Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

----->>> มาดูๆ...รถไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านเรา สิงคโปร์-อินโด-มาเลย์-ฟิลิฟปินส์-และไทยแลนด์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ระบบขนส่งมวลชนในเมืองขนาดใหญ่อย่าง กรุงเทพฯ-กรุงจากาต้า-กรุงกัวลาลัมเปอร์-กรุงมะนิลาและ สิงคโปร์ซิตี้




รถไฟฟ้า BTS เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่



รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่



รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ SARL วิ่งด้วยความเร็ว 160 - 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความเร็วสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคทั้งระบบ เพราะกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 7 ล้านคนโดยระบบรถไฟฟ้าของไทยแบ่งออกเป็น 3 ระบบคือ
รถไฟฟ้า BTS ,รถไฟฟ้าใต้ดิน และระบบรถไฟฟ้า SARL หรือ รถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ



รถไฟฟ้าขนาดเบา STAR ของมาเลเซียเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดเล็ก



รถไฟฟ้าขนาดเบา รถไฟฟ้ารางเดียว KL Monorail ของมาเลเซียเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดเล็ก


รถไฟฟ้าท่าอากาศยาน KLIA รถไฟฟ้าด่วนสนามบิน KLIA Express   เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่  วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง



รถไฟลอยฟ้า-ใต้ดิน PUTRA เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่

กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซียใช้ระบบเดินรถไฟฟ้าขนาดเบาเป็นระบบหลัก เพราะจำนวนประชากรน้อย อีกทั้งยังสามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว มีเพียงรถไฟฟ้าเชื่องท่าอากาศยาน KLIA เท่านั้นที่เป็นระบบขนาดใหญ่



รถไฟฟ้าขนาดเบา รถไฟฟ้ารางเดียว  Monorail ของสิงคโปร์




รถไฟฟ้าระบบรางเบาของสิงคโปร์ใช้ระบบลอยฟ้าแบบ BTS บ้านเรา



รถไฟฟ้าระบบรางเบาของสิงคโปร์ใช้ระบบลอยฟ้าแบบ BTS บ้านเรา

สิงคโปร์ ใช้ระบบเดินรถไฟฟ้ารางเบาเพียงอย่างเดียว เป้นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าขนาดเล็กเหมือนมาเลเซีย คือสร้างง่ายและเสร็จไว แต่ข้อเสียคือค่าบำรุงรักษาแพงมหาศาลเหมาะกับประเทศร่ำรวยอย่างสิงคโปร์และมาเลย์เค้า




รถไฟฟ้ากรุงจากาต้าเป็ยนระบบรถไฟฟ้าที่ทางระบบรางร่วมกับ รถไฟธรรมดาในบางระยะทาง และเดินรถทั้งบนดิน และลอยฟ้า



รถไฟฟ้ากรุงจากาต้าเป็ยนระบบรถไฟฟ้าที่ทางระบบรางร่วมกับ รถไฟธรรมดาในบางระยะทาง และเดินรถทั้งบนดิน และลอยฟ้า

กรุงจากาต้า เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ใช้ระบบรถไฟฟ้าร่วมกับรถไฟธรรมดา เป็นระบบขนส่วมวลชนขนาดใหญ่เหมาะสำหรับเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลกอย่าง จากาต้า
แต่ด้วยระบบที่ทับซ้อนทำให้การเดินรถมักมีปัญหา และที่สำคัญยังเป็นระบบที่ค่อนข้างล้าสมัยอีกด้วย




รถไฟฟ้ากรุงมะนิลา ระบบขนาดใหญ่ที่ล้าสมัยที่สุดในภูมิภาค




รถไฟฟ้ากรุงมะนิลา ระบบขนาดใหญ่ที่ล้าสมัยที่สุดในภูมิภาค



กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิฟปินส์ ใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีความล้าสมัยที่สุด โดยรถไฟฟ้าดังกล่าวถือว่าเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันกลับไม่ได้รับการพัฒนา จึงทำให้ระบบโดยรวมยังคงทรุดโทรมมาก โดยเป็นเพียงระบบรถไฟฟ้าสายแรก และสายเดียวในกรุงมะนิลา


