Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

จากค่าน้ำนมถึงอิ่มอุ่น ภาพสะท้อนสังคมไทย .... เพราะอยากให้ทุกวันคือวันที่แม่สำคัญ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

แม้ตอนนี้จะล่วงเลยวันแม่ มาซักพักแล้ว แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่ได้รักแม่ในวันอื่นๆนี้

ขอให้ทุกวันเป็นวันที่แม่สำคัญ
เพราะในทุกๆวัน
มีผู้หญิงตัวเล็กๆ ให้กำเนิดชีวิตเล็กๆ บนโลกใบกลมๆใบนี้อยู่
และรวมถึง ผู้หญิงตัวเล็กๆคนนั้นยังคอยรัก และดูแลเราอยู่เสมอ

ตั้งแต่วินาทีที่เธอรู้ว่ามีเรากำลังเติบโตในตัวเธอ จนวินาทีสุดท้ายของลมหายใจ


อย่าลืมที่จะรักแม่นะคะ....แล้วก็อย่าลืมรักพ่อด้วยล่ะ

*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

ถ้าวันแม่กำลังจะมาถึง ทุกโรงเรียน ห้างร้านล้วนประดับประดาในแนวคิดของความรักกตัญญูคุณแม่ และสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ เพลงวันแม่

เมื่อก่อนพอถึงวันแม่ ก็จะได้ยินเพลง 
"ค่าน้ำนม" 
กระหึ่มในฐานะเพลงของวันแม่

แต่เมื่อสิบกว่าปี หรือนานกว่านั้น 
ก็มีอีกเพลงหนึ่งที่แรงพุ่งขึ้นมาเทียบชั้นเพลงค่าน้ำนม นั่นก็คือเพลง 
"อิ่มอุ่น"

ทั้งสองเพลงเป็นเพลงที่
มีความหมาย 
มีคุณค่า 
สะท้อนความรักความผูกพันของแม่-ลูก 
ความกตัญญูที่ลูกต้องนึกถึงบุญคุณที่เลี้ยงดู

เมื่อฟังเพลง"ค่าน้ำนม" และ "อิ่มอุ่น" 
ก็จะซาบซึ้งด้วยภาษาและท่วงทำนองของบทเพลงที่ทำได้อย่างกลมกลืนลงตัว

จากการวิเคราะห์เมื่อฟังหลายๆรอบจะพบว่า 

เพลงทั้งสองนั้นได้
สะท้อนภาพสังคมไทยได้ดีพอสมควร

เพลงค่าน้ำนม 
ประพันธ์โดย ครูไพบุลย์ บุตรขัน 
และ 
ค่าน้ำนมโดย พี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง

ลองมาเทียบกันท่อนต่อท่อนนะคะ

ค่าน้ำนม-แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล

อิ่มอุ่น-อุ่นใดใดโลกนี้ไม่มีเทียบเทียม

ครูไพบูลย์สะท้อนว่าน้ำนม(เป็นสัญลักษณ์) หรือ การเลี้ยงดู 
มีบุญคุณมาก เริ่มตั้งแต่เรายังนอนเปล-ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

พี่จุ้ยสะท้อนให้เห็นว่าความรักความอบอุ่นไหนก็ไม่เท่าอ้อมกอดแม่
(เป็นสัญลักษณ์-ไม่ใช่แค่กอดอย่างเดียว แต่เป็นความรักและการดูแล)

สมัยก่อนใช้เปลแกว่งให้ลูกนอน 
ส่วนปัจจุบันแทบไม่ใช้เปลกันแล้ว 
เลยใช้การอุ้ม ตะกองกอด กล่อมจนหลับ 
แต่ทั้งสองสมัย 
ก็รักลูกพอๆกัน

ค่าน้ำนม-กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล

อิ่มอุ่น- ...ไม่อยากจากไปไกลแม้เพียงครึ่งวัน

ครูไพบุลย์ บอกว่าแม่ดูแลลูกไม่อยากจากไปไกล 

ซึ่งพี่จุ้ย เทียบความไกลออกมาเป็นเวลาครึ่งวัน 

ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าแม่ทั้งสองสมัยรักและเป็นห่วงลูกไม่อยากคลาดสายตาจากลูกเลย

สมัยก่อนเวลามันไม่เร่งรีบเท่าปัจจุบัน สมัยก่อนไกลนั้ถือว่าหนักมาก 
แต่ปัจจุบันเราอาจไม่มีเวลาให้ลูกแม้ว่าอยู่ด้วยกันแบบเห็นๆ 
เพราะมีสิ่งอำนวนความสะดวกให้เรามากขึ้น
ความเป็นส่วนตัวก็ลดลงเช่นโทรศัพท์ อีเมล 
ทำให้เราต้องทำงานมากขึ้นเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ค่าน้ำนม-แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ

อิ่มอุ่น-ให้กายเราใกล้กันให้ดวงตาใกล้ตา ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพัน

ครูไพบูลย์บอกว่าแม่รักลูกดังดวงใจ 
และ
พี่จุ้ย ขยายให้เราเห็นถึงความรักแบบดวงใจทั้งสองเชื่อมโยงผูกพัน

ค่าน้ำนม-เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน

อิ่มอุ่น-น้ำนมจากอกอาหารของความอาทร

ครูไพบูลย์สร้างวรรคทองนี้ได้แรงมาก สะเทือนดวงใจลูกๆทุกคนทุกๆสมัยครับ
(ขอกราบคารวะดวงวิญญาณครูค่ะ) 

พี่จุ้ยก็เทียบให้เห็นว่าน้ำนมเป็นอาหารของความอาทร
ซึ่งก็คือความรักและเสียสละอย่างยิ่งใหญ่เช่นกัน

ค่าน้ำนม-ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน

บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย

อิ่มอุ่น-ให้เจ้าเป็นเด็กดีให้เจ้ามีพลัง ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป

วรรคนี้สะท้อนให้เห็นว่าค่านิยมในการบวชเรียนเพื่อเป็น
บัณฑิตทางธรรมนั้นเป็นการทดแทนบุญคุณ 
คนสมัยก่อนจึงบวชเรียนทดแทนบุญคุณพ่อแม่ก่อนแต่งงาน

แต่ปัจจุบันแม่คาดหวังให้เป้นคนดี มีคุณธรรม 
และเป็นความหวังเป็นที่พึ่งของแม่ต่อไปในภายภาคหน้า

ทั้งสองเพลงมีเหตุมีผล 
เริ่มจากความรักของแม่ที่ยิ่งใหญ่ดุจขุนเขา 
หาอะไรมาเปรียบเทียบไม่ได้ 
แม่รักเราอย่างไม่มีเงื่อนไข 
ไม่เรียกร้องไม่คาดหวังมากจนเกินไป 
ไม่ทวงบุญคุณ

แต่หน้าที่ของลูกต้องรู้คุณและแทนคุณตามเนื้อร้องของเพลงทั้งสอง

สังคมแม้ว่าจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่ความรักของแม่ทุกยุคสมัยไม่เคยเปลี่ยนแปลงครับ

ขอมอบความดีของบทความนี้ให้คุณแม่ของเราและคุณแม่ทุกคนในโลกค่ะ


PS.  ในเมื่อฉันไม่ใช่ "นางฟ้า" แล้วจะตามหา "เทวดา" ทำไม???

แสดงความคิดเห็น

>