อ่านประวัติ 8 นักเรียนทุน "มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์" เก่งได้อีก!

       สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... เชื่อว่าการเรียนต่อนอกคงเป็นความฝันของใครหลายๆ คน หลายคนหวังมากกว่านั้นคืออยากเข้ามหาวิทยาลัยดังระดับโลก แน่นอนค่ะว่า ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ยิ่งการจะเข้าเรียนต่อสถาบันที่ดังมากๆ นั้นก็ยิ่งยากมากๆ แล้วเคยสงสัยมั้ยคะว่า คนที่เค้าได้ทุนไปเรียนต่อสถาบันพวกนี้ เค้าต้องเก่งขนาดไหน profile จะต้องเริดหรูอลังการมากแค่ไหน?? วันนี้ พี่เป้ มีประวัติของ 8 คนเก่งขั้นเทพที่ได้ทุนเรียนต่อมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ดังมากๆๆ ของอังกฤษและของโลกมาฝากค่ะ




 
ชื่อ : Songqiao Yao 
จาก : ประเทศจีน
สาขาที่ได้รับทุน : ทุนปริญญาโทสาขา Geographical Research (การวิจัยทางภูมิศาสตร์)
   
      ปี 2011 เรียนจบปริญญาตรีจาก Mount Holyoke College ประเทศอเมริกา ในสาขาสำนักคิดสังคมเชิงวิพากษ์ โดยวิทยานิพนธ์ที่ทำก่อนเรียนจบคือเรื่องประชาสังคมของประเทศจีน

      ประสบการณ์ทั่วไป ในช่วงเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ได้เข้าไปสอนตามโรงเรียนชนบทต่างๆ ช่วยเหลือในองค์กรและมูลนิธิต่างๆ เกี่ยวกับผู้หญิงในฐานะที่ปรึกษาองค์กร และเคยทำหน้าที่ประสานงานในการประชุมของสหประชาชาติหัวข้อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

      ประสบการณ์การทำงาน เข้าทำงานใน NGO ในฝ่ายดูแลสิ่งแวดล้อมและพรมแดนแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยได้วิจัยในเรื่องสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน จากนั้นได้ย้ายกลับไปในประเทศจีนเพื่อก่อตั้งสำนักงานแม่น้ำระหว่างประเทศ ดูแลเรื่องการดูแลรักษาแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน การแก้ต่างนโยบาย และดูแลการเคลื่อนไหวของกลุ่ม NGO และก่อนได้รับทุน กำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มชาติพันธุ์แถวแม่น้ำสาละวิน 



 
ชื่อ : Cillian Ó Fathaigh 
จาก : ประเทศไอร์แลนด์
สาขาที่ได้รับทุน : 
ทุนปริญญาโทสาขา European Literature and Culture (วรรณกรรมและวัฒนธรรมยุโรป)
   
     เป็นนักเรียนทุนระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยทรินิตี้ ในเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ โดยเรียนในสาขาวรรณกรรมอังกฤษ ในขณะที่เรียนอยู่นั้น ก็ได้เรียนปริญญาตรีแบบทางไกลของมหาวิทยาลัยลอนดอนในสาขารัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพิ่มอีกด้วย ทำให้มีความสนใจทั้งด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง การละคร ดนตรีพื้นบ้านไอร์แลนด์ และจริยศาสตร์ 

      ประสบการณ์การทำงาน เขียนสารคดีเกี่ยวกับประเทศไอร์แลนด์หลายเรื่อง รวมถึงเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ The Irish Times 

       ความสนใจ สนใจในผลงานของ Jacques Derrida นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส และต้องการจะวิเคราะห์ว่าปรัชญาของ Jacques Derrida เชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองหรือไม่อย่างไร รวมถึงต้องการประยุกต์ความคิดของ Jacques Derrida ให้เข้ากับวัฒนธรรมของไอร์แลนด์



 
ชื่อ : Adriana Cherskov 
จาก : ประเทศสหรัฐอเมริกา
สาขาที่ได้รับทุน : 
ทุนปริญญาโทสาขา Medical Sciences (วิทยาศาสตร์การแพทย์)
     
      เรียนจบจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกในอเมริกา ในสาขาชีววิทยาโมเลกุล ซึ่งเธอมีความสนใจในด้านประสาทวิทยามาตั้งแต่ยังเด็ก จึงศึกษาด้านนี้ไปด้วยพร้อมๆ กันจนได้รับประกาศนียบัตรทางด้านประสาทวิทยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเลือกเรียนสาขาดนตรี(การแสดงเปียโน)เป็นวิชาโทเพื่อต้องการนำวิทยาศาสตร์และดนตรีมาผสมผสานกัน จนได้เป็นหัวหน้ากลุ่ม Music in Mind ของมหาวิทยาลัย

      ประสบการณ์ทั่วไป เคยเป็นอาสาสมัครตามคลินิกรักษาผู้ป่วย จึงทำให้มีความสนใจในด้านพยาธิสรีรวิทยาและกลไกระดับโมเลกุลมากขึ้น เพื่อจะใช้รักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

      ความสนใจ สนใจด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยเฉพาะจิตเวชศาสตร์ ต้องการศึกษาวิจัยระบบสมองของของผู้ป่วยออทิสติก เป้าหมายในอนาคตคือการเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เพื่อที่จะพัฒนาการรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอาการที่ซับซ้อนของผู้ป่วยออทิสติก



 
ชื่อ : Helena Billington 
จาก : ประเทศออสเตรเลีย
สาขาที่ได้รับทุน : 
ทุนปริญญาโทสาขา Epidemiology (ระบาดวิทยา)
   
      เรียนจบจาก University of Adelaide ประเทศออสเตรเลีย ในสาขาสถิติ เพราะเป็นคนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์มาตั้งแต่เด็กๆ จนทำให้รู้สึกว่าอยากใช้ศาสตร์ของตัวเลขในการช่วยเหลือผู้อื่น เช่น ใช้ในการตัดสินใจวางนโยบายของรัฐบาล ใช้ในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้คน

      ประสบการณ์การทำงาน หลังจากเรียนจบในปี 2008 ได้เข้าทำงานในสำนักงานสถิติแห่งชาติของออสเตรเลีย โดยดูแลเกี่ยวกับข้อมูลประชากรของประเทศ ยิ่งทำให้รู้สึกอยากมีความชำนาญเกี่ยวกับการวิจัยประชากรมากขึ้น และต้องการจะประยุกต์ข้อมูลทางสถิติเพื่อนำมาใช้วางแผนนโยบายต่างๆ ของประเทศออสเตรเลีย

       เป้าหมาย ต้องการวางแผนหรือแนะนำระบบสถิติต่างๆ สำหรับประเทศกำลังพัฒนา 



 
ชื่อ : Gustavo Nicolás Paez Salamanca 
จาก : ประเทศโคลอมเบีย
สาขาที่ได้รับทุน : 
ทุนปริญญาโทสาขา Economic Research (การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์)
     
      มีความสนใจทางเศรษฐศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เพราะบ้านเกิดหรือประเทศโคลอมเบียนั้นเป็นประเทศที่ยังยากจน ทำให้มีรู้สึกว่า ต่อให้มีทรัพยากรมากแค่ไหน ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มคนที่มั่งคั่งอยู่ดี รวมถึงระบบเศรษฐกิจในโคลอมเบียนั้นก็ไม่เสถียรและยังไม่ดีพอ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชากรได้ จึงได้เข้าศึกษาในสาขาเศรษฐศาสตร์ใน Universidad de Los Andes และเลือกเรียนสาขาคณิตศาสตร์เป็นวิชาโท 

      ประสบการณ์การทำงาน ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้แก่กระทรวงสาธารณสุขและป้องกันสังคมของประเทศโคลอมเบีย

      เป้าหมาย ต้องการที่จะเรียนรู้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เข้มข้นขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงต้องการศึกษาระบบกลไกลเศรษฐศาสตร์ในประเทศยากจน



 
ชื่อ : Abdul Hai Sofizada 
จาก : ประเทศอัฟกานิสถาน
สาขาที่ได้รับทุน : 
ทุนปริญญาโทสาขา Public Policy (นโยบายสาธารณะ)

      จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยในอัฟกานิสถาน และจบปริญญาโทสาขาการฟื้นฟูสมัยหลังสงคราม จากมหาวิทยาลัยยอร์ก ในอังกฤษ 

ประสบการณ์การทำงาน 
- ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายการศึกษาของธนาคารโลกในอัฟกานิสถาน มีหน้าที่เสนอนโยบาย กลยุทธ์ และการสนับสนุนทางเทคนิคให้แก่ฝ่ายการศึกษาของรัฐบาล 
- ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายการศึกษาให้แก่ยูเนสโก
- ที่ปรึกษาด้านนโบายและผู้จัดการโครงการให้แก่กระทรวงศึกษาธิการของอัฟกานิสถาน

      ความสนใจ สนใจเรื่องการพัฒนาและปฏิรูประบบการศึกษาเป็นพิเศษ สนใจการคิดแผนนโยบายที่ช่วยขับเคลื่อนกระตุ้นการทำงานของรัฐ อนาคตอยากจะทำงานในองค์กรระหว่างประเทศเหมือนกับเคยที่เคยทำมาเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา



 
ชื่อ : Sheina Lew-Levy
จาก : ประเทศแคนาดา
สาขาที่ได้รับทุน : 
ทุนปริญญาโทสาขา Human Evolutionary Studies (การศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์)
     
      มีความสงสัยในเรื่องของวิวัฒนาการมนุษย์มาตั้งแต่เด็ก จึงได้เข้าศึกษาใน McGill University ในสาขามานุษยวิทยา เมื่อเรียนจบก็ใช้เวลาอีก 2 ปี ในการศึกษาทักษะและวัฒนธรรมการเอาชีวิตรอดที่ Wilderness Survival School ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนการใช้ชีวิตกับธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในซีแอตเติล

      ประสบการณ์ทั่วไป มีโอกาสไปลงสนามวิจัยในหลายพื้นที่ เช่น โครงการสะกดรอยสัตว์ป่าในเคนยา-แทนซาเนีย รวมถึงเคยฝึกงานในบริษัท CyberTracker ที่เป็นบริษัทผลิตซอฟท์แวร์เพื่อช่วยในการศึกษาชีวิตสัตว์ป่าและชนพื้นเมือง รวมถึงเคยทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการสืบทอดความรู้ดั้งเดิมส่งต่อรุ่นต่อรุ่น

      เป้าหมาย ต้องการศึกษาชีวิตเด็กที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองว่าใช้ชีวิตอย่างไรในสภาพแวดล้อมของพวกเขา เพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตของคนยุคโบราณ ซึ่งจะนำผลการศึกษานี้ไปปรับปรุงรากฐานการศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ และนำไปเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาสำหรับเด็กในโลกตะวันตก



 
ชื่อ : Riaz Moola 
จาก : ประเทศแอฟริกาใต้
สาขาที่ได้รับทุน : 
ทุนปริญญาโทสาขา Advanced Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์ขั้นสูง)
     
     เข้าเรียนปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ University of KwaZulu-Natal โดยระหว่างนั้นได้ไปเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่ Keele University ในอังกฤษ พอปีสอง ก็ทำเรื่องขอย้ายไปเรียนในสาขาปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ University of Edinburgh ในสก็อตแลนด์ และตอนไปเรียนที่สก็อตแลนด์ ก็ยังไปเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนในอเมริกาที่ University of Pennsylvania อีกด้วย

      ประสบการณ์ทั่วไป ในปี 2012 ได้ก่อตั้งแผนก Hyperion ที่เปิดสอนคอร์สเรียนด้านภาษาโปรแกรมมิ่งแบบออนไลน์ให้แก่นักศึกษาชาวแอฟริกัน ซึ่งแผนก Hyperion ได้ร่วมมือกับรัฐบาลแอฟริกาใต้เพื่อเพิ่มจำนวนครูผู้สอนวิชาการเขียนโปรแกรมในโรงเรียนมัธยม

       เป้าหมาย ใช้ความรู้ในเรื่องปัญญาประดิษฐ์มาสร้างเครื่องมือการประเมินตนเองและเครื่องมือกวดวิชาเพื่อใช้ในโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา


 
 พอจะสรุปคุณสมบัติเบื้องต้นของคนที่มีโอกาสได้รับทุนเรียนต่อใน
 มหาวิทยาลัยดังระดับโลกได้ว่า ....

 - มีส่วนร่วมกับองค์กรระดับประเทศหรือระดับระหว่างประเทศ
 - ไม่เรียนอย่างเดียว แต่ควรทำกิจกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น อาสา
 สมัครเข้าร่วมชมรมต่างๆ 
 - มีผลงานเด่นๆ เป็นชิ้นเป็นอัน 
 - มีเป้าหมายที่เห็นภาพชัดเจน ว่าหลังจากเรียนจบแล้ว จะนำความรู้
 ไปทำ อะไรต่อ

 ใครอยากมีโอกาสแบบนี้บ้าง เช็คตัวเองด่วนว่า จาก 4 ข้อข้างบน เราลงมือ
 ไปแล้วกี่ข้อ??





 
พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Siri_JU Member 12 ส.ค. 57 22:53 น. 11

คห.ส่วนตัวนะ อาจทำให้ไม่พอใจก็ขอโทษที 

ที่ว่ามีคนไทยเยอะเราไม่เถียงนะ คนไทยเก่งเราก็ไม่เถียงอีกเหมือนกัน  แต่ที่คนไทยไปได้ก็มักจะมาจากการสอบแข่งขันทุนเทพๆ ทั้งนั้น และมีแบคอัพคือชื่อของประเทศ ทุนที่ให้ไปก็มาจากภาษีคนไทยด้วยกันเอง  โปรไฟล์ดูดีก็มาจากการทำชื่อให้ในระดับประเทศ แต่ส่งผลแก่คนบางกลุ่มเท่านั้น(เท่านั้นจริงๆ คนส่วนใหญ่เขาไม่ได้รับประโยชน์จากผลงานมากมายนัก) ..ไม่ได้กว้างขวางอะไรไปกว่านั้น  แต่พวกที่เค้าได้ทุนที่เอามานำเสนอ นอกจากจะเรียนเก่งแล้ว เค้ายังมีแบคอัพดีประเภท "บุคคลสาธารณะ" อย่างแท้จริง ไม่ใช่ดารา ศิลปิน แต่เป็นคนที่ทุ่มเททำงานเพื่อเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสูงสุด ไม่ใช่แค่ไปแข่งวิชาการ แข่งโครงงานและได้เหรียญกลับมา

คนไทยที่ได้ทุนเทพ บูมๆ แปปๆ แล้วกลับมา มีใครรู้จักมากมายกว้างขวาง หรือจำกันได้บ้าง "ไม่มีหรอก" 

เราว่าคนไทยควรปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ เพราะเราไม่รู้ว่าเขาได้ไปแล้วต่อๆไป เขาเป็นยังไงบ้าง อาจดีขึ้นหรือเลวลง? จะกลับมาทำงานให้เมืองไทยมั้ย หรือหนีการใช้ทุนทำงานเสียค่าปรับอยู่เมืองนอก รึจะกลับมาเป็นชาวไทยที่เราสมควรจดจำ

คนที่เค้าเก่งจริงเค้าไม่ได้ดูที่การศึกษาเท่านั้นนะ แต่เราควรจะดูว่าเขา "ทำผลงานยิ่งใหญ่และเกิดประโยชน์" อะไรเอาไว้ต่างหาก

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ศิษย์ดอกเตอร์ 12 ส.ค. 57 21:33 น. 10
ใครว่าของไทยไม่มี ของไทยเราไม่ใช่ได้ทุนของมหาลัยโดยตรง แต่ว่ามีดร.ท่านนึงที่เรารู้จักเป็นการส่วนตัว ได้รับทุนอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อที่แคมบริดจ์ ศึกษาม.1ซ้อมเทียบเข้าม.4เตรียมอุดมศึกษาแล้วสอบเทียบต่อขึ้นม.6แล้วสอบได้ทุนไปศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ไปอยู่ที่นู่นด้วยความเป็นคนเอเชียโดนดูถูกมากมายมหาศาล เลยพยายามอ่านหนังสือและตั้งใจอย่างสุดๆจนได้เกียรตินิยมอันดับ1ของมหาวิทยาลัย ออกข่าวหนังสือพิมพ์ไทยเยอะมากในช่วงนั้น เด็กอายุ14เรียนปี1แพทย์ที่แคมบริดจ์ ต่อโทและเอกเพราะเป็นทุนที่ศึกษาต่อจนจบหมด อายุ26 กลับมาไทยโดยเป็นดอกเตอร์สมบูรณ์แบบ ปัจจุบันท่านเป็นศาสตร์จารย์ดอกเตอร์อยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช อันนี้แค่ไม่ได้เอามาบอกเฉยๆ เด็กไทยก็เก่งได้ถ้ามีความตั้งใจ ไม่ใช่แค่พวกเขา8คนที่กล่าวมาหรอก
0
กำลังโหลด
Qazxijn 19 เม.ย. 58 00:13 น. 15
อ่านแล้วกล้ารับประกัน เด็กไทยมีความคิดเป็นชิ้นเป็นอันแบบนี้ไม่ถึง 10 คนในประเทศ คอนเฟิร์มค่ะ ส่วนมากเก่งพวกวิทย์คณิต ความคิดแบบนี้ไม่มีกันหร๊อกกกกกก ไม่แปลกใจทำไมมิมีประเทศไอ
0
กำลังโหลด
[[zavy]] Member 11 ส.ค. 57 23:44 น. 8

โห แต่ละคนpersonal statement ดีมาก โปรไฟล์ดีนี่สำคัญพอกะเกรดดีๆที่ใช้เข้าเรียนเลยนะนี่~~ คนไทยก็เรียนที่นี่เยอะน้า ทุนจากรัฐบาลไทย หลายสังกัด หลายหน่วยงาน ทุนกระทรวงวิทย์ เด็กโอลิมปิคไรแบบนี้ นอกจากเคมบริจด์ก็มีอีกหลายๆมหาลัย เด็กไทยหลายคนได้ทุนตรีโทเอก ควบเลยด้วยซ้ำ จะบอกว่าคนไทยก็เก่ง~~ ปล.เป็นนักเรียนทุนเหมือนกัน แต่ไม่ได้เรียนที่นี่เท่าที่ทราบคือมีเด็กไทยเรียนที่อังกฤษเป็นพันคน เม้นบนๆ ภูมิใจได้เลยยย~~

0
กำลังโหลด

19 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
[[zavy]] Member 11 ส.ค. 57 23:44 น. 8

โห แต่ละคนpersonal statement ดีมาก โปรไฟล์ดีนี่สำคัญพอกะเกรดดีๆที่ใช้เข้าเรียนเลยนะนี่~~ คนไทยก็เรียนที่นี่เยอะน้า ทุนจากรัฐบาลไทย หลายสังกัด หลายหน่วยงาน ทุนกระทรวงวิทย์ เด็กโอลิมปิคไรแบบนี้ นอกจากเคมบริจด์ก็มีอีกหลายๆมหาลัย เด็กไทยหลายคนได้ทุนตรีโทเอก ควบเลยด้วยซ้ำ จะบอกว่าคนไทยก็เก่ง~~ ปล.เป็นนักเรียนทุนเหมือนกัน แต่ไม่ได้เรียนที่นี่เท่าที่ทราบคือมีเด็กไทยเรียนที่อังกฤษเป็นพันคน เม้นบนๆ ภูมิใจได้เลยยย~~

0
กำลังโหลด
nuu 12 ส.ค. 57 00:01 น. 9
แอดมิน ทำไมไม่ลงเด็กไทยบ้างคะ ชื่อนายกล้า คารวะ จากโรงเรียนโยธินบูรณะ ได้ทุน ป.ตรี โท และป.เอก สามารถเลือกเรียนที่ไหนม.ก็ได้ในทุกประเทศ คุณแม่น้องเค้าบอกว่า สาขาฟิสิกส์อะไรซักอย่าง แอดมินลองหาประวัติน้องเค้ามาลงให้คนไทยชื่นใจหน่อยนะคะ
0
กำลังโหลด
ศิษย์ดอกเตอร์ 12 ส.ค. 57 21:33 น. 10
ใครว่าของไทยไม่มี ของไทยเราไม่ใช่ได้ทุนของมหาลัยโดยตรง แต่ว่ามีดร.ท่านนึงที่เรารู้จักเป็นการส่วนตัว ได้รับทุนอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อที่แคมบริดจ์ ศึกษาม.1ซ้อมเทียบเข้าม.4เตรียมอุดมศึกษาแล้วสอบเทียบต่อขึ้นม.6แล้วสอบได้ทุนไปศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ไปอยู่ที่นู่นด้วยความเป็นคนเอเชียโดนดูถูกมากมายมหาศาล เลยพยายามอ่านหนังสือและตั้งใจอย่างสุดๆจนได้เกียรตินิยมอันดับ1ของมหาวิทยาลัย ออกข่าวหนังสือพิมพ์ไทยเยอะมากในช่วงนั้น เด็กอายุ14เรียนปี1แพทย์ที่แคมบริดจ์ ต่อโทและเอกเพราะเป็นทุนที่ศึกษาต่อจนจบหมด อายุ26 กลับมาไทยโดยเป็นดอกเตอร์สมบูรณ์แบบ ปัจจุบันท่านเป็นศาสตร์จารย์ดอกเตอร์อยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช อันนี้แค่ไม่ได้เอามาบอกเฉยๆ เด็กไทยก็เก่งได้ถ้ามีความตั้งใจ ไม่ใช่แค่พวกเขา8คนที่กล่าวมาหรอก
0
กำลังโหลด
Siri_JU Member 12 ส.ค. 57 22:53 น. 11

คห.ส่วนตัวนะ อาจทำให้ไม่พอใจก็ขอโทษที 

ที่ว่ามีคนไทยเยอะเราไม่เถียงนะ คนไทยเก่งเราก็ไม่เถียงอีกเหมือนกัน  แต่ที่คนไทยไปได้ก็มักจะมาจากการสอบแข่งขันทุนเทพๆ ทั้งนั้น และมีแบคอัพคือชื่อของประเทศ ทุนที่ให้ไปก็มาจากภาษีคนไทยด้วยกันเอง  โปรไฟล์ดูดีก็มาจากการทำชื่อให้ในระดับประเทศ แต่ส่งผลแก่คนบางกลุ่มเท่านั้น(เท่านั้นจริงๆ คนส่วนใหญ่เขาไม่ได้รับประโยชน์จากผลงานมากมายนัก) ..ไม่ได้กว้างขวางอะไรไปกว่านั้น  แต่พวกที่เค้าได้ทุนที่เอามานำเสนอ นอกจากจะเรียนเก่งแล้ว เค้ายังมีแบคอัพดีประเภท "บุคคลสาธารณะ" อย่างแท้จริง ไม่ใช่ดารา ศิลปิน แต่เป็นคนที่ทุ่มเททำงานเพื่อเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสูงสุด ไม่ใช่แค่ไปแข่งวิชาการ แข่งโครงงานและได้เหรียญกลับมา

คนไทยที่ได้ทุนเทพ บูมๆ แปปๆ แล้วกลับมา มีใครรู้จักมากมายกว้างขวาง หรือจำกันได้บ้าง "ไม่มีหรอก" 

เราว่าคนไทยควรปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ เพราะเราไม่รู้ว่าเขาได้ไปแล้วต่อๆไป เขาเป็นยังไงบ้าง อาจดีขึ้นหรือเลวลง? จะกลับมาทำงานให้เมืองไทยมั้ย หรือหนีการใช้ทุนทำงานเสียค่าปรับอยู่เมืองนอก รึจะกลับมาเป็นชาวไทยที่เราสมควรจดจำ

คนที่เค้าเก่งจริงเค้าไม่ได้ดูที่การศึกษาเท่านั้นนะ แต่เราควรจะดูว่าเขา "ทำผลงานยิ่งใหญ่และเกิดประโยชน์" อะไรเอาไว้ต่างหาก

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
เซ็งนะ 30 ส.ค. 57 18:59 น. 13
ประเทศไทยไม่มีชมรมที่เป็นชิ้นเป็นอันหรือทำงานจริงจังด้วยซ้ำอ่ะ อย่างน้อยก็โรงเรียนเรานี่ละโรงเรียนนึง มีวิชาชุมนุม แต่คนเลือกวิชาคืออ.ที่จัดตารางสอนประจำเทอม -*-
0
กำลังโหลด
FINGOLFIN 31 ส.ค. 57 12:53 น. 14
ต่างประเทศเด็กเก่งๆเค้าเน้นศึกษาเรื่องที่ตนเองสนใจแล้วนำกลับไปพัฒนาบ้านเมืองของเขา แต่เด็กไทยนี่สิติดค่านิยมที่เด็กเก่งต้องเรียนหมอ ยิ่งพ่อแม่บังคับในลูกเรียนหมอทั้งๆที่ตัวเด็กเองนั้นไม่อยากเป็นหมอ ทำให้เรียนไปก็ไม่มีความสุขเรียนแบบครึ่งๆกลางๆพอจบ
1
ทนๆไป 19 เม.ย. 58 00:31 น. 14-1
โดนมากกกก ชอบทุกประโยค พูดแทนใจเราสุดๆ ทุกวันนี้ต้องทนเรียนๆให้จบแค่เพราะค่านิยมบ้าๆนี่ ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าจริงๆเราชอบอะไร ถนัดอะไร หวังว่าซักวันนึงทุกคนจะมีโอกาสได้เรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจจริงๆ ใครถนัดอะไรก้อเรียนอย่างนั้น จะได้เกิดการพัฒนาในหลายๆด้าน เอาจริงๆเด็กไทยทุกวันนี้รู้จักอาชีพอยู่ไม่กี่อย่างเท่านั้นแหละ เรียนตามๆกันไป ตามผู้ปกครองบ้าง ตามเพื่อนบ้าง ระบบแนะแนวมันยังไม่ดีพออะ ไม่ช่วยให้เด็กรู้จักค้นหาตัวเอง ให้ข้อมูลเกี่ยวกะอาชีพที่หลากหลาย
0
กำลังโหลด
Qazxijn 19 เม.ย. 58 00:13 น. 15
อ่านแล้วกล้ารับประกัน เด็กไทยมีความคิดเป็นชิ้นเป็นอันแบบนี้ไม่ถึง 10 คนในประเทศ คอนเฟิร์มค่ะ ส่วนมากเก่งพวกวิทย์คณิต ความคิดแบบนี้ไม่มีกันหร๊อกกกกกก ไม่แปลกใจทำไมมิมีประเทศไอ
0
กำลังโหลด
Rotsapan Member 19 เม.ย. 58 08:59 น. 16

มหาลัยในอังกฤษดีๆเยอะนะ... คุณภาพนักเรียนนอกไม่ใช่ว่าต้องจบ แคมบริดจ์ / ออฟส์ฟอร์ด / LSE / อิมพีเรียล / วอริค เท่านั้น

0
กำลังโหลด
Fahsai_Felicia Member 3 พ.ย. 58 22:16 น. 17

คนไทยมีนะคะ พี่ชายของหนูเองค่ะ พี่ชายหนูไปแข่งชีววิทยาโอลิมปิกวิชาการ 2554 ค่ะ แล้วก็ได้รับทุนโอลิมปิกวิชาการพระราชทานโดย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งปัจจุบันนี้ทุนพระราชทานโดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมีเพื่อนพี่ชายของหนูอีกหลายคนค่ะ หากสงสัยอะไรกรุณาติดต่อพี่ชายโดยตรงค่ะ Facebook : Natthawut Max Adulyanukosol ชื่อพี่แม๊กซ์ แต่พี่ชายไม่ค่อยว่างตอบเพราะเรียนหนักค่ะ ปัจจุบันเรียนเกี่ยวกับชีววิทยาค่ะ ปีหน้ารับปริญญาตรีค่ะ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
GreetinG Member 15 ก.พ. 60 22:29 น. 19

ผศ.ดร.ภรณี  ดีราษฎร์วิเศษ อาจารย์ของเราก็เป็นนักเรียนทุน Cambridge นะคะ M.Phil (Education)Univ.of Cambridge, UK ชนิดที่ว่าจบตรีจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นปุ๊บ Cambridge ส่งเทียบเชิญมาเลย อาจารย์สอนวิชา Writing น่ารักมาก สอนเข้าใจด้วยรักเลยรักเลย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด