงไม่ได้

                   แต่เหนือสิ่งอื่นใด...เราต้องอย่าลืมว่าแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ต่างก็มีรากฐานมาจากจุดเดียวกัน และมีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน คือ มุ่งดูแลรักษาคนไข้ให้หายจากความเจ็บป่วย :D

     

     

    ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก...

    พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พศ.2542


    www.applythaimed.org/fusion702/articles.php?article_id=2

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×