Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สุดยอดเพชรทั้ง 7 ของคู่กษัตริย์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สุดยอดเพชรทั้ง 7 ของคู่กษัตริย์


1. The Star of Africa (Cullinan 1) Diamond
เคยเป็นเพชรเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปัจจุบัน Golden Jubilee เป็นเพชรเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก) มีน้ำหนัก 530.20 กะรัต พบที่เหมืองพรีเมียร์ ในแอฟริกาใต้ เมื่อคริสต์ศักราช 1905 ก่อนเจียระไนมีน้ำหนักถึง 3,106 กะรัต พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งอังกฤษ ได้รับมอบเพชรนี้เมื่อคริสต์ศักราช 1907 จากนั้น Joseph Asscher & Company ที่อัมสเตอร์ดัม ได้เจียระไนแบ่งออกเป็ฯเพชรเม็ดใหญ่ เพชรเม็ดเล็ก และเพชรขนาด 9.5 กะรัต อีกหลายเม็ด เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดคือ Cullinan 1 ถูกเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำ และนำไปประดับที่พระคทาของกษัตริย์อังกฤษ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระคลังเครื่องเพชรของพระราชวงศ์อังกฤษที่หอคอยแห่งกรุงลอนดอน

2. Koh-I-Noor Diamond
เพชรโก อิ นัวร์ ซึ่งหนัก 186 กะรัต เป็นเพชรที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาเพชรที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ เรื่องราวดั้งเดิมเกี่ยวกับเพชรนี้มาจากหลายแหล่ง ตามตำนานฮินดูโบราณกล่าวว่า พระกฤษณะ (Krishna) เป็นผู้สวมใส่เพชรเม็ดนี้
บ้างก็ว่าเพชรนี้ถูกพบในแม่น้ำโกทาวรี (Godavari) ในอินเดียตอนกลางเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว และราชากานาแห่งอังกา (Gana Rajah of Anga) เป็นผู้สวมใส่ แต่ราชาผู้น่าสงสารผู้นี้ก็ตกเป็นเหยื่อรายแรกของเพชรเม็ดนี้ซึ่งมีคำสาปที่น่าสะพรึงกลัวอยู่ ในขณะที่กำลังขี่ม้าเข้าสู่สนามรบพร้อมกับเพชรเม็ดนี้ ราชาถูกฆ่าในสนามรบ เล่ากันในภายหลังว่า "ผู้ใดครองเพชรเม็ดนี้จักได้ครองโลก หากแต่จักพบพานความโชคร้ายต่าง ๆ ของมันด้วย" จะมีก็แต่พระเจ้าหรือผู้หญิงที่สามารถสวมใส่ได้โดยที่จะไม่ถูกลงโทษ
อย่างไรก็ตาม บันทึกอ้างอิงฉบับแรก ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เพชรเม็ดนี้เริ่มต้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่า พบเพชรเม็ดนี้ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย บริเวณริมแม่น้ำโกทาวรี ราว ค.ศ. 1304 ชาวนาคนหนึ่งพบวัตถุเป็นมันวาวชิ้นหนึ่งในดินโคลนหลังจากคืนฝนตก เพชรเม็ดนี้ซึ่งสวยงามมากเป็นพิเศษก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในอินเดียและถูกนำไปประดับบนมงกุฎของมหาราชาแห่งกอลคอนดา ภายหลังเพชรเม็ดนี้ตกเป็นสมบัติของตระกูลโมกุลผู้ยิ่งใหญ่ และมีค่าโดยประมาณเท่ากับรายได้ใน 1 วันของประชากรทั้งหมดบนโลก
เพชรโก อิ นัวร์ ตกทอดจากทรราชคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งเคยเป็นของโมฮัมเหม็ด ชาร์ (Mohammed Shah) และตกทอดสู่นาดีร์ ชาห์ (Nadir Shah) ซึ่งได้อุทานออกมาว่า "โก อิ นัวร์" ซึ่งหมายความว่า "ภูเขาแห่งแสงสว่าง" ระหว่างที่เขาได้เห็นเพชรอันวิจิตรงดงามนี้ที่เขาได้แย่งชิงมาจากโมฮัมเหม็ด ชาห์ ใน ค.ศ. 1739 ท้ายสุดแล้วเพชรก็ไปตกอยู่ที่รานจีท สิงห์ (Ranjeet Singh) แห่งปัญจาบใน ค.ศ. 1833
ใน ค.ศ. 1850 บริษัทอินเดียตะวันออกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพชรโก อิ นัวร์ ที่ลือชื่อแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญวิเศษชิ้นหนึ่ง ขณะนี้เพชรสามารถประเมินค่าได้เป็นราคา 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงตัดสินพระทัยที่จะให้นักเจียระไนเพชรชื่อวัวร์ซานเจอร์ (Voorzanger) เจียระไนเพชรนี้ใหม่ เขาใช้เวลา 8 วันในการเจียระไนให้เป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ หนัก 108.93 กะรัต และมีความแวววาวเป็นพิเศษ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้ทรงประดับเพชรนี้ไว้บนเข็มกลัดและทรงระบุไว้ในพระพินัยกรรมให้เพชรโก อิ นัวร์ แก่ผู้ที่เป็นกษัตริย์และผู้หญิงเท่านั้น
ปัจจุบันเราสามารถชมเพชรชื่อดังเม็ดนี้ได้ที่ทาวเวอร์ออฟลอนดอน โดยเพชรเม็ดนี้ประดับอยู่บนมัลทีส ครอส (Maltese Cross) ด้านหน้าของมงกุฎซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1937 สำหรับพระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบท

3. The Regent Diamond
จัดเป็นหนึ่งในบรรดาเพชรที่สวยที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 140.50 กะรัต เพชรเม็ดนี้มีประวัติและตำนานพิสดารมากมายเช่นเดียวกับเพชรที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย โดยถูกค้นพบที่อินเดีย และได้รับการเรียกขานว่า "The Pitt Diamond" ตามชื่อผู้ว่าราชการของเมืองมัทราสในยุคนั้น คือ Thomas Pitt เขาได้นำเพชรเม็ดนี้ไปเจียระไนใหม่ที่อังกฤษ ในคริสต์ศักราช 1717 ต่อมา Thomas Pitt ได้ขายเพชรเม็ดนี้ให้กับฟิลิปส์ ดยุค แห่งออร์ลีน และรีเจนท์แห่งฝรั่งเศส เพชรเม็ดนี้จึงได้ชื่อใหม่ว่า "The Regent" และก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในพระคลังสมบัติของฝรั่งเศสช่วงยุคแห่งการปฎิวัติ และยุคสมัยนโปเลียน "The Regent" ได้ถูกภัยคุกคามอีกหลายครั้ง จนกระทั่งถึงคริสต์ศักราช 1887 จึงได้รับยกเว้นจากการขายทอดตลาดของพระคลังสมบัติ และได้ถูกนำออกแสดงแก่สาธารณชนที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ จนกระทั่งทุกวันนี้

4. The Orloff Diamond
จัดเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ และมีชื่อเสียงมากที่สุดเม็ดหนึ่งของโลก อีกทั้งยังเป็นเพชรที่มีความสำคัญมากในกองทุนเพชรของมอสโคว์ มีน้ำหนักรวม 189.62 กะรัต ปัจจุบันเพชรเม็ดนี้ประดับอยู่บนคธาของกษัตริย์รัสเซีย ซึ่งตั้งแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์เครมลิน ในกรุงมอสโคว์ ลักษณะของเพชร Orloff ดูคล้ายคลึงกับคำบรรยายลักษณะของเพชร "เกรทโมกุล" จึงเป็นไปได้ว่า เพชรทั้งสองนี้อาจเป็นเพชรเม็ดเดียวกัน ซึ่งต่อมาถูกนำไปเจียระไนใหม่ ตามประวัติ เพชรเม็ดนี้เคยถูกนำไปประดับที่ตาข้างหนึ่งของเทวรูปฮินดู ก่อนที่จะถูกทหารฝรั่งเศสผู้หนึ่งขโมยออกมาจากโบสถ์กลางศตวรรษที่ 18 และได้ตกมาถึงมือของพ่อค้าชาวเปอร์เซีย ซึ่งได้นำไปขายต่อในราคาที่แพงมหาศาลให้กับ Gregory Orloff อดีตชู้รักของจักรพรรดินีแคทเธอรีนแห่งรัสเซีย Orloff ได้ถวายเพชรเม็ดนี้แด่จักรพรรดินีแคทเธอรีน ด้วยหวังว่าจะได้รับความรักความชอบกลับคืนมา แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะคืนดีด้วย และไม่เคยสวมเพชรเม็ดนี้เลย อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้นำเพชรเม็ดนี้ไปประดับที่คธา ซึ่งยังคงสภาพเดิมอยู่จนถึงทุกวันนี้

5. Golden Jubilee Diamond
เป็นเพชรเจียระไนเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก เดิมเป็นที่รู้จักกันในนาม "Unnamed Brown" ต่อมาได้ชื่อใหม่ว่า "Golden Jubilee (เพชรกาญจนาภิเษก)" ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อพุทธศักราช 2539 เพชรเม็ดนี้ได้ถูกนำมาแสดงในงาน บี.โอ.ไอ. แฟร์ ที่แหลมฉบัง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว Golden Jubilee มีน้ำหนัก 545 กะรัต เพชรเม็ดนี้ได้รับการระบุลักษณะว่าเป็นเพชรสีแฟนซี สีน้ำตาลเหลืองตามธรรมชาติโดยห้องวิเคราะห์ปฏิบัติการของ GIA ผลึกเพชรก่อนการเจียระไนมีน้ำหนัก 755.50 กะรัต ขุดพบที่เหมืองพรีเมียร์ ในแอฟริกาใต้ เมื่อคริสต์ศักราช 1986 การเจียระไนเพชรเม็ดนี้ใช้เวลาประมาณ 3 ปี โดยช่างเจียระไนเพชรที่มีชื่อเสียงชื่อ นายโชล เคาสกี้ หลังการเจียระไนแล้ว เพชรเม็ดนี้มีจำนวนเหลี่ยมทั้งหมด 158 เหลี่ยม แบ่งด้านบนคราวน์ 55 เหลี่ยม ด้านล่างพาวิลเลียน 69 เหลี่ยม และของเกอเดิลอีก 24 เหลี่ยม นายโชล เคาสกี้ เรียกรูปร่างของเพชรเม็ดนี้ว่า "Fire-Rose Cusion-Shape" นับเป็นเพชรเจียระไนเม็ดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีการเจียระไนโดยเสียนเนื้อเพชรน้อยมาก คือ เสียไปไม่ถึง 28 เปอร์เซนของน้ำหนักก้อนเดิม

6. The Centenary Diamond
เป็นเพชรเจียระไนแบบใหม่ (Modern Cut) เม็ดใหญ่ที่สุดในโลก ขุดพบได้โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์เอ็กซเรย์ ที่เหมืองพรีเมียร์ ในแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม 1986 เพชรเม็ดนี้มีน้ำหนักก่อนการเจียระไนถึง 599 กะรัต เป็นเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาซึ่งมีสีขาวสมบูรณ์แบบและไร้ตำหนิภายใน เพชรเม็ดได้ชื่อว่า The Centenary ในวันเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี เดอ เบียร์ส เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1988 ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นใกล้เหมืองคิมเบอร์ลี่
นายโชล เคาสกี้ เป็นผู้เจียระไนเพชรเม็ดนี้ และได้ทำการเจียระไนเสร็จเมื่อต้นคริสต์ศักราช 1991 หลังจากเจียระไนเสร็จแล้ว เพชรเม็ดนี้มีน้ำหนัก 273.85 กะรัต และมี 247 เหลี่ยม คือ 164 เหลี่ยมบนตัวเพชร และ 83 เหลี่ยมบนเกอเดิล เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีการเจียระไนเพชรที่ได้เหลี่ยมมากมายเช่นนี้มาก่อนบนเพชรเม็ดเดียว ในหมู่เพชรน้ำงามที่สุดในโลกแล้ว The Centenary จะเป็นรองจาก The First Star of Africa และ The Second Star of Africa ซึ่งเจียระไนจากเพชร Cullinan เท่านั้น นับได้ว่าเพชร The Centenary เป็นเพชรเจียระไนสมัยใหม่เม็ดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเพชรเม็ดเดียวที่รวมเอาวิธีเจียระไนแบบเก่าเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ซับซ้อน เป็นตัวอย่างของ "เพชรน้ำงามไฟดี" ที่ปรากฎสู่สายตาชาวโลกเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม คริสต์ศักราช 1991 เพชรเม็ดนี้มีราคาประกันมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ



7. Hope Diamond
เพชร นอกจากจะสวยงาม เป็นสิ่งล้ำค่าหายากแล้ว ยังผูกพันธ์อยู่กับความเชื่อมากมาย เพชร "โฮป" เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนาน
ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรหนัก 112 กะรัต เม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine) ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม
ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มาและลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668 ต่อมาใน ค.ศ. 1669 ตาแวร์นีเยขายเพชรให้แก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยราคา 3,000,000 ปอนด์ เพชรโฮปนี้ได้รับการเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายเปเตออง (Petean) และเป็นที่รู้จักในนาม "เพชรตาแวร์นีเยสีฟ้า" (The Tavernier Blue) เพชรสีน้ำเงินฝรั่งเศส (The French blue) หรือเพชรสีน้ำเงินแห่งมงกุฎ (The Blue Diamond of the Crown)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงมอบเพชรให้แก่มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan) แต่ไม่นานหลังจากนั้นนางก็กลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812
บันทึกความทรงจำของจอห์น ฟรานซิลลอน (john Francillon) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอนเขียนไว้ว่า เพชรสีน้ำเงินหนัก 45-52 กะรัตได้ปรากฏขึ้นใน ค.ศ. 1830 ที่อังกฤษ โดย เดเนียล แอเลียสัน (Denial Eligson) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอน เขาเปลี่ยนรูปแบบการเจียระไนเป็นรูปหมอนและขายให้แก่เฮนรี ทอมัส โฮป (Henty Thomus Hope) นักการธนาคารชาวอังกฤษ ดังนั้นเพชรสีน้ำเงินจึงได้ชื่อใหม่ตามชื่อของเขาคือ เพชร "โฮป"
ลอร์ดฟรานซิส เพลแฮม คลินตัน โฮป (Lord Francis Pelham Clinton Hope) ซึ่งได้เป็นเจ้าของเพชรของพ่อของเขา ท้ายที่สุดแล้วกลับล้มละลายและเพชรก็ได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาปีแยร์ การ์ตีเย (Pierre Cartier) พ่อค้าเพชรชาวปารีส ได้ขายเพชรโฮปผ่านทางสุลต่านอับดุล-ฮามิด (Abdul - Hamid) ให้กับวิลเลียม แมกลีน (William Mclean) คนสำคัญในวงการหนังสือพิมพ์ และเพชรเม็ดนี้ก็ถูกนำไปที่สหรัฐอเมริกา แมกลีน ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ซื้อเพชรมาด้วยราคา 154,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภรรยาของแมกลีนต้องการให้พระทำพิธีขับไล่ผีในเพชรก่อน พิธีนี้จึงได้มีขึ้นและเธอก็ป่าวประกาศว่ามี "ฟ้าผ่าและฟ้าแลบในระหว่างพิธี" ด้วย หลังจากนั้นเธอจึงค่อยสวมใส่เพชรเม็ดนี้
โชคร้ายที่ดูเหมือนคำสาปในเพชรยังคงมีอยู่ ใน ค.ศ. 1918 ลูกชายของแมกลีนอายุ 9 ขวบ หลุดรอดจากการดูแลของบรรดาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและถูกรถคันหนึ่งชนเสียชีวิต แมกลีนจึงดื่มเหล้าและหลังจากนั้นไม่กี่เดือนลูกสาวคนเดียวของพวกเขาก็ปลิดชีพตัวเองโดยใช้ยานอนหลับ
ใน ค.ศ. 1949 หลังจากที่ภรรยาของแมกลีนเสียชีวิตแล้ว แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) พ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮปไปด้วยราคา 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปเพิ่มชุดสะสมส่วนตัวของเขา
ใน ค.ศ. 1958 เอดนา วินสตัน (Edna Winston) ได้บริจาคเพชรเม็ดนี้ให้แก่สถาบันสมิทโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นที่ที่จัดแสดงเพชรในปัจจุบัน และมีผู้มาเยี่ยมชมหลายพันซึ่งหลงไหลในเพชรสีน้ำเงินไพลินและความแวววาวที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่มีตำนานที่น่าสนใจ 


ข้อมูลจาก: กระทรวงการต่างประเทศ

http://www.fisho.com/other/view.php?cat=other&id=936

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

wAtsOnkunG 14 ต.ค. 51 เวลา 11:32 น. 3
สวย!!!
พูดได้คำเดียวว่า สวย!!!!

PS.  ความจริงสิ่งที่ดีๆอยู่รายรอบตัวเรา เพียงแต่เราไม่เห็นเท่านั้นเอง
0
The Queen 5 ก.ค. 52 เวลา 17:53 น. 4

ต้องเกิดใหม่อีกกี่ชาติก็ไม่รู้ถึงจะได้มาเชยชม อ๊าาาาาา สวยยยยยยยยยยย


PS.  คิดถึงเธอ.. อยากคุญกับเธอ.. แต่ฉันเขินจังงง >///<
0
oO..นุ่มนิ่มจัง..Oo 26 ก.ค. 53 เวลา 17:49 น. 5

เพชรกาญจนาภิเษกสวยมากเลยค่ะ


PS.  ทุกๆวันต้องก้าวเดินต่อ ไม่ว่าจะเจ็บหรือทรมานขนาดไหนก็ตาม ชีวิตไมได้จบแค่การเสียใจเพียงครั้งเดียวหรอก ~
0