Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ชีวิตการเรียนของเด็กมหาลัย ที่อยากกล่าวให้ใครๆ ได้รับรู้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ฉันเคยฟังอาจารย์พูดครั้งหนึ่ง
\"การเรียนรู้ของเด็กสมัยนี้  ส่วนใหญ่เอาตังก์เข้าโรงเรียนกวดวิชา\"

ฉันฟังอาจารย์เกือบครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้
สรุปโดยรวมแล้วการหมายถึงสิ่งนี้
นั่นคือการศึกษาของไทยล้มเหลวเป็นอย่างมาก

เพราะการศึกษาเด็กไทยต่างกับเด็กต่างชาติโดยสิ้นเชิง
การศึกษาของเด็กไทยจะให้ใครเข้ามาช่วยตลอด
แต่การศึกษาของเด็กชาวต่างชาติต้องพยายามศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าใจตนเอง
ซึ่งนั่นแหละ...เป็นที่มาของกระทู้นี่

จะว่าฉันยังไงก็แล้วแต่...
แต่ฉันว่า....มันก็จริงเป็นดั่งที่อาจารย์เขาพูดนั่นแหละ

\"ส่วนใหญ่....การศึกษาของเด็กไทยจะเอาตังก์เข้าโรงเรียนกวดวิชา เพื่อให้ตัวเองมี
ความรู้การศึกษาและทำข้อสอบให้ได้คะแนนดี เพื่อเป็นที่รู้จักในโรงเรียน และจะได้รับเรียน
ในโรงเรียนที่สูงๆ  จบมาแล้วจะได้ทำงานดีๆ จะได้มีหน้ามีตาเป็นชื่อเสียง เป็นเกียรติแก่
วงศ์ตระกูล 
   ..แต่...เด็กไทยเราลืมเรื่องราวเหล่านั้นไป  ส่วนใหญ่พ่อแม่พยายามกระตุ้นให้เด็กไทยเรียนดี
มีผลงานทางด้านการเรียนดีเด่น จนลืมไปว่าลูกเราจะเข้าสังคมได้ไหม...\"

อาจารย์ของฉันเล่าต่อว่า

\" ครูเองก็อยากจะหัวเราะกับเด็กไทยที่ฆ่าตัวตายเนื่องจากผลการเรียนของตนเอง บางคน
ไอคิวดีเหมาะที่เป็นอนาคตของชาติ แต่เมื่อเจอการเรียนในมหาลัย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง....ส่วนใหญ่จะเรียนไม่ได้ เพราะชีวิตเราติดพันกับสถาบันกวดวิชา  บางสถาบันกวดวิชา
พยายามที่จะติวหลักสูตรเร่งรัดในการเลือกคำตอบที่อาจจะเป็นไปได้ บางสถาบันกวดวิชา
พยายามสอนหลักสูตรติดคอร์ดเทอร์โบเพื่อเตรียมตัวจะเข้ามหาลัย...
 .....แต่ลืมอะไรไปไหม...
 .....ในมหาลัย...ไม่มีการสอบแบบเลือก ก) ข) ค) ง)  หรือจะมีก็น้อยมาก
                      แต่ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบแบบเขียน
         พอเข้ามาเรียนในมหาลัย  เราก็จะทำไม่ได้ เพราะเราถนัดกับการเรียนมาอย่างนี้\"

ฉันเข้าใจอาจารย์ที่พูด  ฉันฟังต่อไป

\"ครูเอง...ก็จนใจที่บางคนสอบตกจนมาร้องห่มร้องไห้กับครู  มาบอกกับครูว่าหนูทำอะไร
ผิด หนูจะแก้ตัวอย่างไร หนูจะเพิ่มคะแนนได้ไหม ครูเองก็อยากตวาดกับไปเสียมากกว่า
ก็ในเมื่อเธอสอบมาเอง เธอได้ผลเป็นอย่างนั้น แล้วเธอจะให้ครูทำอย่างไร เธอจะให้ครูเอา
อะไรมาเพิ่มตรงคะแนนของเธอ....ถ้าครูเพิ่ม ครูก็โกหกนักเรียนใช่เปล่า ....ก็ในเมื่อเธอทำ
ข้อสอบไม่ได้ เธอก็ได้รับคะแนนอย่างนั้นแหละ....\"

ทำไมถึงทำข้อสอบไม่ได้
ก็เพราะว่า ในมหาลัยมีการสอบแบบเพียวๆ ทั้งนั้น 
ไม่มีคะแนนพิศวาส หรือคะแนนกระบวนการเรียนเป็นกลุ่ม ที่สามารถพลอยเพื่อนได้อยู่หรอก

\"...ถ้าเธออยากเก่ง เธอต้องขยัน และเรียนรู้ด้วยตนเอง จนเข้าใจ สามารถอธิบายเพื่อนได้
นั่นคือเธอเก่ง แต่ไม่ใช่แค่นั้นคือเธอจะเก่ง ....คนเราต้องเรียนรู้อะไรมากมายหลายอย่าง
ไม่ใช่ว่าเธอเก่งอย่างเดียวไม่ได้หรอก  ในโลกนี้ถ้าคนเรามีความสามารถเก่งเท่ากับไอแซค
นิวตันหรือไอส์ไตน์ก็ตาม โลกนี้มันก็ขาดศิลปะความงาม   ....ใช่แน่นอน...เธอต้องเป็นคนดี
ของสังคม เธออยู่ร่วมกับเพื่อน กับสังคม แค่นั้น เธอก็ประสบความสำเร็จแล้ว\"

ฉันอาจจะฟังที่อาจารย์เล่ามาไม่หมด
แต่ฉันจำได้ประมาณเท่านั้น
ที่ฉันเขียนมานี่...เผื่อว่าใครจะได้เปลี่ยนทัศนคติการศึกษาของเด็กไทยใหม่ๆ บ้าง
ฉันไม่ได้ว่า การศึกษาของเด็กไทยสมัยนี้จะแย่นะ
เพียงแต่ว่า...การศึกษาของเด็กไทยสมัยนี้...มันไม่ใช่สิ่งที่ฉันต้องการ
ฉันต้องการเพียงแค่ว่า

\"การศึกษาของไทยสมัยใหม่ ทำให้เด็กไทยได้ประสบความสำเร็จ\"
            เพราะทุกวันนี้ยังมีบัณฑิตอีกหลายคนตกงาน

========================================================
เพิ่มเติม...
  "โอวแม้จ้าว....ฟิสิกส์จะเรียนให้เปลืองสมองไปทำไม" 
ฉันบ่นตลอดขณะที่ฉันเรียนคอร์สฟิสิกส์เบื้องต้นภายในมหาลัยดังแห่งนี้

ที่แล้วๆ มาฉันกวดฟิสิกส์มาตลอด โดยเฉพาะเรื่องความร้อน ของเหลว 
โมเมนตัม สภาพยืดหยุ่น  ทฤษฏีควอนตัม แสง สี เสียง
แล้วอะไรกันนัก...ก...หนา

มาเรียนในมหาลัย แล้วเจออะไร
เจออะไร...
เจออะไร..รู้หรือเปล่า

ก็มาเจอฟิสิกส์เบื้องต้นสิ....เรียนแค่การเคลื่อนที่ งาน พลังงาน เลนส์ แสง แค่เท่านั้นแหละ
แล้วที่เราเรียนทฤษฏีควอนตัม ความร้อน ของเหลว อะไรนั้นเราเรียนไปทำไม
ให้มันเปลืองพื้นที่ในสมอง

ฉันอยากจะบอกเหมือนกับโน้ต อุดมว่า
" เจ้า พายอาร์กำลังสอง เนี่ย เ....งให้กูเรียนทำไม 
  ....ใครจะบ้าไปวัดเส้นรอบวงของจานกับข้าว...หา...หา...."



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2551 / 18:11

PS.  รณรงค์ลดโลกร้อนด้วยการไม่เสียความบริสุทธิ์ก่อนวัยอันควร...

แสดงความคิดเห็น

>

150 ความคิดเห็น

อืม 18 พ.ย. 51 เวลา 13:07 น. 1

เห็นด้วยๆ อย่างยิ่ง แต่เราเองเรยนแบบเก็บแต่คะแนนสอบแล้วก็มีแต่ข้อสอบอัตนัยมาตั้งแต่ ปวชเตรียมวิศวะแล้วนะเลยชิน สงสารก็แต่พวกประจบอาจารย์จากโรงเรียนเดิมตัวเองที่พอมาเข้ามหาวิทยาลัยก็ดรอปกันเป็นแถวเลย

0
lovejub 18 พ.ย. 51 เวลา 13:10 น. 2

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เก่ง ดี มีคุรธรรมเป็นสิ่งที่สังคมเราขาดหายไปจริงๆ

0
น้ำพี้อโยธยา 18 พ.ย. 51 เวลา 19:45 น. 5

เรียนมหาลัยลำบากจริงๆนะคะ ที่ฟังผู้ใหญ่พูดๆกันมาว่าชิลล์น่ะ เปลี่ยนความคิดกันได้เลยค่ะเด็กๆ

เรียนมหาลัย เวลาว่างเยอะขึ้นก็จริง แต่เนื้อหาก็หนักขึ้นด้วย งานก็เยอะ.. แล้วก็มาก ยากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย

ข้อสำคัญ... ข้อสอบปรนัยเลือกตอบน่ะ แทบไม่มีเลยล่ะค่ะ ยิ่งคะแนนพิสวาทน่ะอย่าไปพูดถึงเลย ขนาดอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีนักเรียนในสังกัดของคณะข้าพเจ้าแค่ 15 คน ยังได้เจอกันเทอมแรกเทอมเดียว สัปดาห์ละชั่วโมง จำกันไม่ได้หรอกค่ะ ประสาอะไรกับอาจารย์ในห้องเรียน แล้วก็อาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยล้วนเป็นนักวิชาการทั้งนั้น เวลาว่างๆก็ไม่ค่อยจะมีหรอกค่ะ ถ้าน้องๆจะไปหาอาจารย์ที่ห้องทำงานล่ะก็ ต้องดูตารางเวลาอาจารย์ให้ดี ไม่อย่างนั้น ไปหาสิบครั้งคงจะเจอแค่ครั้งเดียวล่ะค่ะ

การเรียนระดับอุดมศึกษาเป็นระดับที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงค่ะ สูงมาก เพราะทุกอย่างคุณต้องติดตามเอง ไม่มีการแจ้ง ไม่มีห้องทะเบียนหรือหัวหน้าห้องมาตามทวงว่าคุณส่งใบตอบรับหรือยัง ค่าเทอมจ่ายหรือยัง หรือลงทะเบียนเรียนหรือยัง เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการติดตามประกาศต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการอ่านหนังสือสอบ หนังสือของมหาลัย อย่างที่บอกว่าเนื้อหามันหนักและซับซ้อน การที่จะอ่านในคืนเดียวแล้วจำได้ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องยากค่ะ ไม่ควรประมาทเลย ขอแนะนำว่าให้ฝึกนิสัยเก็บนิด ผสมหน่อย ไปเรื่อยๆ ดีกว่าไปตะลุยอ่านยันตีสามคืนสุดท้ายนะคะ

เฮ้อ... เผลอพล่ามซะยาว =w="

ก็.. ถ้าเป็นความรู้อะไรให้น้องๆได้บ้างก็ดีใจนะคะ ถ้ามีข้อสงสัยอะไรหรืออยากจะปรึกษาเรื่องการเรียน (โดยเฉพาะรัฐศาสตร์) สามารถส่งข้อความลับมาหาพี่ได้นะคะ แต่ขอความกรุณาอย่าเพิ่ง add เมลกัน เพราะไม่รับคนที่ไม่รู้จักค่ะ


PS.  มาเยี่ยมกันบ้างเน้ >w
0
ปลาน้อย 18 พ.ย. 51 เวลา 22:52 น. 6

นิสัยเราเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย
ม.ปลาย เราละ ขี้เกียจโคตรๆๆ
พอ ม.6 ตอนแรกขยะแขยงหนังสือสุดๆ อ่านไปดีดขี้มูกเล่น
ล้มลุกล้มคลานอยู่นานมากกว่าจะยอมอ่านวันหนึ่ง 5-6 ชั่วโมง
ไม่รู้การอ่านเมื่อไรกลายเป็นเรื่องสนุกไปเสียฉิบ ยิ่งอ่านเยอะยิ่งสะใจ+ภูมิใจ (ใครเป็นแบบเรามั้งฟร่ะเนี่ย)
พอเอ็นท์ติด เฮฮฮฮฮ
พอเข้ามหาวิทยาัลัย พอไม่ได้อ่านหนังสือแล้วมันตะหงิดๆ กลายเป้นนิสัยไปแล้วละ
เราว่ามันไม่ยากหรอก สำหรับคนที่รับผิดชอบ รู้หน้าที่จริง ชิวๆ
พอเข้ามหาวิทยาลัย อาจต้องใช้เวลาหน่อย บางคนก็ปรับตัวได้เร็วนะคะ บางคนก็ปรับตัวไม่ได้

0
Over Clock 19 พ.ย. 51 เวลา 02:00 น. 8

จากประสบการณ์ที่เคยเรียนมหาลัยฯ เห็นด้วยกับที่ว่า "เธอต้องอธิบายให้เพื่อนเข้าใจได้" นั้นหมายความว่าเราต้องศึกษาจนแตกฉาน แล้วนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นได้

อย่างที่ผมเรียน อ. จะให้เราอธิบายเพื่อให้เพื่อนเข้าใจ แล้วสามารถตอบคำถามของ อ. ได้ ถ้าเพื่อนไม่เข้าใจ ตอบคำถามไม่ได้เลยซักคน นั้นคือคุณต้องซ่อม ต้องไปเตรียมตัวในการรายงานหน้าห้องมาใหม่ แล้วถ้าเจออ. ที่มากประสบการณ์นะ ถามมาแต่ละข้อ อึ้ง

สารสนเทศ-คอมฯ

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2551 / 02:10

0
Peario 19 พ.ย. 51 เวลา 02:31 น. 9

คห.2 เตรียมวิดวะพระจอมเหนือชัว

คุณเข้ามหาลัยคณะวิดวะแล้วคุณก้อเรียนเตรียมวิดวะมา

ได้เปรียบกว่าเด็กแอดอยู่แล้ว

เพราะวิชาที่เรียน คุณเรียนมันมาแล้วตอนเตรียมวิดวะ

แค่มันเจาะลึกกว่านิดหน่อย พื้นฐานดีอยู่แล้ว

เรารู้เพราะเราเป็นเด็กที่แอดมิชชันเข้าวิดวะพระจอมเหนือเหมือนกาน

เข้ามาเรานับ 1 แต่คุณ นับไปมากกว่า 50 แล้ว

ส่วนเรื่องกวดวิชา เข้ามหาลัยแล้วยังมีเลยกวดวิชาเนี่ย

ประเทศไทยเป็นสังคมที่เด็กเรียนกวดวิชา

ต้องทำใจ!!!

แล้วจะต้องแก้ตรงไหนดี ตัวเด็กเอง ผู้ปกครอง โรงเรียน หรือโรงเรียนกวดวิชา เฮ้อ!!!

0
ฟิวส์ 19 พ.ย. 51 เวลา 04:00 น. 10

พูดถูกมากๆ
เจอมาเต็มๆ
เพื่อนเราเอกเภสัชติดติววิชากับบ้าหอบหนังสือเรียน
พอสอบได้คะแนนน้อยก็ไปอ้อนอาจารย์ขอคะแนน
พอมาอยู่มหาวิทยาลัย
ทำคะแนนได้น้อย&nbsp ขอเกรดก็ไม่ได้
เกือบฆ่าตัวตาย
(เพื่อนๆในห้องห้ามไว้ได้)


จริงที่สุดเลย..ที่ว่า
พ่อแม่พยายามกระตุ้นให้เด็กไทยเรียนดี

มีผลงานทางด้านการเรียนดีเด่น จนลืมไปว่าลูกเราจะเข้าสังคมได้ไหม
อันที่จริงเราว่าน่าจะมีปัจจัยอื่นนอกจากพ่อแม่อีกนะ

เพราะพ่อแม่บางส่วนก็ไม่ได้เข้มงวดอะไร
เรื่องเรียนแต่จะเข้มงวดที่การประพฤติตัว&nbsp หรือการแก้ปัญหา
หรือการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
ประมาณนั้น

2ด้านๆ&nbsp มองได้หลายมุมจ้า

0
ทำใจ 19 พ.ย. 51 เวลา 05:30 น. 11

คห. ที่ 2 มันเรียน มหาลัยมาก่อนตั้ง3 ปีแล้ว

พอขึ้นป.ตรี ก็สบายๆๆๆ

แถมรู้มาก เด็กเก่าที่พระจอมฯ ไม่จบเยอะแยะไป

แต่ศรัทธาเรื่องการใช้ชีวิตจริงๆๆ

เจอเพื่อนเรา เด็กเก่า ไม่เข้าเรียน ไม่อ่านหนังสือ

วันๆๆๆ เมา เล่นเกมส์ อยู่กับเมีย

พอสอบ ก็ไม่ได้ขี้เหร่เลย

ก็ ทางใครทางมันน่ะ&nbsp ขยันเข้าไว้ก็พอ

0
พลอย 19 พ.ย. 51 เวลา 08:10 น. 12

เห็นด้วยกันเจ้าของกระทู้นะ

ตามที่เราคิดนะ
เราเองก็เรียนเมืองนอก
เราว่าข้อสอบแบบให้เขียนตอบยังง่ายกว่า ABCD ให้เลือกด้วยซ้ำ

เกลียดพวกความรู้ทั้งหัวแต่เอาตัวเองไม่รอด
อย่าเรียนเลยดีกว่าแบบนี้

0
+-ลิงน้อยตกถังสี-+ 19 พ.ย. 51 เวลา 08:50 น. 13

อื้มม เห็นด้วยๆ เพราะเราก็เรียนเมืองนอกเหมือนคห.บนน่ะแหละ

แต่ว่าเรายังไม่ได้เรียนมหาลัยหรอกนะ เพิ่งม.สามเอง และสังเกตุได้ว่า เวลาเรียน ยกตัวอย่างเลขนะ

ไม่รู้ว่าที่อื่นจะเรียนเหมือนเรารึเปล่า แต่เราเรียนแบบนี้

ตั้งแต่ประถม อาจารย์จะอธิบายให้ฟังให้นักเรียนเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ให้ถามจนกว่าทุกคนจะเข้าใจ

แล้วหลังจากนั้นก็ใปล่อยให้ทำเองเลยในหนังสือ จะทำกี่ข้อก็ทำไป แต่จำกัดว่าวิชานึงต้องทำให้ได้มากกว่าห้าข้อ สิบข้อ อะไรก็ว่าไป

ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถาม .. เราว่าเรียนแบบนี้มันเข้าใจง่ายกว่า และก็ ดีกว่าด้วย แบบ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองอะไรเงี้ยะ สนุกนะ


แล้วก็ข้อสอบ ของเราเริ่มมีสอบตั้งแต่มอหนึ่ง ข้อสอบของทุกวิชา จะไม่มีให้ตอบ เอบีซี จะมีแต่ให้เขียนตอบทั้งนั้น

มันมีสาระกว่า และก็ที่จริงเราว่า การตอบเอบีซีน่ะ มันไม่รู้สิ เราว่ามันไม่ใช่อะไรที่จะเอามาวัดว่านักเรียนคนนี้รู้เรื่อง ว่านักเรียนคนนี้เข้าใจ
ว่าคนนี้เก่ง

เพราะการตอบคำถามแบบนี้ ใครๆก็มั่วถูกได้ ก็หนึ่งในนั้นแหละที่ถูก แต่ว่าการตอบแบบเขียนมันเจาะลึกให้เห็นเลยว่า นักเรียนคนนี้เข้าใจเรื่องนี้จริงๆรึเปล่า

อะไรเงี้ยะ แล้วเราว่ามันก็สนุกกว่าการที่จะต้องมานั่งกาๆๆ 

เพราะถ้าสมมติเราไม่ได้จริงๆ มันก็ต้องใช้สมองคิดๆๆ แต่การตอบแบบเอบีซีนี่ ถ้าไม่ได้ก็เดา กามั่วซักข้อนึงและก็ภาวนาให้มันถูก..


และอีกอย่างเราว่า การเรียนที่เมืองไทยมันเหมือนสอนแบบขอไปทีอะไรเงี้ยะ นี่ไม่ได้ว่า แต่คือเคยสัมผัสมาแล้ว 

เพราะว่า ส่วนมากอาจารย์ที่เมืองไทยเค้าจะแบบ อ่านๆๆในหนังสือให้นักเรียนฟังแล้วก็จบอยู่อย่างนั้น แต่ที่นี่เค้าจะแบบ อธิบาย พูดได้โดยไม่ต้องใช้หนังสือ แล้วนักเรียนคนไหนสงสัยเรื่องอะไรอาจารย์ก็ตอบได้หมดทุกเรื่อง แบบ ไขข้อข้องใจ.. และมันจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เหมือนที่เมืองไทยที่แปปเดียวก็เริ่มเรื่องใหม่ .. อีกสองวันสอบ อะไรเงี้ยะ


และที่นักเรียนเมืองไทยต้องไปเรียนติวกันส่วนมากก็เพราะว่า ในห้องเรียนมันสอนกันแบบนี้ และนักเรียนก็ไม่กล้าถามอาจารย์เพราะกลัวโดนด่า และก็อีกอย่าง ไม่ค่อยสนใจที่จะศึกษาเพิ่ม ก็เลยไม่เข้าใจอยู่อย่างนั้น มันก็เลยต้องไปติวเพิ่ม ... แต่จริงๆแล้วที่ติวๆมันก็ความรู้เดิมๆจากในห้องเรียนทั้งนั้น

เราอยากให้คนไทยใช้วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ๆบ้าง ..  



ก็ไม่รู้นะ มันอาจจะไม่เหมือนกันทุกที่ เพราะเราก็ย้ายมาอยู่นี่นานแล้ว ส่วนมากก็ฟังจากที่เพื่อนๆเล่าให้ฟัง.. 

และก็นี่ก็เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวของเราก็เท่านั้นเอง



แต่ยังไงก็อยากบอกว่ากระทู้นี้ดีมากๆๆเลย โหวตๆๆให้น่ะ

0
JPM 19 พ.ย. 51 เวลา 09:34 น. 14

สำหรับเรานะ จะว่าถูกก็ถูก จะว่าผิดก็ผิด
&nbsp  1.เรื่องที่เรียนกวดวิชา มันก็เป็นเรื่องจำกัดเฉพาะสังคมเมือง แต่ถ้ามองทั่วประเทศเด็กที่เรียนกวดวิชาก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
ดูอย่างตอนเราสอบเข้าก็ไม่เห็นต้องกวดวิชาเลย ที่ร.ร.จ้างอาจารย์ดังดังมาติวให ้เราก็ยังโดดเลย เราก็คิดว่าไม่ได้มีเฉพาะเราที่เป็นแบบนี้
&nbsp  2.ส่วนเรื่องข้อสอบ กขคง หรือ ข้อเขียน มันก็มีความยากง่ายคนละแบบ เช่น
ข้อเขียน&nbsp 
&nbsp ส่วนใหญ่ถ้าตอบเข้าประเด็นนิดหน่อยอย่างน้อยก็ได้คะแนนบ้าง แต่โอกาสที่จะตอบตรงประเด็นทั้งหมด และได้คะแนนเต็มก็น้อยมาก
ส่วนที่เป็นตัวเลือก
&nbsp ถ็าเลือกถูกก็ถูก ถ้าเลือกผิดก็ผิด&nbsp แต่ถ้าไม่รู้คำตอบอย่างน้อยก็มีโอกาสได้เดา
&nbsp  3.ส่วนเรื่องการศึกษาของไทย จะว่าที่ตัวเด็กก็ไม่ได้ คงต้องว่ากันที่ตํวระบบ โครงสร้างการศึกษา
&nbsp -ไม่รู้เปลี่ยนอะไรกันนักหนา สงสารเด็ก เมื่อก่อนก็ Ent เข้า แล้วก็เปลี่ยนเป็น admition แล้วก็ได้ข่าวว่าเปลี่ยนเป็น GAT PAT อะไรอีก
&nbsp  ทำอย่างกับเปลี่ยนตามเก้าอี้รัฐมนตรี
&nbsp -ทั้งที่ใช้งบประมาณคิดเป็นร้อยละ 30 ของงบประมาณที่ใช้พํฒนาประเทศทั้งหมด ไม่มีประเทศไหนต้องแบ่งศัดส่วนให้มากเท่านี้
&nbsp  แต่เด็กไทยก็โง่ลงทุกที คิดดูเมื่อก่อนจบป.4ยังอ่านออกเขียนได้ แต่เดี๋ยวนี้ม.3ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
&nbsp  เราไม่ได้เว้อนะมันเป็นเรื่องจริง
ป.ล.เราเป็นเด็กรัฐศาสตร์ ช่วงนี้กำเรียนเรื่อง นโยบาย ก็เลยใส่เต็มที่ไปหน่อย11

0
หลุมมืด 19 พ.ย. 51 เวลา 10:27 น. 15

จริงหรือถึงคุณ คห. ข้างบนที่ปัจจุบันนี้จบ ม.3 กันแล้วยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มันเหลือเชื่อมากๆเลยน่ะ เพราะแค่ ป.1 2 3 ขึ้นไปมันต้องเริ่มคล่องกันแล้วนี่เรายังเห็นว่าช้าไปด้วยซ้ำ ถ้ายังไงก็ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมยกตัวอย่างน่ะเด็กที่ไหนกันที่เป็นแบบนี้

0
เด็กนครหลวง 19 พ.ย. 51 เวลา 12:05 น. 17

ถ้ามาเรียนสายอาชีวะส่วนใหญ่เขาก็ไม่สอนแบบเครียดอะไร บางทีก็สบาย

แต่จะให้เรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่า เน้นปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี แต่ถ้าเป็นม. ปลายมันก็จะกลับกัน

แต่สายอาชีวะคนไม่ค่อยอยากเข้ากัน

เพราะมันมักมีเรื่องตีกันบ่อย


แต่เดี๋ยวนี้เวลาอบรมมักจะให้คนเป็นคนดีก่อนแล้วค่อยเป็นคนเก่งทีหลัง

0
JPM 19 พ.ย. 51 เวลา 12:44 น. 19

ตอบ คห.19
จริงดิ พ่อเราเป็นข้าราชการเลยต้องย้ายไปหลายที่ แต่หลังๆเราก็ไม่ได้ย้ายตามไป เช่นตอนนั้น พ่อเราย้ายไปอยู่ที่อ.พนา จ.อำนาจเจริญ
มีเด็กร.ร.มัธยมที่หนึ่งของอำเภอ เราไม่บอกชื่อแล้วกัน เดี๋ยวจะว่าเราดูถูกโรงเรรียนเค้า มีเด็กแถวบ้านคนหนึ่ง
พ่อกับแม่เราเป็นพวกชอบทดสอบความรู้เด็ก ก็เลยแกล้งขอร้องให้เขาอ่านเอกสารที่ถูกส่งมาทางไปรษณีย์ บอกเขาว่ามองไม่เห็นไม่ได้เอาแว่นมา
แล้วเขาก็มองหน้าแม่เราอยู่นาน แม่เราก็รู้แล้วว่าเขาอ่านไม่ออก และอย่าคิดไปเองว่าพ่อแม่เราเป็นครูละ
&nbsp  แต่ที่จริงแล้วมันก็มีอีกหลายที่ โดยเฉพาะ ร.ร.ที่ไม่ได้ เป็นร.ร.ประจำจังหวัด/อำเ๓อ หรือเอกชนดังๆ
เช่น ร.ร.ที่เรียกกันว่า ร.ร.ขยายโอกาส ที่อยู่ตามตำบลต่างๆ อันนี้ที่น่าเป็นห่วง ถ้าจะว่าขาดสื่อการเรียนการสอนก็ไม่น่าใช่
เพราะ เท่าที่เห็นเราว่าคอมฯบ้าง ร.ร.มีใช้ต่อคนมากมากกว่าร.ร.เอกชนซะอีก เพราะทั้งห้องมีเด็ก12-13คน
แต่มีคอมฯ20เครื่อง แต่เราคิดว่าน่าจะเป็นเพราะขาดบุคคลากรมากกว่า เพราะอาจารย์คนเดียวสอนตั้งหลายวิชา
อาจจะคิดกันว่า นักเรียนร้อยสองร้อยคนเมื่อเทียบกับอาจารย์สิบกว่าคนมันก็เป็นอัตราที่ไม่ได้มากเกินไป
แต่ถ็าเทียบกับรายวิชาที่ต้องสอนจาก ป.1-ม.3หรือม.6 เราว่ามันก็หนักมากสำหรับอาจารย์
&nbsp  ยังไงก็ฝากด้วยแล้วกํน สังคมไทยใหญ่กว่าทำเนียบรัฐบาลมีปํญหามากมายที่รอคอยการแก้ไข11

0
ปลาคังน้อย 19 พ.ย. 51 เวลา 13:41 น. 20

อืม เหนื่อยจริงๆครับ

ผมเรียนศิลปศาสตร์อ่ะ พวกประวัติศาสตร์ อารยธรรมอะไรนี่อ่านกันหัวฟู

ตอนสอบกลางภาคยังเอ๋อๆอยู่

เจอข้อสอบไปทีแทบช็อคคาห้อง

อาจารย์แกเล่นให้รูปภาพมา1ภาพพร้อมกระดาษ8หน้า

พอเทอมปลายก็ค่อยปรับตัวขึ้นได้หน่อย แต่ก็ยังเหนื่อยอยู่ดีอะครับ

โชคดีที่ผมยังไม่ถูกกลืนไปกับระบบกวดวิชาซะก่อน

ตอนมัธยมผมก็ไม่ค่อยเรียนอยู่แล้ว เพิ่งจะมาเรียนคอร์สเอ็นท์ของอาจารย์ปิงไปที่เดียวเอง

การเรียนมหาวิทยาลัยทำให้ผมรู้ว่า

บัณฑิตที่จบมานั้นต้องมีคุณภาพมากจริงๆ เหนื่อยครับ แต่ต้องพยายาม

ต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง อ่านหนังสือให้มากๆด้วย

คนที่ขยันเกรดจะไม่ต่ำกว่า3 หรือ3.5 (เฉพาะพวกปี1เพื่อนๆผมนะ)

ส่วนคนที่เรียนเรื่อยๆ แบบติดนิสัยม.ปลาย เกรดจะประมาณ2-3 อะครับ ไม่เกิน3

เกรดปกติของนักศึกษาปี1คณะผมเลยอยู่ที่ประมาณ2.7

ต่างกันมากกับตอนม.ปลาย ผมอยู่ห้องคิงศิลป์ เกรดเฉลี่ยรวมยังมากกว่า ประมาณ3.3อะครับ

0