Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิทยานิพนธ์ ม. เชียงใหม่ แฉ ทักษิณ เคยบงการปฏิวัติ ฮุนเซน พ.ศ.2537

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทหัวข้อ"ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา : กรณีการรัฐประหารที่ล้มเหลว ปี พ.ศ. 2537 "ของ ถิรวัฒน์ เกษตรภิบาล  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2541 ซึ่งวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวสะท้อนให้เห็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา รวมถึงสายสัมพันธ์ของกลุ่มธุรกิจของไทยที่ไปลงทุนในกัมพูชาซึ่งรวมถึงกลุ่มชินวัตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย


วิทยานิพนธ์ฉบับนี้อาจตอบข้อสงสัยบางประการที่ว่า มีกลุ่มนักธุรกิจและนักการเมืองเข้าไปพัวพันการรัฐประหารที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนของกัมพูชาในยุคนั้นด้วยหรือไม่
*****************
การรัฐประหารล้มเหลวในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 กับการเข้าไปพัวพันของบรรษัทข้ามชาติไทย


การรัฐประหารในกัมพูชาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 05.00 นาฬิกากองกำลังฝ่ายกบฏประมาณ 500 คน ได้ยกพลพร้อมด้วยรถถัง 20 คัน รถบรรทุกขนาดใหญ่ 12 คัน และอาวุธสงครามประกอบไปด้วย เครื่องกระสุน จรวด ตลอดจนเครื่องมือตัดสายไฟฟ้า กองกำลังทั้งหมดเดินทางมาจากจังหวัดเปรเวง มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงพนมเปญ


ต่อมาก็ได้รับการสกัดกั้นจากกองทหารฝ่ายรัฐบาล สังกัดพรรคฟุนซินเปค ที่นำโดยนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 (ผู้นำพรรคซีพีพี)แทนที่จะเป็นเจ้านโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 (ผู้นำพรรคฟุนซินเปค) (สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ : 28 สิงหาคม 2537)


กองกำลังพรรคฟุนซินเปคฝ่ายรัฐบาลได้ทำการสกัดกั้นกองกำลังกลุ่มกบฏไว้จับกุมตัว พลเอก สินสอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย สังกัดพรรคประชาชน(ของนายฮุนเซน) กับนายเตียซอย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งทั้งสองคนเป็นผู้บัญชาการกองกำลังฝ่ายกบฏ หลังจากนั้นจึงส่งกองกำลังฝ่ายกบฏกลับที่ตั้งโดยไม่มีการปะทะกัน


จากการศึกษาภายหลังการรัฐประหารแล้ว ได้มีการสอบสวนและดำเนินคดีผู้ต้องสงสัยบุคคลที่ถูกจับกุมได้แก่ พลเอก สินสองและนายเตียซอย


ทั้งสองได้ให้การซัดทอดในระหว่างการพิจารณาของศาลทหารกัมพูชาว่า นายฮุนเซนเป็นผู้ออกคำสั่งให้เคลื่อนย้ายกำลังทหารจากจังหวัดเปรเวง และกำปงโสม เข้ามายังกรุงพนมเปญเพื่อป้องกันกองกำลังเขมรแดงที่จะเข้ามาก่อความไม่สงบ (เดลินิวส์: 29 ตุลาคม 2537)


การรัฐประหารครั้งนี้ มีเสด็จกรมขุนเจ้านโรดม จักรพงษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี โอรสต่างมารดาในสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ และนายพลเอก สินสอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้นำในการก่อรัฐประหาร กองทหารฝ่ายรัฐบาลจึงเข้าควบคุมตัวเจ้านโรดม จักรพงษ์ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ที่โรงแรมรีเจนท์ ในกรุงพนมเปญ (ประชาชนธุรกิจ :10-13 กรกฎาคม 2537)


เจ้านโรดม จักรพงษ์ ได้เรียกร้องขอความคุ้มครองจากผู้สื่อข่าวชาวอเมริกัน และยังเรียกร้องไปยังสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ ที่ทรงพำนักอยู่ ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อขออนุญาตเดินทางลี้ภัยไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (Asiaweek : 9 July 1994)


หลังจากนั้นกองทหารฝ่ายรัฐบาลก็เข้าจับกุมตัวนายพลสินสองที่บ้านพัก พร้อมกันนี้กองทหารฝ่ายรัฐบาลได้ยึดอาวุธปืนจำนวนหนึ่ง และเครื่องมือสื่อสาร (กรุงเทพธุรกิจ : 11 กรกฎาคม 2537) ตลอดจนทำการกักตัวนายพลสินสองไว้ที่บ้านพัก


สำหรับเจ้านโรดม จักรพงษ์ ต่อมาภายหลังก็ได้รับการอนุญาตจากเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ให้ลี้ภัยไปยังประเทศมาเลเซีย


จับกุม 14 คนไทยพัวพันการรัฐประหาร-ไล่ล่า ส.ส.ไทย พัวเครือชินวัตร?


ในขณะเกิดการรัฐประหาร ทหารฝ่ายรัฐบาลได้ทำการจับกุมคนไทยในกัมพูชาไปอีก 14 คน ด้วยข้อหาพัวพันการก่อรัฐประหาร ผู้ที่ถูกจับกุมมี 13 รายเป็นคนงานของบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด อีก 1 รายเป็นคนขับรถประจำตัวอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่าง(พรรคความหวังใหม่) ทั้งหมดถูกจับกุมตัวที่สนามบินโปเซนตง ในระหว่างกำลังจะเดินทางกลับประเทศไทย


นอกจากนี้ทางรัฐบาลกัมพูชายังระบุชื่อของ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่างของไทยว่า เป็นผู้มีส่วนร่วมก่อการรัฐประหาร แต่อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนดังกล่าวได้ปฏิเสธ และกล่าวว่าตนเองไม่ทราบว่ามีการรัฐประหารเกิดขึ้น เพิ่งจะมารู้ว่ามีการรัฐประหารเมื่อตอนที่เขาและคนขับรถเดินทางมาถึงสนามบิน


เขาได้ให้คนขับรถไปติดต่อเจ้าหน้าที่กัมพูชาเพื่อเดินทางออกนอกประเทศขณะเดียวกันนั้นเองก็ปรากฏว่ามีกองกำลังทหารกัมพูชาตรึงกำลังอยู่ทั่วบริเวณ กำลังทหารกัมพูชาส่วนหนึ่งได้เข้ามาควบคุมตัวคนขับรถเอาไว้ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่างผู้นี้จึงรีบหลบหนีออกจากสนามบิน สักพักหนึ่งจึงทราบข่าวว่า มีคนไทยถูกทหารกัมพูชาจับไปหลายรายเขาจึงตัดสินใจหาทางหลบหนีออกจากประเทศกัมพูชาทางชายแดนด้านตะวันตก โดยว่าจ้างชาวเขมรคนหนึ่ง เป็นเงิน 30,000 บาท และใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการหลบหนี


เขาและชาวเขมรคนนั้นเดินทางรอนแรมมาจนถึงชายแดนไทย-กัมพูชา จนกระทั่งในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2537 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่างผู้นี้จึงเดินเข้ามายังเขตประเทศไทยได้สำเร็จ


ต่อมาหนังสือเดินทางของอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่างก็ถูกค้นพบที่บ้านของผู้ก่อการรัฐประหาร ซึ่งหนังสือเดินทางดังกล่าวเป็นหนังสือเดินทางของทางราชการไทย


อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่าง(พลตำรวจโทอดุลย์  บุญเสรษฐ)กล่าวว่า ตนเองต้องรีบเดินทางออกมาให้ได้เพื่อไม่ให้ประเทศชาติและกองทัพไทยเสียหาย ทั้งยังได้ให้สัมภาษณ์ลงในหนังสือพิมพ์ สยามโพสต์ ฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2537 ว่า เหตุที่ต้องรีบกลับมาประเทศไทยในวันที่ 3 กรกฎาคม เพราะในวันที่ 4 กรกฎาคม ตนมีนัดกับชาวบ้านว่า จะเอาเสื้อกันฝนไปแจกให้แก่ พวกขับรถสามล้อรับจ้างเพราะช่วงนั้นเป็นฤดูฝน และกล่าวปฏิเสธว่าไม่รู้จักกับบริษัทจัดหางานไฮเทค (หรือบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด) ทั้งยังกล่าวปฏิเสธต่อกลุ่มสื่อมวลชนที่มาสัมภาษณ์ว่าตนเองมิได้มีส่วนเกี่ยวพันกับการรัฐประหารแต่ประการใด


อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นี้ได้กล่าวว่า ตนเข้าไปลงทุนทำสัมปทานป่าไม้ และมีโครงการที่จะทำบ่อนคาสิโนที่เกาะกง (The Nation : 11 July 1994) เป็นการร่วมทุนกับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีชื่อว่า คาสิโน ออสเตรเลีย อินเตอร์เนชั่นแนล โดยใช้ชื่อว่า บริษัท มากง และจะใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาท แต่ต้องรอการอนุมัติจากทางรัฐบาลกัมพูชาเสียก่อน


เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในกัมพูชา เขาไม่สามารถสานต่อโครงการได้จึงต้องประสบการขาดทุนเกือบ 100 ล้านบาท (มติชน : 11 กรกฎาคม 2537)


เหตุการณ์การรัฐประหารในกัมพูชานอกจากจะทำให้อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่างถูกทางการกัมพูชาเพ่งเล็งแล้ว ยังมีกลุ่มคนไทยอีกหลายคนที่ถูกเพ่งเล็งว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รัฐประหาร เช่น คณะกรรมกร และเจ้าของบริษัท ไอบีซี เคเบิ้ล ทีวี แคมโบเดีย จำกัด(บริษัทในเครือกลุ่มชินวัตร) ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาก็ออกมาปฏิเสธโดยสิ้นเชิง (มติชน : 12 ตุลาคม 2537)


ผลกระทบจากเหตุการณ์รัฐประหารยังทำให้กองทัพไทยถูกพาดพิงว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ทำให้แม่ทัพภาคที่ 1 ในขณะนั้น ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่ทหารจะไปสนับสนุนการรัฐประหารในกัมพูชา ไม่มีประโยชน์ที่จะไปทำนอกประเทศ การพูดกล่าวหาอย่างนี้คงมีเจตนาอื่นแอบแฝง อาจเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางการค้า (มติชน : 10 กรกฎาคม 2537)


นอกจากนี้ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นยังออกมาปฏิเสธด้วยว่า กองทัพไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารในกัมพูชาตามที่หนังสือพิมพ์ต่างชาติฉบับหนึ่งกล่าวหา ทั้งยังกล่าวว่า มีกลุ่มขบวนการหนึ่งไม่ต้องการให้ประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน (มติชน : 10 กรกฎาคม 2537)



ความเป็นมาของการดำเนินกิจการในกัมพูชาของบริษัทดังกล่าว เริ่มตั้งแต่หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ระหว่างเขมรสี่ฝ่ายที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2534 รัฐบาลเฮงสัมรินและเขมรสามฝ่ายได้ตกลงที่จะจัดให้สภาสูงสุดแห่งชาติ (Supreme National Council) หรือ SNC เป็นผู้ดูแลประเทศ เป็นเวลาเดียวกันกับที่นักธุรกิจจากประเทศต่างๆ อาทิเช่น ไทย ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เข้าไปลงทุนทำธุรกิจในกัมพูชา ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2536


บริษัท ไฮเทคแอทเทน่า จำกัด ก็ได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชาตั้งแตเมื่อปีพ.ศ.2535 ภายใต้ชื่อ บริษัท ไฮเทคคอมมิวนิเคชั่น แคมโบเดีย (Hitech Communication Cambodia) การดำเนินธุรกิจเป็นแบบเดียวกับในประเทศไทย และงานชิ้นแรกของบริษัทก็คือ การดำเนินงานติดตั้งเสาอากาศแบบ Tower สำหรับวิทยุสื่อสาร ให้กับบริษัท ไอบีซี แคมโบเดีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มชินวัตร


การรับงานติดตั้งเสาอากาศดังกล่าว ผู้บริหารของบริษัทไฮเทค แอทเทน่า จำกัด ยอมรับว่า คณะกรรมการบริษัท ไอบีซี แคมโบเดียผู้หนึ่ง เป็นผู้ว่าจ้างบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด เข้าไปติดตั้ง Tower สำหรับวิทยุสื่อสารให้ (ผู้จัดการรายสัปดาห์ : 7 พฤศจิกายน 2537) และงานชิ้นต่อมาคือ งานติดตั้งเสาอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบ FM ให้กับสถานีวิทยุกระจายเสียงของพรรคประชาชน (CPP) ของนายฮุนเซน


