Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติรัฐธรรมนูญไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สำหรับประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้นนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24   มิถุนายน  2475  เป็นต้นมาประเทศไทยได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายแม่บทสูงสุดในการปกครองที่ประเทศหลายฉบับรัฐธรรมนูญดังกล่าวปรากฏใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะหนึ่งเป็นรัฐธรรมนูญ มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรโดยที่มีการยกร่างกันอย่างเป็นระบบกับอีกลักษณะคือรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการชั่วคราวซึ่งมักจะเรียกว่าธรรมนูญการปกครองนั่นเอง



1 ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ความทั่วไป

1.1 การปฏิวัติสยาม

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย เมื่อ คณะราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

โดยที่คณะราษฎร์ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวซึ่งได้ร่างเตรียมไว้แล้ว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระองค์จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานแก่คณะราษฎร ซึ่งถือว่าประเทศไทยได้เริ่มมีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรกนับแต่นั้นมา

กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวและเป็นฉบับที่มีอายุการใช้งานเร็วที่สุด คือ รวมอายุการประกาศ และมีระยะเวลาบังคับใช้ทั้งหมดเพียง 5 เดือน 13 วัน นับจากการประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 จำนวน 39 มาตรา และในที่สุด ก็ได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับถาวร

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475

1.2 หลักการสำคัญ

1) ประกาศว่าอำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร (มาตรา 1) ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย

2) พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ กิจการสำคัญของรัฐทำในนามของพระมหากษัตริย์

3) เป็นการปกครองแบบสมัชชา โดยกำหนดให้ คณะกรรมการราษฎร ซึ่งมีจำนวน 15 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาผู้แทนราษฎร

4) เริ่มมีรัฐสภาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้เป็นสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจสูงสุด กล่าวคือ
(ก) ตรากฎหมาย
(ข) ควบคุมดูแลราชการ กิจการของประเทศ
(ค) มีอำนาจถอดถอน หรือ สามารถปลดกรรมการราษฎร และข้าราชการทุกระดับชั้นได้ โดยคณะกรรมการราษฎร ไม่มี อำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร
(ง) วินิจฉัยการกระทำของพระมหากษัตริย์

5) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้กำหนดอายุของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ 20 ปีบริบูรณ์เท่ากัน ส่วนวิธีการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม คือ ให้ราษฎรเลือกผู้แทนตำบลแล้วผู้แทนตำบลก็เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกทอดหนึ่ง

6) ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมาย แต่ไม่มีหลักประกันความอิสระของผู้พิพากษา




2 ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

2.1 ความทั่วไป

เมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวพ.ศ. 2475 แล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็ได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างถาวร รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 นี้ มีหลักการและแนวทางในการปกครองประเทศคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 มาก ทั้งนี้ เพราะคณะกรรมการยกร่างก็ดี สภาผู้แทนราษฎรผู้พิจารณาก็ดี ต่างก็เป็นบุคคลสำคัญของคณะราษฎรทั้งสิ้น

นับถึงปัจจุบันต้องถือว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญไทยที่ใช้บังคับได้นานที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญมา โดยได้ประกาศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จำนวน 68 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งหมดนั้น เป็นระยะเวลายาวนานถึง 13 ปี 5 เดือนเลยทีเดียว

2.2 หลักการสำคัญ

1) กำหนดให้ประเทศสยามเป็นรัฐเดี่ยว
2) อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ คือ

- ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางสภาผู้แทนราษฎร
- ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
- ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
และได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด มิได้ และให้ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

3) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆ มีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นๆ เป็นโมฆะ แต่ไม่กำหนดให้องค์กรใดเป็นผู้ชี้ขาด

4) เป็นการปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) โดยกำหนดให้คณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินด้วยความไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันคณะรัฐมนตรีก็อาจถวายคำแนะนำพระมหากษัตริย์ให้ทรงยุบสภาผู้แทนราษฎรได้

5) ใช้ระบบสภาเดียวเช่นเดิม คือ สภาผู้แทน ประกอบด้วย สมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง (ครั้งแรก ใช้วิธีการเลือกตั้งทางอ้อม โดยราษฎรเลือกผู้แทนตำบลก่อน แล้วผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือก ส.ส. อีกต่อหนึ่ง จากนั้น ครั้งต่อๆ มาจึงใช้วิธีการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรง) ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยที่อย่างช้าไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ ส.ส. ทั้งหมด จะต้องมาจากการเลือกตั้งของราษฎร

6) มี คณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี มีจำนวนอย่างน้อย 15 คนอย่างมาก 24 คน โดยรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 คน จะต้องเลือกมาจากสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎร

7) การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ ศาลจะจัดตั้งขึ้นได้ก็โดยพระราชบัญญัติ และรับรองอิสระของผู้พิพากษา

8) รับรองสิทธิของชนชาวสยามไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก โดยได้รับรองความเสมอกันในกฎหมาย (มาตรา 12) รับรองเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา (มาตรา 13) รับรองเสรีภาพในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรมการประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม และการอาชีพ (มาตรา 14)

9) มีการกำหนดหน้าที่ของชนชาวสยามเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมาย ป้องกันประเทศ และเสียภาษีอากร (มาตรา 15)

โดยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 แก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ไปด้วย ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล อันมีผลให้บทเฉพาะกาล ซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี แก่นแท้ของการเสนอ ยืดบทเฉพาะกาล ก็คือ การคงอยู่ต่อไปอีกของสมาชิกประเภทที่ 2 อันมาจากการแต่งตั้ง จาก 10 ปี เป็น 20 ปี นั่นเอง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยังผลให้สามารถขยายเวลา อยู่ในตำแหน่ง ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ออกไปอีกคราวละ 2 ปี ถ้ามีเหตุการณ์ที่ทำให้เป็นการพ้นวิสัย โดยมีเหตุขัดข้องต่างๆ อันไม่อาจที่จะมีการเลือกตั้งได้ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2



3 ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

3.1 ความทั่วไป

เนื่องจากได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ มาเป็นเวลานานถึง 15 ปีแล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก สมควรที่จะเลิกบทเฉพาะกาล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2475 และที่สำคัญ ประเทศไทยต้องการจะสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจึงต้องแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้ต้องปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 จำนวน 96 มาตรา โดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร อันมีพลโท ผิน ชุณหะวัน นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

3.2 หลักการสำคัญ

1) เป็นการปกครองในระบบรัฐสภา โดยใช้ระบบ 2 สภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนกับพฤฒสภา และมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในกิจการสำคัญๆ ด้วย โดยกำหนดให้ประธานพฤฒสภา เป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน
                    - พฤฒสภา (อ่านว่า พรึด สะ พา) หมายความว่า สภาสูง หรือ วุฒิสภา ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสภาที่เลือกตั้งโดยทางอ้อม (โดยบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทน ทำหน้าที่เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกพฤฒสภา ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี และเมื่อครบ 3 ปีให้จับสลากออกกึ่งหนึ่ง) สมาชิกต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไป และต้องสำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ มีอำนาจกลั่นกรองและยับยั้งร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร และมีอำนาจควบคุมรัฐบาลด้วยแต่ก็น้อยกว่าสภาผู้แทนราษฎร คือ ได้ตั้งกระทู้ถาม (มาตรา 57) แต่จะลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีไม่ได้ (มาตรา 70)
                     - สภาผู้แทน (ไม่มีคำว่า ราษฎร แต่อย่างใด) ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรออกเสียงเลือกตั้งโดยตรง โดยวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตละ 1 คน และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ

               2) ห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกพฤฒสภา สมาชิกสภาผู้แทน และรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน

              3) ให้เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมืองเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และให้สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ เพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475

              4) ห้ามตั้งศาลพิเศษ และมีวิธีการประกันอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษา โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ

              5) จัดตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้รัฐสภาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิขึ้น ประกอบด้วยประธานตุลาการ 1 คน และตุลาการอื่นอีก 14 คน เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยว่ากฎหมายใดใช้บังคับมิได้ เพราะแย้งหรือขัดกับรัฐธรรมนูญ (มาตรา 88)




        10.1.4 ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

                 10.1.4.1 ความทั่วไป


               ด้วยคณะรัฐประหารอ้างว่า ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤติการณ์ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะเครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นเป็นอันมาก เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมโทรมในศีลธรรมอย่างไม่เคยมีมาแต่ก่อน รัฐบาลและรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขให้กลับสู่ภาวะปกติได้จึงจำต้องให้เลิกใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ขึ้นแทน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 รวมจำนวน 98 มาตรา โดยมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว และต่อมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ถูกยกเลิกอย่าง"สันติ" เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน ระหว่าง 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

               รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารฉบับนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ "ใต้ตุ่ม" หรือ "ตุ่มแดง" เนื่องจากก่อนหน้านั้น พลโท หลวงกาจสงคราม (กาจ เก่งระดมยิง) รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วนำไปเก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำเพราะเกรงว่าความจะแตกถ้าหากมีใครมาพบเข้า



                 10.4.1.2 หลักการสำคัญ


               1) มี คณะอภิรัฐมนตรี จำนวน 5 คน ทำหน้าที่บริหารราชการในพระองค์ และถวายคำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ โดยตั้งใจจะให้เป็นผู้ควบคุมคณะรัฐมนตรีอีกชั้นหนึ่ง

               2) ยกเลิกเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง

               3) ใช้ระบบ 2 สภา โดย วุฒิสภา (ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อแทนคำว่า พฤฒสภา) ประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยไม่ห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีกำหนดวาระ 6 ปี และโดย สภาผู้แทน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แบบรวมเขตจังหวัด คือถือเอาเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีกำหนดวาระ 4 ปี อันมีสมาชิกจำนวนเท่ากันทั้งสองสภา

              4) เพิ่มอำนาจวุฒิสภา โดยให้สมาชิกวุฒิสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ แต่ต้องเสนอต่อสภาผู้แทนก่อน และในกรณีที่มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานของที่ประชุม และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน

              5) คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 15-25 คน รัฐมนตรีผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ว่าการกระทรวง ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนต่อรัฐสภา และต้องรับผิดชอบร่วมกันในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรีด้วย

              6) นโยบายของคณะรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้ดำเนินมาจะเสร็จลง หรือ ที่ดำเนินการอยู่เพียงใดก็ตาม คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังจะเลิกล้ม หรือ แก้ไขให้เป็นไปอย่างอื่นมิได้ เว้นแต่จะเสนอขอรับพระบรมราชวินิจฉัย และได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้นทั้งนี้เพื่อจะให้เป็นอำนาจของคณะอภิรัฐมนตรีในการถวายคำปรึกษา

             7) รัฐมนตรีทั้งคณะต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อมีพระบรมราชโองการ โดยไม่บัญญัติว่าใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

             8) ไม่มีบทบัญญัติถึงคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

             9) กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร สภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก 40 คน ซึ่งรัฐสภาเลือกตั้งจากสมาชิกวุฒิสภา 10 คน จากสมาชิกสภาผู้แทน 10 คน จากผู้มีคุณสมบัติต่างๆ กัน 4 ประเภทๆ ละ 5 คน ทำการร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน

            เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แก้ไขได้โดยง่าย โดยอาศัยเสียงข้างมากของรัฐสภา ฉะนั้น ภายหลังจากที่ประกาศใช้ไม่ถึง 1 ปี จึงถูกแก้ไขเพิ่มเติมถึง 3 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2490 แก้ไขคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยกำหนดอายุผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่ต่ำกว่า 35 ปี และให้พระบรมวงศานุวงศ์สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2491 แก้ไขกำหนดเวลา ในการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรและวิธีการร่างรัฐธรรมนูญโดยกำหนดให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ และร่างให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2491 แก้ไขให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีเอกสิทธิ์และคุ้มกันเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
PS.   ฝา ก ไ อ ดี ผ ม ด้ ว ย นะ ค ร้า บ

แสดงความคิดเห็น

>

18 ความคิดเห็น

กุน 7 ม.ค. 53 เวลา 19:49 น. 11

สุดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆยอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกเลยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

อ่านไม่เข้าใจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ

0
tod 17 ก.ย. 53 เวลา 11:31 น. 15

รูปน่ารักจังเยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

0
wolfish13 14 ธ.ค. 53 เวลา 23:04 น. 16

ขอบจัยมากกกกกกกกกกกก
ได้รายงานส่งแร้วววววว
เย้ววววววววววววววววว


PS.  บ้าบอ คอแตก555
0
ชิติสรรค์ 7 ธ.ค. 54 เวลา 12:49 น. 18
เยอะมากเลยยยยยย

ทำไงดีเนี่ยยยยย ๆๆๆๆๆ

ต้องทำงานส่งครอีกกกกกก

โอ้ยยยยย

เซซซซซซงงงง&nbsp เว้ยยยยยยยย
0