Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ปลาฉลาม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาฉลาม
วิรัช ภัทรบูชา
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


          เมื่อพูดถึงปลาฉลาม ผู้คนจำนวนมากมักมีความรู้สึกหวาดกลัวเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึง
ความดุร้ายของปลาฉลามที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ แต่ความจริงแล้วปลาฉลามไม่ได้ดุร้ายอย่างที่เข้าใจกันนะครับ
          ในสายตาของคนทั่วไป ปลาฉลามอาจมองดูเป็นสัตว์ดุร้ายกระหายเลือด แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นมีสถิติที่น่าทึ่ง
ก็คือในบรรดาปลาฉลามที่มีอยู่ประมาณ 350 ชนิดทั่วโลกนั้น มีเพียง 30 ชนิดเท่านั้นที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และมีเพียง
4-5 ชนิดเท่านั้นที่อาจเป็นฝ่ายที่ทำร้ายมนุษย์ก่อน จากสถิติของคนที่ถูกฉลามทำร้ายมีจำนวนประมาณ 28-30 คนต่อปี และมีผู้เสีย
ชีวิตไม่เกิน 10 รายต่อปี ซึ่งนับว่าน้อยกว่าคนที่ถูกฟ้าผ่าตายหรือถูกผึ้งต่อยตายเสียอีก แต่ ในทางตรงกันข้ามปลาฉลามกลับเป็นฝ่าย
ถูกไล่ล่าและตกเป็นเหยื่อของมนุษย์ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านตัวต่อปี ถ้าหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆปลาฉลามก็อาจสูญพันธุ์ได้ใน
อนาคตอันใกล้นี้


          ปลาฉลามจัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 380 ล้านปีมาแล้วโดยมีการเปลี่ยนแปลงด้านรูปร่างน้อยมาก
แต่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์มาได้จนถึงปัจจุบันด้วยรูปทรงที่ปราดเปรียวราวกับเครื่องบินรบ โครงสร้างของปลาฉลามแตกต่างจากปลา
ชนิดอื่นตรงที่มีกระดูกเป็นกระดูกอ่อนมีลักษณะคล้ายเอ็นเหนียวๆทำให้ปลาฉลามมีลำตัวค่อนข้างยืดหยุ่นกว่าปลากระดูกแข็งทั่วไป
ที่เรารู้จัก สังเกตได้จากท่าทางการว่ายน้ำของปลาฉลามซึ่งจะใช้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทั้งลำตัวไม่ได้ใช้เฉพาะส่วนหาง
เหมือนกับปลาทั่วๆไป จึงทำให้ปลาฉลามได้รับการขนานนามว่า เป็นปลานักล่าผู้สง่างามแห่งท้องทะเล

 

          จากการที่มีวิวัฒนาการอันยาวนานทำให้ปลาฉลามสามารถปรับตัวจนสามารถดำรงชีวิตในทุกสภาพแวดล้อมทั่วโลกตั้งแต่
ในเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตรจนถึงเขตอบอุ่นรวมทั้งแม่น้ำบางสายที่เชื่อมต่อกับทะเลก็พบว่ามีฉลามอาศัยอยู่เช่นเดียวกัน เล่ามาถึง
ตรงนี้หลายๆ ท่าน อาจจะสงสัยว่าปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็งนั้นเป็นอย่างไร จึงขอถือโอกาสอธิบายตรงนี้นะครับว่า เราแบ่ง
ปลาเป็นกลุ่มตามลักษณะของโครงสร้างของกระดูกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ปลากระดูกอ่อน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 800 ชนิด
และปลากระดูกแข็ง มีประมาณ 24,000 ชนิด ลักษณะที่แตกต่างกันก็คือ ปลากระดูกอ่อนมีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นกระดูกอ่อนทั้ง
หมด ตำแหน่งของปากจะอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว มีช่องเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีแผ่นปิดเหงือก มีเกล็ดมีลักษณะที่เป็นหนามแหลม
ไม่เรียงซ้อนกัน เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ 1 คู่ บริเวณครีบก้น หางมีลักษณะเป็นแบบไม่สมมาตร โดยแฉกบนมีขนาดใหญ่และยาว
กว่าแฉกล่างหรือมีลักษณะเรียวยาวคล้ายแส้
เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน และปลาโรนิน เป็นต้น จากโครง
สร้างของกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อนของปลาฉลามทำให้การศึกษาฉลามจากซากดึกดำบรรพ์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากกระดูกอ่อนจะ
สลายตัวผุพังไปหมด ซากที่พอจะหลงเหลืออยู่บ้างจะเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะและกราม ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุดก็คือ
ฟันนั่นเอง สำหรับปลากระดูกแข็งมีลักษณะแตกต่างกันที่โครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีแผ่นปิดเหงือกชัดเจนก็คือตรง
บริเวณกระพุ้งแก้มนั่นเอง ส่วนเกล็ดจะมีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปลาหรือบางชนิดก็อาจไม่มีเกล็ดหางมีหลายรูปแบบ
ทั้งแบบสมมาตรและไม่มีสมมาตร มีปากอยู่ทางด้านบนและด้านล่างของส่วนหัว ส่วนมากจะออกลูกเป็นไข่ และเป็นปลาที่เราพบ
เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ปลาไหล ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาสิงโต ปลาปักเป้า เป็นต้น



          ปัจจุบันปลาฉลามถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มปลาฉลามผิวน้ำ และกลุ่มปลาฉลามหน้าดิน ซึ่งมีรูปร่างลักษณะ
และนิสัยที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปลาฉลามผิวน้ำมีรูปร่างปราดเปรียวและว่ายน้ำตลอดเวลาลักษณะของฟันเป็นฟันที่มีความแหลม
คมประดุจมีดโกนเรียงกันเป็นแถวอยู่ภายในปาก ส่วนฉลามหน้าดินมีนิสัยชอบกบดานอยู่นิ่งๆมากกว่าเคลื่อนที่ ฟันมีลักษณะเป็นฟัน
ขบ กินซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร ไม่ค่อยดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 30 ชนิด แต่
ในที่นี้จะขอแนะนำให้ท่านรู้จักดังนี้
          1. ปลาฉลามเสือ (Tiger shark ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier เป็นปลาฉลามขนาดใหญ่ ขนาดโตเต็มที่
มีความยาวประมาณ 6 เมตร หัวมีลักษณะค่อนข้างป้าน ไม่เรียวแหลมเหมือนฉลามชนิดอื่น มีลายข้างลำตัวคล้ายกับลายของเสือ
เมื่อโตขึ้นลายจางลง ปลาฉลามเสือจัดเป็นฉลามที่ดุร้ายที่สุดในน่านน้ำไทย มีนิสัยกินไม่เลือก ค่อนข้างหวงถิ่นและจะดุร้ายเฉพาะ
เวลาที่มีลูกอ่อน พบได้บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ปัจจุบันมีจำนวนลดลงอย่างมากจนพบได้ยาก
          2. ปลาฉลามหูดำ (Blacktip Reef Shark) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharhinus melanopus จัดเป็นปลาฉลามขนาด
เล็ก ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร มีลักษณะเด่นตรงที่บริเวณปลายครีบกระโดงทั้งสามจะมีสีดำ ลำตัวมีสีเทาปน
เหลือง ส่วนท้องมีสีขาว มีนิสัยไม่ก้าวร้าว และไม่ยอมเข้าใกล้มนุษย์มากนัก เป็นปลาฉลามที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย พบได้
ทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน บริเวณแนวปะการังที่มีน้ำตื้น
         3. ปลาฉลามครีบเงิน ( Siver Tip Shark ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharhinus melanopus ขนาดโตเต็มที่มีความยาว
ประมาณ 3 เมตร เป็นฉลามที่มีรูปทรงสมส่วนสวยงาม มีจุดเด่นคือมีแต้มสีขาวบริเวณปลายหางและครีบกระโดงทั้งสาม ชอบอาศัย
อยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไป ทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จัดเป็นฉลามที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อถูกรบกวน แต่จะไม่
ทำร้ายมนุษย์ก่อน

         4. ปลาฉลามสีเทา( Grey Reef Shark ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carcharhinus amblyrhynchus มีรูปร่างคล้ายปลา
ฉลามครีบเงินมาก แต่มีขนาดเล็กกว่าเป็นปลาฉลามที่มีลีลาท่าทางสง่างามมีความเฉพาะตัวในเวลาข่มขู่ศัตรูโดยการงอลำตัวและ
ยกครีบหลังขึ้นสูงปล่อยให้กระโดงด้านข้างตกลงแนบชิดกับลำตัวก่อนเข้ามาใกล้ผู้บุกรุกเพื่อโจมตี มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
ตามแนวปะการัง เป็นฉลามที่ค่อนข้างก้าวร้าวและหวงถิ่น พบได้ทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะแลอันดามัน
          5. ปลาฉลามหัวค้อน( Hammerhead Shark ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphyrna lewini เป็นฉลามที่มีรูปร่างแปลกกกว่า
ปลาฉลามชนิดอื่น มีลักษณะเด่นคือมีส่วนหัวที่ยื่นยาวออกไป เหมือนค้อนตอกตะปู ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 4 เมตร
มีนิสัยไม่ก้าวร้าวแต่อาจทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปัจจุบันมีจำนวนลดลงจนพบได้น้อยมาก
          6. ปลาฉลามทราย ( Nurse Shark ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chiloscyllium indicum มีชื่อเรียกแตกต่างกันเช่นฉลามดุก
ฉลามขี้เซา ฉลามพยาบาล เป็นต้น ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 3 เมตร จัดเป็นปลาฉลามที่อาศัยหากินอยู่ตามพื้นทราย
มีนิสัยรักสงบไม่ก้าวร้าวเมื่อไม่ถูกรบกวน มักพบอาศัยอยู่ตามโพรงหิน หรือในถ้ำใต้น้ำ ในเวลากลางวันและออกล่าเหยื่อในเวลา
กลางคืน
          7. ปลาฉลามวาฬ ( Whale Shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhincodon typus จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
โตเต็มที่มีความยาวถึง 18 เมตร แต่ที่พบโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 7-8 เมตร เป็นปลาฉลามที่มีนิสัยน่ารัก กินแพลงก์ตอน
เป็นอาหาร เป็นปลาที่ชาวประมงคุ้นเคยดี และยกย่องให้เป็นปลาเทพเจ้าโดยเชื่อกันว่าถ้ามีผู้ใดทำร้ายปลาฉลามวาฬจะทำให้ท้อง
ทะเลปั่นป่วน ปลาฉลามวาฬสามารถ พบได้ทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
          8.ปลาฉลามกบ ( Brown-band Bamboo Shark ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chiloscyllium punctatum เป็นฉลามหน้า
ดินที่มีขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปลาฉลามหิน ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร รูปร่างลักษณะมีลำตัวเรียวยาว
ส่วนหัวและลำตัวใหญ่ จะงอยปากกว้าง มีตาขนาดเล็ก ครีบหางแฉกบนโค้งเรียวยาวกว่าแฉกล่าง ในลูกปลาวัยอ่อนจะมีลายเป็นแถบ
สีขาวสลับดำคาดตามขวางลำตัวและจะค่อยๆจางลงเมื่อโตขึ้น
          9. ปลาฉลามเสือดาว ( Leopard Shark )มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma f asciatum เป็นฉลามหน้าดินขนาดปาน
กลาง มีความยาวประมาณ 2 เมตรชอบนอนนิ่งนิ่งอยู่กับพื้นท้องทะเล มีนิสัยขี้เล่นไม่ดุร้าย เมื่อยังมีขนาดเล็กจะมีลายตามลำตัว
เมื่อโตขึ้นลายตามลำตัวจะจางหายไป และเปลี่ยนเป็นจุดคล้ายจุดของเสือดาว
           โดยปกติแล้วปลาฉลามมักจะหลบหลีกมนุษย์และจะไม่เข้าโจมตีมนุษย์ก่อนและมักจะเข้าโจมตีมนุษย์ก็ต่อเมื่อต้องการ
อาหารหรือได้กลิ่นคาวเลือด เนื่องจากปลาฉลามมีระบบประสาทที่ไวต่อการรับความรู้สึก หรือถ้าหากท่านจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับ
ปลาฉลามที่ดุร้าย จะต้องตั้งสติให้ดีและ ไม่ควรตื่นเต้นมากเกินไป ควรค่อยๆ ถอยห่างอย่างช้าๆ และรีบขึ้นจากน้ำโดยเร็ว หาก
จำเป็นต้องเผชิญหน้าในระยะใกล้ตัว จะต้องโจมตีจุดอ่อนของปลาฉลามซึ่งเป็นจุดรวมของระบบประสาทอยู่บริเวณปลายจมูก โดย
ใช้กำปั้นหรือของแข็งๆที่นำติดตัวมา ปลาฉลามจะตกใจและว่ายหนีไป หากเสียเลือดหรือได้รับบาดเจ็บจะ ต้องรีบขึ้นจากน้ำทันที
เนื่องจากเลือดเป็นตัวกระตุ้นระบบรับสัมผัสของปลาฉลามเป็นอย่างดี


          ในปัจจุบันปลาฉลาม ได้กลายเป็นอาหารอันแสนโอชะของมนุษย์ และมีราคาแพงโดยเฉพาะส่วนของครีบที่นำมาทำเป็น
หูฉลาม โดยปลาฉลามจะถูกล่าเพื่อนำครีบมาเป็นหูฉลาม ส่วนเนื้อของปลาฉลามจะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์โดยมีการล่าเพื่อ
ตัดเอาเฉพาะครีบเท่านั้น ปลาฉลามที่ถูกจับได้จะถูกตัดครีบออกแล้วทิ้งตัวเป็นเป็นๆที่ยังมีชีวิตกลับลงสู่ทะเล การกระทำดังกล่าว
นับว่าเป็นการกระทำที่มโหดของมนุษย์ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปลาฉลามมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ นอกจากนี้การทำลายสิ่งแวดล้อม
บริเวณแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนของปลาฉลาม เช่น บริเวณปากแม่น้ำ แนวหญ้าทะเลและป่าชายเลน รวมทั้ง การใช้เครื่องมือทำการ
ประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกของปลาฉลามเล็ดลอดออกไป เป็นการทำลายพันธุ์ปลาฉลามให้ลดจำนวนลงมากยิ่งขึ้น
          การอนุรักษ์ปลาฉลาม มิได้เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น แต่จำเป็นที่เราทั้งหลายจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทุกฝ่าย วิธีที่ง่ายที่สุด
ก็คือการไม่ทิ้งขยะลงสู่ทะเลเพราะการทิ้งขยะไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติกหรือขยะย่อยสลายยาก เป็นสาเหตุการตายของปลาฉลาม
และสัตว์ทะเลอื่นๆ เนื่องจากขยะที่ลอยอยู่ในน้ำจะมองดูคล้ายปลาและเมื่อปลาฉลามเข้าใจผิดกินเข้าไปก็จะก่อให้เกิดอันตรายได้




ที่มา
http://www.stou.ac.th/thai/offices/oce/knowledge/3-50(500)/page1-3-50(500).html

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

xxx 7 เม.ย. 51 เวลา 22:30 น. 2

เครื่องสำอางมหัศจรรย์!!!

ทำตาสองชั้นโดยไม่ต้องศัลยกรรม ด้วยราคาเพียง 220 บาท!!!

พร้อมกับเครื่องสำอางน่ารักๆมากมาย

เครื่องสำอางแบรนดังจาเกาหลี

Etude กับ Skinfood

แวะชมร้านของเราได้ที่

niceshop.weloveshopping.com

ทางร้านยังลงสินค้าไม่หมดคะ

ต้องการสั่งสินค้าที่ไม่มีในแคตตาล็อคสามารถสั่งได้เลยนะคะ

เดินทางช่วงสงกรานคะ

ราคาเป็นกันเอง นักศึกษาขายนักศึกษาไม่แพงอยู่แล้วคะ^^

ขอบคุณที่แวะมาชมสินค้าของทางร้านนะคะ

ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงมาได้ที่ niceshop@live.com คะ

0