นิยายไซไฟ...จินตนาการในปัจจุบันถึงอนาคต

        Science Fiction หรือนิยายไซไฟเป็นงานเขียนที่เอาแนวคิดหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทั้งที่เป็นจริงอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือน่าจะเป็นจริงในปัจจุบันมาสร้างเป็นเรื่องราวภายใต้หลักการที่ว่า "จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..."

        ไซไฟ เป็นซับย่อยของนิยายแฟนตาซี แต่มีแนวคิดตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่แฟนตาซีมักจะเน้นไปที่เวทมนตร์ พลังงานที่อธิบายไม่ได้ และส่วนใหญ่จะใช้ฉากหลังเป็นยุคอดีต นิยายไซไฟจะเน้นความเป็นจริง หลักการ และเหตุผล ฉากหลังของนิยายไซไฟส่วนใหญ่คือโลกอนาคต เพราะกำลังพูดถึงเทคโนโลยีที่ "ยังไม่มี" ในปัจจุบัน

        มาดูไอเดียในการเขียนนิยายแนวนี้กัน
 

ไอเดียเขียนนิยายไซไฟ

1. อวกาศ, โลกคู่ขนาน, โลกในอนาคต

        แน่นอนว่าจะสร้างนิยายสักเรื่องก็ควรจะวางฉากเสียก่อน อยากให้เรื่องมันเกิดขึ้นที่ไหน ถ้าเป็นนิยายไซไฟ ฉากหลังก็ควรจะเป็นโลกอนาคตที่วิทยาการได้ "พัฒนา" ไปไกลแล้ว อาจเป็นโลกเดิมของเราหรือจะวางไว้เป็นอีกดาวหนึ่งเลยก็ได้
 

(นิยายไซไฟชุดสถาบันสถาปนาของไอแซค อาซิมอฟ)

        ฉากหลังที่เป็นอวกาศก็น่าสนใจเหมือนกัน ให้ตัวละครอาศัยอยู่บนยานอวกาศ ท่องไปตามดาวต่างๆ ส่วนใหญ่จะเจอในนิยายแนว action เสียมาก

        หรืออีกไอเดียคือวางพล็อตให้เป็นโลกคู่ขนาน ฟากหนึ่งอาจเป็นโลกที่เราอยู่ ส่วนอีกฟากอาจเป็นโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด เทคโนโลยีสมบูรณ์พร้อม แต่ทัศนคติของคนก็เปลี่ยนไป อะไรทำนองนี้
 

2. ตัวละครที่มีรูปลักษณ์พิเศษหรือมีพลังพิเศษ

        นิยายไซไฟอาจจะเหมือนนิยายแฟนตาซีตรงที่เราสร้างตัวละครแปลกๆ ออกมาได้ แต่มีพื้นฐานต่างกันตรงเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ขึ้นมา สำหรับนิยายไซไฟสิ่งมีชีวิตเหล่านี้คือการ "กลายพันธุ์" หรือเกิดจาก "การประดิษฐ์" หรือเป็นสิ่งมีชีวิตจากดาวอื่นที่ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจจะมี

        สิ่งมีชีวิตพวกนี้ก็เช่น
 
  • หุ่นยนต์: ไม่ว่าจะโรบอท ไซบอร์ก แอนดรอยด์ AI ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นให้มีรูปร่างเหมือนมนุษย์บ้าง ไม่เหมือนบ้าง และปฏิบัติตามคำสั่งที่พวกมันถูกโปรแกรมเอาไว้
  • เอเลี่ยน: หรือสิ่งมีชีวิตจากดาวอื่นซึ่งมีรูปร่างผิดไปจากมนุษย์อย่างพวกเรา ส่วนใหญ่มักถูกวาดภาพให้เป็นแมลง และมักจะไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ทำตามสัญชาตญาณสัตว์
  • มิวแทนท์ : คืออดีตมนุษย์ที่เจอการตัดต่อทางพันธุกรรม เจอเชื้ออะไรสักอย่างเข้าไปจนทำให้ร่างกายมีความผิดปกติ เปลี่ยนรูปร่าง หรือมีพลังพิเศษอย่างพวก X-men
  • มนุษย์ที่มีพลังพิเศษ: พลังเหนือธรรมชาติที่ทางวิทยาศาสตร์ยอมรับคือพลังจิต พลังในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือสร้างปรากฏการณ์บางอย่างขึ้น โดยจะต้องมีคำอธิบายรองรับการมีอยู่ของพลังเหล่านี้ ไม่ใช่บอกสั้นๆ แค่ว่ามันคือเวทมนตร์
     

3. วิทยาการจากอนาคต

        โดเรมอนเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีจากอนาคตที่พวกเราใฝ่ฝัน นักเขียนนิยายไซไฟมักจะนึกถึงวิทยาการที่ก้าวล้ำกว่าปัจจุบันโดยมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิมที่มีอยู่ เช่น ถ้าวันนี้เรามีรถที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง วันข้างหน้าเราอาจมีรถที่ใช้พลังงานจากรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นพลังงานสะอาด แถมยังดูดซับรังสีความร้อนที่แผ่มายังโลกได้ดีอีกด้วย

        ตัวอย่างวิทยาการที่เราได้เห็นบ่อยๆ ในนิยายไซไฟก็เช่น
 
  • ยานอวกาศทรงสวย ใช้พลังงานต่ำ เดินทางด้วยความเร็วแสงหรือเปิดวาร์ปได้
  • เทคโนโลยีการสื่อสารที่เห็นหน้ากันได้แม้จะอยู่ดาวคนละดวง ภาพและเสียงคมชัด หรือฉายภาพเป็นสามมิติได้เลย (ในปัจจุบันเราก็มีเทคโนโลยีสื่อสารกันแบบเห็นหน้าแล้ว แต่ยังดีเลย์บ้าง กระตุกบ้างอยู่เลย)
  • การคมนาคมด้วยยานพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เดินทางอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย หรือการเคลื่อนที่ด้วยกระสวยแบบพิเศษ
  • อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ก้าวล้ำ เช่น ดาบเลเซอร์ใน Star Wars ปืนเลเซอร์ที่มีคุณสมบัติแยกองค์ประกอบของสสาร ถุงมือเพิ่มพละกำลัง
     
        เมื่อเรามีองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว เราก็จะได้โลกแห่งอนาคตที่สมบูรณ์พร้อมด้วยเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก แต่โลกที่แสนดี ไร้ปัญหาใดๆ แบบนี้ใครจะอยากอ่าน มันก็ต้องมีความขัดแย้ง มีอุปสรรค ที่คนต้องดิ้นรนต่อสู้เหมือนโลกปัจจุบันเราต่อไป
 

ใส่ความขัดแย้ง

        ความขัดแย้งหรือ conflict ที่เราเห็นได้บ่อยๆ ในนิยายไซไฟก็เช่น
 

1. สงคราม

  • ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งในมวลชนด้วยกันเอง เช่น มีเพียงคนรวยที่ได้เข้าถึงวิทยาการต่างๆ ได้อยู่ในเมืองอันสมบูรณ์พร้อม ส่วนคนจนต้องมาอาศัยอยู่นอกเมือง เสี่ยงจะโดนสัตว์ประหลาดข้างนอกกินเป็นอาหาร โดนดูถูกเหยียดหยาม ต้องทำงานเพื่อสร้างพลังงานต่างๆ ให้คนรวยได้ผลาญเล่น ฯลฯ สุดท้ายความอดทนก็หมดลง กลายเป็นสงครามระหว่างสองชนชั้น
  • มนุษย์ต่างดาวบุก อันนี้เป็นพล็อตคลาสสิกสำหรับนิยายแนวนี้ เมื่อโลกอันสงบสุขตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกมนุษย์ต่างดาวยึดครอง ถ้าเบื่อกับอะไรแบบนี้แล้ว ลองอ่านเรื่อง Ender's Game ดู อาจจะทำให้เราได้มุมมองใหม่ในการเขียนสงครามระหว่างมนุษย์กับชนต่างดาว
     

(ภาพกองทัพสัตว์ประหลาดจากต่างดาวในเรื่อง Ender's Game)
 
  • ถ้าสงครามระหว่างคนกันเอง สงครามระหว่างคนกับมนุษย์ต่างดาวยังไม่แย่พอ ลองเป็นสงครามระหว่างคนกับ AI หรือหุ่นยนต์ประดิษฐ์ที่ดันฉลาดจนทำเกินหน้าที่ นึกอยากปกครองมนุษย์ขึ้นมา
     

2. ทั้งหมดคือภาพลวง

  • หากว่าเทคโนโลยีทั้งหมดที่อำนวยความสะดวกให้เรามีเบื้องลึกเบื้องหลัง ถ้าหากคนชราตายแล้วไม่ได้กลับสู่พื้นดินอย่างที่ควรจะเป็น แต่นอนทอดร่างอยู่บนสายพานลำเลียงเพื่อเข้าสู่กระบวนการทำเป็นอาหารชีวภาพให้พวกเรากินกันล่ะ?
  • สังคมที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยรัฐบาล เราอาจจะใช้ชีวิตอย่างสงบสุข มีระเบียบแบบแผน ไม่ต้องเสี่ยงเลือกทางเดินชีวิตตัวเองแต่ให้ทางการเลือกให้ แต่นั่นคือสิ่งที่เราต้องการจริงหรือ ถ้าหากการควบคุมของรัฐบาลไม่ได้ควบคุมแค่ความประพฤติของเรา แต่ยังควบคุมไปถึงรสนิยม ความชอบ หรือความคิดที่อยู่ในสมองของเราเองล่ะ

        สองพล็อตนี้เป็นพล็อตยอดนิยมสำหรับนิยายแนวไซไฟ และถ้าใครเคยอ่านบทความ Dystopian Literature ฝันร้ายในโลกจินตนาการ ของพี่ ก็คงพอคุ้นๆ ว่าพล็อตในข้อสองมันเหมือนกับนิยายแนวดิสโทเปียนเลยเนอะ ความจริงนิยายสองแนวนี้มันคาบเกี่ยวกันอยู่ คือ นิยายแนวไซไฟอาจจะมีเทคโนโลยี วิทยาการนู่นนี่นั่น แต่อาจจะไม่มีประเด็นเรื่อง "ภาพลวง" ในขณะที่นิยายแนวดิสโทเปียนอาจจะพูดถึงภาพลวงของสังคมอันสมบูรณ์แบบ แต่อาจไม่มีประเด็นเรื่องสงคราม การสู้รบ หรือไม่เน้นวิทยาการเลย

        น่าแปลกที่นิยายไซไฟนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 17 แต่กลับไม่ได้ดังเปรี้ยงขึ้นมาเหมือนแนวรักหรือแฟนตาซีชั้นสูง คนเขียนนิยายแนวนี้แม้แต่ในต่างประเทศก็ยังมีน้อย พี่น้องเดาว่าน่าจะเป็นเพราะคนเขียนต้องรักและมีความรู้วิทยาศาสตร์พอสมควร ถึงจะสร้างโลกที่มี "พื้นฐาน" จากทฤษฎีต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ได้ เหมือนอย่างที่คนจะเขียนนิยายสืบสวนก็ต้องศึกษากระบวนการยุติธรรม กระบวนการพิสูจน์หลักฐาน ต้องมีความรู้ด้านกายภาพ จะได้วางแผนฆ่าคนได้ถูก (?)

        และปัจจัยที่สำคัญก็คือคนอ่าน เหตุผลที่คนไม่ค่อยอ่านแนวนี้กันอาจเพราะมันเป็นเรื่องที่เข้าถึงยาก ส่วนใหญ่มีเนื้อหาหนัก ไม่ว่าจะด้วยความที่มันเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก็ดี หรือธีมเรื่องที่ค่อนข้างหดหู่ อ่านนิยายแฟนตาซีชั้นสูงมันสบายใจกว่า

        แต่พี่น้องก็หวังว่าบทความนี้อาจจะช่วยจุดประกายให้ชาว Dek-D บางคนหันมาสนใจเขียนแฟนตาซีแนวนี้บ้าง ไม่แน่นะ กระแสถัดจากนิยายแฟนตาซีออนไลน์ อาจจะเป็นนิยายแนวไซไฟก็ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.readwritethink.org/files/resources/lesson_images/lesson927/SciFiDefinition.pdf
http://en.wikipedia.org/wiki/Technology_in_science_fiction
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_science_fiction_themes
http://www.sff.net/people/james.van.pelt/wells/ideas.htm

ขอบคุณภาพประกอบจาก
www.grizzlybomb.com
screenshotsmovies.blogspot.com
www.imdb.com
www.obeygiant.com
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Chanyanuch Member 4 เม.ย. 57 21:06 น. 4

อยากให้คนไทยหันมาสนใจอ่านนิยายแนววิทยาศาสตร์ไซไฟกันบ้าง

คนไทยชอบอ่านพวกนิยายแนวพล็อตตลาดๆน้ำเน่าเข้าไปได้ยังไง  

3
editor_nong Member 4 เม.ย. 57 22:15 น. 4-1
อาจจะเพราะวัฒนธรรมการอ่านของบ้านเราที่เน้นการอ่านเพื่อความ "บันเทิง" ทำให้นักอ่านไม่ค่อยสนใจที่มีรายละเอียดหรือเนื้อหาหนักเกินไปน่ะค่ะ เขิลจุง จะว่าไปมันก็ไม่ผิดที่จะอ่านนิยายพล็อตตลาด ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน แต่คงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนสนับสนุนนิยายแนวนี้บ้าง นักอ่านจะได้มีนิยายให้เลือกอ่านหลากหลายมากขึ้น และเปิดโลกมากขึ้น เยี่ยม
0
กำลังโหลด
Reshiram ♕ Member 4 เม.ย. 57 18:17 น. 2

ส่วนตัวแล้วเรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ใช่แนวถนัดของเราเลย แต่ก็ยังดันทุรังเขียนต่อไป (ฮา) ต้องค้นคว้ากันอย่างหนักหน่วงทีเดียว

3
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

20 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Reshiram ♕ Member 4 เม.ย. 57 18:17 น. 2

ส่วนตัวแล้วเรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ใช่แนวถนัดของเราเลย แต่ก็ยังดันทุรังเขียนต่อไป (ฮา) ต้องค้นคว้ากันอย่างหนักหน่วงทีเดียว

3
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Chanyanuch Member 4 เม.ย. 57 21:06 น. 4

อยากให้คนไทยหันมาสนใจอ่านนิยายแนววิทยาศาสตร์ไซไฟกันบ้าง

คนไทยชอบอ่านพวกนิยายแนวพล็อตตลาดๆน้ำเน่าเข้าไปได้ยังไง  

3
editor_nong Member 4 เม.ย. 57 22:15 น. 4-1
อาจจะเพราะวัฒนธรรมการอ่านของบ้านเราที่เน้นการอ่านเพื่อความ "บันเทิง" ทำให้นักอ่านไม่ค่อยสนใจที่มีรายละเอียดหรือเนื้อหาหนักเกินไปน่ะค่ะ เขิลจุง จะว่าไปมันก็ไม่ผิดที่จะอ่านนิยายพล็อตตลาด ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน แต่คงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนสนับสนุนนิยายแนวนี้บ้าง นักอ่านจะได้มีนิยายให้เลือกอ่านหลากหลายมากขึ้น และเปิดโลกมากขึ้น เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
SoundOfSiren Member 6 เม.ย. 57 01:11 น. 6

มันยากตรง วิทยาศาสตร์ นี้แหละ - - มันต้องมีหลักเกนมาอ้างอิงไม่เหมือนแฟนซี ผีบ้าจ๋าที่เราดนสดหมดเลยก็ยังได้ เย้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Hichikata Yuri Member 8 เม.ย. 57 09:13 น. 8

กำลังเขียนค่ะ^^

แต่ไปๆมาๆ ความเป็นไซไฟมันไม่ข้นเท่าที่ควร

กลายเป็นเหมือนดูหนังดูอนิเมะมากกว่า 555 (ดูบ่อย)

2
bbsaver Member 18 มิ.ย. 58 20:50 น. 8-1
ไซไฟมีสองแบบน่ะ Hard คือยึดในหลักวิทย์แบบแน่นมาก จนกล้าเอาหัวเป็นประกันว่า "แน่นอน โอกาสผิดหลักวิทย์ต่ำมาก" Soft คือใช้ธีมวิทย์ แต่ก็ไม่ได้อิงกับวิทยาศาสตร์"กระแสหลัก"นัก มักมาจากจินตนาการมากกว่าเช่นระบบวาร์ปไดรฟ์ การย้อนเวลา(ไม่มีวิทยาศาสตร์ข้อใดพิสูจน์สองเรื่องนี้ได้ ในตอนนี้) พลังจิต (มีงานวิจัยจริง แต่ผลออกไปทาง"มันไม่จริง") ครับผม อนิเมะส่วนใหญ่ที่เป็นไซไฟก็มักจะเป็น Soft ครับ (ของผมที่กำลังดองในเครื่องก็ซอฟท์...)
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากเว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากเว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

กำลังโหลด
죄 헤은 Member 7 มิ.ย. 57 00:07 น. 11

ชอบนิยายแนวนี้มากๆค่ะ มันสนุกแล้วก็น่าค้นหามากๆเลย ชอบโครงเรื่องที่ซับซ้อน มีเหตุผล สามารถนำไปบูรณาการณ์ต่อการศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นี่ล่ะมายสไตล์เลย

ยอมรับว่าหนังหรือนิยายประเภทนี้ บางเรื่องอาจเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาและต่อยอดวิทยาศาสตร์เลยทีเดียวค่ะ เจ๋งสุดๆ

แต่ความคิดเห็นส่วนตัวคือ ต้องขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารและผู้รับสารด้วย ถ้าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีการมองมุมต่างและเข้าใจเสน่ห์ของสารที่จะสื่อหรือถ่ายทอดระหว่างกัน แค่นั้นก็คิดว่าสารนั้นมีคุณค่าแล้ว

"ความบันเทิงที่บูรณาการณ์"

นี่ล่ะ คุณค่าที่พวกเราคู่ควร...

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

รักเลย

0
กำลังโหลด
bbsaver Member 18 มิ.ย. 58 20:52 น. 12-1
ได้ ลองอ่าน SCP Foundation สิ หรือถ้าจะเขียนลองสมการนี้ "ชีววิทยา" + "หมอ" + "สัตว์ประหลาด" + "พันธุศาสตร์"... ผมหยุดเขียนน่ะ... ภาพหลอกขึ้น...
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
DarknessLeng Member 27 ต.ค. 58 09:04 น. 15
กำลังเขียนอยู่เลยครับ แต่เป็นอนาคตในสิบปีข้างหน้าเอง วิทยาการเลยไม่ได้เลยไม่ได้พัฒนาไปไกลจากปัจจุบันมานัก
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
pair-ry22 Member 27 ส.ค. 59 21:17 น. 17

ตั้งใจเรียนวิทย์เพราะนิยายแนวนี้ #ตอนอ่านไม่เข้าใจหลายอย่างเลยตั้งใจเรียน ยิ่งเฉพาะเกี่ยวกับดาราศาสตร์

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Thanawat2004 Member 6 ก.ค. 62 20:02 น. 19

อยากแนะนำนิยายไซไฟของคนไทยอย่าง กาลีสุตรา ของวินทร์ เลี้ยววาริณ ที่ถึงแม้จะแค่เรื่องสั้นแต่เป็นหนังสือที่ดีมาก(สำหรับผมน่ะ ไม่รู้มีคนอื่นคิดยังไง)เนื้อเรื่องที่ชวนติดตาม มีข้อคิดต่างๆ และตอนจบที่ผมถึงกับอ้าปากค้างแล้วร้องว่า ว้าว ที่เดียว อยากให้คนที่พึ่งสนใจนิยายไซไฟลองหาอ่านดู

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด