8 พฤติกรรมที่ "คนญี่ปุ่น" มักทำในบ้าน แต่คนไทยไม่ค่อยทำกัน

 7 ที่สุดการประดับไฟคริสต์มาสที่โตเกียว ใครจะไปญี่ปุ่นห้ามพลาด! (สวยมาก)

          สวัสดีครับน้องๆ ชาว Dek-D.com เจอกับ พี่โช และคอลัมน์ JaPON JaPAN (เจปงเจแปน) วันนี้พี่โชมาพร้อมเรื่องอ่านเพลินอีกครั้งเกี่ยวกับญี่ปุ่นครับ และเป็นเรื่องแอบเกี่ยวข้องกับประเทศไทยนิดหน่อย นั่นก็คือเราจะมาดูกันว่า เวลาอยู่บ้านคนญี่ปุ่นมีนิสัยอะไรบ้างที่เหมือนหรือต่างกับชาวไทย บางอย่างนี่อาจจะเรียกได้ว่าต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว บางอย่างก็อาจจะพอคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้นไปอ่านพร้อมๆ กันเลยครับผม

 
1. ปิดฝาส้วมเมื่อใช้งานเสร็จ


       เรื่องการปิดเปิดฝาส้วม เป็นสิ่งที่ค่อนข้างแตกต่างกันมากในไทยและญี่ปุ่น เพราะที่ไทย หากส้วมไหนที่ปิดฝาอยู่ มักเป็นที่รู้กันว่าข้างในนั้นมีขุมสมบัติสีทองอร่ามมูลค่ามหาศาลที่มีคนก่อนหน้ามาทิ้งไว้และชักโครกไม่ลง และน้ำเอ่อล้น และ เอ่อ....นางก็หนีไปพร้อมเชิงตะกอนธุลีเหล่านั้น (พิมพ์ไป จินตนาการไป กรีดร้องไป)

        แต่ที่ญี่ปุ่น หลายๆ คนมักชื่นชอบให้ปิดฝาส้วมเมื่อใช้งานเสร็จ และไม่ได้คิดว่าเมื่อเปิดมาแล้วจะสกปรก ซึ่งก็จริงๆ เพราะที่ญี่ปุ่น ส้วมที่ปิดฝา เมื่อเปิดฝามาก็จะดูสะอาดสะอ้านดี ไม่มีของแถมใดๆ ให้เป็นบุญตาและจมูกของผู้พบเห็น คราวนี้ หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมต้องปิดฝาส้วมกันนะ พี่โช ก็เคยสงสัย เลยไปตามล่าหาคำตอบมาจากคนญี่ปุ่นมากหน้าหลายตา ได้คำตอบดังนี้ครับ
     
       -ที่ปิดฝาส้วมเพราะเห็นคนอื่นทำ เลยทำตาม ดูสุภาพดีมั้ง (อ้าวเฮ้ย ไม่เห็นเกี่ยว)

       -ที่ปิดฝาส้วมเพราะเป็นการป้องกันไม่ให้ของที่วางอยู่บนส้วมตกลงไป เช่นที่ ดับกลิ่นห้องน้ำ ทิชชู่ที่วางไว้ สเปรย์ โดยเฉพาะเมื่อแผ่นดินไหว

      -ที่ปิดฝาส้วมเพราะทำให้น้ำในส้วมไม่ระเหยออกมา ทำให้ห้องน้ำไม่อับชื้น เมื่อห้องน้ำความชื้นน้อย เชื้อโรคก็จะไม่แพร่พันธุ์ได้ง่าย นางเลยปิดฝา

      - เพราะมีงานวิจัยบอกว่าปิดฝาส้วมแล้วจะลดโลกร้อน ออกซิเจนในอากาศจะมากขึ้น พี่โชก็เคยเห็นบางที่แปะข้อมูลนี้ไว้ในผนังห้องน้ำ เคยนั่งอ่านไปอึไปเหมือนกัน แต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจความสัมพันธ์และตรรกะของนางนัก ขอจุดธูปอันเชิญนักวิทยาศาสตร์มาอธิบายด้วยจ้ะ 

      - เพราะเชื่อว่าส้วมที่ปิดฝาเป็นส้วมที่สะอาด โดยอ้างว่า ให้ลองนึกถึงส้วมที่ห้องพักในโรงแรมที่มีการทำความสะอาดโดยพนักงานแล้วมักจะถูกปิดฝาพร้อมแปะป้ายว่า "ทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อแล้ว" (นึกออกมะ ที่มีกระดาษคาดฝาส้วมอยู่อะครับ) ดังนั้น ในลักษณะเดียวกัน ถ้าในห้างหรือที่สาธารณะฝาส้วมถูกปิด แสดงว่าสะอาด..ในทางตรงกันข้าม ถ้าฝาเปิดแสดงว่ามีคนมาใช้ก่อนหน้า น่าจะสกปรกกว่า

      - ที่ปิดฝาเพราะที่บ้านใช้ส้วมไฟฟ้าที่ทำให้ฝารองนั่งอุ่น การปิดฝาส้วมเสมอทำให้ความร้อนไม่หลุดออกไป ทำให้ประยัดไฟได้มากขึ้นเยอะ

       และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนญี่ปุ่นหลายๆ  คนติดนิสัยปิดฝาส้วมเมื่อใช้เสร็จครับ
 
  
2. เช็ดจานชามให้แห้งเมื่อล้างเสร็จ


      อันนี้คงไม่ใช่คนญี่ปุ่นทุกคนที่ทำ เพราะถ้าเป็นหนุ่มโสดสาวโสดอยู่บ้านคนเดียวคงไม่ได้เช็ดจานด้วยผ้าขาวหลังล้างจานทุกคน น่าเบื่อจะตายไป แต่ถ้าเป็นครอบครัว คุณแม่ๆ หลายๆ คนมักจะเช็ดจานด้วยผ้าขาวหลังล้างจาน
     
      ประสบการณ์โดยตรงของพี่โชคือการได้ไปบ้านคนญี่ปุ่น ทั้งบ้านเพื่อน โฮมสเตย์ ฯลฯ เมื่อกินข้าวเสร็จ หลายๆ บ้านจะแยกหน้าที่แต่ละสมาชิกในบ้านกันเช่น เก็บโต๊ะ ล้างจาน กวาดเศษอาหาร ทิ้งขยะ และเช็ดจานให้แห้งก่อนเอาเก็บตู้ ซึ่งที่ไทย เด็กๆ มักจะไม่ชอบโดนใช้ล้างจานกัน แต่ที่ญี่ปุ่น เด็กหลายๆ คนโอเคกับการล้างจาน แต่ไม่โอเคกับการใช้ผ้าเช็ดจาน พี่โชก็เป็นหนึ่งในนั้น 
   
      ถ้าถามว่าทำไม เพราะการเอาผ้าเช็ดจานเป็นงานที่น่าเบื่อมาก ผ้าก็เปียกๆ แหยะๆ ตอนแรกๆ ผ้าก็แห้งดีอยู่หรอก แต่ยิ่งเช็ดๆ ผ้าก็ยิ่งซับน้ำจากจานที่เพิ่งล้างมา ทำให้ผ้าเยินและเป็นกิจกรรมที่ไม่เก๋เอาซะเลย อยากรีบๆ ทำให้เสร็จจริงๆ แต่จะว่าไป คิดว่าบางบ้านในไทยน่าจะมีกิจกรรมเช็ดจานเหมือนกัน แอบเคยเห็นในละคร
 

3. ใช้อิโซจิน (เบตาดีน) กลั้วคอเมื่อกลับมาถึงบ้าน


      จริงๆ การสร้างนิสัย "กลั้วคอเมื่อกลับมาถึงบ้าน" ไม่ใช่เรื่องแปลกในสังคมไทย แต่สำหรับคุณแม่ๆ ชาวญี่ปุ่นแล้วเป็นเรื่องแอบเคร่งไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว เด็กๆ ญี่ปุ่นถูกสร้างนิสัยให้กลับมาบ้างแล้วต้องล้างมือและกลั้วคอเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากนอกบ้าน โดยเฉพาะเชื้อไวรัส หวัด โรคระบาดต่างๆ เช่น มือเท้าปาก เป็นต้น ที่ไทย เวลากลั้วคอ อาจนิยมใช้น้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปาก เดี๋ยวนี้มีแบบไม่เผ็ดร้อนที่ทำให้ปากเบินเยินเป็นเป็ด ซึ่งที่ญี่ปุ่นก็เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้ว คนญี่ปุ่นแยกน้ำยาบ้วนปากกับน้ำยากลั้วคอออกจากกันค่อนข้างชัดเจน น้ำยาบ้วนปากก็เหมือนกับที่เรารู้จักกัน


      แต่น้ำยากลั้วคอยี่ห้อและรสชาติที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น ขอบอกว่ามันเป็นสีน้ำตาลครับ !!! เรียกติดปากกันว่ายี่ห้อ อิโซจิน ถ้าลองบ้วนดูจะรู้สึกว่า "มันคือเบตาดีนใส่แผลชัดๆ" ตอนแรกๆ ก็คิดว่า บ้าไปแล้ว เอาสิ่งนี้มากลั้วคอ จะดีหรอ?? แต่คนญี่ปุ่นก็ใช้กันเป็นปกติครับ ที่ขวดเป็นรูปฮิปโปกลั้วคอ นั่นแหละ ดังมาก

      วิธีการกลั้วคอก็สามารถทำได้เหมือนกับที่เราทำกันที่ไทย แต่ก็เพราะความเป็นญี่ปุ่น เลยมีวิธีการกลั้วคอแบบแอดวานซ์ด้วยครับ ทำอย่างไรนั้น ต้องขอบอกเลยว่ามันละเอียดมว๊ากกก สุดๆ เพราะแบ่งเป็นกลั้ว 3 รอบ รอบละ 15 วินาที รอบแรก เงยหน้าสุดๆ เพื่อให้น้ำยาได้เข้าถึงส่วนลึกๆ ของคอหอย รอบที่สอง เงยหน้านิดๆ ก็จะได้กลั้วบริเวณช่องปาก ลิ้นไก่ รอบสุดท้าย ทำหน้าตรงหรือก้มนิดๆ จะได้กลั้วกระพุ้งแก้ม ลิ้น ฟัน และนี่คือความเยอะ ที่ทำให้ต้องเอามาเล่าให้ฟัง 
 

4. ถังขยะแยกสำหรับขวดแก้ว กระป๋อง กล่องนม ของสด

http://web.icu.ac.jp/

      นอกจากประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียและอีกหลายๆ ประเทศตะวันตกแล้ว ก็มีญี่ปุ่นอีกประเทศหนึ่งนี่แหละครับที่ค่อนข้างจะเคร่งครัดเรื่องการทิ้งขยะและการแยกขยะเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในเขตที่พี่โชอาศัยอยู่ ทุกๆ เช้าวันอังคาร รถขยะจะมาเก็บขยะสด ดังนั้น สิ่งที่ถูกเอาไปทิ้งที่ทิ้งขยะในเช้าวันอังคารจะต้องเป็นขยะสดเท่านั้น ห้ามเป็นอย่างอื่น พวกกระป๋องและขวดแก้วจะมาวันศุกร์ เวลาจะทิ้งขวดแก้ว เช่นขวดซีอิ๊ว เราก็ต้องแกจุกฝา เพราะฝาอาจเป็นพลาสติกหรือโลหะซึ่งไม่ใช่แก้ว เป็นต้น

       ซึ่งการทิ้งขวด จะเอาไปวางๆ ตามใจชอบไม่ได้ ต้องเอาไปใส่ไว้ในลังที่เจ้าหน้าที่เตรียมมาให้ ที่ยุ่งๆ อีกเช่นกล่องนมกระดาษ เวลาดื่มเสร็จ ให้ล้างให้สะอาด ตัดออกเป็นแผ่น ตากให้แห้ง แล้วมัดหลายๆ อันรวมกันด้วยเชือกให้เรียบร้อยก่อนเอาไปทิ้งกับขยะกระดาษ ซึ่งของบ้านพี่โชจะมาเก็บให้แค่วันพุธเท่านั้น ไม่สามารถจะทิ้งรวมๆ กันแบบบ้านเราได้ พอละ เดี๋ยวจะกลายเป็นบทความแยกขยะ
 

5. ใช้ตะเกียบยาวในการทำอาหารแทนตะหลิว
 
http://image.rakuten.co.jp/

       พี่โชเคยอ่านหนังสือว่าในวัฒนธรรมญี่ปุ่น นอกจากตะเกียบที่เราใช้กินข้าวตามปกติแล้ว ยังมีตะเกียบที่ใช้ปรุงอาหารอีกด้วย ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ไซบะชิ ( 菜箸:さいばし) ถ้าได้มาญี่ปุ่นหรือได้เห็นละครญี่ปุ่น แม่บ้านญี่ปุ่นเวลาทำอาหารประเภททอด หรือผัด บางคนจะใช้ตะเกียบในการปรุงอาหารแทนตะหลิว และตะเกียบเหล่านั้นจะมีความยาวกว่าตะเกียบทั่วไปเพื่อป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างปรุงอาหาร


6. ใช้กระดาษเปียกในการทำความสะอาดชักโครก


      จะว่าไปการใช้กระดาษเปียกในการเช็ดฝาชักโครกก็ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอะไร แต่ถ้าเป็นการทำความสะอาดส้วมครั้งใหญ่ หลายๆ คนอาจเคยชินกับการใช้น้ำยาทำความสะอาด แต่ที่ญี่ปุ่น ผู้ผลิตกระดาษเปียกสำหรับทำความสะอาดส้วมมักจะโฆษณาให้เราเห็นว่า การทำความสะอาดส้วมนั้น สามารถเสร็จสิ้นได้ด้วยกระดาษแผ่นเดียว ไม่ต้องใช้น้ำยาให้ยุ่งยาก และกระดาษแผ่นนี้จะช่วยเช็ดคราบสกปรกที่ติดส้วมแล้วล้างไม่ออกได้ดียิ่ง นอกไปจากนี้ยังจะช่วยฆ่าเชื้อ เพิ่มความเงา มีกลิ่นหอม อะไรก็ว่าไป หลายๆ ที่ไม่ว่าจะร้านอาหารหรือตามบ้านเรือนจึงนิยมวางเจ้ากล่องกระดาษเปียกนี้ไว้ให้ใช้กันครับ


7. แยกสบู่ล้างมือออกจากน้ำยาล้างจานหรือสบู่ชนิดอื่นๆ ชัดเจน


       จริงๆ ที่ไทยตอนนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนจะซื้อสบู่เหลวล้างมือมาวางที่อ่างล้างจานหรืออ่างล้างหน้าและมีนิสัยล้างมือด้วยสบู่สำหรับล้างมือเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อยี่ห้อที่คนไทยคุ้นหูกันอย่าง คิเรอิ คิเรอิ ซึ่งก็เป็นชื่อสบู่ล้างมือโดยเฉพาะที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เข้าไปวางจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อหลายปีที่ผ่านมา 
     
      บางคนที่ยังไม่ค่อยเห็นภาพว่าทำไมต้องใช้สบู่ล้างมือ สบู่หรือน้ำยาอื่นๆ ทำไมถึงไม่ควรใช้ เหตุผลง่ายๆ หนึ่งเหตุผลคือ สบู่ที่ออกแบบมาสำหรับล้างมือนั้น จะอ่อนโยนต่อมือ ไม่ทำให้มือแห้งเมื่อล้าง แถมบางยี่ห้อยังโฆษณาว่าใส่ยาฆ่าเชื้อลงไปด้วย ซึ่งไม่ว่าช่วยมากหรือน้อยแค่ไหน การสร้างค่านิยมในการล้างมือให้สะอาดและบ่อยๆ ก็เป็นการยับยั้งการแพร่เชื้อโรคและสร้างสุขอนามัยได้ดีอย่างยิ่ง ตัวพี่โชเอง แนะนำให้ใช้สบู่ล้างมือมากๆ โดยเฉพาะหลังการทำธุระในห้องน้ำ เพราะสบู่ล้างมือจะค่อนข้างอ่อนโยนและฟองน้อยกว่าสบู่ทั่วไป ทำให้ไม่ต้องใช้เวลาและน้ำมากในการชำระล้างสิ่งสกปรกเมื่อเทียบกับสบู่ชนิดอื่นๆ ครับ


8. สูบบุหรี่ในบ้านหรือในห้องนอน 
 
http://119.city.fukuoka.lg.jp/

       แม้คนญี่ปุ่นสมัยใหม่หลายๆ คนอาจเถียงหัวชนฝาว่าไม่มีทางสูบบุหรี่ในบ้านอย่างแน่นอน พร้อมแสดงท่าทีไม่ค่อยชอบกลิ่นบุหรี่ก็ตาม แต่ก็มีคนญี่ปุ่นอีกจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่ในบ้าน ในห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก หรือแม้กระทั่งบนเตียง ที่ไทยอาจไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ แต่ที่ญี่ปุ่นเห็นได้ทั่วไป ยิ่งถ้าได้ไปตามโรงแรม ส่วนมากห้องพักสไตล์ญี่ปุ่นที่เป็นเสื่อตะตะมิ ปูฟุตงนอนบนพื้น จะสามารถสูบบุหรี่ได้ ถ้าไปญี่ปุ่นอย่าลืมเชคให้ดีว่าที่ที่จะไปพักอาศัยนั้นปลอดบุหรี่ระดับไหน ไม่เช่นนั้นผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นบุหรี่อาจต้องทนโดนรมควันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
 
      
        และข้างบนก็เป็นเรื่องอ่านเพลินๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถพบเจอได้ในบ้านคนญี่ปุ่นครับ แน่นอนว่ามีอีกมากมายล้านแปด ใครนึกอะไรออกอย่าลืมพิมพ์เพิ่มเติมมานะครับ วันนี้พอแค่นี้ก่อน อย่าลืมติดตามบทความต่อๆ ไปเกี่ยวกับญี่ปุ่นกันนะครับผม
พี่โช
พี่โช - Columnist คอลัมนิสต์ฝ่ายเรียนต่อนอก

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
หน่อไม้เรนเจอร์กู้โลกสีเขียวปี๋ยกกำลังแปดสิบสี่ Member 8 ต.ค. 58 11:37 น. 2

แค่ลองนึกภาพเล่นๆ ว่าต้องเอาเบตาดีนไปกลั้วคอจริงๆ ก็น้ำตาจะไหลแล้วค่ะ

แต่ข้อสุดท้ายโหดจริง หลอนมากเลยว่าถ้าจองโรงแรมต้องแบบไม่สูบบุหรี่เท่านั้น!

ถ้าพลาดนี่คือแบบกลิ่นมันติดทน ติดนานมากกกกกกกกกกกกกกกกกก
ติดแน่นอยู่ในห้องเนี่ย แสบจมูกเลย ฮือออ

ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้

0
กำลังโหลด
เข้ามาเสริม 9 ต.ค. 58 19:25 น. 14
ข้อ 1. สาเหตุจริงๆ ที่คนญี่ปุ่นปิดฝาโถส้วม จริงๆ แล้วเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในโลกค่ะ ฝาโถส้วมมีฟังก์ชั่นเพื่อให้ปิดก่อน แล้วกดชักโครก เพราะเวลาที่น้ำไหลลงมาชำระโถส้วมด้วยความดันที่ค่อนข้างแรงนั้น จะเกิดการกระเด็นออกมา การปิดฝาจึงช่วยลดการกระจายของเชื้อโรคที่อยู่ภายในสุขภัณฑ์ค่ะ ดังนั้นจึงพึงปิดก่อนกดชักโครกนะคะ เท่าที่เดินทางไปประเทศอื่นๆ มา มีแต่พี่ไทยกับบางประเทศเท่านั้นค่ะที่ไม่ปิดฝาชักโครก (ยกเว้นห้องน้ำสาธารณะนะคะ เพราะคนมาใช้ร้อยพ่อพันแม่ ไม่สามารถระบุเชื้อชาติได้ หรือเขาอาจไม่กล้าใช้มือปิดฝาโถก่อนชักโครก แต่ห้องที่พนกงานเพิ่งทำความสะอาดมักปิดฝาไว้ค่ะ) เราเป็นประเทศส่วนน้อยนะคะ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ยกมาเป็นเหมือนปัจจัยเสริมที่มาภายหลังการใช้ฝาชักโครกมากกว่า (ห้องน้ำบนเครื่องบินเองก็เช่นกัน ต้องปิดฝาก่อนกดชักโครก แต่อันนี้จะตรงกันข้าม เพราะเป็นการป้องกันแรงดูดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ห้องน้ำ) นอกจากนี้ คนสมัยก่อนถือว่าการเปิดเผยคอห่านเป็นเรื่องต้องห้ามค่ะ ขนาดหนังเก่าๆ สมัยก่อนยังต้องเซ็นเซอร์คอห่านด้วยมุมกล้องเวลามีฉากในส้วมเลย คอห่านเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเปิดเผยในสมัยโบราณค่ะ (แน่นอนว่าวิธีคิดนนี้ไม่มีในประเทศไทย) และเป็นเหมือนธรรมเนียมที่คนปัจจุบันซึ่งไม่ถือสาคิดว่าไม่มีเหตุผลสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ข้อ 2. บ้านคนไทยหลายหลังก็เช็ดจานนะคะ ส่วนที่ญี่ปุ่นตอนอยู่นู่นเคยไม่เช็ดเหมือนกัน แล้วพบว่า บางฤดูจานชามที่ล้างแล้วขึ้นราค่ะ หลังจากนั้นจึงต้องเช็ดค่ะ บ้านคนญี่ปุ่นท่านอื่นที่รู้จักกันก็เคยประสบปัญหาเดียวกัน ที่ญี่ปุ่นราขึ้นง่ายมาก ยิ่งห้องน้ำกับห้องครัวอยู่ใกล้กันยิ่งเห็นชัดเจนค่ะ ห้องน้ำที่ไม่แห้ง ราจะขึ้นส้มแปร๋นเชียว สิ่งที่แตกต่างตอนไปบ้านเพื่อนคนญี่ปุ่นที่น่าอะเมซซิ่งกว่าก็คือ เขาไม่ใช้น้ำยาล้างจานล้างแก้วน้ำค่ะ ใช้น้ำเปล่าเท่านั้น เจอมาหลายบ้าน แต่ไม่ฟันธงว่าเป็นทุกบ้านรึเปล่าค่ะ ในขณะที่บ้านเราใช้น้ำยาล้างจานล้างทุกอย่าง ข้อ 8 การสูบบุหรี่ในบ้านเป็นเรื่องปกติของทั้งคนไทยและชาวตะวันตกนะคะ การแยกพื้นที่สูบหรือเลี่ยงไปสูบนอกบ้านเพิ่งจะมีในช่วงหลังๆ มานี้เอง คนญี่ปุ่นก็เหมือนกัน แต่ที่แย่กว่าไทยนิดหน่อยในญี่ปุ่นก็คือ ตามโรงแรม ห้องปลอดบุหรี่หลายๆ แห่งยังอุตส่าห์มีกลิ่นบุหรี่มากวนใจ (หมายความว่าไง???) และร้านอาหารที่แบ่งโซนสูบและไม่สูบ ดันอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ไม่มีอะไรกั้น (แล้วจะแบ่งโซนไปเพื่ออะไร?)
1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Swordman แห่ง Iris , รมย์นลิน Member 8 ต.ค. 58 20:52 น. 5

ยอมเรื่องเบตาดีน....ขนลุกกกก

กลัวมีคนอ่านแล้วเอาไปลองทำจัง เบตาดีใส่แผลในไทยกับญี่ปุ่นไม่เหมือนกันล่ะมั้ง.... เอายาใช้ภายนอกไปใช้ภายในนี่อาจตายทีเดียวเชียว

0
กำลังโหลด

25 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
หน่อไม้เรนเจอร์กู้โลกสีเขียวปี๋ยกกำลังแปดสิบสี่ Member 8 ต.ค. 58 11:37 น. 2

แค่ลองนึกภาพเล่นๆ ว่าต้องเอาเบตาดีนไปกลั้วคอจริงๆ ก็น้ำตาจะไหลแล้วค่ะ

แต่ข้อสุดท้ายโหดจริง หลอนมากเลยว่าถ้าจองโรงแรมต้องแบบไม่สูบบุหรี่เท่านั้น!

ถ้าพลาดนี่คือแบบกลิ่นมันติดทน ติดนานมากกกกกกกกกกกกกกกกกก
ติดแน่นอยู่ในห้องเนี่ย แสบจมูกเลย ฮือออ

ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ปิดฝาโถส้วมม 8 ต.ค. 58 20:48 น. 4
ที่บอกว่าปิดฝาโถส้วมช่วยลดโลกร้อนน่าจะเป็นเพราะว่าอุจจาระเรามีก๊าซมีเทนเเล้วมันเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกมั้งคะ ถ้าปิดฝาโถส้วมมันจะไม่ลอยขึ้นไปอ่ะค่ะ เเล้วโลกก็จะมีก๊าซเรือนกระจกน้อยลง
0
กำลังโหลด
Swordman แห่ง Iris , รมย์นลิน Member 8 ต.ค. 58 20:52 น. 5

ยอมเรื่องเบตาดีน....ขนลุกกกก

กลัวมีคนอ่านแล้วเอาไปลองทำจัง เบตาดีใส่แผลในไทยกับญี่ปุ่นไม่เหมือนกันล่ะมั้ง.... เอายาใช้ภายนอกไปใช้ภายในนี่อาจตายทีเดียวเชียว

0
กำลังโหลด
Xing 8 ต.ค. 58 21:02 น. 6
บางข้อก็จริงนะค่ะ แต่โฮสเราไม่สูบบุหรี่เลยไม่รู้ว่าเขาสูบในบ้านหรือป่าว แต่มีอีกหลายอย่างเลยค่ะที่คนญี่ปุ่นไม่เหมือนคนไทย เช่น เวลาหมาถ่ายเสร็จ เขาต้องเก็บมาที่บ้านด้วยค่ะ แล้วก็ ต้องทำความสะอาดทุกเช้า รวมถึงใช้ทิชชู่เปียกในการทำความสะอาดชักโครกด้วยค่ะ ><เยี่ยม
0
กำลังโหลด
ฮิจินะ Member 8 ต.ค. 58 21:03 น. 7

ข้อแรกเจอมากับตัวครั้งนึง ตั้งแต่นั้นมาเลยติดนิสัยต้องทำความสะอาดชักโครกกับไม่ลืม ปิดฝาด้วย ช็อค

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
@แอนนิมอลล์@ Member 9 ต.ค. 58 01:42 น. 12

จริงๆไม่เห็นด้วยกับข้อ3นะเพราะว่าเบตาดีนเป็นยาภายนอกถ้าเอามากลั้วคอมันจะทำให้ช่องปากถูกฆ่าเชื้อท้องถิ่นในปากเรา ทำให้ช่องปากติดเชื้อได้ง่ายนะจ๊ะ

0
กำลังโหลด
Dark of days Member 9 ต.ค. 58 11:49 น. 13

ความจริงที่ไทยก็มีนะคะแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย ขยะรีไซเคิล แต่ก็ไม่รู้จะแยกไปทำไม ในเมื่อตอนรถเก็บขยะมาก็เทรวมกัน ตลกจัง

0
กำลังโหลด
เข้ามาเสริม 9 ต.ค. 58 19:25 น. 14
ข้อ 1. สาเหตุจริงๆ ที่คนญี่ปุ่นปิดฝาโถส้วม จริงๆ แล้วเหมือนกับประเทศอื่นๆ ในโลกค่ะ ฝาโถส้วมมีฟังก์ชั่นเพื่อให้ปิดก่อน แล้วกดชักโครก เพราะเวลาที่น้ำไหลลงมาชำระโถส้วมด้วยความดันที่ค่อนข้างแรงนั้น จะเกิดการกระเด็นออกมา การปิดฝาจึงช่วยลดการกระจายของเชื้อโรคที่อยู่ภายในสุขภัณฑ์ค่ะ ดังนั้นจึงพึงปิดก่อนกดชักโครกนะคะ เท่าที่เดินทางไปประเทศอื่นๆ มา มีแต่พี่ไทยกับบางประเทศเท่านั้นค่ะที่ไม่ปิดฝาชักโครก (ยกเว้นห้องน้ำสาธารณะนะคะ เพราะคนมาใช้ร้อยพ่อพันแม่ ไม่สามารถระบุเชื้อชาติได้ หรือเขาอาจไม่กล้าใช้มือปิดฝาโถก่อนชักโครก แต่ห้องที่พนกงานเพิ่งทำความสะอาดมักปิดฝาไว้ค่ะ) เราเป็นประเทศส่วนน้อยนะคะ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ยกมาเป็นเหมือนปัจจัยเสริมที่มาภายหลังการใช้ฝาชักโครกมากกว่า (ห้องน้ำบนเครื่องบินเองก็เช่นกัน ต้องปิดฝาก่อนกดชักโครก แต่อันนี้จะตรงกันข้าม เพราะเป็นการป้องกันแรงดูดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ห้องน้ำ) นอกจากนี้ คนสมัยก่อนถือว่าการเปิดเผยคอห่านเป็นเรื่องต้องห้ามค่ะ ขนาดหนังเก่าๆ สมัยก่อนยังต้องเซ็นเซอร์คอห่านด้วยมุมกล้องเวลามีฉากในส้วมเลย คอห่านเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเปิดเผยในสมัยโบราณค่ะ (แน่นอนว่าวิธีคิดนนี้ไม่มีในประเทศไทย) และเป็นเหมือนธรรมเนียมที่คนปัจจุบันซึ่งไม่ถือสาคิดว่าไม่มีเหตุผลสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ข้อ 2. บ้านคนไทยหลายหลังก็เช็ดจานนะคะ ส่วนที่ญี่ปุ่นตอนอยู่นู่นเคยไม่เช็ดเหมือนกัน แล้วพบว่า บางฤดูจานชามที่ล้างแล้วขึ้นราค่ะ หลังจากนั้นจึงต้องเช็ดค่ะ บ้านคนญี่ปุ่นท่านอื่นที่รู้จักกันก็เคยประสบปัญหาเดียวกัน ที่ญี่ปุ่นราขึ้นง่ายมาก ยิ่งห้องน้ำกับห้องครัวอยู่ใกล้กันยิ่งเห็นชัดเจนค่ะ ห้องน้ำที่ไม่แห้ง ราจะขึ้นส้มแปร๋นเชียว สิ่งที่แตกต่างตอนไปบ้านเพื่อนคนญี่ปุ่นที่น่าอะเมซซิ่งกว่าก็คือ เขาไม่ใช้น้ำยาล้างจานล้างแก้วน้ำค่ะ ใช้น้ำเปล่าเท่านั้น เจอมาหลายบ้าน แต่ไม่ฟันธงว่าเป็นทุกบ้านรึเปล่าค่ะ ในขณะที่บ้านเราใช้น้ำยาล้างจานล้างทุกอย่าง ข้อ 8 การสูบบุหรี่ในบ้านเป็นเรื่องปกติของทั้งคนไทยและชาวตะวันตกนะคะ การแยกพื้นที่สูบหรือเลี่ยงไปสูบนอกบ้านเพิ่งจะมีในช่วงหลังๆ มานี้เอง คนญี่ปุ่นก็เหมือนกัน แต่ที่แย่กว่าไทยนิดหน่อยในญี่ปุ่นก็คือ ตามโรงแรม ห้องปลอดบุหรี่หลายๆ แห่งยังอุตส่าห์มีกลิ่นบุหรี่มากวนใจ (หมายความว่าไง???) และร้านอาหารที่แบ่งโซนสูบและไม่สูบ ดันอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ไม่มีอะไรกั้น (แล้วจะแบ่งโซนไปเพื่ออะไร?)
1
กำลังโหลด
แบมบี้ 9 ต.ค. 58 19:39 น. 15
เราเป็นคนนึงแหละที่ใช้ที่คีบยาวแทนการใช้ตะหลิวตอนทำอาหาร #รึข้าคนนี่อาจมีเชื่อคนญี่ปุ่น!!!!
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด