Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อาหารขยะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

อาหารขยะ

ทุกวันนี้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้วิถีชีวิต   และพฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปต้องฝากท้อง   กับอาหารสำเร็จรูป

และอาหารด่วนซึ่งส่วนใหญ่มาในรูปอาหารตะวันตก ประเภทสะดวก และรวดเร็ว ทำให้ร้านสะดวกซื้อมีเพิ่มมากขึ้น เพราะซื้อหาได้ทั่วไป ถุกปากคนรุ่นหใม่ ใส่บรรจุภัณฑ์ เก๋ไก๋ พกพาสะดวก

คำว่า “Junk Food” เป็นศัพท์แสลงของอาหารที่มีสารอาหารจำกัดหรือที่เรียกว่า “อาหารขยะ” หมายถึง อาหารที่ให้ประโยชน์ทางโภชนาการน้อย และถ้ากินมากหรือกินประจำจะเป็นโทษต่อร่างกาย อาหารขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วย น้ำตาล ไขมัน และแป้ง แต่มีส่วนประกอบของโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่น้อยมาก เช่น ลูกอม น้ำอัดลม อาหารจานด่วนบางชนิด ขนมขบเคี้ยว บะหมี่ซอง อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแป้งที่ขัดสีเอาเส้นใยและวิตามินออกหมด ใช้น้ำตาลที่ผ่านการฟอกขาว แล้วเติมด้วยสารแต่งสี/กลิ่น ผงชูรส ตามด้วยกระบวนการทอด เป็นต้น

การบริโภคอาหารขยะเป็นประจำเป็นสาเหตุให้ร่างกาย ขาดสารอาหาร โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย

เสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไข้อ และโรคอ้วน ซึ่งส่งผลเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองด้วย เช่นปัญหาด้านความจำของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือคนที่ชอบบริโภคอาหารประเภทไขมันสูง   ทำให้มีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ Low Density  Lipoprotein (LDL) และปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูงจากงานวิจัยของ จอห์น   มอร์เลย์และคณะ   แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูริ พบว่าในหนูที่กินอาหารไขมันสูง  จะมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูง    ซึ่งปริมาณไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสาเหตุทำให้เสียความทรงจำ โดยศึกษาทดลองให้หนูกินยาที่มีผลลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่มีผลให้น้ำหนักตัวลด พบว่าผลทดสอบด้านความจำดีขึ้น

นอกจากนี้อาหารขยะยังเป็นสารก่อภูมิแพ้ (allergen) ที่ถูกมองข้าม เนื่องจากอาหารขยะมีการดัดแปลงและปรุงแต่งโดยมีการใช้สารใน

กลุ่มสารแต่งสีอาหาร เช่น ทาร์ทราซีน (tartrazine) ให้สีเหลืองส้นอะมาเรนท์ (amaranth) ให้สีแดง เป็นต้น ซึ่งพบได้ในขนมและน้ำอัดลมต่างๆ ที่มีสีสันสดใส
 
กลุ่มสารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก (benzoic acid) โซเดียมเบนโซเอท (sodium  benzoate) ซึ่งมักพบในอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่ซอง ขนมกรุบกรอบ

กลุ่มสารกันหืน
ได้แก่ สารบิวทิลเลตไฮดรอกซีอะนิโซล (butylated  hydroxyanisole) ซึ่งมักพบในอาหารประเภททอด ขนมกรุบกรอบ ไอศกรีม มาการีน เป็นต้น

กลุ่มสารเพิ่มเนื้อและสารที่ทำให้ข้น
เพื่อให้ปริมาณดูมากขึ้น ได้แก่ วุ้น (agar) คาร์ราจีแนน (carrageenan) ซึ่งมักพบในอาหารประเภทไอศกรีม เยลลี ครีมแต่งหน้าเค้ก เนยแข็ง

กลุ่มผงชูรส
ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดอาการผื่นแดงและอักเสบของผิว สำหรับคนที่มีแนวโน้มผิวแพ้ง่าย สารในกลุ่มเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงแต่งอาหารขยะซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้

        กรมวิทยาศาสตร์บริการได้จัดอบรมเกี่ยวกับระบบคุณภาพ GMP และ HACCP ซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร หรือ Food  Safety อาหารขยะอาจก่อให้เกิดอันตรายทางเคมี ถ้าปริมาณสารบางชนิดในอาหารขยะที่กล่าวถึงข้างต้น ได้แก่ สีผสมอาหาร สารกันบูด มีปริมาณสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดอาจเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้หรือถ้าผู้บริโภครับประทานอาหารขยะในปริมาณมาก ทำให้ปรอมาณสารเข้าสู่ร่างกายในปริมาณเกินกว่าร่างกายจะรับได้ อาจมีผลเสียต่อร่างกายได้


PS.  โอ๋จัสอะเวเท่ดีฟะ

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

☆ SKULL 3 ส.ค. 52 เวลา 21:59 น. 2

ดีมีสาระมากเลยวะ ตุ๊ด!!


เพื่อนกัน ผมไม่แคร์สื่อ(?)


PS.  คิดดีแล้วหรือ ที่จะหือกับพี่อ่ะน้อง - -^^
0