Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พระราชประวัติ พระเจ้าติโลกราช มหาราชแห่งล้านนา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระเจ้าติโลกราชทรงเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนา โดยในรัชสมัยของพระองค์ ล้านนา มีความก้าวหน้าสูงสุดในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและศาสนา



  พระเจ้าติโลกราช ทรงมีพระนามเดิมว่าท้าวลก ทรงประสูติในปี พ.ศ. 1852 เป็นราชโอรสองค์ที่หกของพญาสามฝั่งแกน ในปี พ.ศ. 1884 พระองค์ทรงร่วมมือกับอำมาตย์สามเด็กย้อย ชิงราชสมบัติจากพระราชบิดา หลังขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพอโยธยาที่ยกมารุกราน จากนั้นจึงทรงขยายแสนยานุภาพไปยึดครองเมืองน่านและเมืองแพร่ เพื่อรวมล้านนาให้เป็นปึกแผ่น ก่อนจะขยายอาณาเขตต่อไปถึงแคว้นสิบสองปันนา แคว้นเชียงตุงและหัวเมืองไทใหญ่ในรัฐฉาน รวมทั้งอาณาจักรล้านช้าง อีกทั้งยังทำสงครามได้ชัยชนะเหนือกับกองทัพจีนจากยูนนานที่ยกมารุกรานล้านนาอีกด้วย 

ใน ปี พ.ศ.1994 พญาสองแคว ยุทธิษเฐียร ได้แปรภักดิ์จากอโยธยามาขอสวามิภักดิ์ต่อล้านนา ครั้น เมื่อทางอโยธยาทราบเรื่อง จึงยกทัพมาตี พญาสองแควได้อพยพผู้คนมาพึ่งพระเจ้าติโลกราช และจากนั้น สงครามระหว่างเชียงใหม่ กับอโยธยาก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วงแรกนั้น กองทัพเชียงใหม่ สามารถยึดเมืองเชลียง หรือ ศรีสัชนาลัยได้ จนในปี พ.ศ. 2008 พระบรมไตรโลกนาถแห่งอโยธยาต้องใช้วิธีออกผนวชและส่งสมณทูตมาขอบิณฑบาตรเมืองคืน แต่ พระเจ้าติโลกราชไม่ทรงคืนให้ ด้วยเห็นว่ามิใช่กิจของสงฆ์ ต่อมา ทางอโยธยาได้วางอุบายส่งไส้ศึกมาสร้างความปั่นป่วนในเมืองเชียงใหม่ จนทำให้พระเจ้าติโลกราชถึงกับสั่งประหาร ท้าวศรีบุญเรือง พระโอรสองค์เดียวของพระองค์ และยังสั่งประหาร เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร แม่ทัพใหญ่คู่บัลลังก์ จนทำให้ทัพเชียงใหม่อ่อนแอลง เป็นโอกาสให้อโยธยาสามารถชิงเมืองเชลียงกลับคืนไปได้ในปี พ.ศ.2017 และในปีต่อมา ล้านนาและอโยธยาก็สงบศึกกัน 

 หลังสงครามกับอโยธยายุติลง พระเจ้าติโลกราชได้ทรงหันมาใฝ่พระทัยในทางศาสนา โดยทรงโปรดให้สร้างวัดวาอารามเป็นอันมาก และที่สำคัญคือ ทรงโปรดให้ทำสังคายนา พระไตรปิฎกในปี พ.ศ.2020  ณวัดเจ็ดยอด อ.เมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการสังคายนา ครั้งที่8 ของโลก

ต่อมา ในปี พ.ศ.2023 เวียตนามยกทัพใหญ่มารุกรานล้านช้างและเมืองน่านที่เป็นประเทศราชของล้านนา พระเจ้าติโลกราชจึงทรงยกทัพไปปราบปรามและสามารถตีทัพใหญ่รี้พลสี่แสนนายของเวียตนามจนแตกพ่ายยับเยิน ชัยชนะในครั้งนี้ ทำให้ทางจีนที่เป็นคู่ศึกกับเวียตนามในเวลานั้น ได้ยกย่องพระองค์ให้เป็นราชันย์ผู้พิชิตแห่งตะวันตกโดยให้มีฐานะรองลงมาจากองค์ฮ่องเต้ นอกจากนั้นฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หมิงของจีนยังทรงพระราชทานเครื่องยศและทองคำจำนวนมากมามอบให้พระเจ้าติโลกราชเพื่อเป็นพระเกียรติอีกด้วย

พระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2030 พระชนมายุ 78 พรรษา ครองราชย์รวมทั้งสิ้น 46 ปี หลังจากนั้นพญายอดเชียงราย พระนัดดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อ


**************************************************************

โยธยาล้านนามหายุทธ์
อันชัยชนะนั้น มิอยู่กับผู้ใด ชั่วนิรันดร์
สุดท้าย ความสูญเสียคือสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญ


พบกับเรื่องราวของมหาศึก ระหว่างเผ่าไทยจากเหนือและใต้ ได้ใน

ศึกรบสองราชันย์

http://writer.dek-d.com/wipoo/writer/view.php?id=585854

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

DJ.คิว 9 ก.พ. 54 เวลา 20:25 น. 1

มีคำถามครับ

พ่อชื่อ "พญาสามฝั่งแกน" แล้วลูกชื่อ "พระเจ้าติโลกราช"

ทำไมคำนำหน้าพระนามต่างกันครับ

0
เบื่อๆๆ 9 ก.พ. 54 เวลา 20:56 น. 2

คือ ถ้าผมจำไม่ผิด แต่เดิมพระเจ้าติโลกราชก้ทรงใช้พญาอะคับ แต่ภายหลังจากพญาสองแควมาสวามิภักดิ์ ก้ได้ใช้ .พระพุทธเจ้าข้า.ตามอยุธยา พระองค์ก็เลยหันมาใช้พระนาม พระเจ้าติโลกราชแนอะคับ

ถูฏผิดยังไง ช่วยบอกด้วยนะคับ ผมก้ไม่แน่่ใจเหมือนกัน

0
สิงขรลักษณ์ 11 ก.พ. 54 เวลา 15:51 น. 3

เป็นเช่นดังที่ความเห็นที่สอง บอกนั่นแล ขอรับ โดยในยุคนั้น คำว่า พญา คือ คำที่ชาวล้านนาใช้เรียก พระเจ้าแผ่นดิน ครับ แต่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช พระองค์ทรงใช้พระนาม พระเจ้า ก็เพื่อให้มีฐานะเป็นสมมติเทพ ทัดเทียม กับพระบรมไตรโลกนาถของอยุธยา ที่เป็นคู่ศึกของพระองค์

0