Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สีของท้องฟ้า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สีของท้องฟ้า

 

เคยสงสัยไหมว่าทำไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟ้า?

สีของท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ตอนกลางวันท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ส่วนตอนเช้าและตอนเย็นท้องฟ้าเป็นสีส้มแดงทั้งหมดเกิดจากปรากฎการณ์ที่เรียกว่า  “การกระเจิงของแสง”

การกระเจิงของแสงคือการที่แสงไปชนกับสิ่งกีดขวางขนาดเล็ก ๆ เช่นโมเลกุลของอากาศ แล้วกระเด็นไปรอบ ๆ ทุกทิศทาง

ถ้านึกภาพไม่ออก  ให้ลองจินตนาการถึงเวลาที่คลื่นน้ำกระทบโขดหินดูสิ  คลื่นใหญ่ที่พัดมาแรงๆเวลาชนโขดหินก็จะแตกกระเซ็นออกเป็นละอองหยดน้ำมากมาย  แต่ถ้าเป็นคลื่นน้ำขนาดเล็กก็จะชนโขดหินเบาๆ  และอาจจะไม่แตกกระเซ็นเลยด้วยซ้ำ   แสงก็คล้ายกันนั่นแหละ   แสงที่มีความถี่มากจะกระเจิงได้มากกว่าแสงที่มีความถี่น้อย

คลื่นแสงแต่ละสีมีความสามารถในการกระเจิงไม่เท่ากัน  บ้างก็กระเจิงได้ดี  บ้างก็กระเจิงได้น้อย 
โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการกระเจิงของแสงได้แก่  ขนาดความยาวคลื่นแสง  มุมที่แสงจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับชั้นบรรยากาศ  และปริมาณของฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศ
ในเวลากลางวัน
แสงอาทิตย์ทำมุมชันกับพื้นโลก แสงจะเดินทางผ่านบรรยากาศเป็นระยะทางสั้นๆ  แสงสีม่วง คราม และน้ำเงิน
จะกระเจิงเต็มท้องฟ้า  เราจึงมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า
ในยามเช้าและยามเย็น
แสงอาทิตย์ทำมุมลาดกับพื้นโลก แสงจะเดินทางผ่านบรรยากาศเป็นระยะทางยาว  แสงสีม่วง  ครามน้ำเงิน  ซึ่งกระเจิงได้ดีที่สุด  จะกระเจิงทิ้งไปมากเพราะระยะทางมาก   ทำให้เหลือแสงสีแดง  ส้ม  ซึ่งกระเจิงได้น้อยมากเข้าตาเรา
แสงสีม่วงกระเจิงแสงได้ดีกว่าแสงสีแดงประมาณ
16
เท่าเลยทีเดียว
คงไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสีของท้องฟ้ากันไปไม่มากก็น้อย   โลกของเรายังมีเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมาย  ที่กำลังรอการค้นหาอยู่  คำถามของมนุษย์เกิดขึ้นไม่สิ้นสุด   และท้ายที่สุดวิทยาศาสตร์คือกุญแจสำคัญในการไขคำตอบนั้น
!


PS.   วัชพืช คือ พืชที่ยังไม่มีใครค้นพบความดีของมัน

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น