Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

'ข้าวเจ้า'ห้ามเลือดรางวัลเทคโนดีเด่น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
นักวิจัย  มช.คิดค้นผลงาน  "ข้าวเจ้าห้ามเลือด"  คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี   2552  ระบุใช้หยุดเลือดขณะผ่าตัด  ช่วยลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์  สร้างมูลค่าเพิ่มข้าวไทยให้เป็นที่ยอมรับจากต่างชาติ

     เมื่อวันที่  12  ตุลาคม  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.)  ร่วมกับ  มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์  แถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี  2552  โดยนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทบุคคล  ได้แก่  รศ.นพ.สิทธิพร  บุณยนิตย์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เจ้าของผลงาน  "ข้าวเจ้ากรดห้ามเลือด"  ซึ่งเป็นแผ่นไฮโดรเจลชนิดย่อยสลายได้ใช้ห้ามเลือดขณะผ่าตัด  และผลงาน  "ข้าวเจ้าเย็บแผล"  วัสดุเย็บแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า

     รศ.นพ.สิทธิพรกล่าวว่า  ได้ประดิษฐ์คิดค้นแผ่นไฮโดรเจลชนิดย่อยสลายได้  ปลอดภัยในร่างกายมนุษย์  ใช้ห้ามเลือดต่ออวัยวะอ่อนนุ่มที่ตกเลือดขณะกำลังผ่าตัด  โดยผลิตจากผงแป้งข้าวเจ้าไทยเป็นวัตถุดิบหลัก  ซึ่งได้ปรับให้มีสภาพความเป็นกรดมีค่าเฉลี่ย  ph  1.5  เพื่อเข้าไปแปรสภาพโปรตีนในเลือดให้เป็นลิ่มเลือดเทียม  อุดตันการไหลของเลือดได้  โดยไม่ต้องเอาออกจากร่างกาย  ที่มาของผลงานเกิดการจากแนวคิดที่จะลดการนำเข้าวัสดุห้ามเลือดจากต่างประเทศ  เพราะประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้  ดังนั้น  ตนและคณะวิจัยจึงนำแป้งข้าวเจ้าบริสุทธิ์  100%  ไม่มีโปรตีน  ไขมันและเกลือแร่  มาใช้ผลิตแผ่นไฮโดรเจล  และยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทยอีกด้วย

     "งานวิจัยชิ้นนี้ได้ผ่านการตรวจสอบวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและการทดสอบในสิ่งมีชีวิตจากสัตว์ทดลอง  โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง  ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขอรับรองเชิงจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อการทดสอบทางคลินิก  คาดว่าอีกประมาณ  1  ปีจะสามารถผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้"  รศ.นพ.สิทธิพรกล่าว

     ส่วนผลงาน   "ข้าวเย็บแผล"  เป็นวัสดุชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า  เป็นเส้นใยเดี่ยวใช้เย็บแผลหรืออวัยวะอ่อนนุ่มในร่างกายมนุษย์ขณะกำลังผ่าตัด   โดยปรับคุณสมบัติแป้งข้าวเจ้าให้แข็งแรง   โดนน้ำแล้วไม่ขยายตัว   ทนทานเหมือนไหมสังเคราะห์จากต่างประเทศ   ด้วยการเติมผงนาโนคาร์บอนจากถ่านกะลามะพร้าว  ผลิตเป็นเส้นไหมเย็บแผล  มีเส้นผ่าศูนย์กลาง  1  มิลลิเมตร  รับน้ำหนักได้  3  กิโลกรัม  ขณะนี้งานวิจัยยังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างเชิงเคมีฟิสิกส์ทางห้องปฏิบัติการ  และได้จดสิทธิบัตรเมื่อเดือนมีนาคม  2552

     ส่วนผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทกลุ่ม  ได้แก่  กลุ่มเทคโนโลยี  "ปุ๋ยสั่งตัด"  เพื่อการผลิตพืชอย่างยั่งยืน  โดยมี  ศ.ดร.ทัศนีย์  อัตตะนันทน์  คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และคณะ  มีผลงานการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่  หรือที่กันว่าปุ๋ยสั่งตัด  ทำให้เกษตรกรลดค่าปุ๋ยในการผลิตข้าวได้ถึงร้อยละ  47  และผลผลิตข้าวก็เพิ่มขึ้นร้อยละ  7  ได้  สำหรับข้าวโพด  ถ้าใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าร้อยละ  30  นอกจากนี้  ทางกลุ่มยังได้พัฒนาชุดเครื่องมือวิเคราะห์ดินที่เกษตรกรสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง

     สำหรับผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่มี   2  คน  ได้แก่  ผศ.ดร.เจษฎา  วรรณสินธุ์   คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มีผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะด้วยกระบวนการหล่อโลหะกึ่งของแข็ง    เทคโนโลยีนี้จะทำให้อุตสาหกรรมหล่อโลหะไทยมีศักยภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้น   และยังสามารถประยุกต์ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้กับทางทหารได้  เช่น  เกราะกันกระสุนและเกราะกันระเบิดน้ำหนักเบา

     ดร.ฉันท์ทิพ  คำนวณทิพย์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  มีผลงานการพัฒนาแผ่นอะครีลิกนำแสงประหยัดพลังงาน   โดยใช้สารช่วยในการกระจายแสง   ทำให้แผ่นแผ่นอะครีลิกให้ความสว่างที่ได้รับจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แม้ในยามค่ำคืน   อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าของต่างประเทศ

     ทั้งนี้  ผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและรุ่นใหม่  จะเข้ารับรางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดและเหรียญรางวัลเรือใบซูเปอร์มด  ในงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  ครั้งที่  35  (วทท.35)  ในวันที่  15  ตุลาคมนี้  ณ  เดอะ  ไทด์  รีสอร์ท  จังหวัดชลบุรี.

PS.  รักคายรักจิง... แต่ที่รักยิ่งกว่าคือs-lineจุนซู

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

frankenstine 5 พ.ย. 52 เวลา 21:10 น. 2

คนไทยนี่ล่ะเก่งที่สุดในโลกแล้ว

แต่ขานเงินทุนในการศึกษาวิจัย+รัฐบาลไม่ค่อยช่วยเหลือ

ผมเชื่อว่าถ้ามีเงินทุนมากกว่านี้รับรองคนไทยเป็นที่1ของโลกชัวร์

0