Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตำนาน พระยาพิชัยดาบหัก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

.....เจ้าพระยาโกษาเหล็ก ท่านเป็นแม่ทัพชั้นเอกของสมเด็จ พระนารายณ์ สีหราชเดโช ผจญสงครามใหญ่โต ปราบมวล ศัตรูแพ้พ่าย เจ้าคุณพิชัยดาบหัก ท่านกล้าหาญยิ่งนัก สมดัง เป็น ต้นตระกูลไทย......


ระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อจ้อย เป็นลูกชาวนาเกิด ในหมู่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตเมือง อุตรดิตถ์ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๓ คน แต่ตายเพราะ ไข้ทรพิษไปเสีย ๒ คน จึงเหลือแต่ เด็กชายจ้อยอยู่ ผู้เดียว ต้องมีหน้าที่เลี้ยงควาย และช่วยพ่อแม่ปลูกข้าว ในท้องนา เล่าไว้ในประวัติศาสตร์ว่า จ้อยนี้มีฝีมือ ชกมวย เก่ง มาแต่เด็ก ระหว่างที่เลี้ยงควายอยู่นี้ ก็ไม่เกียจ คร้านนอนพักผ่อน อยู่บนหลัง ควายเฉยๆ มักจะชักชวนเด็ก เลี้ยงควายอื่นๆ ต่อยมวยอยู่เสมอ และตนก็จะเป็น ผู้ชนะทุกครั้งไป
เมื่อจ้อยโตขึ้น บิดาจะให้ไปเรียนหนังสือในวัด ก็ขัดขืนไม่ยอมไป เพราะต้องการ เรียน วิชามวยมากกว่า จนบิดา ต้องอธิบายให้ฟังว่า มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้อง เรียน หนังสือ ให้อ่านออกเขียนได้ เพราะแม้แต่วิชามวยนั้น จะเรียนรู้ ได้ละเอียดก็ต้อง ฝึกอ่านจากตำรามวยต่างๆ เด็กชายจ้อยจึงยอมเข้าวัด เรียนหนังสืออยู่จนอายุ ถึง ๑๔ ปี จึงสามารถอ่านออก เขียนได้ ระหว่างที่เรียนหนังสือในวัดนั้น ก็พยายาม ฝึกหัดวิชามวยด้วยตนเอง โดย ตัดต้นกล้วยมาฝึกเตะแรงและเตะสูง จนสามารถ กระโดดข้ามต้นกล้วยที่สูงถึง ๔ ศอก ได้ นอกจากนั้นยังฝึกความเร็วของหมัด โดย เอามะนาว ๔-๕ ใบ มาผูกเชือกแขวนที่ต้นไม้ แล้วชกต่อยขึ้นศอก ถองลูกมะนาว พัลวันได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่มีมะนาวลูกใดลอยมาถูกใบหน้าเลยอยู่มาวัน หนึ่ง ลูกชาย เจ้าเมืองพิชัย ชื่อคุณเฉิดกับคนรับใช้มาเรียน หนังสืออยู่ที่วัดด้วย คุณเฉิด นั้นเป็นถึงลูกเจ้าเมือง มีอำนาจ วาสนา พวกเด็กในวัดจึงพากันคอยเอาอกเอาใจ ฝากตัวเป็นบริวาร มีแต่จ้อยเท่านั้นที่ไม่ยอมเข้าด้วย จึงไม่ถูก นิสัยกัน ถึงกับมี การชกต่อยกันขึ้น เด็กชายจ้อยนั้นฝีมือดีกว่า ต่อยคุณเฉิดเสียเจ็บตัวพ่ายแพ้ไป
ความกลัวว่า จะถูกลงโทษ ทำให้จ้อยผู้ชนะต้องหลบหนีออกจากวัด เดินทางไป ถึงหมู่บ้านท่าเสา ซึ่งเป็นหมู่บ้าน ที่มีชื่อเสียงด้านการชกมวย สมัครเป็น ศิษย์ ของครูมวย ชื่อครูเที่ยง หลอกท่านว่า ตนเองนั้นชื่อทองดี มาจาก หมู่บ้านดินแดง ครูเที่ยงก็รับเอาไว้เลี้ยงเป็นเด็กรับใช้ในบ้าน
ภายในเวลาปีเดียว จ้อยกลายเป็น นักมวยชั้นเอก ของครูเที่ยง เรียนรู้ฝึกหัด วิชามวยจากท่านผู้นี้จนหมดสิ้น นอกจากนั้นนายจ้อย หรือ ทองดีนี้ยังมีความ กตัญญูรับใช้ งานในบ้าน ตักน้ำ ตักข้าว ทำสวนให้แก่ครูเที่ยง นสยจ้อยเป็น นักมวยที่เอา ใจใส่สุขภาพ ของตน
เองไม่ยอมกินหมาก เหมือนคนอื่นๆในหมู่บ้านนั้น จนครู่เที่ยงตั้งชื่อว่า " ทองดีฟันขาว" จ้อยอยู่กับครูเที่ยง จนกระทั่งเกิดวิวาทกับศิษย์เก่าของท่าน คนหนึ่งซึ่งชกมวยสู้จ้อยไม่ได้ จึงไปเที่ยวโพนทะนาว่าครูเที่ยง
อุปการะเลี้ยงคน เกเร จ้อยกลัวครูจะเสียชื่อเสียง จึงกราบลาอาจารย์และ เดินทางกับพระรูป หนึ่งไปถึงวัด บางเตาหม้อ มอบตัวเป็นศิษยฺในวัดนั้นอีก ระหว่างที่พำนัก อาศัย ในวัดนี้ จ้อยได้มีโอกาสเห็นคนจีน เล่นงิ้ว สังเกตตัวละคร งิ้วแสดงกำลังภายใน กระโดดโลดเต้นห้อยโหนได้ผิดมนุษย์ธรรมดาก็รู้สึกทึ่ง พยายามหัด ท่ากระโดด กระโจนข้ามหัวคนแบบมวยจีน แสดงความสามารถ รวมวิชาทั้งมวยไทย และ มวยจีนได้ จนเป็น ผู้มีชื่อเสียง ครูมวยอีกท่านหนึ่งเรียกกันว่าครูเมฆ อยู่บ้าน ท่าเสา จึงรับนายทองดีนี้มา เป็นลูกศิษย์ฝึกสอน วิชามวย อีกต่อไป วันหนึ่ง มีขโมยมาลักควายของครูเมฆไปสองตัว ระหว่างที่ขโมย จูงควายหลบหนีไปนั้น นาย จ้อยคว้าดาบวิ่งไล่ตามไปคนเดียว พอถึงตัวจึงเกิดการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จ้อยใช้ดาบฟันคอขโมยขาด ตาย ดิ้นไปคนหนึ่ง และขโมยอีกคนหนึ่งถูกฟันข้อมือ ขาด ร้องขอชีวิตด้วยความกลัว จ้อยก็ส่งตัวมันให้กรม การเมือง จึงได้รับรางวัล ๕ ตำลึง พร้อมทั้งคำชมเชยอย่างมาก นี่เป็นโอกาสแรก ที่นายจ้อยซึ่งภายหลัง จะกลายเป็น พระยาพิชัยดาบหัก ได้แสดงฝีมือทางด้านการฝใช้ดาบ ในวัน นมัส การพระแท่นดงรัง มีการจัดงานวัดขึ้น แสดง มวยกลางลาน นายจ้อย นั้น ถูกจับ คู่ให้ชกกับนายถึกลูกศิษย์ครูนิล ในยกแรกพอไหว้ครูเสร็จ นายจ้อยก็ กระโดด ข้ามหัวคู่ต่อสู้และหันกลับมาถีบท้ายถอย นายทึกแบบเล่นงิ้ว พอนายทึกงวยงง ยืนหาคู่ต่อสู้อยู่ เป็นไก่ตาแตก ก็โดนเตะเข้าอีกทีหนึ่ง จนสลบนิ่งไม่ลุกขึ้น ยอม แพ้ไป นายนิล ครูมวยของนายถึกรู้สึกโมโหเป็น อย่างมาก ที่ลูกศิษย์โดนเตะ สลบเร็วเหลือเกิน จึงท้าครูเมฆชก  แต่นายจ้อยรับอาสา ขอต่อสู้กับครูนิล แทน เมื่อไหว้ครูกันเสร็จแล้ว ในยกแรกนาจ้อยได้แต่ถอยและ เป็นฝ่ายรับข้างเดียว ดูท่าทีของครูนิลว่า เก่งแค่ไหน แต่พอถึงยกที่สองนายจ้อย กระโดดเตะต้น แขนซ้ายขวา ของครูนิลด้วยความแรง จนครูนิลเจ็บ กล้ามเนื้อ ยกแขนไม่ขึ้น ทั้งสองข้าง ได้แต่ใช้เท้าเตะอย่างเดียว   จึงถูกนายจ้อยจับขากระชากขึ้นเข่า ที่ท้องและชกที่คาง พร้อมกัน ครูนิลหงายหลังฟันหักสี่ซี่สลบไปอีกคนหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของนายจ้อยหรือทองดีนี้ก็แผ่กระจาย ไปทั้งเมืองพิชัย หลังจากนั้นประมาณ ๓ เดือน นายจ้อยได้มีโอกาสรู้จักกับพระภิกษุจาก นครสวรรคโลก จึงเดินทางไปที่เมืองนั้นกับพระรูปนี้ และสมัครตนเป็นลูกศิษย์ ของครูดาบ ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะนายจ้อย รู้สึก ว่าตนเองได้เรียนวิชามวย ทั้ง แบบจีนและไทยมาจนหมด สิ้นแล้ว เมื่อหาครูมวยเพิ่มเติมวิชาความรู้ให้ไม่ได้
ก็ สมควรที่จะฝึกวิชาดาบต่อไป ฝึกอยู่เพียง ๓ เดือน ก็มีชื่อเสียงดังไปทั่ว เมืองสวรรคโลก ว่าเป็นนักดาบเก่งกาจ
จนลูกชายเจ้าเมืองถึง กับชวนไปประลอง ฝีมือกัน ความจริงในการต่อสู้ครั้งนี้นายจ้อยฉลาดขึ้น เพราะถึงแม้ ตนเองจะ มี ฝีมือดาบเหนือกว่า ก็พยายามฟันแบบมิให้มีใครแพ้ชนะ คงจะได้บทเรียนมา ตั้งแต่สมัยเป็น ลูกศิษย์ในวัดวิวาทกับ ลูกชายเจ้าเมืองพิชัย หลังจากนั้นก็ออก จากเมืองสวรรคโลกเดิน ทางไปอยู่กรุงสุโขทัย พักที่วัดธานี พบกับครูจีนอีก ผู้หนึ่ง ซึ่งมีวิชาความรู้ฝีมือด้านมวยจีนเก่งกาจสามารถมาก สามารถจับคน หักไหปลาร้า ได้ นายจ้องสมัครตัวเป็น ลูกศิษย์เรียนเพิ่มท่ามวยจีนต่าง  ๆ อีกมากมาย จนใน ที่สุดชื่อเสียงทาง ด้านฟันดาบ มวยไทย และ มวยจีนแพร่ไปทั่ว กรุงสุโขทัย กลายเป็นครูกับเขาบ้าง มีลูกศิษย์ติดตาม หลายคน คนหนึ่งที่รักมากชื่อนายบุญเกิด ขณะอายุเพียง ๑๓ ปี กล่าวกันวานายจ้อยกับลูกศิษย์อายุ ๑๓ ปีนี้ รักใคร่ ใกล้ชิด กันมาก ไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ ครั้นวันหนึ่ง มีคนจีนจากเมืองตาก มาค้าง อยู่ที่กรุงสุโขทัย ได้ยิน ชื่อเสียงว่านายจ้อยชกมวยและ ฟันดาบได้คล่องแคล่วว่องไว จึงมาบอกว่า เจ้าเมืองตากนั้น เป็นคนเชื้อจีน และ ชอบวิชามวย เป็นอย่างมาก อยากชักชวนให้นายจ้อยและบุญเกิดเดินทางไปที่เมืองตาก เพื่อฝึกสอนวิชามวย ให้แก่ชายฉกรรจ์ที่นั่น จ้อยกับบุญเกิดก็ตกลง เดินทางจากนครสุโขทัย ต้องบุกป่า ฝ่าดง เป็นเวลาหลายวัน ค่ำที่ไหนก็นอนที่นั่น เอนกายลงใต้ต้นไม้ จุดไฟกันเสือ ผลัดกันนั่งยาม คืนหนึ่งเด็กชายบุญเกิดมีหน้าที่ นั่งยาม ทนความง่วงไม่ได้หลับไป เมื่อไฟมอด็ย่องเข้า มางับลากตัว นายบุญเกิดไป ครูจ้อยได้ยินเสียง ลูกศิษย์ ร้อง เอะอะโวยวายด้วยความตกใจ ก็ชักมีดสุยออกจากเอว กระโดดเข้ากอด คอ เสือโดยไม่มีตวามกลัว ปักมีดลง ที่คอ หลายครั้งจนเสือนั้น ต้องปล่อย นายบุญเกิด และวิ่งหนีเข้าป่าไป เพราะความเจ็บปวด นายจ้อยกับ คนจีน ช่วยกัตน ปฐมพยาบาล นายบุญเกิดเป็นเวลานานจึงหายขาด เจ้าเมืองตากนั่น เราทราบดีในประวัติศาสตร์ ว่า ท่านคือพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั่นเรียกกันว่าเจ้าตาก จ้อย บุญเกิด และคนจีนเดินทางถึงเมืองตาก ขณะที่พระเจ้าตาก จัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ที่วัด และมีมวยฉลอง นายจ้อยถูกจัดให้ขึ้นชกกับ ครูมวยคน หนึ่งชื่อ นายห้าว เป็นการชก มวยต่อหน้าพระเจ้าตาก  แต่ก่อนที่จะมีการชกนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งเรียกนายจ้อย มาบอกว่า ครูห้าวนี้เป็นผุ้มีอิทธิพลมากนัก ถ้าต่อยมวยด้วย แล้วแพ้ก็ไม่มีปัญหา อะไร แต่ถ้านายจ้อย ฝีมือดี ต่อยชนะแล้วเห็นจะถูกแก้แค้นเอาชีวิตไม่รอดเป็นแน่  เมื่อฟังคำของพระ เช่นนั้นแล้ว นายจ้อยรู้สึกวิตกมาก ถึงเวลาเริ่มต้นมวย ก็แอบ อยู่บนกุฎิพระไม่ยอมลงมา จนพระเจ้าตากต้องให้คนไปตามตัว นายจ้อยจึง กราบ เรียน ต่อพระเจ้าตากว่าตนเองเป็นคนมาจากต่างเมือง ไม่มีอำนาจอิทธิพล จะต่อยกับครูห้าว กลัวว่าเมื่อ ชนะ แล้ว ชีวิตจะต้องตกอยู่ในอันตราย พระเจ้าตาก ได้ฟังเช่นนั้น ก็รับรองด้วยเกียรติของท่านเองว่า จะไม่ยอม ให้ ครูห้าว ทำอันตราย ต่อนายจ้อยได้ การชกมวยจึงเริ่มต้นขึ้น ในยกแรก ครูห้าวก็เข้า ทั้งเตะทั้งต่อย จนนายจ้อย แทบตั้งตัวไม่ได้ ต้องเป็นฝ่ายรับ และเมื่อใกล้ปลายยกก็แกล้งล้มลง เมื่อสิ้นยกแรก ครูห้าวรู้สึกฮึกเฮิมดีใจ เห็นว่านายจ้อยนี้ ถึงแม้จะมีชื่อเสียง แผ่กระจายไป หลายเมือง ก็มิได้มีความสามารถน่ากลัวเช่นใด พระเจ้า ตากสินเอง ถึงกับมาถามว่าจะสู้เขาต่อไปอึกหรือ นายจ้อยก็กราบเรียน ว่ายินดีจะพยายามต่อสู้  ครั้นถึงยกสอง การต่อสู้เผ็ดร้อนขึ้น  พอขึ้นยกสอง นายจ้อย ก็ไม่รอช้า โดดเหยียบ ชายพก ชกลูกตาแล้วลงศอกที่หัวนายห้าว ๒ ทีซ้อน แล้วหกคะเมน ไปยืนอยู่ข้าง หลังครูห้าวถูกศอก งงไม่หายก็ถูกเท้าของนายจ้อย ฟาดปังเข้าให้ที่ ปาก ครึ่งจมูกครึ่ง  ขากรรไกร ครูห้าวล้มลงสลบ เป็นอันว่านายห้าวแพ้ เจ้าตากจึงจัดให้นายหมึก ซึ่งเป็นคร ูมวยตัว ใหญ่กว่าขึ้นชกกับนายจ้อยอีกคนหนึ่ง ซึ่งก็ถูกนายจ้อย เตะเล่น เหมือนเตะต้นกล้วยสลบคาเท้าไปอีกคนหนึ่ง" ฝีมือการชกต่อย ของนายจ้อยนี้ เป็น ที่ พอพระทัยของพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก ถึงกับให้รางวัลและชวน เป็นพรรค พวกบริวาร เมื่อนายจ้อยอายุครบ ๒๑ ปี พระเจ้าตากก็จัดบวชให้เป็นพระอยู่ ๑ พรรษา และหลังจาก สึกออกมาแล้วจึงรับราชการต่อ ได้แต่งตั้งเป็นหลวงพิชัยอาสา รับใช้พระเจ้าตากสินอย่างใกล้ชิด หลวง พิชัยอาสา หลงรักสาวใช้ของพระชายา พระเจ้าตากสินคนหนึ่ง เป็นหญิงงามชื่อลำยง   พระเจ้าตากจึงยกเธอ ให้เป็นภรรยา เมื่อพระเจ้าตากสิน ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมือง กำแพงเพชร หลวง พิชัยอาสาก็ติดตามมารับราชการที่เดียวกัน ครั้นกองทัพพม่า ยกมาล้อมกรุงศรีอยุธสยาในแผ่นดิน ของสมเด็จ พระเจ้าเอกทัศ พระยาวิเชียร ปราการ ได้รับคำสั่งให้มาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา ท่านก็เอาหลวงพิชัยอาสา ติดมาด้วย  เราทราบดีจากประวัติศาสตร์ว่า การป้องกันกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้น ทำกันแบบเหยาะแหยะเต็มที ถึงแม้จะมีคนดีอยู่บ้าง เช่นชาวบางระจัน คนส่วนมาก โดยเฉพาะพระบรมมหาราชวังไร้ความสามารถ ที่จะ ป้องกันประเทศชาติได้ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ในข้อความบันทึกจดหมาย

หลวงอุดมสมบัติว่า "ครั้งพม่ายกเข้ามาตั้งค่ายอยู่วัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้วิชา ปืนยิงปืนเป็นสู้รบกับ พม่า ก็ไม่มี ศูนย์ทแกล้วทหารเสียหมด รับสั่งให้เอาปืน ปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกันที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตกใจ เอาสำลีจุกหูกลัวเสียงปืน จะดัง เอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิง ข้างน้ำ ข้างในก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัว หูจะแตก รับสั่งก็สั่งให้ผ่อนดิน ลง เสียให้น้อยลง จะยิงแล้ว ไม่ยิงเล่า แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที่ ครั้นเห็น ว่าน้อย พอยิงได้แล้ว ก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้น คนยิงยัง ต้อง เอาสำลีจุกหูไว้กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไป เสียงปืนก็ดังพรูออกไป ลูกปืน ก็ตก ลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่รับสั่งต่อไปว่าสิ้นคนรู้วิชาทัพวิชาศึกแล้ว ก็จะเป็นไป อย่างนี้นั่นเอง" เรื่องกลัวเสียง ปืนใหญ่ ระหว่างที่พม่าล้อมกรุงอยู่นี้ เป็นเหตุให้ พระเจ้าตากสินซึ่งมีหน้าที่รักษาการณ์ด้านตะวันออกของ กรุงศรีอยุธยา ตรงวัด เกาะแก้วต้องถูกคาดโทษ เพราะในวังนั้น พวกท้าวนางข้างในขวัญอ่อนเหลือเกิน ได้ยิน เสียงปืนใหญ่ทีไร ก็ตกใจ โดยเฉพาะโฉมงามสองท่าน ชื่อ หม่อมเพ็ง และ หม่อมแมน ซึ่งเป็นสนมโปรดของ พระเจ้าเอกทัศ ได้ยินเสียงปืนใหญ่ทีใด ก็หวีดว้าย จะเป็นลมทุกที จนพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ทรงออกข้อบังคับว่า ใครจะยิงปืนใหญ่ ต่อสู้พม่าต้องบอกมาที่ศาลาลูกขุน เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำความขึ้นกราบบังคมทูล ต่อพระเจ้า แผ่นดินจะได้มีพระบรมราชโองการเตือนท้าวนางในให้อุดหูเสีย เมื่อ สาวงามทั้งหลายป้องกันแก้วหูกัน เรียบร้อยแล้ว ทหารไทยจึงมีสิทธิ ยิงปืนใหญ่ ต่อสู้พม่า  ขณะนั้นพระเจ้าตากสินรักษาการณ์ อยู่ที่วัดเกาะแก้ว เห็นพม่ายกทหาร บุกรุกเข้ามา เอาปืนใหญ่ยิงต่อสู้ทันทีโดยมิได้บอกศาลาลูกขุนเสียก่อน มีผลให้ ท้าวนางทั้ง หลายมิได้อุดรูหูอกสั่นขวัญหายกันเป็นแถว จึงเกิดการฟ้องร้องขึ้น พระเจ้าตากสินถูกชำระโทษ หากมีความ ชอบมาก่อนจึงได้ รับพระกรุณา ภาคทัณฑ์ โทษไว้  เหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าตากสินรู้สึกท้อพระทัย มีความ คิดหนี ออกจากกรุง ศรีอยุธยาตั้งแต่ตอน นั้น ถึงเดือนสิบสองน้ำท่วมทุ่งพม่ายกทัพเรือเข้าประชิด พระเจ้า เอกทัศ ตรัสสั่งให้พระยาเพชรบุรีคุมกองทัพเรือ และพระเจ้าตากสิน คุม ทัพบก ออกไปตั้งที่วัดใหญ่คอย สกัดตี ทัพพม่า เมื่อพม่ายกมา พระเจ้าตากสินเห็นว่า เหลือกำลังก็ไม่ออกตีด้วย ส่วนพระยาเพชรบุรีนั้น กล้าหาญ นำพลเข้าสู้รบจึงถูกพม่า ล้อมไว้รอบตัว ทหารพม่าเอาหม้อดินดำใส่ดินระเบิดขว้างไปที่เรือพระยาเพชรบุรี จนเกิดระเบิดตูมตามเรือแตกกระจายทั้งลำ พระยาตากสิน นั้นถอยมาตั้งอยู่ที่ วัดพิชัย และหลังจากนั้นก็ไม่ได้ เคลื่อนกลับเข้านครศรีอยุธยา ถึงเดือนยี่แผ่นดินแห้ง พระเจ้าตากสินจึงพาพรรคพวก ตีฝ่าพม่าทางทิศ ตะวันออก และหาทางกู้ชาติต่อไป เมื่อวันเสาร์เดือนยี่ขึ้น ๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๐๙ วันที่พระเจ้าตากสินนำ พรรคพวก ตีฝ่า กองทัพพม่า ทางทิศตะวันออกนั้น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ติดตามมีปรากฎนาม ตามพระราชพงศาวดารคือ พระเชียงเงิน หลวงพลเสนา หลวงราชเสน่หา ขุน อภัยภักดี  หมื่นราชเสน่หา และหลวงพิชัยอาสาคือนายจ้อย นักมวยนักดาบ ฝีมือ เอกนี่เอง พม่าส่งทหาร ติดตามเป็นจำนวนถึง ๒,๐๐๐ คน ทันกับทัพของ พระเจ้า ตากสิน ที่บ้านโพธิสังหาร พระเจ้าตากสินสู้รบขันแข็ง ฆ่าพม่าล้มตายแล้ว ไป ชุมนุมพล กันที่บ้านพรานนก พม่าตามไป อีกต่อสู้กันเป็นครั้งที่สอง ก็ตีพม่าแตกพ่าย ไปอีก กองทัพไทยที่มีหลวงพิชัย อาสาเป็นผู้นำอยู่ด้วยคนหนึ่งนี้ ต้อง ต่อสู้กับพม่าอีก เป็นครั้งที่สาม ที่ดงศรีมหาโพธิ์ หลังจากได้ชัยชนะครั้งนี้ พม่าก็มิกล้าติดตาม มาสู้รบอีก พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาเล่าเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า "ฝ่ายพระยากำแพงเพชร (คือพระเจ้า ตากสิน) ซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ วัดพิชัย จึงชุมนุม พรรคพวกพลทหารไทยจีนประมาณพันหนึ่ง สรรพด้วย เครื่อง สรรพาวุธ กับทั้ง นายทหารผู้ใหญ่คือ พระเชียงเงินหนึ่ง  หลวงพรหมเสนาหนึ่ง หลวงพิชัยอาสาหนึ่ง หลวงราช เสน่หาหนึ่ง ขุนอภัยภักดีหนึ่ง เป็นห้านาย กับขุนหมื่นผู้น้อยอีกหลายคน จัดแจงคิดกันจะยกทัพหนีไปทางอื่น  พอฝนห่าใหญ่ตกเป็นชัยมงคลฤกษ์ พระยา กำแพงเพชรก็ยกกองทัพออกจากค่ายวัดพิชัย เดินทัพไปทางบ้าน หารดารา พอเพลา พลบค่ำฝ่ายกองทัพพม่ารู้ก็ยกติดตามมาทัน ได้ต่อรบกันเป็นสามารถ ทัพพม่า ต้านทาน มิได้ก็ถอยกลับไป จึงเดินทัพไปทางบ้าน ข้าวเม่า ถึงบ้านสัมบัณฑิต เพลาเที่ยงคืน วันนั้นประมาณสองยามเศษ จึงแลมาเห็นแสงเพลิงไหม้ ในกรุง ก็ให้หยุดทัพอยู่ที่นั้น รุ่งขึ้นอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำเดือนยี่ จึงเดินทัพไปถึงบ้าน โพธิสังหาร ฝ่ายพม่ายกกองทัพติดตามไปอีก จึงให้หยุดทัพตระเตรียมจะคอยรับกองทัพพม่า พม่ายกไปทัน ได้ ต่อรบกันเป็นสามารถ ทัพพม่าแตกพ่ายไป เก็บได้เครื่องศัสตราวุธ เป็นอันมาก จึงเดินทัพไปหยุดแรมอยู่ ณ บ้านพรานนก "พอเพลาเย็นพวก ทแกล้ว ทหารออกไปเที่ยวลาดหาอาหารพบกองทัพพม่ากลับยกติดตามมาอีก พลประมาณ สองพันจึงกลับ มาแจ้งแก่พระยากำแพงเพชร  พระยากำแพงเพชร ก็ขึ้นม้ากับ ม้าทหารสี่ม้า ออก รับทัพพม่าก่อนจัดพลทหารทั้งปวงยกแซง เป็นปีกกาออก ทั้งสอง ข้างเข้าตีกระหนาบทัพพม่า และทัพพม่า สามสิบม้าซึ่งมาหน้านั้นแตกย่นถอยหลังลง ไปหาทัพใหญ่ก็ พากันแตกพ่ายไป พวกทแกล้วทหาร ทั้งปวง เห็น อานุภาพ พระยากำแพงเพชรเป็นมหัศจรรย์ ชวนกันสรรเสริญว่านายเรา มีบุญมาก เห็นจะได้เป็น พระเจ้า แผ่นดิน จะก่อกู้แผ่นดินคืนได้เป็นแท้ ก็ยำเกรงอำนาจยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน จะเห็นได้ว่า หลวงพิชัยอาสา เป็นนาย ทหารสำคัญที่สุด คนหนึ่ง ที่รับใช้พระเจ้า ตากสินและสู้รบอย่างใกล้ชิด จนได้ชัยชนะ ต่อทัพพม่าที่ติดตามมา ทุกครั้งไป ในการ ต่อสู้ระหว่างทหารม้าไทยห้าท่าน และทหารม้าพม่าซึ่งมีจำนวนมากถึงสามสิบนั้น ฝ่าย พระเจ้าตากสินและนายทหารม้าไทยอีกสี่คน ซึ่งจะต้องมีหลวงพิชัยอาสา อยู่คน หนึ่งเป็นแน่ กลับสามารถสู้รบ อย่างกล้าหาญ จนทหารม้าพม่าแตกถอยหนีไป ความ เก่งกาจในการรบของบรรพบุรุษเราครั้งนี้ สมควรที่ชน ชาวไทยรุ่นหลัง จะจดจำไว้ ด้วยความภาคภูมิใจ ทัพของพระเจ้าตากสินรวบรวมผู้คนจากเมืองต่าง ๆ เดินทาง ๖ วัน ถึงเมืองปราจีน หลังจากนั้นผ่านฉะเชิงเทรา ชลบุรี บ้านนาเกลือ แขวงบาง ละมุงไปถึงระยอง เจ้าเมืองระยองถือว่ากรุงศรีอยุธยายังไม่แตก  พระเจ้าตาก เป็น กบฏต่อแผ่นดิน จึงเกิดการสู้รบกันขึ้น ทำให้ พระเจ้าตากสินต้องตี เมืองระยองเสีย  แล้วเดินทัพต่อไปที่เมืองจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีก็ไม่ยอมออก มาอ่อน น้อม เช่น เดียวกัน พระเจ้าตากสิน จึง ล้อมเมืองจันทบุรีเป็นเวลานาน ในการตีจันทบุรีนี้ พงศาวดารเล่าว่า พระเจ้าตากมีบัญชาให้ทุบหม้อข้าวเทอาหารทิ้งหมด ถ้าไม่ได้เมือง ก็อดตายกันทั้งกองทัพ ถึงเวลายามสาม พระเจ้าตากสินทรงช้างพังชื่อคีรีบัญชรไส เข้าชนบานประตูเมืองพังทลาย และตีจันทรบุรีได้ รายละเอียดตอนนี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ " ไทยรบพม่า " ว่า" เจ้าตาก มีอุปนิสัยเป็นนักรบ ก็แลเห็น ทันทีว่า ต้องชิงทำข้าศึกก่อน จึงจะไม่เสียที จึงเรียก นายทัพนายกอง มาสั่งว่าเราจะตีเมืองจันทรบุรีนั้น ในค่ำ วันนี้ เมื่อกองทัพหุง ข้าว เย็นกินเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือ และต่อยหม้อเสียให้หมด หมาย ไปกินข้าวเช้าด้วยกันในเมืองพรุ่งนี้ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ค่ำวันนี้ ก็จะได้ตาย เสียด้วย กันให้หมดทีเดียว นาย ทัพนายกองเคยเห็นอาญาสิทธิ์ของเจ้าตากมาแต่ก่อน ก็ไม่มี ใครกล้าขัดขืน ต้องกระทำตาม ครั้นเวลาค่ำ เจ้า ตากจึงกะหน้าที่ ทหารไทยจีน ลอบ ไปอยู่มิให้ชาวเมืองรู้ตัว สั่งให้คอยฟังเสียงปืนสัญญาณ เข้าปล้นเมือง ให้ พร้อมกัน แต่อย่าให้ออกงอื้ออึง จนพวกไหนเข้าเมืองได้ จึงให้โห่ร้องขึ้นเป็นสำคัญ ให้พวก อื่นทางด้าน อื่นรู้ "ครั้นตระเตรียมพร้อมเสร็จพอได้ฤกษ์เวลาดึก ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็ขึ้นทรงคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิง ปืน สัญญาณ บอกพวกทหาร ให้เข้าปล้น พร้อมกันทุกหน้าที่ ส่วนเจ้าตากก็ขับช้างที่นั่งเข้าประตูเมือง พวกชาว เมืองซึ่งรักษา หน้าที่ ยิงปืนใหญ่น้อยระดมมาเป็นอันมาก นายท้ายช้างที่นั่ง เห็นลูกปืนพวก ชาว เมือง หนานัก เกรงจะมาถูกเจ้าตาก จึง เกี่ยวช้างที่นั่งให้ถอยออกมา เจ้าตาก ขัด พระทัยชักพระแสงหันมาจะฟัน นายท้าย ช้างตกใจ  ทูลขอชีวิตไว้แล้วไสช้างกลับเข้า รื้อบานประตูเมืองพังลง พวกทหารก็กรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาว เมืองรู้ว่าข้าศึก เข้าเมืองได้ต่างก็ละทิ้งหน้าที่พากันแตกหนี ส่วนพระยาจันทบุรี ก็พาครอบครัว ลงเรือหนีไป ยัง เมืองบันทายมาศ เมื่อเจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ นั้นเป็นวันอาทิตย์ เดือน ๗ ปีกุน พ.ศ.  ๒๓๑๐ เสีย กรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน" นายท้ายช้างที่นั่ง ใช้ของ้าว เกี่ยวช้างให้ถอยออกมา เพราะเกรง ลูกปืนของชาว เมืองจันทบุรี จะมา ถูกต้องพระเจ้าตาก จนเป็นเหตุให้พระเจ้าตากเคืองพระทัยยิ่งนัก ถึงกับชักดาบ หันหลัง มา จะฟันเสียให้ตาย ที่รอดชีวิตไว้ได้ก็เพราะตกใจร้องทูลขออย่าให้ฆ่า นายท้ายช้างที่นั่งผู้นี้มิใช่ใครอื่น คือ นายจ้อย  หรือหลวงพิชัยอาสาของเรานี้เอง ความจริงพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า ที่บังคับ ให้ ช้างพุ่ง เข้าชนประตูเมืองนั้น คือพระเจ้า ตากสินเอง เพราะเมื่อเปลี่ยนพระทัย ไม่ฟันควาญ แล้ว จึงชักมีดออก แทงเข้าทะลุเนื้อช้าง สัตว์เจ็บจึงถลาเข้าชนประตู เมืองเสียพัง ทลาย จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่ง ตั้งขนานนาม พังคีรีบัญชร ขับเข้าทำลายประตูเมือง พลเมืองซึ่งรักษาประตูและป้อมเชิงเทิน นั้น ก็ยิงปืนใหญ่น้อย ออกมา ดัง ห่าฝน ด้วย เดชะพระบารมี กระสุนปืนหาถูกต้องรี้พลผู้ใดไม่ ควาญท้ายจึงเกี่ยวช้างพระที่นั่ง ให้ถอยออกมา ก็ทรงพิโรธ เงื้อพระแสงดาบขึ้นจะฟันควาญท้าย ควาญท้ายร้อง ทูล ขอชีวิต จึงทรงกริชแทงช้างพระที่ นั่งขับ เข้าทำลายประตูเมืองพังลง" เมื่อพระเจ้า ตากขึ้นครองขึ้นเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี หลวงพิชัยอาสา ได้เลื่อน ตำแหน่ง เป็น หมื่นไวยวรนาถ ทหารเอกราชองครักษ์ รับใช้ราชการสงคราม ด้วยความเก่งกล้า สามารถ เมื่อนำทัพไปตีนครราชสีมา แตก ก็ได้รับบรรดาศักด์เป็นพระยาสีหราชเดโช และหลังจากตีเมืองฝางแตก จึงได้ รับแต่งตั้งเป็นพระยาพิชัยปกครองเมือง พิชัย มีทหารในบังคับบัญชาถึง ๙ พันคน ส่วนนายบุญเกิด ซึ่งติดตาม นั้น ได้เลื่อน ตำแหน่ง เป็นหมื่นหาญณรงค์ เมื่อขึ้นครองเป็นเจ้าเมืองพิชัยแล้ว นายจ้อยก็กลับไป สืบหา บิดา มารดาซึ่งแต่ก่อนเป็นชาวนา ปรากฎว่าบิดาตายไปนานแล้ว เหลืออยู่ แต่มารดาจึงนำมาเลี้ยงไว้ ส่วนครูมวย เก่าคือครูเที่ยงและครูเมฆนั้น พระยาพิชัย ตั้งเป็นกำนันทั้งสองคน
ถึง พ.ศ. ๒๓๑๖ โปสุพลาคุมกองทัพพม่ามาตีเมืองพิชัย ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเอกาในคลองคอรุม พระยาพิชัยนำ ทหารต่อสู้ป้องกัน เมืองเป็น สามารถรบประชิดกันจนถึงต้องใช้อาวุธสั้น พระยาพิชัยนั้นถือดาบสองมือ ต่อสู้ พม่า อย่างตะลุมบอน จนดาบหักไป ข้างหนึ่ง ก็ยังสามารถเข่นฆ่าพม่า ได้รอบด้าน ความเก่งกาจในการรบครั้งนี้ หมื่นหาญณรงค์หรือนายบุญเกิดถูกพม่ายิงด้วย ปืน ถึงแก่ความตาย พระราชพงศาวดาร ฉบับ พระราช หัตถเลขา บันทึกเหตุการณ์ไว้ว่า "ครั้นถึง ณ เดือนอ้ายข้างขึ้น โปสุพลายกกองทัพมาตีเมืองพิชัยอีก พระยาพิชัย ก็ยกพลทหารออกไปต่อรบแต่กลางทาง ยังไม่มาถึงเมือง เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยก กองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย ได้รบกับพม่าเป็นสามารถและพระยาพิชัยถือดาบ สองมือคุมพลทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหัก จึงลือชื่อ ปรากฎเรียกว่า พระยาพิชัย ดาบหัก แต่นั้นมา ครั้นถึง ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ กองทัพพม่า แตกพ่าย หนีไป" พระยาพิชัยดาบหักนี้ นับว่าเป็นทหารเอก คนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี ถึงแม้จะมิได้มีตำแหน่ง สำคัญและสูงเท่าเจ้า พระยากษัตริย์ศึก หรือ เจ้าพระยาสุรสีห์ แต่ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ในราชการสงคราม อย่าง ดีเด่น เป็นผู้นำทัพ หน้า ไปตีเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ให้แก่พระเจ้าตากสิน    จนถึงปลายรัชกาล ของ พระเจ้า กรุงธนบุรี มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น คือพระเจ้ากรุงธน ฯ เสียสติ ก่อความ โหดร้ายยากเข็ญให้แก่ไพร่ฟ้า ประชาชนทั่วแผ่นดิน เป็นเหตุ ให้สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกต้องปลดออกจากพระ ราชบัลลังก์และ ประหารชีวิต เมื่อสมเด็จ พระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จขึ้นครองราชย์ในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดให้พระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งขณะนั้นครองเมือง พิชัย อยู่มาเข้าเฝ้า ทรงไต่ถามความสมัครใจ ว่ายินดีจะรับ ราชการอยู่กับพระองค์ต่อไปหรือไม่ เพราะทรงทราบดีว่า พระยาพิชัยดาบหัก นี้เป็นยอดทหารเอกพระเจ้ากรุงธนบุรีและมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์องค์ก่อนยิ่งนัก พระยาพิชัยดาบหักจึงกราบทูลว่าขอให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ทรงพระกรุณา ชุบเลี้ยงบุตรของตน คนหนึ่งให้ได้รับราชการอยู่ในกรุงเทพ ฯ ส่วนตนเองนั้นจะต้องดำรงเกียรติยศ ของการ เป็นทหารเอกพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้ ขอ ให้สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประหารชีวิตท่านเสีย พระยาพิชัย ดาบหักจึงเลือกรับความตายอย่างชายชาติทหาร ด้วยอุดมคติของยอดนักรบ ที่ถวายความ จงรัก ภักดีให้แก่ พระมหากษัตริย์ได้เพียงองค์เดียว  พระยาพิชัย ดาบหักมีอายุเพียง ๔๑ ปี เมื่อท่านเลือกเผชิญความตายด้วยจิตใจที่แน่วแน่ ยอมพรากจากลำยงภรรยาแสนรักของท่าน เพราะตัวท่าน เองนั้นมิได้มีความคิด เป็นศัตรูต่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ แต่อย่างใด ท่านจึงมอบบุตรชาย ของ ท่านให้เป็น ข้าของกษัตริย์องค์ใหม่ ทุกวันนี้มีลูกหลานในตระกูลพระยาพิชัยดาบหัก ใช้นามสกุลว่า "วิชัยขัทคะ" ซึ่งแปลว่า "ดาบวิเศษ" และมีอีกสกุลหนึ่งซึ่งสืบ สายมา จากพระยาพหิชัยดาบหักเช่นเดียวกัน คือตระกูล "ศรีศรากร" ซึ่งคนในสองตระกูลนี้สืบสายโดยตรงมาจากบรรพบุรุษ ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ได้มีบทบาทสำคัญใน การกอบกู้ ประเทศชาติ หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก เป็นครั้งที่สอบยอดนักรบแท้ที่ ยอมสละชีวิต เพื่อความจงรักภักดี อันมีต่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

พิมพ์ครั้งที่5 10 ธ.ค. 52 เวลา 20:31 น. 1

สนุกมากเลยครับ ไม่ได้อ่านประวัติบุคคลสำคัญ สนุกแบบนี้มานานแล้ว�
ผมว่าเด็กๆ ต้องชอบแน่นอนเลย เอามาขัดเอามาเดาหน่อย เป็นภาษาที่
เข้าใจง่าย กลายเป็นนิทานก่อนนอน หรือ แบบเรียนสร้างกำลังใจให้แก่เด็กไทยแน่นอน\"\"

0
น้อง 16 มิ.ย. 53 เวลา 18:28 น. 2

สุดสุดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ปายเลยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

0
yarinda phoolte 10 พ.ย. 56 เวลา 14:32 น. 4

รู้เรื่องมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกเลยพูดไม่ออกเชียร์ลีดเดอร์

0
นายกิจติ บัวแก้ว 10 พ.ย. 60 เวลา 15:51 น. 6

ขอแสดงความชื่นชมครับเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย และแฝงด้วยคำสอนถึงการใช้ชีวิตกว่าจะได้เป็นใหญ่เป็นโตต้องมุมานะพากเพียรขนาดไหน และที่จะติดตราตรึงอยู่ในใจของพวกเราคือตัวอย่างความจงรักภักดีของบรรพบุรุษ

0