เร่เข้ามา! ใครอ่านวิชาสามัญ (ไทย-สังคม) ไม่ทัน อ่านเรื่องนี้สิ ออกแน่!!

          สวัสดีค่ะ  บทความแอดมิชชั่นเดือนนี้ พี่ๆ ทีมงาน Dek-D.com ทุ่มหาเทคนิค 7 วิชาสามัญมาฝากน้องๆ ทุกวิชาเพื่อให้ทันการสอบ 7 วิชาสามัญ วันที่ 17-18 ม.ค.นี้ ซึ่งผ่านไปแล้ว 4 วิชา คือ คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ มาสัปดาห์นี้เป็นเทคนิคการสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา วิชาที่หลายคนเลือก "ทิ้ง" เพราะคิดว่าง่าย แต่กลับไม่เคยมีใครได้เต็ม มันไม่ง่ายอย่างที่คิดค่ะ!!
 

 

         พี่มิ้นท์ ก็เลยมีคำแนะนำดีๆ จากครูพี่หมุย โซไซไทย ที่จะมาอธิบายลักษณะข้อสอบวิชาภาษาไทย และสังคมศึกษา รวมถึงเทคนิคต่างๆ ทั้งการสอบและอ่านหนังสือเตรียมสอบ บอกได้คำเดียวว่าอ่านจบ ทำตาม คะแนนลอยมาเห็นๆ ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ
    
  ลักษณะข้อสอบไทย-สังคม 7 วิชาสามัญ
          ปัญหาอย่างแรก คือ น้องๆ ไม่เคยเห็นตัวข้อสอบจริง จึงคิดว่าข้อสอบไทยสังคมจะเหมือนๆ กันทุกการสอบ ซึ่งไม่จริง น้องอาจจะคุ้นเคยกับข้อสอบ O-NET เพราะมีเผยแพร่เยอะ แต่พี่หมุยบอกตรงนี้เลยว่าไม่เหมือนกันแน่นอน ความต่างมันอยู่ตรงนี้
"จุดที่ข้อสอบโฟกัส"

               - ภาษาไทย เนื้อหาที่ข้อสอบโฟกัสไม่เหมือนกันเลย ถ้า 7 วิชาสามัญจะเน้นหนักไปที่การใช้ภาษา เนื้อหาหลักจะไปอยู่ตรงนั้นหมด ในขณะที่มีหลักภาษาแค่ไม่กี่ข้อ ส่วน O-NET จะเน้นหลักภาษา ดังนั้นถ้าน้องพลาดโดยที่ไม่รู้ก่อนว่าข้อสอบออกอะไร ทำให้เตรียมตัวผิด ดังนั้นการเตรียมตัว 7 วิชาสามัญ น้องต้องไปโฟกัสเรื่องการใช้ภาษา การแสดงทัศนะ การให้เหตุผล การอ่านจับใจความ การเรียงลำดับความ หรือว่าโวหารการเขียน ซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ออกข้อสอบเจ็ดวิชาเยอะ

              - สังคมฯ ส่วนวิชานี้ เนื้อหาเหมือนกัน แต่ความลึกต่างกัน พูดง่ายๆ คือ
โอเน็ตไม่ค่อยลึก แต่เจ็ดวิชาลึก แต่ก็ไม่ได้ยากหฤโหดจนเกินไป อย่างปี 57 ที่ออกมา ถามเรื่องพระสูตรบทนึงว่ามีบทไหนกล่าวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ แม้เนื้อหาจะดูยากจนเหมือนไม่เคยเห็นมาก่อน แต่ถ้าน้องอ่านมาอย่างละเอียด พื้นฐานแน่น พอมาดูตัวเลือกจนครบ จะสามารถตัดตัวเลือกอื่นทิ้งได้ทันที เพราะมันเป็นตัวเลือกที่อยู่ในสาระพื้นฐานที่ต้องเรียนอยู่แล้ว
          ดังนั้นยุทธศาสตร์การอ่าน 2 วิชานี้ คือ เปลี่ยนจุดเน้น ภาษาไทยต้องโฟกัสให้ถูกเรื่อง คือ การใช้ภาษา แต่สังคมต้องอ่านให้ลึกและละเอียด โดยไม่ต้องไปหาอ่านหนังสือนอกตำรา เพราะแค่อ่านหนังสือของกระทรวงให้ครบ ก็ทำได้แล้ว

 
  เรื่องเนี้ย ออกแน่ๆ อ่านไปเถอะ!
 
         ถ้าพูดถึงเรื่องแนวข้อสอบที่ออกแน่ๆ ของ 2 วิชานี้ สำหรับข้อสอบภาษาไทยก็จะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาตามที่ได้บอกไปแล้ว แต่น้องๆ มักจะพลาด เพราะไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้วเขาถามอะไร คือ อ่านโจทย์ออกเพราะเป็นภาษาไทย แต่ตอบออกมาแล้วผิด เพราะไม่เข้าใจความหมายจริงๆ ของโจทย์
         เช่น ในเรื่องการอ่าน ก็มักจะถามว่าเจตนาของผู้เขียนข้อความข้างต้นคืออะไร กับ สาระสำคัญข้างต้นคืออะไร
         น้องที่ไม่รู้ก็จะคิดว่า
"เจตนา" และ "สาระสำคัญ" มันเหมือนกัน แต่จริงๆ ไม่เหมือนกันครับ เจตนาของผู้เขียน หมายถึงว่าเขาเขียนไปเพื่ออะไร ดูว่าผู้เขียนต้องการบอกอะไร เช่น เนื้อหาอธิบายประโยชน์ของนมมาทั้งหมด เจตนาก็เพื่อเชิญชวนให้เราไปดื่มนมมากๆ นั่นเอง แต่ถ้าเขาถามว่าสาระหรือใจความสำคัญของบทความข้างต้นคืออะไร ก็จะต้องตอบว่านมมีประโยชน์ ซึ่งข้อสอบแนวนี้ โจทย์ถามเหมือนกันทุกปี เช่น ข้อใดต่อไปนี้เป็นทัศนะ ข้อใดต่อไปนี้กำกวม ข้อใดคือเจตนาของผู้เขียน ฯลฯ แต่สิ่งที่เปลี่ยนคือ เนื้อหาและตัวเลือก
 

 

        ส่วนวิชาสังคม จะออกข้อสอบครบ 5 สาระ กระจายกัน แต่ ณ เวลานี้ให้อ่านครบทุกสาระแบบละเอียดอาจจะไม่ทันการ พี่หมุยแนะนำเนื้อหาที่ออกข้อเรื่องที่ออกแน่ๆ
         
- เศรษฐศาสตร์ ออกทุกปีคือความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่ความหมายของวิชา ปัจจัยการผลิต อุปสงค์ อุปทาน ประเภทของตลาด
        
  - ภูมิศาสตร์ อ่านเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เนื้อหามีอยู่ 2 หน้ากระดาษแต่ออกทุกปี นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น วิธีการ 7R การรีไซเคิล โครงการพระราชดำริต่างๆ ที่ทำขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือพวกสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
     
   - ศาสนา ถ้าอ่านไม่ทันให้เน้นศาสนาพุทธ เน้นที่พุทธประวัติและธรรมะที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ เช่น อริยสัจสี่ ธัมจักกัปปวัตนสูตร โอวาทปาติโมกข์ และเรื่องพุทธสาวก ซึ่งน่าจะออกแน่นอน 1 ท่าน ส่วนศาสนาเปรียบเทียบจะออกจุดเด่นของแต่ละศาสนา เช่นว่า อันนี้มีหรือไม่มีอะไร ความเหมือนหรือแตกต่าง
        
- ประวัติศาสตร์ หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ ถ้าเป็นประวัติศาสตร์ไทย จะเน้นรัชกาลที่ 4-7 อันนี้ออกบ่อยที่สุด (ถ้าน้องไม่มีเวลาแล้วไม่ต้องไปนั่งไล่อ่านตั้งแต่สุโขทัยจนมาถึงปัจจุบัน) นอกจากนี้ จะมีประวัติศาสตร์ศิลปะ ถ้ามีเวลาเหลือให้ดูมาเผื่อด้วย ส่วนประวัติศาสตร์สากล เน้นยุคกลางจนถึงยุคใหม่ ตั้งแต่ยุคกลางเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 17 18 เรเนซองก์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เพราะจุดนี้ในทางการศึกษาประวัติศาสตร์สากลเป็นจุดที่ทำให้ยุโรปสามารถก้าวจากมหาอำนาจชายขอบมาเป็นมหาอำนาจของโลก
       
- อารยธรรมโบราณ จะออกในแง่เดียว คือ มรดก ไม่ต้องไปเน้นจำว่าจากเมืองหลวงนี้เปลี่ยนไปเป็นเมืองหลวงอะไร ใครขึ้นมาครอง คือมันไม่ลงดีเทลยิบย่อย กุญแจสำคัญของการเรียนอารยธรรมก่อนสมัยใหม่ ต้องรู้ว่ามรดกที่สืบทอดมาของอารยธรรมนั้นคืออะไร เช่น สุเมเรียน เป็นอารยธรรมเมโสโปเตเมียแรก มีการประดิษฐ์อักษร มีการปกครองแบบนครรัฐ มีการประดิษฐ์คันไถโลหะเป็นครั้งแรก หรือว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้างบูชา บันไดซิกูแลท ละก็คิดระบบคณิตศาสตร์ และก็มีวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด
  
    - หน้าที่พลเมือง เน้นการเมืองการปกครอง ลองติดตามเรื่องโครงสร้างอำนาจอธิปไตยในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงข่าวปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น ค่านิยม 12 ประการ กฎหมายเบื้องต้น กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
 

Slide Show

สัดส่วนวิชาสังคมศึกษาใน 7 วิชาสามัญ ปี 57



 
  เทคนิคการตัดชอยส์
         ก่อนอื่นพี่หมุยต้องบอกก่อนว่าการตัดชอยส์มันขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาของข้อสอบด้วย ซึ่งเทคนิคการตัดช้อยส์อาจจะใช้ไม่ได้กับข้อสอบทุกประเภท ดังนั้นจะขอพูดในภาพรวมครับ
            -  สังเกตคำบ่งชี้ ถ้ามีมักจะผิด เช่น "เท่านั้น" คำที่มีลักษณะนี้มันค่อนข้างเฉพาะเจาะจงเกินไป เพราะเนื้อหาข้อสอบอาจจะไม่เท่านั้น เช่น ลักษณะของภาคตะวันตกเป็นยังไง ก.เป็นที่ราบลูกฟูกเท่านั้น แบบนี้ก็จะผิด เพราะมันจะเป็นที่ราบลูกฟูก+มีพื้นที่ราบลุ่มบางส่วน
         อีกวิธีหนึ่ง อาจจะต้องเคยอ่านหนังสือมาก่อนนะ คือ คำตอบไหนที่ไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยเห็นมาก่อนในหนังสือ ข้อนั้นไม่น่าจะใช่ เพราะอาจจะนอกหลักสูตร และถ้าน้องเคยอ่านหนังสืออย่างน้อย 1 รอบ ข้อสอบ 7 วิชาสามัญจะต้องตัดออกได้อย่างน้อย 3 ช้อยส์ โดยใช้ความรู้พื้นฐาน อีก 2 ช้อยส์จะเอาไปวัดเด็กว่ารู้จริงมั้ย

 
   อ่านควบ 7 วิชาสามัญกับ O-NET ได้มั้ย
         อย่างที่บอกไปแล้วว่าข้อสอบ 7 วิชาสามัญ มีจุดโฟกัสต่างจาก O-NET ดังนั้นถ้าจะอ่านควบทั้ง 2 การสอบนี้ ในวิชาภาษาไทยอาจจะไม่ควรเท่าไหร่ เพราะภาษาไทย เรื่องหลักภาษาไทยแทบไม่ออก แต่ O-NET ออกเยอะ ถ้าไปโฟกัสเรื่องนั้นอาจจะพลาดคะแนนส่วนอื่นๆ ได้ ในขณะที่วิชาสังคม อ่านพร้อมกันได้ครับ แต่ต้องอ่านให้ลึกเลย เพราะใช้สอบวิชาสามัญได้ และ O-NET ก็จะง่ายขึ้น

 

 
   สุดท้ายแล้ว! ครูพี่หมุยอยากฝากอะไรถึงน้องๆ บ้าง
        จะอยู่ที่วิชาภาษาไทยค่อนข้างมาก ถ้าเป็นไปได้ ข้อที่เป็นเรียงลำดับความและหลักภาษา อยากให้ทำก่อนครับ เพราะเรียงลำดับความต้องใช้สติค่อนข้างเยอะ ทำหลังๆ อาจจะเบลอได้ ส่วนหลักภาษา ที่ให้ทำก่อนเพราะว่าข้อสอบหลักภาษามันต้องจำ ต้องการสมองที่เฟรช ซึ่งสองพาร์ทนี้มีน้อยมาก ดังนั้นทำให้เสร็จก่อนแล้วค่อยไปอ่านโจทย์อย่างอื่นจะเวิร์คสุด ไม่งั้นจะเบลอครับ
         ส่วนวิชาสังคม อยากให้ทำเรียงข้อแล้วบริหารเวลากันให้ดี เพราะว่าถ้าน้องทำสลับข้อ จะมีสิทธิ์ที่จะพลาด เช่น วงผิดข้อ ลืมทำสัญลักษณ์ข้อที่ข้าม เป็นต้น

        โอ้โห! ขนาดพี่มิ้นท์ไม่ต้องไปสอบ แต่อ่านแล้วยังรู้สึกว่ามีกำลังใจขึ้นมาเยอะมากๆๆๆ เพราะได้รู้ทั้งแนวข้อสอบ ข้อควรระวัง และคำแนะนำการอ่านหนังสือ 2 วิชานี้ด้วย เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนแล้ว ไม่พร้อมยังไงก็ต้องพร้อมแล้วนะคะ สู้ๆ ทำให้เต็มที่ และขอให้ได้คะแนนอย่างที่หวังนะ สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณครูพี่หมุย โซไซไทย สำหรับข้อมูลดีๆ ให้น้องๆ ได้เตรียมตัวกันค่า :D

      

 
ปัญหาแน่น-อก! ทำไงให้ได้วิชาสามัญเกิน 30% (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ)
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

14 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
*CassEM~! Member 20 ธ.ค. 57 22:46 น. 3

ขอบคุณค่ะ !!

อยากจะบอกว่าเก็บเนื้อหายังไม่หมดเลย 

อยากจะบุกโจทย์แต่สังคมถ้าไม่มีความรู้ก็ไม่รู้จะหาอะไรไปตัดช้อยออกเนอะ

ตอนนี้ได้แต่เร่งเรียนให้จบค่ะ

รักพี่หมุยยยยยย ย

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
PafaZ 30 ธ.ค. 57 11:35 น. 12
ภาษาไทยของ7วิชาออกการใช้ภาษาใช้มั้ยค่ะ แต่ของO-Netจะออกหลักภาษา แต่ทำมัยตอนสุดท้ายที่ครูพี่หมุยฝากบอกถึงเป็นหลักภาษาหล่ะค่ะ อ่านหนังสือ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด