Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ฮิคิโคโมริ ซินโดรม โรคที่ขังตัวเองอยู่ในห้องเป็นเดือนเป็นปี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

Hikikomori Syndrome ฮิคิโคโมริ ซินโดรม ไม่ไปไหน ไม่ทำอะไร ไม่พบใคร

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

มีรายงานว่าเด็กญี่ปุ่นจำนวนมากมีอาการของ Hikikomori Syndrome มาตั้งแต่ปี ๑๙๙๖ นอกจากญี่ปุ่น ยังพบรายงานเกี่ยวกับเด็กที่มีอาการคล้ายคลึงกันนี้จากประเทศเกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่กล่าวมาล้วนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจมั่งคั่ง ทั้งสิ้น และเท่าที่ทราบ ยังไม่มีรายงานกลุ่มอาการนี้อย่างเป็นทางการในประเทศไทย

เด็กที่มีอาการของฮิคิโคโมริซินโดรม หรือป่วยด้วยโรคฮิคิโคโมริ หมายถึง เด็กที่แยกตัวออกจากสังคม เก็บตัวอยู่เฉพาะในห้องส่วนตัว หรือในบ้าน เป็นแรมเดือนหรือหลายปี

ก่อนที่จะลงรายละเอียดของโรคหรือกลุ่มอาการนี้ มีหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจก่อน หรือจะพูดให้ถูกคือ ถึงตอนนี้ก็ยังมีอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับฮิคิโคโมริที่เรายังไม่เข้าใจ

จิตแพทย์และนักจิตวิทยาญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งให้ความเห็นว่า ฮิคิโคโมริเกิดขึ้นได้เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม และมิใช่โรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิใช่โรคทางจิตเวช

หากฮิคิโคโมริเกิดขึ้นได้เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีคำถามตามมาว่าญี่ปุ่นมีอะไรที่ชาติอื่นไม่มี

คำตอบคือ ญี่ปุ่นมีระบบการศึกษาที่เคี่ยวเข็ญเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย อย่างที่เราทราบกันว่าการแข่งขันของเด็กญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาล ญี่ปุ่นมีระบบการจ้างงานตลอดชีวิต มีวัฒนธรรมการทำงานที่เรียกร้องให้คนทำงานหนัก หนักกว่า และหนักที่สุด ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีการสื่อสารเลิศที่สุดในโลก ที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นผ่านความบอบช้ำอย่างรุนแรงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

ทั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระบบการศึกษาแบบญี่ปุ่น และวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในสังคมญี่ปุ่นมานานครึ่งศตวรรษแล้ว ซึ่งนักสังคมวิทยาเชื่อว่าทั้งหมดนี้เป็นการบ่มเพาะปรากฏการณ์ฮิคิโคโมริที่ สำคัญก่อนที่จะถูกกระตุ้นให้แสดงออกอย่างชัดเจนด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารใน ช่วง ๑๐ ปีหลัง

เหล่านี้คือสิ่งที่ชาติอื่นไม่มี และแม้ว่าระบบการศึกษาและวัฒนธรรมการทำงานอาจเป็นเรื่องที่เลียนแบบกันได้ แต่ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ แบบที่ญี่ปุ่นเผชิญ เป็นเรื่องพิเศษเฉพาะตัว

และเมื่อมองว่าฮิคิโคโมริเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ไม่ใช่โรค เพราะฉะนั้นการใช้คำว่า "โรค" หรือ "Syndrome" ในบทความนี้จึงอาจถือว่าผิด

นักจิตวิทยาญี่ปุ่นมีความเห็นว่าฮิคิโคโมริเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้ จริง เกิดขึ้นเพราะเด็กญี่ปุ่นไม่ยอมรับวิถีชีวิตในสังคมของคนส่วนใหญ่ เขาจึงกำหนดตนเอง (autonomy) "เป็น" ฮิคิโคโมริ เขาพอใจชีวิตที่เป็นและไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร หากจะมีผลเสียอยู่บ้างก็คือ เมื่อเขาใช้ชีวิตในห้องนานๆ ก็จะขาดทักษะในการเข้าสังคมกับคนส่วนใหญ่

ขอให้สังเกตข้อความในย่อหน้าที่ผ่านมา เราจะไม่พูดว่า "เด็กญี่ปุ่นไม่ยอมรับวิถีชีวิตในสังคมของคนปรกติ" เพราะนั่นเท่ากับบอกว่าเด็กฮิคิโคโมริผิดปรกติ นอกจากนี้การที่นักจิตวิทยาเลือกใช้คำว่า "autonomy" ก็เป็นการย้ำว่าฮิคิโคโมริเป็นพัฒนาการของคนกลุ่มหนึ่ง เพราะคนทุกคนเมื่อพัฒนาไป ย่อมผ่านจุดที่จะต้องมี autonomy ด้วยกันทั้งนั้น

เมื่อมองว่าฮิคิโคโมริไม่ใช่โรค การช่วยเหลือเด็กที่มีอาการฮิคิโคโมริจึงเป็นเพียงการนำตัวเด็กเหล่านั้นมา รวมกลุ่มกันแล้วใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อไม่ให้พวกเขาตัดขาดจากสังคมภายนอกมากจนเกินไป ในทางตรงข้าม หากฮิคิโคโมริเป็นโรค การรักษาก็จะมุ่งไปในทางวินิจฉัยให้จงได้ว่าพวกเขาแต่ละคนป่วยเป็นโรคอะไร กันแน่ เช่น เป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคซึมเศร้า (Major Depression) โรคกลัวที่โล่ง (Agoraphobia) โรคตื่นตระหนก (Panic Disorder) หรือแม้กระทั่งเป็นบุคคลออทิสติก (Autistic) เมื่อวินิจฉัยแล้วก็จ่ายยาหรือทำจิตบำบัดเฉพาะโรคไปตามการวินิจฉัยนั้น

ข้อเสียสำคัญของการมองฮิคิโคโมริเป็นโรค คือทำให้เกิดการตีตรา (stigma) การตีตราเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ครอบครัวไม่ยอมรับว่าเด็กของตนกำลังมี อาการของฮิคิโคโมริซินโดรมและต้องการความช่วยเหลือ ทำให้การช่วยเหลือเนิ่นช้าออกไปและยิ่งยากต่อการช่วยเหลือมากขึ้นทุกที ยิ่งไปกว่านั้น ตอนที่ข่าวฮิคิโคโมริปรากฏในสังคมญี่ปุ่นครั้งแรกๆ ได้เกิดความคลาดเคลื่อนในการรายงานข่าว โดยมีการระบุว่าเด็กที่มีอาการฮิคิโคโมริทำร้ายมารดาของตนอย่างรุนแรง ส่งผลให้สังคมญี่ปุ่นหวาดระแวงเด็กฮิคิโคโมริ

เกี่ยวกับเรื่องการตีตราหรืออคติที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชนั้น ถ้าจะให้เห็นภาพชัดขึ้นคงต้องยกกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านเรา นั่นคือกรณีหญิงสาวที่ใช้มีดทำร้ายนักเรียนในบริเวณโรงเรียน และกรณีชายหนุ่มที่ทำลายพระพรหมเอราวัณจนกระทั่งตนเองถูกรุมทำร้ายถึงตาย จริงอยู่ที่ผู้ก่อเหตุทั้งสองเป็นผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรังซึ่งไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ แต่ประเด็นคือ หากสังคมไม่มีอคติ และรู้ว่าโรคจิตเกิดจากสารเคมีบางตัวในสมองผิดปรกติ ผู้ป่วยทั้งสองก็จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วตั้งแต่หลายปีก่อน และสามารถหายขาดได้ในที่สุด แทนที่จะกลายมาเป็นผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรัง จนกระทั่งก่อเหตุ และนำมาสู่บทลงเอยเช่นนั้น

สำหรับฮิคิโคโมริ เนื่องจากนักวิชาการญี่ปุ่นเกรงว่าสังคมจะมีอคติ จึงพยายามไม่ผูกโยงคำว่าฮิคิโคโมริเข้ากับเรื่องทางจิตเวช พวกเขาต้องการให้มองฮิคิโคโมริเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมเท่านั้น

แต่ในอีกทางหนึ่ง เมื่อมองว่าฮิคิโคโมริเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ก็ทำให้วงวิชาการละเลยและไม่เอาจริงเอาจังกับผู้ที่มีอาการฮิคิโคโมริ ผลที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีใครทราบตัวเลขที่แท้จริงของเด็กที่ "เป็น" ฮิคิโคโมริในญี่ปุ่น อาจจะเพราะไม่สนใจที่จะสำรวจทางระบาดวิทยาอย่างจริงจัง หรืออาจเพราะครอบครัวของเด็กฮิคิโคโมริส่วนใหญ่ปิดบังข้อมูลเพราะความอับอาย เอกสารบางชิ้นระบุว่าญี่ปุ่นมีเด็กฮิคิโคโมริถึง ๑ ล้านคน ขณะที่เอกสารบางชิ้นก็ว่ามีเพียง ๕ หมื่นคนเท่านั้น

ครอบครัวของเด็กที่มีอาการฮิคิโคโมริมักจะอับอายที่มีเด็กเช่นนี้อยู่ในบ้าน เมื่ออับอายก็ซ่อน เมื่อซ่อนก็เท่ากับหมักหมมปัญหา ทำให้อาการของเด็กรุนแรงมากขึ้นและยากต่อการเข้าช่วยเหลือ ยิ่งไปกว่านั้นนักจิตวิทยาจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่า สาเหตุไม่ใช่เพียงเพราะครอบครัวอับอาย แต่ที่แท้แล้วเด็กฮิคิโคโมริเกิดขึ้นได้ก็เพราะครอบครัวของเด็กเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ สนับสนุนให้เป็นเช่นนั้น อย่างน้อยก็ในตอนเริ่มต้น คุณแม่จำนวนมากเริ่มต้นเรื่องนี้เพราะต้องการปกป้องลูกของตนจากการถูกรังแก ที่โรงเรียน ทั้งยังเห็นว่าการที่ลูกขังตัวเองอยู่ในห้องในบ้านในสายตา ก็ยังดีกว่าหายตัวไปข้างนอก

ปัจจัยสำคัญอีกข้อที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ โลกปัจจุบันรวมทั้งสังคมญี่ปุ่น ไม่เว้นแม้แต่สังคมไทย มาถึงจุดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนคนหนึ่งสามารถขังตัวเองได้อย่าง สมบูรณ์

เด็กที่มีอาการฮิคิโคโมริมักเป็นเด็กผู้ชายและมักเป็นลูกคนโต เด็กเหล่านี้จะไม่ไปโรงเรียน ใช้ชีวิตในห้องส่วนตัวตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะนอนตอนกลางวันและตื่นตอนกลางคืน อาจจะออกจากห้องไปที่ครัวในกลางดึกบ้างเพื่อหาอาหารกิน หรือมีบ้างที่จะออกจากบ้านกลางดึกเพื่อไปซื้อเสบียงจากร้านสะดวกซื้อที่เปิด ตลอด ๒๔ ชั่วโมง กิจกรรมที่พวกเขาทำขณะตื่นกลางดึกนั้นคือดูทีวีไปเรื่อยๆ เซิร์ฟไปตามเน็ต เล่นเกม และอ่านการ์ตูน

เรียกได้ว่าครบสูตร

หนักที่สุดคือนั่งจ้องผนังเฉยๆ ไปเรื่อยๆ

ขอให้สังเกตว่าพวกเขาไม่นิยมแช็ตหรือส่งเมลให้ใครหรือสื่อสารกับใครแม้ใน ความจริงเสมือน พวกเขาอาจมีโทรศัพท์มือถือไว้ข้างตัวแต่ก็มิใช่เพื่อการพูดคุย พวกเขาสร้างโลกเสมือนขึ้นเพื่อให้ตนเองอยู่อย่างแท้จริง และพวกเขาสามารถอยู่ได้จริงๆ ตลอดไปเสียด้วย

หลายปีมานี้ผมพบเด็กไทยในครอบครัวคนชั้นกลางเขตเมืองที่ไม่เรียนหนังสือมาก ขึ้น เด็กเหล่านี้จะอยู่บ้านเฉยๆ เล่นเน็ต เล่นเกม และอ่านการ์ตูน แต่ที่พิเศษกว่าเด็กฮิคิโคโมริ คือพวกเขาเมาท์ แช็ต และบางคนชอปด้วย จึงยังไม่อาจเรียกว่าฮิคิโคโมริได้เต็มปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคิดว่าเราไม่เคยแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ (ที่จริงแล้วเขาว่าเราเป็นผู้ชนะเสียด้วยซ้ำไป) และต่อให้เรามีการศึกษาระบบทารุณกรรม แต่เราก็ยังไม่มีวัฒนธรรมการจ้างงานตลอดชีวิต เราไม่มีแม้กระทั่งวัฒนธรรมการทำงานหนัก เด็กพวกนี้จึงไม่ใช่เด็กฮิคิโคโมริ

อย่างไรก็ตาม มีข้อเหมือนอยู่ประการหนึ่ง นั่นคือพฤติกรรมเช่นว่านี้พบเฉพาะเด็กในครอบครัวคนชั้นกลางเท่านั้น ครอบครัวที่พ่อแม่รวยพอที่จะปรนเปรอลูกด้วยวัตถุถึงห้องนอน แต่ก็ไม่รวยพอที่จะส่งลูกหนีจากการศึกษาระบบทารุณกรรมไปเรียนต่างประเทศ

*************************************************

จินนี่ สาระโกเศศ
คอลัมน์ Come Into นิตยสาร Metro Life

ไม่ออกจากบ้าน ไม่ไปไหน ไม่ทำอะไร ไม่พบกับใคร ใช้เวลาอยู่กับตัวเองในห้องของตัวเองที่ไม่ยอมให้ใครเข้าถึง ขังตัวเองไว้ในห้องสี่เหลี่ยมในความคิดที่ไม่มีใครถือกุญแจ

อาการแบบนี้เรียกว่า "ฮิคิโคโมริ" เป็นอาการที่เป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งของสังคมญี่ปุ่นในขณะนี้

ย้อนเวลากลับไปเมื่อสามปีก่อน ตอนที่นั่งอยู่ในชั้นเรียนที่ญี่ปุ่น อาจารย์โฮซากะนำวิดีโอเกี่ยวกับชีวิตของคนที่มีอาการ "ฮิคิโคโมริ" มาให้พวกเราได้เสวนากันในชั้นเรียน ฉันจำได้ว่าวันนั้นฉันนั่งอยู่แถวหลังสุดในห้องเหมือนอย่างเคย แต่ด้วยเสียงดังของลำโพงหลังห้อง ทำให้เรื่องราวที่ได้ชมในวันนั้น ยังดังชัดอยู่ในตัวฉันจนถึงทุกวันนี้

เนื้อหาของวิดีโอม้วนนี้เริ่มต้นที่ชีวิตประจำวันของเด็กวัยรุ่นญี่ปุ่นคน หนึ่ง ซึ่งขอเรียกว่า "โนบุโอะ" กล้องค่อยๆแพนจากใบหน้าของโนบุโอะ ไปที่ห้องนอน โต๊ะเขียนหนังสือ ชั้นวางหนังสือ แล้วจึงตัดกลับมาที่ใบหน้าของโนบุโอะอีกครั้ง

ใบหน้าด้านข้างของโนบุโอะดูเศร้าสร้อย องศาของใบหน้าที่ก้มลงมาเล็กน้อย ยิ่งทำให้ใบหน้าของเขาเศร้าเข้าไปใหญ่ แววตาที่สดใสแบบวัยรุ่นของโนบุโอะถูกแทนด้วยความว่างเปล่า

ทำไมโนบุโอะถึงอมความเศร้าได้ขนาดนี้ คุณแม่ของโนบุโอะเล่าว่าเมื่อก่อนโนบุโอะก็เป็นเด็กที่ร่าเริงไม่ต่างจากเด็ กคนอื่นๆ แต่วันหนึ่งโนบุโอะก็เริ่มเปลี่ยนไป โนบุโอะเริ่มมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมที่โรงเรียนฃ

การเป็น "ส่วนหนึ่ง" ของเพื่อนๆและสังคม เป็นสิ่งที่โนบุโอะปรับตัวไม่ได้ โนบุโอะจึงค่อยๆถอยตัวเองห่างจากผู้คน จากเพื่อนที่เคยสนิทที่เคยเล่นด้วยกันหลังเลิกเรียน จากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ จากคนรอบข้าง จากคนในบ้าน จนท้ายสุดก็เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ไม่ออกจากบ้าน ไม่ไปโรงเรียน และไม่ยอมพบหน้าใคร

โนบุโอะใช้เวลาทั้งหมดในห้องของตัวเอง สถานที่ๆปลอดภัยที่สุดในความคิดของโนบุโอะ นับตั้งแต่ตอนนั้น โนบุโอะมีอาการ "ฮิคิโคโมริ" มาได้หลายปีแล้ว

ถึงจุดนี้อาจารย์โฮซากะกดปุ่มหยุดวิดีโอ เพื่อให้พวกเราในชั้นได้แสดงความรู้สึกและตั้งคำถาม แต่กลับไม่มีใครในห้องยกมือขึ้นพูดอะไร หลายคนดูท่าคัดค้านกับทางเลือกของโนบุโอะ หลายคนดูเห็นอกเห็นใจ และหลายคนก็มีความรู้สึกร่วม แต่ก็ยังไม่มีใครพูดอะไรออกมา อาจารย์โฮซากะจึงฉายวิดีโอที่เหลือต่อ

ช่วงท้ายของวิดีโอแสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วโนบุโอะก็ต้องการเพื่อนและ คนที่รักและห่วงใย เพียงแต่ความรู้สึกเจ็บปวดที่มีอยู่ในความทรงจำ ทำให้โนบุโอะเข็ดขยาด แต่เมื่อเวลาผ่านไป และด้วยกำลังใจจากคุณแม่ ท้ายสุดโนบุโอะก็สามารถเดินออกจากบ้านได้อีกครั้ง

อาจารย์โฮซากะกดปิดวิดีโออีกครั้ง ตอนนี้พวกเราค่อยๆเแสดงความเห็นออกมาทีละคน โดยที่อาจารย์ยังไม่ได้ตั้งคำถาม

พวกเราหลายคนยอมรับว่าเคยมีอาการฮิคิโคโมริ ครั้งหนึ่งพวกเราเคยรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยก แตกต่าง และไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างได้

พวกเราห ลายคนน้ำตาคลอเบ้า เพราะได้รับรู้ว่ายังมีใครอีกคนที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกเช่นนี้เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้ตัดตัวเองขาดจากทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนโนบุโอะก็ตาม

ปัจจุบันคงมีคนจำนวนมากที่มีอาการๆนี้ ในญี่ปุ่นตัวเลขของผู้ที่มีอาการฮิคิโคโมริเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีหยุดในกลุ่มว ัยรุ่น และคนจำนวนมากก็ไม่สามารถหายจากอาการนี้ได้ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเป็นสิบปีแล้วก็ตาม

ส่วนในประเทศอื่นๆนั้น ยังไม่มีการสำรวจตัวเลขเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่จากในห้องเรียนวันนั้น ก็ทำให้เห็นว่าจ ริงๆแล้ว "ฮิคิโคโมริ" ก็อยู่ในตัวของพวกเราหลายคน ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับว่าพวกเราจัดการความรู้สึกนั้นไม่ให้ออกมาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ พวกเราคงจะเป็นเหมือนกับโนบุโอะ

ขณะที่กดแป้นคีย์บอร์ดย่อหน้าสุดท้ายอยู่ในตอนนี้ ฉันเงยหน้ามองท้องฟ้าที่อยู่นอกหน้าต่าง แล้วนึกไปถึงฉากสุดท้ายของวิดีโอในวันนั้น ซึ่งมีฉากหลังเป็นวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสไม่ต่างจากตอนนี้

ตอนนั้นโนบุโอะแหงนหน้ามองท้องฟ้าแบบกล้าๆกลัวๆ สายตายังคงมีทีท่าลังเลและไม่แน่ใจ ตั้งแต่วันแรกที่โนบุโอะไม่ยอมออกไปไหน เวลาก็ผ่านมาหลายปีแล้ว โนบุโอะยืนนิ่งอยู่ระยะหนึ่ง แล้วจึงก้าวขาออกจากประตูบ้านไป แล้วหันหน้ากลับมาบอกคุณแม่ว่า

เครดิต http://www.ee43.com/content/topic/336.html
PS.  คนเรารู้สึกดีเมื่อมีคนมาห่วงใย แต่รู้สึกอึดอัดใจเมื่อมีใครมาห่วงหวง

แสดงความคิดเห็น

>

38 ความคิดเห็น

siiKk 2 ม.ค. 52 เวลา 17:27 น. 1


ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่โรคเครียดนี่เป็นปัญญาหลักเลยนะ
พวกฝรั่งถึงต้องเข้าพบจิตเพศบ่อย ๆ เพราะเครียด
~(..>.<..)~


PS.  :: เรารักในหลวง ::
0
เนเน่ 2 ม.ค. 52 เวลา 19:14 น. 3

เหมือนเราจะเป็น

ไม่ชอบออกไปไหน
ไม่ชอบคุยกับใครในโลกความเป็นจริง
แต่ชอบคุยกับคนในโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่า

มันดูจริงใจกว่ากันเยอะ

T^T

0
wit 2 ม.ค. 52 เวลา 19:28 น. 4

บางทีบางคนชอบจะไปตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองว่า เด็กหรือบุคคลที่มีสุขภาพจิตดีต้องเป็นคนลักษณะอย่างไร ซึ่งแบบนั้นกลับส่งผลให้คนเรามีรูปแบบลักษณะนิสัยที่เหมือนกับจะถอดแบบพิมพ์กันมาเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการพูดจา ลักษณะนิสัย การวางตัว มุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆ ดูผิวเผินเหมือนว่าเราจะพอใจที่เด็กเป็นไปตามแบบแผนที่คนกำหนดไว้ว่าต้องเป็นอย่างไร แต่ว่าหากมองให้ลึกแล้ว กลับกลายเป็นว่านี่คือการตีกรอบ ความคิดและมุมมองของผู้คนอย่างไม่รู้ตัว ทำให้คนในสังคมขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดความเป็นผู้นำ(ทั้งๆที่ตนก็ชอบริเริ่มทำอะไร แต่ก็เป็นการริเริ่มที่ถูกปลูกฝังค่านิยมให้ทำตามๆกันมา มิใช่เกิดมาจากความคิดสร้างสรรค์จริงๆ) เคยมีคำกล่าวของบางท่านที่กล่าวไว้ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" จินตนาการที่แท้จริงควรมาจากพื้นฐานและตัวตนจิตใจของแต่ละบุคคลเอง มิใช่เป็นจินตนาการที่ถูกตีกรอบเอาไว้อยู่แล้ว หากเราดูตัวอย่างประวัติของบุคคลสำคัญในอดีต ทั้งที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักการศาสนา นักดนตรี หรือแพทย์ ที่มีชื่อเสียงที่คนกล่าวขานกันว่าเป็นอัจฉริยะนั้น ไม่ว่าจะเป็น ไอสไตน์ บีโธเฟน กาลิเลโอ โทมัสอัลวาเอดิสัน เหลาจื๊อ ขงจื๊อ เม่งจื๊อ พระพุทธเจ้า ฯลฯ พวกเขาและท่านเหล่านั้นก็มักจะมีอะไรที่ดูแปลกแยกไปจากสังคม ซึ่งความจริงแล้วพวกเขาและท่านเหล่านั้นก็แค่เป็นตัวตนของเขาและตั้งมั่นอยู่ในความรู้ความเห็นที่ตนเองค้นพบ แม้ว่าบางความเห็นหรือบางสิ่งที่ค้นพบจะขัดแย้งกับความเชื่อหรือค่านิยมของคนในสังคมในสมัยนั้นก็ตาม แล้วในที่สุดสิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้ค้นพบได้เห็นและได้อธิบายชี้แจงแถลงแก่สังคม ก็ได้รับการยอมรับจากบุคคลในสมัยต่อมา เมื่อคนทั้งหลายได้ศึกษา ได้ค้นพบและได้เห็นในสิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้ได้ทิ้งคุณความรู้และผลงานของท่านเอาไว้ นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึง อานุภาพของคำว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" แต่มิได้หมายความว่ามีแต่จินตนาการแล้วจะขาดความรู้ แต่เพราะเนื่องจากมีจินตนาการจึงได้ความรู้ใหม่ๆ ได้ความรู้ที่ถูกต้องและดีกว่าความรู้แบบเดิมๆ เนื่องจากคนเราและมนุษย์เรานี้ไม่เคยหยุดที่จะคิดค้น ค้นคว้า และศึกษา จึงทำให้ความรู้ทั้งหลายมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง อารยธรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้สร้างขึ้นมาแค่ในเวลาไม่กี่ปี แต่ถูกสะสมความรู้จากรุ่นสู่รุ่น จากผู้มีความสามารถในอดีตสืบทอดต่อๆกันมา มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ มีการค้นพบสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะคนเรามีจินตนาการและไม่ได้ยึดติดอยู่กับความรู้แต่เพียงภายนอกเท่านั้น

ปล.สรุปคือคนที่มีปัญหาทางจิตอย่าลืมไปปรึกษาจิตแพทย์นะครับ อิอิ ^ ^

0
โสนน้อยสีดำ 8 ก.พ. 53 เวลา 19:09 น. 6

น่ากลัวคร๊าบโรคเนี้ยถ้าคัยมีญาติหรือลูกเปงคงน่าส่งสารน่าดูเลย



ทางที่ดีถ้าไม่อยากให้คัยเปงโรคนี้



ก้อ



เวลามีมีเรื่องอารายอยากเก็บไว้คนเดียวหาคนที่ค่อยระบายเเล้วคัยคำปรึกษาเราด้ายมาคุยกับเรา






เเล้วพยายามหาอารายที่มันไม่เครียดทามบ้าง



ห้ามทามกิจกรรมเดิมซ่ำกัน



เเล้วที่สำคัญหัวเราะวันล๊ะหลายๆๆครั้ง




(เเต่อยากมากล๊ะเดียวจากฮิคิโคโมริจากลายเป็นบ้าเเทน555)

0
eyeyedh 21 ก.พ. 53 เวลา 11:41 น. 7

บางทีคนเราก้อถูกสังคมรอบข้างบังคับให้เป็นแบบนั้น
บังคับให้เคียดเพราะเพื่อนไม่ยอมรับ โดยเฉพาะวัยรุ่น 
เพราะไม่ว่าเด็กคนไหนก้ต้องการการยอมรับจากเพื่อนทั้งนั้น
แต่หากเพื่อนไม่ยอมรับในสิ่งที่เค้าเป็น <333333
ทำให้เด็กเคียดได้


PS.  http://eye146.hi5.com แอดกันมาได้ ไม่หยิ่งนะจ๊ะ :D - -จบ- -
0
kimchi 25 ก.พ. 53 เวลา 15:12 น. 9

เหมือนในเรื่อง ''ใครในห้อง'' ใช่ไหมค่ะ
ไปดูมาแล้ว
ที่จิงโรคนี้มันก็น่ากลัวเหมือนกันนะค่ะ
อยู่แต่ในห้อง เป็นเดือนเป็นปี
พี่หนูก็เป็น แต่ไม่แรงขนาดนี้
พี่หนูเค้าก็ชอบอยู่แต่ในห้อง ชอบเล่นเกมอยู่แต่ในห้องอย่างเงียบๆ แต่หนูคิดว่าพี่เค้าคงไม่เป็นหลอก

0
princess of yaku 2 มี.ค. 53 เวลา 20:39 น. 12

ถ้ารำคาญสิ่งต่างๆเนี่ย

ถือว่าใช่มั้ยอ่า


PS.  ตู่จร้าาาา เเวะไปเยี่ยมที่มายไอดีกันบ้างนะ "เเค่อยากจะมีใคร ใครซักคนที่มารักเรา เเค่นี้...ที่ต้องการ ขอเกินไปตรงไหน???"
0
ไอด้า 22 มี.ค. 53 เวลา 21:18 น. 15

รู้สึกเป็นนิดนึง
เพราะว่าไม่ค่อยชอบออกไปเจอผู้เจอคน
มันรู้สึกรำคาญอ่ะค่ะ
แต่พอเพื่อนมาที่บ้านก้อไม่อยากให้กลับสงสัยคงจะเหงาจนเก็บกดมั้งคะ

0
bow 9 เม.ย. 53 เวลา 16:18 น. 16

เราไม่ได้ออกจากห้องเลยเป็น
เวลาหนึ่งอาทิตเเล้ว
เวลาอยู่คนเดียวก็สะบายจัยนร้า
จะลองอยู่คนเดียวต่อไปเรื่อยเเล้วกัน
ดูสิจะทามได้กี่วัน กี่เดือน หรือ กี่ปี

0
คนที่เคยมีอาการาฮิคิโคโมริ 16 เม.ย. 53 เวลา 15:42 น. 18

เราก้อเปนนะ
แต่ไม่ใช่ฮิคิโคโมริเต็มตัว

แต่ก่อนเราเปนคนที่มีเพื่อนเยอะ
แต่พอเราย้่ายโรงเรียนเราปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่ที่นั้นไม่ได้
ตอนเดือนแรกๆเราก้อกินข้าวคนเดียว
เดินคนเดียว
นั่งคนเดียว
ไม่ค่อยพูดกับใครหรือไม่พูดเลยด้วยซ้ำ
พอเวลาจับกลุ่มกันเรามักจะเปนคนสุดท้ายที่เพื่อนชวนเข้ากลุ่มตลอด
คือแบบว่าเวลากลุ่มไหนไม่ครบเพื่อนก้อจะชวนเราเข้ากลุ่ม

อยู่มาวันหนึ่งเราได้ยินเพื่อนนินทาเราว่า
เราหนะเปนบ้าเป็นโรคพวกจิตอ่อนๆ
คือตอนนั้นเราเสียใจมากเลยโทรบอกให้แม่มารับเรากลับบ้าน
แม่ถามว่าเราเปนอะไรเราก้อไม่ตอบ

พอกลับมาถึงบ้านเราก้อวิ่งเข้าห้องนอนของตัวเองแล้วก้อนอนร้องไห้
เวลาแม่เรียกออกไปกินข้าวเราก้อไม่ไป
แม่เลยเอากับข้าวมาให้ทาน
(แบบว่าเอามาวางไว้ที่หน้าห้องหนะ)
เวลาพ่อแม่จะคุยด้วยก้อส่งข้อความเข้ามือถือ
บางทีก้อเขียนใส่กระดาษแล้วสอดเข้ามาใต้ประตูห้อง

เวลาอยู่ในห้องส่วนใหญ่เราจะนอน
เล่นเกม
ดูทีวี
คุยเอ็มกับเพื่อนที่โรงเรียนเก่า
เราจะไม่ค่อยอาบน้ำ
เวลาปวดฉี่หรือปวดอึก้อจะแอบไปเข้าห้องน้ำตอนดึกๆ(อาบน้ำก้อเปนแบบนี้แหละ)
ส่วนใหญ่เราจะไม่ค่อยกินข้าวที่แม่เอามาให้หรอกเพราะมันไม่อร่อย
กับข้าววันไหนที่แม่เอามาให้น่าอร่อยเราก้อจะกิน
(คือเรามีเสบียงไว้เปนพวกขนมนมน้ำอะไรแบบนี้)
เราเปนแบบนี้ได้2เดือนกว่า

แม่เปนห่วงเรามากเลยไปพอจิตแพทย์(เราไม่ได้ไปเพราะเราไม่ยอมออกจากห้อง)
หมอบอกว่าเราเป็นโรคฮิคิโคโมริ
วิธีรักษาคือให้เราได้พบเพื่อนหรือเพื่อนที่เราสนิทมาก

อยู่มาวันหนึ่งมีเพื่อนที่โรงเรียนเก่าและโรงเรียนใหม่มาหาที่บ้าน
ตอนแรกเราก้อไม่ออกไปหาหรอกแต่เพื่อนนั่งรอเราอยู่หน้าห้องนานมาก
เราเลยใจอ่อนเปิดประตูออกไปหาเพื่อน
พอเราเห็นหน้าเพื่อนเราดีใจมาก
ดีใจจนร้องไห้เลย

ตั้งแต่วันนั้นเราก้อไปโรงเรียน
มีเพื่อนใหม่ที่ดี
ไม่เหงา
ตอนนี้เรามีความสุขมาก




ฝากถึงเพื่อนๆชาวเด็กดีด้วยนะค่ะว่า
มีอะไรให้บอกผู้ปกครองเสมอ
อย่าเอาแต่ใจตัวเอง
หัดปรับตัวเข้ากับสังคมให้ได้ค่ะ
ถ้าเราเข้ากับสังคมได้เราก้อจะมีความสุข

0
pear 11 ก.ค. 53 เวลา 21:39 น. 19

อ๊ากกกก......

มันก็เป็นกันทุกคนอ่าแหละ

อยู่ที่ว่าใครจะเป็นมากเป็นน้อย

แต่พวกที่มันเป็นโรคเนี่ยมันไม่กลัวผีกันหรอวะ

ขนาดแค่นอนคนเดียวในห้องยังภานาให้เช้าไว้ๆเล้ย...

0
Neko 1 ก.ย. 53 เวลา 08:26 น. 20

มันก็อาจจะมีกันบ้างนะคะ ที่เราอาจจะรู้สึกไม่อยากรับรู้อะไร ไม่อยากเจอใครๆ ใน"บางเวลา" แต่คิดว่าคงไม่"ตลอดเวลา" มั้ง
ทุกๆ คนก็เป็นกันค่ะ อยู่ที่เราจะแก้ปัญหายังไง ทุกอย่างมีทางออก ที่สำคัญ ขอร้องว่าอย่าไปคิดว่าอาการ หรือ ปรากฎการณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่น่าเลียนแบบ คิดถึงคนที่เค้าเป็นห่วงเราบ้าง อย่างน้อยก็พ่อกับแม่เรานี่ล่ะค่ะ เค้าเป็นทุกข์ที่สุดเวลาที่คุณมีทุกข์ เชื่อเถอะ
อย่ามองปัญหาด้านเดียวนะคะ ปรึกษาพ่อแม่ เพื่อนๆ หรือคนที่เรารู้สึกไว้ใจ
ที่สำคัญ ต้องเข้มแข็งและมีสตินะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

0