Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มาดูภาพ!!นางสาวไทยจากอดีต-ปัจจุบัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

นางสาวไทย เปิดตำนาน มงกุฎนางสาวไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน

นางสาวไทย

    กาลเวลาผันผ่านมากว่า 7 ทศวรรษ สำหรับการประกวด "นางสาวไทย" เวทีอันทรงเกียรติของสาวงามที่เพียบพร้อมด้วยความงาม ความสามารถ และไม่ว่ายุคสมัยใด อีกหนึ่งสิ่งที่งดงามและอยู่คู่เวทีและสาวงาม ก็คือ "มงกุฎ" รางวัลอันเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความงดงาม ความสามารถของสาวไทยผู้ครอบครอง โดยแต่ละยุคสมัยได้มีวิวัฒนาการการออกแบบที่สวยงามต่างกันไป ตั้งแต่ยุคนางสาวสยามต่อมาเป็นนางสาวไทย จนถึงปัจจุบันในยุค ที่ 6 ซึ่งสนับสนุนโดยสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และกำลังเฟ้นหาผู้ครองมงกุฎคนใหม่ คนที่ 45 ภายใต้แนวคิด "ทอแสงงามแห่งจิตใจ" ในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ ณ โรงละครอักษรา และชมการถ่ายทอดผ่านโมเดิร์นไนน์ทีวี ในเวลา 22.15 น. ของคืนวันเดียวกัน

การประกวดนางสาวไทย แบ่งจนถึงปัจจุบันได้ทั้งสิ้น 6 ยุค การออกแบบมงกุฎมีความแตกต่างกันไป ยุคที่ 1 พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2483 มงกุฎทำจากผ้าปัก เป็นผ้ากำมะหยี่ ปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทองเป็นลวดลายไทยต่างๆ เช่น ลายกนก ลายประจำยาม ประดับเพชรให้ดูระยิบระยับ ออกแบบจัดทำโดยกรมศิลปากร เป็นแบบแผนของการสรรสร้างมงกุฎนางสาวสยาม-นางสาวไทยในยุคบุกเบิก โดยในปี 2482 จากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทนคำว่า "สยาม" การประกวดนางสาวสยามจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น นางสาวไทยตั้งแต่นั้นมา และเป็นปีแรกที่กำเนิดสายสะพายนางสาวไทยด้วย จากนั้นในปี พ.ศ.2484 ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีการประกวดและใช้เวลาฟื้นฟูบ้านเมืองเป็นระยะเวลาหลายปี จนกระทั่ง ยุคที่ 2 พ.ศ. 2491 - 2497 รัฐบาลได้สนับสนุนให้จัดการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 เป็นต้นมา เว้นไปหนึ่งปีคือ พ.ศ.2492 ซึ่งมีเพียงงานฉลองรัฐธรรมนูญเท่านั้น โดยสมัยนั้นมงกุฎยังทำจากผ้าปัก แต่มีการใช้เข็มกลัด และแหวนเพชร นำมาเสียบตกแต่ง จวบจนในปี พ.ศ.2497 เป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลมีบทบาทจัดการประกวด งานฉลองรัฐธรรมนูญได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง การประกวดนางสาวไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้จัดขึ้นด้วย แต่ระหว่างนั้นก็ยังมีการประกวดสาวงามอื่นๆ เวทีระดับท้องถิ่น และในโอกาสพิเศษเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.2503 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ได้ทดลองจัดการประกวด "นางงามวชิราวุธ" ขึ้น และริเริ่มให้เกิดประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้งใน ยุคที่ 3 พ.ศ. 2507 - 2515 ยกเว้นปี พ.ศ.2513 ไม่มีการประกวด ยุคนี้เป็นยุคแห่งการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยใช้ตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียง และการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมงกุฏที่ใช้ได้เปลี่ยนจากมงกุฏผ้าปักมาเป็นมงกุฎเพชรเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นแบบเทียร่า (Tiara) คล้ายที่คาดผมมีลวดลายเป็นกระจัง ประดับเพชรแพรวพราวอยู่ด้านหน้า ส่วนด้านหลังเป็นก้านเล็กบางเบา ซึ่งออกแบบโดยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ มงกุฏชิ้นแรกนั้นตัวเรือนทำด้วยเงิน ประดับด้วยเพชรเม็ดเล็กๆ กว่า 200 เม็ด โดยนางสาวไทยที่ได้ครองมงกุฎเพชรคนแรก คือ อาภัสรา หงสกุล และเป็นนางงามจักรวาลคนแรกของไทย