******************

สรุป
เมืองที่มีระบบรถไฟฟ้าทั่วถึงมากที่สุด : สิงคโปร์
เมืองที่มีระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุด : กรุงเทพฯ
เมืองที่มีระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติ : กรุงเทพฯ และ กัวลาลัมเปอร์
เมืองที่มีระบบรถไฟฟ้าล้าสมัยที่สุด : จากาต้า และ มะนิลา
และเมืองที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าก็คือ : กรุงฮานอย - เวียงจันทร์-พนมเปญ-ย่างกุ้ง-บันดาเสรีเบกาวัน-และติมอร์ซิตี้




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กันยายน 2552 / 17:56

แสดงความคิดเห็น

>

16 ความคิดเห็น

NooMaena 4 ก.ย. 52 เวลา 18:07 น. 1

 เด็ดมาก

ขอบคุน จขกท

ด้วยนะค่ะ

ได้ความรู้เยอะแยะเลย ที่สำคัญ

ของไทย ก้อใช่เล่นน้าาาา

0
soin 4 ก.ย. 52 เวลา 18:20 น. 3

วันนั้นผ่านไปแถวๆลาดกระบัง ได้เห็นรถไฟฟ้าแอร์พอดลิ้งวิ่งไปทางสนามบินสุวรรณภูมิ มันเร็วมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เห็นแล้วรู้สึกประทับใจ อยากให้เปิดใช้ไวๆจังครับ



ท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิและแอร์พอดลิ้ง ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ...

0
changwang psg su 4 ก.ย. 52 เวลา 18:31 น. 5

เพิ่มเติมกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SARL)ที่กำลังจะเปิดในวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ครับ



สายรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยาน (Express Line : คาดสีแดง) ซึ่งจะวิ่งรับส่งผู้โดยสาร จากต้นทางที่สถานีมักกะสัน ซึ่งอยู่บริเวณใกล้แยกอโศก-เพชรบุรี โดยจุดนี้จะเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "City Air Terminal (CAT)" สำหรับรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานนี้ จะวิ่งตรงสู่สถานีสุวรรณภูมิซึ่งอยู่ภายในท่าอากาศยานโดยไม่แวะจอดรายทาง ซึ่งระยะทางรวม 25.7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 15 นาที วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง



สายรถไฟฟ้าท่าอากาศยาน (City Line : คาดสำน้ำเงิน) ซึ่งจะมีต้นทางอยู่ที่สถานีพญาไท ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า BTS พญาไท จุดหมายปลายทางเดียวกันคือที่สถานีสุวรรณภูมิ แต่สำหรับรถไฟฟ้าท่าอากาศยาน จะจอดแวะรับส่งผู้โดยสารระหว่างทางอีก 6 สถานี คือ สถานี ราชปรารภ, มักกะสัน, รามคำแหง, หัวหมาก, ทับช้าง และลาดกระบัง ระยะทางรวม 28.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 28 นาที 








ค่าโดยสารอย่างไม่เป็นทางการ

Express Line : ไม่เกิน 150 บาท/เที่ยว
City Line : ไม่เกิน 35 บาท/เที่ยว



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กันยายน 2552 / 18:32
0
prince_chokoon 4 ก.ย. 52 เวลา 22:37 น. 7
ประเทศไทยนี่ก็ไม่น้อยหน้าใครนะครับ อิอิ   แอบดีใจจัง  กิกิ


แต่เมื่อไหร่น๊า เราจะมีระบบขนมวลชนที่ทันสมัยมากๆแบบญี่ปุ่นบ้างเนอะ




อยากให้คนไทยใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากนะครับ ไม่ว่าจะเป็นรถประจำทาง รถไฟฟ้าทั้งใต้ดินบนดิน  ประหยัดน้ำมัน ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อโลกของเรา

PS.  น้ำใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์
0
ซาเรว 5 ก.ย. 52 เวลา 01:56 น. 8

SARL เป็นรถไฟฟ้าที่มีความเร็วสูงสุดของไทย วิ่งด้วยความเร็ว 160-210. กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระบบรางขนาด 1.4 เมตร

0
-shop- 5 ก.ย. 52 เวลา 19:11 น. 10

จขกท.เราขอยืมไปโพสต่อหน่อยน่ะ

เราอยากให้คนได้ความรู้ดีๆ

รุ้สึกประเทศเราจะพัฒนานาขึ้นมากเลย~~~

-มัธยมวัดหนองแขม-


PS.  ความเป็นไทยอยู่ใน ใจไท ทุกคน
0
หฤฎฮฮ 6 ก.ย. 52 เวลา 00:35 น. 11

ช่วงหลังไปอยู่ที่ขอนแก่นนาน ไม่ได้ไปนั่งรถไฟฟ้านานแล้ว ถ้ากลับกรุงเทพก็ต้องขับรถเอง
แต่แอร์พอดลิ้งค์อ่ะ จาต้องไปนั่งให้ได้

ดีใจจังที่เราพัฒนาระบบรางไปอีกขั้นนึง

0
เซงเป็ด 6 ก.ย. 52 เวลา 08:27 น. 12

อะไร อะไร ก็กรุงเทพ แล้วเมื่อไหร่จะพัฒนา ระบบรถไฟไท กฟท ที่ล้าสมัยที่สุด เพราะรางที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันก็พัฒนามาตั้งแต่ รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันก็ยังใช้ของ ร5 อยู่นั่นแหละ&nbsp ถ้า ร5 ยังอยู่นะ ป่านนี้ประเทศไทย มีรถไฟดีกว่าญี่ปุ่นอีกมัง

0
รักในหลวง 7 ก.ย. 52 เวลา 00:35 น. 13

^
^
^

เห็นด้วยกับ คห.ที่&nbsp 12

รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวจุลจอมเกล้า ไทยมีรถไฟ และรถรางก่อนทุกประเทศในทวีปเอเชีย

แต่ปัจจุบัน...ล้าสมัยมาก น่าอายจริงๆ

อยากให้พระองค์ท่านอยู่นานๆจะได้พัฒนากว่านี้

0
ต่อ 28 ต.ค. 53 เวลา 14:12 น. 15

เด้ดมากคับผมก็ศีกษาเรื่องประวัติศาตรืการรถไฟในอเชียตะวันออกเฉียงใต้นะคับตอนนี้กำลังดูเรื่องการรถไฟอินโดอยู่

0
time 17 ก.พ. 55 เวลา 15:47 น. 16

ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าขนาดเล็กเหมือนมาเลเซีย คือสร้างง่ายและเสร็จไว แต่ข้อเสียคือค่าบำรุงรักษาแพงมหาศาลเหมาะกับประเทศร่ำรวยอย่างสิงคโปร์และมาเลย์เค้า


มั่วแล้ว ทำคนอื่นเข้าใจผิด ใช่ครับ ถูก สร้างง่าย สร้างเร็วส แต่ค่าบำรุงรักษา มันจะถูกกว่า ขนาดหนักได้อย่างไรครับ ถ้ามันแพงอย่างนั้นจริง มาเลไม่ทำแบบเบาหรอกครับ จะสร้างแบบเบา หรือหนัก เขาดูว่าพื้นที่นั้นมีคนเยอะหรือเปล่าครับ ไม่ใช่สร้างมั่วๆ แบะแน่นอน ระบบแบบหนักแบบ BTS MRT และ Airportlink ของเรา เป็นระบบหนัก ค่าบำรุงรักษาแพงกว่าแบบเบา พวก โมโนเรวเยอะมหาศาร แบบนี้จะถูกกว่า เป็นไปได้ไง ขนส่งแบบเบา ค่าบำรุงถูกกว่าแบบหนัก เหมือนจะเปรียบเทียบ2อย่างให้ดู เมืองหนึ่ง ใช้ระบบขนส่งด้วย รถกระบะ2แถว อีกเมือง ใช้รถเมย์ มันก็แน่นอนอยู่แล้วว่า รถเม ค่าบำรุงแพงกว่า เหอะๆ ข้อมูลok แต่ไม่แนนพอนะผมว่า

0