Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องควรรู้ ของ "ตะขาบ"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ตะขาบ (Centipede) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก มีหลายขนาด ส่วนใหญ่ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3-8 เซนติเมตร (ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Scolopendra heros มีความยาว 8-10 นิ้ว) ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ วางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืชหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนาน โดยลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ เช่น ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร

ตะขาบมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากขาคู่หน้าตรงปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมาทำให้เหยื่อเจ็บปวดและเป็นอัมพาต พิษของตะขาบประกอบด้วยสารก่อปฏิกิริยาอักเสบต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม ปวด แดง ร้อน บางรายที่แพ้พิษอาจพบอาการปวดศีรษะ ใจสั่น มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโตและกดเจ็บ เช่น ที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้าอาจกดเส้นเลือดทำให้นิ้วขาดเลือดมาเลี้ยงจนกระทั่งนิ้วดำ เนื้อตาย ถึงขั้นอาจต้องตัดทิ้ง นอกจากพิษแล้ว ตะขาบบางพันธุ์ยังสามารถหลั่งสารเพื่อใช้ป้องกันตัวออกจากต่อมซึ่งอยู่ข้างลำตัว แต่สารนั้นไม่เป็นอันตรายต่อคน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประคบด้วยน้ำแข็งบริเวณที่ถูกกัดอาจช่วยประทังอาการปวดได้ แต่ในบางรายกลับพบว่าการประคบด้วยความร้อนก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ สำหรับคนถูกกัด หากไม่ใช่ในรายที่มีอาการแพ้พิษคือมีอาการบวมมาก และปวดมาก ซึ่งต้องรีบพบแพทย์ โดยทั่วไปให้การรักษาแบบประคับประคองก็เพียงพอ ได้แก่ 1.ลดความเจ็บปวด อาจใช้ยาแก้ปวดตามความจำเป็น โดยยาที่แนะนำให้ใช้ คือ Paracetamol ยากลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, indomethacin และ pyroxicam หรืออาจใช้ยาชาเฉพาะที่บริเวณรอบตำแหน่งที่ถูกกัด 2.ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก 3.ตรวจหาอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของแผลที่อาจเกิดตามมา เห็นท่าไม่ดี เช่น บริเวณที่ถูกกัดบวม เนื้อเริ่มดำ ต้องพบแพทย์ทันที

โดยทั่วไปพิษตะขาบไม่รุนแรงถึงกับทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามมีรายงานการเสียชีวิตในเด็กหญิงฟิลิปปินส์อายุ 7 ขวบ 1 ราย เธอถูกตะขาบพันธุ์ Scolopendra subspinipes ขนาดยาว 23 เซนติเมตร กัดที่บริเวณศีรษะ

ข้อควรจำก็คือ ต้องสอนเด็กให้รู้จักตะขาบเพื่อไม่ใช้มือไปสัมผัสมันอย่างเด็ดขาด สำหรับบ้านที่อยู่ใกล้ไร่นาป่าสวน ในฤดูฝนต้องตรวจห้องนอน ห้องน้ำให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนอนกับพื้น ตะขาบอาจแอบอยู่ในผ้าห่มหรือใต้ฟูก หากพื้นถนนมีน้ำนอง น้ำขัง หรือจำเป็นต้องเดินลุยเข้าไปในจุดที่น้ำท่วม ต้องใส่รองเท้าที่ห่อหุ้มเท้าไว้มิดชิด เช่น รองเท้าบู๊ตใส่หนีน้ำ (ต้องระวังตะขาบอาจแอบซุกอยู่ในรองเท้าด้วย) หรือในยามที่หยิบจะล้วงสิ่งของจากที่มืดก็ควรส่องไฟฉายเพื่อดูให้แน่ใจก่อนว่าปลอดตะขาบ เวลาจะเก็บเสื้อผ้าที่ตากไว้ โดยเฉพาะกลางค่ำกลางคืน ให้ออกแรงสะบัดๆ ผ้าที่เก็บเสมอ เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน

วิธีไล่ตะขาบตามภูมิปัญญาไทย

1.ถ้าสะดวก เลี้ยงไก่ในบริเวณบ้าน
2.ปลูกต้นเสลดพังพอนตัวเมียรอบบริเวณบ้าน
3.ใช้ "น้ำส้มควันไม้" เนื่อง จากน้ำส้มควันไม้เข้มข้นมีส่วนผสมของน้ำมันทาร์และยางเรซินอยู่มาก จะส่งกลิ่นเหม็นคล้ายควันไฟรบกวนสัตว์และแมลงที่มีพิษต่างๆ หาซื้อได้ตามร้านขายเคมีภัณฑ์สำหรับการเกษตร

รู้ไปโม้ด
นสพ.ข่าวสด

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

ต้มยำปลาเห็ดเพื่อนต้มยำไข่มดแดง 15 ต.ค. 51 เวลา 08:21 น. 1

เราเคยเกือบโดนกลับแล้วล่ะ ตอนนั้นรู้สึกว่าเหมือนมีอะไรมาไต่ขาก้ไม่รู้

เลยมองดูตกใจสุดๆเมื่อรู้ว่าเป็นตะขาบ เลยหาวิธีเอามันออกไปไกลๆ ก่อนจะกัด TT_TT

0
โซ่ 11 ธ.ค. 52 เวลา 20:13 น. 2

ขอบคุนมากนะคะที่มาให้ความรู้
เราเคยถูกกัด3ครั้งแล้ว
มานเจบมากๆๆ
โดนที่แขนตลอดเลย
แขนบวมนิดๆ ประมาน1-2อาทิต
จึงจะหายดี
บ้านเราจะมีช่วงมีนาคม
มีนาคมจะมีตัวหย่ายมากกกก
แบบรุ่นพ่อมานเลย
ไม่นานนี้เราก้อเจอเปนบืออเลย
สงสัยจะไปโดนรังมัน
มันออกมาเตมเลย
เราก้อฆ่ามานด้วยมือเราเองเลย
แค้นมาก
ตอนนี้รุสึกเฉยๆแล้วเพราะเราแค้นที่มันกัดเรา107

0
Amethyst 24 ก.ย. 55 เวลา 23:09 น. 3

ตอนนี้มันขึ้นบุกบ้านเราแล้ว พอดีฝนมันตกหนัก น้ำท่วม
นอนหลับไม่สบายใจเลย เฮ้อ

0
ไอซ์ 17 มี.ค. 58 เวลา 23:27 น. 5
เศร้าจัง โดนกัดเมื่อกี้ คับ สดๆร้อนๆเลย ปวดมากคับ ตอนนี้ใช้ยาหม่องทา กินยาพาราด่วยไม่รู้จะเปนยังไงคืนนี้คัยรู้บอกด้วยนะ กลัววตายย๐๐
0