ม.5 ขึ้น ม.6 อ่านด่วน! 1 ใน 2 นี้จะเป็นสัดส่วนแอดมิชชั่นใหม่ หลัง สทศ.ลดสอบ O-NET (เม.ย.นี้รู้ผล) : ข่าว 28 ก.พ.58


ส่งข่าวทุกวัน ตามอ่านกันให้ทัน ไม่พลาดเรื่องสำคัญแอดมิชชั่น-รับตรงแน่นอน ^_O

(ข่าวประจำ วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558)
 
              สวัสดีครับ พี่ลาเต้ ขอเริ่มทำความเข้าใจกันก่อน O-NET ยังอยู่ครบนะครับ แต่ที่ว่าลดคือ สทศ.ได้ลดการจัดสอบจาก 8 เป็น 5 วิชา โดยอีก 3 วิชาที่เหลือ ได้โอนให้แต่ละ ร.ร.จัดสอบกันเอง สรุปไม่ว่า ม.6 รุ่นไหนก็สอบ 8 วิชาเหมือนเดิม และเมื่อ สทศ. เปิดไพ่แบบนี้ ในฐานะเด็กแอดมิชชั่นก็ต้องไปตามกับ ทปอ.ต่อว่า ยังจะเอา O-NET แบบใหม่นี้ ไปคิดเป็นคะแนนแอดฯมิชชั่นหรือไม่ ? เพราะเมื่อแต่ละ ร.ร.จัดสอบเอง ก็เท่ากับว่า O-NET จะไม่ใช่ข้อสอบมาตรฐานกลางอีกต่อไป
 

            เพราะหากคิดเล่นๆ ถ้า ทปอ.ยังนำ O-NET ใหม่มาคิดคะแนนแอดมิชชั่น บอกเลยว่ารุ่นที่เริ่มใช้จะซวย! ลองนึกภาพ คนหลักแสนลงสอบแข่งขัน แต่ได้ข้อสอบยากง่ายไม่เท่ากัน จะเกิดไรขึ้น ? แต่ถ้ากลับกัน ทปอ.ไม่นำ O-NET มาคิด ก็เดาได้ไม่ยากอีกว่าคะแนนแอดมิชชั่นรุ่นนั้นตะต่ำลงแน่นอน เพราะ 3 วิชาที่ตัดออก Mean ถทิว่าอยูในระดับโอเค เมื่อเทียบกับวิชาที่ไม่ตัดทิ้งอย่าง คณิต Eng

           ว่าแล้ว พี่ลาเต้ ก็ได้โทรศัพท์สายตรงไปสอบถามกับ ศ.ดร.ประสาท สืบค้า ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ได้ข้อสรุปมาว่า "องค์ประกอบแอดมิชชั่นของทุกปี ทปอ.จะนึกถึงหลักของความยุติธรรม เพราะ 1 คะแนนในการแข่งขันนี้ก็มีผลต่อการติดหรือไม่ติด ดังนั้น เมื่อทาง สทศ.ลดการจัดสอบ O-NET จาก 8 เหลือ 5 วิชา และ 3 วิชาที่จดนั้น ได้โอนให้โรงเรียนจัดสอบ ก็คิดว่า หากนำคะแนนทั้ง 8 วิชามาใช้ ก็จะเกิดความไม่ยุติธรรม เพราะ 3 วิชาหลังที่จัดสอบเอง เป็นการสอบที่อยู่ในบริบทต่างกัน ดังนั้น จึงมีความคิดที่จะปรับสัดส่วนใหม่ โดยในที่ประชุมครั้งต่อไป (เดือน เม.ย.) ทาง ทปอ.จะประชุมหารือเพื่อหาทางออก โดยเบื้องต้นมี 2 ทางเลือกที่ใช้พิจารณาในการหารือ อาทิเช่น..
 

