เมื่อติดคุกพร้อมเพื่อน หากโยนความผิดให้เพื่อนแล้วคุณจะเป็นอิสระ ... คุณจะทำไหม?

        สวัสดีค่ะน้องๆ ชาวเด็กดีทุกคน วันนี้พี่น้องมีอะไรสนุกๆ มาให้ทดลองกันอีกแล้ว
        น้องๆ ชาวเด็กดีคนไหนคิดเหมือนพี่น้องบ้างไหมคะ ว่าทำไมโลกนี้ถึงไม่สงบสุขสักทีนะ ถ้าทุกคนถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันเราจะมีความสุขมากกว่านี้หรือเปล่า ทำไมประเทศนั้นถึงตีกับประเทศนี้ทั้งๆ ที่แชร์ทรัพยากรร่วมกันก็ได้
        วันนี้พี่น้องจะมาพูดถึงทฤษฎีหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจว่าทำไมโลกใบนี้ถึงมีแต่ความขัดแย้งค่ะ

 

ลองตั้งคำถามตัวเอง

        ก่อนอื่น ให้พวกเราลองจินตนาการตามที่พี่บอกดูก่อน สมมติว่าเรากับเพื่อนเป็นผู้ร้ายแล้วโดนจับเข้าคุก รอพิจารณาคดี ให้น้องๆ นึกไว้เลยนะคะว่าจะเอาเพื่อนคนไหนมาเป็นคู่หูเราดี
        ทีนี้ระหว่างถูกคุมขัง เราก็ติดต่อเพื่อนของเราไม่ได้เลย ไม่รู้ว่าเพื่อนเป็นตายร้ายดียังไงบ้าง แต่ตำรวจมาคุยกับเราค่ะ ตำรวจบอกว่าหลักฐานที่มีอยู่ในตอนนี้ยังไม่เพียงพอที่จะเอาผิดกับเราได้อย่างเต็มที่ ทำได้เพียงลงโทษสถานเบาเท่านั้น
        แต่...ตำรวจยื่นข้อเสนอค่ะ ถ้าเราให้การโยนความผิดแก่เพื่อนเราไปซะ เราก็จะเป็นอิสระ ส่วนเพื่อนเราก็จะโดนโทษเต็มๆ
        อ๊ะ แต่ตำรวจบอกว่าเพื่อนของเราก็ได้ข้อเสนอตามนี้เช่นกันค่ะ
        ข้อเสนอของตำรวจ สรุปได้ว่า
  • ถ้าต่างคนต่างไม่ยอมรับผิด และไม่โยนความผิดให้กัน แต่ละคนจะได้รับโทษคนละ 1 ปี
  • ถ้าต่างคนต่างโยนความผิด แต่ละคนจะได้รับโทษคนละ 2 ปี
  • ถ้าฝ่ายหนึ่งไม่โยนความผิดให้เพื่อน แต่อีกฝ่ายโยน คนที่โดนซัดทอดจะได้รับโทษไปคนเดียว 3 ปีเต็ม ส่วนคนที่โยนความผิดก็ลอยนวลออกจากคุกไปฟรีๆ
        เอาล่ะค่ะ ได้เวลาเลือกแล้ว ขอให้นึกหน้าเพื่อนเราเข้าไว้นะคะ บอกก่อนว่าเราไม่มีสิทธิถามเพื่อนว่าเพื่อนเลือกอะไร เราไม่มีทางรู้ได้ว่าเพื่อนจะซัดทอดเราหรือไม่ ต่อให้ได้มาเจอกัน คิดว่าเพื่อนจะแกล้งพูดให้เราตายใจไม่ซัดทอด เพื่อที่ตัวเองจะได้เป็นคนซัดทอดมาที่เราทั้งหมดหรือเปล่า
        ถ้าได้คำตอบแล้ว ทีนี้ลองมาทำความรู้จักกับชื่อเรียกของแบบทดสอบนี้ ที่เรียกว่า Prisoner's Dilemma (พริซันเนอร์ซ ดิเลมม่า) กันค่ะ
 

Prisoner's Dilemma รวมกันเราอยู่ แยกสู้เราตาย

        Prisoner's Dilemma เป็นทฤษฎีที่นักคิดสองคนช่วยกันคิดขึ้นมา ชื่อ เมอร์ริล ฟลัด และ เมลวิน เดรชเชอร์ ในปี 1950 ภายหลัง อัลเบิร์ต ทักเกอร์ก็มาปรับทฤษฎีนี้ใหม่โดยใส่เรื่องราวการเป็นนักโทษเข้าไปและตั้งชื่อให้มันว่า Prisoner's Dilemma
        ทฤษฎีนี้มีเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่ต้องอาศัยการร่วมมือกัน ว่าทำไมบางสถานการณ์คนถึงเลือกที่จะไม่ร่วมมือมากกว่า
        น้องๆ หลายคนคงเห็นตรงกันว่า "ร่วมมือกัน" ก็ต้องดีกว่าสิ ได้รับโทษน้อยลงทั้ง 2 คนไง
        และน้องๆ หลายคนก็คงเลือก "ไม่โยนความผิดให้เพื่อน" เพราะไว้ใจเพื่อนเรา คิดว่าเพื่อนเราต้องเลือกแบบเดียวกับเราแน่ เพื่อนคงไม่เอาตัวรอดโดยการทิ้งเราให้รับโทษคนเดียวตั้ง 3 ปีหรอก
        แต่น้องๆ แน่ใจแล้วหรือคะ ว่าเพื่อนของเราจะทำเช่นนั้นจริง
        บางคนคงเลือกเพื่อนสนิทมาเป็นคู่หูอยู่ในคุก แต่ถ้าลองเปลี่ยนเพื่อนสนิทให้กลายเป็นคนที่รู้จักกันแค่ผ่านๆ ไม่ได้รู้ตื้นลึกหนาบาง ไม่รู้ว่าเป็นคนยังไงกันแน่
        คำตอบเรายังเป็นแบบเดิมหรือเปล่า
        เมื่อเราเกิดความไม่ไว้ใจอีกฝ่ายแล้ว วิธีที่ปลอดภัยที่สุดของเราคืออะไรคะ?
        โยนความผิดไปซะ อย่างดีสุดก็คือเราพ้นโทษ เดินตัวปลิวออกจากคุก อย่างแย่สุดก็ใช้กรรมในคุกไป 2 ปี ลดไปตั้งปีดีจะตาย

        เพราะถ้าเราวัดดวงเลือก "ไว้ใจ" อีกฝ่าย แล้วอีกฝ่ายดันหักหลังเราขึ้นมาคือจบเลยนะ นอนเกาพุงอยู่ในคุกไปอีก 3 ปี แค้นจนหายแค้นไปแล้วมั้งกว่าจะได้ออกจากคุก
        ทฤษฎีนี้ทำให้เราเข้าใจว่า ในบางสถานการณ์ การเลือกของเราไม่สำคัญเท่าการเลือกของคนอื่น สิ่งที่จะกำหนดชะตาว่ามันจะออกหัวออกก้อยอยู่ที่ว่าอีกฝ่ายจะยอมร่วมมือกับเราด้วยหรือไม่ต่างหาก
 

เพราะงั้นหลายประเทศจึงไม่กล้าสงบศึก

        ประเทศแถบตะวันออกกลางหลายประเทศที่รบกันจนประชาชนหายไปครึ่งประเทศแล้ว หรือแม้แต่อเมริกากับรัสเซียที่คุมเชิง ดูท่าทีกันคนละซีกโลก ที่พวกเขาไม่ยอมร่วมมือกันทั้งๆ ที่รู้ว่าการร่วมมือกันย่อมให้ผลลัพธ์ดีกว่านั่นก็เพราะพวกเขาไม่ไว้ใจกันและกันนั่นเองค่ะ
        ปาเลสไตน์กับอิสราเอลรบกันแทบตาย สงบศึกได้แป๊บเดียวก็ตีกันอีกแล้ว รู้ทั้งรู้ว่าแค่หันหน้าเข้าหากัน จับมือกันทุกอย่างก็จบ แต่ฝั่งหนึ่งก็กลัวว่าอีกฝ่ายจะฉวยโอกาสหักหลังเราเมื่อไร อีกฝั่งก็คงกลัวไม่แพ้กัน
        สุดท้าย ทุกคนคิดเหมือนกันค่ะ คือ ถ้าจะให้ฉันยอมจับมือกับอีกฝ่ายแล้วต้องมาคอยระแวงว่ามันจะหักหลังฉันเมื่อไร สู้เดินเครื่องเปิดศึกต่อไปดีกว่า อย่างน้อยถ้าจะตายก็ขอให้ตายด้วยน้ำมือตัวเองแล้วกัน
 

ถ้าทุกคนร่วมมือกันก็คงดีสินะ

        ก็ไม่เสมอไปค่ะ เรามักเข้าใจว่า "การร่วมมือ" เป็นสิ่งดี แต่ก็มีบางสถานการณ์ที่อย่าร่วมมือกันจะดีกว่า สถานการณ์ที่ว่าก็คือการร่วมมือกันทำเรื่องไม่ดีนี่แหละค่ะ
        มีนักวิจัยเอาทฤษฎี Prisoner's Dilemma นี้ไปเก็บสถิติจากในคุกจริงมาเลยค่ะ โดยเอาเงื่อนไขนี้ไปยื่นข้อเสนอให้นักโทษพิจารณา สถิติออกมาน่าสนใจมาก เขาพบว่า เพื่อเทียบกับคนทั่วไป นักโทษมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันมากกว่า
        ที่เป็นอย่างนี้อาจเป็นเพราะจากประสบการณ์ของคนไม่ดีเหล่านี้พบว่า การร่วมมือกันอาจช่วยให้ประกอบอาชญากรรมได้ผลลัพธ์ดีกว่าการฉายเดี่ยวเป็นไหนๆ
 
        ถ้าน้องๆ เด็กดีอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ลองทบทวนดูนะคะว่าตอนเราเลือกตอบครั้งแรก ทำไมเราจึงเลือกเช่นนั้น และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายตรงข้ามจากคนสนิท เป็นคนที่ไม่รู้จัก หรือคนที่ไม่รู้จักเป็นคนสนิท จะทำให้เรามองทางเลือกของตัวเองต่างไปหรือเปล่า?
       
หวังว่าบทความนี้จะช่วยตอบคำถามคาใจของน้องๆ ได้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
Psychology Today
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

SSSS 22 มิ.ย. 59 23:30 น. 4
เราเลือกไม่โยนความผิดให้เพื่อนอะ แต่ถ้าเพื่อนรอดก็เฟลอยู่บ้าง ถ้าเรามีส่วนผิดเราก็อยากจะรับผิดชอบความผิดของเราด้วย ส่วนเพื่อนจะยังไงก็ช่าง ถ้าผลออกมาแสดงว่าเพื่อนโยนความผิดให้เรา ก็โอเค ออกไปอาจจะไม่คบก็ต้องฟังเหตุผลเขาก่อน แต่ความเชื่อใจก็ลดเหลือครึ่งนึงจากความผิดรับผิดชอบของเพื่อนเพราะเราผิดทั้งคู่ เข้าใจแหละว่าเป็นผู้ร้าย แต่เราก็คงไม่อยากโดนโยนความผิดมาให้เราใช่ไหมล่ะ เพราะงั้น รับผิดชอบในสิ่งที่เรากระทำพอ ไม่ได้เชื่อใจเพื่อนว่ามันจะไม่โยนความผิดมาหริก แต่อย่างที่บอก จะโยนไม่โยนก็ช่าง แต่เรารับผิดชอบส่วนของเราก็พอ
0
กำลังโหลด
thesun-sets Member 24 มิ.ย. 59 08:05 น. 3-1
จริงค่ะ เค้าเพิ่งเรียนมาเมื่อวาน มาเจอกระทู้นี้ตกใจเลย คนตั้งกระทู้เป็นคนในคณะป่าวเนี่ย 555555555 #เพ้อเจ้อ
0
กำลังโหลด

12 ความคิดเห็น

Megan Ignacia Member 20 มิ.ย. 59 22:54 น. 1
ก่อนจะเลือกต้องแล้วแต่เพื่อนนะคะ ถ้าเป็นเพื่อนสนิทมากๆ และเรารู้จักนิสัยเขาดี ก็จะไม่ใส่ร้ายเพราะเดาว่าเพื่อนคงไม่ทำงั้นเหมือนกัน แต่ถ้าเพื่อนที่ไม่ได้สนิทมาก ก็ลาก่อนนะ 555555 แต่เอาจริงๆ ถ้าเกิดแบบนี้ขึ้น เดาว่าร้อยมั้งร้อยก็จ้องเอาตัวนอดก่อนทั้งนั้นแหละ ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ก็ยากที่อีกฝ่ายจะไม่หนีเอาตัวรอดไปคนเดียว
0
กำลังโหลด
พลอยนิล-อะเมะยูคิ Member 20 มิ.ย. 59 23:18 น. 2

แล้วแต่ว่าเพื่อนอีกคนของเราเป็นใครค่ะ แต่ถ้าเราผิดด้วย ก็ไม่มีทางที่จะโยนความผิดให้เขาฝ่ายเดียวอยู่แล้ว ผิดแล้วก็ต้องยอมรับผิด ถึงแม้ว่าเขาจะให้คำตอบว่ายังไงก็ตามค่ะ ตอบจริงนะ ไม่ได้ตอบแบบเป็นนางเอกอะไร

0
กำลังโหลด
thesun-sets Member 24 มิ.ย. 59 08:05 น. 3-1
จริงค่ะ เค้าเพิ่งเรียนมาเมื่อวาน มาเจอกระทู้นี้ตกใจเลย คนตั้งกระทู้เป็นคนในคณะป่าวเนี่ย 555555555 #เพ้อเจ้อ
0
กำลังโหลด
SSSS 22 มิ.ย. 59 23:30 น. 4
เราเลือกไม่โยนความผิดให้เพื่อนอะ แต่ถ้าเพื่อนรอดก็เฟลอยู่บ้าง ถ้าเรามีส่วนผิดเราก็อยากจะรับผิดชอบความผิดของเราด้วย ส่วนเพื่อนจะยังไงก็ช่าง ถ้าผลออกมาแสดงว่าเพื่อนโยนความผิดให้เรา ก็โอเค ออกไปอาจจะไม่คบก็ต้องฟังเหตุผลเขาก่อน แต่ความเชื่อใจก็ลดเหลือครึ่งนึงจากความผิดรับผิดชอบของเพื่อนเพราะเราผิดทั้งคู่ เข้าใจแหละว่าเป็นผู้ร้าย แต่เราก็คงไม่อยากโดนโยนความผิดมาให้เราใช่ไหมล่ะ เพราะงั้น รับผิดชอบในสิ่งที่เรากระทำพอ ไม่ได้เชื่อใจเพื่อนว่ามันจะไม่โยนความผิดมาหริก แต่อย่างที่บอก จะโยนไม่โยนก็ช่าง แต่เรารับผิดชอบส่วนของเราก็พอ
0
กำลังโหลด
0863456100 Member 24 มิ.ย. 59 16:51 น. 5

ไม่ต้องคิดมาก ถามว่าท่าติดคุกพร้อมเพื่อนท่าโยนความผิดให้เพื่อนแล้วตัวเองรอดทำไหม สำหรับผมไม่ทำ ท่าไม่ผิดผมจะยอมรับแต่ผมไม่ผิดผมจะไม่เอาความผิดผมโยนให้ใคร  ท่าจะสู้ต้องอยู่อย่างเสือท่าใจหมา -ห็ต้องเป็นหมา

0
กำลังโหลด
แค่นี้เอง 24 มิ.ย. 59 22:34 น. 6
ซื่อสัตย์กับผู้อื่นไงครับ ใครทำผิดก็ต้องยอมรับ ตำรวจเองก็ต้องไม่จับมาเป็นแพะ ต้องซื่อสัตย์ว่าตนเองจับไม่ได้ ซื่อสัตย์ คือการพูดความจริง มีความ "สำนึก" ต่อการกระทำที่น่าอนาถลงไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน หรือไม่เป็น หากมีสิ่งนี้อยู่ในตัว โลกก็สงบสุข ไม่ใช่ "เห็นแก่ตัว" ใครจะเป็นยังไงชั้นไม่สน ชั้นจะรอด ชั้นไม่สน "ศักดิ์ศรี" ชั้นจะรอด. เชื่อว่ามยุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ที่มี "สามัญสำนึก" มากพอ
0
กำลังโหลด
คนสวยๆที่อยู่ในใจเธอวว 24 มิ.ย. 59 22:48 น. 7
เราไม่กล้าตอบหรอกค่ะเพราะเราไม่อยู่ในเหตุการร์นั้นจริงๆ หากอยู่จริงๆต้องติดคุกจริงเราก็ต้องคิดแล้วล่ะค่ะ ต่อให้รักเพื่อนขนาดไหนแน่นอนทุกคนย่อมเห็นแก่ตัว มากน้อยก็ว่ากันไป เราไม่กล้าตอบว่าจะไม่โยนแต่เมื่อโยนเราก็จะต้องรู้สึกผิด หากเพื่อนโยนกลับอีกกลายเป็นว่า2ปีเลย ถ้ารับแล้วเพื่อนโยนอ้าวสามปี55555555555เลือกจริงๆก็ไม่อยมรับและไม่โยนส่วนยังไงก็ชั่งฉันเอาที่ฉันสบายใจ5555555555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ผมเอาแครอทมาฝาก. 2 ก.ค. 59 17:33 น. 10
ถ้าเราเลือกที่จะไม่โยน แต่ถ้าอีกฝ่ายหักหลังก็เสียใจอยู่นิดๆทั้งที่เชื่อใจอีกฝ่าย แต่กลับโดนหักหลังเนี่ยโคตรรู้สึกไม่ดีแล้วเราก็คิดว่าติดคุกแค่3ปีคงไม่เป็นอะไรหรอก(คิดบวกๆค่าา) แต่ถ้าเลือกโยนนี่เราว่ามันก็ดีนะคะ แต่มันรอดแค่คนเดียวนี่สิอีกอย่างเพื่อนเราก็โดนโทษไปเต็มๆเลยด้วย มันเลยกลายเป็นว่าเราเป็นคนเลว เห็นแก่ตัวไปเลย 55555555 แต่ถ้าให้เลือกจริงๆเราไม่กล้าเลือกเลยค่ะ เราคิดว่าไม่ว่าเราจะเลือกข้อไหนมันก็ดูมีผลเสียไปหมดเลย เพราะงั้นเราจะโยนค่ะ(เดี๋ยวๆ) คือเราคิดว่าไม่มีมนุษย์คนไหนที่ไม่เห็นแก่ตัวนะเราว่า 5555 ทุกคนย่อมมีความโลภ ความอยาก ความเห็นแก่ตัวเป็นของตนเองอยู่แล้วค่ะ มันก็แล้วแต่ความคิดคนนะะคะ ต่างคนต่างความคิดค่าา แต่ที่เราเลือกโยนความผิดให้เพื่อนเนี่ย เราคิดว่าเราจะไม่โยนให้หมดหรอกค่ะเพราะมันต้องมีส่วนที่เราทำผิดอยู่แล้วเพระางั้นบอกเฉพาะส่วนที่เพื่อนทำผิดก็แล้วกันค่ะ เราพิมพ์ยาวเกินไปละ พอๆค่ะ 555555
0
กำลังโหลด
Pa-Pong Member 28 ก.พ. 60 09:26 น. 11

เราเลือก1ปีอะ เพื่อนสนิทเราก็เลือก1ปี มันรู้ว่าถ้าโยนความผิดให้เรา อีก3ปีออกคุก เรา ยังไงเราก็หามันเจอ มันไม่รอดหรอก มันเลยไม่กล้า55555555//ขำๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด