Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มาช่วยทำข้อสอบเคมีหน่อยนะคะ ... ม.4 ค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

1. สารประกอบที่เกิดจากธาตุคาร์บอน (C) รวมกับธาตุคลอรีน (Cl) มีรูปร่างโมเลกุลเป็นอย่างไร
  ก.  เส้นตรง    ข.  สามเหลี่ยมแบนราบ
  ค.  พีรามิดฐานสามเหลี่ยม   ง.  ทรงสี่หน้า

2. โมเลกุลของ CO2 มีมุมพันธะเท่าไร
  ก.  90o  ข.  109.5o ค.  120o  ง.   180o

จากข้อมูลต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 3  ,  4
 สารที่ละลายน้ำได้ KCl , NaCl , KNO3 , NaNO3 , Na2SO4
 สารละลายน้ำไม่ได้ AgCl , BaSO4 , AgI , PbSO4 , FePO4

3. ผสมสารละลายคู่ใดต่อไปนี้ ไม่เกิดตะกอน
 ก.AgNO3 กับ NaCl   ข.Ba(NO3)2 กับ K2SO4
 ค.NaNO3 กับ KI   ง.Fe(NO3)3 กับ K3PO4

4. สมการไอออนิกสุทธิแสดงการเกิดปฏิกิริยาของสารละลาย Pb(NO3)2 กับ K2SO4 เป็นอย่างไร
  ก.  K+(aq)  +  NO-3(aq) ------------------->               KNO3(s)
  ข.  Pb2+(aq)  +  SO42-(aq) ------------------->        PbSO4(s)
  ค.  Pb2+(aq)  +  2NO3-(aq) ------------------->                   Pb(NO3)2(s)
  ง.  Pb2+(aq)  +  NO3-(aq)  +  K+(aq)  +  SO42-(aq) ------------------->   PbSO4(s) + NO-3(aq) + K+(aq)

5.  ธาตุ X มีเลขอะตอม 11 กลายเป็นไอออน X+  ข้อใดคือการจัดอิเล็กตรอนของ X+
  ก.2 , 8  ข.2 , 8 , 1   ค.2 , 8 , 2  ง.2 , 8 , 8

6.  จากข้อ 1 X+  ควรมีขนาดเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับ X
  ก.เล็กลง  ข.เท่าเดิม  ค.ใหญ่ขึ้น ง.ระบุไม่ได้เพราะขาดข้อมูล

7. การเปลี่ยนแปลงใดเกิดปฏิกิริยาเคมี
 ก.เผาน้ำตาลทรายจนไหม้   ข.นำน้ำไปต้มจนแห้ง 
  ค.ใส่เกลือลงในน้ำ   ง.เผาเหล็กจนหลอมเหลว

8. อะตอมของธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์นิวเคลียร์เป็น  จะมีจำนวนอนุภาคมูลฐานตามข้อใด
 
  โปรตอน  นิวตรอน  อิเล็กตรอน
  ก.     17       17        17
  ข.     17       17        20
  ค.     17       20        17
  ง.     17       20        20

9. สมการเคมีแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อเทน้ำยาล้างห้องน้ำลงบนพื้นหินปูน แล้วเกิดฟองขึ้น มาเป็นอย่างไร
 ก.  H2CO3  -------------------> H2O  +  CO2
 ข.  CaCO3  -------------------> CaO  +  CO2
 ค.  2NaHCO3 ------------------->  Na2CO3  +  CO2  +  H2O
 ง.  CaCO3  +  2HCl        ------------------->     CaCl2  +  H2O  +  CO2

10. ธาตุ P มีเลขอะตอม 11 ทำปฏิกิริยากับธาตุ Z ซึ่งมีเลขอะตอม 16 เกิดเป็นสารประกอบที่มีสูตรเป็นอย่างไร
 ก.  PZ2   ข.  PZ3   ค.  PZ   ง.  P2Z

11. เมื่อหยดกรดลงบนพื้นหินอ่อน จะมีฟองแก๊สเกิดขึ้นทันที แต่เมื่อหยดกรดความเข้มข้นเท่าเดิมลงบนเหล็ก ต้อง
  ใช้เวลานานจึงจะเกิดฟองแก๊ส จากปรากฏการณ์ดังกล่าว แสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
  ก.อุณหภูมิ     ข.ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
  ค.พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น    ง.ธรรมชาติของสารตั้งต้น

12. การเปลี่ยนแปลงใดเป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  ก.น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง    ข.น้ำตาลละลายในน้ำกลายเป็นน้ำเชื่อม
  ค.กล้วยดิบกลายเป็นกล้วยสุก   ง.น้ำคลองตกตะกอน
13. กำหนดธาตุ  X  Y  Z  มีเลขอะตอมเท่ากับ 11  16  37  ตามลำดับ ข้อใดถูกต้อง
  ก. ธาตุ X และ ธาตุ Y เป็นธาตุในหมู่เดียวกัน ข.ธาตุ X และ ธาตุ Z เป็นธาตุในคาบเดียวกัน
  ค. ธาตุ Z มีขนาดอะตอมใหญ่ที่สุด  ง.ทุกธาตุควรมีสมบัติเป็นอโลหะ

14.   ธาตุ A – 200 เมื่อตั้งไว้ 102 วัน จะมีมวลเหลือ 100 g  ถ้าครึ่งชีวิตมีค่า 17 วัน จงหามวลเริ่มต้นของ
  ธาตุ A – 200
  ก.3200 g  ข.3600 g  ค.6400 g  ง.6800 g

15. สารละลายคู่ใด เมื่อผสมกันแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
  ก.CaCl2  +  NaNO3 ข.NaNO3  +  K2SO4 ค.K2SO4  +  MgCl2  ง.MgCl2  +  Li3PO4

16. ธาตุ  X  มีเลขอะตอมเท่ากับ 12   ข้อใดเป็นไอออนที่เสถียรของธาตุ X
  ก.X+     ข.X-      ค.X2+     ง.X2-

17. สมบัติใดของโลหะแทรนซิชันที่แตกต่างต่างจากสมบัติของโลหะหมู่ I และ II
  ก.ความหนาแน่น       ข.มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  ค.เกิดสารประกอบที่มีสีเฉพาะตัว   ง.เมื่อกลายเป็นไอออนจะมีประจุไฟฟ้าบวก

18. X และ Y เป็นไอโซโทปของธาตุเดียวกัน มีเลขมวลเป็น 26 และ 27 ตามลำดับ Y จะมีนิวตรอนเท่าใด ถ้า X
  มี 13 อิเล็กตรอน
  ก.27   ข.26   ค.14   ง.13
19. สารประกอบใด เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุ X ซึ่งมีเลขอะตอม 12 กับธาตุ Y ซึ่งมี           เลขอะตอม 17
  ก. XY  ข. X2Y  ค. XY2 ง. X2Y3

20. การเปลี่ยนแปลงใดเกิดปฏิกิริยาเคมี
  ก.เผาน้ำตาลทรายจนไหม้    ข.นำน้ำไปต้มจนแห้ง
  ค.ใส่เกลือลงในน้ำ    ง.เผาเหล็กจนหลอมเหลว

21.  อะตอมหรือไอออนชนิดใดที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานได้ถูกต้อง
            (กำหนดเลขอะตอม Na = 11 , Mg = 12 , Cl = 17 , O = 8)
  ก.Na+  2 , 8 , 1  ข.Mg  2 , 8 , 2  ค.Cl-  2 , 8 , 7  ง.O2-  2 , 6

22. สารประกอบคู่ใดเป็นสารประกอบไอออนิก
 ก.H2O  ,  CO2  ข.NaCl  ,  CaO  ค.CH4  ,  Na2O   ง.HCl , PCl5

24. ธาตุ X มีจำนวนโปรตอนเท่ากับ 15 ธาตุ Y มีเลขมวลเท่ากับ 31 และนิวตรอนเท่ากับ 11 ถ้าธาตุ X และ Y เป็น
  ไอโซโทนกัน ธาตุ X จะมีจำนวนอิเล็กตรอนและเลขมวลเป็นเท่าใด ตามลำดับ
  ก.อิเล็กตรอน   =   15 เลขมวล    =    31 ข.อิเล็กตรอน   =   15 เลขมวล    =    26
  ค.อิเล็กตรอน   =   20 เลขมวล    =    31 ง.อิเล็กตรอน   =   20 เลขมวล    =    26

28. เหตุใดจึงนิยมใช้แผ่นตะกั่วกั้นรังสีเอกซ์มากกว่าการใช้แผ่นเหล็ก
  ก.มีความหนาแน่นมากกว่า    ข.มีจุดหลอมเหลวต่ำ
  ค.สามารถสะท้อนรังสีเอกซ์ได้มากกว่า  ง.สามารถทำให้รังสีเอกซ์เบี่ยงเบนได้มากกว่า

29. ข้อใด ไม่ เป็นผลจากการใช้สารกัมมันตรังสี
  ก.ทำให้เกิดความร้อน   ข.ทำให้ได้ธาตุที่หนักมากขึ้น
  ค.สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  ง.ทำให้ทราบความผิดปกติของอวัยวะบางชนิด

30. ข้อใด ผิด
  ก.ไอโซโทปของธาตุใด ๆ มีสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า
  ข.ไอโซโทปของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน
  ค.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน จำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
  ง.ธาตุชนิดเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน สมบัติทางเคมีของธาตุนั้นไม่จำเป็นต้องเท่ากัน

31. รังสีชนิดใดเมื่อกระทบผิวหนังของเราด้วยปริมาณมากพอ ร่างกายของเราสามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก
  ก.บีตา   ข.ไมโครเวฟ  ค.อินฟราเรด  ง.อัลตราไวโอเลต

33. ข้อใด  ไม่ใช่  สมบัติของรังสีจากสารกัมมันตรังสี
  ก.สามารถทำให้แก๊สแตกตัวนำไฟฟ้าได้  ข.บางชนิดมีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก
  ค.ทุกชนิดเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กได้  ง.สามารถทำให้เกิดสารกัมมันตรังสีชนิดใหม่ได้

34. รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ทำให้โลกมีความเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตคือข้อใด
  ก.รังสีคอสมิก ข.รังสีแกมมา  ค.รังสีอินฟราเรด ง.รังสีอัลตราไวโอเลต

35. ธาตุ  A  และ ธาตุ B  เป็นไอโซโทปของธาตุเดียวกัน  ข้อใดถูกต้อง
  ก.จำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน    ข.มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
  ค.จำนวนโปรตอนเท่ากัน    ง.ทำปฏิกิริยาเคมีได้ผลเหมือนกัน

36. งานใดที่ ไม่ใช้ รังสีแกมมา
  ก.การถนอมอาหาร    
  ข.การตรวจกระเป๋าเดินทางในสนามบิน
  ค.การตรวจสอบหารอยร้าว รอยรั่วในแผ่นโลหะ
  ง.การศึกษาความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์

37. รังสีเอกซ์ ไม่สามารถวินิจฉัยโรคในข้อใด
  ก.วัณโรค  ข.เนื้องอก  ค.กระดูกอ่อน  ง.กระเพาะอาหารเป็นแผล

38. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับความสามารถในการกั้นรังสีเอกซ์จากมากไปน้อยของวัสดุทั้ง 3 ชนิดที่มีขนาดเท่ากัน
  ก.อลูมิเนียม  ตะกั่ว  ทองคำ    ข.ตะกั่ว  ทองคำ  อลูมิเนียม 
  ค.ทองคำ  ตะกั่ว  อลูมิเนียม    ง.อลูมิเนียม  ทองคำ  ตะกั่ว

39. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของรังสีอินฟราเรด
  ก.ใช้อบสีรถยนต์ที่พ่นแล้ว     
ข.รักษาผิวหนังบางชนิด
  ค.รักษาอาการบาดเจ็บเนื่องจากกล้ามเนื้อแพลง    
  ง.หารอยรั่วของท่อส่งของ ของเหลวและแก๊สทีอยู่ใต้ดิน
40. ธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งมีมวล 1 กรัม สลายตัวเหลือ  กรัม ในเวลา 120 วัน ธาตุกัมมันตรังสีนี้ มีครึ่งชีวิตเท่าไร
  ก.3.75 วัน  ข.7.5 วัน  ค.15 วัน   ง.30 วัน

41. ข้อใดถูก
  ก.รังสีแอลฟา  เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีสมบัติคล้ายรังสีเอกซ์
  ข.รังสีแกมมา  เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีสมบัติคล้ายรังสีแอลฟา
  ค.รังสีแอลฟา  เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค
  ง.รังสีบีตา  เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค

42.  ข้อใดถูกต้อง
  ก.ฟอสฟอรัส – 32  ใช้กำจัดแมลง
  ข.ยูเรเนียม – 238 ใช้คำนวณหาอายุของมัมมี่
  ค.คาร์บอน – 14 ใช้คำนวณหาอายุของซากไดโนเสาร์
  ง.โคบอลต์ – 60 ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
 
44.เหตุใดแพทย์จึงให้คนไข้ดื่มสารละลายแบเรียมซัลเฟต ก่อนจะเอกซเรย์กระเพาะอาหาร เพื่อหาตำแหน่ง
  ที่กระเพาะอาหารรั่ว
  ก.เพื่อป้องกันมิให้รังสีแพร่ไปทำลายอวัยวะภายในร่างกายส่วนอื่น ๆ
  ข.เพื่อต้องการให้กระเพาะอาหารทึบแสง จะได้เห็นรอยรั่วได้ชัดเจน
  ค.เพื่อเคลือบกระเพาะอาหาร ป้องกันมิให้รังสีเอกซ์ทำลายเยื่อบุกระเพาะ
  ง.เพื่อให้แบเรียมซัลเฟตดูดกลืนรังสีเอกซ์ไว้ แล้วกระจายไปให้ทั่วกระเพาะอาหารเพื่อให้เห็นกระเพาะ
อาหารทั่วทั้งกระเพาะ

45.   ข้อใดถูกต้อง
 1. การเกิดพันธะเคมีเป็นกระบวนการคายพลังงาน
 2. โมเลกุลเกิดขึ้นเมื่ออะตอมอยู่ใกล้กันมากที่สุด
 3. ในการเกิดพันธะเคมีจะมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากอะตอมหนึ่งไปยังอีอะตอมหนึ่งเสมอ
 4. เมื่อสลายโมเลกุลเป็นอะตอมเดี่ยว พลังงานของอะตอมทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบรวมกันจะสูงกว่าพลังงานของโมเลกุลเดิม

  ก. 1 และ 3   ข. 1 และ 4
 ค. 2 และ 3   ง. 2 และ 4

47.   การเปรียบเทียบสมบัติของแก๊ส H2  He  และ CH4 ข้อใดถูกต้อง
  ก.  เมื่อมวลเท่ากัน จะมีปริมาตรเท่ากันที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
 ข.  ที่อุณหภูมิเดียวกัน เมื่อมวลและปริมาตรเท่ากัน แก๊ส H2 จะมีความดันมากที่สุด
 ค.  ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน แก๊สทั้งสามจะมีอัตราการแพร่เท่ากัน
  ง.  เมื่อนำแก๊สทั้งสามมาลดอุณหภูมิ แก๊ส CH4 จะควบแน่นเป็นลำดับสุดท้าย

50.   ถ้าครึ่งชีวิตของ Bi-210 เป็นเวลา 120 นาที ต้องใช้เวลากี่ชั่วโมง Bi-210 จึงจะสลายตัวไป ¾ ของจำนวนเริ่มต้น
  ก. 4   ข. 10   ค. 15   ง. 20 
 

49.  พิจารณาการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันของธาตุทรานสิชันต่อไปนี้ข้อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

           

ก.

KMnO4  ———————–—>

    MnO2

ข.

Ag2CrO4  ————————>

    Ag2Cr2O8

ค.

Fe(NO3)2  ———————-->

FePO4

ง.

K4Fe(CN)6  ———————->

NH4Fe(CN)4

46.   พันธะเคมีของสารต่อไปนี้ ข้อใดถูก

 

พันธะ

 

ไอออนิก

โคเวเลนต์

โคออร์ดิเนตโคเวเลนต์

ไฮโดรเจน ระหว่างโมเลกุล

ก.

SiCl4

XeF4

NH4+

HF

ข.

KBr

Cl2O

PH3

H2S

ค.

SF6

PCl5

SO2

H2O

ง.

MgO

BF3

O3

NH3

 

25.        A และ B เป็นไอโซโทปกัน เมื่อ A เป็นไอออนบวกมีสัญลักษณ์ A3+  มีอิเล็กตรอน 10  และ B มีเลขมวล 27 จงหาจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม B

 

ธาตุ

จำนวนอนุภาค

นิวตรอน

โปรตอน

A

7

7

B

8

7

C

8

8

 

 

 

 

 

 











ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับความช่วยเหลือนะคะ
จะสอบวันพุธนี้แล้ว ยังไม่หายควายเล๊ย

 43.       เบ้าหลอมที่มีสารละลายของ ทองคำ ทองแดง เงิน และอลูมินั่ม อยู่ปนกัน เมื่อที้งเบ้าหลอมให้เย็นโลหะ

            ที่แข็งตัวก่อนจะเป็นโลหะอะไร

 

โลหะ

จุดเดือด

จุดหลอมเหลว

คำตอบ

ทองคำ

2,970

1,063

ก.  ทองคำ

ทองแดง

2,600

1,083

ข.  ทองแดง

อลูมินั่ม

2,450

660

ค.  อลูมินั่ม

เงิน

2,210

961

ง.  เงิน

 

 26.       จากตาราง  ข้อใดถูกต้อง

 

 

ข้อ

โปรตอน

นิวตรอน

อิเล็กตรอน

14

13

13

10

13

14

13

17

10

13

13

10


PS.  http://my.dek-d.com/Dark-elf/story/view.php?id=315665 แจกบีจีนะ รูปดาราไทย-เกาหลี หล่อๆ ทั้งนั้น หรือจะสั่งทำก้อได้ *กาตูนก็มีนะ

แสดงความคิดเห็น

>

28 ความคิดเห็น

......... 21 ก.ย. 51 เวลา 16:48 น. 2

ลองเฉลยดู&nbsp ไม่รู้ถูกมั้ย?
ข้อ 1. ตอบ ง.
2.ตอบ ง.
3.ตอบ ค.
4.ตอบ ข.
5.ตอบ ก.
6.ตอบ ก.
7.ตอบ ก.
8.ตอบ ค.
9.ตอบ ง.
10.ตอบ ง.
11.ตอบ ง.
12.ตอบ ค.
13.ตอบ ค.
43.ตอบ ก.
46.ตอบ ง.

ที่เหลือไม่ได้เรียนที&nbsp  เลยไม่ขอตอบดีกว่า

0
อิอิ+ 21 ก.ย. 51 เวลา 17:23 น. 3

อยู่ในหนังสือเคมีอ.อุ๋เล่นสีเขียวอะคร่ะ(พันธะเคมี)


มีเกือบทุกข้อเล้ยค่ะ

ลองเปิดดูนะค่ะ

0
วัดสับ 21 ก.ย. 51 เวลา 18:46 น. 4
ความคิดเห็นที่ 3
อยู่ในหนังสือเคมีอ.อุ๋เล่นสีเขียวอะคร่ะ(พันธะเคมี)


มีเกือบทุกข้อเล้ยค่ะ

ลองเปิดดูนะค่ะ <<<<ใช่ครับ
ลองไปเปิดดู แต่บางคนก็ไม่ได้ทำเล่มนี้เพราะโรงเรียนดันเปิดก่อนน
Name : อิอิ+ [ IP : 124.121.97.159 ]
Email / Msn:
วันที่: 21 กันยายน 2551 / 17:23
0
prince_rowin 21 ก.ย. 51 เวลา 22:24 น. 5

นั่นดิๆ  เล่มเขียวอ.น่ะมีเยอะมากๆ  เข้าไปเปิดอ่านดุ แต่ถ้าไม่ได้เรียนก็ลองขอดูของเพื่อนๆก็ได้ครับ 

ถ้าจะให้ตอบตามที่ได้อ่านมา  ตาลายแฮะ


PS.  ขอโปรดทุกท่าน......กรุณาสงวนพันธุ์เห็ดด่วน!!!!!!!!
0
kuk 21 ก.พ. 53 เวลา 21:06 น. 6

หนูไม่รู้เรื่องเลยค่ะพี่ ช่วยติวเรื่องการหาพันธะเคมีอ่ะค่ะwww.kukkai1932@hotmail.com

0
5555 27 มี.ค. 53 เวลา 11:23 น. 7

พี่ค่ะหยาก มากๆๆๆๆ
หนูทัมม่ด้ เร๊ย ค่ะ
โอ๊ยยยย!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
ปวดหมอง

0
Kakyyoon 28 พ.ค. 53 เวลา 19:45 น. 8

ทำได้สองข้ออ่าค่ะ ไม่ค่อยแน่ใจ

เพราะเพิ่งเรียน

5. ข.
24. ข.

ทำได้แค่นี้อ่าค่ะ

0
งงข๊ะ 19 มิ.ย. 53 เวลา 10:53 น. 9

พี่คร้า&nbsp มันมั่ยยากปัยหน่อยเหรอคร้า

คือ&nbsp นู๋ทามมั่ยดั่ยสักข้อ

อีกอย่างไม่รู้เรื่องเลยค๊ะ

0
iislets cartoon 18 ก.พ. 54 เวลา 14:13 น. 16

part 1 1-50
1.ง
2.ง
3.ก
4.ข
5.ก
6.ก
7.ก
8-
9.ง
10.ง
11.ง
12.ค
13.ค
14.ค
15.ง
16.ค
17.ต
18.ค
19.ค
20.ก
21.ข
22.ข
24.ข
25-27-
28.ง.
29.ข
30.ค
31*.ง
31-32-
33.ค
34*.ง
35.ค
36*.ง
37ก
38*
39*
40.-
41.ค
42.ค
43.-
44*.ง
45.ง
46.-
47*.
48-49-
50*.
ที่*.-ไม่แน่ใจ กับไม่มีโจทย์

0
ศิษย์อาจารย์ต๊อบ 12 พ.ค. 54 เวลา 18:07 น. 18

เฉลย ..จ่ะ

1. ง.&nbsp หมู่ 4 บริวาร 4 ทรงสี่หน้า

การเกิดมีอยู่ 3 พวกจ่ะ 1. ไม่มีอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ไม่มีมุมระหว่างพันธะ เส้นตรง แต่ระวัง ! ไม่ใช่ 180&nbsp 2. มีอะตอมกลางแต่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว สูตรการท่อง

* หมู่อะไรก็ได้บริวาร 2 เส้นตรงง 180&nbsp หมู่ 3 บริวาร 3 สามเหลียมแบนราบ หมู่ 4 บริวาร 4 ทรางสี่หน้า หมู่ 5 บริวาร 5 ปีระมิดคู่ฐานสามเหลียม&nbsp ม.6 บริวาร 6 แปดหน้า เหนื่อย !

2.&nbsp ง. ^^

3.ก

4. ข

5.ก

6.ค

7.ก

8. เหอะๆ ไม่มีตัวเลข

9. ง

10.ง

ขอเฉลยวันล่ะ 10 ข้อ ข้องใจข้อไหนถามได้เลยค่ะจะอธิบายอย่างละเอียด

ป.ล. ที่ไม่พิมต่อเพราะ เมื่อย อย่างรุนแรงค่ะ TT

0
H2O 22 ก.ค. 54 เวลา 11:02 น. 20

1. สารประกอบที่เกิดจากธาตุคาร์บอน (C) รวมกับธาตุคลอรีน (Cl) มีรูปร่างโมเลกุลเป็นอย่างไร
ตอบ ง.&nbsp ทรงสี่หน้า&nbsp 
เหตุผล Cl จะใช้ e ร่วมกันกับ C ได้เพียง 1 คู่ แต่เนื่องจาก C มี e วงนอกเพียง 4 e จึงใช้ Cl 4 อะตอม เกิดเป็นสารประกอบ CCl4 ทำให้ทั้ง C และ Cl จัดเรียงe เหมือนก๊าซเฉื่อย โดยไม่มี lone pair e โครงสร้าง จึงเป็น AX4&nbsp ตามทฤษฏี VSEPR เกิดพันธะเดี่ยว 4 พันธะ แต่ละพันธะ ก็จะผลักกันเพื่อให้อยู่ห่างกันมากที่สุด โดยทำมุมกันเป็น 109.5 องศา&nbsp จึงมีรูปร่างเป็น ทรง 4 หน้า

2. โมเลกุลของ CO2 มีมุมพันธะเท่าไร
ตอบ ง.&nbsp  180o
เหตุผล C ซึ่งมี 4 e ถูก O ซึ่งต้องการ e 2 ตัว รวมตัวกลายเป็น CO2&nbsp เกิดเป็นพันธะคู่ 2 พันธะ พันธะทั้งสองซึ่งมี e อยู่ ก็จะผลักกันเพื่อให้อยู่ห่างกันให้มากที่สุด ทำให้พันธะทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน รูปร่างโมเลกุลจึ้งเป็นเส้นตรง มุมพันธะจึงเป็น 180 องศา

3. ผสมสารละลายคู่ใดต่อไปนี้ ไม่เกิดตะกอน
ตอบ ค.NaNO3 กับ KI
เหตุผล สารประกอบของธาตุหมู่ 1A ละลายน้ำได้ดีมาก มีค่าคงที่การละลายสูง (Ksp)สารละลายของธาตุหมู่ 1A เมื่อละลายน้ำจึงไม่ตกตะกอน (ถ้า ความเข้มข้นของสารละลายไม่มากจะเกินไป)

4. สมการไอออนิกสุทธิแสดงการเกิดปฏิกิริยาของสารละลาย Pb(NO3)2 กับ K2SO4 เป็นอย่างไรตอบ ข.&nbsp Pb2+(aq)&nbsp +&nbsp (SO4)2-(aq) ------------------->&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp PbSO4(s)
เหตุผล สมการไอออนิก จะเขียนเฉพาะ ไอออนที่ทำปฏิกิริยากัน ไอออนที่ทำปฏิกิริยากัน เมือ่เกิดเป็นสารประกอบจะละลายน้ำได้น้อย(ค่าคงที่สมดุลการละลายต่ำ) ก็จะเกิดตะกอนของแข็งของสารประกอบนั้น


5.&nbsp ธาตุ X มีเลขอะตอม 11 กลายเป็นไอออน X+&nbsp ข้อใดคือการจัดอิเล็กตรอนของ X+
ตอบ ก.2 , 8
เหตุผล&nbsp X เลขอะตอม 11 แสดงว่า มี 11 โปรตอนในนิวเคลียส ในภาวะที่เป็นกลาง X ควรมี 11 e และจัดเรียง e ในระดับพลังงานหลักเป็น 2,8,1 (โดยใช้หลักการที่ว่า จำนวน e สูงสุดในแต่ละระดับพลังงานหลักมีไม่เกิน 2n ยกกำลัง2 และ e วงนอกสุดในแต่ละระดับพลังงานหลักมีไม่เกิน 8 e) ดังนั้นเมื่อกลายเป็น X+ แสดงว่า เสียไป 1 e การจัดเรียง e การจัดเรียง e จึงควรเป็น 2,8 (e ที่หลุดออกจากอะตอมเป็นอันดับแรกจะเป็น e ที่มีพลังงานสูงสุด คือ e ที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุด ที่เรียกว่าเวเลนต์อิเลกตรอน)

6.&nbsp จากข้อ 1 X+&nbsp ควรมีขนาดเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับ X
ตอบ ก.เล็กลง
เหตุผล เดิม การจัดเรียง e ของ X เป็น 2,8,1 ซึ่งมี e อยู่ 3 ชั้น แต่เมื่อกลายเป็น X+ การจัดเรียง e&nbsp เป็น 2,8&nbsp ซึ่งมี e อยู่เพียง&nbsp 2&nbsp ชั้น ขนาดจึงเล็กลง อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เมื่อ X กลายเป็น X+ ทำให้e น้อยลงกว่าเดิมในขระที่ จำนวน P+ ในนิวเคลียสยังเท่าเดิมทำให้ แรงดึงดูดระหว่าง P+ กับ e ใน X+มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น กลุ่มหมอกของ e ใน X+ จึงขยับเข้าใกล้นิวเคลียส มากขึ้น ขนาดของกลุ่มหมอกของ e จึงมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยลง

7. การเปลี่ยนแปลงใดเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตอบ ก.เผาน้ำตาลทรายจนไหม้
เหตุผล การเปลี่ยนแปลงทางเคมีต้องเป็นการเปลี่ยนที่ทำให้เกิดสารใหม่ต่างจากสารเดิม และทำให้กลับไปเป็นสารเดิมได้ยาก การเผาน้ำตาลทรายจนใหม้แสดงว่าน้ำตาลทรายได้กลายเป็นธาตุคาร์บอน และการที่จะทำให้คาร์บอนกลายเป็นน้ำตาลทรายอีกเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

8. อะตอมของธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์นิวเคลียร์เป็น&nbsp จะมีจำนวนอนุภาคมูลฐานตามข้อใด
ข้อนี้ขาดข้อมูลที่สำคัญไปคือสัญลักษณ์นิวเคลีย&nbsp แต่ให้หลักการคิดว่าอนุภาคมวลฐานของอะตอมที่สำคัญและมีเสถียรภาพสูงมีอยู่ 3 ชนิด คือ โปรตอน(P) นิวตรอน(n) ซึ่งรวมกันอยู่ในนิวเคลียส และมิอิเลกตรอน(e) สัญลักษณ์นิวเคลียประกอบด้วย อะตอมของธาตุ เลขมวล และเลขอะตอม(ขออภัยแทรกสัญลักษณ์นิวเคลียไม่ได้) เลขมวล(A)คือ จำนวนของโปรตอน+นิวตรอน เลขอะตอม(Z)แสดงจำนวนโปรตรอนซึ่งอยู่ในนิวเคลียส ในภาวะที่เป็นกลาง โปรตอน จะเท่ากับ อิเลกตรอน หากอะตอมนั้นมีประจุ โปรตอนและอิเลกตรอนจะนีจำนวนต่างกัน กล่าวคือ หากมีประจุบวก (หรือไออนบวก) อิเลกตรอนก็จะน้อยกว่าโปรตรอนตามประจุที่ปรากฏ&nbsp หากมีประจุลบ (หรือไออนลบ) อิเลกตรอนก็จะมากกว่าโปรตรอนตามประจุที่ปรากฏ


9. สมการเคมีแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อเทน้ำยาล้างห้องน้ำลงบนพื้นหินปูน แล้วเกิดฟองขึ้น มาเป็นอย่างไร
ตอบ ง.&nbsp CaCO3&nbsp +&nbsp 2HCl&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ------------------->&nbsp &nbsp  CaCl2&nbsp +&nbsp H2O&nbsp +&nbsp CO2
เหตุผล หินปูนมีสารประกอบหลักคือCaCO3 ส่วนน้ำยาล้างห้องน้ำ มีมีส่วนผสมสารประกอบที่เป็นกรด HCl เมื้อทำปฏิกิริยากันก็ทำให้เกิดฟองก๊าซที่เห็นได้ชัดเจนคือ CO2 ผ่ากาซนี้ลงไปในน้ำปูนใส น้ำปูนใสจะขุ่นเพราะในน้ำปูนใสมี Ca2+ และ OH- เมื่อ ผ่านCO2 ลงไปในน้ำปูนใส CO2จะรวมตัวกับ H2O กลายเป็น H2CO3 เมื่อทำปฏิกิริยากับ Ca2+ และ OH- ก็จะเกิด CaCO3 และ Ca(HCO3)2 สารทั้งสองนี้ละลายน้ำได้น้อยจึงเป็นตะกอนสีขาวขุ่น ตกลงมา

10. ธาตุ P มีเลขอะตอม 11 ทำปฏิกิริยากับธาตุ Z ซึ่งมีเลขอะตอม 16 เกิดเป็นสารประกอบที่มีสูตรเป็นอย่างไร
ตอบ ง.&nbsp P2Z
เหตุผล P มีเลขอะตอม 11 มี โปรตอน=11 เมื่อเป็นกลางก็จะมี e =11จัดเรียงเป็น 2,8,1 เป็นโลหะหมู1A สามารถให้ e ได้ 1 e กลายเป็น P+ ซึ่งมีเสถียรภาพสูงเพราะจัดอิเลกตรอนเป็น 2,8 เหมือนกาซเฉี่ย
Z มีเลขอะตอม 16 มี โปรตอน=16 เมื่อเป็นกลางก็จะมี e =16จัดเรียงเป็น 2,8,6 เป็นอโลหะหมู6A สามารถรับ e ได้ 2 e กลายเป็น (Z)2- ซึ่งมีเสถียรภาพสูงเพราะจัดอิเลกตรอนเป็น 2,8,8 เหมือนกาซเฉี่ย
เมื่อ P+ รวมกันกับ (Z)2- จะได้สารประกอบไอออนิคที่เป็นกลาง โดยใช้ P+ = 2 ไอออน รวมกับ(Z)2-&nbsp = 1 ไอออน เกิดสารประกอบที่มีสูตรเป็น P2Z

0