Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พุทธศาสตร์...ศาสตร์แห่งความสุข

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่






อานาปานะสะติ ภิกขะเว ภาวิตา พะหุลีกะตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว



มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่



จัตตาโร สะติปัฏฐานา ปะริปูเรนติ
ย่อมทำให้สติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์



โพชฌังเค ปะริปูเรนติ
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์



วิชชา วิมุตติง ปะริปูเรนติ
ย่อมทำวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์







อานาปานสติ คือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ในปัจจุบัน แต่ละขณะ






สติปัฏฐาน 4 คือ การตั้งสติพิจารณาสิ่งทั้งหลายมีกาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งก็คือตัวเราเองนี่แหละ

ที่เรามาศึกษาปฏิบัติธรรมทั้งหมดนี้ ก็เพื่อศึกษากายกับใจของตัวเราเอง เพื่อที่จะเข้าใจกายกับใจตาม

ความเป็นจริง






โพชฌงค์ 7 คือ ธรรมะที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ประกอบด้วย

1.สติสัมโพชฌงค์   คือ  ความระลึกได้

2.ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์   คือ  การพิจารณาธรรม

3.วิริยะสัมโพชฌงค์   คือ  ความเพียร

4.ปีติสัมโพชฌงค์   คือ  ความอิ่มเอิบใจ

5.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์   คือ  ความสงบกายสงบใจ

6.สมาธิสัมโพชฌงค์   คือ  ความมีใจตั้งมั่น

7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์   คือ  ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามความเป็นจริง






วิชชา 8 คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่   

1.วิปัสสนาญาณ   คือ  ญาณในวิปัสสนา

2.มโนมยิทธิ   คือ  ฤทธิ์ทางใจ

3.อิทธิวิชา   คือ  แสดงฤทธิ์ต่างๆได้

4.ทิพยโสต   คือ  หูทิพย์

5.เจโตปริยญาณ   คือ  กำหนดรู้ใจผู้อื่น

6.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ   คือ  ระลึกชาติได้

7.ทิพยจักขุญาณ   คือ  ตาทิพย์

8.อาสวักขยญาณ   คือ  ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ






วิมุตติ 5 คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส หรือความดับกิเลส คือ นิโรธ5 หรือวิราคะ 5 ได้แก่

1.วิกขัมภนนิโรธ   คือ  ดับกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจสมาธิและฌาน

2.ตทังคนิโรธ   คือ  ดับกิเลสชั่วคราวด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ เช่น เจริญเมตตาเพื่อระงับความโกรธ
                             อารมณ์อสุภะระงับราคะ

3.สมุจเฉทนิโรธ   คือ  ดับกิเลสโดยเด็ดขาด คือ โลกุตตรมรรค

4.ปฏิปัสสัทธินิโรธ   คือ  ดับอย่างสงบระงับเพราะกิเลสหมดสิ้นแล้ว คือ โลกุตตรผล

5.นิสสรณนิโรธ   คือ  ดับเพราะสลัดกิเลสออกได้อย่างเด็ดขาดแล้ว คือ อมตธาตุ(คือนิพพาน) จึงดำรง
                                อยู่ในภาวะนั้นตลอดไป





อานาปานสติในชีวิตประจำวัน



อิริยาบถเดิน : เดินอานาปานสติ







 


เราจะฝึกเดินจงกรมแบบธรรมชาติที่สุด ให้เดินธรรมดาๆ แต่ช้ากว่าปกตินิดหน่อย

ขวาก้าว..ซ้ายก้าว..ขวาก้าว..ซ้ายก้าว เดินไปเรื่อยๆนั่นแหละ คือ เดินจงกรม

เดินเฉยๆ ธรรมดาๆ แต่ให้มีอาการสำรวม ระวังในการเดิน มีสติ ระลึกรู้ ลมหายใจออก

ลมหายใจเข้า ทุกครั้ง จิตจะสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน











อิริยาบถนั่ง : นั่งกำหนดอานาปานสติ







 

หาจุดสบายๆ

นั่งสบายๆ

หายใจสบายๆ

ให้จิตสงบ สบายๆ

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

ลมหายใจออก

ลมหายใจเข้า

ให้ติดต่อกัน ต่อเนื่องกัน ไปเรื่อยๆ







โบราณจารย์สอนว่า ลักษณะการนั่งที่เรียบร้อยนั้น

ให้เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายตรง

พอเหมาะ พอดี พองาม ไม่ให้เอียงขวา เอียงซ้าย

ไม่ก้มหน้าเกินไป และไม่เงยหน้าเกินไป

ให้เอาท่านั่งของพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง






ธรรมชาติของจิต ต้องทำงาน

จะคิดนี่ คิดโน่น ฟุ้งซ่าน

หายใจเข้าลึกๆ หน่อยๆ

หายใจออกยาวๆ

จิตก็จะหยุดคิด อยู่กับลมหายใจ

มีสติสัมปชัญญะ

บางครั้งนั่งเฉยๆ

บางครั้ง หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ

บางครั้งปล่อยลมหายใจตามธรรมชาติ







อิริยาบถยืน : ยืนอานาปานสติ










ยืนอย่างสำรวม เท้าทั้งสองห่างกันพอสมควร

ประมาณ 20 เซนติเมตร

เพื่อยืนได้อย่างมั่นคง

ไม่ต้องจ้องอะไร

ระลึกถึงลมหายใจออก ลมหายใจเข้า นั่นแหละ






บางครั้งอาจจะกำหนดสายตาไว้ที่ที่สบายตา

เช่น สนามหญ้าสีเขียว ต้นไม้ ดอกไม้ หรือสระน้ำ

แต่ไม่ให้คิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว






อิริยาบถนอน : นอนกำหนดอานาปานสติ











เราสามารถฝึกอานาปานสติในอิริยาบถ นอน

ได้อย่างง่ายๆ สบายๆ

โดยการนอนหงายสบายๆ ธรรมดาๆ

อิริยาบถคล้ายการยืน วางแขนลงข้างลำตัว

ฝ่ามือหงายขึ้นห่างจากกายพอสมควร

ประมาณ 1-2 คืบ

นอนเหยียดสบายๆ

เหมือนคนตายที่ไม่รับรู้อะไร

หากเราคุ้นเคยกับการนอนตะแคง

ก็สามารถทำได้เช่นกัน





หายใจเข้า หายใจออก

ให้กำหนดความรู้สึกเหมือน

หายใจเข้า หายใจออกทางเท้า

เมื่อหายใจออก ให้กวาดความรู้สึกไม่ดี

ความเครียด ความกังวล ความรู้สึกเจ็บป่วย

ความไม่สบายทั้งทางกายและใจออกไปให้หมด






เมื่อเริ่มหายใจเข้า ตั้งสติไว้ที่เท้า

ให้ความรู้สึกสะอาดบริสุทธิ์ผ่านเข้ามาทางร่างกาย

จนถึงใบหน้าและจมูก

หาจุดหายใจออกสบายๆ

หายใจเข้าสบายๆ จิตใจสบายๆ













หลักของอานาปานสติ คือ หลักปัจจุบันธรรม

  
เมื่อเรากำลังทำอะไรอยู่ ทำครัว ล้างชาม ฯลฯ
 
ก็ตั้งใจทำอยู่อย่างนั้่น เมื่อเราหยุดทำงาน สติสัมปชัญญะ
 
ก็กลับมาที่ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า โดยอัตโนมัติ

อย่างน้อยก็รักษาสุขภาพใจได้ดี  สุขภาพกายก็ช่วยได้มาก











บทความจากหนังสือ "ความสุขสูงสุด" และ "อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข"
ของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

 

 
 
 


 
 


 

PS.  

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น