            1.นำคะแนน O-NET ทั้ง 5 วิชานั้นก็คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่ สทศ.จัดสอบมาคิด โดยเพิ่มจากวิชาละ 5% เป็นวิชาละ 6% ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วน O-NET ครบ 30% ตามเดิม

            2.คะแนน 5% ที่หายไป จากการปรับลดวิชาที่ สทศ.จัดสอบ ให้หาวิชาใหม่มาทดแทน อาทิ คะแนนจาก 7 วิชาสามัญ

            หลายคนถามว่า หากจะเปลี่ยนแปลงสัดส่วนแอดมิชชั่น หรือระบบอะไร ต้องแจ้งล่วงหน้า 3 ปีไม่ใช่เหรอ ? ซึ่งจากการสอบถามพบว่า.. ตรงส่วนนี้เป็นการปรับเปลี่ยนรายย่อยครับ จึงไม่จำเป็นต้องแจ้ง 3 ปี ซึ่งหากไม่เปลี่ยนตาม สทศ.จะส่งผลให้ไม่เกิดความยุติธรรมในการคิดคะแนนของเด็กแอดมิชชั่นปี 59 และ 60 ซึ่งเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านของระบบ

 

                แล้วอย่าลืม! พบกับ แอดมิชชั่น เดลิเวอรี่ ได้ใหม่พรุ่งนี้ ที่เว็บเด็กดีแห่งนี้ครับ ^_^
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ระบาย 26 ก.พ. 58 15:18 น. 3
" องค์ประกอบแอดมิชชั่นของทุกปี ทปอ.จะนึกถึงหลักของความยุติธรรม เพราะ 1 คะแนนในการแข่งขันนี้ก็มีผลต่อการติดหรือไม่ติด " หรอครับ ถ้าอิงหลักของความยุติธรรมจริง ไม่ควรใช่ผลคะแนนโอเน็ต กับ เกรด มันเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการแอดมิชชั่นแต่ต้นแล้วครับ เกรด 20% แต่ละโรงเรียนก็มีมาตรฐานการให้เกรดไม่เหมือนกัน แต่ดันเอามาใช้ตัดคะแนนรวมกันในระบบแอดมิชชั่น นี่หรอครับความยุติธรรมที่ท่านอาจารย์พูดถึง โอเน็ต 30% ตอนแรกที่สร้างตัวนี้ขึ้นมา ก็บอกจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะเอาไว้วัดพื้นฐานความรู้ของเด็กทั้งประเทศ แต่ไหงเอาพ่วงกับการสอบเข้ามหาลัยด้วยละครับ มันผิดจุดประสงค์ตั้งแต่ต้นแล้ว ซ้ำยังไม่พอยังสามารถสอบได้ครั้งเดียวในชีวิตอีก อยากจะถามท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายว่า มีประเทศบ้านไหมครับ ที่เขาเอาคะแนนจากข้อสอบที่สอบได้ครั้งเดียวในชีวิตมาใช้ในระบบรับเด็กเข้าศึกษามหาวิทยาลัยครับ เจตตนามันไม่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแล้วครับ จะวัดพื้นฐานเด็กในประเทศจะสอบครั้งเดียวก็อาจจะตรงจุดประสงค์ แต่ถ้าจะเอามาใช้ในการคิดคะแนนการรับเด็กเข้าศึกษามหาวิทยาลัยสอบครั้งเดียวในชีวิตมันสมเหตุสมผลยังไงครับ หมายความว่าปีนี้ผมสอบเข้ามหาวิทยาลัยนี้ไม่ได้ ผมก็ต้องสอบเข้าไม่ได้อยู่ตลอดหรอครับ เพราะมีคะแนนโอเน็ตเก่าฉุดผมไว้อยู่เสมอตั้ง 30% แล้วไหนคือการคัดเด็กเข้าศึกษามหาวิทยาลัยด้วยความสามารถ ณ ปัจจุบัน นี่คือการให้อิสระในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ยุติธรรมแล้วหรอครับในสายตาพวกท่าน
3
That's not fair. 26 ก.พ. 58 16:36 น. 3-1
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถ้าท่านผู้บริหารทั้งหลายประสงค์ที่จะนำ onet กับเกรดมาคิด ก็ขอให้ท่านใช้-ส่วนที่น้อยกว่านี้เพราะเป็นการสอบที่สามารถทำได้ครั้งเดียวในชีวิต ดูอย่างกสพท ถ้าเป็นส่วนของเด็กซิ่ว ยังไม่ใช้onet มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลย เพราะมันเป็นส่วนที่แก้ไขไม่ได้แล้ว เพียงขอให้สอบติดก็พอสำหรับเด็กซิ่ว เห็นใจผู้ที่อาจจะทำผิดพลาดแต่พอจะมาเริ่มใหม่ก็สายไปเสียแล้ว เพราะในแอดมิชชั่น onet กับเกรดนั้นมี-ส่วนมากถึง 50% แต่ทั้งนี้ก็คงต้องยอมรับสิ่งที่ผู้ใหญ่ท่านกำหนดมา
0
กำลังโหลด
บบบบบ 26 ก.พ. 58 14:44 น. 1
สรุป #dek59 ก็ไม่พ้นปีชงเหมือนเดิม ลดวิชาก็ไม่ได้ช่วยให้มันดีขึ้น แต่เหมือนจะแย่ลงด้วยซ้ำ
0
กำลังโหลด
I hate NIETS. 26 ก.พ. 58 15:48 น. 6
เกลียด สทศ. และการศึกษาไทยมากๆ ค่ะ บอกเลย ยิ่งเรียนยิ่งเห็นแก่ตัว อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการแก่งแน่ง แค่เนื้อหาหละกๆ ก็เยอะพอละ ยังต้องเรียนอาเซียนอีก ถามจริงเหอะ -ดอกไม้ประจำชาตินั้นนี้น่ะ จำไปแล้วได้อะไรเหรอ บางทีคนประดทศนั้นยังจำไม่ได้เลย เรื่องต่อมหาลัยอีก สทศ. นี่ โคตรเกลียดเลย มีอะไรเป็นมาตรฐานที่แท้จริงบ้าง ขอถามหน่อย ข้อสอบมันยากขึ้นๆ ทุกปี จนหลังๆ เด็กมันทำไม่ได้ ไม่ต้องนับพวกอัจฉริยะทั้งหลายนะ เข้ามหาลัย พนันได้เลยว่าเกินครึ่ง เลือกที่ตะสอบหลายๆ วิชา ไปมั่วเผื่อได้คะแนนดี แล้วก็แอดฯ ได้คณะดีๆ ทั้งที่เรียนไม่ไหว แล้วก็ซิ่วใหม่ การแก้ปัญหาโอเน็ต ถ้ามีแค่ 2 ทางเลือกจ้างบน เห็นด้วยกับข้อแรกมากกว่า เพราะคนที่มีฐานะค่อนข้างลำบาก เขาจะได้ไม่ต้องเสียค่าสอบอะไรเยอะแยะ มุ่งแอดฯ อย่างเดียวเลย พอละ พูดเยอะกว่านี้กลัวจะด่า สทศ. มากไป
0
กำลังโหลด
ดนนปบบบแรแบบบบบบแ 26 ก.พ. 58 17:37 น. 10
จะสอบหรือไม่สอบ ใช้คะแนนอะไร ผมก็ไม่ได้ว่าอะไรหรอก ยกเว้นไอ 3 วิชานี้อ่ะ อย่าสอบเลย มันเป็นวิชากิจกรรมนันทนาการ ของแบบนี้มันวัดด้วย choice 1234 ไม่ได้หรอก
0
กำลังโหลด
Nrans Member 26 ก.พ. 58 15:40 น. 5

รอดูกันต่อไป ผมนี้ยังไม่ทันขึ้นม6เลยน่ั เเหม่รีบเปลี่ยนมาเปลี่ยนไป จนผมเปลี่ยนแผนไม่ทัน

โกรธเอ่อ..เอ่อ..

1
กำลังโหลด

45 ความคิดเห็น

บบบบบ 26 ก.พ. 58 14:44 น. 1
สรุป #dek59 ก็ไม่พ้นปีชงเหมือนเดิม ลดวิชาก็ไม่ได้ช่วยให้มันดีขึ้น แต่เหมือนจะแย่ลงด้วยซ้ำ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ระบาย 26 ก.พ. 58 15:18 น. 3
" องค์ประกอบแอดมิชชั่นของทุกปี ทปอ.จะนึกถึงหลักของความยุติธรรม เพราะ 1 คะแนนในการแข่งขันนี้ก็มีผลต่อการติดหรือไม่ติด " หรอครับ ถ้าอิงหลักของความยุติธรรมจริง ไม่ควรใช่ผลคะแนนโอเน็ต กับ เกรด มันเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการแอดมิชชั่นแต่ต้นแล้วครับ เกรด 20% แต่ละโรงเรียนก็มีมาตรฐานการให้เกรดไม่เหมือนกัน แต่ดันเอามาใช้ตัดคะแนนรวมกันในระบบแอดมิชชั่น นี่หรอครับความยุติธรรมที่ท่านอาจารย์พูดถึง โอเน็ต 30% ตอนแรกที่สร้างตัวนี้ขึ้นมา ก็บอกจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะเอาไว้วัดพื้นฐานความรู้ของเด็กทั้งประเทศ แต่ไหงเอาพ่วงกับการสอบเข้ามหาลัยด้วยละครับ มันผิดจุดประสงค์ตั้งแต่ต้นแล้ว ซ้ำยังไม่พอยังสามารถสอบได้ครั้งเดียวในชีวิตอีก อยากจะถามท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายว่า มีประเทศบ้านไหมครับ ที่เขาเอาคะแนนจากข้อสอบที่สอบได้ครั้งเดียวในชีวิตมาใช้ในระบบรับเด็กเข้าศึกษามหาวิทยาลัยครับ เจตตนามันไม่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแล้วครับ จะวัดพื้นฐานเด็กในประเทศจะสอบครั้งเดียวก็อาจจะตรงจุดประสงค์ แต่ถ้าจะเอามาใช้ในการคิดคะแนนการรับเด็กเข้าศึกษามหาวิทยาลัยสอบครั้งเดียวในชีวิตมันสมเหตุสมผลยังไงครับ หมายความว่าปีนี้ผมสอบเข้ามหาวิทยาลัยนี้ไม่ได้ ผมก็ต้องสอบเข้าไม่ได้อยู่ตลอดหรอครับ เพราะมีคะแนนโอเน็ตเก่าฉุดผมไว้อยู่เสมอตั้ง 30% แล้วไหนคือการคัดเด็กเข้าศึกษามหาวิทยาลัยด้วยความสามารถ ณ ปัจจุบัน นี่คือการให้อิสระในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ยุติธรรมแล้วหรอครับในสายตาพวกท่าน
3
That's not fair. 26 ก.พ. 58 16:36 น. 3-1
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถ้าท่านผู้บริหารทั้งหลายประสงค์ที่จะนำ onet กับเกรดมาคิด ก็ขอให้ท่านใช้-ส่วนที่น้อยกว่านี้เพราะเป็นการสอบที่สามารถทำได้ครั้งเดียวในชีวิต ดูอย่างกสพท ถ้าเป็นส่วนของเด็กซิ่ว ยังไม่ใช้onet มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลย เพราะมันเป็นส่วนที่แก้ไขไม่ได้แล้ว เพียงขอให้สอบติดก็พอสำหรับเด็กซิ่ว เห็นใจผู้ที่อาจจะทำผิดพลาดแต่พอจะมาเริ่มใหม่ก็สายไปเสียแล้ว เพราะในแอดมิชชั่น onet กับเกรดนั้นมี-ส่วนมากถึง 50% แต่ทั้งนี้ก็คงต้องยอมรับสิ่งที่ผู้ใหญ่ท่านกำหนดมา
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Nrans Member 26 ก.พ. 58 15:40 น. 5

รอดูกันต่อไป ผมนี้ยังไม่ทันขึ้นม6เลยน่ั เเหม่รีบเปลี่ยนมาเปลี่ยนไป จนผมเปลี่ยนแผนไม่ทัน

โกรธเอ่อ..เอ่อ..

1
กำลังโหลด
I hate NIETS. 26 ก.พ. 58 15:48 น. 6
เกลียด สทศ. และการศึกษาไทยมากๆ ค่ะ บอกเลย ยิ่งเรียนยิ่งเห็นแก่ตัว อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการแก่งแน่ง แค่เนื้อหาหละกๆ ก็เยอะพอละ ยังต้องเรียนอาเซียนอีก ถามจริงเหอะ -ดอกไม้ประจำชาตินั้นนี้น่ะ จำไปแล้วได้อะไรเหรอ บางทีคนประดทศนั้นยังจำไม่ได้เลย เรื่องต่อมหาลัยอีก สทศ. นี่ โคตรเกลียดเลย มีอะไรเป็นมาตรฐานที่แท้จริงบ้าง ขอถามหน่อย ข้อสอบมันยากขึ้นๆ ทุกปี จนหลังๆ เด็กมันทำไม่ได้ ไม่ต้องนับพวกอัจฉริยะทั้งหลายนะ เข้ามหาลัย พนันได้เลยว่าเกินครึ่ง เลือกที่ตะสอบหลายๆ วิชา ไปมั่วเผื่อได้คะแนนดี แล้วก็แอดฯ ได้คณะดีๆ ทั้งที่เรียนไม่ไหว แล้วก็ซิ่วใหม่ การแก้ปัญหาโอเน็ต ถ้ามีแค่ 2 ทางเลือกจ้างบน เห็นด้วยกับข้อแรกมากกว่า เพราะคนที่มีฐานะค่อนข้างลำบาก เขาจะได้ไม่ต้องเสียค่าสอบอะไรเยอะแยะ มุ่งแอดฯ อย่างเดียวเลย พอละ พูดเยอะกว่านี้กลัวจะด่า สทศ. มากไป
0
กำลังโหลด
dek58 26 ก.พ. 58 16:35 น. 7
ผมเข้าใจถูกไหมครับ ถ้าคะแนนเฉลี่ยของวิชาที่ตัดออกไปอยู่ในเกณ์ดี คะแนนโอเน็ตของเด็ก59ค่าเฉลี่ยโดยรวมก็จะน้อยลงไป ถ้าเรานำไปใช้คิดแอดมิชชั่นคะแนนก็จะลดลง ส่งผลให้เด็กซิ่ว(เด็ก58ขึ้นไป)ได้เปรียบรุ่นน้องเพราะโอเน็ตสอบได้ครั้งเดียว แล้วคะแนนโอเนต(อาจจะ)ดีกว่าเพราะวิชาที่ถูกตัดออกไปเป็นตัวดึงคะแนนให้เด็กซิ่ว //ปล.หลักการนี้อาจไม่ได้ผลกับเด็กที่เก่งอยู่แล้ว5555 #รู้สึก8วิชาเหมือนเดิมดีกว่าไหม.... จากdek58
0
กำลังโหลด
เบื่อระบบการศึกษาไทย 26 ก.พ. 58 17:06 น. 8
ทำไมถึงทำอย่างกะเด็กเล่นขายของอ่ะ นี่อนาคตของเด็กทั้งนั้นเลยนะ ทำอะไรไม่คิดหน้าคิดหลังคิดให้ละเอียดถี่ถ้วน คิดสิคิด คิดให้เยอะๆ รึว่าสมองไม่มีให้คิดถึงประโยชน์และเจตนาของการณ์สอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้วถึงได้คิดเป็นแต่เรื่องไม่เป็นเรื่องคิดแต่เรื่องที่จะได้เงินค่าจัดสอบอย่างเดียวรึไง งั้นช่วยย้อนความคิดท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายหน่อยนะว่าที่O-Netเนี่ยมันโผ่ลมาในการศึกษาไทย พวกท่านๆให้เหตุผลไว้ว่าอะไร แล้วตอนนี้มันส่งผลยังไงกับเด็กบ้าง อย่าให้ต้องด่ากันไปมากกว่านี้เลยนะ ทุกวันนี้การสอบเข้ามหาวิยาลัยมันไม่มีความยุติธรรมแล้ว พูดเลย!!!
0
กำลังโหลด
shokacher Member 26 ก.พ. 58 17:10 น. 9

"5 วิชาหลักเพิ่มเป็น 6% ต่อวิชาทำให้ O-NET ครบ 30%" ข้อนี้รับได้ค่ะถ้าจะลด แต่ว่าถ้าไม่ใช้คำนวนก็ไม่ต้องให้ทางโรงเรียนจัดสอบเองหรอกค่ะ เปลืองกระดาษ

"ดึงคะแนน 5% จาก 7วิชาสามัญ" ยังไงก็ไม่เห็นด้วยเพราะถ้าเลือกดึงคะแนนจาก 7วิชาสามัญ ถ้าทำจริงก็ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนรายย่อยแล้ว สมควรต้องแจ้งล่วงหน้าและมีการลงนามจากมหาวิทยาลัยเป็นการยืนยันว่าจะใช้ระเบียบการนี้แล้วประกาศให้นักเรียนทราบ

อย่ายึดความคิดของพวกท่านเป็นมาตรฐานให้มากนัก ยุคท่านกับพวกเรามาตรฐานมันต่างกัน

0
กำลังโหลด
ดนนปบบบแรแบบบบบบแ 26 ก.พ. 58 17:37 น. 10
จะสอบหรือไม่สอบ ใช้คะแนนอะไร ผมก็ไม่ได้ว่าอะไรหรอก ยกเว้นไอ 3 วิชานี้อ่ะ อย่าสอบเลย มันเป็นวิชากิจกรรมนันทนาการ ของแบบนี้มันวัดด้วย choice 1234 ไม่ได้หรอก
0
กำลังโหลด
ถถถถถถถถถถถถถถถถถถถถ 26 ก.พ. 58 19:13 น. 11
หยุดทำร้ายเด็กๆได้เเล้ว ทุกวันนี้เรียนก็ปาไปกี่คาบต่อกี่คาบเเล้ว อย่าทำใก้ต้องเครียดมากไปกว่านี้
1
กำลังโหลด
delent Member 26 ก.พ. 58 20:03 น. 12

ตอนเข้าม.1นี่ก็โดนหลักสูตรใหม่

ขึ้นม.4นี่ก็โดนหลักสูตรใหม่

จะเข้ามหาลัยนี่ยังต้องโดนอะไรใหม่ๆอีกเหรอ?

1
กำลังโหลด
ชานมเย็น Member 26 ก.พ. 58 20:06 น. 13

ตัดสินใจเร็ว ๆ หน่อยค้าบ

ผมลำดับอ่านหนังสือแต่ละวิชามะถูกแร้วเนี่ยวววว 555++ มาซะภาษาวิบัติเลย

0
กำลังโหลด
O Damn!! 26 ก.พ. 58 20:44 น. 14
คือตรูจะสอบเข้ามหาลัยอ่ะไม่ได้จะสอบชิงทุนไปเรียนดาวอังคารน๊ะครัช เล่นงี้ก็เรียนพิเศษonly เรียนเรียนเรียน. ผมรู้ว่ามันออกเนื้อหานอกโลกอยู่แล้ว แบบว่าบาง.รร.สอนนิดแต่เจอข้อสอบนรกแตกเข้าไปหน่อย.ถ้าไม่มีงบเรียนพิเศษ.รึบลาๆๆ. คงตาย (สรุปคือผมบ่นเรื่องเพิ่ม%ของ o NET น่ะ...ไม่มีไรมาก).#dekที่จะสอบปี59ตกใจมืดมนหวาา
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Funnysanook Member 26 ก.พ. 58 21:10 น. 17

#dek59 รุ่นหนูทดลอง ดีๆ นี่เอง

ปรับยังไง การศึกษา ก็แย่ !

ลองเปลี่ยนกันไหม ? เอา คณะกรรมการทั้งหมดของ สทศ ออก

แล้ว หาใหม่ทั้งหมด ตัดรากถอดโคน ไปเลย

แล้วลองดู ว่า การศึกษา จะดีขึ้นไหม

โลกมันเปิดกว้างแล้วนะ ชีวิตเด็กเกือบทั้งประเทศ กำลัง ดิ่งลงเหว เพราะ สทศ ตอนนี้

อ่านหนังสือแทบตาย เอาข้อสอบที่ดาวไหนมาออกก็ไม่รู้

แล้วยังจะปรับลดวิชา อีก เปลี่ยนนู่น ปรับนี่ เพื่อ !!!

ตอนนี้ อีกไม่ ถึงเดือน จะขึ้น ม.6 แล้ว แต่ ยังมองไม่เห็นวี่แววอะไรเลย

ปรับนู่น นี่นั่น จนเด็กตามไม่ทัน พอ พ่อแม่ ถาม ก็ไม่รู้จะตอบยังไง

เพราะ พอเราหาข้อมูลว่า ชัวร์ แล้ว ก็ดันปรับอีก

เด็กรุ่นไหนจะเหนื่อยกว่าเด็ก รุ่น 59 คงไม่มีแล้วล่ะ

โกรธโกรธโกรธโกรธ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เด็กห้าเก้า 27 ก.พ. 58 00:14 น. 19
จะเอายังไง ก็รีบๆตัดสินละกันนะ แล้วก็ไม่ต้องดัดจริตเปลี่ยนอีกละ ให้โอกาสเด็กๆทำความเข้าใจกับระบบใหม่สักนิดเฮอะ เฮ้อ แล้วปรับเปลี่ยนอะไรทีเคยถามเด็กบ้างไม บางทีเด็กอาจจะมีความคิดดีๆกว่าที่พวกคุณๆดอกเตอร์ทั้งหมดจะคิดได้อีกนะ#dek59รุ่นหนูทดลอง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด