5 พายุสุดน่ากลัวในระบบสุริยะจักรวาล(บางลูกใหญ่กว่าโลกด้วยซ้ำ)

     สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ไม่กี่วันก่อน พี่พิซซ่า ได้ชมภาพยนตร์เรื่อง The Martian ค่ะ เลยทำให้พี่คลั่งไคล้เรื่องอวกาศมากกว่าปกติอีก ทีนี้ตอนไปดูหนังก็เกิดสงสัยขึ้นมาว่า พายุบนดาวอังคารแรงขนาดนั้นเลยหรอ แล้วพายุบนดาวอื่นๆ ล่ะจะเป็นยังไงบ้าง พี่ก็เลยหาคำตอบมาเผื่อน้องๆ ด้วยค่ะ


จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี



Photo: NASA

     จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีหรือ Great Red Spot นั้น หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วจากบทเรียนวิชาดาราศาสตร์ หรืออาจเคยเห็นจากภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีที่มีวงรีใหญ่ๆ สีส้มอยู่ที่นึงซึ่งโดดเด่นมาก จุดแดงใหญ่นี้ไม่ใช่พื้นผิวของดาวพฤหัสบดีแต่เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ยักษ์ ใหญ่จนเอาโลกของใส่เข้าไปในนั้นได้เกือบ 3 ใบเลย พายุหมุนนี้เกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อย 400 ปีเท่าที่มนุษย์สำรวจมา แต่พายุหมุนนี้มีลักษณะต่างไปจากพายุหมุนบนโลกคือพายุหมุนในซีกโลกใต้ของโลกหมุนตามเข็มนาฬิกาเพราะมีแรงดันต่ำ แต่จุดแดงใหญ่นี้แม้จะเกิดในซีกโลกใต้ของดาวพฤหัสบดี แต่หมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกาเพราะมีแรงดันสูง


Photo: NASA

     พายุหมุนบนโลกมักจะหยุดหลังจากแตะพื้นโลกได้ในระยะเวลาหนึ่ง แต่พายุหมุนจุดแดงใหญ่นี้ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดง่ายๆ เพราะไม่มีแผ่นดินแบบโลก แถมยังได้รับความร้อนจากภายในของดาวตลอดเวลาราวกับเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีวันหมดจึงทำให้พายุหมุนยักษ์นี้ยังคงหมุนต่อไปเรื่อยๆ นอกจากจุดแดงใหญ่แล้ว ดาวพฤหัสบดียังมีพายุหมุนอีกมากมายหลายสี เช่นสีขาว และสีน้ำตาล แต่ไม่มีอันไหนที่ใหญ่เท่าจุดแดงใหญ่แล้ว


Photo: NASA

     ถ้าอยากรู้ว่าจุดแดงใหญ่มีความเร็วและแรงขนาดไหน ให้ลองนึกถึงความเสียหายที่เฮอร์ริเคนแคทริน่าสร้างไว้ในปี 2005 ซึ่งเป็นเฮอร์ริเคนที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในยุคนี้หรือลองนึกภาพพายุหมุนที่รุนแรงที่สุดในโลกอย่างไต้ฝุ่นทิปในปี 1979 ที่สร้างความเสียหายรุนแรงให้หลายประเทศในโลก ทั้ง 2 พายุนั้นมีความแรงแค่ระดับ 5 ค่ะ แต่จุดแดงใหญ่นั้นถ้าเทียบตามระดับของพายุหมุนในโลกแล้ว ระดับ 20 ก็ยังถือว่าแรงได้ไม่เท่าเลยค่ะ ก็ลองคิดดูว่าพายุขนาดยักษ์เป็น 3 เท่าของโลกแบบนี้ ใช้เวลาหมุนเพียงรอบละ 6 นาทีเท่านั้น มันจะแรงขนาดไหนเนี่ย


พายุหมุนบริเวณหกเหลี่ยมบนดาวเสาร์



Photo: NASA

     ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักกันในฐานะดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนชัดเจนที่สุดในระบบสุริยะ และยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดจนสามารถลอยน้ำได้ (เฉพาะตัวดาว ไม่นับวงแหวน) แต่ดาวเสาร์ก็มีมุมที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ค่ะ นั่นคือมีพายุเกิดขึ้นเช่นกัน และพายุที่น่าสนใจที่สุดก็คือพายุหมุนที่อยู่ตรงกลางบริเวณหกเหลี่ยมหรือ hexagonal storm บริเวณขั้วโลกเหนือของดาวเสาร์ค่ะ บริเวณหกเหลี่ยมนี้มีขนาดใหญ่กว่าโลก ส่วนตาพายุตรงกลางนี้ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมงครึ่งในการหมุนหนึ่งรอบค่ะ


Photo: NASA

     พายุหมุนหกเหลี่ยมนี้ค้นพบครั้งแรกโดยยานวอยเยเจอร์ในปี 1981 และถูกถ่ายวิดีโอและใช้กล้องอินฟาเรดบันทึกภาพส่งกลับมาอีกครั้งในปี 2006 โดยยานแคสซินี่ นั่นทำให้นักดาราศาสตร์ทราบว่าพายุนี้มีความเร็วลมถึง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าความเร็วเฉลี่ยของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีซะอีก (430 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)


Photo: NASA

     ตอนนี้ยังไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดว่าพายุหมุนนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร แต่เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้คือพายุหมุนนี้ไม่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ แบบพายุบนโลก มันหมุนอยู่กับที่อย่างเดียว และลักษณะการหมุนของตาพายุและขอบพายุสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด


จุดมืดใหญ่บนดาวเนปจูน



Photo: NASA

     จุดมืดใหญ่บนดาวเนปจูนหรือ Great Dark Spot มีลักษณะคล้ายจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีค่ะ แต่จะเป็นจุดสีคล้ำๆ บนสีน้ำเงินของดาวเนปจูนแทน อันที่จริงดาวเนปจูนมีพายุที่ทำให้เป็นจุดสีคล้ำแบบนี้เยอะมาก แต่ที่ใหญ่ที่สุดก็ต้องเป็นจุดนี้เท่านั้นค่ะ จุดนี้มีขนาดพอๆ กับโลกของเราแต่มีความเร็วอลังการมาก เพราะเร็วถึง 2,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าหมุนเร็วสุดในระบบสุริยะเลย ทำให้พายุนี้มีอายุประมาณ 2-3 ปีก่อนที่มันจะสลายไปและก่อตัวเป็นพายุขึ้นใหม่วนไปแบบนี้เรื่อยๆ


Photo: NASA

     แต่เพราะดาวเนปจูนอยู่ไกลมาก ทำให้มีข้อมูลแค่เท่าที่ยานวอยเยเจอร์ 2 ส่งมา จึงทราบแต่เพียงว่าพายุหมุนนี้หมุนสวนทางกับพายุบนโลก และเมฆที่ก่อให้เกิดนั้นก็ประกอบไปด้วยคริสตัลของมีเธนที่แข็งตัว ซึ่งต่างจากเมฆบนโลกที่เป็นคริสตัลของไอน้ำที่แข็งตัว


พายุหมุนคู่ที่ขั้วโลกของดาวศุกร์



Photo: ESA Via amyshirateitel

     ดาวศุกร์มีพายุหมุนที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าคงอยู่ถาวรและเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศในดาวศุกร์ไปแล้วค่ะ นั่นคือพายุหมุนที่อยู่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ของดาวศุกร์ค่ะ แต่ไม่ได้มีลักษณะเหมือนพายุทั่วไป เพราะพายุตรงแต่ละขั้วนั้นมี 2 ตาพายุอยู่ข้างกันอีก ทำให้ดาวศุกร์มีพายุหมุนถาวรถึง 4 ตาเลย (ขั้วโลกเหนือ 2 และขั้วโลกใต้ 2) และตาพายุทั้ง 2 ของแต่ละขั้วโลกนั้นก็เชื่อมกันเป็นตัว S ค่ะ

     พายุหมุนที่ 2 ขั้วนี้มักจะสลายตัวทุกๆ 2 วันแล้วก็ก่อตัวขึ้นใหม่อีก เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ พายุนี้มีขนาดใหญ่กว่าพายุทั่วไปบนโลก 4 เท่า และก่อตัวสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ 20 กิโลเมตร (ยอดเขาเอเวอเรสต์สูง 8 กิโลเมตรเองนะ)


พายุไซโคลนบนดาวอังคาร



Photo: NASA

     ดาวอังคารเกิดพายุหมุนขนาดเล็กอยู่เรื่อยๆ ซึ่งเหมือนกับพายุหมุนบางๆ ที่มักเกิดในทะเลทรายบนโลก ส่วนพายุหมุนขนาดใหญ่และรุนแรงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ พายุขนาดใหญ่ที่มนุษย์เราสำรวจได้คือพายุไซโคลนในปี 1999 ที่บริเวณขั้วโลกเหนือของดาวอังคาร เป็นพายุหมุนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1,770 กิโลเมตร และมีลักษณะคล้ายพายุไซโคลนบริเวณขั้วโลกเราเลย แต่พายุนี้คงอยู่แค่ประมาณ 6 ชั่วโมงเท่านั้นก่อนจะสลายตัวหายไปเลย แต่หลังจากนั้นเราก็ได้รับข้อมูลพายุลักษณะคล้ายกันแต่ขนาดเล็กกว่าเกิดขึ้นในบริเวณนี้อยู่เรื่อยๆ เช่นในปี 2001, 2009 และ 2004


     อันที่จริงยังมีพายุที่น่าสนใจอีกมาก โดยเฉพาะบนดาวพฤหัสบดี เสาร์ และเนปจูน แต่ที่พี่รวบรวมมาให้นี้เป็นพายุที่เด่นๆ เท่านั้นค่ะ ส่วนพายุในภาพยนตร์นั้นยังอาจจะยังไม่เกิดตอนนี้ก็จริง แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นะคะ


 


ข้อมูล
csep10.phys.utk.edu, astronaut.com
individual.utoronto.ca, www.thewire.com
listverse.com, amyshirateitel.com
en.wikipedia.org
พี่พิซซ่า
พี่พิซซ่า - Columnist คอลัมนิสต์ฝ่ายเรียนต่อนอก

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

เตยซ่าผู้สยบเสือชีตาร์ Member 7 ต.ค. 58 19:21 น. 2

เพิ่งรู้ว่าเจ้าจุดดำๆ บนดาวเนปจูนคือพายุ เรานึกว่าลาย (;;__;;) น่ากลัวมากเลยค่ะ แต่ก็สวยและลึกลับ (?) เราชอบมากเลยค่ะ แต่จุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสนี่น่ากลัวจริงๆ เห็นภาพเคลื่อนไหวแล้วยิ่งขนลุก...

0
กำลังโหลด
อนาคต 7 ต.ค. 58 20:42 น. 3
กลัวโลกแตก กลัวแผ่นดินไหว กลัวน้ำท่วม กลัวประเทศไทยจมน้ำ กลัวมาก พูดเลย บางครั้งคิดว่าต้องเรียนเก่ง ทำงานได้เงินเดือนเยอะๆ โลกจะแตกแล้วไปอยู่ดาวอังคารกับครอบครัว บางครั้งแย่สุดเราก็ร้องไห้เลย กลัวจริงๆ
0
กำลังโหลด

15 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
เตยซ่าผู้สยบเสือชีตาร์ Member 7 ต.ค. 58 19:21 น. 2

เพิ่งรู้ว่าเจ้าจุดดำๆ บนดาวเนปจูนคือพายุ เรานึกว่าลาย (;;__;;) น่ากลัวมากเลยค่ะ แต่ก็สวยและลึกลับ (?) เราชอบมากเลยค่ะ แต่จุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสนี่น่ากลัวจริงๆ เห็นภาพเคลื่อนไหวแล้วยิ่งขนลุก...

0
กำลังโหลด
อนาคต 7 ต.ค. 58 20:42 น. 3
กลัวโลกแตก กลัวแผ่นดินไหว กลัวน้ำท่วม กลัวประเทศไทยจมน้ำ กลัวมาก พูดเลย บางครั้งคิดว่าต้องเรียนเก่ง ทำงานได้เงินเดือนเยอะๆ โลกจะแตกแล้วไปอยู่ดาวอังคารกับครอบครัว บางครั้งแย่สุดเราก็ร้องไห้เลย กลัวจริงๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Small Heart Member 7 ต.ค. 58 21:17 น. 5

ชอบมากอ่ะเรื่องพวกนี้

อยากรู้เกี่ยวกับพายุอื่นๆด้วยอ่ะ เราชอบนะ พายุบางลูกนี่ใหญ่กว่าโลกอีก ถ้ามาอยู่บนโลกนี่ไม่ต้องห่วงเลย โลกหายแน่นอน สุดยอดค่ะ ชอบมากๆ 

ว๊าว

0
กำลังโหลด
เด็กน้อยในวันฤดูใบไม้ร่วง Member 7 ต.ค. 58 21:43 น. 6

ถ้าไม่นับดาวเคราะห์ชั้นใน จัดได้ว่า ดาวพฤหัส ดาวเสาร์และเนปจูนน่ากลัวมากเลยนะ มันแบบมีแต่กลุ่มก๊าซ ไม่มีของแข็งเท่าไร และแบบหมุนไปเรื่อย ๆ

อ่านบทความนี้อยากย้ายไปเรียนดาราศาสตร์จังเลย

0
กำลังโหลด
นิพพาน 7 ต.ค. 58 21:56 น. 7
ชอบบทความนี้มากๆเลยค่ะ อ่านไปฟังเพลง my heart will go on บรรเลงโดย Agustin amigoไป โอ้ยยยย มีความสุขมาก เอามาให้อ่านอีกนะคะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
The dream drift ความฝันที่ลองลอย Member 8 ต.ค. 58 12:49 น. 10

พายุที่เกิดบนดาวเสาร์นี่หลอนเลย ถ้าเกิดบนโลกเรานะ(ไม่ใหญ่เท่าโลก) มีหวังทะลายราบเป็นน่ากอง

0
กำลังโหลด
Catlovely9130 Member 10 ต.ค. 58 13:00 น. 11

ลูกโป่งคิดว่า...ภัยธรรมชาตินี่ น่ากลัวจริงๆเลยนะคะ บางครั้งก้มาเเบบไม่ได้ตั้งตัว เเละบางครั้งก้มาเเบบน่ากลัวมากๆ เเต่ไม่ว่าพายุเเบบไหน ก้สามารถทำให้เกิดความเสียหายได้ เเเละเจ็บปวดที่สุด ก้คือการสูญเสียคนที่เรารักไปตลอดกาล // เอ....ลูกโป่งลองคิดดู นะคะ เเต่ลูกโป่งอ่านเเล้วสนุกมากๆเลยล่ะค่ะ

ปิ้งปิ้งปิ้งปิ้ง

0
กำลังโหลด
Jirapha-2546 Member 13 ต.ค. 58 15:49 น. 12

ชอบมากๆค่า เราชอบอะไรพวกนี้นะ คือแบบชอบผจญภัยเอาชีวิตรอดอ่ะ น่าตื่นเต้น อยากไปอยู่มั่งงงง >< (อย่าว่าเราบ้าเลยน่า55555) เย้เขิลจุง

0
กำลังโหลด
Tsunayoshi Member 15 ต.ค. 58 22:49 น. 13
ชอบมากนะ เรื่องดาราศาสตร์ ระบบกาแลคซี แต่เห็นรูปพายุ แล้วจะเป็นลม ทำไมมันน่ากลัวจัง 55555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ภคพร 24 มิ.ย. 60 22:13 น. 15

เราชอบเรื่องระบบสุริยะนะ ขนาดหนังสือที่ชอบยังเป็นเกี่ยวกับระบบสุริยะเลย และเค้าบอกว่าอีกหนึ่งพันปีภาคกลางนะจะจมน้ำอยู่ใต้ทะเล

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด