Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เทพเจ้ากรีกผู้ยิ่งใหญ่แห่งโอลิมปัส ภาพการ์ตูนสวยงามมากมาก เอามาแจกจ้า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เทพเจ้ากรีกผู้ยิ่งใหญ่แห่งโอลิมปัส ภาพการ์ตูนสวยงามมากมาก

เทพีอาเธน่า

ใน คณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำดับว่า เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) อาร์เตมิส (Artemis) องค์แรกเป็นเทวีภคินีของเทพปริณายกซูส ส่วน 2 องค์หลังเป็นธิดา แต่ละองค์มีประวัติและความสำคัญดังจะกล่าวต่อไปนี้

อันเทวดาของกรีกนั้นถึงแม้ไม่ตายก็หาความรู้สึกเจ็บปวดในกายองค์ไม่ การถือกำเนิดของเอเธน่านั้น กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง ซูส เทพบดีได้รับคำทำนายว่า โอรสธิดาที่ประสูติแต่มเหสีเจ้าปัญญานาม มีทิส (Metis) นั้นจะ มาโค่นบัลลังก์ ของพระองค์ ไท้เธอก็แก้ปัญหาด้วยการจับเอามีทิสซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่ นานนัก เทพปริณายกซูสบังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำลัง ไท้เธอจึงมีเทวโองการสั่งให้เรียก ประชุมเทพ ทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ให้ช่วยกันหาทางบำบัดเยียวยา แต่... ความอุสาหพยายามของทวยเทพก็ไม่เผล็ดผล ซูส ไม่อาจทนความ เจ็บปวดต่อไปได้ ในที่สุดจึงมีเทวบัญชาสั่งโอรสองค์หนึ่งของไท้เธอ คือ ฮีฟีสทัส (Hephaestus) หรือ วัลแคน (Vulcan) ให้ใช้ขวานแล่งเศียรของไท้เธอออก เทพฮีฟีสทัสปฏิบัติตาม เอาขวานจามลงไป ยังไม่ทัน เศียรซูสจะแยกดี เทวีเอเธน่าก็ผุด ขึ้นมาจากเศียรเทพบิดา ในลักษณะเจริญวัยเต็มที่แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาว พร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ และประกาศ ชัยชนะเป็นลำนำกัมปนาทเป็นที่พิศวงหวั่นหวาดแก่ทวยเทพเป็นที่สุด พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและมหาสมุทร ก็บังเกิด อาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นอย่างใหญ่ ประกาศกำเนิดเทวีองค์นี้สนั่นไป ทั้งโลก

การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุขให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลาที่ครอง โลกจนตราบ เท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพอเจ้าแม่ผุดจากเศียรซูส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูป ก็ล่าหนีให้เจ้าแม่เข้า ครองแทนที่ ด้วยเหตุนี้เทวีเอเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้น เจ้าแม่ยังมีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย และการยุทธศิลปป้องกันบ้านเมือง

ภายหลังการอุบัติของเจ้าแม่เอเธน่าไม่นาน มีหัวหน้าชนชาวฟีนิเชียคนหนึ่งชื่อว่า ซีครอบส์ (Cecrop) พาบริษัทบริวาร อพยพเข้าไปในประเทศกรีซเลือก ได้ชัยภูมิอันตระการตาแห่งหนึ่งในแคว้น อัตติกะ (Attica) ตั้งภูมิลำเนาก่อสร้างบ้านเรือน ขึ้นเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งปวงเฝ้าดูงานสร้างเมืองนี้ด้วยความ เลื่อมใสยิ่ง ในที่สุดเมื่อเห็นว่าเมืองมีเค้าจะกลาย เป็นนครอันน่าอยู่ขึ้นมาแล้ว เทพแต่ละองค์ต่างก็แสดงความปรารถนาใคร่จะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร จึงประชุมกันถกถึงเรื่องนี้ เมื่อมีการอภิปรายโต้แย้งกันพอสมควรแล้ว เทพส่วนใหญ่ในที่ประชุมก็พากันยอมสละสิทธิ์ คงเหลือแต่เทพโปเซดอนและเทวีเอเธน่า 2 องค์เท่านั้นยังแก่งแย่งกันอยู่

เพื่อยุติปัญหาว่าใครควรจะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร เทพปริณายกซูสไม่พึงประสงค์จะชี้ขาดโดยอำนาจตุลาการที่ไท้เธอ จะพึงใช้ได้ด้วยเกรงว่าจะเป็นที่ครหาว่าเข้า ข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไท้เธอจึงมีเทวโองการว่านครนั้นพึงอยู่ในความคุ้มครองของเทพ หรือเทวี ซึ่งสามารถเนรมิตของที่มีประโยชน์ที่สุดให้มนุษย์ใช้ได้ และมอบหน้าที่ตัดสิน ชี้ขาดให้แก่ที่ประชุม

เทพโปเซดอนเป็นฝ่ายเนรมิตก่อน เธอยกตรีศูลคู่หัตถ์ขึ้นกระแทกลงกับพื้น บันดาลให้มีม้าลำยองตัวหนึ่งผุดขึ้นท่าม กลางเสียงแสดงความพิศวงและชื่นชมของ เหล่าเทพ เมื่อเทพผู้เนรมิตม้าอธิบายคุณประโยชน์ของม้าให้เป็นที่ตระหนักแก่เทพ ทั้งปวงแล้ว เทพต่างองค์ต่างก็คิดเห็นว่า เทวีเอเธน่าคงไม่สามารถเอาชนะเนปจูนเสีย เป็นแน่แล้ว ถึงกับพากันแย้มศรวลด้วย เสียงอันดังแกมเย้ยหยันเอาเสียด้วย เมื่อเจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา แต่ครั้นเจ้าแม่อธิบายถึงคุณประโยชน์ ของต้นมะกอก ที่มนุษย์จะเอาไปใช้ได้นานัปการนับตั้งแต่ใช้เนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน ไปจนใบ กับซ้ำว่ามะกอกยังเป็น เครื่องหมายถึงสันติภาพและความรุ่งเรืองวัฒนาอีกด้วย และเพราะฉะนั้นจึงเป็นที่พึงประสงค์ยิ่งกว่าม้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายของ สงครามดังนี้ มวลเทพก็เห็นพ้องต้องกันว่า ของที่เจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตมีประโยชน์กว่า จึงลงมติตัดสิน ชี้ขาดให้เจ้าแม่เป็นฝ่าย ชนะ

เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงชัยชนะครังนี้ เจ้าแม่เอเธน่าได้ประสาทชื่อนครนั้น ตามนามของเจ้าแม่เองว่า เอเธนส์ ( Athens ) และสืบจากนั้นมาชาวกรุงเอเธนส์ก็ นับถือบูชาเจ้าแม่ในฐานะเทวีผู้ปกครองนครของเขาอย่างแน่นแฟ้น

นอกจากชื่อเอเธน่าหรือมิเนอร์วาแล้ว ชาวกรีกและโรมันยังรู้จักเจ้าแม่ในชื่ออื่น ๆ อีกหลาย ชื่อ ในจำนวนนี้มี ชื่อที่แพร่หลายกว่าเพื่อนได้แก่ พัลลัส (Pallas) จนบางทีเขาเรียกควบกับชื่อ เดิมว่า พัลลัสเอเธน่า ก็มี ว่ากันว่า มูลเหตุของชื่อนี้สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมตอนเจ้าแม่ปราบยักษ์ชื่อ พัลลัส ซึ่งไม่ปรากฏตำนานชัดแจ้ง อาศัยเหตุที่ เจ้าแม่ถลกหนังยักษ์มาคลุมองค์ คนทั้งหลายเลยพลอย เรียกเจ้าแม่ในชื่อของยักษ์นั้นด้วย และเรียกรูปประติมา หรือ อนุสาวรีย์อันเป็นเครื่องหมายถึงเจ้าแม่ ว่า พัลเลเดียม (Palladium) ในที่สุดคำว่า Palladium ก็มีที่ใช้ใน ภาษาอังกฤษถึงภาวะหรือ ปัจจัยที่อำนวยความคุ้มครองหรือความปลอดภัยให้เกิดแก่ชุมชน ทำนอง Palladium ที่ชาวโรมัน อารักขาไว้ในวิหารเวสตาฉะนั้น

เทวีเอ

เทพีอาเทมิส

ในคณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำดับว่า เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) อาร์เตมิส (Artemis) องค์แรกเป็นเทวีภคินีของเทพปริณายกซูส ส่วน 2 องค์หลังเป็นธิดา แต่ละองค์มีประวัติและความสำคัญดังจะกล่าวต่อไปนี้ เทวีพรหมจารีในกลุ่มนี้ ได้แก่เทวีครองการล่าสัตว์ ทรงนามว่า ไดอานา (Diana) หรือ อาร์เตมิส เทวีองค์นี้เป็น เจ้าแม่ที่เคารพบูชาของพวกพรานโดยเฉพาะ และเป็นเจ้าของสัตว์ป่าทั้งปวง แต่สัตว์ที่เจ้าแม่โปรดปรานมากเป็นพิเศษ ได้แก่ กวาง โดยที่แสงเดือนเพ็ญเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การเดินป่า และล่าสัตว์ในเวลากลาง - คืน คนทั้งปวงจึงนับถือเจ้าแม่ในฐานะ เทวีครองแสงเดือนด้วย และในที่สุดก็อุปโลกน์เจ้าแม่เป็นดวงเดือนในชื่อว่า ฟีบี (Phoebe) บ้าง เซลีนี (Selene) ซึ่ง เป็นชื่อเรียกเทวีประจำดวงเดือนหรือจันทรเทวีมาแต่เดิมทั้ง 2 ชื่อ ต่อมาในระยะหลัง ๆ เขายังเอา เหกกะตี (Hecate) เทวี ครองความมืดในข้างแรมและไสยศาสตร์มารวมกับเจ้าแม่หมายเป็นเทวีองค์เดียวกันอีกด้วย

เจ้าแม่อาร์เตมิสเป็นเทพธิดาคู่แฝดผู้พี่ของ อพอลโล สุริยเทพของกรีก เกิดแต่ซูสเทพบดีกับนางแลโตนา หรือ ลีโต (Latona ,Leto) ( แต่บางตำนานกล่าวว่าเป็นธิดาของเทพไดโอนิซัสกับไอซิส แต่ผู้คนมักรู้จักเทวีอาร์เตมิส ในฐานะธิดาของ ซูสมากกว่า รวมทั้งท่านโฮเมอร์นักกวีชาวกรีกกล่าวไว้เช่นนี้ด้วย ) เมื่อตอนเกิดคลอดยากนักหนา ถึงแก่นางแลโตนาเกือบเอา ชีวิตไม่รอด เจ้าแม่รู้สึกในความเจ็บปวดทนทุกข์เวทนาอย่างใหญ่หลวงของมารดา เลยพลอยรังเกียจการวิวาห์ถึงกับขอประทาน อนุญาตจากเทพบิดาในอันที่จะขอไม่มีคู่ครอง แม้เหล่าเทพบนเขาโอลิมปัสแสดงความปรารถนาใคร่จะได้วิวาห์ด้วยเจ้าแม่ก็ไม่ไย ดีคงยืนกรานที่จะดำรงชีวิตโสดถ่ายเดียว และวิงวอนต่อเทพบิดา ด้วยเหตุผลนี้ซูสจำต้องประทานอนุญาตให้ เจ้าแม่ขอประทาน นางอัปสรโอเชียนิค 60 กับอัปสรอื่นอีก 20 ซึ่งล้วนแต่ไม่ยินดีในการวิวาห์เป็นบริวารติดสอยห้อยตามได้แล้ว ก็พาบริวารเที่ยว เสด็จประพาสไปตามราวป่า เพลิดเพลินเป็นนิตย์นิรันดร เธน่า

ทุกเวลาเย็นอาทิตย์อัสดง พอตะวันตกลับโลกไปแล้ว เจ้าแม่อาร์เตมิสก็ทรงจันทรยานเทียมม้าขาวปลอดดั่งสีนมพเนจร ไปในห้วงเวหา ผ่านดวงดาราเดียรดาษ ซึ่งต่างก็ทอแสงจ้าระยิบระยับรับเจ้าแม่ไปตลอดทาง ในระหว่างที่ท่องเที่ยวไปเจ้าแม่มักจะ โอนองค์ลงระเมียรพิภพโลก อันอยู่ในความหลับท่ามกลางแสงสลัวเลือนลางดังภาพฝัน พลางสูดสุคนธรสแห่งบุปผชาติอันจรุงฟุ้งขึ้น ไปแต่ไกลเนือง ๆ

อาร์เตมิสเป็นเทวีที่มีอุปนิสัยโหดมและดุร้าย น่าแปลกที่ชาวกรีกกลับให้ความเคารพนับถือเจ้าแม่เป็นอัน มาก ตำนานหลายฉบับกล่าวไว้ตรงกันว่านางมักลงโทษผู้ที่ทำให้ขุ่นเคืองอย่างรุนแรง มีผู้เตราะห์ร้ายหลายรายถูกเจ้าแม่ ลงโทษอย่างน่าสยดสยอง

ชายรายหนึ่งทำผิดเพียงเล็กน้อย ก็ถูกเทวีอาร์เตมิสลงทัณฑ์อย่างไม่เป็นธรรม เรื่องมีอยู่ว่า มานพหนุ่มผู้หนึ่งชื่อ ว่า อัดมีทัส (Admetus) ซึ่งมัวปลื้มใจที่ได้แต่งงานกับสาวงามจึงหลงลืมที่จะถวายเครื่องสักการะบูชาแด่องค์เทวี เท่านั้น เจ้าแม่ ก็โกรธกริ้วบันดาลให้ห้องหอของอัดมีทัสมีแต่งูพิษเต็มไปหมด

เนื่องด้วยเทวีอาร์เตมิสรังเกียจการวิวาห์ถือครองพรหมจารี นอกจากนางจะไม่รัก ไม่วิวาห์แล้ว เจ้าแม่เองยังบังคับให้ บริวารของตนไร้รักและไร้คู่ตามไปด้วย หากผู้ ใดฝ่าฝืนถูกพิษรักเข้าให้ ก็จะถูกเจ้าแม่อาร์เตมิสลงโทษอย่างทารุณ ดั่งเช่น นางคัลลิสโต นางสวยงามจนซูสเทพบดีแอบหลงรัก จึงใช้เล่ห์เพทุบายจำแลงองค์เป็นอาร์เตมิส เข้าไปคลอเคลียใกล้ ๆ พอเทวีอาร์เตมิสรู้เข้าก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่ไม่ยักโกรธเทพพระบิดาผู้ก่อเหตุกลับหันไปเล่นงานคัลิสโตผู้น่าสงสาร ด้วยการใช้ธนูยิงนางจนมอด ม้วยสิ้นใจไป

รูปสลักของเทวีอาร์เตมิสของชาวกรีกเป็นหญิงสาวอรชรแต่แข็งแกร่ง แต่งกายไม่เหมือนเทวีองค์อื่น ๆ โดยนุ่ง กระโปรงสั้นเหนือเข่า ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการล่า สัตว์นั่นเอง อาวุธที่โปรดปรานคือ ธนู มีหมีเป็นสัญลักษณ์ อุปนิสัยดี ๆ ในองค์ เทวีเท่าที่ค้นพบคือ ความรักในดนตรี และเล่นดนตรีต่าง ๆ ได้ไพเราะ เจ้าแม่ชอบการร้องเพลง และเต้นรำเหมือนน้องชาย คือเทพอพอลโล

เทพอีรอส

...ได้กล่าวมาแล้วว่าเทวีอโฟร์ไดที่ให้ประสูติบุตรธิดาดับเทพเอเรส 3 องค์ ธิดาคือ นางเฮอร์โมไอนีนั้น ได้อ�� ิเษกกับแคดมัสเจ้ากรุงธีบส์ ส่วนบุตรคือ คิวพิด กับแอนทีรอส คิวพิดนั้นคือกามเทพของโรมัน ชาวกรีกเรียกว่า อีรอส อีรอสหรือคิวพิดซึ่งเป็นบุตรของอโฟร์ไดที่กับเอเรสนี้ เป้นคนละองค์กับอีรอสหรือคิวพิดที่อุบัติขึ้นแต่ครั้งสร้างโลก และการกล่าวขวัญถึงดดยทั่ว ๆไป ก็มักจะหมายถึงอีรอสซึ่งเป็นบุตรของอโฟร์ไดที่กับเอเรสองค์นี้มีต้นโอ

เทพเอเรส

...เทพผู้เป็นเจ้าแห่งการสงครามคือ มาร์ส (Mars) หรือ เอเรส (Ares) ซึ่งเป็นชู้รักของเทวีอโฟรไดที่ เธอเป็นบุตรองค์หนึ่งของเทพปริณายก ซูส กับเจ้าแม่ ฮีรา และเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ทั้งปวงเว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มีนิสัยชอบการสงครามลีฟเป็นพฤกษาประจำตัว และนกฮูกเป็นนกคู่ใจ ...

ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณาสรรเสริญเกียรติคุณของเธอนานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่า เธอเป็นเทพที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจากความเมตตากรุณาเสียอีก

ในมหากาพย์อิเลียด ซึ่งเป็นบทกวี เกี่ยวกับการ สงคราม แท้ ๆ เธอเป็นที่เกลียดชังตลอดเรื่อง นักกวีโฮเมอร์ถึงแก่ประณามเธอว่า "ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด เป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง" เมื่อสรุปตามสายตาของกรีกดังกล่าว โดยสำนวนปัจจุบัน เราจะเห็นว่า เอเรสคือ เทพอันธพาลของกรีก

เอเรสเป็นโอรสขององค์เทพซูสกับฮีร่าเทวี และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซูส ตรัสใส่หน้าเลยว่า "เจ้าเป็นที่น่าชังที่ สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!" ซึ่งวาทะประโยคนี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของ เอเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง เอเรสยังบุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่ แตกต่างกับเจ้าแม่เอเธน่า มากซึ่งเป็นเทวีแห่งสงครามเหมือนกัน เอเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงได้รับการ ยกย่องทั่วทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้เอเรสเกิดจิตริษยาเอามาก เป็นดั่งว่า "ฟ้าให้เอเรสเกิดแล้วไฉนให้เอเธน่ามาเกิดอีกเล่า" เวลาพบกันทีไรจึงมักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ

มีครั้งสำคัญอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไปพบกันกลางทางและมีเรื่องทะเลาะกัน อย่างเคย เทพเอเรสเกิดบันดาลโทสะ จึงขว้างจักรอันเรืองฤทธิ์แรงกล้าพอ ๆ กับอสนีบาตขององค์ซูสเทพบิดา เข้า ใส่เอเธน่า เจ้าแม่เอี้ยวหลบแล้วทรงยกเอาหินที่วางอยู่แถว ๆ นั้นขึ้นทุ่มตอบกลับไป หินก้อนนั้นมิใช่หินธรรมดา แต่เป็นหินที่ตั้งไว้เพื่อ แสดงเขตแดนของนคร หินนั้นกระทบถูกเอเรสเข้าให้ถึงกับทรุดลงกองกับพื้น ก่อนที่เทวีเอเธน่าจะกลับไปเจ้าแม่ยังกล่าวเยาะ ให้เจ็บใจเล่นด้วยว่า "เจ้างั่ง! เพียงแค่นี้ เจ้าก็เดาได้แล้วใช่ไหมว่าเรี่ยวแรงของเรามากขนาดไหน อย่าแหยมมารบกวน เราอีกต่อไปเลย!"

เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเอเรสองค์นี้ คือในฐานะที่เป็นเทพแห่งสงคราม ตามปกติหากรบที่ไหนต้องมีชัยที่นั่น แต่ผิดถนัดสำหรับเทพองค์นี้ หากว่าเอเรส รบที่ไหนปราชัยที่นั่นมากกว่า จนน่าประหลาดใจ นอกจากจะพ่ายแพ้แก่เทวีเอเธน่าแล้ว ยังแพ้มนุษย์อีกด้วย อาทิเช่น วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส เคยสังหารโอรสของเอเรสมาแล้ว ครั้นผู้เป็นพ่อเข้าช่วยลูก ก็ถูกต่อยตีจนต้องหลบหนีขึ้นไปบนโอลิมปัสแทบไม่ทัน เมื่อนำเรื่องทูลฟ้องซูสเทพบดี ไท้เธอก็ตัดสินไกล่เกลี่ยให้เลิกรากันไป เนื่องจากแท้ที่จริง เฮอร์คิวลิสก็เป็นโอรสของไท้เธอเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีมารดาเป็นมนุษย์สามัญ

เทพเอเรสมักเสด็จไปไหน ๆ โดยรถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธของเธอส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ เดมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บริวารนี้บางตำนานกล่าวว่าเป็นโอรสของเทพเอเรส ในทาง ดาราศาสตร์เมื่อตั้งชื่อดาวอังคารว่า มาร์ส ตามชื่อเทพแห่งสงครามแล้ว ก็เลยตั้งชื่อดวงจันทร์บริวารทั้งสองของดาวอังคารว่า เดมอสกับโฟบอสตามตำนานไปด้วยเลยในด้านความรักของเอเรสนั้นเร่รักไปเรื่อยเช่นเดียวกับเทพบุตรอื่น ๆ ในโอลิมปัส ไม่ได้ยกย่องใครเป็นชายา แต่มีเรื่องรักสำคัญของเอเรสอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ได้แก่การลักลอบเป็นชู้กับเทวีแห่งความงามและความรักนาม อโฟรไดที่

เมื่อเอเรสเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ (ชาวกรีก) เช่นนั้นพฤติการณ์ของเธอตอนเป็นชู้กับเทวี อโฟรไดที่จึงเป็นที่ครหารุนแรงและมวลเทพก็คอยจ้องจับผิดก็เพราะความมืดของราตรีกาลเป็นใจ ตราบใดเธอ หลบไปได้ก่อนดวงอาทิตย์ของอพอลโลไขแสง หากยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา ตราบนั้นพฤติการณ์ของเธอ ก็ยังคง เป็นความลับ

เธอเกรงกลัวอยู่ก็แต่แสงสว่าง ซึ่งเปรียบประดุจนักสืบของเทพอพอลโลเท่านั้น ถ้านักสืบนั้นแฉ พฤติการณ์ของเธอให้ประจักษ์แก่เทพอพอลโลแล้ว เทพอพอลโลก็คงจะนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ถึงกรณี ที่เธอลักลอบกับเทวีอโฟรไดที่ เธอจึงวางยามไว้คนหนึ่งให้คอยปลุกเมื่อใกล้รุ่ง ผู้ทำหน้าที่นี้คือ หนุ่มน้อยชื่อว่า อเล็กไทรออน (Alectryon) ในคราวที่ความจะแตก อเล็กไทรออนหลับยามเพลินไปจนรุ่งเช้าเป็นเหตุให้อพอลโลเห็นเอเรสกับอโฟรไดที่นิทรา หลับอยู่ด้วยกัน อพอลโลจึงนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ฮีฟีสทัสสานร่างแหเหล็กเตรียมไว้ก่อนแล้ว พอได้ความดังนั้นก็หอบ ร่างแหไปทอดครอบเอเรสกับอโฟรไดที่ไว้ให้เทพทั้งปวงมาดูและหัวเราะเยาะอย่างครื้นเครง แล้วจึงปล่อยไป ฝ่ายเอเรสได้รับ ความอัปยศอดสูท่ามกลางธารกำนัลยิ่งนัก จึงสาปอเล็กไทรออนให้กลายเป็นไก่ ทำหน้า ที่คอยขันยามในเวลาใกล้รุ่งทุกคืน เป็นการลงโทษในการที่หลับยาม

ด้วยเหตุนี้ไก่ผู้ทุกตัวที่เกิดขึ้นในโลก จึงสืบสกุลมาจากไก่อเล็กไทรออนตัวแรกนั้นทั้งสิ้น

เทพแพน

...ในบรรดาวงศ์โอลิมเยนมีเทพอยู่องค์หนึ่งไม่เหมือนทวยเทพองค์อื่น โดยมีร่างกายกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์ แต่ก็ได้รับการยอมรับเป็นเทพองค์หนึ่งในสวรรค์ชั้นโอลิมปัส มีนามว่า เทพแพน

แพน (Pan) เป็นเทพในระดับหลานของซูส เทพบดี กล่าวคือ เธอเป็นโอรสของเทพ เฮอร์มีส กับนางพรายน้ำ อนงค์หนึ่ง แพนเป็นเทพแห่งทุ่งโล่งและดงทึบ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทพ แห่งธรรมชาติทั้งปวงก็ไม่ผิด เพราะคำว่า "แพน" ใน�� าษากรีกแปลว่า "All" หรือทั้งหลายทั้งปวงนั่น แล

เทพองค์นี้มีรูปร่างผิดแปลกกับเทพอื่น ๆ ที่มักสวยสง่างาม เทพแพนเป็นส่วนผสมระหว่างมนุษย์ กับสัตว์ กล่าวคือ ร่างกายหน้าตาเป็นมนุษย์ แต่ท่อนล่างลงไปเป็นแพะ บนศีรษะมีเขาเป็นแพะเช่นกัน และมีหนวดเครา

ได้มีตำนานกล่าวไว้น่าสนใจดียิ่ง กล่าวคือ แพนได้ ไปยลโฉมของ นางพรายน้ำตนหนึ่งเข้า นามว่า ไซรินซ์ (Syrinx) เกิดถูกชะตาต้องใจเป็นอันมาก จึงติดตาม ไปหมายของความรัก แต่นางพรายน้ำไม่ยินดีด้วย เนื่องจากหวั่นกลัวในรูปร่างของแพน เทพแห่งธรรมชาติ จึง วิ่งหนีเตลิดไป แพนก็ออกไล่ตาม จนมาถึงริมน้ำ ครั้นนางพรายน้ำเห็นท่าจวนเจียนหนีไม่พ้นแน่ จึงตะโกนขอ ความช่วยเหลือจากเทพแห่งท้องธาร คำขอร้องของ นางสัมฤทธิ์ผล เทพแห่งท้องธารสงสารนางจึงดลบันดาลให้นาง กลายเป็นต้นอ้อประดับอยู่ริมฝั่งน้ำนั่นเอง เมื่อเทพแพนมาถึง และได้รู้ความจริงก็เศร้าสร้อยมาก จึงเอาต้นอ้อนั้น มาตัดและมัดเข้าด้วยกันใช้เป็นเครื่องดนตรีเป่าอย่างไพเราะสืบมา

เทพฮาเดส



...ในตำนานกรีกโบราณเทพที่เทพผู้เป็นใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปเซดอน อีกองค์หนึ่งก็คือ ฮาเดส (หรือชาวโรมัน เรียกว่า พลูโต) แดนบาดาลหรือยมโลกและคนตายต่างก็อยู่ในความปกครองของเทพองค์นี้ทั้งหมด



คำว่า"พลูโต"นี้มีความหมายว่า เทพแห่งทรัพย์ เพราะถือกันว่า นอกจากยมโลกแลัว ท้าวเธอฮาเดสยังครองมวลธาตุล้ำค่าใต้พื้นพิ�� พอีกด้วย บางทีจึงมีชือว่า ดีส (Dis) แปล ตรงตัวว่า ทรัพย์ [ บางแห่งกล่าวว่า ฮาเดสครองยมโลกและคนตายเท่านั้น ส่วนเทพผู้ครองความตายนั้นมี อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า แธนาทอส (Thanatos)ใน�� าษากรีก หรือ ออร์คัส (Orcus) ใน�� าษาลาตินเป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hpnos) เทพประจำ ความหลับ ]



เนื่องด้วยอุปนิสัยของเทพฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ออกจะเย็นชาแข็งกร้าว ปราศจากความเวทนาสงสารให้แก่ผู้ใด แต่เต็มไปด้วยความยุติธรรมทุกขณะ เช่นนี้ จึง เป็นเหตุให้ ท้าวเธอยากจะหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ปรโลกคู่กันได้เลย ดังนั้น เมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นพิ�� พในวันหนึ่ง และประสบพบพานโฉมงามนาม เพอร์เซโฟนี (Persephone) ธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ เข้าให้ ฮาเดสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า อนงค์นางนี้ที่แท้จริงคือหลานในไส้ของตน เพราะว่า ดีมิเตอร์เทวีเป็นน้องนางของพระองค์นั่นเอง จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงไม่รอช้า ฉุดคร่าเอาตัวเพอร์เซโฟนีลงไปสู่ดินแดนใต้พิ�� พ เพื่อครองคู่เป็นราชินีปรโลกด้วยความมิเต็ม ใจของนาง



ครั้งหนึ่งได้แก่ ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน ด้วยเหตุที่พระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบหน้าฮาเดสเท่าใดนัก แต่เมื่อท้าวเธอทำท่าจะนอกใจ ธิดาของตนเข้าให้ เจ้าแม่ก็พิโรธโกรธเกรี้ยวจนกระทั่งไล่กระทืบมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสารตายคาบาทของเจ้าแม่ จ้าว แดนบาดาลเวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็นพืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็น พืชประจำพระองค์ตลอดมา



ผู้คนในสมัยโบราณจะถวายสักการะแด่เทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้กลายเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่จะบูชา ยัญแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่น ๆ ด้วยแพะหรือแกะสีดำเช่นเดียวกัน



ฮาเดส เป็นพี่ชายของมหาเทพซีอุส และเป็นจักรพรรดิแห่งบาดาล หรือยมโลก ดังนั้นฮาเดสจึงมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่าเทพโลกันตร์ พระยม หรือเทพแห่งความตาย ยมโลกหรืออาณาจักรของฮาเดส เป็นดินแดนเร้นลับ �� ายใต้พื้นพิ�� พที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ส่องไม่ถึงอาณาจักรแห่งนี้จึงมืดมิด และทนทางที่จะลงไปก็ลำบากเอาการเพราะต้องเดินทางไปถึงสุดขอบพิ�� พโดยข้ามมหาสมุทรไป(คนกรีกโบราณเชื่อว่าโลกแบน และรายล้อมด้วยมหาสมุทร)



จากความเชื่อนี้เอง จึงเกิดธรรมเนียมเอาเงินใส่ปากคนตายก่อนฝัง นอกจากแม่น้ำสองสาย ยังมีแม่น้ำอีก 3 สาย คือ 1. แม่น้ำสติกซ์ (Styx) แปลว่าแม่น้ำแห่งควาเกลียด เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 2. แม่น้ำลีธี หรือ เลเธ แปลว่าแม่น้ำแห่งความลืม เมื่อดวงวิญญาณคนตายได้ดิ่มน้ำแล้วจะลืมความหลัง 3. แม่น้ำเฟลจีธอน หรือ เฟลเกทธอน แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำไฟ มีเปลวไฟลุกไหม้โชติช่วงอยู่บนผิวน้ำ และอยู่ล้อมรอบนรกขุมลึกสุด คือ ทาร์ทะรัส



........ท่านฮาเดสปกครองยมโลกอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย โดยมีเพียงผู้ช่วยกิจการงาน คราวหนึ่ง มหาเทพจูปิเตอร์ จองจำยักษ์สี่ตนไว้ในถ้ำบนยอดเขาเอตน่า แต่บางตำราว่า ยักษ์ที่ถูกจองจำมีเพียงตนเดียว

 

ซีอุส เทพเจ้าแห่งขุนเขาโอลิมปุส



หลายพันปีมาแล้ว ชนชาวกรีกและโรมัน เชื่อกันว่า เทพเจ้าทั้งหลายนั้นทรงประทับอยู่บน ยอดขุนเขา โอลิมปุส (OLYMPUS) ในประเทศกรีซ โดยมีเทพผู้เป็นประมุขนามว่า ซูส (ZEUS) หรือโรมันเรียกว่า จูปิเตอร์ (JUPITER) รูปเคารพของซูส มักมีสายฟ้าหรือ อสุนีบาตเป็นศาสตราวุธ เพราะพระองค์ทรงเป็นเทพแห่งสายฝนและฟ้าผ่า เฮสิออด กวีเอกคนหนึ่งของกรีกเขียนไว้ว่า ซูสเป็นบุตรองค์ที่สามของเทพ โครนุส (CRONUS) แต่ตามตำนานของมหากวี โฮเมอร์ ระบุว่าซูสเป็นบุตรองค์โต ส่วนบุตรองค์รองลงมาได้แก่ โปไซดอน (POSEIDON) เทพแห่งมหาสมุทร และ เฮเดส (HADES) เทพแห่งยมโลก โดยซูสนั้นปกครองสวรรค์ทั้งปวงด้วย

ที่ประทับสำคัญ ซึ่งชาวกรีกสร้างถวายซูสนั้นยังมีซากเหลืออยู่ให้เห็นคือวิหารโอลิมเปีย ใกล้ๆ เขาโอลิมปุสที่เมืองอิลิส เป็นที่ซึ่งใช้แข่งกีฬาโอลิมปิกโบราณทุกๆ 4 ปี

เมื่อกล่าวถึงซูสแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงคู่ของพระองค์ คือเทพีเฮรา (HERA) หรือ จูโน (JUNO) ของโรมัน นับเป็นเทพีหมายเลขหนึ่งของสรวงสวรรค์ พระนางเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ และ “ดุ” จนเป็นที่ยำเกรงแก่เทพและมนุษย์ทั้งปวง ที่น่าแปลก คือเทพีมเหสีของพระอิศวร จอมเทพ คือ “พระแม่อุมา” ก็เป็นเทพีที่ “ดุร้าย” ยามอยู่ในปาง “เจ้าแม่ทุรคา” เช่นกัน(คล้ายกับซูส) ว่ากันว่าที่ซูสทรงอภิเษกกับเฮรานั้นก็เพื่อสวัสดิภาพของพระองค์เอง และเพื่อให้มีบารมี เพิ่มขึ้นด้วย

เฮราจัดเป็น “แม่พระธรณี” ของโลก อีกทั้งยังพิทักษ์สตรีที่ตั้งครรภ์ให้คลอดบุตร ได้อย่างปลอดภัย

วีนัส เทพแห่งความงาม



... เทวีองค์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุดได้แก่เทวีอโฟรไดที่ (Aphrodite)หรือ วีนัส (Venus)ซึ่งเป็นเจ้าแม่ครองความรักและความงามสามารถ
สะกดเทพและมนุษย์ทั้งปวงให้ลุ่มหลงทั้งอาจจะลบสติปัญญาของผู้ฉลาดให้ตกอยู่ในความโฉดเขลาไปได้ และเจ้าแม่จะคอยหัวเราะเยาะบรรดาผู้ที่ตก
อยู่ในอำนาจแห่งความเย้ายวนของเจ้าแม่ร่ำไป

หากจะสืบสาวต้นกำเนิดของอโฟร์ไดที่อาจต้องสืบสาวไปไกลกว่าตำนานของกรีกเสียอีก เนื่องจากเจ้าแม่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนซีกโลกตะวันออก
ว่ากันว่าเจ้าแม่เป็นเทวีองค์แรกเริ่มของชน ชาติฟีนีเซีย ที่มาตั้งอาณานิคม มากมาย ในดินแดนตะวันออกแถบตะวันออกกลาง ทราบกันมาว่าเจ้าแม่
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทวีของชาวอัสสิเรีย กับบาบิโลเนีย ที่มีนามว่า อีชตาร์ และก็ยังเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับเทวีของชาวไซโรฟีนิเซี่ยน ผู้มีนามว่า
แอสตาร์เต (Astarte)จึงนับได้ว่าเป็น เทวีที่มีความสำคัญมากมาแต่ดึกดำบรรพ์

ตามมหากาพย์อิเลียดของโฮเมอร์เทวีอโฟรไดที่เป็นเทพธิดาของซูส เกิดกับนางอัปสรไดโอนี (Dione)แต่บทกวีนิพนธ์ชั้นหลัง ๆ กล่าวว่า เจ้าแม่ ผุดขึ้นจากฟอง ทะเล เนื่องจากคำว่า Aphros อันเป็นที่มาของชื่อเจ้าแม่ใน �� าษากรีกแปลว่า " ฟอง " แหล่งกำเนิดของเจ้าแม่อยู่ในทะเลแถว ๆ เกาะ ไซเธอรา ( Cythera ) จากนั้น เจ้าแม่ถูก คลื่นซัดไปจนถึงเกาะ ไซพรัส ( Cyprus ) อาศัยเหตุนี้ เกาะทั้งสองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับเจ้าแม่ และบางทีเจ้าแม่ก็มีชื่อเรียกตามชื่อเกาะทั้งสอง นี้ว่า ไซเธอเรีย (Cytherea) และ ไซเพรียน (Cyprian)

ตามเรื่องที่เล่ากันแพร่หลายกล่าวว่า เมื่อเทวีอโฟรไดทีถูกคลื่นซัดไปติด ณ เกาะไซพรัสนั้นฤดูเทวีผู้รักษาทวารแห่งเขาโอลิมปัสลงมารับพาเจ้าแม่ขึ้นไปยัง เทพส�� า เทพทุกคนในที่นั้นต่างตะลึงใน ความงามของเจ้าแม่ และต่างองค์ต่างก็อยากได้เจ้าแม่เป็นคู่ครอง แม้แต่ซูสเองก็อยากจะได้ แต่เจ้าแม่ไม่ยินดีด้วย ไท้เธอจึงโปรดประทานเจ้าแม่ให้แก่ ฮีฟีสทัส (Hephaestus)เทพรูปทรามผู้มีบาทอัน แปเป๋เป็นบำเหน็จรางวัลทดแทนความชอบ ในการที่ฮีฟีสทัส ประกอบอสนียบาตถวายและเป็นการลงโทษ เจ้าแม่ในเหตุที่ไม่ไยดีซูสไปในตัวด้วย

แต่เทพองค์แรกที่เจ้าแม่พิศวาสและร่วมอ�� ิรมย์ด้วยคือ เอรีส (Ares)หรือ มาร์ส (Mars)ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม เทพบุตรของซูสเทพบดี เกิดกับ เจ้าแม่ ฮีรา ได้เป็นชู้สู่หากับเทวีอโฟรไดที่จนให้ประสูติบุตรสอง ธิดาหนึ่งรวมเป็นสาม มีนามตามลำดับว่า อีรอส (Eros)หรือ คิวพิด (Cupid)แอนติรอส (Anteros)เฮอร์ไมโอนี (Hermione)หรือ ฮาร์โมเนีย (Harmonia)นางเฮอร์ไมโอนีนั้นได้วิวาห์กับ แคดมัส (Cadmus)ผู้สร้างเมืองธีบส์ซึ่งเป็นพี่ ของนาง ยุโรปา ผู้ถูกซูสลักพาไปเป็นคู่ร่วมอ�� ิรมย์ ดังเล่ามาแล้วแต่ต้น

ว่ากันว่าแรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะกลายเป็นเทวีแห่งความงามและความรักนั้นอโฟร์ไดที่เป็นเทวีแห่งความสมบูรณ์ มาก่อน เมืองที่นับถือเจ้าแม่มากที่สุดได้แก่ เมืองปาฟอสในไซปรัสและเมืองไซธีราในเกาะครีต นอกจากนั้นวิหารที่เล่าลือ ว่าโอ่อ่าที่สุดของซีกโลกทางด้านตะวันออกได้แก่ วิหารที่เมืองคนิดุส ในรัฐแคเรีย ( Caria )เมื่อเดินทางมาถึงกรีกก็มีผู้ศรัทธาเชื่อถือสร้างวิหารใหญ่ให้หลายแห่งรวมทั้งกรุงเอเธนส์ซึ่งมีเทวีเอเธน่าเป็นเทพอุปถัม�� ์อยู่บนเนินอโครโปลิส

อนึ่งชาวยุโรปทั่วไปเขาเชื่อกันมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษด้วยว่า ในคราวที่บ้านหนึ่งบ้านใดกำลังจะมีเด็ก เจ้าแม่อโฟรไดที่จะให้นกกระสามาบินวนเวียน เหนือบ้านนั้น คตินี้กินความไปถึงว่า ถ้านกกระสาบินวนเหนือบ้านที่กำลังจะมีเด็กเกิด เด็กนั้นจะคลอดออกจากครร�� ์โดยง่ายและอยู่รอดด้วย แต่คตินี้ในที่สุดก็ เป็นเพียงข้อ อ้างที่พ่อแม่จะใช้ตอบลูกตอนโต ๆ เมื่อถูกถามว่าน้องเล็กเกิดมาแต่ไหน หรือตัวเกิดจากอะไรเท่านั้น

เทวีอโฟร์ไดที่มีต้นเมอร์เทิลเป็นพฤกษาประจำองค์ สัตว์เลี้ยงของเจ้าแม่เป็นนก บ้างว่าเป็นนกเขา นกกระจอกบ้าง หงส์บ้าง ตามแต่กวีคนไหนจะชอบใจยกให้เป็น สัญลักษณ์ของเทวีแห่งความงามและความรัก

 

ดิมิเทอร์

... ซูส เทพปริณายก มีเทวีภคินี 3 องค์ ในจำนวนนี้ 2องค์เป็นคู่พิศวาสของซูสด้วย องค์หนึ่งคือเจ้าแม่ฮีรา ที่เราได้รู้จักกันมาแล้ว อีกองค์ทรงนามว่า ดีมิเตอร์(Demeter)ตามชื่อกรีกหรือภาษาโรมันว่า ซีริส (Ceres)เป็นเทวีครองข้าวโพด ซึ่งหมายถึงการเกษตรกรรมนั่นเอง

เจ้าแม่ดีมิเตอร์มีธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่าพรอสเสอะพิน (Proserpine)หรือ เพอร์เซโฟนี (Persephone)เป็นเทวีครองฤดูผลิตผลของพืชทั้งปวง เพื่ออธิบาย ธรรมชาติของการผลัดฤดู กวีกรีกโบราณจึงผูกเรื่องให้เทวีองค์นี้ถูกฮาเดสลักพาตัวไปเป็นคู่ครองในยมโลก ดังมีเรื่องพิสดารดังนี้

ฮาเดส ขับรถเร่งไปจนถึงแม่น้ำไซเอนี (Cyane)ซึ่งขวางหน้าอยู่เห็นน้ำในแม่น้ำเกิดป่วนพล่านแผ่ ขยายท่วมท้นตลิ่งสกัดกั้นเธอเอาไว้ จึงชักรถไปทางอื่น ใช้มือถือคู่หัตถ์มีง่าม 2แฉก กระแทกกระทุ้งแผ่นดินให้แยกออกเป็นช่อง แล้วขับรถลงไปยังบาดาล ในขณะเดียวกันนั้น เพอร์เซโฟนีแก้สายรัดองค์ขว้างลง ในแม่น้ำ ไซเอนี พลาง ร้องบอกนางอัปสรประจำแม่น้ำให้เอาไปถวายเจ้าแม่ดีมิเตอร์ ผู้มารดาด้วย

ฝ่ายดีมิเตอร์แม่โพสพกลับมาจากทุ่งข้าวโพด ไม่เห็นธิดาเที่ยวเพรียกหาก็ไม่พานพบวี่แววอันใด เว้นแต่ ดอกไม้ตกเรี่ยราดกลาดเกลื่อนอยู่ เจ้าแม่เที่ยวหา กระเซอะกระเซิงไปตามที่ต่าง ๆ พลางกู่เรียกไปจนเวลาเย็นให้อาดูร โทมนัสนัก ล่วงเข้าราตรีกาลเจ้าแม่ก็ไม่หยุดพักการเสาะหาธิดาจนถึงรุ่งอรุรของวันใหม่ แม้กระนั้นเจ้าแม่ก็ไม่ลดละความพยายาม คงดั้นด้นเรียกหาธิดาไปตามทางอีก มิได้ห่วงถึงภาระหน้าที่ประจำที่เคยปฏิบัติแต่อย่างใด ดอกไม้ทั้งปวง จึง เ่ยวเฉาเพราะขาดฝนชะโลมเลี้ยง ติณชาติตายเกลี้ยงไม่เหลือเลย พืชพันธุ์ธัญญาหารถูกแดดแผดเผาซบเซาหมด ในที่สุดเจ้าแม่ก็สิ้นหวังระทดระทวย หย่อนองค์ลงนั่งพักที่ริมทางใกล้นครอีลูสิส ความระทมประดังขึ้นมาสุดที่จะหักห้าม เจ้าแม่ก็ซบพักตร์กันแสงไห้ตามลำพัง

ในระหว่างที่ยังไม่พบธิดานี้ มีเรื่องแทรกเกี่ยวกับเจ้าแม่ดีมิเตอร์เกิดขึ้นเรื่องหนึ่ง สมควรจะเล่าไว้เสียด้วย

เพื่อ มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดรู้จัก เจ้าแม่ดีมิเตอร์ได้จำแลงองค์เป็นยายแก่ ในขณะที่เจ้าแม่นั่งพักพวกธิดาของเจ้านคร อีลูสิสรู้ว่ายายแก่มานั่งคร่ำครวญคิดถึงลูก บังเกิดความสังเวชสงสาร และเพื่อที่จะให้ยายหายโศกเสร้า นางเหล่านั้นจึงชวน ยายแก่เข้าไปในวังให้ดูแลกุมารทริปโทลีมัส (Triptolemus)ผู้น้อง ซึ่งยังเป็นทารกแบเบาะอยู่

เจ้าแม่ดีมิเตอร์ยอมรับภาระนี้ พอลูบคลำโอบอุ้มทารก ทารกก็เปล่งปลั่งมีนวลขึ้นเป็นที่อัศจรรย์แก่เจ้านครและบริษัทบริวารยิ่งนัก ตกกลางคืนขณะที่เจ้าแม่อยู่ตาม ลำพังกับทารก เจ้าแม่คิดใคร่จะให้ทารกได้ทิพยภาพเป็นอมรรตัยบุคคล จึงเอาน้ำเกสรดอกไม้ชะโลมทารกพลางท่องบทสังวัธยายมนต์ แล้ววางทารกลงบนถ่าน ไฟอันเร่าร้อน เพื่อให้ไฟลามเลียเผา ผลาญธาตุมฤตยู ที่ยังเหลืออยู่ในกายทารกให้หมดสิ้น

ฝ่ายนางพญาของเจ้านคร ยังไม่วางใจยายแก่นัก ค่อยย่องเข้าไปในห้องเพื่อคอยดู ประจวบกับตอนเจ้าแม่ดีมิเตอร์กำลังทำพิธีชุบทารกอยู่พอดี นางตกใจนัก หวีดร้องเสียงหลงพลางถลันเข้าฉวยบุตรออกจากไฟ ครั้นเห็นบุตรสุดสวาทไม่เป็นอันตรายแล้ว จึงหันกลับมาจะไล่เบี้ยเอากับยายแก่เสียให้สาสมกับความ โกรธแค้น แต่แทนที่จะเห็นยายแก่ กลับเห็นรูปเทวีประกอบด้วยรัศมีเรืองรองอยู่ตรงหน้า เจ้าแม่ตรัสพ้อนางพญาโดยสุภาพ ในการที่เข้าไปขัดขวางการพิธีเสีย ทำให้ มนต์เสื่อมและชุบทารกอีกไม่ได้แล้วเจ้าแม่ดีมิเตอร์ก็ออกจากเมืองอีลูสิสเที่ยวหาธิดาต่อไป

เมื่อได้รู้ถึงที่อยู่ของธิดาดังนี้แล้วเจ้าแม่ดีมิเตอร์จึงรีบไปอ้อนวอนเทพปริณายกให้ช่วย ซูสสอนุโลมตามคำวอนขอ โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าเพอร์เซโฟนีไม่ได้เสพเสวย สิ่งใดในระหว่างที่อยู่บาดาล จะให้ฮาเดสส่งเพอร์เซโฟนีขึ้นมาอยู่กับมารดา แล้วมีเทวบัญชาให้ เฮอร์มีสลงไปสื่อสารแก่ฮาเดสในยมโลก เจ้าแดนบาดาลจำต้องยอม โอนอ่อนจะส่งเพอร์เซโฟนีคืนสู่เจ้าแม่ดีมิเตอร์ แต่ในขณะนั้นภูตครองความมืดเรียกว่าแอสกัลละฟัส (Ascalaphus)ร้องประกาศขึ้นว่า ราชินีแห่ง ยมโลกได้เสวยเมล็ดทับทิมแล้ว 6เมล็ด ในที่สุดจึงตกลงกันเป็นยุติว่า ในปีหนึ่ง ๆ ให้เพอร์เซโฟนีเทวีอยู่กับฮาเดสใน ยมโลก 6 เดือน สำหรับเมล็ดทับทิมที่เสวย เมล็ดละเดือนแล้วให้กลับขึ้นมาอยู่กับมารดาบนพิภพอีก 6 เดือนสลับกันอยู่ทุกปี ไปด้วยเหตุนี้เมื่อเพอร์เซโฟนีเทวีอยู่กับมารดา โลกจึงอยู่ในระยะกาลของวสันตฤดู พืชพันธุ์ธัญญาหารนานาชนิดผลิดอก ออกผล และเมื่อเพอร์เซโฟนีเทวีลงไปอยู่ในบาดาล โลกก็ตกอยู่ในระยะกาลของเหมันตฤดู พืชผลทั้งปวงร่วงหล่นซบเซา อันเป็น ความเชื่อของชาวกรีกและโรมันโบราณ ตามเรื่องที่เล่ามาฉะนี้

ยังมีเรื่องที่ต้องเล่าต่ออีกเล็กน้อย คือเมื่อเจ้าแม่ดีมิเตอร์พบธิดาแล้ว ก็กลับไปยังเมืองอีลูสิสอีก เพราะว่าเจ้า ครองนครกับนางพญาปลูกวิหารถวายเจ้าแม่ไว้ที่นั่น เพื่อให้มนุษย์ รู้จักการทำไร่ ไถนา เจ้าแม่ได้สั่งสอนทริปโทลีมัส ซึ่ง เติบโตเจริญวัยเป็นผู้ใหญ่แล้ว ให้รู้จักใช้ไถ จอบ และเคียว สั่งสอนชาวนาสืบ ๆ กันมาจนตราบเท่าบัดนี้

เทพี ฮีรา หรือ เฮรา



เฮร่า (Hera)หรือ�� าษาโรมันว่า จูโน (Juno)เป็นราชินีของเทพธิดาทั้งหลาย เพราะเป็นชายาของซูส ฮีร่าเป็นธิดาองค์ใหญ่ของเทพ ไทแทนโครนัสกับเทพมารดารีอา ต่อมาในตอนหลังได้อ�� ิเษกสมรสกับ ซูสเทพบดีอนุชาของนาง ทำให้นางกลายเป็นราชินีสูงทัสุดในสวรรค์ชั้นโอลิมปัสที่ไม่ว่าผู้ใดก็คร้ามเกรง เทวีฮีร่าไม่ ชอบนิสัยเจ้าชู้ของซูส ด้วยเหตุที่ซูสเป็นคนเจ้าชู้ ทำให้ฮีร่ากลายเป็นคนขี้หึงและคอยลงโทษหรือพยาบาทคนที่มา เป็น�� รรยาน้อยของซูสอยู่เสมอ

เมื่อแรกที่ซูสขอแต่งงานด้วยฮีร่าปฏิเสธ และปฏิเสธเรื่อยมาจนถึง 300 ปี วันหนึ่งซูสคิดทำอุบายปลอมตัว เป็นนกกาเหว่าเปียกพายุฝนไปเกาะที่หน้าต่าง ฮีร่าสงสารก็เลยจับนกมาลูบขนพร้อมกับพูดว่า " ฉันรักเธอ " ทันใด นั้นซูสก็กลายร่างกลับคืนและบอกว่า ฮีร่าต้องแต่งงานกับพระองค์
แต่ทว่าชีวิตการครองคู่ของเทวีฮีร่ากับเทพปริณายกซูสไม่ค่อยราบรื่นเท่าใดนัก มักจะทะเละเบาะแว้งเป็น งกันตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่า ในเวลาที่เกิดฟ้าคะนองดุเดือดขึ้นเมื่อไร นั่นคือ สัญญาณว่าซูสกับฮีร่าต้องทะเลาะกันเป็นแน่ เพราะ 2 เทพนี้เป็นสัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์ เมื่อท้องฟ้าเกิดอาเพศก็ เหมาเอาว่า เป็นเพราะการขัดแย้งรุนแรงของ 2 เทพคู่นี้

แม้ว่าเทวีฮีร่ามีศักดิ์ศรีเป็นถึงราชินีแห่งสวรรค์หรือเทพมารดาแทนรีอา แต่ความประพฤติและอุปนิสัยของเจ้าแม่ไม่อ่อนหวานมี เมตตาสมกับเป็นเทพมารดาเลย โดยประวัติของเจ้าแม่นั้นมีทั้งโหดร้าย ไร้เหตุผล เจ้าคิดเจ้าแค้นและอาฆาตพยาบาทจนถึงที่สุด ผู้ใดก็ตามที่ ถูกเทวีฮีร่าอาฆาตไว้มักมีจุดจบที่ไม่สวยงามนัก ว่ากันว่าชาวกรุงทรอยทั้งเมืองล่มจมลงไปเพราะเพลิงอาฆาตแค้นของเจ้าแม่ฮีร่านี้เอง สาเหตุ เกิดจาก เจ้าชายปารีสแห่งทรอยไม่เลือกให้เจ้าแม่ชนะเลิศในการตัดสินความงาม ระหว่าง 3 เทวีแห่งสวรรค์ คือเทวีฮีร่า เทวีเอเธน่า และเทวี อโฟรไดที่

รูปเขียนรูปสลักของชาวกรีกโบราณมักทำรูปของเจ้าแม่ฮีร่า เป็นเทวีวัยสาวที่สวยสง่า ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้น ว่ากันว่ามีคน หลงใหลความงามของเจ้าแม่จนคลั่งไคล้หลายคน โดยเฉพาะ อิกซิออน (Ixion) ราชาแห่ง ลาปิธี (Lapithae) ต่อมาถูกซูสเทพบดี ลงโทษอย่างรุนแรง และบางทีอาจเป็นเพราะทรนงตนว่ามีสิริโฉมงดงามก็ได้ที่มำให้เทวีฮีร่าเป็นเดือดเป็นแค้นนักที่สวามีปันใจให้สตรีอื่น จึง ต้องราวีอย่างถึงที่สุดเสมอ ความร้ายกาจของเจ้าแม่เคยถึงขนาดคิดปฏิวัติโค่นอำนาจของสวามีจนเกือบสัมฤทธิ์ผล

เรื่องมีอยู่ว่า เจ้าแม่โกรธแค้นความไม่ซื่อสัตย์ของสวามีขึ้นมาอย่างเต็มกลืน จึงร่วมมือกับเทพ โปเซดอน จ้าวสมุทร เชษฐาของซูสเอง และเทพอพอลโลกับเทวี เอเธน่า ด้วย ช่วยกันกลุ้มรุมจับองค์เทพซูสมัดพันธการไว้แน่นหนา จนเป็นเหตุให้เทพปริณายกซูสจวนเจียนจะ สูญเสียอำนาจอยู่รำไร ก็พอดีชายาอีกองค์ของซูสนามว่า มีทิส (แปลว่า�� ูมิปัญญา ) ได้นำผู้ช่วยเหลือมากู้สถานการณ์ทันเวลา โดยไปพา อาอีกีออน (Aegaeon) ซึ่งเป็นอสูรร้อยแขนที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงมาช่วยเหลือเทพบดีซูส อสูรตนนี้มีฤทธิ์อำนาจมากเสียจนเทพเทวา น้อยใหญ่ต้องยอมศิโรราบไปตาม ๆ กัน เมื่ออาอีกีออนมาแก้ไขให้ซูส และนั่งเฝ้าอยู่ข้างบัลลังก์ของไท้เธอ บรรดาผู้คิดกบฎปฎิวัติก็หน้าม่อย ชวนกันหนีหน้าไปหมด แผนการณ์จึงล้มครืนด้วยประการฉะนี้

องค์เทพซูสเองก็เคยร้ายกาจกับราชินีเทวีฮีร่าเหมือนกัน ทรงลงโทษลงทัณฑ์แก่เจ้าแม่อย่างไม่ไว้หน้าอยู่บ่อย ๆ นอก จากทุบตีอย่างรุนแรงแล้ว ไท้เธอยังใส่โซ่ตรวนที่บาทของเจ้าแม่ กับผูกข้อหัตถ์และพาหาติดกันมัดโยงโตงเตงอยู่บนท้องฟ้า จนเป็น เหตุให้เกิดตำนานเกี่ยวกับเทพ ฮีฟีสทัส ขึ้นมาว่า จากการวิวาทครั้งนี้ เทพฮีฟีสทัสผู้เป็นโอรสเข้าขัดขวางมิให้พระบิดากระทำ รุนแรงแก่พระมารดา จึงซูสเทพบดีที่กำลังโกรธกริ้ว จับตัวฮีฟีสทัสขว้างลงมาจากสวรรค์ กลายเป็นเทพพิการไปเลย

เทวีฮีร่านอกจากขี้หึงแล้ว ยังช่างริษยามากอีกด้วย ครั้งหนึ่งเมื่อซูสทรงมีราชธิดานามว่า เอเธน่า ออกมาได้โดยไม่ต้องพึ่ง ใคร ซึ่งกระโดดออกจากเศียรของไท้เธอเอง เจ้าแม่ฮีร่าก็ริษยายิ่งนัก ตรัสว่าเมื่อสวามีทรงมีกุมารีด้วยองค์เองได้ นางเองก็มีได้ เช่นกัน ทว่าบุตรที่เกิดจากตัวเจ้าแม่เองนั้นกลับมิได้สะสวย เรืองฤทธิ์เช่นเอเธน่า แต่เป็นอสูรร้ายน่าเกลียดน่ากลัวยิ่ง ( แต่บาง ตำนานกล่าวว่าบุตรที่จากเทวีฮีร่าก็คือ ฮีฟีทัสนั่นเอง ) คืออสูร้าย ไทฟีอัส (Typheus) ซึ่งผู้ใดเห็นก็หวาดกลัว เลยทำให้เทพ ปริณายกซูสกริ้วใหญ่ และการวิวาทบาดหมางก็เกิดขึ้นอีก

เจ้าแม่ฮีร่ามีโอรสธิดากับเทพบดีซูส 4 องค์ นามว่า ฮ๊บี้ (Hebe) อิลลิธธียา (Ilithyia) เอเรส (Ares) และ ฮีฟีสทัส (Hephaestus)เทพ 2 องค์หลัง นี้เป็นที่รู้จักกันดี เพราะ เทพเอเรส คือ เทพแห่งสงคราม ส่วนเทพฮีฟีสทัสคือเทพถลุงเหล็กหรือเทพแห่งงานช่าง

แม้ว่าชีวิตสมรสของเจ้าแม่ฮีร่าจะไม่ราบรื่นนัก แต่ในฐานะที่เป็นราชินีหรือเป็นมารดาแห่งสวรรค์ ฮีร่าเป็นเทพที่ คุ้มครองการแต่งงาน มีหลายครั้งที่เธอคอยดลใจให้วีรบุรุษได้แสดงความกล้าหาญ จึงทำให้เป็นที่เคารพนับถือในเขตโอลิมปัส เทวาลัยที่เป็นที่บูชาขนาดใหญ่ที่สุดของเทวีฮีร่าอยู่ที่เมืองอาร์กอสเรียกว่า เดอะ ฮีร่าอีอุม (Heraeum)

สัญลักษณ์ของฮีร่าคือ วัว นกยูง และสิงโต พฤกษาประจำตัวของเจ้าแม่คือ ผลทับทิม และนกแขกเต้า

เทพ ฮีพีสทัส ( Hephaestus )



วัลแคน เป็นเทพโอลิมเปียนครองการช่างโลหะ เรียกตามชื่อกรีกว่า ฮีฟีสทัส (Hephaestus) มีประวัติกำเนิดเล่าแตกต่างกันเป็น 2 นัย

นัยหนึ่งว่าเป็นเทพบุตรของเจ้าแม่ฮีรากับเทพปรินายกซูสโดยตรง แต่อีกนัยหนึ่งว่าฮีฟีสทัสถือกำเนิดแต่เจ้าแม่ฮีรา ทำนองเทวีเอเธน่าเกิดกับซูสฉะนั้น คือผุดขึ้นจากเศียรของเจ้าแม่โดยลำพังตนเอง ทั้งนี้เนื่องด้วยเจตจำนงของเจ้าแม่ฮีราที่ ต้องการจะแก้ลำซูสในการกำเนิดของเทวีเอเธน่าให้เทพทั้งปวงเห็นว่าเมื่อซูสทำให้เทวีเอเธน่าเกิดเองได้ เจ้าแม่ก็สามารถทำให้ ฮีฟีสทัสเกิดเองได้เช่นกัน แต่ถึงกำเนิดของเทพฮีฟีสทัสจะเป็นประการใด ก็ต้องนับว่าฮีฟีสทัสเป็นเทพบุตรของ ซุส ด้วยเช่นกัน หากมีข้อควรกล่าวก็ คือว่า ฮีฟีสทัส " ติดแม่ " มากกว่า " ติดพ่อ " และเข้ากับ " แม่ " ทุกคราวที่ " พ่อแม่ทะเลาะกัน " ตามประสา " ผัวเจ้าชู้ " กับ " เมียขี้หึง " ทั่วไป ในคราวหนึ่งซูสประสงค์จะลงโทษเจ้าแม่ ฮีรา ให้เข็ดหลาบ เอาโซ่ทองล่ามเจ้าแม่แขวนไว้กับกิ่งฟ้าห้อยโตงเตง อยู่ ดังนั้น ฮีฟีสทัส ก็เข้าช่วย เจ้าแม่ พยายามแก้ไขโซ่จะให้เจ้าแม่เป็นอิสระ ซูส บันดาลโทสะ จึงจับ ฮีฟีสทัส ขว้างลงมาจากสวรรคโลก

ฮีฟีสทัสตกจากสวรรค์เป็นเวลาถึง 9 วันจึงลงมาถึงมนุษย์โลก ณ เกาะเลมนอสในทะเลเอจีน และเนื่องในการตกครั้งนี้ เธอจึงมีบาทแปเป๋ไปข้างหนึ่งตั้งแต่นั้น มา แต่ทั้งที่เธอต้องพิการเช่นนั้นด้วยหมายจะช่วยมารดา

เจ้าแม่ฮีราผู้เป็นมารดาก็หาแยแสเหลียวแลเธอไม่ ฮีฟีสทัสเทพบุตรบังเกิดความโทมนัสซ้ำเติมอย่างแสนสาหัสใน ความเฉยเมยของเจ้าแม่ ถึงแก่ตั้งปณิธานว่าจะไม่กลับขึ้นไปบนเขาโอลิมปัสอีก เธอจึงสร้างวังประทับอยู่ในเกาะเลมนอสและตั้งโรงหล่อเพลิดเพลินในการช่างฝีมือประกอบ โลหะนานาชนิด โดยมีพวกยักษ์ไซคลอปส์เป็นลูกมือ และเพื่อจะแก้ลำความเมินเฉยของมารดา เธอจึงสร้างบัลลังก์ทองคำเปล่งสะพรั่งพร้อมด้วยลวดลายสลักเสลาอย่างหาที่ เปรียบมิได้ขึ้นตัวหนึ่ง เป็นบัลลังก์กลประกอบด้วยลานกลไกซ่อนอยู่ข้างใน ส่งขึ้นไปถวายเจ้าแม่ฮีรา เจ้าแม่ยินดีในรูปลักษณะอันแสนงามของบัลลังก์กล สำคัญว่าเป็นของ บุตรถวายโดยซื่อ พอขึ้นประทับเครื่องกลไกที่ซ่อนอยู่ก็ดีดกระหวัดรัดองค์เจ้าแม่ตรึงติดกับบัลลังก์อย่างมั่นคง จนไม่สามารถแม้แต่จะขยับเขยื้อนองค์ แม้เทพทั้งปวงจะรวม กำลังกันเข้าแก้ไขก็จนปัญญา ไม่มีทางปลดเปลื้องพันธนาการให้หลุดออกไปได้
เมื่อเหนือกำลังทวยเทพดังนั้น เฮอร์มีส เทพผู้มีลิ้นทูต จึงอาสามาเกลี้ยกล่อมวอนง้อขอให้ฮีฟีสทัสขึ้นไปช่วยแก้แต่ " ลิ้นทูต " ของเฮอร์มีสกลับกลายเป็น " ลิ้นถึก " ในกรณีนี้ แม้เธอจะหว่านล้อมด้วยความคมขำไพเราะสักเพียงใด ก็ไม่อาจชักจูงฮีฟีสทัสให้ขึ้นไปบนเขาโอลิมปัสได้

ทวยเทพประชุมปรึกษากันอีกวาระหนึ่ง มองไม่เห็นใครนอกจากเทพ ไดโอนิซัส จะช่วยได้ จึงเห็นชอบพร้อมกันส่งไดโอนิซัสลงมาเกลี้ยกล่อมเทพฮีฟีสทัสด้วย อุบาย คือใช้วิธีมอมฮีฟีสทัสด้วยน้ำองุ่นจนฮีฟีสทัสเคลิบเคลิ้มมึนเมา แล้วไดโอนิซัสก็พาฮีฟีสทัสขึ้นไปแก้เครื่องกลพันธนาการให้เจ้าแม่ฮีราเป็นอิสระจนได้ ใช่แต่เท่านั้น เธอยังช่วยไกล่เกลี่ยให้เทพบิดามาดรและเทพบุตรออมชอมเข้ากันได้ดังปกติอีกด้วย

แต่ทั้งที่ได้รับความยกย่องโปรดปรานเทียมเท่าเทพองค์อื่น ๆ ในคณะเทพโอลิมเปียนแล้วเช่นนั้น ฮีฟีสทัสก็ไม่ยินดีที่จะอยู่บนเขาโอลิมปัสเป็นประจำ จะขึ้นไปก็เฉพาะคราวประชุมเทพส�� าและในวาระอื่น ๆ เท่านั้น ในยามปกติเธอคงขลุกอยู่ในโรงหล่อ และหมกมุ่นง่วนกับงานช่างของเธอเป็นนิตย์ จะเปรียบเธอก็เป็น พระเวสสุกรรมของกรีก เพราะการสร้างวังที่ประทับของเทพแต่ละองค์บนเขาโอลิมปัสนั้นเป็นพนักงานของ เธอทั้งสิ้น นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ออกแบบประกอบเครื่องตกแต่งตำหนักต่าง ๆ ด้วยโลหะประดับมณีแวววาว จับตา และประกอบอสนีบาตเป็นอาวุธถวายแก่ ซูสกับศรรักให้ อิรอส

โปเซดอน ( Poseidon )

เทพโปเซดอนได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าสมุทรหรือท้องทะเล โดยคำว่า " สมุทร " หรือ " ทะเล " ใน�� าษากรีกโบราณนั้นหมายเอาทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนเป็นสำคัญ เนื่องจากชาวกรีกในสมัยโน้น มีถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่ใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน เป็นส่วนมาก เทพแห่งทะเลจึงมีความสำคัญกับชาวกรีกเป็นธรรมดา

ในกาลก่อนครั้งที่เหล่าเทพไทแทนยังมีอำนาจอยู่นั้น ห้วงมหรรณพทั้งหลายต่างอยู่ในความปกครองของ โอเชียนัส (Oceanus) ครั้นเมื่อเหล่าเทพไทแทนพ่ายแพ้แก่ ซูส แลัว ซูสก็ได้แบ่งการปกครอง ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนโดยเด็ดขาด ส่วนโอเชียนัสถูกลด อำนาจให้ได้ครองเพียงห้วงน้ำใหญ่ที่ไหลวนรอบโลก ซึ่งถื่อว่าไม่มีความสำคัญอะไรเลยสำหรับชาวกรีกสมัยนั้น นอกจากนี้ ทะเลยูซินีซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ทะเลดำ ก็อยู่ในความปกครองของโปเซดอนเช่นกัน

อำนาจของเทพโปเซดอน ส่วนใหญ่คือสามารถควบคุมพายุและความสงบในท้องทะเลได้โดยเด็ดขาด ยามเมื่อ ทรงรถทองคำเหนือน่านน้ำ คลื่นลมทะเลสงบเงียบเรียบลื่นไปตามล้อรถของเธอโดยตลอด ( ในบางตำนานกล่าวว่า เวลาที่ เสด็จขึ้นจากประสาทใค้ทะเล ทะเลจะแหวกออกเป็นช่อง มีเสียงดังสนั่นลั่นโครมครืนนำมาก่อน แล้วราชรถทรงทองคำ เทียมด้วยม้าฝีเท้าเยี่ยมตัวใหญ่มหึมาก็ค่อย ๆ โผล่ขึ้นจากช่องน้ำแยกอย่างสง่างาม ) เธอมีอาวุธที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ประจำตัวเลยก็คือ " ตรีศูล " เมื่อใดที่ต้องการ " เขย่า " โลก ก็เพียงแต่กวัดแกว่งตรีศูลเท่านั้น ทะเลก็ปั่นป่วนเป็นบ้า เป็นเหตุให้โลกสั่นสะเทือนด้วยเหตุนี้เธอจึงได้รับสมญานามว่า " ผู้เขย่าโลก " ( Earthshaker ) ด้วย นั่นเอง
ถ้าจะกล่าวถึงอำนาจของโปเซดอนซึ่งปกครองดูแลน่านน้ำทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น ทะเลลึก ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร ละหานห้วย หรือแม้แต่เทพและนางอัปสรประจำน่านน้ำทั้งปวง ยังมีประสาทงดงามตระการตาอยู่ใต้ท้องทะเล เอเยี่ยน นอกจากที่ประทับสวรรค์ชั้นโอลิมปัสแล้ว ดังจะเห็นว่านอกจากซูสเทพบดีแล้ว ไม่มีเทพองค์ใดที่มีอำนาจเกรียง ไกรไปกว่าท้าวเธอเลยที่เห็นก็มีเพียง ฮาเดส เทพครองนรก จ้าวแดนบาดาล ซึ่งทำให้ท้าวเธอถึงกับเคยคิดครองความ เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวโดยร่วมมือกับ เทวีฮีร่า และ เทวีเอเธน่า พยายามโค่นเทพปริณายกซูสแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซูสลง ทัณฑ์เนรเทศโปเซดอนให้มาทำงานตรากตรำลำบากบนโลกมนุษย์ในเมืองทรอยโดยต้องสร้างกำแพงกรุง ทรอยให้ท้าว เลือมมิดอน (Laomedon) กษัตริย์ในขณะนั้น


ท้าวเลือมมิดอนได้สัญญาว่าจะให้ค่าตอบแทนอย่างงดงามหลังจากที่ได้สร้างกำแพงเสร็จ ถึงแม้ว่างานดังกล่าว เป็นงานที่ยาก แต่หากด้วยในระหว่างนั้นเทพ อพอลโล (Apollo) ซึ่งถูกเนรเทศลงมาจากสวรรค์เช่นกัน แต่โดย สาเหตุต่างกัน อาสาช่วยโปเซดอนสร้างกำแพงอีกแรงด้วย โดยดีดพิณให้หินเคลื่อนไปตามอำนาจของกระแสเสียงอันไพเราะ ทำให้ทุ่นแรงไปมาก งานจึงสำเร็จลงโดยเรียบร้อยและรวดเร็ว แต่ทว่าท้าวเลือมมิดอนเป็นกษัตริย์ละโมบและคิดโกง กลับบิดพลิ้วสัญญา ทำให้โปเซดอนคิด พยาบาท จึงเนรมิตสัตว์ร้ายดังอสุรกายขึ้นจากทะเล เที่ยวไล่กินผู้คนชาวเมืองไปเป็น จำนวนมาก ชาวเมืองจึงตัดสินใจนำสาวพรหมจารีรูปงามพลีให้แก่สัตว์ร้าย โดยผูกไว้กับ โขดหินริมทะเล ตามคำแนะนำของ เจ้าพิธีผู้เข้าทรงในเมือง ปรากฏว่า สัตว์ร้ายดังกล่าวเมื่อกินหญิงสาวแล้วลงทะเลหายไป แต่มันหายไปเพียงปีเดียว ทำให้ชาวเมืองต้องทำ การพลีหญิงสาวทุกๆปี

ปีแล้วปีเล่าสัตว์ร้ายเฝ้าแต่เวียนมาตามกำหนดคำรบปีและทุกๆปีที่มันขึ้นมาก็จำต้องอุทิศสาวพรหมจารีพลีให้เสมอ จน ในที่สุดชาวเมืองก็เห็นชอบพร้อมกันเลือกลูกสาวท้าวเลือมมิดอนเองชื่อว่า ฮีไซโอนี (Hesione) เพื่อพลีให้กับสัตว์ร้าย ฝ่ายท้าวเลือมมิดอนเองแม้จะไม่อยาก แต่ก็ขัดขวางชาวเมืองไม่ได้ จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยลูกสาวของตน สุดท้ายจึงได้ แต่ป่าวประกาศหาชายห้าวหาญที่สามารถฆ่า สัตว์ร้ายได้ โดยสัญญาว่าจะประทานรางวัลให้อย่างงดงาม

ในขณะนั้นเองเฮอร์คิวลิส (Hercules)ผ่านมาได้ยินข่าว จึงอาสาฆ่าสัตว์ร้ายและช่วยนางฮีไซโอนีได้พอดี เมื่องานสำเร็จท้าวเลือมมิดอนยังไม่ทิ้งนิสัย เดิม กลับเพิกเฉยต่อสัญญาที่ไห้ไว้กับเฮอร์คิวลิส เป็นเหตุให้เฮอร์คิวลิสผูกใจเจ็บ แต่เนื่องด้วยเฮอร์คิวลิสยังมีธุระอื่นที่ต้องทำ ครั้นเสร็จธุระดังกล่าวเฮอร์คิวลิสก็ได้รวบรวม สมัครพรรคพวกจำนวนหนึ่งยกเข้าล้อมกรุงทรอยและตีหักเข้าในเมืองได้ จากนั้นก็ได้จับท้าวเธอฆ่าเสีย ส่วนนางฮีไซโอนีนั้นได้ยกให้ เทลมอน (Telamon) สหายที่ ร่วมกันตีเมืองทรอยครั้งนี้

- คำมั่นสัญญาที่ท้างเลือมมิดอนประทานแก่เฮอร์คิวลิสนั้นคือ ถ้าเฮอร์คิวลิสฆ่าสัตว์ร้ายสำเร็จ จะประทาน ม้า งาม ๆ ฝีเท้าดีให้จำนวนหนึ่งตามที่เฮอร์คิวลิสประสงค์ ซึ่ง เมื่อเฮอร์คิวลิสทวงรางวัล พระเชษฐาของนางฮีไซโอนีชื่อ โพดาร์ซีส (Podarces) ได้ทูลแนะนำให้ท้าวเธอให้ปฏิบัติตามสัญญา ดังนั้นเมื่อเฮอร์คิวลิสตีเมืองทรอยแตก จึงไม่ได้ประหารโพดาร์ซึส เพียงแค่จับไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ ซึ่งต่อมาชาวกรุงทรอยก็ได้ไถ่ถอนเอากลับคืนไปสถาปนาเป็นกษัตริย์ ทรงนามว่า เพรียม (Priam) ต่อไป

ส่วนสัญญาที่ท้าวเลือมมิดอนละเมิดกับเทพโปเซดอนคือคำบนว่าจะถวายลูกโคกระบือท้องแรกทั้งหมดเป็นเครื่องเซ่นสังเวย ณ แท่นบูชา ซึ่งการที่ท้าว เลือมมิดอนไม่แก้บนตามสัญญา ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายดังกล่าวยังเป็นเหตุทำให้ศึกครั้งสำคัญกรุงทรอยกับกรีก โปเซดอนดำรงในฐานะอริกับกรุงทรอยนั่นเอง
เทพโปเซดอนมีมเหสีนามว่า อัมฟิตริตี (Amphitrite) เป็นธิดาของเทพแห่งธารเนเรอุส ในตอนแรก ที่เทพโปเซดอนขอวิวาห์กับนางนั้น อัมฟิตริตีไม่ยินดีด้วย นางหนีไปหลบซ่อนอยู่ที่อื่น ท้าวเธอจึงใช้ให้ปลาโลมาไปค้น หา จนกระทั่งพบและนำมาถวายพระองค์ อัมฟิตริตีจึงได้เป็นจอมเทวีแห่งมหาสมุทรเคียงคู่สวามี มีโอรสด้วยกันคือ ไทรตัน

โปเซดอนออกจะโชคดีกว่าซูสเทพบดีตรงที่มีมเหสีสงบเสงี่ยมมากกว่า เทวีอัมฟิตริตีปล่อยให้สวามีเจ้าชู้กับ สาวเจ้าอื่นได้โดยไม่หึงหวง ยกเว้นรายเดียวเท่านั้นคือรายของนางซิลลา (Seylla) ซึ่งเคยเป็นนางไม้สวยงามมาก ท้าวเธอหลงหัวปักหัวปำจนอัมฟิตริตีเทวีทนไม่ได้ จึงแอบลอบนำยาพิษไปโรยในสระน้ำที่นางซิลลาลงอาบประจำ ทำให้ นางกลายร่างจากสาวงามเป็นนางอสูรร้ายที่น่าสะพรึงกลัวไปทันที นับว่าเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่อัมฟิตริตีเทวี กระทำรุนแรงกับชายาของสวามี

ในรูปร่างของม้าอีกเช่นกันที่เทพจ้าวสมุทรแอบไปพิสมัยกับนางอัปสรบริวารของเทวีเอเธน่า นางนั้นคือ เมดูซ่า (Medusa) ในตำนานตอนนี้กล่าวไว้ว่า นางเป็นนางอัปสรที่สวยงามยิ่ง แต่เพราะไปหลงใหลใฝ่ฝันเทพโปเซดอนเข้า เทวีเอเธน่าจึงพิโรธโกรธเกรียว สาปให้นางมีผมเป็นงูไปทันที และทำให้นางน่าขวัญหนีดีฝ่อจน ผู้ใดเห็นเข้าจะกลายร่างเป็นหินแข็งชาไปหมด แต่เพราะการได้ร่วมอ�� ิรมย์กับโปเซดอนในรูปร่างของม้า เมื่อวีรบุรุษเปอร์ซีอุสตัดศีรษะนางขาดออกนั้น เลือดที่กระเซ็นออก มากลายเป็นม้าวิเศษ 2 ตัว ตัวหนึ่งคือ คริสซาออร์(Chrysaor) และอีกตัวคือ เปกาซัส (Pegasus) นั่นเอง


นอกจากเทพอพอลโลแล้ว อีรอสเป็นที่ถือกันว่าประกอบด้วยรูปลักษณะงามที่สุดในบรรดาเทพทั้งหลาย ปรัชญาเมธีเพลโตกล่าวความอุปอุปไมยเกี่ยวกับเทพองค์นี้ไว้ว่า "กามเทพ-คือ อีรอส-ย่อมเข้าสิงหัวใจคนก็จริง แต่ก็ไม่ทุกหัวใจไป ด้วยว่าที่ใดมีความแข็งกระด้างเธอก็ผละหนี เกียรติคุณอันล้ำเลิศของเธอนั้นอยู่ที่ว่า เธอหา อาจที่จะทำผิด หรือยอมให้ผู้ใดทำผิดไม่ แม้กำลังบังคับก็ไม่สามารถจะหักเธอได้ลง"

ว่ากันว่า ตำนานของเทพอีรอสผู้นี้ นักกวีชาวกรีกรุ่นก่อนมิได้แต่งขึ้น ต่อมากวีฮีสิออดได้แต่งให้มีเทพองค์นี้ เกิดขึ้น แต่มิใช่โอรสของเทวีอโฟร์ไดที่เลย เป็นเพียงแค่เพื่อนกันเท่านั้น เพราะฉะนั้นตำนานของเทพผู้นี้จึงเป็นนักกวี ชาวโรมันเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น และจะมีเฉพาะตำนานของโรมันเท่านั้นที่มีเรื่องราวของเทพองค์นี้ปรากฏอยู่


ตามตำนานที่ยอมรับทั่วไปกล่าวว่า อีรอสเป็นเทพ"ติดแม่" เป็นที่สุด เมื่อมีเทวีอโฟร์ไดที่อยู่ณ ที่ใดอีรอสก็ปรากฏอยู่ ณ ที่นั้นด้วย อันเป็นข้อเปรียบถึงธรรมดาแห่ง ความงามและกามวิสัยนั่นเอง อีรอสถือลูกศรแห่ง กามฉันท์กับคันธนูน้อยเป็นอาวุธ สำหรับยิงเสียบหัวใจของเทพและมนุษย์ให้เกิดความปรารถนาเร่าร้อนไปด้วยความ พิศวาส โดยที่ในชั้นเดิมเธอเป็นเด็กเยาว์อยู่เป็นนิตย์ไม่มีวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงต้องมีเทพน้อยอีกองค์ หนึ่งอุบัติขึ้นเพื่อเป็นเพื่อนเล่นและบริวารของเธอ เรียกว่า แอนทีรอส กำเนิดของแอนทีรอสนั้นมีตำนานเล่าไว้ดังนี้

..เมื่อไม่เห็นอีรอสเจริญวัยขึ้นเสียเลย อโฟรไดที่ปราร�� กับธีมิส เทวีแห่งความยุติธรรมว่า อีรอสบุตรของเธอ ทำอย่างไรจึง จะเลี้ยงดูเธอให้โตขึ้นได้ ธีมิสชี้แจงว่า เหตุที่อีรอสไม่เติบโต ก็เพราะเธอขาดเพื่อนเล่นแก้เหงา ถ้ามีน้องเกิดขึ้นสักองค์หนึ่ง เธอคงจะ โตขึ้นอีกมาก ต่อมาในไม่ช้าแอนทีรอสก็เกิดขึ้น �� ายหลังแต่นั้นอีรอสก็เติบโตแข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว (ถึงกระนั้นรูปคิวพิดหรืออีรอส ที่เขียนและแกะสลักกันขึ้นทั่วไปก็ไม่พ้นรูปเด็ก) แอนทีรอสนอกจากจะเป็นเพื่อนเล่นของอีรอสแล้ว ยังถือกันว่าเป็นเทพบันดาลให้มี การรักตอบด้วย


เรื่องของเทพ อีรอสกับนาง ไซคิ ซึ่งจะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดเรื่องหนึ่งในเทพปกรณัมกรีกโรมัน ด้วย เป็นเรื่องที่จับใจและให้คติน่าคิดหลายทำนอง สุดแต่ผู้อ่านผู้ฟังจะคิดเห็นตามอัธยาศัย โดยเฉพาะเรื่องนี้เป็นเรื่องรักของเทพอีรอส เอง ผู้มีฤทธิ์จะบันดาลให้ใครรักใครก็ได้ประการหนึ่ง และชื่อนาง ไซคิ (Psyche) ตัวเอกของเรื่องนั้นก็เผอิญเป็นคำเดียวกันกับ คำที่หมายถึง จิตใจหรือดวงวิญญาณอีกประการหนึ่งด้วย หรืออาจกล่าวว่า เทพปกรณัมกรีกอุปโลกน์นางไซคิให้หมายแทนลักษณะของ ดวงวิญญาณก็ได้ บรรยายตามเรื่องที่เล่าในปกรณัมนั้นว่า


ในกาลครั้งหนึ่ง กษัตริย์องค์หนึ่งของกรีกมีธิดา 3 องค์ ล้วนทรงสิริโฉมงามสะคราญ แต่ความงามของ 2 องค์พี่รวมกันจะเทียม เท่าด้วยความงามองค์น้องสุดก็หาไม่ ธิดาองค์หลังสุดนี้ทรงนามว่า ไซคิ เป็นเจ้าของความงามอัน ลือเลื่องเฟื่องฟุ้งยิ่งนัก ถึงกับใคร ๆ พา กันยกย่องเทิดทูนจนลือกระทำบูชาเทวีอโฟร์ไดที่ เจ้าแม่แห่งความงามเสีย เป็นเหตุให้ศาลของเจ้าแม่เงียบเหงาวังเวง แท่นที่บูชา เจ้าแม่ก็ว่างเปล่าหาผู้ใดจะเข้าไปบวงสรวงมิได้ แม้แต่แขกเมืองก็ พากันผ่านศาลเจ้าแม่ไปชมความงามของไซคิกันหมดสิ้น เจ้าแม่ ริษยานวลอนงค์ยิ่งนัก คิดใคร่จะแกล้งนางไซคิให้ตกต่ำ ด้วยความอัปยศ เพื่อมิให้คนทั้งปวงยกย่องเทิดทูนและใฝ่ฝันถึงนางอีกต่อไป เจ้าแม่จึงเรียกอีรอสเทพบุตรมาบอกความ ประสงค์ของเจ้าแม่ให้ทราบ โดยสั่งให้อีรอสไปทำให้นางไซคิหลงรักสัตว์อุบาทว์ทรลักษณ์สัก คนหนึ่ง อีรอสกระทำตามเจ้าแม่สั่ง แต่ผลปรากฏใน�� ายหลังกลับกลายเป็นว่า "สัตว์อุบาทว์ทรลักษณ์" ที่ไซคิจะต้อง หลงรักนั้นได้แก่ อีรอสเอง ! ในอุทยานของเจ้าแม่อโฟร์ไดที่มีน้ำพุอยู่ 2 แอ่ง แอ่งหนึ่งเป้นน้ำหวาน อีกแอ่งเป็นน้ำขม น้ำพุหวานเป็นน้ำสำหรับ บันดาลความ ชื่นบาน ส่วนน้ำขมสำหรับบันดาลความขมขื่นระทมใจ ในครั้งแรกอีรอสตักน้ำพุทั้งสองชนิดบรรจุกุณโฑ ชนิดละใบ นำไปยังห้องที่ไซคิ หลับอยู่ อีรอสเอาน้ำขมในกุณโฑประพรมลงบนโอษฐ์ไซคิแล้ว จึงเอาปลายศรบันดาลความ พิศวาสสะกิดสีข้างของนางในบัดดลไซคิก็ สะดุ้งตื่น ถึงแม้ว่าอีรอสจะมิได้ปรากฏองค์ให้นางเห็น แต่ด้วยอารามลืมองค์ เธอจึงทำศรสะกิดองค์เธอเองด้วย เพราะตกใจและเธอก็ตก ห้วงรักนางไซคิด้วยอำนาจศรของเธอเองตั้งแต่บัดนั้น เธอเอาน้ำพุหวานรดลงบนเรือนผมของไซคิ แล้วก็ผละผินบินออกจากที่นั้นไป


เวลาผ่านไป ไซคิก็ยิ่งเหงาเปล่าเปลี่ยวใจไม่มีผู้ใดใฝ่ฝันจะขอวิวาห์ด้วย สายตาคนทั้งหลายยังคงตะลึงลาน ในรูปโฉมและ คำคนยังแจ้วจำนรรจาสรรเสริญนางยังมีอยู่ แต่มิมีใครสู่ขอนางเป็นคู่ชีวิต เนื่องจากใคร ๆ ก็พากันเกรง นางอยู่สุดเอื้อมเหมือน กันหมด พี่สาวทั้งสองของนางได้แต่งงานไปแล้วกับเจ้ากรีกต่างนคร ส่วนไซคิยังคงอยู่เดียว เปลี่ยวใจต่อมาอีกเป็นเวลานาน จนบิดามารดาของนางเกิดปริวิตกเกรงว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีความบกพร่องอะไร สักอย่างหนึ่ง ซึ่งตนได้กระทำลงไปโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เทพเจ้าโกรธถึงบันดาลโทษให้ปรากฏเช่นนี้ ท้าวเธอจึง บวงสรวงเสี่ยงทายคำพยากรณ์แห่งเทพอพอลโล และได้รับคำพยากรณ์ว่า นางจะได้คู่ครองเป็นมนุษย์ปุถุชนก็หาไม่ คู่ครองของนางใน�� ายหน้านั้นคอยนางอยู่แล้วบนยอดเขาขุนเขา เป็นอมนุษย์ซึ่งไม่มีมนุษย์หรือเทพองค์ใดจะขัดขืน หรือต้านทานได้


คำพยากรณ์นี้เป็นเหตุให้เกิดความเศร้าสลดแก่คนทั้งหลายและบิดามารดาของนางไซคิอย่างหาที่เปรียบมิได้ แต่ตัวนางเอง หาย่อท้อไม่ นางกลับเห็นว่า เมื่อวาสนา ชะตากรรมของนางจะต้องเป็นเช่นนั้นก็ตาม บิดามารดาของนางจึงจัดแจงส่งนางขึ้นไป บนยอดเขา ประกอบด้วยขบวนแห่แหนดั่งแห่ศพฉะนั้น ฝูงคนทั้งปวงที่ตามขบวนแห่ก็ ล้วนแต่เศร้าหมอง มีใจคอห่อเ่ยวอาลัย เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว บิดามารดาของนางและคนทั้งปวงก็พากันกลับ พร้อมด้วยใจละห้อยละเ่ยยิ่งกว่าตอนขาไปอีก


นางไซคิยืนถอนสะอื้นด้วยความใจหายและว้าเหว่โดยลำพังตนอยู่บนชะง่อนหิน ในบัดดลเทพเสฟไฟรัสเจ้าแห่งลมตะวันตกก็บรรจงโอบอุ้มร่างไซคิขึ้นจากยอดเขา และหอบนางให้เลื่อนลอยลงสู่สถานแห่งหนึ่งเต็มไปด้วยติณชาติเขียวขจี ห้อมล้อม ด้วยนานารุกขพฤกษาชาติร่มรื่น นางเหลียวมองดูรอบข้างเห็นที่แห่งหนึ่งประกอบด้วย ซุ้มไม้ซึ้งตาดูชอบกล นางจึงเยื้องกรายเข้าไป เห็นธารน้ำพุใสไหลรินดังธารแก้วผลึก และถัดจากนั้นไปมีตำหนักหนึ่งตั้งตระหง่านตระการตา ไซคิค่อยมีใจเบิกบานและอาจหาญ ขึ้น จึงเดินเข้าไปในตำหนัก �� ายในตำหนักล้วนแล้วด้วยทัศนา�� าพอันวิจิตร หาที่เปรียบมิได้ในบรรดาที่มีในมนุษย์โลก แต่ไม่มีสิ่ง มีชีวิตใด ๆ ปรากฏอยู่ในที่นั้นเลย


คิวปิด คือ เทพแห่งความรัก


PS.  อะกึ๊ย กร๊วมๆ ยูริจังน่าร๊ากกกก

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น

*.* 28 มิ.ย. 52 เวลา 13:16 น. 1

เราว่านะ มันมีเนื้อหาสาระดีมากกกกกกกก

แต่

มันก็ยาวมากกกกกกกกกกกกเช่นกัน

ก็เลยขี้เกียจอ่าน

0
natthanicha 28 มิ.ย. 52 เวลา 15:41 น. 3

เราชอบเทพนิยายเรื่องนี้มากเลย
แล้วก็ชอบเทพเจ้าอะพอลโล อ่ะ
แต่ทำไมไม่มีประวัติเทพเจ้าอะพอลโล่เลยอ่ะ
ทั้งๆที่พระองค์ก็ทรงเป็นเทพที่สำคัญมากแล้วก็เป็นเทพที่มี่ความสามารถ
หลายทางด้วยน่ะ


PS.  ความเสียใจเป็นเรื่องปกติสำหรับเราไปแล้ว
0
arMSy 28 มิ.ย. 52 เวลา 22:18 น. 5
คิวปิด คือ เทพแห่งความรัก......
PS.  ผู้หญิงอย่าหยุดสวย เพราะกะเทยจะสวยกว่า >>>> คนเศร้าเวา
0
ขุนกำแหง 29 มิ.ย. 52 เวลา 10:59 น. 6

เจอพระอินทร์เดียวก็หงาย


PS.  เอาสมองไปคิดถึงแต่ละครต่างชาติ จนไม่มีมันสมองที่จะคิดทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ
0
อภินิหารเทพ 13 พ.ย. 53 เวลา 21:12 น. 11

นุวร์อยากเปงแบบน๊านจางเลค่ะเพ่




เท่มากมายเลคร๊า

อยากเปงง่า


คงฝานเกินปัย5555+&nbsp &nbsp 


ตื่นดั๊ยแว้วววววววววววววววววว

0