Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เกี่ยวกับโรงเรียน Ep เรื่องระบบการสอนของ 3 โรงเรียนที่เคยมาตั้งกระทู้เอาไว้แล้วคะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จากครั้งที่แล้วที่ตั้งกระทู้เอาไว้ได้ผลตอบรับดีมากคะ

ทีนี้เลยจะถามเรื่องโรงเรียน EP โรงเรียนคะว่าที่ไหนดีกว่ากัน

มีโรงเรียน

เลิศหล้ากาญจนา 50000

อัสสัมชัญธนบุรี 60000

โดยการเรียนการสอนคือระบบบ EP ทั้ง 2 โรงเรียนเลยคะ

โดยเลิศหล้าเป็นระบบการสอนจากแคนาดา

อัสสัมชัญเป็นระบบบการสอนจากอังกฤษ

แต่เราอยากรู้ว่าต่างกันอย่างไรอะคะ

ทั้งๆที่เหมือนกันทำไม๊ทำไม

ค่าเทอมต่างกันม๊ากมากขนาดนี้

ช่วยตอบทีคะ

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

..... 24 ส.ค. 51 เวลา 23:04 น. 1

มาเรียนโยธิน สิค้าบดีนะ
แต่ มานจาโดนทุบและ
ของดีๆ มักมีอะไรมารังควาน
แรกเข้า 100k ค่าเทอม 35000

0
Dee 5 พ.ค. 54 เวลา 20:35 น. 2

English Program ของเลิศหล้า เพชรเกษมไม่ทราบแน่ว่าเป็นระบบยังไง น่าจะมีโปรแกรมสามัญและอินเตอร์(ภาษาอังกฤษ 80-90%) แต่เลิศหล้ากาญจนาภิเษกเป็นสองภาษา เรียนภาษาอังกฤษกับครูแคนาดาประมาณ 15-16 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ไทย 50:อังกฤษ 50) เลิศหล้าเกษตรนวมินทร์เรียนเป็นภาษาอังกฤษประมาณ 70% ไทย 30%
ส่วนอัสสัมธนฯเป็นโรงเรียนเก่าแก่ในเครือคาทอลิก (คณะนักบวชเซนคาเบรียล เครือเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก เซนคาเบรียล มงฟอร์ดวิทยาลัย อัสสัมฯสมุทรปราการ อัสสัมฯศรีราชา) เป็นคริสตังคือคาทอลิก ถ้าเป็นคริสเตียนก็โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย คริสธรรมศึกษา ประมาณนี้ซึ่งเป็นนิกายโปรแตสแตนท์
นิกายโรมันคาทอลิกคณะนักบวชเซนปอลเดอร์ชาร์ต ก็มี โรงเรียนเซนโยเซฟคอนเวนต์ อัสสัมชัญศึกษา อัสสัมชัญคอนแวนต์ ไม่รู้รวมพระหฤทัยคอนแวนต์ด้วยหรือเปล่า เข้าไปดูเว็บโรงเรียนได้
พวกเครือคาทอลิกบางส่วน เช่น เครืออัสสัมฯ หรือเซนโย มาแตร์ มีข้อได้เปรียบโรงเรียนแนวสองภาษาหรือระบบนานาชาติ ตรงที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่าในเรื่องการติวเด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยสายสามัญ แบบเก่าแก่กว่า คุณครูอยู่กันมานานมาก ปั้นลูกศิษย์ลูกหามาหลายพันคน บางคนสอนมา 30 ปี
โรงเรียนคริสต์เป็นเอกชนไม่มีเจ้าของ การจ่ายแป๊ะเจี๊ยะเป็นไปเพื่อการสร้างอาคารสถานที่และอุปกรณ์การเรียน การจัดหาอาจารย์หรือสถาบันกวดวิชาพิเศษเก่งๆมาติวในช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้มากๆ เพื่อชื่อเสียงของโรงเรียนส่วนนึง เพื่อตัวเด็กและผู้ปกครองส่วนนึงเองด้วย ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครองต้องเอาใจใส่เด็กเองด้วย จะมาหวังพึ่งโรงเรียนอย่างเดียวคงไม่ได้
คณาจารย์ในช่วงชั้นม.ปลาย โดยเฉพาะของกรุงเทพคริสเตียน เซนโยฯ มาแตร์ เซนคาเบรียลและเครืออัสสัมฯ จึงเน้นจัดคณะครูที่จบปริญญาโทเป็นส่วนใหญ่ บางแห่งเน้นรับครูที่จบมหาลัยดีๆเช่น ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ค่าเทอมสามัญถูกกว่า EP ประมาณไม่เกิน 2 หมื่น ดังนั้นถ้าไม่เก็บแป๊ะเจี๊ยะ คงไม่มีปัญญาสร้างโรงเรียนซะใหญ่โตมโหฬาร ให้พวกผู้ปกครองหน้าใหญ่ทั้งหลายได้ส่งลูกเข้าไปเรียนในโรงเรียนโก้หรูได้ เพราะโรงเรียนเป็นเอกชนที่ไม่มีเจ้าของ และไม่มุ่งเน้นแสวงหากำไร มีพระหรือบาทหลวงในศาสนาคริสต์เป็นผู้อำนวยการ

เท่าที่ดูมา EP ของอัสสัมธนฯเพิ่งเปิดไม่นาน เพื่อรองรับการแข่งขันกับโรงเรียนแนวใหม่คือโรงเรียนสองภาษา โรงเรียนอินเตอร์ เพื่อสนองความต้องการของผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานได้เรียนภาษาอังกฤษแบบอินเตอร์ ในขณะที่เด็กบางคนก็ยังคงเรียนสายสามัญอย่างที่โรงเรียนถนัดมาตลอด แต่เน้นให้ครูต่างชาติสอนภาษาอังกฤษมากขึ้น
EP ของอัสสัมชัญบางรักและธนบุรีเหมือนกับเซนโยฯ คือ เรียนทุกวิชาเป็นภาษาอังกฤษร้อยละ 90 อิงหลักสูตรกระทรวงศึกษาฯ เว้นภาษาไทยและพระพุทธศาสนาเรียนเป็นภาษาไทย จึงเป็นแนวเดียวกับหลักสูตรอินเตอร์ฯ
ในปีการศึกษา 2554 อัสสัมธนฯปรับหลักสูตรให้เหมือนเซนคาเบรียลและอัสสัมฯบางรัก สายสามัญเรียนภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 5 คาบ 1 ใน 5 คาบต้องเรียนภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติ และสอนเสริม Science, Maths, Social Sciences, Computer เป็นภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติ เท่ากับ 1 อาทิตย์เรียนภาษาอังกฤษกับครูไทย 4 คาบ ครูต่างชาติ 5 คาบ ตอนเย็นใครกลัวเรียนภาษาอังกฤษไม่ทันเด็ก EP ก็ไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษกับครูชาวอังกฤษที่สถาบันภาษาของโรงเรียน 4-5 โมงเย็นอีกวันละ 1 ชั่วโมงเว้นวันศุกร์ รวมอาทิตย์ละ 14 ชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ อันนี้คือค่าเทอม 2 หมื่นนะ ถ้า 6 หมื่นกว่านั่นเรียนแบบอินเตอร์
ความแตกต่างที่เด่นชัดของสองโรงเรียนคือ อัสสัมธนฯมีม.ปลาย ในขณะที่เลิศหล้าไม่มี มีถึงแค่ม.3 และเน้นไปเรียนต่อแต่ด้านอินเตอร์และต่างประเทศ เพราะดูๆแล้วไม่มีการจัดติวสอบเข้าเตรียมอุดมหรือมหิดลวิทย์ฯอะไรประมาณนี้ แต่ระดับอนุบาลและประถมดีมากพอสมควร วิชาการเฉพาะด้านภาษาอังกฤษและไทยไม่เป็นรองเด่นหล้า แต่ที่ต้องติวเพิ่มเข้มข้นคือ คณิตศาสตร์ ซึ่งจะหินมากและการแข่งขันสอบเข้าม.1 โรเงรียนรัฐบาลดังๆออกข้อสอบคณิตศาสตร์ยากระดับเดียวกับข้อสอบ สสวท. ถ้าอยู่เลิศหล้าแล้วเรียนไม่เก่ง เลขก็ไม่ไปติว ในขณะที่โรงเรียนมีถึงแค่ม.3 อันนี้ก้ต้องไปคิดกันเอาเองนะ แต่ถ้าเรียนเก่งๆแล้วไปติวข้างนอกด้วยก็คงไม่เท่าไหร่

อัสสัมธนฯมีม.ปลาย เด็กม.ปลายส่วนใหญ่เป็นเด็กเก่าจากม.ต้นขึ้นมาประมาณ 350 คนเลย ซึ่งส่วนมากจะเข้าวิทย์-คณิตได้ พวกเข้าทีหลังรับได้ไม่เกิน 70 คน ถึงตอนนั้นจะเหลือที่ว่างแค่สายศิลป์ก็จะเสียเปรียบ อัตราส่วนเด็กสอบเข้ามหาลัยดังๆของรัฐได้มีมากกว่าโรงเรียนเอกชนอื่นๆในแถบเดียวกัน บางปีอาจจะมากถึง 80% ของอัสสัมบางรัก เซนคาเบรียลที่อยู่ในเมือง เช่น บางรักสอบได้ 80% ที่นี่อาจได้ถึง 65% หรือมากกว่านั้น
ปีนี้เด็กอัสสัมธนฯสอบเข้าแพทย์ ทันตะได้ 10 คน อัสสัมบางรัก 15 ถ้ารวมมหาลัยเอกชนอย่างม.รังสิตก็จะได้สถิติอีกแบบนึง แต่เด็กที่สอบเข้าวิศวะ เภสัช วิทยาฯได้ดูแล้วไม่ค่อยแตกต่างกันเลยระหว่างบางรักกับธนบุรี แต่อย่างว่า...ต้องยอมรับความจริงที่ว่าโรงเรียนในเมืองคงแข็งกว่าเนื่องจากโอกาสในการคัดเด็กในเมือง กับเด็กแถบปริมณฑล แต่ดูแล้วอัสสัมชัญธนบุรีสถิติสอบเข้ามหาลัยก็ไม่ได้ขี้เหร่เลย เมื่อเทียบกับสารสาสน์วิเทศและโพธิสารซึ่งน้อยกว่า
ข้อเสียของอัสสัมธนฯคือเด็กเยอะ การดูแลเด็กเล็กต้องระวังเรื่องการเข้าออกของผู้คนและรถที่วิ่งในโรงเรียน โรงเรียนมีทั้งหมด 16-17 ตึก ถ้าต่อไปคนเข้าออกแลกบัตรประชาชนแล้วติดบัตรผู้เข้าเยี่ยมก็จะดีเลิศประเสริฐมาก เพราะผู้ปกครองเด็กประถมบางคนกลัวลูกหายจนต้องไปนั่งเฝ้าทั้งวันก็มี

เลิศหล้าเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ทั้งโรงเรียนมีเด็ก 1,200 คนประมาณๆ เวลาเข้าออกต้องแลกบัตรโดยเคร่งครัด มีข้าวให้เดินไปกินเป็นแถวจนถึง ม. 3 ในขณะที่อัสสัมฯต้องช่วยตัวเอง ป.1-3 จัดอาหารให้ แต่ป.4 ขึ้นไปต้องซื้อข้าวทานเอง เด็กแน่นมากๆๆ ไม่รู้เลยว่าเด็กป.4 จะมีปัญญาไปแย่งซื้อข้าวกับพี่ ม.6 หรือเปล่า เด็กผู้ชายม.ปลายอัสสัมธนฯบางส่วน อาจจะเป็นส่วนที่ไม่ใช่เด็กเรียนซัก 30%ที่ชอบเอ็นท์กันไม่ติดล่ะมั้ง มีที่เกเรพูดจาหยาบคายและแรงๆบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กโควต้าที่เป็นนักกีฬา พฤติกรรมบางทีสุดทนและด่าว่าครูและโรงเรียนขึ้นตัวเงินตัวทองเมื่อถูกบังคับให้เรียน Summer เด็กกลุ่มนี้มาก ไม่รู้บราเดอร์จะรับมาให้เสียชื่อโรงเรียนทำไม&nbsp 
สรุปคงไปเทียบกับพวกที่สอบเข้ามัธยมไม่ได้ โรงเรียนที่มี ป.1-ม.6 ก็อย่างนึง อนุบาล 1-ม.3 ก็อย่างนึง ม.1-ม.6 ก็อย่างนึง และพวกโรงเรียนที่มีแต่ม.ปลายอย่างเตรียมฯหรือมหิดลวิทย์ก็อีกอย่างนึง คุณไปรับเด็กเก่งๆของชาวบ้านเค้ามา เค้าสอนกันมาตั้งแต่อนุบาล พอเก่งดีทุกอย่างแล้วก็มาเรียนม.4-6 กับคุณ คุณก็มีโอกาสคัดคนที่ดีที่สุด แล้วจะมาว่าโรงเรียนคุณเก่งเลิศเลอ มันก็คงไม่ใช่

ขอโทษด้วยที่เขียนยาวววววมาก ลูกเรียนอนุบาลที่เลิศหล้า แล้วมาต่อป.1 ที่อัสสัมธนฯ ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน โรงเรียนจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคลากรครูแต่ละคน เป็นคนดีมั้ยมีจิตวิญญาณเป็นครูมั้ย อยู่ที่ตัวเด็กได้รับการอบรมมาดีมั้ยเป็นศิษย์ที่ดีมั้ย และผู้ปกครองที่ดีควรจะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนดูแลเอาใจใส่บุตรหลานใกล้ชิด อย่าให้มาเป็นปัญหากับครูและเพื่อนที่โรงเรียน หรือประพฤติตนเสื่อมทรามเสียชื่อเสียงสถาบัน
...ก็เท่านั้น

0
Giphy_Gib 5 มิ.ย. 60 เวลา 12:21 น. 3

แวะเข้ามาหาข้อมูลเพราะ จะต้องไปมอบตัวให้ลูกเรียน อสัมธน พฤหัสนี้แล้ว

ขอบคุณความคิดเห็นที่ 2 มากๆนะคะ

2
ปุ้ม 7 ม.ค. 62 เวลา 21:53 น. 3-1

บรรยายได้ละเอียดและชัดเจนมากค่ะ เลิศจริงๆ

0
KiSsbot 31 พ.ค. 62 เวลา 10:38 น. 3-2

วิเคราะห์ได้ตรงเป้ามากครับ เห็นด้วยทุกประการ

0
manaaree 16 ก.พ. 61 เวลา 23:10 น. 4

ลูกเรียน อยู่อัสสัมธน ป.3 จำนวนนักเรียนในห้อง 45 คน บางห้อง 48 คน ในส่วนตัวคิดว่าจำนวนเยอะมากเกินไป และปีนี้เจอคุณครูไม่่ดี ใช้คำพูดกับลูกศิษย์แรงๆ ตวาดเด็ก (เจอและโดนคำพูดมาด้วยตัวเองค่ะ) รู้สึกแย่ คือตอนนี้ลูกไม่ค่อยอยากไปโรงเรียนแล้วค่ะ ผลการเรียนแย่ลงมากๆ แต่ที่ผ่านมา ป1 กับ ป2 เจอครูดีมากค่ะ

1
ยิ้ม 30 ต.ค. 62 เวลา 11:46 น. 4-1

ไม่ทราบว่าพอบอกชื่อครูที่ดีของ ป.1 ภาค Bell ได้ไหมคะ พอดีน้องจะเข้า ป.1 ภาค Bell ปีหน้านี้คะ

0