Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตอบข้อสอบกฎหมาย...ง่ายนิดเดียว อ.ม.อุบล

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ตอบข้อสอบกฎหมาย...ง่ายนิดเดียว โดยอภินันท์ ศรีศิริ

หากพูดถึงการตอบข้อสอบกฎหมายแล้วคงเป็นเรื่องไม่ยากนัก
สำหรับผู้ผ่านสนามสอบกฎหมายมาหลายสนาม แต่วิธีที่แนะนำต่อไปนี้เป็นวิธีสำหรับนักศึกษาวิชากฎหมาย ( มือใหม่)
ซึ่งเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องพบกับการตอบข้อสอบแบบอัตนัย ( ข้อสอบข้อเขียน)
ผู้เขียนก็เป็นผู้ศึกษากฎหมายและผ่านสนามสอบวิชากฎหมายมาพอสมควร
จึงอยากจะขอหยิบยกเรื่องนี้มาแนะนำนักศึกษา
เผื่อจะได้คลายความกังวลใจลงไปได้บ้าง


โดยปกติข้อสอบวิชากฎหมายในชั้นปริญญาตรี อาจารย์ผู้สอนมักจะออกข้อสอบ ๒ ลักษณะใหญ่ด้วยกันครับ คือ
๑. ข้อสอบอธิบายหลักกฎหมาย กับ
๒. ข้อสอบแบบปัญหาตุ๊กกา ( ข้อสอบวินิจฉัย)


โดยข้อสอบ ๒ ลักษณะนี้มีลักษณะของข้อสอบต่างกัน และมีแนวการเขียนตอบข้อสอบต่างกันด้วย คือ

๑. การตอบข้อสอบอธิบายหลักกฎหมาย
นักศึกษาจะตอบข้อสอบข้อนี้ได้ดี ขึ้นอยู่กับนักศึกษาเข้าใจหลักกฎหมายในเรื่องนั้นมากน้อยเท่าใด
( ไม่จำเป็นต้องท่องหรือจำ) แต่อาศัยความเข้าใจในหลักกฎหมายให้ชัดเจนครับ
โดยหลังจากนักศึกษาอ่านโจทย์แล้ว นักศึกษาก็อธิบายหลักกฎหมายในเรื่องนั้นให้ชัดเจน ครบถ้วน
เท่านี้นักศึกก็จะทำคะแนนได้มากทีเดียว เพื่อให้การตอบคมชัดน่าสนใจมากขึ้น
นักศึกษาควรยกตัวอย่างประกอบหลักกฎหมายดังกล่าวด้วยครับ
หรือมีบางกรณีอาจารย์บางท่านต้องการให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นประกอบ
หลักกฎหมาย ซึ่งการตอบข้อสอบแสดงความคิดเห็น นักศึกษาต้องอาศัยหลักกฎหมายในส่วนแรกมาประกอบการแสดงความคิดของเรา
ครับ ว่าเราเห็นด้วยกับหลักกฎหมายหรือไม่ อย่างไร ( อย่าลืมนะครับว่า...การตอบข้อสอบต้องมีหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้นอธิบายประกอบ
เสมอ อย่ามั่วนะ...)


ตัวอย่าง
ให้นักศึกษาอธิบายหลักการปกครอง “ระบอบประชาธิปไตย” มาพอสังเขป และนักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการปกครองในระบอบดังกล่าว

นักศึกษาจะเห็นว่านักศึกษาต้องเข้าใจหลักการปกครองในเรื่องดังกล่าว โดยการอธิบายต้องยึดหลักปกครองระบอบบดังกล่าว ส่วนการแสดงความคิดเห็นนักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร นักศึกษาต้องชี้ให้อาจารย์เห็นถึงข้อดีหรือข้อเสีย และอาจมีข้อเสนอแนะด้วยก็ได้
(ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลประกอบด้วยครับ ไม่ใช่นึกขึ้นแบบลอย ๆ) หรือ
จงอธิบายความแตกต่างระหว่างกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน มาโดยละเอียด
นักศึกษาต้องอธิบายความหมายของกฎหมายเอกชน กับกฎหมายมหาชนก่อน แล้วค่อยอธิบายความแตกต่างครับ ไม่ใช่อธิบายความแตกต่างเลยจะทำให้นักศึกษาได้คะแนนน้อยครับ

๒. การตอบข้อสอบตุ๊กตา ( ข้อสอบวินิจฉัย)
ลักษณะข้อสอบจะเป็นข้อเท็จจริงสั้น ๆ แต่ก่อนที่ลงมือฟันธง(วินิจฉัย)นักศึกษาต้องอ่านข้อเท็จจริงในโจทย์ให้ละเอียด พร้อมพิจารณาว่าโจทย์ถามอะไร หรือประเด็นไหนที่โจทย์ต้องการคำตอบ โดยข้อสอบตุ๊กตา (ข้อสอบวินิจฉัย) ก็มีแนวการตอบอยู่ ๒ ลักษณะง่าย ๆ ดังนี้ คือ


๒.๑. การตอบแบบ “ยกหลักกฎหมาย”
หลังจากเราอ่านข้อเท็จจริงในโจทย์แล้ว ถึงเวลาที่เราจะวินิจฉัย(ฟันธง)ว่า ข้อเท็จจริงตามโจทย์นั้นเป็นไปตามหลักกฎหมายในเรื่องนั้นหรือไม่ เมื่อได้คำตอบแล้วว่าครบหรือไม่ครบหลักกฎหมายอย่างไรแล้วก็เข้าสู่การ
เขียนตอบข้อสอบ

โดยการเขียนตอบข้อสอบแบบยกหลักกฎหมายมีส่วนประกอบ
อยู่ ๓ ส่วน คือ


๑. หลักกฎหมาย ( โดยยกกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นนั้นมา ไม่ใช่ เนื้อหาทั้งหมดของกฎหมายก็ได้ แต่เฉพาะหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่โจทย์ต้องการคำตอบ)


๒. การวินิจฉัยหรือปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมาย ( โดยส่วนนี้สำคัญมากเราต้องพยายามคลุกเคล้าข้อเท็จจริงในโจทย์เข้ากับ
หลักกฎหมายที่เราอ้างในส่วนที่ ๑.เข้าด้วยกันว่า ครบหลักกฎหมายในเรื่องนั้นหรือไม่อย่างไร จะทำให้การตอบข้อสอบดูมีเหตุมีผลมากครับ )
๓. สรุป (ให้ดูตอนท้ายของโจทย์ว่าโจทย์ต้องการคำตอบอย่างไร เราตอบครบทุกประเด็นหรือยัง แล้วตอบแบบสั้น ๆ โดยไม่ต้องอธิบายให้ยึดยาว )
การตอบข้อสอบแบบลักษณะนี้จะทำให้เห็นภาพของการตอบชัดเจนมาก และดูมีระเบียบเรียบร้อย


๒.๒. การตอบ “แบบรวมวินิจฉัย”
การตอบข้อสอบแบบนี้ต่างกับการตอบข้อสอบแบบยกหลักกฎหมายอยู่บ้าง เนื่องจากไม่ต้องยกหลักกฎหมาย(ส่วนที่ ๑.) แต่วินิจฉัยหรือปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมายได้เลย โดยนำเฉพาะประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปรับกับข้อเท็จจริงตามโจทย์

ดังนั้นการตอบข้อสอบแบบนี้จึงเหลืออยู่ ๒ ส่วนเท่านั้น คือ
๑. การวินิจฉัยหรือปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมาย ( โดยส่วนนี้มีลักษณะเหมือนกันกับการตอบแบบยกหลักกฎหมาย ) โดยหลักกฎหมายจะปรากฏรวมกันกับข้อเท็จจริงในส่วนนี้
๒. สรุป (ให้ดูตอนท้ายของโจทย์ว่าโจทย์ต้องการคำตอบอย่างไร ซึ่งไม่ต้องอธิบายให้ยึดยาว )

การตอบข้อสอบแต่ละวิธีตามที่ได้กล่าวมานั้นขึ้นอยู่กับความถนัด หรือสไตร์(Style)ของนักศึกษาแต่ละคน แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดจะอยู่ที่ส่วนการวินิจฉัยหรือปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมาย
เพราะนักศึกษาต้องวินิจฉัยออกมาให้ได้ว่าตามข้อเท็จจริงในโจทย์เป็นไปตาม
หลักกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
( คำว่า “อย่างไร” คือ ต้องมีเหตุผลทางกฎหมายในการตอบนั้นเองครับ )
สำหรับผู้เขียนเองถนัดที่จะตอบแบบยกหลักกฎหมายครับ เพราะชัดเจนดี หรือบางครั้งอาจารย์เห็นว่าเรายกหลักกฎหมายประกอบถูก แต่วินิจฉัยผิด อาจารย์อาจมีคะแนนหลักกฎหมายให้ครับ


ตัวอย่าง
นาย ก เช่าบ้านของนาง ข โดยมีกำหนดเวลาเช่า ๗ ปี โดยคิดค่าเช่า ๖,๐๐๐ บาทต่อเดือน แต่การเช่าดังกล่าวตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น หากนาง ข ปฎิเสธการเช่าบ้านดังกล่าว หลังจากนาย ก อยู่ได้เพียง ๒ ปี หากนาย ก จะฟ้องบังคับเพื่อให้ตนอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวจนครบ ๗ ปี จะทำได้หรือไม่ อย่างไร

๑. ตอบ “แบบยกหลักกฎหมาย”
หลักกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา ๕๓๘ ( เนื้อหาหลักกฎหมาย )
วินิจฉัย
ตามข้อเท็จจริงข้างต้นเนื่องจากนาย ก เช่าบ้านนาย ข โดยตกลงกันด้วยวาจา โดยมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญตามมาตรา ๕๓๘
ป.พ.พ. นาย ก ย่อมไม่สามารถฟ้องร้องบังคับเพื่อให้ตนอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวได้จนครบ ๗ ปี
สรุป
นาย ก ฟ้องบังคับไม่ได้ เพราะการเช่าบ้านไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา
๕๓๘

๒. การตอบ “แบบรวมวินิจฉัย”
วินิจฉัย
ตามปัญหาการเช่าระหว่างนาย ก กับ นาง ข แม้กำหนดเวลาเช่า ๗ ปี และมีการคิดค่าเช่าเดือนละ ๖,๐๐๐ บาท เมื่อนาง ข ปฎิเสธการเช่าดังกล่าว หลังจากอยู่ได้เพียง ๒ ปี นาย ก ก็ไม่สามารถฟ้องบังคับเพื่อให้ตนอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวจนครบ ๗ ปีได้ เนื่องจากสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังลือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้อง
รับผิดเป็นสำคัญ ย่อมฟ้องบังคับหาได้ไม่ตามมาตรา ๕๓๘ ป.พ.พ.

สรุป
นาย ก ฟ้องบังคับไม่ได้ เนื่องจากการเช่าดังกล่าวไม่ได้ทำสัญญาถูกต้องตามหลักกฎหมาย

“ ข้อพึงระวังกับการตอบข้อสอบ”
๑. อ่านโจทย์ให้เข้าใจ โจทย์ถามกี่ประเด็น เพราะบางครั้ง ข้อสอบข้อเดียวอาจมีหลายประเด็นครับ...
๒. ห้ามเพิ่มข้อเท็จจริงในโจทย์ เพราะจะทำให้การตอบของเรายึดยาว และบางครั้งทำให้ข้อเท็จจริงผิดเพี้ยนไปจากที่โจทย์ต้องการคำตอบ
๓. ห้ามใช้คำ ๆ นี้ เช่น คำว่า “ อาจจะ” ผิดหรือถูก หรือ คำว่า “ น่าจะ” หรือคำว่า “คิดว่า” เพราะคำเหล่านี้แสดงถึงความไม่มั่นใจในการตอบข้อสอบ
๔. ห้ามตอบข้อสอบแบบดาวกระจาย คือ ตอบทุกเรื่อง ทุกอย่าง แต่ไม่เข้าประเด็นคำถาม ดังนั้นเราต้องตอบเฉพาะประเด็นที่โจทย์ต้องการเท่านั้น
๕. การอธิบายหรือวินิจฉัย ต้องอาศัยถ้อยคำในตัวบทกฎหมายให้มาก ๆ เพราะจะทำให้การตอบข้อสอบดูมีเหตุมีผลทางกฎหมายมากขึ้นครับ
๖. บริหารเวลาในการทำข้อสอบให้ดี ข้อไหนมั่นใจ แนะนำให้ทำข้อนั้นก่อนครับ เพราะจะสร้างกำลังใจให้เราได้มากที่เดียว

สิ่งที่ผู้เขียนหยิบยกมากล่าวในคราวนี้ เนื่องจากผู้เขียนมีเจตนาทีจะแนะนำนักศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็นแนวในการเขียนตอบ
ข้อสอบ เพราะหลายคนยังกังวลกับเรื่องนี้อยู่ แต่การเขียนตอบข้อสอบจะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เมื่อนักศึกษาได้ฝึกหัดอยู่บ่อยครั้ง
“ อย่าลืมว่า เรา คือ นัก + ศึกษา ไม่ใช่ นัก + เรียน หรือ นักเลง อีกต่อไป ” ... สวัสดีครับ

แสดงความคิดเห็น

>

24 ความคิดเห็น

aeyza30 16 พ.ค. 52 เวลา 19:28 น. 1

อ่านไว้ๆๆ

เฟรชชี่ นิติ อุบล ค๊ะๆ


PS.  มั่ยมีทิศทางปัย..เมื่อต้องเสียเทอร์
0
comme 30 มิ.ย. 52 เวลา 00:37 น. 3

ขอบคุณ มากเลยคับ ผมเองเป็นนักศึกษาราม แต่ไม่เคยเข้าห้องเลย
ได้อ่านกระทูนี้แล้ว ช่วยได้มากจริงๆ ขอบคุณครับ8

0
ROCKER 19 ม.ค. 60 เวลา 11:23 น. 4-1

หนูกำลังจะสอบนิติ เเต่ไม่มั่นใจเรื่องข้อสอบอัตนัยเลยต้องทำไงดีค่ะเศร้าจัง

0
น้องใหม่ 12 พ.ย. 52 เวลา 12:25 น. 6

ถามผู้รู้ทุกท่าน ผมเริ่มเรียนกฏหมายอยากสอบถามว่าเวลาตอบข้อสอบกฏหมายแบบไม่ใส่เลขมาตราในคำวินิจฉัยจะเขียนอย่างไร เช่น ข้อสอบอาญา&nbsp Aต้องการฆ่าB&nbsp แต่เห็นCเดินมาคิดว่าเป็นB จึงใช้ปืนยิงC จนทำให้Cได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย นอกจากนี้กระสุนยังเลยไปถูกDถึงแก่ความตาย และได้เลยไปถูกลูกแมวของนางสาวส้มตายอีกด้วย จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายแดง( กรุณาแสดงแนวคำตอบแบบไม่ใส่เลขมาตรา)
*ขอบคุณคับ

0
Melt You 27 ก.ย. 53 เวลา 22:45 น. 9

ความเห้นที่ 6 ตอบว่า            จากข้อเท็จจริงมีหลักกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมาย อาญา บัญญัติไว้ว่า....
 
น่าจะทำนองนี้ค่ะ


0
เฟรชชี่ นิติฯ วิทยาลัยนครราชสีมา 5 พ.ย. 53 เวลา 01:18 น. 10

ความเห็นที่ 6

ตอบตรงวางหลักกฎหมาย

"ประมวลกฎหมายอาญา วางหลักว่า.......(สำหรับคนที่จำได้แค่ตัวบท)...."

"ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ... บัญญัติว่า..........(สำหรับคนที่จำเลขมาตราและตัวบทได้เป๊ะๆ)........................"

0
นิค 9 ก.ค. 54 เวลา 05:44 น. 12

ขอบคุณมากมายเลยที่ช่วยชี้ทางสว่างให้ผม&nbsp มึนมาตั้งนาน&nbsp อิอิ&nbsp  นิติ ม กรุงเทพ

0
ก้อง 11 ส.ค. 54 เวลา 18:12 น. 14

ขอบคุณครับอาจารย์เข้าใจขึ้นเยอะเลยอ่านในหนังสืมันเยอะเกินเลย งง พอได้อ่านบทความนี้เริ่มออกจากป่าได้แล้วครับ&nbsp ปี1 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

0
เด็กกฎหมาย 15 ก.ย. 54 เวลา 23:24 น. 15

ถึงความเห็นที่ 10 ที่ถึงความเห็นที่ 6
การที่เราจำมาตรากฎหมายได้ในการตอบเราควรใช้เพียงคำว่าวางหลักกฎหมายไว้ว่าเหมือนดังการตอบที่เราไม่สามารถจำมาตราได้เหมือนที่คุณนำเสนอ&nbsp คือ
&nbsp &nbsp ประมวลกฎหมายอาญา&nbsp วางหลักฎหมายไว้ดังนี้&nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  มาตรา............
&nbsp หากเราใช้คำว่าบัญญัติ นั่นหมายความว่าเราต้องยึดทุกคำตามประมวล&nbsp ซึ่งในความจิงแม้เราจำได้ทุกคำเราก็มีโอกาสผิดได้&nbsp ดังนั้นเวลาอ.ตรวจข้อสอบหากใครที่ใส่คำว่าบัญญัติ&nbsp อ.จะไล่ทีละคำเปิดประมวลดูทุกตัวอักษร&nbsp คับ

0
ชิมิ 9 ก.ค. 55 เวลา 13:49 น. 18

คำถาม
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp นายปลอดนักยองเบา เดินผานบานนายสมชายซึ่งเปดหนาตางทิ้งไว&nbsp นายปลอดเปนคนตัวเตี้ยไมสามารถ&nbsp ปนโหนเขาไปลักทรัพยทางหนาตางได ขณะนั้นมีนายโซเมาเหลานั่งพิงบานอยูใตบริเวณหนาตางพอดี&nbsp นายปลอดจึงกระโดดขึ้นเหยียบบานายโซเพื่อปนผานทางหนาตางเขาไปลักสรอยคอทองคําของนายสมชายมาได 1 เสน&nbsp เชาวันรุงขึ้นขณะที่นายปลอดจะนําสรอยที่ลักไปขายไดถูกนายยอดกระชากสรอยไป
&nbsp &nbsp &nbsp ใหวินิจฉัยวา&nbsp นายปลอดและนายยอดมีความผิดฐานใดบางหรือไม&nbsp 


ขอความกรุณาท่านอภินันท์ ศรีศิริ&nbsp ช่วยตอบเป็นแนวทางในการศึกษากฎหมายด้วยครับ(จากมือใหม่หัดขับ)

0