Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คลิป ข่าวดังวันนี้: พบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร mang

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


 คลิป ข่าวดังวันนี้: พบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร 
http://seedang.com/stories/18167
http://seedang.com/stories/18170







การเดินทางไปดาวอังคาร เป็นสิ่งที่สามารถทำได้
 
สถานีอวกาศอัลฟา
         แผนกที่พักอาศัยของสถานีอวกาศนานาชาติ ได้กล่าวกับ CNN ว่านักบินอวกาศน่าจะมีปัญหาเล็กน้อยในการปรับตัวเมื่อไปดาวอังคาร ในเที่ยวบินอันนานกับแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ ลูกเรือชุดที่2 จะมีกำหนดการกลับมากับยานอวกาศ Discovery วันพุธ หลังจากอยู่มามากกว่า 5 เดือน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 2,500 รอบ

         นาย Miles O'Brien ได้ประสานงานกับมนุษย์อวกาศ 3 คน โดยได้พูดคุยในระยะทางอันไกลกับการประชุมของสำนักข่าวอวกาศ CNN ขณะที่โคจรรอบโลก นาย O'Brien กล่าวว่าไม่มีอะไรมากระหว่างที่เดินทางต้องทำความคุ้นเคยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคาร เป็นที่น่าประหลาด ถ้ามนุษย์ไปถึงดาวอังคารจะสามารถทำงานอะไรก็ได้ทั้งลุกขึ้นยืนด้วย 1/3ของแรงโน้มถ่วง เรามีProgram ที่ดีที่จะรักษารูปร่าง เรามีจักรยานลูกโม่ที่หมุนด้วยการเหยียบและอุปกรณ์จำลองเหมือนยกน้ำหนัก นาย Voss กล่าว

         ฉันคิดว่ามีบางสิ่งที่ควรจะเป็นจริงเมื่อไปถึงดาวอังคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงโน้มถ่วงที่เบาบางที่นั่นต้องออกกำลังกายเป็นเวลานาน เป็นเหตุผลที่ทำให้ร่ายกายมีรูปร่างที่ดี ลูกเรือสามารถคาดหวังว่าในสัปดาห์ จะสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูกที่สูญเสียไปกับการเดินทาง จึงต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ซึ่งอย่างน้อยที่สุด 1ชั่วโมง/วัน นาย Vsachev กล่าวว่าสามารถที่จะทำในเวลาอันสั้นที่จะฟื้นฟู เขาได้ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ในโครงการสถานีอวกาศเมียร์ การปรับตัวอันยาวนานเมื่อเริ่มเดินทางจากแรงโน้มถ่วงปกติไปจนถึงไม่มีน้ำหนักในอวกาศ Helms กล่าวว่ามันรู้สึกตื่นเต้น เราคุ้นเคยหลังจากอยู่ 5 ? เดือน ในสภาพแวดล้อมอวกาศอย่างรวดเร็ว ซึ่งดูเหมือนประสบความสำเร็จอย่างธรรมชาติ

         บนพื้นโลกเรามีครอบครัว ,เพื่อน,เหตุการณ์และความรู้สักทุกวัน ฉันคิดว่าเราไม่มีกลิ่นของชายหาดและต้นPine เราขาดแคลนมากบนสถานีอวกาศ และเราไม่ได้รับอะไรหลาย ๆ อย่างที่เราได้รับจากโลกกับธรรมชาติที่แตกต่างHelms กล่าว Helms จะกลับมาสูดอากาศที่มหาสมุทรในไม่ช้า กระสวยอวกาศDiscovery กำหนดจะลงจอดที่เวลา12:46 PM วันพุธ ที่Kennedy Space Center ใน ฟลอริดา ตรงกับบ้านเราวันพฤหัสบดี ยาน Discovery จะนำลูกเรือชุดที่3 ไปยังสถานีอวกาศในปลายสัปดาห์ U.S.skipper Frank Culbertson และ Russians Vladimir Dezhurov และ Mikhail Tyurin จะใช้เวลา 4 เดือนบนส่วน modular complex.


 รูปแสดงแนวคิดของ โมเลกุลดีเอนเอที่ถูกทำลายโดยรังสีคอสมิกจากดาราจักร (galactic cosmic rays: GCRs) ที่มาของรูป : NASA/OB


รังสีในอวกาศระหว่างโลกกับดาวอังคารทำให้เกิดอันตรายกับนักบินอวกาศ มันมีอันตรายมากแค่ไหน? นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่ากำลังค้นคว้าหาคำตอบ

นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่ากล่าวว่า มันเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับรังสี เรารู้ว่ามีปริมาณรังสีมากน้อยแค่ไหนในช่วงระยะทางระหว่างโลกกับดาวอังคาร แต่ที่เราไม่แน่ใจก็คือร่างกายของมนุษย์จะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับรังสีเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร นักบินอวกาศของนาซ่าได้ขึ้นไปอยู่บนอวกาศและกลับมาสู่โลกเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลา 45 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่นับการเดินทางอย่างรวดเร็วไปยังดวงจันทร์ พวกเขาก็ไม่เคยใช้เวลามากนักในการดำรงชีวิตอยู่นอกโลก ในอวกาศห้วงลึกนั้นเต็มไปด้วยโปรตอนที่เกิดจากการปะทุของดวงอาทิตย์ (solar flares), รังสีแกมมา (gamma rays) จากหลุมดำที่เกิดใหม่, รังสีคอสมิก (cosmic rays) จากการระเบิดของดวงดาว การเดินทางที่ยาวนานสู่ดาวอังคารโดยไม่มีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่กั้นหรือสะท้อนรังสี ถือได้ว่าเป็นการผจญภัยครั้งใหม่

องค์การนาซ่าได้แบ่งระดับความรุนแรงของรังสีโดยใช้โอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเป็นตัวแบ่งระดับของความรุนแงดังกล่าว โดยปกติผู้ชายอเมริกันอายุ 40 ปีที่ไม่สูบบุหรี่และมีสุขภาพดี มีโอกาสอย่างมากที่สุด 20% ในการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งถ้าอยู่บนโลก ถ้าเขาเดินทางไปดาวอังคาร ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้น

คำถามก็คือเกิดความเสี่ยงมากเท่าใด?

ยังไม่มีคำตอบที่แน่นอนในเรื่องนี้ จากการศึกษาในปีค.ศ. 2001 เกี่ยวกับผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากรังสีอย่างมาก เช่น ผู้รอดชีวิตจากระเบิดอะตอม (atomic bomb) ที่เมืองฮิโรชิมา และผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี พบว่าโอกาสที่จะเกิดโรคมะเร็งจากการเดินทางไปดาวอังคารโดยใช้เวลา 1000 วัน จะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ 1-19% โดยค่าที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ 3.4% สำหรับนักบินอวกาศหญิง ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งจะมีโอกาสมากกว่าในนักบินอวกาศชาย โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งในรังไข่ โดยโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเกือบจะเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับนักบินอวกาศชาย

นักวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่องนี้ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ยานอวกาศที่จะใช้ส่งนักบินอวกาศไปยังดาวอังคารควรจะสร้างด้วยส่วนประกอบที่ทำจากอลูมิเนียมเป็นส่วนใหญ่ คล้ายกับโมดูลควบคุมของยานอพอลโล เพื่อให้ผิวสัมผัสของยานอวกาศดูดกลืนรังสีให้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณรังสีทั้งหมดที่เปล่งออกมาตกกระทบยานอวกาศ

ถ้าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เราก็สามารถยอมรับได้และสามารถสร้างยานอวกาศที่ใช้อลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อที่จะนำนักบินอวกาศไปสู่ดาวอังคารได้ แต่ถ้าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นนี้มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 19% นักบินอวกาศก็จะมีโอกาสจบชีวิตด้วยโรคมะเร็งได้เมื่อเดินทางกลับมาถึงโลก

รังสีในอวกาศประกอบไปด้วยรังสีแกมมา (gamma-rays), โปรตอนพลังงานสูง (high-energy protons) และรังสีคอสมิก (cosmic rays) ในการศึกษาถึงการระเบิดของระเบิดอะตอม (Atomic bomb blasts) และการรักษาโรคมะเร็งเป็นเพียงการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอวกาศ ภัยคุมคามที่ร้ายแรงที่สุดของนักบินอวกาศในการเดินทางไปดาวอังคารคือ รังสีคอสมิกจากดาราจักร (galactic cosmic rays: GCRs) ซึ่งคืออนุภาคที่ถูกเร่งจนมีอัตราเร็วใกล้แสงจากการเกิดซูเปอร์โนวา (supernova explosions) สิ่งที่อันตรายที่สุดของรังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) คือนิวเคลียสของโลหะหนักที่แตกตัวเป็นไอออน เช่น Fe+26 โดยไอออนพวกนี้จะมีพลังงานสูงมากกว่าโปรตอนที่ถูกเร่งจากการปะทุที่ดวงอาทิตย์ รังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) ปริมาณมากจะผ่านผิวของยานอวกาศและนักบินคล้ายลูกปืนใหญ่ขนาดจิ๋ว ไปทำลายโมเลกุลของ DNA ทำให้โครโมโซมเสียหายและส่งผลให้เซลล์เสียชีวิต

นักบินอวกาศที่ดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศโดยทั่วไป ยากที่จะได้รับรังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) อย่างเต็มที่ พิจารณาได้จากสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ซึ่งโคจรอยู่ห่างจากผิวโลกเพียง 400 กิโลเมตร ลักษณะโครงสร้างของโลกทำให้โลกของเราสามารถสกัดกั้นรังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) ได้ถึงประมาณ 1 ใน 3 ของรังสีที่แผ่ออกมาก่อนที่จะมาถึงสถานีอวกาศนานาชาติ ปริมาณรังสีอีก 1 ใน 3 จะถูกหักเหโดยสนามแม่เหล็กโลก (Earth's magnetic field) นักบินอวกาศที่ทำงานอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติจึงไม่ถูกรังสีมากนัก

ส่วนนักบินอวกาศที่เดินทางไปยังดวงจันทร์กับยานอพอลโลมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่านักบินอวกาศที่ทำงานอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติถึง 3 เท่า แต่ก็เป็นระยะเวลาเพียงไม่กี่วันในระหว่างเดินทางสู่ดวงจันทร์ รังสีคอสมิกดาราจักร (GCRs) อาจจะทำความเสียหายให้กับดวงตาของพวกเขา โดยในระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์ นักบินอวกาศจากยานอพอลโลรายงานว่าเห็นแสงวาบจากการที่รังสีคอสมิกกระทบแก้วตา (retina)ในดวงตาของพวกเขา ซึ่งส่งผลให้ในปัจจุบันนักบินอวกาศบางคนที่เคยเดินทางไปยังดวงจันทร์เป็นต้อกระจก (cataracts) นอกจากนี้แล้วก็ไม่เกิดผลกระทบอะไรต่อร่างกายมากนัก

การเดินทางออกไปนอกโลกไม่กี่วันอาจจะปลอดภัย แต่นักบินอวกาศที่จะเดินทางไปดาวอังคารจะต้องดำรงชีวิตอยู่นอกโลกเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ารังสีคอสมิกจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของพวกเขาอย่างไรบ้าง

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีการวิจัยในห้องวิจัยรังสีในอวกาศ (Space Radiation Laboratory: NSRL) ขององค์การนาซ่า ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงนิวยอร์ค ห้องวิจัยนี้ได้เปิดดำเนินการเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่ห้องวิจัยรังสีในอวกาศ (NSRL) จะมีเครื่องเร่งอนุภาคซึ่งสามารถจำลองรังสีคอสมิกได้ นักวิจัยจะนำเซลล์และเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไปวางไว้ในลำอนุภาค จากนั้นจะวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป้าหมายของโครงการนี้คือลดความไม่แน่นอนในการประมาณการณ์ความเสี่ยงให้เหลือเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ในปีค.ศ. 2015 ซึ่งเมื่อรู้ผลแน่นอนแล้ว ทางองค์การนาซ่าจะสามารถออกแบบชนิดของยานอวกาศที่จะสร้างขึ้นเพื่อใช้โคจรไปยังดาวอังคาร มันเป็นไปได้ที่วัสดุธรรมดาอย่างอลูมิเนียมนั้นจะดีเพียงพอที่จะใช้สร้างยานอวกาศ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ทางองค์การนาซ่าก็ได้เตรียมทางเลือกอื่นไว้แล้ว

ถ้าจะสร้างยานอวกาศด้วยพลาสติก?

พลาสติกนั้นมีโครงสร้างที่เต็มไปด้วยส่วนประกอบของธาตุไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่ดูดกลืนรังสีคอสมิกได้ดี ยกตัวอย่างเช่น พลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตถังขยะ จะสามารถดูดกลืนรังสีคอสมิกได้ดีกว่าอลูมิเนียม 20% โฟมของพอลิเอทิลีนที่ถูกทำให้แข็งแกร่งขึ้นจากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล (Marshall Space Flight Center) ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าอลูมิเนียมถึง 10 เท่า และมีน้ำหนักเบากว่า ก็สามารถนำมาใช้เป็นตัวเลือกหนึ่งในการใช้เป็นวัสดุที่ใช้สร้างยานอวกาศ ถ้ามันสามารถสร้างยานอวกาศได้ด้วยต้นทุนที่ไม่มากนัก บางทีถ้าไม่สามารถสร้างยานอวกาศทั้งลำด้วยพลาสติก อาจจะสร้างเพียงบางส่วนเช่น บริเวณที่พักของนักบินอวกาศ ซึ่งที่จริงแล้วสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ก็มีวิธีการสร้างแบบนี้

ถ้าพลาสติกยังไม่เป็นวัสดุที่ดีพอสำหรับสร้างยานอวกาศ ไฮโดรเจนบริสุทธิ์ก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเมื่อเทียบน้ำหนักกันปอนด์ต่อปอนด์ ไฮโดรเจนเหลวสามารถสกัดกั้นรังสีคอสมิกได้ดีกว่าอลูมิเนียมถึง2.5 เท่า ในการออกแบบการสร้างยานอวกาศบางครั้งได้ออกแบบให้มีถังไฮโดรเจนเหลวขนาดใหญ่เพื่อเป็นเชื้อเพลิงอยู่แล้ว ถ้าออกแบบถังเชื้อเพลิงให้หุ้มส่วนที่อยู่ของนักบิน ก็จะสามารถป้องกันนักบินอวกาศจากผลกระทบของรังสีที่เกิดขึ้นได้

แหล่งข้อมูล :

http://www.nasa.gov/vision/space/livinginspace/17feb_radiation.html

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรังสีคอสมิกจากดาราจักร (galactic cosmic rays: GCRs) :
http://www.srl.caltech.edu/personnel//cos_encyc.html 

นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่ากล่าวว่า มันเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับรังสี เรารู้ว่ามีปริมาณรังสีมากน้อยแค่ไหนในช่วงระยะทางระหว่างโลกกับดาวอังคาร แต่ที่เราไม่แน่ใจก็คือร่างกายของมนุษย์จะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับรังสีเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร นักบินอวกาศของนาซ่าได้ขึ้นไปอยู่บนอวกาศและกลับมาสู่โลกเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลา 45 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่นับการเดินทางอย่างรวดเร็วไปยังดวงจันทร์ พวกเขาก็ไม่เคยใช้เวลามากนักในการดำรงชีวิตอยู่นอกโลก ในอวกาศห้วงลึกนั้นเต็มไปด้วยโปรตอนที่เกิดจากการปะทุของดวงอาทิตย์ (solar flares), รังสีแกมมา (gamma rays) จากหลุมดำที่เกิดใหม่, รังสีคอสมิก (cosmic rays) จากการระเบิดของดวงดาว การเดินทางที่ยาวนานสู่ดาวอังคารโดยไม่มีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่กั้นหรือสะท้อนรังสี ถือได้ว่าเป็นการผจญภัยครั้งใหม่

องค์การนาซ่าได้แบ่งระดับความรุนแรงของรังสีโดยใช้โอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเป็นตัวแบ่งระดับของความรุนแงดังกล่าว โดยปกติผู้ชายอเมริกันอายุ 40 ปีที่ไม่สูบบุหรี่และมีสุขภาพดี มีโอกาสอย่างมากที่สุด 20% ในการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งถ้าอยู่บนโลก ถ้าเขาเดินทางไปดาวอังคาร ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้น

คำถามก็คือเกิดความเสี่ยงมากเท่าใด?

ยังไม่มีคำตอบที่แน่นอนในเรื่องนี้ จากการศึกษาในปีค.ศ. 2001 เกี่ยวกับผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากรังสีอย่างมาก เช่น ผู้รอดชีวิตจากระเบิดอะตอม (atomic bomb) ที่เมืองฮิโรชิมา และผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี พบว่าโอกาสที่จะเกิดโรคมะเร็งจากการเดินทางไปดาวอังคารโดยใช้เวลา 1000 วัน จะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ 1-19% โดยค่าที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ 3.4% สำหรับนักบินอวกาศหญิง ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งจะมีโอกาสมากกว่าในนักบินอวกาศชาย โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งในรังไข่ โดยโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเกือบจะเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับนักบินอวกาศชาย

นักวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่องนี้ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ยานอวกาศที่จะใช้ส่งนักบินอวกาศไปยังดาวอังคารควรจะสร้างด้วยส่วนประกอบที่ทำจากอลูมิเนียมเป็นส่วนใหญ่ คล้ายกับโมดูลควบคุมของยานอพอลโล เพื่อให้ผิวสัมผัสของยานอวกาศดูดกลืนรังสีให้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณรังสีทั้งหมดที่เปล่งออกมาตกกระทบยานอวกาศ

ถ้าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เราก็สามารถยอมรับได้และสามารถสร้างยานอวกาศที่ใช้อลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อที่จะนำนักบินอวกาศไปสู่ดาวอังคารได้ แต่ถ้าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นนี้มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 19% นักบินอวกาศก็จะมีโอกาสจบชีวิตด้วยโรคมะเร็งได้เมื่อเดินทางกลับมาถึงโลก

รังสีในอวกาศประกอบไปด้วยรังสีแกมมา (gamma-rays), โปรตอนพลังงานสูง (high-energy protons) และรังสีคอสมิก (cosmic rays) ในการศึกษาถึงการระเบิดของระเบิดอะตอม (Atomic bomb blasts) และการรักษาโรคมะเร็งเป็นเพียงการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอวกาศ ภัยคุมคามที่ร้ายแรงที่สุดของนักบินอวกาศในการเดินทางไปดาวอังคารคือ รังสีคอสมิกจากดาราจักร (galactic cosmic rays: GCRs) ซึ่งคืออนุภาคที่ถูกเร่งจนมีอัตราเร็วใกล้แสงจากการเกิดซูเปอร์โนวา (supernova explosions) สิ่งที่อันตรายที่สุดของรังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) คือนิวเคลียสของโลหะหนักที่แตกตัวเป็นไอออน เช่น Fe+26 โดยไอออนพวกนี้จะมีพลังงานสูงมากกว่าโปรตอนที่ถูกเร่งจากการปะทุที่ดวงอาทิตย์ รังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) ปริมาณมากจะผ่านผิวของยานอวกาศและนักบินคล้ายลูกปืนใหญ่ขนาดจิ๋ว ไปทำลายโมเลกุลของ DNA ทำให้โครโมโซมเสียหายและส่งผลให้เซลล์เสียชีวิต

นักบินอวกาศที่ดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศโดยทั่วไป ยากที่จะได้รับรังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) อย่างเต็มที่ พิจารณาได้จากสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ซึ่งโคจรอยู่ห่างจากผิวโลกเพียง 400 กิโลเมตร ลักษณะโครงสร้างของโลกทำให้โลกของเราสามารถสกัดกั้นรังสีคอสมิกจากดาราจักร (GCRs) ได้ถึงประมาณ 1 ใน 3 ของรังสีที่แผ่ออกมาก่อนที่จะมาถึงสถานีอวกาศนานาชาติ ปริมาณรังสีอีก 1 ใน 3 จะถูกหักเหโดยสนามแม่เหล็กโลก (Earth\'s magnetic field) นักบินอวกาศที่ทำงานอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติจึงไม่ถูกรังสีมากนัก

ส่วนนักบินอวกาศที่เดินทางไปยังดวงจันทร์กับยานอพอลโลมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่านักบินอวกาศที่ทำงานอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติถึง 3 เท่า แต่ก็เป็นระยะเวลาเพียงไม่กี่วันในระหว่างเดินทางสู่ดวงจันทร์ รังสีคอสมิกดาราจักร (GCRs) อาจจะทำความเสียหายให้กับดวงตาของพวกเขา โดยในระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์ นักบินอวกาศจากยานอพอลโลรายงานว่าเห็นแสงวาบจากการที่รังสีคอสมิกกระทบแก้วตา (retina)ในดวงตาของพวกเขา ซึ่งส่งผลให้ในปัจจุบันนักบินอวกาศบางคนที่เคยเดินทางไปยังดวงจันทร์เป็นต้อกระจก (cataracts) นอกจากนี้แล้วก็ไม่เกิดผลกระทบอะไรต่อร่างกายมากนัก

การเดินทางออกไปนอกโลกไม่กี่วันอาจจะปลอดภัย แต่นักบินอวกาศที่จะเดินทางไปดาวอังคารจะต้องดำรงชีวิตอยู่นอกโลกเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ารังสีคอสมิกจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของพวกเขาอย่างไรบ้าง

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีการวิจัยในห้องวิจัยรังสีในอวกาศ (Space Radiation Laboratory: NSRL) ขององค์การนาซ่า ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงนิวยอร์ค ห้องวิจัยนี้ได้เปิดดำเนินการเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่ห้องวิจัยรังสีในอวกาศ (NSRL) จะมีเครื่องเร่งอนุภาคซึ่งสามารถจำลองรังสีคอสมิกได้ นักวิจัยจะนำเซลล์และเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไปวางไว้ในลำอนุภาค จากนั้นจะวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป้าหมายของโครงการนี้คือลดความไม่แน่นอนในการประมาณการณ์ความเสี่ยงให้เหลือเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ในปีค.ศ. 2015 ซึ่งเมื่อรู้ผลแน่นอนแล้ว ทางองค์การนาซ่าจะสามารถออกแบบชนิดของยานอวกาศที่จะสร้างขึ้นเพื่อใช้โคจรไปยังดาวอังคาร มันเป็นไปได้ที่วัสดุธรรมดาอย่างอลูมิเนียมนั้นจะดีเพียงพอที่จะใช้สร้างยานอวกาศ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ทางองค์การนาซ่าก็ได้เตรียมทางเลือกอื่นไว้แล้ว

ถ้าจะสร้างยานอวกาศด้วยพลาสติก?

พลาสติกนั้นมีโครงสร้างที่เต็มไปด้วยส่วนประกอบของธาตุไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่ดูดกลืนรังสีคอสมิกได้ดี ยกตัวอย่างเช่น พลาสติกพอลิเอทิลีน (polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตถังขยะ จะสามารถดูดกลืนรังสีคอสมิกได้ดีกว่าอลูมิเนียม 20% โฟมของพอลิเอทิลีนที่ถูกทำให้แข็งแกร่งขึ้นจากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล (Marshall Space Flight Center) ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าอลูมิเนียมถึง 10 เท่า และมีน้ำหนักเบากว่า ก็สามารถนำมาใช้เป็นตัวเลือกหนึ่งในการใช้เป็นวัสดุที่ใช้สร้างยานอวกาศ ถ้ามันสามารถสร้างยานอวกาศได้ด้วยต้นทุนที่ไม่มากนัก บางทีถ้าไม่สามารถสร้างยานอวกาศทั้งลำด้วยพลาสติก อาจจะสร้างเพียงบางส่วนเช่น บริเวณที่พักของนักบินอวกาศ ซึ่งที่จริงแล้วสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ก็มีวิธีการสร้างแบบนี้

ถ้าพลาสติกยังไม่เป็นวัสดุที่ดีพอสำหรับสร้างยานอวกาศ ไฮโดรเจนบริสุทธิ์ก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเมื่อเทียบน้ำหนักกันปอนด์ต่อปอนด์ ไฮโดรเจนเหลวสามารถสกัดกั้นรังสีคอสมิกได้ดีกว่าอลูมิเนียมถึง2.5 เท่า ในการออกแบบการสร้างยานอวกาศบางครั้งได้ออกแบบให้มีถังไฮโดรเจนเหลวขนาดใหญ่เพื่อเป็นเชื้อเพลิงอยู่แล้ว ถ้าออกแบบถังเชื้อเพลิงให้หุ้มส่วนที่อยู่ของนักบิน ก็จะสามารถป้องกันนักบินอวกาศจากผลกระทบของรังสีที่เกิดขึ้นได้

แหล่งข้อมูล :
http://www.nasa.gov/vision/space/livinginspace/17feb_radiation.html

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรังสีคอสมิกจากดาราจักร (galactic cosmic rays: GCRs) :
http://www.srl.caltech.edu/personnel//cos_encyc.html


"ฟินิกซ์" ยานสำรวจขั้วเหนือดาวอังคาร ลงจอดแล้ว
Submitted by thep on 26 May, 2008 - 12:42. tags: NASA Space
เช้านี้ตามเวลาในประเทศไทย (หรือราวเกือบ 5 โมงเย็นที่แคลิฟอร์เนีย) ทีม Jet Propulsion Lab ของนาซ่า ต่างโห่ร้องแสดงความยินดี หลังลุ้นระทึกกับการลงจอดบนดาวอังคารของยาน “ฟินิกซ์” ตลอด 7 นาทีที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และปรากฏว่ายานลงจอดอย่างสมบูรณ์

การลงจอดดาวอังคารไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลายโครงการที่ล้มเหลวไปแล้ว และโครงการ “ฟินิกซ์” นี้ ก็ได้ชื่อมาด้วยเหตุของการฟื้นคืนชีพมาใหม่จากกองเถ้าถ่านของโครงการเดิม โดยในครั้งนี้ ไม่ได้ใช้ระบบถุงลมในการชะลอความเร็วลงสู่พื้นเหมือนเมื่อครั้งยาน Pathfinder ลงจอด แต่ใช้การยิงจรวดขับดันที่ขายาน ซึ่งจะเป็นเทคนิคที่จะใช้เมื่อมีการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารจริง ความสำเร็จครั้งนี้จึงเป็นเครื่องสนับสนุนการใช้วิธีการนี้ได้

ยานฟินิกซ์ถูกปล่อยจากฐานเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2550 และใช้เวลา 10 เดือนเดินทางเป็นระยะทาง 423 ล้านไมล์ก่อนจะถึงและลงจอดบนดาวอังคารเมื่อเช้านี้ ที่บริเวณ “ที่ราบอาร์กติก” (Arctic plain) ตามเป้าหมาย และเริ่มส่งภาพรอบ ๆ ยานกลับมายังโลก

การสำรวจดาวอังคารครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจที่ขั้วเหนือของดาวอังคาร ซึ่งมีอุณหภูมิเย็นจัด และมีการพบในปี 2545 ว่ามีน้ำแข็งอยู่ใต้ผิวดาว ภารกิจของยานฟินิกซ์คือ เจาะลงไปเก็บตัวอย่างน้ำแข็งนั้นมาวิเคราะห์หาสารอินทรีย์ อันจะเป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิต ถ้าเคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารจริง

ที่มา BBC, Reuters


หลังจากที่ได้ลงจอดบนพื้นดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ Mars Phoenix Lander สามารถส่ง tweets มายังแฟน ๆ ชาว twitter ที่สนใจติดตามข่าวสารได้แบบทันต่อเหตุการณ์ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตาม Mars Phoenix Lander ได้ที่ twitter.com/MarsPhoenix

ที่จริงแล้ว ผลงาน tweets ของ Mars Phoenix Lander ที่ส่งมาเหมือนกับเป็นการเล่าเรื่องราวแบบบุคคลที่ 1 นี้ เป็นของ Veronica Mcgregor หนึ่งในสมาชิกของ Jet Propulsion Laboratory (JPL) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานของ NASA ที่เป็นผู้ออกแบบ Mars Phoenix Lander นี่เอง (ไม่ได้ส่งมาจากดาวอังคารจริง ๆ)

ปัจจุบันมีผู้ติดตาม (followers) Mars Phoenix Lander นี้แล้วมากกว่า 10,000 คน ภายในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์

ขอเชิญชวนสาวก twitter ที่สนใจ follow MarsPhoenix กันครับ


ไปดาวอังคาร..ไม่ยากอย่างที่คิด


ไปดาวอังคาร...ไม่ยากอย่างที่คิด

การเดินทางดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่อยู่คู่กับมนุษย์มาแต่ใหนแต่ไรนับแต่อดีต หลายครั้งก็ทำให้เราได้เรียนรู้และพบสิ้งใหม่ๆอออยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นการเดินทางเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ที่เหมาะสมกับการดำลงชีวิตแต่ปัจจุบันในยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีทำให้การเดินทางของมนุษย์สะดวกสะบายและรวดเร็วมากขึ้น ขอบเขตการเดินทางของมนุษย์ก็เริ่มขยายออกไปเรื่อยๆจากเดิมเป็นแค่การเดินทางข้ามทวีป เารก็สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญออกไปสำรวจนองอวกาศโดยเริ่มที่ดวงจันทร์ และเริ่มวางโครงการเดินทางไปยังดวงดาวอื่นที่อยู่ไกลออกไป

คงจะไม่เกินจริงไปนักหากจะกล่าวว่าในอนาคตอันใกล้คนธรรมดา (ที่พอจะมีสตางค์) ก็สามารถเดินทางไปท่องอวกาศกับเขาได้ด้วนเหมือนกันไม่จำกัดแต่นักบินอวกาศที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา

ที่ว่าจะไม่เกินจริงก็มีบริษัทเอกชนรวมไปถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่เริ่มทำการศึกษาและออกแบบยานอวกาศและวิธีการเดินทางท่องไปในอวกาศกันแล้วในปัจจุบัน ที่สำคัญก็คือท้ายที่สุดแล้วพวกเขาหวังที่จะให้มันเป็นการเดินทางในเชิงพาณิชย์ไม่ต่างอะไรจากเครื่องบินโดยสารในปัจจุบัน

ตัวอย่างก็เช่นนักวิจัยและวิศวกรจากมหาวิทยาลัย Purdue ที่กำลังออกแบบยานอวกาศรุ่นใหม่ให้เป็นเหมือนโรงแรมเคลื่อนที่ในอวกาศเพื่อการเดินทางไปสู้ดาวอังคารซึ่งเป็นเป้าหมายที่อยู่ในความสนใจของใครหลายคนในตอนนี้

แต่การเดินทางในเชิงพาณิชย์คงต้องอาศัยเงินจากผู้โดยสาร แน่นอนว่าหากสามารถบรรทุกผู้โดยสารไปได้มากเท่าไหร่ ความเป็นไปได้ที่จะไม่ขาดทุนก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง

"แรงโน้มถ่วง" จึงเป็นคำตอบที่จะทำให้การเดินทางไปดาวอังคารในเชิงพาณิชย์มีความเป็นไปได้มากขึ้น

Cycler คือชื่อยานต้นแบบที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของดวงดาวเป็นตัวขับเคลื่อนให้ยานสามารถเดินทางไปยังจุหมายปลายทาง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ของมัน เพื่อเร่งความเร็วให้มากขึ้น ทำให้เราไม่ต้องเร่งเชื้อเพลิงติดตัวขึ้นไปเป็นจำนวนมากนั้นเอง

เส้นทางการเดินทางของยานอวกาศลำนี้อาจจะไม่เป็นเส้นตรงจากโลกไปสู้ดาวอังคารเลยเสียทีเดียว เนื่องด้วยต้องอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ทั้งหลาย คือเมื่อยานถูกเร่งความเร็วเข้าไปใกล้กับดาวเคราะห์ดวงนั้น เส้นทางของยานอวกาศก็จะเปลี่ยนไปเป็นเส้นโค้งรูปตัว U โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์นั้นคอยเหวี่ยงยานอวกาศให้กลับออกมาในทิศทางที่เราต้องการ

ซึ่งผลพลอยได้ก็คือความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่งมากอย่างไรก็ตาม เนื่องจากคาบการโครจรและรูปแบบการโครจรที่ต่างกันเป็นอุปสรรคที่สำคัญนในการหาเส้นทางระหว่างดาวอังคารกับโลกเนื่องจากวงโครจร

ของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปเกือบจะวงกลม ในขณะที่ดาวอังคารเป็นรูปไข่หรือวงรี

ดังนั้นระยะทางระหว่างโลกกับดาวอังคารจึงขึ้นอยู่กับดาวอังคารว่ากำลังโครจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ที่ตำแหน่งใดนั่นเอง และหากว่าเราต้องการให้ระยะทางและเวลาในการเดินทางระหว่างโลกกับดาวอังคารนั้นสั้นที่สุด เราคงจะได้ตารางการเดินทางที่มีความเป็นไปได้ไม่บ่อยนัก วึ่งอาจจะเป็น เดือน ปี หรือหลายปีต่อครั้งก็เป็นได้

ทางทีมผู้ออกแบบคาดว่ายาน Cycler น่าจะเปิดให้บริการเที่ยวปฐมฤกษ์ได้ราวปี

ค.ศ.2018 โดยผู้โดยสารเที่ยวแรก 50 คน


http://seedang.com/stories/13193
http://seedang.com/stories/13232


PS.  

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น