8 วิธีตัดสินใจ!! ในสถานการณ์ "ต้องเลือก" เมื่อรับตรงสอบชนกัน

         วัสดีค่ะ... หนึ่งเรื่องปวดหัวของเด็กแอดฯ ที่เดินสายสอบตรงคือ วันสอบชนกัน โดยเฉพาะคณะที่รอมาเป็นปีดันมาสอบวันเดียวกับอีกมหาวิทยาลัยหนึ่ง หวังจะรอให้เลื่อนสอบก็ไม่เลื่อน สุดท้ายมาลำบากใจว่าเราจะต้องเลือกที่ไหน

          ถ้าพูดกันตรงๆ วันสอบชนกันก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเท่าไหร่นะคะ อาจเป็นความตั้งใจของมหาวิทยาลัยที่จะให้นักเรียนเลือกสอบที่ใดที่หนึ่งอยู่แล้วก็ได้ เกิดได้บ่อยถ้าเป็นคณะเดียวกัน วันนี้พี่มิ้นท์มีคำแนะนำมาฝากน้องๆ ที่กำลังเผชิญกับปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่รู้จะเลือกสอบมหาวิทยาลัยไหนดี หวังว่าจะช่วยน้องๆ ให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะ และเมื่อตัดสินใจเลือกได้แล้วก็เดินหน้าสอบไปเลยไม่ต้องลังเลค่ะ

 


 
    1. คณะใช่ มหาวิทยาลัยใช่ ไม่ต้องคิดนาน
          บางคนมีคณะและมหาวิทยาลัยในฝันอยู่แล้ว ถ้าคณะที่ใช่ในมหาวิทยาลัยที่ใช่เปิดรับสมัคร จงเลือกแบบไม่ต้องลังเลเลย แม้จะมีคณะอื่นที่โอกาสติดมากกว่ามาสอบวันเดียวกันก็ตาม เพราะไหนๆ โอกาสมาให้ทำตามฝันแล้วจะทิ้งไปทำไมล่ะ ติดไม่ติดค่อยว่ากันอีกที มีเป้าหมายแล้วต้องพุ่งชนไว้ก่อน
 
   
2. อยากเรียนที่ไหนมากกว่ากัน ไม่สอบอันไหนเสียดายกว่ากัน
           ในกรณีที่ไม่ใช่คณะหรือมหาวิทยาลัยในฝันแต่อยากสอบ คำถามเบสิคที่ควรถามตัวเองเป็นอันดับแรก และต้องตอบให้ได้ ก็คือ อยากเรียนที่ไหนมากกว่ากัน แม้ในใจจะรู้สึกว่าอยากเรียนทั้งสองที่เท่าๆ กัน แต่ความเป็นจริงมันไม่เท่ากันหรอกค่ะ ต้องมีที่ใดที่หนึ่งอยากได้มากกว่า ดังนั้นเอาทั้ง 2 คณะหรือ 2 มหาวิทยาลัยนั้นมาเทียบกัน หาข้อดีข้อเสีย หรือถ้าเราไม่เอาอันไหนจะเสียดายทีหลัง วิธีนี้เรียกว่า "เลือกตามความรู้สึก" ค่ะ
 
    3. คณะนั้นมีรับรอบแอดมิชชั่นกลางไหม
          เคยมีผู้ปกครองถามพี่มิ้นท์ว่าระหว่าง 2 คณะนี้ให้ลูกเลือกสอบที่ไหนดี เนื่องจากวันสอบชนกัน ตอนแรกก็ลังเลเพราะไม่อยากฟันธงให้ใครมั่วๆ จึงแนะนำไปว่า คณะแรกมีรอบแอดมิชชั่นกลางและรับเยอะด้วย ส่วนอีกคณะของมหาวิทยาลัยนี้มีแต่รอบรับตรงอย่างเดียว ถ้าพลาดแล้วพลาดเลย  ถ้าเรามีข้อมูลแบบนี้จะตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมากค่ะ เพราะถ้าคณะไหนมีรอบแอดมิชชั่นกลางอีกเท่ากับว่ายังมีโอกาสให้แก้ตัวรอบหน้านั่นเอง
          อย่างไรก็ตามน้องๆ อาจจะค้างคาใจว่าแล้วคณะที่มีทั้งรอบรับตรงและแอดมิชชั่นล่ะจะเลือกยังไงดี อันนี้ก็ไม่ยากค่ะ ลองดูจำนวนรับทั้งรอบรับตรงและแอดมิชชั่น แล้วเปรียบเทียบดูว่าสอบที่ไหนมีโอกาสมากกว่ากัน บางที่เปิดรับตรงเยอะมากแต่รอบแอดมิชชั่นรับนิดเดียว อย่างนี้รีบคว้ารอบรับตรงไว้ก่อนก็ได้ค่ะ

 
     4. ความพร้อมของเรา
            ไม่ต้องไปวิเคราะห์อะไรให้วุ่นวาย ดูที่ความพร้อมของเราเป็นหลัก หากสนามสอบชนกัน ดูเลยว่าเราจะพร้อมอันไหนมากกว่า เพราะเกณฑ์รับสมัครแต่ละโครงการไม่เหมือนกันค่ะ บางที่ใช้คะแนน GAT PAT บางที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเองต้องอ่านหนังสือเพิ่ม ตรงนี้น้องต้องตัดสินใจเองว่าวิธีไหนเข้าทางตัวเอง หรือถ้าสอบหลายที่ที่ต้องใช้คะแนน GAT PAT จะตั้งใจสอบ GAT PAT ให้ได้คะแนนดีๆ ไปเลยแล้วยื่นคะแนนทีเดียวก็ได้ ไม่ต้องเหนื่อยตามสอบหลายรอบค่ะ
    อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกสนามสอบไหนต้องเตรียมตัวให้พร้อมจริงๆ นะคะ จะได้ไม่เสียแรงที่เลือกสอบคณะ/มหาวิทยาลัยนั้นไปแล้ว

 

 
    5. งบสนับสนุนการสอบ
          สำหรับคนที่ตัดสินใจไม่ได้จริงๆ ใช้วิธีคำนวณค่าสอบก็เป็นวิธีที่น่าสนใจนะคะ รับตรงแต่ละแห่งค่าสมัครสอบไม่เท่ากัน มีตั้งแต่หลักร้อยต้นๆ ไปจนถึงหลักร้อยปลายๆ เลือกสนามสอบที่ไม่แพงมากก็ได้ค่ะ จะได้ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายมากแต่ได้คณะที่อยากเรียนเหมือนกัน
 
    6. เงื่อนไขอื่นๆ ของทางมหาวิทยาลัย
         ยกตัวอย่างเงื่อนไขอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสอบติดรับตรงไปแล้ว เช่น
              - ค่าธรรมเนียมในการยืนยันสิทธิ์ บางที่ก็เก็บเลย บางที่ก็ยังไม่เก็บ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่เท่ากันด้วย
             - เงื่อนไขเรื่องการตัดสิทธิ์รับตรงอื่นๆ บางโครงการเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ หมายความว่าถ้ายืนยันสิทธิ์ไป จะถูกตัดสิทธิ์รับตรงอื่นๆ ที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ทั้งหมด บางโครงการสอบติดก็ไม่สามาารถสมัครรับตรงในมหาวิทยาลัยนั้นได้แล้ว เป็นต้น
             - เงื่อนไขเรื่องการสละสิทธิ์ว่าสามารถทำได้หรือไม่
          รายละเอียดส่วนนี้จะอยู่ท้ายระเบียบการค่ะ ลองเสียเวลาอ่านกันสักนิด จะช่วยตัดสินใจได้ดีขึ้น บางคนอาจจะอยากลองสนามสอบเฉยๆ แต่ถ้าไปสอบในที่ที่ยืนยันสิทธิ์แล้วตัดสิทธิ์รับตรงทั้งหมด จะกลายเป็นลำบากแทนค่ะ

 
   7. โอกาสพิเศษเพื่อเราโดยเฉพาะ
           น้องๆ เคยสังเกตไหมว่าบางโครงการมีคุณสมบัติเอาไว้ เช่น กำหนดเรื่องจังหวัดที่สมัครสอบ กำหนดเรื่องแผนการเรียน หรือกำหนดเรื่อง portfolio ในมุมมองของพี่มิ้นท์คิดว่าถ้าเรามีคุณสมบัติตรงตามที่โครงการกำหนดและอยากเรียนคณะนั้นพอดี ควรรีบคว้าไว้เลย เพราะคุณสมบัติที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดมาจะคัดกรองให้คนเหลือน้อยลง เช่น รับเฉพาะภาคเหนือ ภาคอื่นก็สมัครไม่ได้แล้ว เราก็จะแข่งกับคนน้อยลง โอกาสติดก็เพิ่มมากขึ้น ฝากน้องๆ ลองอ่านระเบียบการเยอะๆ แล้วจะรู้ว่ามีหลายโครงการที่เกิดมาเพื่อเราโดยเฉพาะ
 
     8. ปัจจัยอื่นๆ ที่น่าคิด
          นอกเหนือจากเหตุผลที่พูดมาทั้งหมดแล้ว ยังมีองค์ประกอบบางอย่างที่น้องๆ คิดไม่ถึง แต่เป็นจุดที่ทำให้ตัดสินใจได้แทบจะทันที  เช่น
            - มีรับตรงเปิดกี่รอบ บางแห่งมีสองรอบ บางแห่งมีรอบเดียว ที่ไหนมี 2 รอบ รอไปสอบรอบ 2 ก็ได้
            - มี/ไม่มีประกาศตัวสำรอง หรือ มีประกาศผลรอบสอง ลองหาข้อมูลสถิติปีก่อนๆ ว่ามีการเรียกตัวสำรองหรือไม่  คณะที่มีการเรียกตัวสำรองแสดงว่ามีโอกาสที่คนจะสละสิทธิ์เยอะ และถ้าโชคดี(ในกรณีที่สอบไม่ติด) อาจมีชื่อเราเป็นตัวสำรองอยู่ก็ได้
            - คณะเดียวกันแต่มีไม่กี่ที่ที่เปิดรับตรง บางคณะโชคร้ายหน่อยมีเปิดรับตรงเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัย ที่เหลือต้องรอไปสอบรอบแอดมิชชั่นกลางอย่างเดียว ฉะนั้นถ้าอยากสอบติดตั้งแต่รอบรับตรง เล็งคณะประเภทนี้ไว้ก่อนก็ดีค่ะ จะได้ไม่ต้องไปแย่งกันในรอบแอดมิชชั่นกลาง
            - ทุน ทุนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจนะคะ บางมหาวิทยาลัยมีทุนให้ด้วยหากสอบติดและคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้

         ตอนนี้ก็เดินทางมาครึ่งทางของเด็กแอดฯ แล้ว แต่ก็ยังมีรับตรงทยอยมาอยู่เรื่อยๆ ซึ่งไม่แน่ว่าบางโครงการจัดสอบชนกันอีกก็ได้ ยังไงก็อย่าลืมเอาคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้และบอกต่อเพื่อนๆ ด้วย ที่สำคัญที่สุดการอ่านทำให้เราเข้าใจทุกอย่างได้ดีขึ้น ระเบียบการเขาทำออกมาให้อ่านฉะนั้นอ่านเข้าไปเถอะค่ะ แล้วน้องๆ จะตัดสินใจได้เองว่าควรหรือไม่ควรสมัครโครงการไหน ขอให้น้องๆ โชคดี สอบติดรับตรงกันทุกคนนะคะ ด้วยรักและหวังดีเสมอ จุ๊บๆ :D
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
นัท 22 ม.ค. 57 18:36 น. 3
คณะใช่ แต่ มหาลัยไม่โดน ควรเลือกนะจ๊ะ เพราะเรียนคณะอะไร จบมาได้ทำงานแนวนั้นแล้วเป็นสุข มันก็เป็นสุขไปตลอดชีวิต เลือกเรียนในสิ่งที่รักเลยจ้า (จากคนที่เลือกมหาลัยโคตรดัง แต่ไม่ได้เรียนในสิ่งที่รัก ก็เลยเบื่อ ๆ เซ็ง ๆ ตอนทำงานหลังเรียนจบ)
0
กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
นัท 22 ม.ค. 57 18:36 น. 3
คณะใช่ แต่ มหาลัยไม่โดน ควรเลือกนะจ๊ะ เพราะเรียนคณะอะไร จบมาได้ทำงานแนวนั้นแล้วเป็นสุข มันก็เป็นสุขไปตลอดชีวิต เลือกเรียนในสิ่งที่รักเลยจ้า (จากคนที่เลือกมหาลัยโคตรดัง แต่ไม่ได้เรียนในสิ่งที่รัก ก็เลยเบื่อ ๆ เซ็ง ๆ ตอนทำงานหลังเรียนจบ)
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
jaa 16 ก.พ. 57 09:59 น. 5
ฝากประชาสัมพันธ์ ระบบใหม่ล่าสุด MyLearnVille ระบบที่จะทำให้น้องๆ สามารถเรียนภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะใช้ computer หรือ tablet MyLearnVille มีคอร์สที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตะลุยโจทย์และสรุปเข้ม GAT พร้อมสอบใน 6 ชม. ตะลุยโจทย์ O-NET Intensive Grammar, หรือ คอร์สเตรียมสอบข้อสอบต่างเช่น TOEFL, IELTS, TOEIC, หรือ CU-TEP https://www.youtube.com/watch?v=7v2R-MCU0Y4#t=22 https://www.facebook.com/mylearnville http://www.mylearnville.com/
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด