Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ที่ดินจุฬาได้รับพระราชทานจริงเหรอ [ เปิดปูมประวัติศาสตร์ ]

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ที่ดินจุฬาได้รับพระราชทานจริงเหรอ [ เปิดปูมประวัติศาสตร์ ]

ความจริงได้ปรากฏว่า แต่เดิมนั้นทางจุฬาฯได้เช่าพื้นที่เพื่อใช้เป็นพื้นที่การศึกษาจากพระคลังข้างที่ โดยที่ดินผืนนี้ รัชกาลที่5 ได้ทรงมีการทำพินัยกรรมมอบที่ดิน ให้เป็นกองทุนเลี้ยงชีพบาทบริจาริกา (พระสนม) ซึ่งได้มีการเก็บค่าเช่าจากผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ที่ดินผืนนี้ทุกราย ไปใช้จ่ายตามความประสงค์ในพินัยกรรมขององค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่5

จนกระทั่งปีพ.ศ.2479 พ.อ.หลวงพิบูลย์สงคราม (จอมพลป.) ซึ่งในขณะนั้นเป็นอธิการบดีของจุฬาฯ ได้ทำหนังสือขอให้ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน(มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ และรัชกาลที่8 ยังทรงพระเยาว์) ยกที่ดินผืนนี้ทั้งหมดให้กับจุฬาฯ พร้อมกับขอให้ยกหนี้สินซึ่งจุฬาฯค้างพระคลังข้างที่ให้กับจุฬาฯ แต่ผู้สำเร็จราชการ พิจารณาแล้วเห็นว่าที่ดินผืนนี้ได้ทรงทำพินัยกรรมไว้ไม่สามารถโอนให้กับผู้ใดได้ จึงได้ตอบปฏิเสธไป และก็มีการพยายามขออีก 2-3 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จเช่นเดิม

ปีพ.ศ.2482 อธิการบดีคนใหม่ คือ จอมพลป.พิบูลย์สงคราม (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ได้เสนอร่างพ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับจุฬาฯ กับสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 ต.ค.2482 และมีการแปรญัตติเสร็จภายใน 1 วัน และ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2482 ได้มีการร่างพ.ร.บ.ในวาระ2 และ3 เห็นควรให้ออกเป็น พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ให้กับ จุฬาฯ(ตามประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 1364 วันที่ 30 ตุลาคม 2482)

พวกเราประชาชนซึ่งเข้ามาทำมาหากินในที่ดินของพระมหากษัตริย์ อยากทราบว่าจุฬาฯได้รับพระราชทานที่ดินเมื่อไร พระมหากษัตริย์องค์ใดเป็นผู้พระราชทาน หรือว่าใช้วิธีโกงทรัพย์สินขององค์พระมหากษัตริย์มา สำหรับผู้ที่อยากทราบข้อมูลที่แท้จริง ให้ไปหาอ่านในหนังสือชุมนุมจุฬาฯ วันที่ 23 ต.ค.2513 เรื่อง “ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินของจุฬาฯ” เขียนโดยผ.ศ.บุญวัจน์ วีสกุล และเรื่อง “ทักท้วงประวัติจุฬาฯ” เขียนโดยขจร สุขพานิช ซึ่งทั้ง 2 ท่านคืออาจารย์ของจุฬาฯเอง ซึ่งในตอนท้ายบทความได้มีการเขียนไว้ว่า “ผู้เขียนเองทราบเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว และก็รักษาความเป็นจริงไว้ในห้องมืดไม่แพร่งพราย จวบจนจอมพลป.พิบูลย์สงคราม ผู้เนรมิตในเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้ได้ล่วงลับไปแล้ว”

หมายเหตุ...ปีพ.ศ.2522 สถานเสาวภาได้ทวงที่ดินคืนจากจุฬาฯได้สำเร็จ ซึ่งจุฬาฯเคยกล่าวอ้างว่าเสาวภาได้เช่าที่ดินของจุฬาฯเช่นกัน จนกระทั่งสถานเสาวภาได้ทวงสิทธิ์อันชอบธรรมจนสำเร็จแม้จะใช้เวลายาวนานถึง 40 ปีก็ตาม

แสดงความคิดเห็น

>

25 ความคิดเห็น

รักในหลวง 18 ก.พ. 52 เวลา 08:58 น. 1

มันก็ที่ดิน ของ ในหลวงทั้งนั้นแหละ

เกิดมาต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน

ทำคุณแก่ประเทศไว้เยอะๆๆ สิ ดีที่สุด

0
นิสิตสีขาว 18 ก.พ. 52 เวลา 09:32 น. 2

ในฐานะที่เราเรียนคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เราได้รับทราบข้อมูลมาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆท่านที่ได้อยู่ในเหตุการณ์ตอนที่ราชพัสดุได้ทวงที่ดินจากจุฬาฯ
ซึ่งผู้ที่ทำการต่อสู้ในคดีนั้นก็คือบรรดาอาจารย์คณะเรานั่นเอง อาจารย์ท่านเล่าให้ฟังว่า ที่จริงแล้วที่ดินของจุฬาฯ
แต่เดิมเป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ที่พระองค์ได้ทรงเก็บไว้ให้บรรดาพระสนมในพระองค์

ต่อมาเมื่อรัชกาลที่5 สวรรคต&nbsp และบรรดาเบื้องบาทบริจาริกาทยอยจากไปจนหมด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานที่ดินนี้ให้เป็นที่สร้างมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยโดยใช้เงินเรี่ยไรหางม้า(เงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้า)
ที่ดินที่จุฬาฯได้รับนั้นมานั้นเป็นที่ดินผืนใหญ่กว้างขวางมาก ทางมหาวิทยาลัยจึงได้สร้างมหาวิทยาลัย และได้เปิดให้เอกชนเข้ามาทำประโยชน์เพื่อเป็นการหารายได้ จนกระทั่งมีการสร้างห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง โดยทางมาบุญครองทำสัญญาเช่าที่ดินจากจุฬาฯ
โดยมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าที่พิเศษกว่าการเช่าทั่วไป เพราะมีสัญญาเช่า30ปี และเมื่อครบ30ปีแล้วมาบุญครองก็จะตกเป็นของจุฬาฯ
ทำให้จุฬาฯได้รับเงินตอบแทน และผลประโยชน์อย่างมากมาย

ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อทางราชพัสดุทราบถึงผลประโยชน์นี้ ก็ได้ทวงที่ดินคืน เพราะสมัยนั้นมีกฎหมายที่ออกมาให้ที่ดินของพระมหากษัตริย์
ต้องถูกเวนคืนมาเป็นที่ราชพัสดุ โดยทางราชพัสดุอ้างว่าไม่มีการพระราชทานที่ดินใดๆให้แก่จุฬาฯ ทางคณาจารย์ทางคณะนิติศาสตร์จึง
ได้ทำการต่อสู้ว่า ทำไมนานมาแล้ว ราชพัสดุจึงมิได้ทวงคืน ได้ทำการต่อสู้ทางคดีมานาน(มีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่ราชพัสดุที่เป็นแกนนำในการเรียกร้องจบมาจากอีกมหาวิทยาลัยหนึ่ง) ก่อนหน้าจะเกิดคดี สมเด็จพระเทพฯได้เสด็จฯมาเยี่ยมเยือนสถานเสาวภา และได้ทรงให้จุฬาฯคืนที่ดินที่ทางสถานเสาวภาฝากไว้กับจุฬาฯ ทางจุฬาฯจึงได้ตราพระราชบัญญัติคืนที่ดินให้แก่สถานเสาวภาโดยผ่านรัฐสภา พระราชบัญญัตินี้เองที่เป็นข้อต่อสู้ที่สำคัญ เพราะจุฬาฯได้อ้างว่า ทำไมตอนจุฬาฯตรา พรบ.คืนที่ดินให้สถานเสาวภา ทางราชพัสดุจึงมิได้โต้แย้งใดๆว่าจุฬาฯไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงไม่มีอำนาจที่จะทำเช่นนั่น และในที่สุดจุฬาฯก็ชนะคดี โดยถือว่าที่ดินนี้เป็นของจุฬาฯโดยถือว่าเป็นผลมาจากบทกฎหมายพิเศษ ที่ยกเว้นบทบัญญัติทั่วไป

เราอยากจะแค่อธิบายให้ฟังว่า ความจริงมันมีข้อเท็จจริงหลายอย่าง โดยเฉพาะในทางศาลที่ทำให้จุฬาฯได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนี้
ไม่ใช่ทางจุฬาฯทำการโกงที่ดินมาโดยไม่มีเหตุผล เราสามารถอธิบายได้

ที่สำคัญ เราขอขอบคุณทางคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่ทำการต่อสู้จนกระทั่งเราได้ที่ดินมา ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถดำเนินกิจการได้เป็นอย่างดี ทั้งที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลน้อยที่สุด&nbsp สามารถสร้างบุคคลากรระดับแนวหน้าของประเทศที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้อย่างมากมาย

3
james 2 พ.ค. 59 เวลา 19:46 น. 2-1

แล้วทำไมจุฬาถึงคืนที่ดินตรงนั้นให้สถานเสาวภา ทั้งๆที่อ้างมาโดยตลอดว่าที่ดินทั้งแปลงได้รับพระราชทานมาเป็นของจุฬา แล้วทำไมจอมพล ป. ต้องเร่งรีบพยายามผ่านสภาให้ตรา พรบ. ขึ้น ทั้งๆที่จุฬาก็อ้างว่าที่ดินแปลงนี้เป็นของจุฬาแล้วทำไมต้องให้ จอมพล ป. ผ่าน พรบ.ด้วย และที่ราชพัสดุไม่มาโต้แย้งเพราะ สถานเสาวภาเป็นของที่ดินตรงนั้นจริงๆหรือป่าว ราชพัสดุเลยไม่มาโต้แย้งเพราะไม่ใช่เรื่องของเขา สุดท้ายก็โกงอยู่ดี โดยให้จอมพล ป. ผ่าน พรบ. ปลายกระบอกปืนให้เร็วที่สุด ก็เท่ากับโกงสถาบันพระมหากษัตริย์มาไม่ใช่เหรอ เป็นของจุฬาได้ยังไง อีกอย่างผู้สำเร็จราชการก็ไม่ให้มาโดยตลอด ในเมื่อผู้สำเร็จราชการไม่ให้แล้วรัชกาลที่ 6 จะพระราชทานให้ได้อย่างไร ถ้าจะอธิบยข้อเท็จจริงก็อธิบายแล้วตอบคำถามให้ได้ให้หมดนะ ว่าโกงหรือได้มา เยี่ยม

0
Aka aug 29 ก.พ. 67 เวลา 01:49 น. 2-2

โดยถือว่าที่ดินนี้เป็นของจุฬาฯโดยถือว่าเป็นผลมาจากบทกฎหมายพิเศษ ที่ยกเว้นบทบัญญัติทั่วไป บทกฎหมายพิเศษนี้คืออะไรใครเป็นคนทำขึ้นมา ส่งให้อ่านรายละเอียดหน่อยพอจะมีไหม

0
อนุชา อนุพันธ์ 29 ก.พ. 67 เวลา 12:55 น. 2-3

เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ของ ณัฐพล ใจจริง ถือเป็นวิชาการชั้นแนวหน้า ที่บรรยายไว้ไหมครับ

0
บอย 6 ก.ย. 54 เวลา 12:07 น. 4

ที่เอาไว้ใช้เพื่อการศึกษามันดีอยู่แล้วครับ เพราะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงของประเทศครับ แล้วคอนโด กับห้างมันเกี่ยวอะไรด้วยครับ แล้วร่างแปรญัตติแบบวันเดียวเสร็จ เค้าเรียกว่าอะไรครับ โดยชอบธรรมและถูกต้องตามกฏหมายสินะครับ

0
Buddhi 15 มี.ค. 55 เวลา 11:05 น. 5

น่าแปลกที่จอมพล ป. ทำคุณูปการให้จุฬาฯมากมายขนาดนั้น แต่ไม่มีการกล่าวชื่อไว้ในประวัติทางการของมหาลิทยาลัย แถมไม่พูดถึงกันด้วย

แต่ก็อย่างว่าละครับ สมัยจอมพล ป. ที่ยึดครองดินแดนเก่าที่สละสิทธิ์ไปตอนโน้น คนจุฬาฯตอนนั้นก็สนับสนุนจอมพล ป. ออกมาเดินขบวนนิสิตทวงดินแดน ซึ่งคงเคยเห็นในรูปกัน

แต่พอจอมพล ป. แพ้สงครามภายนอกและการเมืองภายใน ก็ดูเหมือนจะลบประวัติตรงนี้ทิ้งไปนะครับผม

0
ตัึู่70 13 ก.พ. 56 เวลา 11:33 น. 7

ได้รับที่ดินโดยชอบธรรมด้วยกฎหมาย โดยไม่สนวิธีที่ได้ที่ดินนั้นมา ว่าถัึูกต้องหรือไม่

0
Nus 17 ก.พ. 56 เวลา 02:06 น. 8
ผมว่าลิ้งนี้น่าจะช่วยให้ทุกคนหายสงสัยได้นะครับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2562.PDF
0
ธนบดี 18 ก.พ. 56 เวลา 14:04 น. 9

ถ้ารู้ประวัติที่มาที่ไปของการใช้พื้นที่ ของ อุเทน และจุฬา จะเข้าใจ เหตุผลของอุเทนที่ออกมาประท้วง

"คือถ้ามันเป็นของจุฬาจริง ๆ แบบโดยชอบธรรมน่ะ ผมว่าอุเทนไม่ประท้วงหรอก ไปเอาที่ใหม่ ตั้ง 400 ไร่ดีกว่า แต่
นี่มันไม่ใช่ สมัยก่อนจุฬาเช่าจากกระทรวงพระคลังส่วนอุเทนเข้ามาอยู่โดยดำหริของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แล
จ่ายค่าเช่าให้กระทรวงพระคลัง เช่นเดียวกัน ทั้งอุเทน และจุฬา ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตรงนั้น
ต่อมาจอมพล ป ซึ่งเป็น อดีตอธิการจุฬา ก็ยึดเอาที่ดินทั้งหมดตรงนั้นให้กับจุฬา และยังให้กระทรวงพระคลังยกหนี้ให้
กับจุฬาด้วย ที่ดินตรงนั้นสมัยนั้นก็ปักเขตกันไม่ชัดเจน แต่ไป ๆ มา ๆ ที่ดินที่อุเทนถวายก็ถูกเหมารวมเข้าไปอยู่ตรง
นั้นด้วย

ทางอุเทนถวายได้ทำเรื่องขอความเป็นธรรมแล้ว แต่เนื่องจากเสียงน้อย ไม่ไม่เคยมีอธิการเป็นนายกรัฐมนตรี จึงตก
อยู่ในภาวะจำยอม แต่จุฬาได้เคยทำบันทึกข้อตกลงว่า จะให้อุเทนใช้ที่ตรงนี้ได้ไม่กำหนดระยะเวลา ถ้าเป็นการใช้
เพื่อการศึกษา เรื่องถึงได้จบ

แต่ในที่สุดจุฬาได้ฉีกข้อตกลงนี้ทิ้ง และคู่ฉบับที่อุเทนก็ถูกขโมย (เขาว่าจากการสมรู้ร่วมคิดของคนบางคน) จากนั้น
จุฬาก็เก็บค่าเช่าจากอุเทนปีละแสนกว่า ๆ และต่อมาก็ต่อสัญญาแบบปีต่อปี ค่าเช่าก็เก็บมากขึ้น ล่าสุดไม่ยอมให้ต่อ
สัญญา

เรื่องนี้ไม้ใช่ไล่แล้วอุเทนไม่ไป แต่มันมีที่มาที่ไป ที่ผู้ใหญ่จุฬาหมกเม็กมา 30-40 ปีแล้ว ก่อนที่อุเทนจะมาสร้างตรงนี้ได้ เราไม่ได้เช่า

ที่ดินจากจุฬา ได้รับการอนุญาติให้ใช้ที่ดินแห่งนั้น โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเจ้ากระทรวงธรรมการขณะนั้น ซึ่งท่านได้ทำ

ตามพระราชดำหริขิงในหลวงรัชกาลที่ 6 ซึ่งอยากให้ตั้งโรงเรียนช่างก่อสร้างของคนไทย เพราะสมัยนั้นมีแต่ช่างจีน สมัยนั้นยังไม่มี

การขีดเส้นโฉนดว่าที่ดินผืนนั้นเป็นของจุฬา เพราะก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พศ 2475 นั้นที่ดินทั้งหมดเป็นของพระ

มหากษัตริย์ อุเทนถวายได้เข้าใช้ที่ดินผืนนี้ "ตั้งแต่ที่ดินยังไม่เป็นของจุฬา" ต่อมาเมื่อกฏหมายฉบับใหม่ ๆ ออกมาจัดโครงสร้างการ

ราชการใหม่ จุฬาจึงเป็นนิติบุคคล และครอบครองที่ดินได้ และตอนนั้นเองจุฬาเริ่มบอกว่า ที่ดินตรงนั้นเป็นของจุฬาด้วย และได้ให้อุ

เทนออกจากพื้นที่ แต่ทางอุเทนเองก็อ้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของอุเทนเช่นเดียวกัน จึงเกิดกรณีพิพาท และมีข้อตกลงกันว่าที่ตรงนี้เป็น

ของจุฬา แต่ให้อถเทนถวายใช้ได้อย่างไม่มีกำหนด ตราบเท่าที่ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา

ต่อมาเมื่อที่ดินแพงขึ้น จุฬาก็เลยหันมาเก็บค่าเช่า และต่อมาก็เริ่มต่อสัญญาแบบปีต่อปี และท้ายที่สุดก็จะไม่ยอมต่อสัญญาอีกต่อไปจึง

เกิดเรื่อง ถ้าว่ากันตามความรู้สึกเด็กอุเทนถวาย ย่อมรู้สึกว่าไม่ถูกตั้งแต่ตอนที่จุฬาฮุบเอาพื้นที่ตรงนั้นทั้งหทดจดทะเบียนเป็นสมบัติขิง

จุฬา แต่ก็ต้องยอมเพราะผู้ใหญ่บ้านเมืองก็เข้าข้างจุฬา ถ้าไม่ยอมอุเทนถวายก็ไม่ที่อยู่
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"เด็กจุฬา และ ผู้ที่อ่านกระทู้นี้ ลองกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ หรือ จดหมายเหตุ ว่าที่ดินนี้นั้น จุฬา ได้มาโดยชอบธรรมหรือไม่
ที่ดินของจุฬาฯนั้น การได้มาอย่างไรอยากให้ไปหาอ่านหนังสือชุมนุมจุฬาฯ เล่มวันที่23ตุลาคม2513 ในเรื่อง"ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ

กรรมสิทธิ์ในที่ดินของจุฬาฯ"หน้า79เขียนโดยผ.ศ.บุญวัจน์ วีสกุล และเรื่อง "ทักท้วงประวัติจุฬาฯ" หน้า97เขียนโดยขจร สุขพานิช ซึ่ง

ผู้เขียนทั้งสองเรื่องนี้เขียนโดยคนของจุฬาฯเอง
แต่ถ้าหาอ่านไม่ได้จะสรุปสั้นๆให้ทราบกันดังนี้

แต่เดิมที่ดินผืนนี้ได้ทรงทำพินัยกรรมมอบให้เป็นกองทุนเลี้ยงชีพบาทบริจาริกา โดยให้เช่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่เพื่อการศึกษา ซึ่งจุฬาฯก็

เป็นผู้เช่าที่ดินผืนนี้กับพระคลังข้างที่เช่นกัน จนเมื่อปี2479 พ.อ.หลวงพิบูลย์สงคราม(จอมพลป.)อธิการบดีจุฬาฯในขณะนั้น ได้ทำ

หนังสือขอให้คณะผู้สำเร็จราชการฯ(เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ) ยกที่ดินผืนนี้ให้กับจุฬาฯ พร้อมกับขอให้ยกหนี้สินค่าเช่า

ที่ดินที่จุฬาฯติดค้างอยู่กับพระคลังข้างที่ ให้กับจุฬาฯ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากคณะผู้สำเร็จราชการพิจารณาแล้วว่าที่ดินผืนนี้ ทรงพระ

ราชทานให้เป็นที่ดินเลี้ยงชีพบาทบริจาริกา

จนกระทั่งปี 2482 อธิการบดีคนใหม่ได้ทำหนังสือขอที่ดินผืนนี้ไปยังคณะผู้สำเร็จราชการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นพ.อ.หลวงพิบูลย์

สงคราม(จอมพลป.อธิการบดีคนเก่าซึ่งเคยขอที่ไปแล้วแต่ไม่สำเร็จ)ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการเสนอร่างพ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์

ที่ดินผืนนี้เมื่อ3ตุลาคม2482 เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนฯ แล้วส่งกรรมาธิการแปรญัตติภายใน 1 วัน

วันที่7ตุลาคม สภาผู้แทนฯพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ในวาระที่2และ3 และเห็นควรให้ออกเป็นกฎหมายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ รวมระยะ

เวลาที่ใช้ในการพิจารณาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้ทำพินัยกรรมมอบเป็นทุนเลี้ยงชีพแก่บาทบริจาริกา ให้กลาย

เป็นของจุฬาฯเพียง 5 วันเท่านั้น

ในวันที่30ตุลาคม2482 ได้มีการประกาศใช้พ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์อันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอประทุม

วัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482 ผู้ลงนามคือ พ.อ.หลวงพิบูลย์สงคราม (อดีตอธิการบดีจุฬา)

พิจารณาการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนนี้กันดูเถอะครับ ว่าได้ไปอย่างชอบธรรมหรือไม่ และการเอาพื้นที่เพื่อการศึกษาไปสร้างศูนย์การ

ค้า คาเฟ่ โรงนวด ซึ่งเป็นแหล่งมอมเมาเยาวชนนั้นถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งศูนย์ไอทีครบวงจรที่จะใช้พื้นที่ของอุเทนฯนั้น จะประสบ

ความสำเร็จหรือไม่ ก็ไม่มีใครทราบได้

แต่ถ้าอุเทนฯยังคงอยู่ในพื้นที่นี้ ก็จะยังคงให้การศึกษาแก่คนไทยได้อีกต่อไปอย่างแน่นอน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวสะดวกต่อการเดินทางมา

ศึกษา รวมทั้งสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆได้ง่าย ซึ่งอุเทนฯได้สร้างบุคลากรออกไปร่วมพัฒนาประเทศมาแล้วอย่าง

มากมายเป็นระยะเวลาถึง 70กว่าปี

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุป
1.แต่เดิมที่ดินผืนนี้ได้ทรงทำพินัยกรรมมอบให้เป็นกองทุนเลี้ยงชีพบาทบริจาริกา โดยให้เช่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่เพื่อการศึกษา ซึ่ง จุฬาฯก็

เป็นผู้เช่าที่ดินผืนนี้กับพระคลังข้างที่เช่นกัน
2.จุฬา "มาเช่าที่ "จากกระทรวงพระคลัง
3. อุเทน " เข้ามาอยู่โดยดำหริของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี" และ จ่ายค่าเช่าให้กระทรวงพระคลัง เช่นเดียวกัน ทั้งอุเทน และจุฬา //
ตอนนั้นจุฬาก็ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตรงนั้น //

4.จนเมื่อปี2479 พ.อ.หลวงพิบูลย์สงคราม(จอมพลป.)อธิการบดีจุฬาฯในขณะนั้น ได้ทำหนังสือขอให้คณะผู้สำเร็จราชการฯ(เพิ่ง

เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ) ยกที่ดินผืนนี้ให้กับจุฬาฯ พร้อมกับขอให้ยกหนี้สินค่าเช่าที่ดินที่จุฬาฯติดค้างอยู่กับพระคลังข้างที่ ให้

กับจุฬาฯ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากคณะผู้สำเร็จราชการพิจารณาแล้วว่าที่ดินผืนนี้ ทรงพระราชทานให้เป็นที่ดินเลี้ยงชีพบาทบริจาริกา

5.จนกระทั่งปี 2482 อธิการบดีคนใหม่ได้ทำหนังสือขอที่ดินผืนนี้ไปยังคณะผู้สำเร็จราชการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นพ.อ.หลวงพิบูลย์

สงคราม(จอมพลป.อธิการบดีคนเก่าซึ่งเคยขอที่ไปแล้วแต่ไม่สำเร็จ)ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการเสนอร่างพ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์

ที่ดินผืนนี้เมื่อ30ตุลาคม2482 เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนฯ แล้วส่งกรรมาธิการแปรญัตติภายใน 1 วัน

วันที่7ตุลาคม สภาผู้แทนฯพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ในวาระที่2และ3 และเห็นควรให้ออกเป็นกฎหมายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ รวมระยะ

เวลาที่ใช้ในการพิจารณาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้ทำพินัยกรรมมอบเป็นทุนเลี้ยงชีพแก่บาทบริจาริกา ให้กลาย

เป็นของจุฬาฯเพียง 5 วันเท่านั้น

6.ต่อมาจอมพล ป ซึ่งเป็น อดีตอธิการจุฬา ก็ยึดเอาที่ดินทั้งหมดตรงนั้นให้กับจุฬา และยังให้กระทรวงพระคลังยกหนี้ให้
กับจุฬาด้วย ที่ดินตรงนั้นสมัยนั้นก็ปักเขตกันไม่ชัดเจน แต่ไป ๆ มา ๆ ที่ดินที่อุเทนถวายก็ถูกเหมารวมเข้าไปอยู่ตรง
นั้นด้วย

ทางอุเทนถวายได้ทำเรื่องขอความเป็นธรรมแล้ว แต่เนื่องจากเสียงน้อย ไม่ไม่เคยมีอธิการเป็นนายกรัฐมนตรี จึงตก
อยู่ในภาวะจำยอม แต่จุฬาได้เคยทำบันทึกข้อตกลงว่า จะให้อุเทนใช้ที่ตรงนี้ได้ไม่กำหนดระยะเวลา ถ้าเป็นการใช้
เพื่อการศึกษา เรื่องถึงได้จบ

แต่ในที่สุดจุฬาได้ฉีกข้อตกลงนี้ทิ้ง และคู่ฉบับที่อุเทนก็ถูกขโมย (เขาว่าจากการสมรู้ร่วมคิดของคนบางคน) จากนั้น
จุฬาก็เก็บค่าเช่าจากอุเทนปีละแสนกว่า ๆ และต่อมาก็ต่อสัญญาแบบปีต่อปี ค่าเช่าก็เก็บมากขึ้น ล่าสุดไม่ยอมให้ต่อ
สัญญา

7.จุฬาได้ที่ดินด้วยอำนาจอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็ เหมาร่วมถึง ที่ดิน ที่ตั้งของอุเทนด้วย
แล้ว ที่บอกพัฒนา พื้นที่เพื่อการศึกษา --- ล่าสุดตอนนี้ มีคอนโดให้เช่า อายุ 30 ปีแล้วครับ
แล้วอีกไม่นานก็จะมี ศูนย์การค้า คล้ายๆ ลา วิลล่า (La Villa) ตรง จุฬาซอย 22 แล้วครับ mk Mc KFc , ฯลฯ
มีแน่นอน เพื่อการศึกษา ทั้งนั้น

0
ธนย 20 ก.พ. 56 เวลา 01:16 น. 10

ถ้าจะบอกว่า จอมพล ป เป็นอธิการจุฬาฯ เพราะต้องการสู้กับปรีดี ที่อยู่คนละฝั่ง&nbsp  และยึดที่เจ้าให้จุฬาฯในยุคที่สถาบันฯอ่อนแอ เลยฉวยโอกาศยึดที่ทั้งหมดให้เป็นของจุฬาฯ&nbsp  ที่จุฬาฯชอบอ้างว่ารักสถาบันนักหนาแต่แท้ที่จริงคือโกงที่สถาบันฯที่ให้พื้นที่ นี่คือที่มาว่าทำไมจุฬาฯจะไม่บอกใครว่าได้มายังไง&nbsp บอกอย่างเดียวว่าได้ที่อย่างถูกกฏหมาย&nbsp ครับถูกกฏหมาย?????? จริงหรือ

เท่าที่ทราบงานนี้ จุฬาฯอยากให้งานฮุบที่อุเทนถวายจบอย่างรวดเร็ว แต่พอดีอุเทนก็มีเอกสารพอควร
ถ้าลากใส้ออกมา จุฬาฯที่ชอบอ้างว่าตนเองสง่างาม เป็นเสาหลักประเทศก็คือพวกโกงที่เจ้า และยอมอยู่ใต้เผด็จการ โดยยอมเพื่อได้ทรัพย์สินที่เขาโยนมาให้&nbsp โดยไม่ลืมหูลืมตา


เศร้าใจมาก&nbsp 

0
Trang 23 ก.พ. 56 เวลา 12:15 น. 11

จุฬาชอบอ้างว่าผลิตนักศึกษาที่ดีมีคุณภาพ(แต่สมองมีแต่เรื่องชั่วๆกับเด็กจุฬาบางคนไม่ทั้งหมด)แล้วสถานบันอื่นเขาผลิตนักศึกษาที่ม่ายมีคุณภาพมีแต่จุฬาที่เดียวว่างั้นเหอะดีอยู่ที่เดียวคิดด้ายไงคนจุฬาดูถูกแต่ละสถานบันอื่นๆๆในประเทศไทยเกรียนวะเด็กจุฬา

0
เเม่มม 1 มี.ค. 56 เวลา 19:09 น. 12

อีคห.12 มโนไปเอง เด้กจุฬาไม่เคยดูถูกไคร อีพวกเด็กสถาบันอื่นคิดไปเองมโนไปเองทั้งนั้น ถามจริงไอคนที่ด่าจุฬาหน่ะ คุณเคยโดนเด็กจุฬาดูถูกมาก่อนหรอ

0
แม่ชีหลีเกี่ยวฮวด สาขาเด็กดี 15 มี.ค. 56 เวลา 16:46 น. 13
เบื่อเพื่อพวกโง่ พวกที่รับรู้ข้อมูลผิดๆ แล้วมาว่าทางจุฬาฯ

คนที่มาว่าจุฬาฯ ส่วนใหญ่คือคนนอกทั้งนั้น ไม่รู้เรื่องอะไรกับเขาเลย

0
เย่ 15 มี.ค. 56 เวลา 17:20 น. 14

ที่ดินของในหลวงต่างหาก ใครว่าของจุฬาจะเอาเก้าอีฟาด ราดกาแฟ เตรียมตัวไว้เลย

0
nsd 15 มี.ค. 56 เวลา 17:28 น. 15

ลึกๆในใจที่จุฬาฯอยากให้อุเทนออก
น่าจะเพราะชอบมีเรื่องตีกันด้วยแหละเราว่านะ

0
ลูกชาวนา 16 มี.ค. 56 เวลา 11:52 น. 17

ความจริงภายในจุฬาเอง&nbsp คนนอกอาจจะมองว่าใหญ่หากลองมองลงไปในทุกภาคส่วนแล้ว&nbsp  แท้ที่จริงแล้วบางคณะ&nbsp บางหน่วยงานของจุฬาเองก็ยังต้องอิงอาศัยกันอยู่&nbsp บางคณะ&nbsp บางหน่วยงานยังไม่มีตึกเป็นของตัวเองด้วยซ้ำไป&nbsp &nbsp หากจะมองทางด้านการศึกษาทางจุฬาเองก็ผลิตบัณฑิตจากทุกระกับชั้น&nbsp  จากกลุ่มคนหลายกลุ่มจากรากหญ้า (ชาวบ้านตาดำดำ)&nbsp ถึงยอดเขา (พวกคนรวย)&nbsp  โดยจุฬาเองก็มอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตครั้งหนึ่งไม่ใช่จำนวนน้อย ๆ ทั้งในเมืองและชนบท&nbsp  รวมถึงผู้ด้อยโอกาสในด้านต่าง ๆ&nbsp อีกทั้งจุฬาเองก็ยังมีค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาไม่แพงนัก&nbsp เพราะเนื่องจากจุฬาเองก็ออกให้นิสิตทั้งมหาลัยส่วนหนึ่ง (เงินสนับสนุนจากรายได้&nbsp ค่าเช่าพื้นที่ศนย์การค้า และอื่น)&nbsp  สามารถศึกษาดูค่าเทอมของแต่ละมหาลัยได้ครับ&nbsp ยกเว้นมหาลัยเปิดอย่างรามคำแหง&nbsp เป็นต้น&nbsp  ในความคิดของผมเอง&nbsp ก็มองว่า&nbsp จะเป็นอะไรหากอุเทนถวายจะยอมถอยไปสร้างเกียรติประวัติ&nbsp บุกเบิกในสถานที่&nbsp  สร้างชื่อเีสียงและเกียรติยศขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง&nbsp  โดยเก็บความทรงจำ&nbsp สิ่งที่ดีงามที่ผ่านมาเอาไว้เป็นอนุสรณ์ภายในใจ&nbsp  ส่วนทางด้านจะนำพื้นที่ตรงนั้นไปใช้ประโยชน์ทางด้านใด&nbsp ทางมหาวิทยาลัยก็คงคิดไว้แล้ว&nbsp และคงไม่ลืมว่าตอนนี้สังคมกำลังจับตามองอยู่&nbsp  ดังนั้นผมจึงเห็นอุเทนควรจะย้ายสถานที่เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้ตัวเองใหม่ครับ&nbsp  มันน่าจะดีกว่าอยู่ที่เดิมแล้วไม่มีความสุขจากคนรอบข้าง


ความเห็นจาก&nbsp ลูกชาวนาคนหนึ่ง

0
dddd 17 มี.ค. 56 เวลา 02:35 น. 18

ไปดูของ คห9. สุดท้ายเป็นลายเซ็นต์ จอม ป. ยุค อธิการจุฬา&นายก ทุกคนกำลังพิสูทว่าสมควรหรือเปล่า ไม่ใช้เอามายื่นยัน

0
รูสมิแล 25 มี.ค. 56 เวลา 00:11 น. 19

ตอบความเห็นที่ 18

ก็เป็นข้อเสนอแนะตรงกับในใจของอุเทนฯหลายคน แต่ จุฬาฯต้องออกมายอมรับกับสังคมทั้งประเทศว่า "ที่ดินตรงนั้น ร.5 ไม่ได้พระราชทานมาตามที่กล่าวอ้าง แต่ จุฬาฯ โดย จอมพล ป. สมัยนั้นโกงที่ดินของพระมหากษัตริย์มา" แล้วอุเทนฯจะยอมไปโดยดี เพราะคงไม่ไปร่วมสังฆกรรมโกงที่ดินของพระมหากษัตริย์กับจุฬาฯด้วยหรอก

อีกเรื่อง นักศึกษาที่จบจากจุฬาฯ จะดีหรือเลวไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้หรอก ผมมีเพื่อนรัก น้อง และมิตรสหายหลายคนที่จบจุฬาฯ ทุกคนล้วนแต่เป็นคนดีทั้งนั้นที่คบกับผม

0