Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อายุ วรรณะ สุขะ พละ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อายุ วรรณะ สุขะ พละ

โดย พระ ดร. วรวิสาโลภิกขุ



สารบัญ



     บทนำ                                                                     3

     อายุ                                                                        5

     วรรณะ                                                                    9

     สุข                                                                         12

     พละ                                                                        16

     สวรรค์                                                                    18









คำนำ



พร 4 ประการ หรือ จตุรพิธพร อันประกอบด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ  เป็นคำอวยพรที่เราได้ยินกันบ่อย พรทั้ง 4 มีไว้สำหรับอวยพรกันเท่านั้นหรือ? เราจะสามารถสร้างพรทั้ง 4ให้เกิดกับตัวเราด้วยตัวเองได้หรือไม่?  คำถามเหล่านี้มีคำตอบแล้วในพระธรรมของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าเราสามารถบรรลุพรทั้ง 4 ได้ด้วยตัวเอง ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เล่มนี้  











พระ ดร. วรวิสาโลภิกขุ

วัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ. 2550



3------------------------

บทนำ



พุทธพจน์แห่งหนึ่งในอังคุตตรนิกาย ตรัสไว้ว่า

"ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นสิ่งที่คนปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นของหาได้ยากในโลก กล่าวคือ อายุ วรรณ สุข ยศ สวรรค์”

"ธรรม ๕ ประการนี้ เราไม่กล่าวว่าจะพึงได้มาด้วยการอ้อนวอน หรือด้วยความปรารถนา ถ้าได้ธรรม ๕ ประการนี้ จะมีได้ด้วยการอ้อนวอนหรือเพียงด้วยปรารถนาเอาแล้วไซร้

ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงพลาดขาดอะไร”

"อริยสาวกผู้ปรารถนาอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือมัวเพลิดเพลินกับอายุ เพราะเห็นแก่อายุนั้นเลย แต่อริยสาวกผู้ปรารถนาอายุ พึงดำเนินตามข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่ออายุ เพราะข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่ออายุ ที่ดำเนินตามแล้วนั่นแหละ จึงจะเป็นไปเพื่อการได้อายุ อริยสาวกนั้นจึงจะเป็นผู้ได้อายุไม่ว่าจะเป็นของทิพย์หรือของมนุษย์”

"อริยสาวกผู้ปรารถนา วรรณ สุข ยศ สวรรค์ ก็ไม่ควรอ้อนวอนหรือมัวเพลิดเพลินกับวรรณ สุข ยศ สวรรค์ เพราะเห็นแก่ วรรณ สุข ยศ สวรรค์นั้นเลย แต่อริยสาวกผู้ปรารถนา วรรณ สุข ยศ สวรรค์ พึงดำเนินข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อวรรณะ สุข ยศ สวรรค์"



“ดูก่อนคฤหบดี เราตถาคตไม่กล่าวความได้สิ่งที่สัตว์ปรารถนา

รักใคร่ เจริญใจ ทั้ง ๕ คือ อายุ วรรณะ ยศ สุข สวรรค์ เหตุความวิงวอนปรารถนาแล้วไซร้ ใครในโลกนี้จะถึงเสื่อมจากสิ่งไร





-4----------------------

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ใคร่สิ่งเหล่านั้น

ไม่ควรจะวิงวอนและเพลิดเพลินยินดีสิ่งเหล่านั้น และไม่ควรทำความวิงวองปรารถนา เพราะเหตุสิ่งเหล่านั้น อริยสาวกนั้นพึงปฏิบัติ ข้อปฏิบัติที่จะให้สิ่งเหล่านนั้นเกิดขึ้น



[อนาถปิณฑิกสูตร ปัญจกนิบาตอังคุตตรนิกาย 22/51]



[กล่าวง่ายๆ ก็คือ การที่จะสมหวังให้อายุยืน ผิวพรรณงาม มียศ มีสุข และไปสู่สวรรค์ได้นั้น ไม่ใช่จะได้มาด้วยการสวดอ้อนวอน แต่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักธรรม จึงจะได้สิ่งที่ปรารถนาดังกล่าว ได้รับผลทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า]



          พุทธพจน์ที่แสดงอานิสงส์ เช่นนี้มีหลายแห่ง เป็นต้นว่า
พระพุทธองค์ตรัสว่า บุคคลย่อมเป็นผู้ :-



มีอายุสั้น เพราะฆ่าสัตว์ มีอายุยืนเพราะไม่ฆ่าสัตว์
มีโรคน้อย เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ มีโรคมากเพระเบียดเบียนสัตว์
มีผิวพรรณทราม เพราะมักโกรธ แค้น พยาบาท มีผิวพรรณดี เพราะไม่โกรธ แค้น พยาบาท
มีศักดิต่ำ เพราะมักริษยา มีศักดิ (ยศ) สูง เพราะไม่มักริษยา
มีโภคทรัพย์น้อย เพราะไม่เอื้อเฟื้อเจือจาน มีโภคทรัพย์มาก เพราะรู้จักเอื้อเฟื้อเจือจาน
เกิดในตระกูลต่ำ เพราะกระด้างถือตัว ไม่รู้จักอ่อนน้อม เกิดในตระกูลสูง เพราะไม่กระด้าง ไม่ถือตัว รู้จักอ่อนน้อม
มีปัญญาทราม เพราะไม่ไต่ถาม มีปัญญามาก เพราะรู้จักไต่ถาม ไฝ่รู้อยู่เสมอ




-5----------------------

เมื่อคนทั่วไปหรือคนส่วนใหญ่ มีเมตตา กรุณาต่อกัน มีความไม่เบียดเบียน มีไมตรีจิต รักใคร่ ปรารถนาดีต่อกัน กระแสจิตแห่งความรักความเมตตาก็จะกระจายไปทั่วสังคมก่อให้เกิดความสงบสุข ความร่มเย็นแผ่ปกคลุมอยู่ทั่วไป จะไปไหน ทำอะไร ก็ไม่ต้องคอยเสียวสะดุ้งหวาดระแวง มีฝรั่งเคยเล่านิทานให้ฟังว่า มีชายคนหนึ่ง เคยไปเที่ยวนรก-สวรรค์มา ในนรกมีแต่พวกผอมโซ เวลาเขาเอาอาหารมาแจก ก็กินไม่สะดวก เพราะช้อนมีด้ามจับยาวมาก และจับได้เฉพาะปลายด้ามเท่านั้น ตักเข้าปากตัวเองแสนลำบาก แต่พอไปเที่ยวสวรรค์ทุกคนอ้วนท้วน แม้ว่าทุกคนจะมีช้อนด้ามยาวเหมือนในนรก แต่ก็ใช้วิธีตักข้าวป้อนให้คนอื่นแล้วให้คนอื่นป้อนข้าวให้กับตัวเอง ทำอย่างนี้ทุกคนก็อายุยืนยาวทั่วกัน ลองมองโลกอย่างที่เราเมตตาต่อลูกของเรา ถ้าเด็กซนเราก็มองในแง่บวกว่าเป็นเด็กฉลาด ไม่ได้มองว่าเป็นเด็กดื้อ อย่างน้อยก็ดีกว่าเด็กซึมกระทือทั้งวัน อันนี้แก้ยากกว่าเยอะ

ส่วนทางฝ่ายผู้ให้ความเมตตา กรุณาเอง ก็ชื่อว่าได้ประกอบกุศลธรรม ซึ่งก่อให้เกิดความปีติยินดี และความมีจิตใจเบิกบานผ่องใส เป็นพลังส่งเสริมอายุ สามารถช่วยหนุนให้มีอายุยืนยาวได้ เมื่อให้อายุแก่ผู้อื่นแล้ว ตนเองก็เป็นผู้ได้อายุด้วยเช่นเดียวกัน




                     อายุ





พุทธพจน์ "อานนท์! ผู้อบรมอิทธิบาท 4 มาอย่างดีแล้วทำ

จนแคล่วคล่องแล้วอย่างเรานี้ ถ้าปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึง 1 กัป (คือ 120 ปี)ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ "





        อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  ฉันทะนั้นก็คือ ความพึงพอใจ (น่าจะครอบคลุมถึงเรื่องความรักความเอื้ออาทรด้วย) ชีวิตยังน่าเพลิดเพลินอภิรมย์ คนสูงอายุต้องหากิจกรรมที่รักที่ชอบและเพลิดเพลินให้ทำ เช่น งานอดิเรกที่ชอบ แวดล้อมด้วยลูกๆ หลานๆ ที่ตนรัก ทำกิจกรรมที่ชอบ อาจไปเล่นกีฬาตอนเช้า หรือเลี้ยงสัตว์น่ารักๆ  วิริยะ คือความพากเพียร อันความพากเพียรมีความแปลกอยู่อย่างคือ เมื่อทำสิ่งใดบ่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญ มั่นใจ และกล้าหาญตามมา     (วีระ    มีอีกความหมายว่ากล้าหาญ มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป)

-6----------------------



คนสูงอายุหากยังมีคนเห็นคุณค่า ให้ความสำคัญก็มีกำลังใจที่จะอยู่กับเราไปนานๆ แม้จะอ่อนกำลังลง แต่สมองและประสบการณ์ก็ยังมีประโยชน์ ควรส่งเสริมให้ท่านใช้ความสามารถประสบการณ์ให้เป็นประโยชน์ต่อไป จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก คำนี้ หมายรวมถึงคำว่า สมาธิ ด้วย ดูตัวอย่างเช่นปู่เย็นแห่งเพชรบุรี อายุร้อยกว่า เพราะมีสมาธิกับการตกปลา สมมติว่าลุงคนหนึ่งมีหลานที่แกมีฉันทะมาก แกก็มีวิริยะพากเพียรดูแลเอาใจใส่ทุกเวลานาที และมีจิตตะตั้งใจมั่น อยากอยู่ต่อไปอีกสักหน่อยเพื่อมีความสุขกับหลานที่แกรัก ส่วนวิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ หมายรวมถึง ปัญญาด้วย ทีนี้คุณลุงคนเก่าก็คงอยู่เห็นประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป จบ ป.4 ก็ขออยู่ต่อเพื่อให้ได้เห็นหลานจบ ป. 6 และชั้นอื่นๆ ไปเรื่อยๆ กล่าวโดยสรุป เรื่อง อิทธิบาท 4 เป็นเรื่องของพลังจิตเหนือร่างกาย การสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง มีส่วนอย่างยิ่งที่จะทำให้กำลังกายเข้มแข็งตามไปด้วย        



ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมที่ช่วยให้อายุยืน ๕ ประการคือ
1. สัปปายการี  คือสิ่งต่างๆ ที่สบายๆ เป็นที่เกื้อกูลแก่สุขภาพ  เช่น ทำงานในที่อากาศปลอดโปร่ง ไม่เครียดกับงาน ออกกำลังบ้าง หาเวลาไปเที่ยวบ้าง

2. สัปปาเย มัตตัญญู ในสิ่งที่สบายนั้น ก็ต้องรู้จักทำแต่พอดี เช่น การนอนดีสำหรับผู้สูงอายุ แต่นอนทั้งวันโดยไม่ออกกำลังก็ไม่ไหวเหมือนกัน  
3. ปริณตโภชี คือการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น อาหารบด  รับประทานผัก ผลไม้ช่วยย่อย หลีกเลี่ยงสิ่งที่ย่อยยาก เช่น เหล้า และของหมักดอง
4. กาลจารี ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมในเรื่องเวลา เช่น รู้จักจัดเวลา ทำพอดีเวลา ไม่ควรหักโหมเกินกำลังไม่ว่าเรื่องงานหรือการออกกำลัง
5. พรหมจารี ควรถือพรหมจรรย์ตามความเหมาะสม รู้จักปล่อยวางบ้าง ปฏิบัติธรรมบ้าง ถือศิลกินเจตามควร และขัดเกล้าจิตใจให้กิเลสเบาบางลง

-7----------------------



อีกตัวอย่างพุทธโอวาทที่ประทานแก่พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล ในเรื่องธรรมที่ทำให้อายุยืนไว้ว่า "คนที่มีสติอยู่ตลอดเวลา รู้จักประมาณในการบริโภค ย่อมมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า ครองอายุอยู่ได้นาน"

หลังจากพระเจ้าโกศลได้ฟังข้อธรรมนี้ พระองค์ก็มิได้ทรงรอช้า ทรงมอบหมายเด็กคนหนึ่งท่องจำพุทธโอวาทดังกล่าวไว้ และให้คอยเตือนสติตอนเสวยให้เสวยอย่างพอเพียง เป็นผลให้พระองค์ ในเวลาต่อมาก็ทรงมีพระวรกายแข็งแรง ทรงสามารถวิ่งขับจับม้าล่าสัตว์ได้ อันนี้คำตอบไม่ยาก คนอ้วนนั้นแพทย์ก็ยืนยันแล้วว่ามีโรคแทรกซ้อนได้งาน อีกทั้งคนอ้วนมักมีเส้นเลือดอุดตันด้ยไขมัน ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารจากเลือดเพียงพอก็ไม่แข็งแรง ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
          พระพุทธ์องค์ทรงตรัสย้ำเตือนอยู่เสมอว่า ให้บริโภคสิ่งต่าง ๆ ด้วยโยนิโสมนสิการ คือ ต้องบริโภคอย่างฉลาดคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าความอร่อยและไม่เกิดโทษ คนที่อายุมากขึ้นเข้าหลัก 40 อ้วนได้ง่าย ต้องลดอาหารพวกแป้ง ไขมัน อาหารรสจัด และของหวานจัด เพราะร่างกายต้องการอาหารประเภทนี้น้อยลง ควรลดปริมาณอาหารมื้อเย็นให้น้อยลง เนื่องจากระดับ Metabolism (การเผาผลาญอาหารของร่างกาย) หลังเวลาเที่ยงวันลดลง ผลก็คือน้ำย่อยประเภทต่างๆ จะหลั่งออกมาน้อย กินเข้าไปมาก อาหารก็ไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องผูก เป็นไข้ ตามมา ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวของผู้ใหญ่น้อยกว่าเด็ก อาหารที่ไม่ได้ถูกใช้ก็จะไปสะสมที่พุงทำให้ลงพุงกันมาก  นอกจากนั้นก็ควรเพิ่มอาหารพวกผักสด ผลไม้ ที่มีสารไฟเบอร์ช่วยย่อย ที่สำคัญอย่ารีบกลืน ควรเคี่ยวให้นานขึ้นอีกหน่อย เพราะจะทำให้อาหารละเอียดมากขึ้น และน้ำลายออกมาผสมกับอาหารมากขึ้น กระเพาะจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก ไม่เป็นโรคกระเพาะ  โรคลำใส้อุดตัน และมะเร็งสำใส้

-8-------------------------





         พระพุทธองค์ตรัสว่า " การที่บุคคลละปาณาติบาต เว้นขาดจากการทำลายชีวิต วางทัณฑะ วางศัสตร มีความละอายต่อบาป ประกอบด้วยเมตตา ใฝ่ใจช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ นี้คือข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืน"


                                                                                                         [อายุยืนอย่างมีคุณค่า" พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)]






      [ความเมตตา ไม่อาฆาต ไม่เบียดเบียน ทำให้ไม่เครียด ซึ่งคนไม่เครียดก็มีแนวโน้มที่จะอายุยืนกว่าคนที่เครียด]








โพชฌงค์ : คาถาช่วยให้หายป่วย(และอายุยืน)



          ตามตำนานกล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระมหากัสสปะป่วยหนัก พระพุทธองค์ได้เสด็จไปเยี่ยมและทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการให้พระมหากัสสปะฟัง เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระมหากัสสปะ ก็หายจากอาการไข้โดยพลันเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง  และอีกครั้งหนึ่ง พระมหาโมคคัลป่วยหนัก พระพุทธองค์ได้แสดงโพชฌงค์ให้ฟังและทำให้พระมหาโมคคัลหายป่วยเช่นกัน

โพชฌงค์ทั้ง 7 ประการ ประกอบด้วย

         1.สติ คือความระลึกได้สติมีหน้าที่ดึงจิตให้ติดไว้กับกับสิ่งหนึ่งๆ ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าต้องการให้หายป่วยก็ให้ตั้งจิตไว้ที่การหายเจ็บป่วย ไม่ต้องไปห่วงเรื่องใดๆ แต่ควรสนใจแต่เรื่องเฉพาะหน้าคือวิธีการรักษาสุขภาพของตนเอง ปลีกวิเวกให้ตนได้รับกายพักผ่อนทั้งกายและใจอย่างแท้จริง จิตที่สงบเป็นสิ่งจำเป็นยามเจ็บป่วย มีผลต่อร่างกายช่วยให้ฟื้นไข้ได้เร็วขึ้น

           2.ธัมมวิจยะ คือ ธรรมวิจัย หรือวิจัยธรรม รู้จักแยกแยะและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในเรื่องต่างๆ คือมองให้เห็นสภาวะธรรมในเรื่องนั้นๆ อย่างแท้จริง จะสามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่งถูกยิงด้วยธนูลูกศรปักคาอกอยู่  ชายคนนั้นก็เฝ้า

-9---------------



ถามเพื่อนข้างๆ ว่าลูกศรทำด้วยอะไร มีพิษไหม ใครเป็นคนยิง ยิงมาจากทิศใด แทนที่จะให้เพื่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล สุดท้ายชายคนดังกล่าวก็ตาย เพราะไม่รู้จักแยกแยะว่าอะไรควรรู้ หรือไม่ควรรู้ อะไรควรทำก่อน-หลัง อะไรสำคัญมาก-น้อย เรามักตื่นกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ แล้วไขว่คว้าเปะปะเอาสิ่งต่างๆ เช่น ไสยศาสตร์มาระงับความกลัวของตน แต่ก็ไม่สามารถระงับความกลัวได้อย่างเด็ดขาด เพราะโรคที่รักษายากที่สุดคือโรคทางจิตวิญญาณ ที่ต้องรักษาด้วยพุทธโอสถ หรือพระธรรมของพระพุทธองค์เท่านั้นจึงจะหาย

3.วิริยะ มาจากคำว่า วีระ คือ ความกล้า ต้องปลุกใจตัวเองว่าจะต้องสู้ ทำให้ใจเรามีศรัทธา จนเกิดความเพียรที่จะสู้ ควรพูดให้กำลังใจคนไข้อยู่เสมอเพื่อให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป
       4.ปิติ คือความปลาบปลื้ม ควรให้คนไข้ระลึกถึงคุณความดีที่เขาได้เคยสร้างมา เช่น การสร้างวัด การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เพื่อสร้างกำลังใจ เห็นคุณค่าของตนเอง และมีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป
       5.ปัสสัทธิความผ่อนคลายไม่กระสับกระส่าย คนป่วยไม่ควรเครียด ควรอยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย หากิจกรรมผ่อนคลายทำ เช่น เล่นกับเด็กๆ ฟังธรรมะ ฟังเพลง หรือทำงานอดิเรกที่รักที่ชอบ

       6.สมาธิความตั้งมั่นของจิต เป็นจิตที่นิ่งซึ่งควรแก่การทำการทั้งปวง สมาธิเปรียบดังหลอดไฟที่ฉายแสงออกทุกทิศทุกทาง หากเรานำกระจกไปวางไว้ด้านหลังแสงก็จะรวมตัวกันมาออกที่ด้านหน้าด้านเดียว ทำให้แสง (สมาธิ) มีความเข้ม (แข็ง) ก่อให้เกิดความสดใส (แห่งดวงจิต) ลดความหมองมัว ทำให้จิตใจและร่างกายแข้มแข็งตามไปด้วย
       7.อุเบกขาจิตที่วางเฉยเป็นจิตที่รู้ทันจึงเฉยนิ่ง รู้จักปล่อยวางบ้างก็จะไม่เครียด
       เมื่อประกอบกันแล้วจึงเป็นธรรมโอสถอันวิเศษ ทำให้จิตง่ายต่อการเข้าสู่สภาวะธรรมอันสงบ นิ่ง มีกำลังใจที่จะต่อสู่กับชีวิตต่อไป                                                                  



วรรณะ

       พระพุทธองค์ตรัสว่า บุคคลย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม เพราะมักโกรธ แค้น พยาบาท มีผิวพรรณดี เพราะไม่โกรธ แค้น พยาบาท

[จูฬกัมมวิภังคสูตร ม. อุ. 14/376]

-10----------------

  ทางการแพทย์ยืนยันว่า ยามที่เราโกรธร่างกายจะขับสารพิษออกมาทางผิวหนัง ผิวหนังถูกทำลายด้วยสารพิษอยู่เสมอ หน้าตาก็หม่นหมองด้วยความโกรธ

   ความโกรธเป็นอย่างไร

ความโกรธก็จะเริ่มจากอ่อนไปแก่  (1) อ่อนสุดเรียกว่า “รำคาญ” (ก่อนจะทำให้ใครโกรธต้องเริ่มจากการสร้างความรำคาญก่อน) ต่อไปก็พัฒนาตัวเป็น (2)  ความโกรธ บันดาลโทสะ งุ่นง่าน อันดับต่อไปก็กลายเป็น (3)  ผูกโกรธ ผูกโกรธไว้ เป็นความอาฆาต ความพยาบาทจองเวร



ทำไมถึงโกรธ

  ความโกรธเกิดจากอะไร? ความโกรธมาจากตัณหา  ตัณหา คือ ความอยาก  ตัณหานี้มี 3 แบบ  คือ



(1)                         1.กามตัณหา คืออยากในสิ่งน่ารักน่าใคร่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเพศตรงกันข้าม พอไม่ได้ตามที่อยาก

ก็โกรธ  

     2.ภวตัณหา  คืออยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ โดยมากก็อยาก

ดีอยากเด่น เมื่อมันถูกเหยียดหยาม หรือว่ามันถูกดูถูก

ดูหมิ่น มันไม่ได้ดีไม่ได้เด่น ไม่ได้แสดงปมเขื่องอะไร

ทำนองนี้ ก็โกรธ รู้สึกถูกขัดใจ เพราะไม่ได้โม้

3. วิภวตัณหา คือความอยากที่จะไม่ให้มีไม่ให้เป็น

ถ้ามีอะไรที่เราไม่อยากเห็น ไม่อยากฟัง ไม่อยากดู

ไม่อยากให้เป็น โผล่มา เราก็โกรธแล้ว คือขัดใจ

เช่นถูกขัดคอ หรือถูกยื้อแย่งอะไรที่เราอยากจะสงวน

แล้วก็จะเลยไปถึงกลัวถึงเป็นทุกข์ต่อๆไป



ความโกรธนั้นมีเสน่ห์

ความโกรธมีเสน่ห์  ก็เพราะว่ามันเป็นความอร่อยของคนโง่  คนที่ชอบโกรธเพราะว่ามันอร่อย   ตอนกำลังโกรธอยู่นั้นมันรู้สึกรสอร่อยและมันส์มาก   แล้วเขาก็ติดในรสอร่อยของการได้โกรธ  ได้ด่า  ได้ตี  ฉะนั้น  คนจึงชอบด่าคน  ชอบตีคน (ชอบรังแกและทรมานคนที่อ่อนแอกว่า) หรือในสมัยที่มีทาสก็ทำแก่คนที่เป็นทาสได้ตามต้องการ   การตี  การด่า  กับพวกทาสน่ะอร่อยแก่จิตใจของนาย  นี่ คือเสน่ห์ของความโกรธ (ในทำนองกลับกันความโกรธก็เป็นการสร้างเสนห์ได้ เหมือนบทเพลงที่ว่า “ยิ่งงอนยิ่งงาม”  โดยเฉพาะคนที่คิดว่าตัวเองสวย ก็คิดว่ายิ่งงอนมาก ยิ่งมีคนตามงอนง้อ)

-11--------------

วิธีกำจัดความโกรธ

11

1. ขันติ แปลว่า   ความอดกลั้น ต้องฝึกให้อดได้  รอได้  คอยได้ ความโกรธจะลดลง ต้องลองฝึกให้มีเมตตาเห็นทุกคนเหมือนลูกเหมือนหลาน เด็กสมัยนี้ขันติไม่มี อดไม่ได้ รอไม่ได้ คอยไม่ได้ สอบตกวิชาสุดท้ายก็ฆ่าตัวตาย แฟนทิ้งก็ฆ่าตัวตาย ไม่คิดบ้างเลยว่า พรุ่งนี้ยังแก้ตัวได้ ยังสอบใหม่ได้ ยังหาแฟนใหม่ได้

2. ทมะ ทมะคือการบังคับตัวให้หยุดไว้ก่อน ช้าก่อน เป็นการระงับโกรธเบื้องต้น เช่น อาจนับ 1 ถึง 100 ในใจเมื่อจะโกรธ หรือสมมติตัวเองความรู้สึกช้า ฟังคำด่าไม่เข้าใจ  ก็หน่วงให้โกรธช้าลง หรือเครียดมากก็ลาหยุดสักวันก็ช่วยได้

3. ปัญญา ปัญญา  คือตัวรู้  รอบรู้ไปในสิ่งที่ควรรู้ เพื่อแก้ปัญหา ทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายอย่างสงบ อย่าหุนหันพลันแล่นแก้ปัญหาด้วยอารมณ์

4. สติ คือความระลึกได้ สติมีหน้าที่ดึงจิตให้ติดไว้กับกับสิ่งหนึ่งๆ มีสติรู้เท่าทันก่อนก็ไม่ค่อยโกรธ เช่น เช่นว่าเวลาขับรถต้องดึงสติมามองอยู่ตรงข้างหน้าเสมอก็จะไม่เกิดอุบัติเหตุ คนเราอาจเผลอได้แต่ต้องไม่บ่อย

5. สังวร คือการป้องกัน กันไว้ดีกว่าแก้ เช่น เลี่ยงที่จะพบปะเจรจากับคนพาล

6. สัจจาธิษฐาน คืออธิษฐานจิตให้มีสัจจะที่จะทำอย่างนั้น เช่น ตั้งใจว่าจะไม่โกรธ หรือจะยึดหลักอหิงสา

7. จาคะ คือการสละทางใจที่เป็นนามธรรมนับเป็นทานชั้นสูง การบริจาคเงินสร้างวัดถือเป็นบุญ แต่การบริจาคความโกรธ ความเห็นแก่ตัว ความถือตัวถือเป็นกุศลอย่างแรง และหากสละ “อัตตา” ได้ผู้นั้นก็จะไม่โกรธเลย

8. หิริโอตตัปะ คือละอายบาปและกลัวที่จะทำบาป ซึ่งความโกรธก็เป็นบาปอย่างหนึ่ง ควรละอาย มีไว้รังแต่จะสร้างความฉิบหาย

9. กัมมัสสกตาญาณ คือความที่สัตว์มีผลกรรมเป็นของตน ผู้ผูกโกรธย่อมได้รับโกรธตอบ แม้แต่ในศาสนาคริสต์ยังกล่าวว่า การแก้แค้นเป็นหน้าที่ของพระเจ้า (ตามทัศนะของท่านพุทธทาส พระเจ้าคือกฎแห่งกรรม) ไม่ใช่หน้าที่ของเรา



-----------------

อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ              อชินิ มํ อหาสิ มํ
เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ            เวรํ เตสูปสมฺมติ

ใครไม่คิดอาฆาตว่า  "มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา" เวรของเขาย่อมระงับ



-------------

-12----------------------

12

10. มรณานุสสติ พระพุทธองค์สอนให้ระลึกถึงความตายเสมอจะทำให้ความโกรธลดลง เป็นเรื่องแปลก คนที่เคยมีประสบการณ์ตายแล้วฟื้นมักไม่ค่อยโกรธใคร  (อาจเป็นเพราะได้ตระหนักความจริงที่ว่าชีวิตแสนสั้นนัก) แต่จะเร่งสร้างความดีให้เต็มที่

     [เก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง: พุทธทาสภิกขุ]

     “ดูก่อน (ภิกษุ) ผัคคุนะ เพราะเหตุนั้นแล ถ้าใครๆ พึงติท่านต่อหน้า ตบด้วยฝ่ามือ ขว้างด้วยก้อนดิน ตีด้วยท่อนไม้ หรือฟันด้วยมีด ท่านพึงละความพอใจ ที่จะคิดนึกแบบชาวบ้านเสีย พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจะไม่ปล่อยให้จิตแปรปรวน จักไม่เปล่งวาจาหยาบคาย หวังประโยชน์และความอนุเคราะห์ มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่ตกอยู่ในอำนาจของโทสะ ดังนี้เถิด”

[กกจูปมสูตร 12/250]



สุข



      การให้ปัน 1 การพูดไพเราะ 1 การบำเพ็ญประโยชน์แก่กัน 1 การวางตนให้เหมาะสมตามธรรม (ตามกาละเทสะ) 1  เหล่านี้

แหละเป็นธรรมเครื่องสงเคราะห์กันในโลก

เหมือนลิ่มสลักเป็นเครื่องยึดรถที่แล่นไปอยู่ฉะนั้น

[จตุกกกังคุตตร 21/42]

(ข้อธรรมนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าความสุขเป็นสิ่งที่แบ่งปันกันได้)



ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานชื่อว่าให้

ความสุข ผู้ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ



[สังยุตตนิกาย สคาวรรค 15/44]

ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์

ละความชนะความแพ้เสียได้ ย่อมสงบระงับ นอนเป็นสุข

     ลองถามตัวเราเองว่า เรารู้สึกว่ารถของเราเก่าเมื่อไร คำตอบก็คือเมื่อเพื่อนบ้านซื้อรถใหม่ คนเราก็เป็นเช่นนี้เอง อยู่เฉยๆ

ไม่ได้

ชอบเอาความทุกข็มาใส่ตัวเอง

แส่ไปอิจฉาคนอื่น ต้องดิ้นรนเอาชนะด้วยการผ่อนรถใหม่มาใช้บ้าง หรือบางคนทนไม่ไหวก็แอบไปกรีดสีรถของเพื่อนเสียรอบคันเลย

-13----------

ท่านทั้งหลาย จงดำเนินไปตามทางนั้น (มรรค 8)  ซึ่งจะทำมารให้หลง(ทางตามเราไม่ทัน)ได้ ท่านดำเนินตามทางนั้นแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้ (พบสุข)  เราบอกทางให้เพื่อให้รู้วิธีถอนลูกศร (คือกิเลส) ความเพียรที่เป็นหน้าที่ท่านทั้งหลายควรทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก (ทาง) ผู้หมั่นพินิจปฏิบัติตามจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร

[ธัมบท 25/51]

          ในเรื่องมรรค 8 ได้กล่าวไว้แล้วในหน้า 21 ของหนังสือฉบับนี้



         ถ้าบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้เพราะการรดน้ำ (ศักดิ์สิทธิ) แล้ว กบ เต่า นาก จระเข้ และสัตว์น้ำทั้งปวง (ในแม่น้ำ) ก็จักไปสวรรค์ได้เป็นแน่

[ปุณณอกาเถรีภาษิต 26/475]



(คนเราจะพ้นทุกข์-มีสุขได้ต้องทำด้วยตนเอง จะพึ่งสิ่งศักดิสิทธิหาได้ไม่)



         ดูก่อนคฤหบดี ความสุข 4 อย่างที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม พึงได้รับตามกาล ตามสมัย คือ 1. สุขเกิดแต่การมีทรัพย์ 2. สุขเกิดแต่การได้ใช้จ่ายทรัพย์ 3. สุขเกิดแต่การไม่เป็นหนี้ 4. สุขเกิดแต่การการประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

[จตุกกังคุตตร 21/90]



         ธรรมของผู้ครองเรือน (ให้เป็นสุข) 4 ประการ คือ 1. สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน 2. ทมะ ความรู้จักข่มจิตของตน 3. ขันติ ความรู้จักอดทน 4. จาคะ ความรู้จักให้ปันเผื่อแผ่

[สังยุตตนิกาย สคาถวรรค 15/316]

         ดูก่อนบุตรแห่งคฤหบดี สาวกของพระอริยเจ้าย่อมไม่เสพอบายมุข (ปากทางแห่งความเสื่อม) 6 อย่าง คือ 1. ดื่มน้ำเมา 2. เที่ยวกลางคืน 3. เที่ยวดูการเล่น 4. เล่นการพนัน 5. คบคนชั่วเป็นมิตร 6. เกียจคร้านการทำงาน

[สิงคาลกสูตร 11/196]

คำว่าพุทธะ นั้น หมายถึงการเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นั้นคือ รู้ทันมายาทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นจากความงมงาย และผู้เบิกบานด้วยปัญญาด้วยการฝึกฝนให้ปัญญาเบ่งบานอยู่เสมอ ดังนั้นศิษย์ของตถาคตย่อมไม่เสพในอบายทั้ง 6 ที่เป็นศัตรูต่อการเป็นพุทธะ

14----------

คาถาเศรษฐีมีสุข



คำสอนของหลวงพ่อพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว เรื่อง “จตุคำ:”  คาถา “รวยโคตร”

ทำให้ได้ข้อคิดหลายอย่าง

คาถาเศรษฐี คือ จตุคำ ประกอบด้วย 4 คำ  คือ อุ อา กา สะ"อุ" มาจากคำว่า "อุฏฐานสัมปทา" คือ

พร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ในการประกอบสัมมาอาชีพ หรือจำง่ายๆ ว่า ขยันหา "อา" มาจากคำว่า

อารักขสัมปทา คือ การเก็บรักษาทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบธรรม หรือจำง่ายๆ ว่า ขยันเก็บ "กะ"

มาจากคำว่า "กัลยาณมิตตา" คือ การคบหาสมาคมกับคนดีมีคุณธรรม มีน้ำใจ และเป็นเพื่อนที่ไม่พา

ไปผลาญทรัพย์ หรือจำง่าย ๆ ว่า เลือกคบ "สะ" มาจากคำว่า “สมชีวิตา” คือ การใช้จ่ายอย่างประหยัดพอเพียง

ใช้ชีวิตสมถะ ไม่ฟุ่มเฟือย หรือจำง่ายๆ ว่า เลือกใช้

โดยสรุป ก็คือ ขยันหา ขยันเก็บ เลือกคบ เลือกใช้

                                                                                                                                                          [พระพยอม กัลยาโณ เทศนา]

ดูก่อนพราหมณ์ ปากทางแห่งความเสื่อมแห่ง

โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว มี 4 อย่าง คือ

1. ความเป็นนักเลงผู้หญิง 2. ความเป็นนักเลงสุรา

3. ความเป็นนักเลงการพนัน 4. ความคบคนชั่วเป็นมิตร  

                                                                                                                                                                                                      [จตุกกังคุตตร 21/296]





ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง [ขุ.ธ. 25/29]

ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก [ขุ.ธ. 25/86]

ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี [ขุ.ธ. 25/42]

จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์

ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล [ขุ.ธ. 25/42]

ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข [ว.ว.]

ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำสุขมาให้[ขุ.ธ. 25/41]

-15--------------------

15

ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข [ขุ. อิติ. 25/238].



กุศลกรรมบท 10 ประกอบด้วย  
การเว้นจากการฆ่าสัตว์
การเว้นจากการลักทรัพย์
การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
การเว้นจากการพูดเท็จ
การเว้นจากการพูดคำหยาบคาย
การเว้นจากการพูดยุยงให้คนแตกสามัคคี

การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
การเว้นจากความคิดอยากได้ทรัพย์สินของคนอื่น
การเว้นจากการผูกโกรธ คิดร้าย พยาบาท
การเว้นจากความเห็นผิด เชื่อกรรม ผลของกรรม และคำสอนของพระพุทธเจ้า
                                                                                         [พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 631]

-16---------------

           พละ

                           พละ 5 (กำลัง)

     ประกอบด้วย ศรัทธา 1 ความเพียร 1 สติ 1 สมาธิ 1 ปัญญา 1 [จงใช้พละทั้ง 5 ในการทำงานทุกอย่าง กำลังก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ]    

     ในสาราณียธรรม 6 ได้กล่าวว่า ธรรมเพื่อสร้าง “พลัง”

สามัคคีไว้ ดังนี้

1. เมตตามโนกรรม คือ คิดเชิงบวก ให้โอกาสเสมอ

มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน มีความเมตตาให้อภัย  

ไม่อิจฉาริษยา ไม่มีอคติ ไม่โกรธแค้น

2. เมตตาวจีกรรม คือ พูดในสิ่งดีงาม

พูดด้วยความปรารถนาดี รู้จักการพูดให้กำลังใจ

กันและกัน เมื่อเพื่อนผิดพลาดหรือเศร้าโศก

ไม่นินทาว่าร้าย พูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ รักษาคำพูด

3. เมตตากายกรรม คือ ทำดีต่อกัน

สนับสนุนช่วยเหลือกันทาง

ด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกัน ให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันอยู่ตลอดเวลา

4. สาธารณโภคี คือการ แบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความ

ยุติธรรม ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

5. สีลสามัญญตา หมายถึง การปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับหรือ

วินัยต่างๆอย่างเดียวกัน เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใดๆทั้งปวง

6. ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง มีความคิดเห็นเป็น

อย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน

ปรับมุมมองให้ตรงกัน เอางใจเขามาใส่ใจเรา

รู้จักแสวงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง ของกันและกัน

ไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่

รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ

-17------------

ความสามัคคีจะมีได้อย่างยืนนาน จะต้องมีการสร้างความรักความเข้าใจ เอื้ออาทรระหว่างกัน ในพุทธโอวาทได้กล่าวถึงสังคหวัตถุ 4 อันเป็นธรรมเพื่อการสร้างความรักใคร่ เอื้ออาทรกัน ดังนี้

สังคหวัตถุ 4

(ธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อน)

1.     ทาน การให้ เอื้อเฟื้อ ให้ความรู้ แนะนำ สิ่งเหล่านี้เป็นเพื่อการเกื้อกูลกันให้เกิดความก้าวหน้าในการดำรงชีวิต

2.     ปิยวาจา สุภาพ สมานสามัคคี ไม่พูดในสิ่งที่กระทบจิตใจของเพื่อ และไม่ยุแยง ใส่ร้ายใครทั้งต่อหน้าและลับหลัง

3.     อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ แม้จะไม่มีใครร้องขอ

4.     สมานัตตตา ความเสมอต้นเสมอปลาย แม้จะถูกกระทบกระทั่งกันโดยไม่ตั้งใจ ก็ไม่ถือโทษ ให้อภัย

อาวุธ 3 (สิ่งที่ใช้ในการต่อสู้)

1.     สุตาวุธ อาวุธคือการฟัง ผู้มีปัญญาจะต้องเป็นพหูสูตร ได้รู้ ได้ฟังมามากกว่าคนทั่วไป

2.     ปวิเวกาวุธ อาวุธคือความสงบ ไม่หวั่นไหวง่าย ไม่หูเบา

3.     ปัญญาวุธ อาวุธคือปัญญา รู้ลึก รู้จริง แก้ปัญหาด้วยเหตุผล

       ในคราวที่พระเนรศวรมหาราชยังเป็นองค์ประกันหงสา ได้รับมอบหมายจากเจ้ากรุงหงสาให้ไปตีเมืองคังพร้อมกับนันทบุเรง และมหาอุปราชนัดจิงหน่อง สองคนหลังเข้าตีเมืองคังก่อนแต่ก็พ่ายแพ้กลับมา เพราะเมืองคังตั้งอยู่บนเขาชัยภูมิเป็นต่อ  ถึงคราวพระนเรศ ทรงใช้สุตาวุธเพราะพระองค์รู้ภาษาไทยใหญ่ จึงทราบจากชาวบ้านว่าเมืองคังมีทางลับด้านหลังที่ใช้เข้าออกได้แต่มีทหารคุมอยู่น้อย อีกทั้งพระองค์ขยันเรียนพิชัยยุทธ์มากกว่าคนอื่น พระองค์ใช้ปวิเวกาวุธ ตั้งอยู่ในความสงบ ไม่หวั่นไหวต่อคำสบประมาท และทรงใช้ปัญญาวุธ พิจารณาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ แม้กำลังน้อยกว่าแต่ก็สามารถตีเมืองคังได้

ผู้อุดมไปด้วยอาวุธทั้งสามประการจะสามารถกำชัยชนะได้ในทุกสมรภูมิรบ

-18-------------

                  สวรรค์

สวรรค์ตามศัพท์ภาษาบาลี สฺคฺค

ในความหมายหนึ่ง แปลว่าที่เป็นที่มีอารมณ์อันเลิศ  ซึ่งดูจะละม้ายกับนิพพานในแง่มุมหนึ่ง  ดังพุทธพจน์ที่ว่า“นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”  [ขุ.ธ. 25/59]



                                                                 निब्बान

                                    นิพพาน

          

         นิพพาน" เป็นคำจากภาษาบาลี निब्बान ประกอบด้วยคำ นิ(ออกไป, หมดไป, ดับไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด, เผาลน) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป (ไม่ฟุ้งซ่าน) ไม่มีสิ่งร้อยรัด เผารน คำว่า "วานะ" ยังเป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา อีกด้วย กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือแผดเผาให้กระวนกระวายใจ เป็นความสะอาด สงบสุข ร่มเย็นถึงที่สุด  อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

          ในกระทู้ธรรมของพระ ดร.วรวิสาโลภิ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้กล่าวถึงมรรค 8 อันเป็นหนทางสู่นิพพานไว้ว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงหนทางแห่งการบรรลุ ความรู้แจ้ง บรรลุนิพพานไว้ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นปฐมเทศนาที่พระองค์ได้แสดงแก่ปัญจวัคคี ความว่า

      “เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา โย”

       “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดโต่งสองอย่างนี้ บรรพชิตไม่พึงเสพ”

ภาษิตบทนี้   มีสาระสำคัญที่จะนำมาอธิบายคือ ผู้แสวงหาสัจธรรมไม่ควรข้องแวะในสิ่งสุดโต่ง 2 ประการ คือ

1.กามสุขัลลิกานุโยค – คือการหมกมุ่นอยู่กับความสุขในกาม

            2. อัตตกิลมถานุโยค – คือการทำตนให้ลำบาก  หรือการทรมานตนเองให้บรรลุบางสิ่งบางอย่าง

            มนุษย์เรามักจะหมกมุ่นอยู่กับทั้งสองสิ่งที่ต่างกันคนละขั้ว (บางท่านเรียกว่าสิ่งที่ชอบกับสิ่งที่ชัง) อยู่บ่อยๆ บ้างก็หมกมุ่นมัวเมากับความสุข จนไม่ยอมทำงานทำชีวิตตกต่ำ บ้างก็เบื่อความสุขหมกมุ่นกับงานทุ่มเทกับงานจนไร้สุข ครอบครัวแตกแยก ลืมหน้าที่ที่ถูกที่ควรต่อครอบครัว   บ้างก็บำเพ็ญตบะเป็นโยคี ทรมารตนเองอย่างหนัก แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์ ไม่เกิดความก้าวหน้าไม่บรรลุธรรมใดๆ

-19------------------

จิตมนุษย์ถูกเหวี่ยงไปมาสู่สิ่งสุดโต่งทั้งสองข้าง (หรือ ทวิคติ) อยู่เสมอ เช่น ดี- เลว ชนะ –แพ้  ร้อน-เย็น ด้วยอำนาจของสิ่งลึกลับบางอย่าง ทำให้จิตหวั่นไหว ไม่สงบ นำมาซึ่งทุกข์อยู่เสมอ แล้วอะไรเล่าเป็นสิ่งลึกลับที่เป็นแรงเหวี่ยงให้จิตเราแกว่งไป-มา บางครั้งก็สนุกสนาน บางครั้งก็เหน็ดเหนื่อยทุกเวลานาที  สิ่งเหล่านั้นก็คือความ “โลภ โกรธ หลง” ที่คอยหลอกล่อ ผลักดันให้จิตไม่สงบ หมุนเวียนเปลี่ยนไปมาเป็นวัฎจักร ไม่มีสิ้นสุด ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ อาจไม่เป็นที่สังเกตนัก และทำให้คนตั้งอยู่ในความประมาท แต่บางครั้งก็รวดเร็ว รุนแรงเกินกว่าจิตของปุถุชนจะรับไหว เมื่อไม่นานมานี้ก็มีตัวอย่างที่ครอบครัวหนึ่งไปเที่ยวน้ำตกกัน  ทุกคนก็เล่นน้ำกันสนุกสนานและมีความสุขด้วยความประมาทไม่ได้ตระหนักถึงว่าเป็นช่วงหน้าฝนอาจมีน้ำป่าไหลบ่าได้  โดยไม่มีใครคาดคิด พอตกบ่ายน้ำป่าก็ได้ไหลทะลักท่วมพัดพาเอาคนเกือบทั้งครอบครัวทั้ง พ่อ แม่ พี่ชาย พี่สาว หายไปกับสายน้ำอย่างน่าใจหาย ทิ้งให้น้องชายที่รอดชีวิตต้องอยู่อย่างระทมทุกข์เพื่อไปร่วมงานศพของคนในครอบครัวเพียงคนเดียว

จิตมนุษย์หากขาดการฝึกที่ดีย่อมยากที่จะตอบรับกับอำนาจของความโลภ โกรธ หลง ก่อนอื่น ลองมาพิจารณาความโกรธกันก่อน ถ้าเราโกรธใคร ใจของเราก็ถูกเหวี่ยงไปด้วยการปรุงแต่ง (สังขาร) ของความโกรธ  ให้เราเห็นแต่สิ่งไม่ดีในตัวเขา เสริมเติมแต่งให้ชั่วร้ายเข้าไปอีกด้วยความโกรธ  ส่วนความดีของเขาก็ขาดสูญไปเรากลับมองไม่เห็นแม้แต่น้อย สิ่งนี้ทำให้เรามืดบอดจากความจริง ภาวะสุดโต่งเช่นนี้ทำให้เรามีท่าทีที่ไม่ถูกต้องต่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่หากเราไม่โกรธ จิตของเราก็ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความโกรธ เห็นโลก เห็นอะไรๆ ตามที่เป็นจริง ดุจดังท้องฟ้าที่มืดมิดด้วยเมฆฝน (เปรียบเหมือนอวิชชา)  แต่เมื่อเมฆฝนหลีกทางไป แสงอาทิตย์ที่สดใสก็จะสาดแสงสว่างไสวให้กับโลก ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาด้วยปัญญาได้มากขึ้น ความโกรธเปรียบได้กับน้ำที่กำลังเดือดพล่าน ทำให้น้ำขาดธรรมชาติที่แท้จริงไปนั้นคือความใสกระจ่าง สงบ และสะอาดของน้ำและทำให้เราไม่สามารถมองทะลุไปยังสิ่ง (ความจริง) ที่อยู่ใต้น้ำได้

     สมมติว่าเราโกรธที่พนักงานคนหนึ่งที่ขาดงานเกิน 7 วัน เรารู้สึกหนักใจ (ทุกข์) ที่จะต้องไล่พนักงานคนนั้นออก แต่คุณระงับความโกรธไว้ได้ และหาสาเหตุ คุณก็พบว่า พนักงานคนนั้น กำลังโศกเศร้าเสียใจทำใจไม่ได้ที่ลูกชายได้เสียชีวิตไปอย่างกระทันหัน คุณจึงคิดหาทางช่วยเหลือ (เมตตา)  ซึ่งคุณบังเอิญสืบทราบมาว่าเขาชอบอ่านหนังสือธรรม หนทางนี้

-20-----------------

อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ              อชินิ มํ อหาสิ มํ
เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ            เวรํ เตสูปสมฺมติ

ใครไม่คิดอาฆาตว่า  "มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา" เวรของเขาย่อมระงับ





















น่าจะเป็นทางออกสำหรับปัญหา คุณก็เลยส่งเขาไปอบรมธรรม  1 เดือน  ผลก็คือ เขามีสุขภาพจิตดีขึ้น สามารถกลับมาทำงานใหม่ ย่างนี้เรียกว่า การมองโลกตามความเป็นจริงไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยกิเลส คือ โลภ โกรธ หลง

ความโกรธมีสาเหตุมาจากตัณหา ตัณหาเป็นอำนาจครอบงำจิตที่รุนแรงที่สุด ดังพุทธพจน์ที่ว่า “แม่น้ำที่เสมอด้วยตัณหาไม่มี” นั้นหมายถึงตัณหาเป็นสิ่งที่ไม่เคยเติมได้เต็ม ทำให้ใจเราปั่นป่วนอยู่กับเรื่องของ กามตัณหา (ความอยากในกามคือความใคร่ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์) ภวตัณหา (อยากมีอยากเป็น) และวิภวตัณหา (ไม่อยากมีไม่อยากเป็น) หากถามว่าเมื่อเรามีอะไร เป็นอะไร ไม่เป็นอะไรแล้วเป็นสุขเพียงอย่างเดียวหรือ เมื่อเรามีลูกเราก็กังวลเกี่ยวกับอนาคตของลูก เมื่อเราเป็นผู้มีทรัพย์เราก็จะกังวลที่จะเสียทรัพย์ เมื่อเราเป็นผู้ชนะย่อมไม่อยากเป็นผู้แพ้และกังวลว่าจะมีใครมาท้าทาย เกิดความดิ้นรนยึดสิ่งที่เราชอบใจไว้มั่น และผลักดันสิ่งที่เราไม่ชอบใจออกไปทุกขณะจิต เป็นภาวะที่ไม่สามารถพบความสงบสุขที่แท้จริงได้เลย โดยแก่นแท้แล้วตัณหายังมีอำนาจต่อการเกิดขึ้นของความโลภและความหลงด้วย

         ลองมาดูความ “หลง” กันบ้าง ความหลงก็เป็นสิ่งที่ทำให้ใจเราถูกเหวี่ยงไปสู่สิ่งสุดโต่งทั้งสองได้เช่นกัน  ความหลงที่ตัดยากที่สุด คือ ความหลงใน “ตัวกู (อหังการ) –ของกู (มมังการ)” ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน เช่น เด็กคนหนึ่งไปดูผลสอบ “ของเขา”  ปรากฏว่าสอบตก ก็เกิด “ตัวกูผู้สอบตก” วันหนึ่งเกิดตัวกูผุดขึ้นไม่รู้กี่ตัว เกิด-ดับ เกิด-ดับ  อยู่ทุกวินาที บ้างก็ทำให้เราชอบใจ บ้างก็ทำให้เราหดหู่ เช่น สมมติว่าตอนเช้าเราทราบข่าวว่าลูกสอบชิงทุนได้ก็เกิด “ตัวกูผู้ชนะ” ตกบ่ายเจ้าหนี้มาทวงเงินแถมขู่ว่าจะยึดบ้าน ตัวกูผู้ชนะดับไปเกิด “ตัวกูผู้แพ้” ขึ้นมาแทน พอตกเย็นเจ้านายบอกว่าจะขึ้นเงินเดือนให้ 3 ขั้น ก็เกิด “ตัวกูผู้เป็นสุข” ขึ้นมาแทนที่ ต่อมาเวลาก่อนเข้านอนก็เห็นข่าวในโทรทัศน์ว่าโรงงานที่เราทำงานไฟไหม้ไปแล้ว ตัวกูผู้เป็นสุขก็ดับไปเกิด “ตัวกูผู้เป็นทุกข์” ขึ้นมาแทน และห่วงว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร  ตัวกูนี้ (ซึ่งเป็นลักษณะทางจิต) เกิดและแตกดับ (ชาติและมรณะ) อยู่ตลอดเวลา แปรเปลี่ยนเป็นด้านใดด้านหนึ่งของสิ่งสุดโต่งสองด้านอยู่เสมอ เช่น ผู้แพ้-ผู้ชนะ ผู้สุข-ผู้ทุกข์ แต่ถ้าเขารู้จักปล่อย วาง มองโลกตามที่เป็นจริง ทุกอย่างไม่ใช่ตัวตนที่ถาวร แปรเปลี่ยนไปอยู่เสมอ อยู่นอกอำนาจควบคุมของเรา รู้จักปล่อยวาง กูก็แพ้ได้ ผิดพลาดได้ เขาก็แพ้และผิดได้เช่นกัน ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตก็จะมีความสงบ มีสมาธิ มีสติ

สำหรับโลภะก็ทำให้ใจเราแกว่งไป-มาเช่นกัน โลภะ คือ อาการทางจิตที่ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ (อาจถึงฆ่ากันเพราะรัก) บางครั้งเรียกราคะ เกิดจากความยึดติด ติดใจ ถือมั่น ติดสยบหมกมุ่น(หรืออุปทาน-เป็นอาการที่พัฒนาขึ้นมาจากตัณหา) ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ







-21---------------

บ้างก็ติดใจนางเอกลิเก (รูป) ทุ่มเททั้งพวงมาลัยและรถยนต์จนเสียงานเสียการชีวิตตกต่ำ บางคนก็ติดใจในอารมณ์ (เวทนา) อาฆาตพยาบาทยึด

มั่นถือมั่นจนวันตาย บ้างก็ยึดติดกับเรื่องเก่าๆ (สัญญา) ว่าดีแล้ว ฉันทำดีแล้วแล้วไม่พัฒนา บ้างก็ติดใจในสิ่งปรุงแต่ง  (สังขาร) ในลาภ ยศ สรรเสริญ การประจบสอพลอจนไม่รู้ว่าอะไรจริงอะไรเท็จ และบ้างก็มีความรู้สึกไวในประสาทสัมผัสต่ออารมณ์ต่างๆ (วิญญาณ) หวั่นไหวง่าย สิ่งเหล่านี้หากเราพัวพันมากล้วนเปลี่ยนเราให้กลายเป็นทาส เป็นขึ้ข้า ชีวิตขาดอิสระ หากไม่รู้จักปล่อยวาง

ดังนั้น หากเราลด ละ เลิก โลภะ โทษะ และโมหะ (รวมเรียกว่ากิเลส) ได้ จิตเราก็ไม่ต้องอยู่ในอำนาจของสิ่งสุดโต่งทั้งสองด้าน เราก็จะเห็นโลกตามความเป็นจริง ปล่อยวางได้มากขึ้น เป็นสุขมากขึ้น พระพุทธองค์ได้ชี้แนะหนทางในการถอนตัวออกจากสิ่งสุดโต่งทั้งสอง อันเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นหนทางที่ทำให้จิตเราถอนตัวออกจากทั้งสองด้าน มาอยู่ตรงกลาง เป็นหนทางที่เป็นของเราเองแท้ๆ สงบ สุข สว่างไสว จากความมืดมัว และมัวหมองใดๆ  มรรค 8 เป็นหนทางแห่งการรู้แจ้ง นำมาซึ่งการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง และห่างไกลจากทุกข์ ซึ่งผู้แสวงหาโมกษะ ความหลุดพ้น จะต้องเดินไป ประกอบด้วย

                 1. สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ [อ่านเพิ่มที่ปกหน้าด้านใน]เป็นการใช้ปัญญามองให้เห็นโลกอย่างที่เป็นจริงด้วยอริยสัจ 4 ประกอบด้วย

                    1) ทุกข์ – ก่อนอื่นเราจะต้องตระหนักความจริงให้ได้ก่อน

ว่าใดๆ ในโลกนี้ล้วนเป็นทุกข์ และเราจะต้องออกจากอำนาจของทุกข์ให้ได้

                          2) สมุหทัย – สาเหตุแห่งทุกข์ การจะแก้ทุกข์ได้

นั้นจะต้องรู้สาเหตุแห่งทุกข์ก่อน สาเหตุของทุกข์คือ ตัณหา

         3) นิโรธ – วิธีออกจากทุกข์ ให้พิจารณาให้เห็นถึงแก่นแท้ของสรรพสิ่ง ในความเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน (เป็นของเรา)  เพราะถ้าเป็นของเราจริง เราต้องบังคับให้มันไม่เจ็บ ไม่ไข้ ไม่ตายได้  เมื่อเห็นได้ดังนี้แล้ว แล้วเราจึงจะสามารถปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ถอยห่างออกมา ลด ละ เลิก ตัณหาได้ เปรียบเหมือนคนคนหนึ่งอยู่ในบ้านที่หลังคากำลังไฟไหม้ มีคนตะโกนบอกอยู่ข้างนอกว่าไฟไหม้เขาก็ไม่ยอมเชื่อ ต่อเมื่อเขาถอยห่างออกจากบ้านแล้วหันกลับไปมองดูบ้าน เขาจึงรู้ได้ด้วยตัวเองว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นกับบ้านของเขาเอง  เปรียบดังคนลืมไปว่าสวมแว่นไว้บนหน้าผาก หาอย่างไรก็ไม่เจอ ตราบจนเมื่อเขาหันไปมองหน้าตัวเองในกระจกจึงรู้แจ้งด้วยตนเองว่าแว่นนั้นอยู่บนหัวเขาเอง

          4)  มรรค หมั่นฝึกฝนในมรรค 8 อย่างมุ่งมั่นเพื่อความรู้แจ้ง

                 2.  สัมมาสังกัปปะ  คือความดำริชอบ เป็นสิ่งที่ต้องพยายามฝึกกัน   ให้มาก โดยเฉพาะการดำริที่จะละวางความพึงพอใจในอารมณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อสัมมาทิฐิ อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ไม่มีเสียงใดที่จะ

-22-----------------

ผูกใจบุรุษได้เช่นเสียงสตรี และไม่มีเสียงใดที่จะผูกใจสตรี

ได้เช่นเสียงบุรุษ

นอกจากนั้นก็มีดำริอื่นๆ เพื่อลดความมัวหมองของจิต

เช่น ดำริที่จะไม่ผูก

พยาบาท  และดำริที่จะไม่เบียดเบียนกัน เพื่อให้เห็นโลกตามที่เป็นจริง

     3. สัมมาวาจา – คือการเจรจาชอบ ไม่พูดโกหก ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ สร้างความแตกแยก สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เราเข้าไปพัวพันกับสิ่งสุดโต่งทั้งสองไม่สิ้นสุด แต่ให้พูดในเชิงสร้างสรรค์

                4.สัมมากัมมันตะ – คือการงานชอบ การปฏิบัติตน

อยู่ในระเบียบของสังคมและศีลธรรมอันดี

สิ่งนี้ช่วยละความโลภ โกรธ หลง อย่างหยาบๆ ได้

                 5. สัมมาอาชีวะ – การเลี้ยงชีพชอบ คือการทำงานที่ไม่ทุจริตด้วยอำนาจของโลภ โกรธ หลง

และไม่ประกอบอาชีพที่เกิดโทษ เช่น

ค้าคน อาวุธ ยาพิษ ยาเสพติด เหล้า และเนื้อสัตว์

ซึ่งมักจะต้องปรุงแต่งมิจฉาทิฏฐิให้ตัวเองเชื่อวา

ตนเองเป็นคนดี มากกว่าการใช้สัมมาทิฏฐิ

6.     สัมมาวายามะ – ความเพียรชอบ

เช่น เพียรทำความดี

ลด ละ เลิก สิ่งไม่ดีที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ปัญญา

และการเกิดขึ้นของสัมมาทิฏฐิ  เช่น การดื่มเหล้า

และควรทำดีอย่างต่อเนื่องให้ดียิ่งขึ้นไป เช่น

ขยันทำงาน ดำรงตนในศีลธรรม ไฝ่หาความรู้อยู่เสมอ

รวมทั้งรักษาความดีที่เกิดขึ้นให้ดำรงอยู่ตลอดไป



         7.     สัมมาสติ – ความมีสติชอบ มีสติอยู่เสมอ ไม่ประมาทอยู่

เสมอ ละเอียด รอบคอบ ไม่ลืมหน้าลืมหลัง

และควรเจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่เสมอ

(กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และ ธัมมานุปัสสนา)

          8.     สัมมาสมาธิ – สมาธิชอบ การมีสมาธิที่ดี ช่วยให้ไม่

วอกแวกเป็นแรงเสริมให้เกิดสัมมาทิฏฐิได้ได้ง่าย เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ว่าเมื่อเรามีสมาธิจะคิดอะไรออกได้ง่ายขึ้น จะเรียนหนังสือก็เข้าใจบทเรียนได้ง่าย เกิดความสว่างไสวทางปัญญา จึงควรฝึกสมาธิกันให้มาก มีข้อแนะนำว่าสิ่งที่จะช่วยเพิ่มกำลังสมาธีคือ พละ 5 อันประกอบด้วย ความศรัทธา ขยันฝึกปรือ มีสติอยู่เสมอ ไม่วอกแวก และใช้ปัญญาในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุด้วยผล*

มรรค 8 ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตของเป็นเส้นตรง เป็นทางสายกลางไม่คดเคี้ยวเลี้ยวลดไปตามอำนาจของโลภ โกรธ หลง ส่งผลให้ชีวิตผู้ดำรงอยู่ในทางสายกลางมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อเส้นทางชีวิตของเราเป็นเส้นตรง จึงเป็นเส้นทางลัดมุ่งสู่เป้าหมาย หากเป็นปุถุชนก็จะมีความสำเร็จในหน้าที่การงาน ครอบครัว เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเลริญ และเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วก็จะไปสู่สุขคติจุติในสรวงสวรรค์ แต่สำหรับอริยบุคคลผลที่คาดหวังได้ก็คือนิพพาน อันเป็นบรมสุข สมดังพุทธพจน์ที่ว่า “นิพพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

----------------------------

* สนใจศึกษาการฝึกสมาธิ แนะนำไปศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร





----------------

-23--------------------------------------------

สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน?

ทิฏฐิ แปลว่า ความคิด ความเห็น ความเชื่อ ทุกสิ่งทุกอย่างที่่มนุษย์กระทำ พูด สร้างสรรค์ล้วนมีความคิด/ความเชื่อเป็นจุดเริ่มต้น เดินแดนเกิด สิ่งที่ดีหรือไม่ดีที่เกิดจากคนเราก็มีจุดกำเนิดมาจากทิฏฐิด้วยเช่นกัน ความเชื่อของปุถุชนส่วนใหญ่มักเป็นสิ่งที่มักฟังสืบต่อกันมา (แม้แต่ที่เรานับถือพุทธศาสนาก็เพราะพ่อแม่ของเรานับถือมาก่อนไม่ใช่หรือ ซึ่งหลายคนก็มีความเชื่อว่าหากสวดคาถาฯ แล้วจะได้ไปสวรรค์เพราะแม่บอก เคยศึกษาอย่างจริงจังกันบ้างหรือเปล่าว่าศาสนาพุทธคืออะไร ศาสนาพุทธคือการใส่บาตร เวียนเทียนเท่านั้นหรือ ถ้าเป็นเช่นนั้นนับว่าน่าละอายมากที่จะเรียกตนเองว่าเป็นชาวพุทธ เพราะศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของผู้มีปัญญา) ทำต่อๆ กันมา (เช่นแห่นางแมวขอฝน) ลือต่อๆ กันมา (ลือว่างวดนี้หวยล๊อก ไม่ต้องทำงานก็รวยได้) บ้างก็อ้างตำรา (ซึ่งอาจเขียนผิด) บ้างก็เชื่อเพราะตรรก (ตรองว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อ เช่นเชคนาย ก. ไม่เคยเด้ง เช็ควันนี้ก็คงไม่เด้ง) อนุมานเอาเอง (สรุปโดยไม่คิดให้รอบคอบก่อน เช่น พ่อนายแดงมันเลว ลูกมันก็ต้องเลวเหมือนพ่อมัน) หลักเหตุผลเข้ากับทฤษฏีของตนได้ (ใครคิดไม่เหมือนฉันถือว่าผิดทั้งหมด) เห็นรูปลักษณ์น่าเชื่อถือ (ให้หลวงพ่อเคาะหัวแล้วจะร่ำรวย)  เชื่อเพราะผู้บอกเป็นครู (ครูเป็นผู้บอกทาง แต่ผู้เดินนั้นเราต้องเดินด้วยตัวเอง ต้องหมั่นฝึกฝน ไตรตรอง จึงจะแตกฉานและเข้าใจถ่องแท้ในเรื่องต่างๆ ด้วยตัวเอง)  หากใครมีทิฏฐิดังกล่าวถือว่าเป็นคนงมงายไร้เหตุผล พระพุทธองค์ไม่สนับสนุนให้มีทิฏฐิดังกล่าว แต่ได้ตรัสไว้ใน “กาลามสูตร” ว่าให้พิจารณาให้เห็นด้วยปัญญา (ด้วยตนเอง)ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล (ไม่ทำให้เราเป็นกลุ้มใจเป็นทุกข์ภายหลัง) มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตาม (หากทิฏฐินั้นเป็นกุศล ไม่มีโทษจึงเรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ)

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น