ประภัสสร พานิชกุล ( นางงามมิตรภาพ ในการประกวด Miss Queen of The Pacific พ.ศ.2510 )
Prapassorn Panichakul ( Miss Congeniality of Queen of The Pacific 1967 )

จนมาในปี พ.ศ.2509 ได้มีการออกแบบมงกุฎใหม่ โดยฝีมือของสถาปนิกหนุ่มใหญ่ บุรินทร์ วงศ์สงวน ที่ปัจจุบันก็ยังฝากผลงานออกแบบมงกุฎจนถึงปีล่าสุด ซึ่งได้กล่าวว่า "ในปี พ.ศ.2509 ผมได้ออกแบบมงกุฏนางสาวไทยเป็นปีแรก โดยยึดตามแบบก่อนหน้า คือ แบบเทียร่า แต่ด้านหน้าจะดูใหญ่กว่าเสียหน่อย จนมาเปลี่ยนเป็นรูปแบบคราวน์ คือ ครอบรอบศีรษะ ในปี พ.ศ.2511 ของแสงเดือน แม้นวงศ์ และ พ.ศ. 2512 ของ วารุณี แสงศิรินาวิน ต่อมาในปี พ.ศ.2514 มงกุฎของ นิภาภัทร สุดศิริ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เนื่องจากมงกุฎแบบคราวน์แท้ๆ เมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้มีน้ำหนักมาก จึงได้ประยุกต์มงกุฎแบบคราวน์นี้ใหม่ โดยยังคงความสูงที่ตรงกลางด้านหน้า แต่ค่อยๆ ลดระดับจากด้านข้างลงมาถึงด้านหลัง เพื่อให้น้ำหนักเบาลง ผมคิดว่ามงกุฎเป็นสิ่งสำคัญอยู่คู่นางงาม เป็นสัญลักษณ์และเสริมให้ดูสวยสง่า จึงต้องทำให้สวยงามและสะดวกสบายผู้ใส่ด้วย และนับจากนั้นก็ยังคงใช้รูปแบบคราวน์ ที่ลดหลั่นไปด้านหลังแบบนี้ จวบจนปัจจุบัน" บุรินทร์กล่าว

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2516 เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในเดือนตุลาคม จึงได้ระงับการประกวดไปจนถึง พ.ศ. 2526 และได้รื้อฟื้นการจัดประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาลใน ยุคที่ 4 พ.ศ.2527- พ.ศ.2542 ยกเว้นปี 2539 ไม่มีการจัดประกวด เนื่องจากมีงานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งในยุคนี้สถานีโทรทัศน์สีช่อง 7 ได้เข้ามาร่วมจัดการประกวด มงกุฎของบุรินทร์ วงศ์สงวน ยังคงได้รับความสนใจ ที่โดดเด่น ได้แก่ มงกุฏของภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ในปี พ.ศ.2531 ซึ่งเห็นได้ชัดเจนถึงมงกุฎที่เป็นแบบคราวน์ และลดหลั่นไปด้านหลัง หรือมงกุฎของ ยลดา รองหานาม นางสาวไทยในปี 2532 เป็นชิ้นที่กล่าวขานกันว่าสวยที่สุด ซึ่งปีต่อๆมา ก็ยังเพิ่มเติมด้วยไอเดียใหม่ๆ เรื่อยมา ให้ดูทันสมัย เช่น มงกุฎของ ภัสราภรณ์ ชัยมงคล นางสาวไทยปี พ.ศ.2533 ดูสวยแหวกแนว ด้วยรูปเส้นดาวกระจาย ไม่มีลายกนก แต่เป็นลายสมัยใหม่ใช้มาประกอบกัน หรือ มงกุฎของ จิระประภา เศวตนันทน์ นางสาวไทยปี พ.ศ.2534 ก็นับว่าเป็นแบบเพอร์เฟ็กท์ ฟอร์ม ที่สุด มีการใช้เพชรสีน้ำเงินสีของของวชิราวุธมาตกแต่ง เป็นมงกุฏที่ได้มาตรฐานของยุค ต่อมาใน ยุคที่ 5 พ.ศ.2543 - พ.ศ.2550 ยกเว้นปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นยุคที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวีได้เข้ามาร่วมจัดการประกวด มงกุฎยุคนี้ยังเป็นแบบคราวน์ มีการปรับดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ คือลวดลายภายในแตกต่างไปในแต่ละปี เช่น มงกุฎของ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นางสาวไทยปี พ.ศ. 2543 มีลวดลายที่อ่อนช้อย ละเอียด คล้ายกับเถาไม้เลื้อย ต่อมาในปี 2544 มงกุฎของ สุจิรา อรุณพิพัฒน์ ได้พัฒนาต่อมาจากปีก่อน เพิ่มเพชรล้อมพลอยสีน้ำเงิน บนปลายมงกุฎ ร่วมกับลวดลายกระจัง มีความโดดเด่นและลงตัวที่สุด จนกลายเป็นต้นแบบของมงกุฎในยุคนี้

ซึ่งในบางปีจะมีการปรับเปลี่ยนสีของอัญมณีที่ประดับบนหัวมงกุฎไปตามโอกาสพิเศษ เพื่อเป็นที่ระลึกในแต่ละปี เช่น มงกุฎของ สิรินทร์ยา สัตยาศัย นางสาวไทยปี พ.ศ.2547 เป็นสีฟ้าอ่อนเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลอง ครบ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ส่วนมงกุฎของ ลลนา ก้องธรนินทร์ นางสาวไทยปี พ.ศ. 2549 เป็นสีเหลือง เนื่องในวโรกาส พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

ยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป เป็นยุคที่ อสมท หรือ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เข้ามาร่วมจัดการประกวด โดยมงกุฎของ พรรณประภา ยงค์ตระกูล นางสาวไทยปี พ.ศ.2551 ยังคงเป็นแบบคราวน์ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากมงกุฎของ วารุณี แสงศิรินาวิน นางสาวไทยปี พ.ศ.2512 ซึ่งเป็นมงกุฏลักษณะแบบคราวน์สวมครอบบนศีรษะ ผสมผสานกับมงกุฎของ สุจิรา อรุณพิพัฒน์ นางสาวไทยปี พ.ศ.2544 ที่มีฟอร์มสวย ผสานกับรูปกลีบบัว โดดเด่นที่จี้เพชรทรงหยดน้ำห้อยที่ยอดมงกุฎ เมื่อมีการเคลื่อนไหวเพชรทรงหยดน้ำจะสร้างมิติ เปล่งประกายระยิบระยับ เฉกเช่นประกายงามแห่งปัญญา ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ของการประกวดปีที่แล้ว

สำหรับมงกุฎนางสาวไทยปี พ.ศ.2552 นี้ ยังคงกลิ่นอายที่คล้ายคลึงกับปี 2551 เนื่องจากให้เกิดความสอดคล้อง ต่อเนื่อง และต้องการยึดเป็นต้นแบบเพื่อใช้สำหรับนางสาวไทยยุคใหม่ ที่ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ ต่อไปในทุกๆ ปี การออกแบบผสมผสานจากแบบมงกุฎที่เป็นผลงานในอดีตของบุรินทร์ วงศ์สงวน ซึ่งยังคงรูปแบบคราวน์เอาไว้ ด้านหน้าเห็นเป็นยอดมงกุฎที่ลดหลั่นกันไป 3 ยอด ตัวเรือนทำด้วยเงินชุบทองคำขาว ประดับด้วยเพชรและมุกกว่า 1,000 เม็ด ส่องแสงระยิบระยับ มีตราเพชราวุธ ลงยาสีน้ำเงิน อันเป็นสีประจำสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ล้อมด้วยเพชรเพิ่มความโดดเด่นตระการตา ส่วนตรงฐานมีลักษณะคล้ายกลีบบัว ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สื่อถึงความบริสุทธิ์ และสง่างาม ประดับด้วยไพลิน รอบตัวมงกุฎ มีความสวยงามอย่างลงตัว โดยใช้เวลาทำประมาณ 3 เดือน

มงกุฎอันสง่างาม รางวัลสูงสุดแห่งเวทีนางสาวไทย กำลังรอสาวงามผู้เพียบพร้อมด้วย ความรู้ ความสามารถ จิตใจที่งดงาม มาครอบครอง... ร่วมลุ้น เป็นกำลังใจ ให้พวกเธอได้ในรอบตัดสิน วันที่ 28 ตุลาคม 2552 ณ โรงละครอักษรา ถนนรางน้ำ ซึ่งจะมีการถ่ายทอดทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ในเวลา22.15 น. ของคืนเดียวกัน
 

    

กันยา เทียนสว่าง : Kanya Teinsawang               วณี เลาหเกียรติ : Wanee Laohakeit

    

วงเดือน ภูมิรัตน์ : Wongdern Bhumirat                มยุรี วิชัยวัฒนะ : Mayuree Wichaiwattana

    

พิสมัย โชติวุฒิ : Pissamai Chotiwut                   เรียม เพศยนาวิน : Riam Pessayanavin

    

สว่างจิต คฤหานนท์ Sawangjit Karuharnon          ลัดดา สุวรรณสุภา Ladda Suwansupa

    

อัมพร บุรารักษ์ : Amporn Burarak                     อุษณีย์ ทองเนื้อดUsanee Thongnurdee

    

ประชิตร ทองอุไร : Prachit Thong-urai               อนงค์ (อัชชวัฒนา) นาคะเกศ : Anong Atchawattana

    

สุชีลา ศรีสมบูรณ ์: Sucheela Srisomboon           2507: อภัสรา หงสกุล ( นางงามจักรวาล คนที่ 14

                                                                    พ.ศ. 2508 ) 1964: Apasara Hongsakula
                                                                   ( Miss Universe 1965 )

    

* จีรนันท์ เศวตนันท์ ( รองนางงามนางงามจักรวาล พ.ศ. 2509 ) : Jeeranan Sawaittanan
( 2nd runner-up Miss Universe 1966 )

* ประภัสสร พานิชกุล ( นางงามมิตรภาพ ในการประกวด Miss Queen of The Pacific พ.ศ.2510 )
Prapassorn Panichakul ( Miss Congeniality of Queen of The Pacific 1967 )

    

* อภันตรี ประยุทธเสนีย์ ( ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม ในการประกวดมิสยูนิเวอร์ส พ.ศ 2511 )
Apantree Prayuttasenee ( Best in Swimsuit, Miss Universe 1968 )

* แสงเดือน แม้นวงศ์ ( แต่งกายชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ในการประกวดมิสยูนิเวอร์ส พ.ศ. 2512 )
Sangdern Manwong ( Best National Costume of Miss universe 1969 )

    

* วารุณี แสงศิรินาวิน ( ตัวแทนสาวไทยเข้าร่วมประกวด มิสยูนิ้วอร์ส ปี 2514
เนื่องจากวารุณี แสงศิรินาวินมีอายุไม่ครบตามที่กองประกวดกำหนดในปี 2513 )
Warunee Saengsirinavin ( Thailand's representative in Miss Universe 1970)

* นิภาภัทร สุดศิริ Nipapat Sudsiri

    

* กนกอร บุญมา Kanok-orn Bunma

* สาวิณี (ปัจฉิมสวัสดิ์) ปะการะนัง ( ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม และ รองอันดับ 1 มิสซิสเวิลด์ 2531)
Savinee Pakaranang ( 1st runner up Mrs.World 1988 and best national costume )

    

ธารทิพย์ พงษ์สุข Tarntip Pongsuk                     ทวีพร คลังพลอย Taweeporn Klungploy

    

ชุติมา นัยนา : Chutima Naiyana                        ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ( นางงามจักรวาล พ.ศ.2531)
                                                                    Porntip Nakhirunkanok ( Miss Universe 1988) 

    

* ภัสราภรณ์ ชัยมงคล ( ขวัญใจช่างภาพมิสยูนิเวอร์ส 2533 )
Patsaraporn Chaimongkol - ( Miss Photogenic of Miss Universe 1990 )

* จิรประภา เศวตนันท์ Jiraprapa Sawaittanan

    

* อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ ( รองอันดับ 1 ชุดแต่งกายประจำชาติยอดเยี่ยม มิสยูนิเวอร์ส 2535 ณ ประเทศไทย )
Orn-anong Panyawong - ( 1st runner-up National Costume of Miss Universe 1992 )

* ฉัตรฑริกา อุบลศิร : Chattarika Ubonsiri

    

อารียา สิริโสภาAreeya Sirisopa                         ภาวดี วิเชียรรัตน์ Pavadee Wicheintrat

    

* 2539 ไม่มีการประกวด 1996: NO PAGEANT
รัชรา คำยา ตัวแทนสาวไทยเข้าร่วมการประกวดมิสยูนิเวอร์ส
( รองอันดับ 3 นางงามท่องเที่ยวนานาชาติ 2542 ณ ประเทศมาเลเซีย )
Niratchla Khamya Thailand's representative to Miss Universe 1996
( 3rd runner up Miss Tourism International 1999, Malasia )

* สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ Suangsuda Lawanprasert

     

ชลิดา เถาว์ชาลี Chalida Taochalee                   อภิสมัย ศรีรังสรรค์ Apisamai Srirangsan

    

ปนัดดา วงศ์ผู้ดี Panadda Wongpuudee              สุจิรา อรุณพิพัฒน์ Sujira Arunpipat

               

ปฏิพร สิทธิพงศ์ Patiporn Sittipong ( Noi )   น.ส.ชาลิสา บุญครองทรัพย์ (หมิง) Chalisa Boonkrongsap (Ming)

 

รินทร์ยา สัตยาศัย Sirinya Sattayasai

ที่มาจาก :picpost.mthai


PS.  ●[ _B AN K_ ]●™|| → " Sometime I'm HaPpY. "

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

AsDono BK™ 21 ต.ค. 52 เวลา 11:33 น. 6

ของเรามันขึ้นหมดอ่าคับ

ทำไมคนอื่นเปิดไม่ขึ้นอ่า

..แก้ไขก้อไม่ขึ้น!!

--"


PS.  ●[ _B AN K_ ]●™|| → " Sometime I'm HaPpY. "
0
เมลริเคียว 22 ต.ค. 52 เวลา 00:40 น. 7
เราเห็นแต่ภาพแรกอ่า

ข้อมูลดีแฮะ...

อยากเห็นภาพใจจะขาดแล้ว... จขกท.

PS.   Tell me how I'm supposed to breathe with no air ^^บอกซิว่า...ผมจะหายใจอย่างไรโดยไม่มีอากาศ
0