10 วิธีแบ่งเบาพ่อแม่ ในยุคค่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยแพงหูฉี่!!

           การศึกษาคือการลงทุน แต่เห็นตัวเลขแล้วอยากเอามือกุมขมับ เพราะกว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ รายจ่ายต่อคิวเพียบ ไม่ว่าจะค่าเรียนพิเศษ ค่าสอบ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเรียน ช่วงรับตรงแบบนี้ก็ต้องควักทีละ 300 บาท 500 บาท สมัครเยอะยิ่งเสียเยอะ กระทบความมั่นคงทางการเงินในกระเป๋าผู้ปกครองแน่นอน

           เท่าที่พี่มิ้นท์เคยได้คุยกับผู้ปกครองของน้องๆ เกือบทุกท่านพูดตรงกันว่า ม.6 โหดที่สุด ค่าสมัครสอบเยอะมาก แต่พ่อแม่หามาจ่ายได้แน่นอน เห็นท่านทุ่มเทขนาดนี้ ก็เลยอยากแนะนำเทคนิคลดค่าใช้จ่ายในยุคที่เศรษฐกิจไม่ดี (แต่ต้องมีที่เรียนให้ได้!) ซึ่งน้องๆ ที่อยากช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่อยู่แล้ว ก็ลองนำแนวทาง 10 ข้อนี้ไปปฏิบัติกันดูนะ

 

 

   1. ลดปริมาณขนมหน้าโรงเรียน
           อย่าเพิ่งตั้งแง่ว่า จะเอาอะไรกับค่าขนม 10 บาท 20 บาท ความจริงคือ หลายครั้งที่เข้าร้านสะดวกซื้อหรือซื้อขนมหน้าโรงเรียน จะกินเกินงบตลอด ไอนั่นก็อยากกิน ไอนี่ก็อร่อย ซึ่งถ้าเราลดจำนวนครั้งที่ซื้อขนมได้ ก็มีเงินเหลือเพิ่มแน่ ยกตัวอย่างง่ายๆ ชานมไข่มุกแก้วละ 25 บาท จากที่กินทุกวัน ก็ลดเหลือ 2 วัน/สัปดาห์ ลดได้แล้ว 75 บาท แค่สองอาทิตย์ น้องๆ จะได้ค่าสอบ GAT PAT 1 วิชาแล้วค่ะ เห็นมั้ยว่าเงิน 140 บาท เก็บเล็กผสมน้อยไป แค่ 10 กว่าวันก็เก็บได้แล้ว

   2. เข้าห้องสมุดให้เป็นนิสัย
          หนังสือเดี๋ยวนี้ก็แพง 200 กว่าบาททั้งนั้น ให้ซื้อทุกเล่มไม่ไหวแน่นอน พี่มิ้นท์แนะนำให้เข้าห้องสมุดของโรงเรียนค่ะ อ่านฟรี ยืมฟรี เอากลับบ้านได้ ข้อดีของการยืมหนังสือห้องสมุด ไม่ใช่แค่ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ฝึกให้เราอ่านหนังสือให้ทันเวลา เพราะมีกำหนดเวลาคืนหนังสือนั่นเอง
          อีกวิธีนึงคือ ตีสนิทรุ่นพี่ไว้ ทันทีที่เค้าเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ก็ไปเจรจาขอยืมหนังสือ (ถ้าเขาไม่ไปชั่งกิโลขายเสียก่อนนะ) หรือถ้าอยากได้เป็นของตัวเอง ก็ขอซื้อต่อมือสองก็ได้นะ เดี๋ยวนี้ซื้อหนังสือมือสองฮิตทีเดียวเลย ได้ทั้งของถูก ได้ทั้งเลคเชอร์ที่รุ่นพี่จดไว้ ขลังสุดๆ

   3. ได้เงินค่าขนมมา เก็บก่อนค่อยใช้
           เวลาได้เงินมา ความโลภก็ตามมาด้วย อยากได้นั่นนี่เต็มไปหมด ถ้าเราไม่แบ่งส่วนที่เก็บออกมาก่อน เงินก้อนนั้นหายได้ในพริบตาเดียว ดังนั้นได้เงินจากคุณพ่อคุณแม่มาแล้ว ให้แบ่งส่วนนึงเก็บไว้ก่อนเลย เช่น ได้อาทิตย์ละ 500 เก็บ 100 บาท หรือถ้าได้วันละ 100 เก็บ 20 บาท เป็นต้น ที่สำคัญคือ เก็บแล้วเก็บเลย ไม่แงะไปใช้ทีหลังนะคะ แล้วสะกดจิตตัวเองไว้เลยว่า กระปุกนี้ใช้จ่ายเฉพาะ "การสอบเข้ามหาวิทยาลัย" เท่านั้น เชื่อเถอะว่า ถ้าน้องๆ ทำได้ และใช้เงินได้ตามวัตถุประสงค์ น้องๆ จะภูมิใจในตัวเองมากๆ

   4. ลดค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียน
          ปากกา ดินสอ เครื่องเขียนที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด แต่ต้องไม่แย่จนเปลี่ยนบ่อย เครื่องเขียนแต่ละอย่างมีหลากหลายยี่ห้อ น้องๆ ลองไปหยิบจับ ลองขีดเขียนในร้านก่อนได้ค่ะ อย่างปากกาที่เขียนดีมากๆ แท่งนึงไม่ถึง 10 บาทด้วยซ้ำ เพียงแต่ภายนอกอาจจะไม่สวย ถ้าตัดเรื่องความสวยงามออกไป น้องๆ ประหยัดตรงนี้ได้เยอะเลย
          อีกวิธีนึงที่พี่มิ้นท์ทำสมัยเรียนก็คือ ซื้อเครื่องเขียน กระดาษหน้าปก สันรูดหน้าปก สมุดจด ฯลฯ มาแบ่งกับเพื่อนๆ เช่น ซื้อกระดาษหน้าปกยกแพ็ค คุ้มกว่า ปีๆ นึงมีรายงานหลายเล่ม จากที่ซื้อทีละ 10 บาท สมมติเทอมละ 5 เล่ม ก็ 50 บาท แต่ซื้อเป็นแพ็ค 50 แผ่น ราคาเฉลี่ยตกแผ่นละ 2-3 บาทเท่านั้น ซื้อแพ็คนึงมาแบ่งกับเพื่อน ใช้ทั้งเทอม สบายกระเป๋าค่ะ ซึ่งเราไม่ต้องซีเรียสเรื่องหน้าปกซ้ำกับเพื่อนนะ เพราะเอาเข้าจริงครูไม่ได้ให้คะแนนลายหน้าปกหรอกค่ะ
 
  
5. ไม่พกเงินเยอะ
          มีเยอะก็ใช้เยอะ คำนี้เป็นจริงแน่นอน ถ้าน้องๆ เจอของราคา 50 บาท มีเงินอยู่ 200 บาท ควักจ่ายอย่างไว เพราะยังเหลือตังค์อีก 150 บาท แต่ถ้ามีเงินอยู่แค่ 100 บาท ก็เริ่มคิดหนักจน แล้วก็โดน F ยับยั้ง เพราะซื้อแล้วตังค์หมดแน่ๆ ดังนั้นวิธีนึงที่ทำให้เราตัดกิเลสได้ก็คือ พกเงินแค่พอใช้ เผื่อฉุกเฉินได้นิดหน่อย หมดค่อยหยิบเพิ่ม ครบอาทิตย์เราจะแปลกใจที่มีเงินเหลือเยอะ เงินตรงนี้ก็เอาไปใช้สมัครสอบต่างๆ ได้เช่นกัน

   6. เรียนพิเศษทั้งทีต้องเรียนให้คุ้ม
          ถ้ามีโอกาสได้เรียนพิเศษ ก็ใช้โอกาสนี้ให้เต็มที่ เข้าเรียนทุกครั้ง กอบโกยความรู้ให้มากที่สุด สงสัยอะไรตรงไหนให้ถามติวเตอร์ให้เข้าใจไปเลย ก่อนสอบก็อ่านหนังสือเรียนพิเศษอีกรอบ ทำได้ตามนี้ก็ถือว่าคุ้มมาก ดีกว่าเรียนๆ เล่นๆ พอไม่รู้เรื่องต้องลงคอร์สตัวเดิมแต่สถาบันใหม่ พ่อแม่หาเงินปวดหัวแน่ค่ะ
          อีกทริคที่อยากให้น้องๆ ให้ความสำคัญคือ การเลือกแหล่งเรียนพิเศษ ไม่จำเป็นต้องเรียนไกลๆ ตามเพื่อน ถ้าแถวบ้านมี และเป็นสถาบันที่อยากเรียนก็เรียนใกล้บ้านดีกว่าค่ะ ไม่ต้องเสียค่าเดินทางแพงๆ ไม่เหนื่อยด้วย

   7. งดชีวิตหรูหรา
         อ่านหนังสือไม่จำเป็นต้องไปร้านดัง ไม่จำเป็นต้องไปนั่งร้านกาแฟแพงๆ อ่านที่บ้านก็ได้ ถ้าอยากติวกับเพื่อน ไปอ่านบ้านเพื่อนก็ได้ค่ะ น่าจะเงียบสงบกว่าร้านอาหารด้วยนะ อยากกินข้าวกับเพื่อน ก็ลดจำนวนครั้งที่ไปร้านแพงๆ ลงก็ช่วยให้มีเงินเหลือเก็บไปสอบได้ บุฟเฟ่ต์มื้อละ 300 บาท สมัครสอบได้โครงการนึงแล้วนะ ถ้ายังเลิกกินไม่ได้ ให้ลองนึกถึงคนให้เงินเราค่ะ บางทีท่านกินแค่ข้าวราดแกงธรรมดาๆ มื้อละไม่กี่สิบบาทเอง
 

 

    8. โปรมือถือก็สำคัญ
          เรื่องใกล้ตัวที่อาจจะนึกไม่ถึง ยุคนี้เป็นยุคอินเทอร์เน็ต จะทำอะไรก็เปิดเน็ตไว้ก่อน ให้น้องๆ ลองดูไลฟ์สไตล์ของตัวเองว่าเป็นแบบไหน โทรบ่อยมั้ย ใช้เน็ตบ่อยมั้ย แล้วเลือกให้ตรงกับสิ่งที่ตัวเองใช้ บางคนพ่อแม่เป็นคนจ่ายค่าโทรศัพท์ให้ก็ใช้ไม่เกรงใจเลย แนะนำง่ายๆ ว่าถ้าปัจจุบันเราใช้โปรโมชั่นที่มีอยู่ไม่คุ้ม ให้ลดขนาดโปรโมชั่นลง หรือถ้าใช้เกินตลอด ต้องดูแล้วว่าเกินที่อะไร ถ้าโทรเกิน ลองเปลี่ยนโปรที่เน้นโทรมั้ย หรือ เปลี่ยนไปติดต่อสื่อสารทางอื่น เช่น free call ใน LINE เป็นต้น

    9. สมัครสอบอย่างมีสติ
         รับตรงแต่ละมหาวิทยาลัยมีเงื่อนไขต่างกัน ใช้เกณฑ์ต่างกัน ระวังเบลอ ที่สำคัญเกือบทุกโครงการจะมีกฎเหล็กในการสมัครไว้ว่า ไม่สามารถเปลี่ยนคณะได้/ ไม่สามารถแก้ไขการจัดอันดับได้ หากต้องการเปลี่ยน ต้องสมัครใหม่และจ่ายค่าสมัครใหม่ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น สมัครสอบ กสพท. 750 บาท เกิดอยากเปลี่ยนอันดับขึ้นมา ต้องจ่ายใหม่อีก 750 บาท ค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนที่จากความผิดพลาดของตัวเองนี่แหละน่าเจ็บใจที่สุด

    10. ทำเต็มที่ทุกสนามสอบ
         ทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายค่าสมัครสอบไป คือหยาดเหงื่อแรงงานของพ่อแม่ เราควรทำให้ข้อสอบให้เต็มที่นะคะ ถ้าไม่ติดก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยได้ทำเต็มที่แล้วจริงๆ แต่ถ้าผลออกมาคือ "ติด" เท่ากับช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการสอบอื่นๆ ที่ยังมาไม่ถึงได้อีกมหาศาลเลยค่ะ
  
         ทั้ง 10 วิธีนี้ไม่ยากเกินไปสำหรับน้องๆ แน่นอน ใครที่ตั้งใจไว้อยู่แล้ว ก็เริ่มทำตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ อดออมได้วันละ 10 บาท เดือนนึงก็แบ่งเบาค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ได้เยอะเลยนะ
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

frongpc Member 27 ก.ย. 58 13:50 น. 6

​11.ติวออนไลน์ในเว็ปไซต์ต่างๆ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีมากๆเลยครับ(ฟร้องทำบ่อย^^) อยากบอกว่าของดีๆแบบนี้ มีอยู่ในinternet ด้วยน้า เวลาที่เราอาจจะติด ไม่เข้าใจบทเรียน หรือต้องการติววิชาอะไรเพิ่มเติมเราสามารถเข้าไปติวได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย ถ้าไม่เข้าใจก็เรียนซ้ำได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีinternet เลยนะครับ สู้!!!

ตั้งใจ

0
กำลังโหลด
kris00 Member 5 ก.ย. 58 18:31 น. 2

เราหมดกับค่าหนังสือ ไปเยอะมาก -3-

พอดี แม่ไม่มีตัง ให้เรียนพิเศษ ต้องซื้อหนังสืออ่านเอา

แล้วหนังสือในห้องสมุด ก็ไม่ค่อยมีแบบสรุปตามที่เราอยากได้สักเท่าไหร่อ่ะ

เสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

7 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
kris00 Member 5 ก.ย. 58 18:31 น. 2

เราหมดกับค่าหนังสือ ไปเยอะมาก -3-

พอดี แม่ไม่มีตัง ให้เรียนพิเศษ ต้องซื้อหนังสืออ่านเอา

แล้วหนังสือในห้องสมุด ก็ไม่ค่อยมีแบบสรุปตามที่เราอยากได้สักเท่าไหร่อ่ะ

เสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
RD Nop Member 5 ก.ย. 58 23:53 น. 4

หนังสือในซีเอ็ดเล่มนึง กฎหมาย ใกล้ตัว เป็นหนังสือที่ดีมากแต่มีราคาแพง (199บาท)พอวันไหนว่างก็เข้าไปนั่งอ่านจำให้ได้ไว้ใช้ในอนาคตเผื่อเจอคดีความเยี่ยม

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
frongpc Member 27 ก.ย. 58 13:50 น. 6

​11.ติวออนไลน์ในเว็ปไซต์ต่างๆ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีมากๆเลยครับ(ฟร้องทำบ่อย^^) อยากบอกว่าของดีๆแบบนี้ มีอยู่ในinternet ด้วยน้า เวลาที่เราอาจจะติด ไม่เข้าใจบทเรียน หรือต้องการติววิชาอะไรเพิ่มเติมเราสามารถเข้าไปติวได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย ถ้าไม่เข้าใจก็เรียนซ้ำได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีinternet เลยนะครับ สู้!!!

ตั้งใจ

0
กำลังโหลด
POR 17 ส.ค. 59 10:21 น. 7
- ความรู้ในห้องเรียน วันนี้เรียนอะไร พอกลับมาบ้านแล้วอ่านทบทวนวันนั้นเลย จะทำให้เข้าใจดีมาก ไม่ต้องไปเรียนพิเศษก็ได้ ข้อสอบเอ็นทรานซ์ไม่ออกทฏษฏีนอกตำราหรอก - เครื่องเขียนเดี๋ยวนี้มีร้าน 10บาททุกอย่าง ไปเลือกซื้อสิ ถูกมากๆ - อาหารแพงตามแฟชั่น เดินห้าง งดไปเลย เอาเวลามาอ่านหนังสือดีกว่า - ถ้าเอ็นไม่ติดมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐก็มี เช่น ม.รามคำแหง ไม่จำเป็นต้องเข้าห้องเรียนด้วย ระหว่างนั้นก็หางานทำได้อีก พอสอบก็ไปสอบเอา
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด