Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

 

เอกลักษณ์หรือลักษณะประจำชาติ ในทางวิชาการมีความหมาย 2 ประการ คือ ประการแรก หมายถึง ลักษณะที่เป็นอุดมคติซึ่งสังคมต้องการให้คนในสังคมนั้น ยึดมั่นเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เป็นลักษณะที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งดีงามและให้การเทิดทูนยกย่อง อีกประการหนึ่ง หมายถึง ลักษณะนิสัยที่คนทั่วไปในสังคมนั้นแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ในการทำงานการพักผ่อนหย่อนใจ การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น และในการดำเนินชีวิตทั่วไปในสังคมเป็นลักษณะนิสัยที่พบในคนส่วนนใหญ่ของประเทศ และส่วนมากมักจะแสดงออกโดยไม่รู้ตัวเพราะเป็นเรื่องของความเคยชินที่ปฏิบัติกันมาอย่างนั้น

 

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่เด่น ๆ มีดังนี้

(1) ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไท คนไทยมีลักษณะนิสัยไม่ต้องการอยู่ในอำนาจบังคับของผู้อื่น ไม่ชอบการควบคุมเข้มงวด ไม่ชอบการกดขี่หรือให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวสั่งการในรายละเอียดในการทำงานและการดำเนินชีวิตส่วนตัว คนไทยเป็นคนที่หยิ่งและรักศักดิ์ศรีของตนเอง การบังคับน้ำใจกันหรือฝ่าฝืนความรู้สึกของกันและกันถือว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ

(2) การย้ำการเป็นตัวของตัวเองหรือปัจเจกบุคคลนิยม คือ การให้คุณค่าในความเป็นตัวของตัวเอง ความนิยมนี้ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งย้ำความสำคัญของตัวบุคคลเป็นพิเศษ ถือว่าบุคคลจะเป็นอย่างไรย่อมแล้วแต่กรรมของบุคคลนั้นในอดีต การย้ำสอนให้พึ่งตนเอง ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ส่วนการที่จะดีหรือชั่วนั้นอยู่ที่การกระทำของตนเองมิได้อยู่ที่ชาติกำเนิด

(3) ความรู้สึกมักน้อย สันโดษ และพอใจในสิ่งที่มีอยู่ คนไทยไม่มีความดิ้นรนทะเยอทะยานที่จะเอาอย่างคนอื่น ถือเสียว่าความสำเร็จของแต่ละคนเป็นเรื่องของบุญวาสนา ทุกคนอาจมีความสุขได้เท่าเทียมกันทั้งนั้น เพราะเป็นเรื่องภายในใจ

(4) การทำบุญและการประกอบการกุศล คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด จึงมักนิยมทำบุญและประกอบการกุศลโดยทั่วไป โดยถือว่าเป็นความสุขทางใจและเป็นการสะสมกุศลกรรมในปัจจุบันเพื่อหวังจะได้รับผลประโยชน์ในอนาคต

(5) การย้ำการหาความสุขจากชีวิต คนไทยมองชีวิตในแง่สวยงาม ความกลมกลืนและพยายามหาความสุขจากโลก ซึ่งตรงกันข้ามกับชาวตะวันตกที่มักจะมองชีวิตในแง่ของความขัดแย้งระหว่างอำนาจฝ่ายต่ำในร่างกายมนุษย์และอนาจฝ่ายสูง ซึ่งได้แก่ ศีลธรรมและความรับผิดชอบในใจคนไทยจึงไม่มีความขัดแย้งในใจเกี่ยวกับการปล่อยตนหาความสำราญ เพราะถือว่าอยู่ในธรรมชาติมนุษย์

(6) การย้ำการเคารพเชื่อฟังอำนาจ คนไทยนิยมการแสดงความนอบน้อมและเคารพ บุคคลผู้มีอำนาจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปตามแบบพิธีซึ่งแสดงฐานะสูงต่ำของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

(7) การย้ำความสุภาพอ่อนโยนและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนไทยเป็นมิตรกับทุกคนและมืชื่อเสีงในการต้อนรับ คนไทยนิยมความจริงและช่วยเหลือกันในการมีความสัมพันธระหว่างกันและไม่คิดเอาเปรียบผู้อื่น มีความเมตตาสงสารไม่ซ้ำเติมผู้แพ้ ถือเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งของคนไทย

(8) ความโอ่อ่า ลักษณะนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อมั่นและหยิ่งในเกียรติของตนเอง คนไทยนั้นถึงแม้ภายนอกจะดูฐานะต่ำ แต่ในใจจริงเต็มใจยอมรับว่าตัวเองต่ำกว่าผู้อื่น ถือว่าตัวเองมีความสามารถเท่าเทียมกับผู้อื่นถ้าตนมีโอกาสเช่ยเดียวกัน คนไทยไม่ยอมให้มีการดูถูกกันง่าย ๆ และถือว่าตนมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้อื่นในฐานะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง

ลักษณะที่กล่าวมานี้มักจะพบเห็นในพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนไทยลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมไทยและประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กัน ทำให้คนไทยมีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน

 

ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย ความสำคัญของวัฒนธรรมไทยอาจสรุปได้ดังนี้

(1) วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์ วัฒนธรรมไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงบผลของการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการสร้างแบบแผนของความคิด ความเชื่อและค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน

(2) วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมจะมีความรู้สึกผูกพันเดียวกัน เกิดความเป็นปึกแผ่น จงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคมทำให้สังคมอยู่รอด

(3) วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัวจะเห็นได้ว่าลักษณะของครอบครัวแต่ละสังคมต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมในสังคมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมไทยกำหนดเป็นแบบสามีภรรยาเดียว ในอีกสังคมหนึ่งกำหนดว่าชายอาจมีภรรยาได้หลายคน หรือหญิงอาจมีสามีได้หลายคน ความสัทพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงานเป็นสิ่งที่ดีหรือเป็นเรื่องขัดต่อศีลธรรม

(4) วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นมนุษย์ต้องแสวงหความรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้รับการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการใช้ทรัพยากรนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและถ่ายทอดจากสมาชิกรุ่นหนึ่งไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้โดยวัฒนธรรมของสังคม

(5) วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า หากสังคมใดมีวัฒนธรรมที่ดีงามเหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด อดทน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เป็นต้น สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

(6) วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น วัฒนธรรมการพบปะกันในสังคมไทย จะมีการยกมือไหว้กันแต่ในสังคมญี่ปุ่นใช้การคำนับกัน เป็นต้น



ที่เอามาลงนะค๊า ก็อยากให้ทุกคนรักษาสิ่งแบบนี้ไว้ ไม่งั้นความเป็นไทย  ที่แท้จริงจะสูญหายไป


PS.  มาเยี่ยมกันบางนะค่ะ รักนารุโตะค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

29 ความคิดเห็น

Angel of Death 7 ก.พ. 53 เวลา 21:18 น. 3

เนื้อหาดีนะครับ


PS.  เมฆหมอกเอย เจ้าจงบงบังความจริง เป็นหมอกที่ลึกลับ ไม่มีใครเข้าถึงเจ้าได้
0
ฮารุ 22 พ.ค. 54 เวลา 13:01 น. 15

แต่เรื่องบางเรื่องคนไทยแย่ที่สุด และในบางข้อคนไทยสมัยนี้มีน้อยนักที่จะเป็นแบบในหลายๆข้อนี้ ตริงๆ นะ ไม่โกหก

0