ต้องยอมรับนะครับว่า ค่าเทอมมหาวิทยาลัยสมัยนี้นั้น แพงจริงๆ ไม่ว่าจะสถาบันของรัฐบาล หรือเอกชน ล้วนหลักหมื่นอัพขึ้นทั้งนั้น...จนล่าสุดหลายฝ่ายอดรนทนไม่ไหวต้องออกมาทวงถามว่า “เหตุผลอะไร ที่ทำให้ค่าเทอมแพง” แต่จะด้วยเหตุผลอะไรนั้น พี่ลาเต้ ก็อยากรู้เหมือนกัน ว่าแล้วก็ไปอ่านกันเลย...

 

นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการกู้กองทุน กยศ.ว่า นักเรียน นักศึกษา ทั้งผู้กู้รายเก่า และรายใหม่ ที่ประสงค์ขอกู้ยืมเงินกองุทน กยศ.ขอให้แจ้งความประสงค์ผ่านระบบ E-Studentloan ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มิถุนายน หลังจากนี้กองทุน กยศ.จะปิดระบบใบคำขอกู้ ซึ่งจนถึงขณะนี้มีผู้มาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอกู้ผ่านระบบ e-Studentloan แล้ว 616,570 ราย จำแนกเป็น ผู้กู้รายเก่า 480,000 ราย และผู้กู้รายใหม่ 130,000 ราย จากที่ตั้งเป้าว่าน่าจะมีผู้กู้รายเก่า และรายใหม่ยื่นกู้ 800,000 ราย

 

"e-Studentloan ใช้เป็นปีแรก ผู้ใช้จึงอาจไม่เข้าใจอยู่บ้างเพราะเป็นเรื่องใหม่ แต่สามารถแก้ไขได้ โดยถ้าผู้กู้ไม่เข้าใจวิธีทำ หรือกรอกข้อมูลผิดพลาด เจ้าหน้าที่ กยศ.จะช่วยแก้ไขข้อมูลให้ ส่วนฮาร์ดแวร์ หรือตัวระบบ ให้บริการได้ตลอด บางช่วงที่มีคนลงทะเบียนพร้อมกันจำนวนมาก ระบบอาจช้าบ้าง แต่ไม่ถึงกับล่ม สำหรับผู้กู้ที่ลงทะเบียนออนไลน์ถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่าง จะได้รับค่าครองชีพตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนสถานศึกษาจะได้รับเงินค่าเล่าเรียนตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เพราะต้องส่งสัญญาดังกล่าวไปยังธนาคารกรุงไทยก่อน" นพ.ธาดากล่าว

 

 

นพ.ธาดา กล่าวว่า ส่วนกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ยังไม่มียอดผู้กู้รายงานเข้ามา เพราะยังไม่เปิดภาคเรียน เพราะผู้กู้ต้องมีสถานภาพเป็นนิสิตนักศึกษาแล้ว อย่างไรก็ตาม วิธีการกู้นั้น สามารถดาวน์โหลดสัญญากู้ผ่านเว็บไซต์ของ กยศ. ตรวจสอบสาขาวิชาที่สามารถกู้เงิน กรอ.ได้ที่เว็บไซต์ กยศ.เช่นกัน โดยขอให้ดูเลขรหัสวิชาว่าตรงกับสาขาที่เรียนหรือไม่ ถ้ามีปัญหา สอบถามสถาบันการศึกษาที่ตนเองเรียนอยู่ได้

 

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีโควต้า และรับตรง ทำให้การรับนิสิตนักศึกษากระจายไปยังเด็กทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส หรือยากจนเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่มหาวิทยาลัยบางแห่งทำในเวลานี้ คือธุรกิจ มองหาลูกค้า และดึงคนเข้ามาเรียน ทำให้เกิดการคิดโปรแกรม หรือหลักสูตรใหม่ๆ ขึ้น แต่ปัญหาในขณะนี้คือค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาแพงมาก ทั้งที่การขึ้นค่าเล่าเรียนต้องผ่านสภามหาวิทยาลัย และในการคิดค่าใช้จ่ายรายหัวของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) คิดบนฐานของเด็กในเมือง ซึ่งค่าเล่าเรียน 1 แสนบาทก็มีแรงจะจ่ายได้ แต่ลูกชาวนา หรือกรรมกร จะเอาเงินที่ไหนมาเรียน เพราะค่าใช้จ่ายก้อนแรกที่ต้องใช้เข้ามหาวิทยาลัยประมาณ 5 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท จะเห็นว่าเด็กหลายคนที่สอบติดแต่ไม่มีเงินเรียน และหลายรายต้องฆ่าตัวตาย นี่ยังไม่พูดถึงหลักสูตรพิเศษ

 

"เวลานี้ค่าเล่าเรียนอุดมศึกษาแพงมาก จะเห็นว่าเด็ก 3-4 คนที่เป็นข่าวฆ่าตัวตาย เช่น ที่สอบติดคณะสัตวแพทย์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม 2.5 หมื่นบาท หรือเด็กที่ จ.ปทุมธานี ซึ่งสอบเข้าวิศวะของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้ แต่ค่าลงทะเบียน 8 หมื่นบาท เป็นต้น ทำไมค่าเทอมแพงมากมายขนาดนี้ แพงแบบไม่มีคำอธิบาย ทั้งที่การขึ้นค่าเล่าเรียนต้องผ่านสภามหาวิทยาลัย ที่ สกอ.บอกว่าถ้าไม่มีเงินให้โทร.บอก จะหาให้ คนหาเช้ากินค่ำ เขาไม่รู้หรอกว่าจะโทร.ยังไง ทำให้เกิดสภาวะการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอุดมศึกษา แต่จะขยายเรื่องความเครียด เป็นการฆ่าคนยากจนทางอ้อม และการเป็นหนี้สินของคนยากจนทั่วประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาไม่พูดถึง ไม่กล้าแตะ เพราะการเข้าสู่อุดมศึกษาโดยมีกองทุน กยศ.และกองทุน กรอ.ยังไม่เพียงพอ การขยายรายได้ผู้กู้จาก 1.5 แสนบาท เป็น 2-2.5 แสนบาทต่อปี ก็ไม่ใช่การแก้ปัญหา เพราะชาวบ้านจะต้องหาเงินก้อนแรกสำหรับเข้าเรียน และเป็นค่าเดินทางด้วย" นายสมพงษ์กล่าว

 

นายสมพงษ์กล่าวว่า มีผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) คนหนึ่งในภาคอีสาน บอกว่ารอยต่อของการจัดการศึกษาฟรี 12 ปี ถึงระดับอุดมศึกษา ทำให้เกิดความยากจนขึ้นมาก เพราะพ่อแม่ต้องขายที่นา และทรัพย์สินจำนวนมหาศาล ทำให้ที่นาไปตกอยู่กับนายทุนอย่างมากมาย เมื่อไม่มีที่นาทำกิน ก็ต้องเข้าเมืองมารับจ้างแทน จึงอยากฝากว่าค่าเล่าเรียนระดับอุดมศึกษาอย่าแพงมากเกินไป

          เอาเป็นว่า “เกิดเป็นคนไทย ต้องอดทนนะครับ” ต่อให้ค่าเทอมแพง หรือสูงขนาดไหน แต่เพื่อความรู้ คุณภาพ และความภาคภูมิใจก็แลกได้ครับ...

 

พี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชน

 
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

มังกร 26 พ.ค. 51 22:21 น. 1
ที่มันแพงก็เพราะ ว่าพวกแก่ๆหน้าเลือดที่มันคิดว่าตัวเองเปงคนมีความรู้ และเหงว่าการศึกษาเปงธุรกิจถ้าลองมองย้อนไปนะ ครูแบบสมันเก่าๆมันม่ะมีอีกแล้ว สมัยนี้มีแต่เงินลูกเดียว นี้ถ้ายังม่ะมีคนตายก็ยังม่ะเริ่มให้โอกาสคนที่ม่ะมีเงินหรอก ต้องให้สังเวยก่อนยังงี้ละ น่าสงสารพ่อแม่เขานะ บางมหาลัยก็เก็บกันจังค่าเทอมแพงๆ แต่สิ่งที่ได้ตอบแทนกลับเป็นเพียงความรู้ที่น่าอดสุ่ สอนแต่ให้เด็กแก่งแย่งชิงดีเห็นแก่ตัว แล้วไหนจะธรรมเนียมมหาลัยรึคณะไรบ้าๆบอๆอีก อยากรุ้จิงๆว่าใครเปงคนม่ะกะเกณท์ชีวิตคนอื่น การศึกษาของไทยนะเด๋วนี้มันตกตําไปแล้ว ทําไงได้ละ คนที่มีตําแหน่งทางด้านนี้ก็ม่ะช่วยไรเลยดีแต่มาพูดคํา2คําแล้วก็ไป เชื่อเถอะ เด๋วเรื่องนี้ก็ลงอีหรอบเดิมอีกละ
0
กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

มังกร 26 พ.ค. 51 22:21 น. 1
ที่มันแพงก็เพราะ ว่าพวกแก่ๆหน้าเลือดที่มันคิดว่าตัวเองเปงคนมีความรู้ และเหงว่าการศึกษาเปงธุรกิจถ้าลองมองย้อนไปนะ ครูแบบสมันเก่าๆมันม่ะมีอีกแล้ว สมัยนี้มีแต่เงินลูกเดียว นี้ถ้ายังม่ะมีคนตายก็ยังม่ะเริ่มให้โอกาสคนที่ม่ะมีเงินหรอก ต้องให้สังเวยก่อนยังงี้ละ น่าสงสารพ่อแม่เขานะ บางมหาลัยก็เก็บกันจังค่าเทอมแพงๆ แต่สิ่งที่ได้ตอบแทนกลับเป็นเพียงความรู้ที่น่าอดสุ่ สอนแต่ให้เด็กแก่งแย่งชิงดีเห็นแก่ตัว แล้วไหนจะธรรมเนียมมหาลัยรึคณะไรบ้าๆบอๆอีก อยากรุ้จิงๆว่าใครเปงคนม่ะกะเกณท์ชีวิตคนอื่น การศึกษาของไทยนะเด๋วนี้มันตกตําไปแล้ว ทําไงได้ละ คนที่มีตําแหน่งทางด้านนี้ก็ม่ะช่วยไรเลยดีแต่มาพูดคํา2คําแล้วก็ไป เชื่อเถอะ เด๋วเรื่องนี้ก็ลงอีหรอบเดิมอีกละ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ThE_KeY Member 27 พ.ค. 51 12:18 น. 3
เซ็งเหมือนกัน ของเราค่าเทอมเด็กปกติตั้งหมื่นสอง แล้วยังมาเก็บค่าเสียหายเวลาใช้แล็ปอีก เซ็งว่ะ
0
กำลังโหลด
คนน่ารัก 28 พ.ค. 51 18:12 น. 4
จริง ไม่รู้จะเก็บอะไรนักหนา เก็บทุกอย่าง 55 มัธยมรร.เราเทอมนึงไม่ถึง2พันด้วยซ้ำ พอขึ้นมหาลัย ปรับตัวมิทัน อิอิ
0
กำลังโหลด
นกนางแอ่น 29 พ.ค. 51 10:03 น. 5
รู้สึกเหมือนชีวิตของพวกนักเรียนนักศึกษาถูกเงินบงการยังไงก็ไม่รู้แฮะ เฮ้อ~ เหนื่อยใจ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด