จุลชีววิทยา ม.เกษตร - จุลชีววิทยา ม.เกษตร นิยาย จุลชีววิทยา ม.เกษตร : Dek-D.com - Writer

    จุลชีววิทยา ม.เกษตร

    โดย pantier

    ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ผู้เข้าชมรวม

    34,160

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    26

    ผู้เข้าชมรวม


    34.15K

    ความคิดเห็น


    195

    คนติดตาม


    9
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 พ.ค. 54 / 16:59 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


                    ยินดีต้อนรับ ว่าที่นิสิตใหม่ทุกคนเข้าสู่ Micro Wolrd สำหรับการแอดมิตชั่นในปี 2554 มีอะไรที่เปลี่ยนไปมากมายไม่ว่าจะเป็นคะแนนที่เพิ่มขึ้นมาอยากมากทำให้น้องๆหลายคนอาจที่จะพลาดโอกาสไป แต่ก็ไม่ต้องเสียใจไปนะครับ แอดไม่ติด ไม่แปลว่าโง่นะครับ แต่แสดงว่าเรามีประสบการณ์เท่านั้นเอง แล้วขอสวัสดีน้องๆ ทุกคน ที่จะแอดมิสชั่น ในปี 2555 ในที่ระบบการแอดมิสชั่นจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหนก็ยังไม่รู้ - -" ก็ขอให้ตั้งใจอ่านหนังสือเตรียมกันให้มากๆ นะครับ จำไว้ครับไม่อะไรเก่งเกินความขยันแน่นอน สำหรับน้องๆบางคนอาจมีที่เรียนที่ฝันไว้ บางคนยังไม่รู้เลยว่าจะเรียนที่ไหนดี บางคนคงเลือกๆๆไปก่อนแล้วว่ากันอีกที วันนี้พี่ก็ขอเป็นตัวแทน นิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาแนะนำภาควิชา จุลชีววิทยา มาให้ได้รู้จักคร่าว
                   
      จุลชีววิทยา คงสงสัยกันแล้วว่าเรียนอะไร จบไปแล้วมีอะไรทำรึเปล่า จะว่างงานเหมือนคณะยอดฮิตอื่นๆ ไหม  จุลชีววิทยา เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีอยู่มากมายรอบตัวเราที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เช่นพวกแบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา ไมโครแอลจี ต่างๆ  การศึกษาทางด้านจุลชีววิทยาสามารถต่อยอดความรู้ไปได้กว้างไกลโดยอยู่บนฐานการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ชอบเรียนในกลุ่มวิชาชีววิทยา แต่เกลียด ฟิสิกข์ เป็นชีวิตจิตใจ แต่ๆๆ ถ้าน้องเลือกเรียน จุลชีววิทยา น้องก็ยังต้องเรียนฟิสิกข์ มาให้ปั่นหัวนิดหน่อยเหมือนกัน จบไปแล้วจะมีงานอะไรทำ อย่างที่ได้บอกมาจุลชีววิทยาสามารถต่อยอดความรู้ได้มากมายและสามารถออกไปประกบอาชีพได้หลายหลาย เช่น อุตสาหกรรมการหมักต่างๆๆ ไม่ว่าจะเป็น นมเปรี้ยวต่างๆ เบียร์ ไวน์ ซีอิ๊ว นักวิจัยในหน่วยงานรัฐและเอกชน สถาบันวิจัย  บริษัทยารักษาโรค  เป็นต้น ก็หวังว่าน้องๆ ที่สนใจจะเข้ามาเรียนในภาควิชาจุลชีววิทยา จะเข้ามาเป็นรุ่นน้องกันเยอะนะคับ ท้ายนี้พี่มีบทความที่เป็นความรู้ของพื้นฐานทางจุลชีววิทยา มาให้อ่านกันเพื่อ อ่านแล้วอยากจะเข้ามาเรียนกะ พี่ๆนะ ครับ ส่วนน้องคนไหนอยากทราบรายอะเอียดก็เข้ามาคุยกันได้นะคับ ที่  microku@windowslive.com


      ภาควิชาจุลชีววิทยา

                     ภาควิชาจุลชีววิทยา ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.. 2509 พร้อมกับการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มต้นเป็นสาขาวิชาจุลชีววิทยาก่อน ต่อมาในปี พ.. 2524 จึงได้เปลี่ยนเป็นภาควิชาจุลชีววิทยา โดยมีหน้าที่รับผิดชอบงานหลัก ดังนี้
      -
      สอนวิชาจุลชีววิทยาเบื้องต้นบริการให้กับนิสิตคณะเกษตร คณะประมง คณะอุตสาหกรรมเกษตรทั้งภาคปกติ
        และภาคพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์
      -
      ผลิตบัณฑิตในสาขาจุลชีววิทยาทั้งปริญญาตรี และปริญญาโท และปริญญาเอก
      -
      ทำงานวิจัยทางด้านจุลชีววิทยาพื้นฐาน และจุลชีววิทยาประยุกต์ รวมทั้งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
      -
      ให้บริการความรู้ข้อมูล ข่าวสารทางจุลชีววิทยา และเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งบริการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ  
        โดยทำเป็นโครงการพัฒนาวิชาการ และฝึกอบรมให้ประชาชนทั่วไป

      วิสัยทัศน์

                     เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีทางด้านจุลชีววิทยาของระดับประเทศและภูมิภาค

      หลักสูตรที่เปิดสอน

                    ภาควิชาจุลชีววิทยาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 1หลักสูตร ปริญญาโท 1 หลักสูตร ปริญญาเอก 2 หลักสูตรได้แก่หลักสูตรโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก กับหลักสูตรปริญญาเอกสาขาจุลชีววิทยา นอกจากนี้ยังร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพอีกด้วย

      หลักสูตรปริญญาตรี

                    ภาควิชาจุลชีววิทยา รับนิสิตเข้าศึกษาตั้งแต่ปี 1 โดยนิสิตผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยตามระบบ Admission เข้าเรียนครบหลักสูตรปริญญาตรี เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ปี หรือ 8 ภาคการศึกษา หรือเรียนครบ 135 หน่วยกิต ตามหลักสูตรใหม่ และจะต้องฝึกงานไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง ปริญญาที่ได้รับเป็น
      วิทยาศาสตรบัณฑิต
      , วท..(จุลชีววิทยา)
      โครงสร้างของหลักสูตรซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ มีดังนี้

      หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต

      1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30                                                
      2.
      หมวดวิชาเฉพาะ
      99
      วิชาแกน
      28
      วิชาเฉพาะด้าน
      71
      วิชาเฉพาะบังคับ ไม่น้อยกว่า
      50-51
      วิชาเฉพาะเลือก ไม่น้อยกว่า
      20-21
      3.
      หมวดวิชาเลือกเสรี
      6
      จำนวนหน่วยกิตรวมแล้วไม่น้อยกว่า 135

                   สำหรับวิชาเฉพาะด้านที่เปิดสอนให้กับนิสิตที่เรียนจุลชีววิทยาเป็นวิชาเอก ที่เป็นวิชาบังคับ ได้แก่ วิชาจุลชีววิทยาทั่วไป วิชาเชื้อรา วิทยาแบคทีเรียดีเทอร์มิเนทีฟ ระบบพันธุกรรมของจุลินทรีย์ สรีรวิทยาของจุลินทรีย์ การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยา สัมมนา และปัญหาพิเศษ ส่วนวิชาเฉพาะเลือกเปิดสอนหลายวิชา เช่น จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม จุลชีววิทยาทางอาหารนมและผลิตภัณฑ์นม จุลชีววิทยาทางการเกษตร จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม จุลชีววิทยาทางสาธารณสุขและสุขาภิบาล การเกิดโรคและภูมิคุ้มกัน ไวรัสวิทยา ยีสต์และยีสต์เทคโนโลยี เป็นต้น

                   นอกจากนี้ภาควิชาฯยังได้ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพได้รับปริญญา วท.. (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) / Doctor of Philosophy (Bioscience) / Ph.D (Bioscience)

                                                       

                                                 


      ทุนสนับสนุนการศึกษาและงานวิจัยของนิสิต

                   นิสิตระดับปริญญาตรีสามารถขอรับทุนจากโครงการ IPUS เพื่อสนับสนุนการทำโครงงานวิจัย (senior project) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และทุน RPUS เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเป็นนักวิจัยสำหรับการศึกษาต่อหรือเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ในอนาคตซึ่งเป็นทุนภายใต้การสนับสนุนของ สกว.
                   นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาสามารถรับทุนเพื่อสนับสนุนการเรียนและการทำวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์ เช่น ทุนสนับสนุนการทำวิจัยในต่างประเทศจากคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยร่วมแบบทวิภาคี สำหรับนิสิตปริญญาโททุนละ 200,000 บาท และนิสิตปริญญาเอกทุนละ 300,000 บาท ทุนส่งเสริมการวิจัย สกว.-วท.มก.ทุนผู้ช่วยสอนจากบัณฑิตวิทยาลัย ทุนผู้ช่วยวิจัยจากโครงการวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษา ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอกในมหาวิทยาลัยOsaka ประเทศญี่ปุ่น ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นอกจากนี้ยังมีทุนวิจัยมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก สกว. ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก
      .)

      งานวิจัย

                   งานวิจัยของคณาจารย์ มีทั้งส่วนที่ร่วมในวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาโทและเอก และงานวิจัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่นหัวข้องานวิจัยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

      1. ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ในระบบนิเวศที่อยู่บนบก น้ำ และป่าชายเลน ความหลากหลายของ  แบคทีเรีย ในลำไส้ปลวก ความหลากหลายของแอคติโนมัยสีทบริเวณรอบรากและในรากพืชตระกูลถั่ว
      2. การใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ด้านการหมัก และเทคโนโลยีการหมักเพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม เช่น  การพัฒนาการผลิตสารสกัดบีตากลูแคนจากยีสต์เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของกุ้ง การผลิตและการสกัดสารสีเหลืองโมแนสคัสจากการหมักแห้งบนเมล็ดข้าว การคัดเลือกและการผลิตสาหร่ายขาว Schizochytrium
      sp. เพื่อใช้เป็นแหล่ง DHA สำหรับการเพาะเลี้ยงลูกกุ้ง การผลิต LPSจากแบคทีเรียสังเคราะห์แสงเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำ
      3.
      การศึกษาจุลินทรีย์ทางด้านอาหาร นม และผลิตภัณฑ์นม เช่นการผลิตแบคเทอริโอซิน เพื่อใช้กำจัดจุลินทรีย์ ก่อโรคทางเดินอาหาร
      4. การศึกษาและการผลิตเอนไซม์จากจุลินทรีย์ เช่น การผลิต
      alkaline protease, ligninase, xylanase
      5.
      การศึกษาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร เช่น การผลิตโปรไบโอติกเพื่อผสมในอาหารไก่เนื้อ
      6.
      การศึกษาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
      7.
      การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร การผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากแบคทีเรียสังเคราะห์แสง
      8.
      การศึกษาวิจัยจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและภูมิคุ้มกันการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี เพื่อใช้ในการตรวจหาไวรัสในกุ้งกุลาดำ
                                    
                                            


                                  

      ติดต่อภาควิชาจุลชีววิทยา

      ตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์ ชั้น 1-4

      โทรศัพท์ 0-2579-2351, 0-2579-2400, 0-2942-8389

      โทรสาร 0-2579-2081

      E-mail: fscicvk@ku.ac.th

      Homepage: http://micro.sci.ku.ac.th


      เรียนจุลชีววิทยาอย่างคนมีกึ่น
       (ที่มา http://deardahlia.exteen.com/20081022/p)




      ก่อนฉายหนังต้องโฆษณาสรรพคุณก่อนมั๊ยอ่ะเคอะ ? เอาเป็นว่าแนะนำตัวคร่าวๆ ละกัน =3=)

      อ่า... ชื่อดาห์เลียค่ะ - - จบ ป.ตรีจุลชีววิทยา ม.เกษตรศาสตร์เมื่อ 4 ปีก่อน (GPA= 3.58) และเพิ่ง จบป.โท ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ (GPA=3.90) ค่ะ  - - ถึงจะจบมานานแล้ว (แอร๊ย ฟังดูแก่มาก...) แต่วันนี้จะขอมาแฉ - เอ๊ย! แชร์ประสบการณ์กับน้องๆ ...เอาเป็นภาควิชาจุลชีววิทยาก่อนนะคะ เพราะดูท่าคนจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก ต้องโปรโมทหน่อย 555+ (ส่วนภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ถ้ามีผู้สนใจเราอาจจะเขียนเป็นอีก 1 เอนทรีนะคะเพราะฟิลด์งานค่อนข้างต่างกันพอสมควร ^^)

      โอเค โฆษณาจบละ เข้าเรื่องเลยดีกั่ว =3=)

      ตอบคำถาม 5 ข้อ


      1. ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?

      เรียนจบแล้ว วันนี้จะมาเขียนเรื่องคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาค่ะ


      2. สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?

      การเรียนจุลชีววิทยาสามารถแบ่งได้เป็น 3 สายใหญ่ๆ ค่ะ คือ จุลชีววิทยาทางการแพทย์ จุลชีววิทยาทางอาหาร และจุลชีววิทยาทางการเกษตร ซึ่งเวลาเรียนเราจะมีสายเอกและสายรอง สายเอกคือเราจะต้องลงวิชาบังคับเลือกให้ครบ ส่วนสายรองอาจเลือกเรียนบางตัวได้

      ขอยกตัวอย่างตัวเองนะคะ สายเอกของเราคือจุลชีววิทยาทางอาหาร วิชาบังคับเลือกที่เรียนเช่น จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม การประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ (วางระบบ HACCP, ISO ฯลฯ) จุลชีววิทยาอาหารหมัก จุลชีววิทยาผลิตภัณฑ์นมและโรงงานนม ฯลฯ ส่วนสายรองของเราคือการแพทย์ค่ะ ที่เรียนๆ มาก็เช่นจุลชีววิทยาสาธารณสุข แบคทีเรียวิทยาดีเทอร์มิเนทีฟ ระบาดวิทยา ไวรัสวิทยา <<ตัวนี้แหละที่ดร็อป เพราะทำใจทดลองกับกระต่ายไม่ได้ T^T)


      การเลือกสายนี้จะทำกันตอนขึ้นปี 3 แล้วนะคะ คือเรียนวิชาภาคอย่างเดียวเลย แต่ปี 1-2 จะเรียนรวมกับภาควิชาอื่นๆ ค่ะ - - ขอเขียนรวมๆ นะคะ

      ปี 1 - - แคลคูลัส 1 และ 2, เคมีเบื้องต้น 1 และ 2(+lab), ฟิสิกส์ 1(+lab)  , ชีววิทยา(+lab), สัตววิทยา(+lab), ภาษาอังกฤษ 1, 2 และ 3 (ถ้าคะแนนเอนท์ภาษาอังกฤษเกิน 70 ข้ามไประดับ 3 ได้เลยค่ะ ^^ รู้สึกระดับ 2 จะมีข้ามได้เหมือนกันแต่พอดีเราไม่ได้เรียน ขออภัยกั๊บ แหะๆ f(=w=;)

      ปี 2 - -  ฟิสิกส์ 2 (+lab) , พฤกษศาสตร์(+lab), เคมีอินทรีย์(+lab), เคมีวิเคราะห์เชิงปริมาณ(+lab), จุลชีววิทยาทั่วไป (+lab), ชีวเคมี 1 (+lab)

      ปี 3 - - ชีวเคมี 2, หลักพันธุศาสตร์ (+lab), วิทยาแบคทีเรียดีเทอร์มิเนทีฟ (+lab), เชื้อรา, ระบบพันธุกรรมของจุลินทรีย์, การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยา (lab) , สถิติจุลชีววิทยา 1 และวิชาเลือก 2 ตัว (ของเราคือ Yeast and Yeast Technology(+lab) และจุลชีววิทยาสุขาภิบาล(+lab)ค่ะ)

      ปี 4 - - กายวิภาคศาสตร์จุลินทรีย์, สถิติจุลชีววิทยา 2, สัมมนา, ปัญหาพิเศษ, วิชาเลือก 4 ตัว (ของเราคือ Food Microbiology(+lab), Microbiology of Milk and Milk Product(+lab), Industrial Microbiology(+lab), Microbiology of fermented food(+lab)) และฝึกงาน 2 เดือนค่ะ

      นอกจากนี้จะมีวิชาเลือกเสรีอีกอย่างน้อย 3 ตัว (ลงเมื่อไหร่ก็ได้ และลงเกินได้แต่ห้ามขาด) ซึ่งจะเรียนอะไรก็ได้ เราเลือกภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษขั้นสูง, ปรัชญา, อารยธรรมและประวัติศาสตร์โลกค่ะ (^^) เลือกตามใจตัวเองมาก 555+


      ขอเขียนแต่วิชาที่ไม่ค่อยคุ้นกันนะคะ ข้ามพื้นฐานอย่างเคมี แคลคูลัส ฯลฯ ไปเพราะทุกคนรู้จักกันอยู่แล้วน่อ ^w^)

      - วิทยาแบคทีเรียดีเทอร์มิเนทีฟ (Determinative Bacteriology)

      มันก็คือการหัดจำแนกแยกแยะเชื้อด้วยวิธีการต่างๆ นั่นเอง - - ต้นเทอมอาจารย์จะให้เชื้อ unknown เรามา 1 หลอดแล้วก็ปล่อยเราปาย~ (ผ่านมา ฮื๊อฮือ ผ่านปาย~) เราต้องงัดสมบัติเก่ามาหาทางเอาตัวรอดเอง ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนขั้นต้นมาจะได้ใช้ก็งานนี้แล เพราะต้องเปิดตำราทำการทดสอบทั้งทางเคมี ชีวเคมี และจุลชีววิทยาเองเลยค่ะ จบเทอมก็เขียนรายงาน + เตรียมพรีเซนต์ unknown - - เป็นวิชาที่เหมือนจะชิวเพราะไม่ต้องเข้าเรียน แต่ต้องจัดตารางทำงานเองนะตัว =w=) และทุกคนจะทะนุถนอมเชื้อตัวเองราวไข่ในหินพันด้วยงูจงอางตัวแม่ก็มิปาน เพราะถ้าเชื้อปนเปื้อน หาย หรือตายจาก ก็เตรียมบ๋ายบาย~ วายชีวาตามไปได้เลยจ้ะ =w=;)

       

      - เชื้อรา (Fungi)

      ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเชื้อราและเห็ด  วิชานี้ไม่มีอะไรจะพูด นอกจาก ท่อง ท่อง ท่อง และท่อง! ไม่มีทางอื่น แต่เหมือนจะเป็นข้อดีคือ ถ้าจำได้ก็ทำข้อสอบได้ เพราะมันตรงตัวเป๊ะๆ ไม่มีพลิกแพลงอันใดทั้งสิ้น (เพราะพลิกไม่ได้ แต่ตำราหนาจริงจัง TwT)

       

      - ระบบพันธุกรรมของจุลินทรีย์ (Genetic Microbiology)

      เป็นวิชาที่คล้ายกับพันธุศาสตร์ค่ะแต่ลงลึกกว่า (และเล็กกว่า) เราจะเรียนกันในระดับเซลล์และโครโมโซมของเชื้อประเภทต่างๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคทางพันธุศาสตร์เพื่อจำแนกเชื้อ เช่น Gel electrophoresis ทำ western blot, southern blot (กรี๊ดดด คุณยักษ์ช่วยด้วย) การจำแนกเชื้อด้วย 16s rRNA ฯลฯ - - วิชานี้สนุกค่ะ งานน้อย ไม่ต้องท่อง ขอเข้าใจก็พอ

       

      - การใช้เครื่องมือทางจุลชีววิทยา

      ตรงตัวค่ะ เรียนใช้เครื่องมือเฉพาะทาง วิชานี้สบ๊ายสบาย และได้ใช้งานจริงแน่นอนค่ะ

       

      - Yeast and Yeast Technology

      เป็นวิชาที่พวกผู้ชายชอบมากกก เพราะไปดูงานโรงเหล้าโรงเบียร์เป็นว่าเล่น (เกือบทุกยี่ห้อในประเทศไทย อิฉันไปเยือนมาหมดแล้วค๊า เอิ๊ก) กลับจากดูงานทีไร พวกมันเมาแอ่นเป็นศพบนรถทัวร์ทุกที =w=;) เป็นวิชาที่จำน้อย งานหนักนิดหน่อยเพราะตะลอนๆ และเขียนรายงานทุกอาทิตย์ แต่ถ้าเขียนได้ดีล่ะก็ เกรดจะสวยมากมายค่ะ 555+

       

      - จุลชีววิทยาสุขาภิบาล

      เรียนเรื่องหลักสุขาภิบาลและอนามัย ครอบคลุมไปถึงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันเบื้องต้น  เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทั่วไปและระบบวัคซีนด้วย

       

      - กายวิภาคศาสตร์จุลินทรีย์

      เรียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ ค่ะ เช่นแบคทีเรียประเภทต่างๆ เชื้อราประเภทต่างๆ เรียนอันนี้แล้วจะรู้ว่า ทำไมยาตัวนี้ถึงได้ผลกับเชื้อตัวนี้ สารตัวนี้ไปยับยั้งวงจรเอนไซม์ของเชื้อยังไง ฯลฯ

       

      - สถิติจุลชีววิทยา

      เรียนเกี่ยวกับการวางแผนการทดลองแบบต่างๆ และการวิเคราะห์ผลขั้นพื้นฐานค่ะ มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะกับคนที่คิดจะเรียนต่อในสายวิทยาศาสตร์นะ (^^)

       

      - Food Microbiology

      จุลชีววิทยาทางอาหาร วิชานี้ครอบคลุมวงกว้างแบบหลวมๆ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบอุตสาหกรรมค่ะ

       

      - Microbiology of Milk and Milk Product

      โรงนมและผลิตภัณฑ์นมทั้งหลาย วิชานี้จะได้ลองทำโยเกิร์ต คีเฟอร์ บัตเตอร์มิลค์ คอตเตจชีส แรร์ชีส ทำนมพาสเจอไรส์ ฯลฯ ทัวร์ฟาร์มวัวและโรงนมค่ะ

       

      - Industrial Microbiology

      ทุกเรื่องที่ควรู้เกี่ยวกับการทำงานในฝ่ายควบคุมทางชีวภาพของโรงงาน การเขียนแผน วางระบบประกันคุณภาพให้โรงงาน (เป็นที่ต้องการมากนะเคอะ โขวโบก) ระบบการทำงานของโรงงานต่างๆ ดูงานในฟิลด์ต่างๆ ที่เคยไปมาก็โรงงานสาหร่ายสไปรูลิน่า (ตอนนั้นดังมาก) โรงนม ฯลฯ  ...จำไม่ได้แล้วแฮะ  แต่ดูงานทุกอาทิตย์ค่ะ

       

      - Microbiology of fermented food

      ว่าด้วยเรื่องผลิตภัณฑ์อาหารหมักทั่วโลก ตั้งแต่ข้าวหมาก สาโท อุ กระแช่ ไส้กรอกเปรี้ยว ปลาส้ม เนื้อหมัก ซาวเออร์เคร้าท์ เทมเป้ สีผสมอาหารจากจุลินทรีย์ วุ้นใยมะพร้าว วิตามินและสารสีจากการหมัก - - เป็นวิชาที่อิ่มมากกกก (ฮา)


      3. สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?

      หลายอย่างค่ะ สามารถทำได้ทั้งภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐ โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน ห้องวิจัยต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานทางสาธารณสุขด้วย ขึ้นอยู่กับเราเลือกค่ะ (^^)


      4. บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ

      "ละเอียดและระเบียบวินัย" ค่ะ ขอแค่นี้พอ รับรองรุ่งและรอด ชัวร์!


      5. อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??

      นี่เป็นสาขาที่คนไม่ค่อยรู้จัก หรืออาจจะถูกบล๊อกด้วยความเข้าใจผิดจนไม่ค่อยอยากทำความรู้จัก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่า "ตัวเชื้อโรค" (เคยโดนมาแล้ว) ทั้งที่จริงแล้วมันคือสิ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุด เชื้อมีอยู่ทุกที่แหละน๊า กินเข้าไปทุกวัน กะปิ น้ำปลา ขนมจีน ทั้งตอนนี้ที่เราสูดหายใจเข้าไป หรือบนคีย์บอร์ดที่กำลังจิ้มนี่ก็ตาม


      ถ้าถามว่าสนุกมั๊ย? โดยส่วนตัว เป็นงานที่สนุกและชอบค่ะ (^^) ถามว่าเหนื่อยมั๊ย? ก็เป็นธรรมดาของการเรียนค่ะ แต่ที่อยากย้ำคือ "ต้องมีวินัย" เพราะนี่คือการทำงานกับสิ่งมีชีวิตค่ะ (^^) ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้ามีกำหนดเก็บเชื้อที่ 24 ชม. น้องก็ต้องมาตามเวลานั้นๆ จะมาผลัดเป็น 30 หรือ 36 ชม. ไม่ได้ เพราะเชื้อมันโตเกินไปแล้ว มันไม่อยู่รอน้องแล้วค่า นอกจากนี้ถ้ามีความยืดหยุ่นได้จะดีมาก เพราะอย่างที่บอกว่าทำงานกับ "สิ่งมีชีวิต" ซึ่งบางทีบรรดาเจ้าหญิงทั้งหลายก็นึกจะเอาแต่ใจตัวเองขึ้นมา =w=;) ทีอยากให้โตล่ะไม่ค่อยจะโต บางทีไม่อยากให้โตก็เฟื่องฟูกันเข้าไป ...อันนี้ถ้าทำใจได้จะดีค่ะ 555+

      การเรียนจุลชีววิทยาเป็นการฝึกตัวเองให้รู้จักวางแผนการทำงานอย่างนึง ซึ่งมันใช้ประโยชน์ได้มากๆ เลยในการดำเนินชีวิต และน้องจะรู้ว่า งานอะไรก็แล้วแต่ที่ว่าเยอะเนี่ย ถ้าวางแผนได้ดีแล้ว เราจะหาเวลาว่างได้เสมอ (เพื่อไปคอส ไปเย็บชุดลูกๆ ถ่ายรูปลูกๆ เขียนฟิก รับจ๊อบงานแปล ฯลฯ ลัลล๊า~)

      และสุดท้ายนี้อยากบอกว่า - -

      ถ้าน้องอยากรู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ อยากเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น - - นอกจากไปเป็น กบว. แล้ว น้องยังมีทางนี้อีกทางนึงนะจ๊ะ (กร๊าก~)


       ทำต้องศึกษาจุลชีววิทยา

      1. เรื่องที่ใกล้ตัวที่สุดที่เกี่ยวกับจุลชีววิทยา คือการศึกษาเรื่องเชื้อโรคซึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก จนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะเห็นได้ เชื้อโรคนี้เรียกว่า จุลินทรีย์หรือ จุลชีพ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า germ, microbes, microorganism ซึ่งสามารถก่อโรคได้ในสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช การศึกษาจุลชีววิทยาเกี่ยวกับเชื้อโรคของมนุษย์เรียกว่า จุลชีววิทยาทางการแพทย์ (medical microbiology) ซึ่งเป็นสาขาสำคัญที่แพทย์ทุกคนต้องเรียนรู้อย่างละเอียด  

      2. เชื้อจุลินทรีย์ ยังสามารถก่อโรคติดต่อในสัตว์ เช่นโรคปากและเท้าเปื่อย โรคไข้สมองอักเสบ โรควัวบ้า ซึ่งนอกจากจะติดในสัตว์แล้วจุลินทรีย์บางชนิด ยังแพร่มาติดต่อในมนุษย์ได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีโรคระบาดในปศุสัตว์ ในปลา ในกุ้งกุลาดำที่เพาะเลี้ยงไว้ ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

      3. เชื้อจุลินทรีย์สามารถก่อโรคในพืช ทำให้ผลผลิตเสียหาย ลดปริมาณลงจนถึงเก็บเกี่ยวไม่ได้

      4. การศึกษาเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาทางป้องกัน รักษาโรค และหาวิธีการวินิจฉัยโรคให้ได้ถูกต้องแม่นยำและทำได้อย่างรวดเร็ว

      5. นอกจากมีจุลินทรีย์ที่ก่อโรคแล้ว มนุษย์ได้นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ด้วย เช่นนำมาใช้ในการผลิตเหล้า เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ซีอิ๊ว วุ้นสวรรค์ฯลฯ   และใช้ในการผลิตสารอาหาร วิตามิน และสารที่มีประโยชน์อีกมากมาย การศึกษาถึงเทคนิคในการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์จัดเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาสำคัญ

      6. จุลินทรีย์เป็นสิ่งที่ช่วยย่อยสลายสารต่างๆในธรรมชาติตลอดเวลา ทำให้เกิดวักจักรของสารเช่น ของไนโตรเจนและกำมะถัน มีการศึกษาและนำจุลินทรีย์มาใช้ในการกำจัดของเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียทั่วโลก

      7. ในสิ่งแวดล้อมในอากาศ พื้นดิน ในแม่น้ำลำคลอง ในทะเล เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆมากมายมหาศาล

      8. ในตัวมนุษย์และสัตว์มีจุลินทรีย์ปริมาณมากอาศัยอยู่โดย ไม่ทำอันตรายใดๆ เรียกว่าจุลินทรีย์ประจำถิ่น ซึ่งมีบทบาทช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคเป็นไปตามปกติ บริเวณที่มีจุลินทรีย์มากคือ ในลำไส้ ในช่องปากเป็นต้น จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ช่วยในการย่อยสลายอาหารและสร้างวิตามินเค


        อ่านบทความอื่นได้ที่  http://micro.sci.ku.ac.th/fscicvk/daily.htm

              ส่วนน้องที่สนใจจะเข้ามาดูที่เวปของภาควิชาได้ที่  
                   
      http://micro.sci.ku.ac.th


      การใช้แบคทีเรียผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้

          ปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมปัญหาหนึ่งที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ ได้แก่ขยะพลาสติกที่ยากต่อการกำจัด แนวทางแก้ปัญหาที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันได้แก่ การหมุนเวียนเอาพลาสติกมาใช้ใหม่ และความพยายามที่จะผลิตพลาสติกชนิดที่ย่อยสลายได้ ซึ่งในบรรดาพลาสติกที่มีการโฆษณาว่าย่อยสลายได้นั้น ส่วนใหญ่ยังสลายไปได้อย่างไม่สมบูรณ์เนื่องจากการผลิตพลาสติกแบบนี้ยังใช้พลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย เป็นองค์ประกอบหลัก เปลี่ยนไปเฉพาะสารที่ใช้เชื่อมต่อให้เป็นแผ่นเท่านั้นโดยการใช้สารประเภทแป้งแทน ดังนั้นเมื่อแป้งถูกย่อยสลายไป จะเพียงแต่ทำให้พลาสติกสูญเสียลักษณะที่เคยเป็น แต่ส่วนที่เป็นองค์ประกอบนั้นจะยังคงอยู่  อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์โดยเลี้ยงแบคทีเรีย Alcaligenes eutrophus ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีน้ำตาลกลูโคสในปริมาณมากเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นสภาวะที่แบคทีเรียชนิดนี้จะผลิตสารโพลิเมอร์พวกโพลี-เบต้า-ไฮดรอกซีอัลเคน (poly-beta-hydroxy-alkanes) ซึ่งเป็นอาหารสะสมที่แบคทีเรียผลิตไว้เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานยามขาดสารอาหารจากภายนอก ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อต่างๆ กัน จะทำให้แบคทีเรียผลิต โพลิเมอร์ของสารดังกล่าว ที่มีลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมต่อการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกนานาชนิด เช่น ถุง ขวด หรือพลาสติกแผ่นใสเป็นต้น ขยะพลาสติกที่ทำจากโพลิเมอร์ประเภทนี้จะถูกกำจัดได้เช่นเดียวกับของที่ย่อยสลายได้อื่นๆ แต่พลาสติกชนิดนี้ยังมีใช้ไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากมีราคาแพง

      โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อสารมวลชน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
      ชื่อภาษาอังกฤษ Biological degradable plastic

      ไวรัสตับอักเสบบี : ผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

               ไวรัสตับอักเสบบีที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดบี ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่ยังคงมีความสำคัญ และพบว่ามีการระบาดทั่วโลก โดยมีผู้เคยติดเชื้อไวรัสชนิดนี้และกลายเป็นพาหะของโรคอยู่ ประมาณ 300 ล้านคนต่อปี ในแต่ละปีจะมีประชากรติดเชื้อประมาณ 10-30 ล้านคน และเสียชีวิต ประมาณ 1 ล้านคนต่อปี ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ แม้ว่าขณะนี้จะมีวัคซีนที่ปลอดภัยใช้แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากยังมีราคาแพง ทำให้ผู้ที่มีฐานะยากจนไม่สามารถซื้อวัคซีนเพื่อฉีดป้องกันได้ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายมากโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากพบไวรัสได้ทั้งใน เลือด น้ำลาย เหงื่อ น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอดของผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ที่กำลังติดเชื้อไวรัสอยู่ ไวรัสตับอักเสบบีมีความคงทนอยู่ในเลือดแห้งได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับไวรัสเอดส์แล้ว ไวรัสตับอักเสบบีติดต่อได้ง่ายกว่าถึง 100 เท่า ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้แก่ ผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่มีการป้องกันตัว เช่นไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย บุคลากรทางการแพทย์ เช่นแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ หรือผู้ที่ต้องสัมผัสกับเลือดผู้อื่น ผู้ที่ฉีดยาเสพติด เข้าเส้น พวกรักร่วมเพศ พวกที่ชอบสักหรือเจาะหูหรือส่วนอื่นของร่างกายเพื่อใส่เครื่องประดับจะมีการเสี่ยงต่อการติดไวรัสตับอักเสบบี รวมทั้งไวรัสเอดส์ด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่ทำการฆ่าเชื้อเข็มที่ใช้สักหรือเจาะไม่ถูกวิธี นอกจากนี้บุคคลที่อยู่ร่วมในครอบครัวที่มีผู้เป็นพาหะของไวรัสตับ อักเสบบีก็มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโรค รวมทั้งลูกที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะก็มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อไวรัสจากแม่

      โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อมวลชน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ชื่อภาษาอังกฤษ : Hepatitis B Virus-Risk Persons 


      จุลินทรีย์:จุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีววิทยา

                     สิ่งมีชีวิตที่อุบัติขึ้นสิ่งแรกในโลกได้แก่จุลินทรีย์และนับตั้งแต่อุบัติการจุลินทรีย์ได้มีบทบาท ต่อการแปรเปลี่ยนของ สรรพสิ่งในโลก เป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความหลาก หลายทางชีววิทยา (biodiversity) ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตนานาชนิดรวมทั้งมนุษย์ ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดึกดำบรรพ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติและความสามารถแตกต่างกันความหลากหลาย ของจุลินทรีย์ในเชิงความสามารถ ที่จะดำรงชีวิตในระบบ นิเวศน์และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ทำให้สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้กระจายอยู่ ทุกหนทุกแห่งในโลก แม้ในที่ ๆ สิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่นในน้ำพุร้อนซึ่งอุณหภูมิสูงถึง 90-100 องศาเซลเซียส หรือที่เย็นจัดจนอุณหภูมิติดลบ ที่เป็นกรดด่างมาก บริเวณที่ซึ่งปราศจากออกซิเจน ใต้ทะเลหรือที่ที่มีความกดดันสูง ที่ที่มีเกลือเข้มข้น 25-30% หรือน้ำตาลเข้มข้น 60-70% ดังนั้นจึงเป็นการง่ายที่จะระบุแหล่งที่ปลอดจุลินทรีย์ มากกว่าที่จะระบุแหล่ง ที่มีจุลินทรีย์ตัวอย่าง ของแหล่งที่ปลอดจุลินทรีย์ได้แก่ในเนื้อเยื่อและเซลล ์ของพืชและของสัตว์ที่ ไม่เป็นโรค ลาวาที่กำลังหลอมละลายจาก การระเบิดของภูเขาไฟ รวมทั้งในอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีการทำลายเชื้อ จนหมด จุลินทรีย์ที่อยู่ทุกหนทุกแห่งในโลกดังได้กล่าวแล้ว ล้วนมีความสำคัญกับโลกทั้งในส่วนที่มีชีวิต (biotic component) และส่วนที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ทั้งด้านที่เป็นคุณและเป็นโทษ จนกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน ดังนั้นการเรียนรู้และทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ จึงเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการป้องกันและลดโทษอันพึง จะเกิดจากจุลินทรีย์ให้น้อยลง และหาวิธีนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ให้มาก กว่าที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ

      โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อสารมวลชน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาษาอังกฤษ: Microbe, the origin of evolution and biodiversity 


      Generate Your Own Glitter Graphics @ GlitterYourWay.com - Image hosted by ImageShack.us

      น้องคนไหนมีข้อสงสัยหรืออยากจะพูดคุยกัน ก็แอดมาที่ เมลล์พี่ได้นะคับ
      microku@windowslive.com 




      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×