Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คณะวิทย์ สาขาคณิต สาขาสถิติ เรียนแล้วทำงานอะไร??

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากทราบว่า...

คณะวิทยาศาสตร์
-สาขาคณิตศาสตร์
-สาขาสถิติประยุกต์
-สาขาเทคโนโลยีอาหาร

เรียนอะไรบ้างคะ

และเมื่อจบออกมาแล้ว จะทำงานประเภทไหน

สามารถทำงานอะไรได้บ้างคะ

ช่วยอธิบายด้วยค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

48 ความคิดเห็น

pang 21 เม.ย. 52 เวลา 08:28 น. 1

ใช่ๆเราก้ออยากรู้อ่ะ แล้วสายศิลป์คำนวณอย่างเราจะแอด...เข้าได้มั้ยอ่ะ...อยากรู้อยากรู้8

0
ตรี สถิติ บางมด 7 พ.ค. 52 เวลา 23:10 น. 2

นักสถิติ

ลักษณะเนื้อหาวิชา
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางสถิติ และวิธีทางสถิติไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยประมวลผล ศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ความรู้เบื้องต้นในการทำวิจัย ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านการประกันภัย สถิติธุรกิจ เป็นต้น

แนวทางการเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  การเข้าศึกษาสาขาวิชาสถิติในสถาบันการศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยมีทั้งในสถาบันประเภทจำกัดจำนวนรับ และไม่จำกัดจำนวนรับ (มหาวิทยาลัยเปิด) โดยผู้เข้าศึกษาจะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า สำหรับการเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาประเภทจำกัดจำนวนรับจะต้องผ่านคัดเลือกของทบวง- มหาวิทยาลัย หรือผ่านการสอบคัดเลือก ระเบียบและข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชานี้ในคณะวิทยาศาสตร์ จะได้รับวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (สถิติ) วท.บ. (สถิติ) ถ้าศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จะได้รับวุฒิการศึกษาสถิติศาสตรบัณฑิต

การศึกษาต่อหลังจบปริญญาตรี
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  สำหรับผู้สำเร็จวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสถิติ จะสามารถศึกษาต่อในสาขาสถิติ สถิติประยุกต์ คอมพิวเตอร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ประกันภัย วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ

ลักษณะงาน
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp งานทางด้านสถิติจำเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและวชาญทางด้านสถิติ เนื่องจาก วิชาสถิติแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ อาทิเช่น สถิติทั่วไป การวิจัยดำเนินงานประกันภัย ประชากรศาสตร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นงานต่าง ๆ ที่นักสถิติสามารถปฏิบัติได้ ได้แก่
1. การวางแผนเพื่อการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล จัดระบบ ตีความ สรุปผล และวิเคราะห์ข้อมูล โดย อาศัยวิธีการทางสถิติ
2. วางแผนการทดลองต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคทางด้านสถิติ เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
3. ทำงานวิจัยทางด้านทฤษฎีคณิตศาสตร์-สถิติ และการพิสูจน์อันประกอบกันเป็นมูลฐานแห่งสถิติ และพัฒนา ระเบียบวิธีทางสถิติ
4. จัดทำระบบฐานข้อมูล และการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
5. สร้างและพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น การพัฒนา กำลังคน เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ
6. การควบคุมคุณภาพสินค้า โดยอาศัยหลักการทางสถิติ
7. นำความรู้ทางด้านการพยากรณ์ มาใช้ในการพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การพยากรณ์แนวโน้มการขึ้น ลงของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การพยากรณ์จำนวนประชากรของประเทศ เป็นต้น
8. คำนวณเบี้ยประกันภัย และเงินสำรองให้กับบริษัทประกันภัย
9. วชาญในงานสถิติสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น สถิติประชากร สถิติแรงงาน สถิติการเกษตร

0
ตรี 7 พ.ค. 52 เวลา 23:12 น. 3

(ต่อ)

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  มีความถนัดและสนใจด้านคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการวิเคราะห์ ปัญหา และ ตัดสินใจได้ มีวิสัยทัศน์ก้าวทันโลก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา มีความละเอียดรอบคอบและ มีระเบียบในการทำงาน เป็นคนมีเหตุผล ชอบคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ มีความสนใจข้อมูลเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 

การเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ ประกาศนียบัตรอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยเทียบเท่า ต้องผ่านการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อ เข้าศึกษาวิชาชีพเกี่ยวกับสถิติ ในมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา สถิติศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต (สถิติ)

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp งานวางแผน วิเคราะห์ข้อมูล วิจัย โปรแกรมสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิเคราะห์หุ้น

แนวทางในการประกอบอาชีพ
1. ทำงานในด้านการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และสถิติ ทั้งในโรงเรียน สถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัย
และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ของรัฐและเอกชน เป็นต้น
2. ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เก็บสถิติและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับประชากร เศรษฐกิจและสังคม หรือ ทำงานในหน่วยงานที่ต้องการนักวิชาการสถิติ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น สนง.สถิติแห่งชาติ, กรมสรรพากร, ตลาดหลักทรัพย์, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์, กรมอนามัย, ธนาคาร, บริษัทประกันภัย, บริษัทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า, บริษัทปิโตรเคมีต่างๆ
3. ทำงานการวิจัย ทางอุตสาหกรรมการเกษตร การปกครอง ทางสังคมศาสตร์ และอื่น ๆ
4. ทำงานด้านการประกันสังคม และการประกันภัย
5. ทำงานด้านการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อออกแบบระบบข้อมูลต่าง ๆ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6. ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่ ม.เกษตรศาสตร์, จุฬาฯ, นิด้าฯ หรือ สาขาสถิติประยุกต์ที่
ม.ธรรมศาสตร์, ม.ขอนแก่น และม.ศิลปากร

0
unknown ๐LOV3l2ADY๐ 12 ธ.ค. 52 เวลา 17:07 น. 5

ขอบคุณคับ
ได้ความรู้มากเลย
ผมติดสอบสัมภาษณ์ มข. คณะวิทย์ สาขาสถิตินี่แหละ
กำลังหาข้อมูลอยู่เลย
ขอบคุณอีกครั้งคร๊าบบบบบบบบบบบบบ


PS.  [FC FT Island]
0
nnlr 14 ต.ค. 61 เวลา 20:17 น. 6-1

คุณได้เลือกสายนี้ไหมคะถ้าเลือกเรียนช่วยอธิบายหน่ยคะว่าต้องเจอกับอะไรเรียนแบบไหนบลาาาช่วยหน่ยคะพอดีสนใจในทางนี้คะแล้วจบมามีงานอะไรรองรับเราบ้างคะ

0
อ้อย 11 พ.ค. 53 เวลา 08:37 น. 7

แอดติดคณะวิทยาศาสตร์ สถิติประยุกต์ ลาดกระบังอ่ะค่ะ

จะไปสัมภาษพรุ่งนี้แร้วอ่ะ
....
ตื่นเต้นๆจังค่ะ

1
Max 25 เม.ย. 63 เวลา 11:23 น. 7-1

ได้เรียนหรือยังคะ เป็นยังไงบ้าง แนะนำหน่อยได้ไหมคะ

0
ใมใ 9 ธ.ค. 53 เวลา 16:44 น. 9

เราติด คณะวิทยาศาสตร์ สาขาสถิติ ของ ม.น. อ่า

แต่พ่อแม่กลัวว่าจบไปแล้วไม่มีงานที่มั่นคงอ่า

ลังเลอยู่เลย

1
ream_boom 9 ม.ค. 61 เวลา 22:41 น. 9-1

อยากเข้าม.น เหมือนกันค่ะ มีช่องทางติดต่อไมค่ะ อยากสอบถามข้อมูล

0
ream_boom 9 ม.ค. 61 เวลา 22:48 น. 12-1

อยากเรียน ม.น.ค่ะ อยากสอบถามข้อหน่อย ติดต่อกลัยหน่อยได้ไมค่ะ ID nanfp2

0
พอลลี่ 13 พ.ค. 55 เวลา 10:41 น. 19

เราติดสถิติ ยู ม.นเรศวร กลัวเรียนไม่ไหวจัง แต่คิดที่จะไปเรียนแล้วก้อจะต้องสู้จนขาดใจ&nbsp สู้โว้ยยยยยยยยยย

0