จากการรับงานชิ้นนี้เองที่ทำให้ผู้บริหาร บริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด ได้มีโอกาสรู้จักกับพลเอก สินสอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกัมพูชา ในสังกัดพรรคประชาชน (CPP) (ผู้จัดการ : 30 สิงหาคม 2537) รวมทั้งได้รู้จักกับเจ้าหน้าที่ องค์การสหประชาชาติ เจ้าจักรพงษ์ และนายฮุนเซน (มติชน : 10 กรกฎาคม 2537)


ผู้บริหารบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด ได้ชี้แจงว่า ตนเองไม่เคยรู้จักกับผู้นำประเทศคนใดของกัมพูชา (ไทยไฟแนนเชียล : 2 พฤศจิกายน 2537) แต่คนไทยที่ถูกจับกุมทั้งหมดนั้นเป็น เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปเพื่อทำการสำรวจติดตั้งเสาวิทยุ มีบริษัทที่ฮ่องกงติดต่อมาให้สำรวจติดตั้งวิทยุสื่อสารระหว่างพนมเปญกับพระตะบอง ทางบริษัทต้องทำการสำรวจและตีราคาให้เขา



ในลักษณะของงานนี้ บริษัทยังไม่รู้ว่าจะใช้เสากี่ต้นตอทั้งหมด จึงส่งเจ้าหน้าที่ 3 คน คือ หัวหน้าทีมซึ่งเป็นผู้จัดการของโรงงาน และอีกสองคนเป็นนายช่าง แต่บริษัทขาดแรงงานที่เข้าไปช่วยในการสำรวจเพราะต้องแบ่งการทำงานเป็น 3 ชุด บริษัทจึงต้องออกไปหาคนเพื่อเข้ามาประสานการทำงานนี้เพราะการสำรวจจะต้องใช้คนค่อนข้างมากในการสำรวจแต่ละจุด ซึ่งผู้บริหารบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด ยอมรับว่า คนงานทั้ง 13 คน เป็นคนของบริษัท และได้ดำเนินการช่วยเหลือผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ (คำให้สัมภาษณ์ สรุปข่าวรอบสัปดาห์ คลื่น 97.5 เมกกะเฮิร์ต : 9 กรกฎาคม 2537)


การดำเนินการช่วยเหลือทางบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด ได้ส่งหนังสือมายังกระทรวงการต่างประเทศลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2537 โดยยอมรับว่าคนไทยที่ถูกจับรวมทั้งคนขับรถของอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่าง ทั้ง 14 คน เป็นคนงานของบริษัททั้งหมด ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารแต่ประการใด ซึ่งต่อมาทางการกัมพูชาก็ได้ดำเนินการส่งตัวคนไทยชุดแรกกลับประเทศจำนวน 5 คน โดยศาลทหารกัมพูชาตัดสินให้จำคุกคนละ 2 ปีแต่รอลงอาญา ส่วนที่เหลืออีก 9 คนยังถูกคุมขังอยู่ จนกระทั่งในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2537 ศาลทหารกัมพูชาก็ได้พิพากษาให้ คนไทยทั้ง 9 คนรอลงอาญาทั้งหมดและให้ดำเนินการส่งตัวกลับประเทศ


หลังจากที่คนไทยทั้งหมดเดินทางมายังประเทศไทย ผู้บริหารของบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัด กลับออกมายอมรับผ่านสื่อมวลชนว่า จำนวนคนไทยที่ได้รับการปล่อยตัวกลับ มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่รู้จักส่วนที่เหลือไม่เคยรู้จัก และไม่ทราบว่าใครเป็นคนส่งตัวไปทำงานในกัมพูชา (สยามโพสต์ : 1 พฤศจิกายน 2537)


สำหรับคนขับรถของอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคเหนือตอนล่างนั้น ผู้บริหารบริษัท ไฮเทค แอทเทน่า จำกัดได้ออกมากล่าวปฏิเสธในภายหลังว่า ไม่เคยรู้จักกับตนเองมาก่อนรวมถึงตัวอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นด้วย



การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจไทยกับเขมรฝ่ายนายฮุนเซน


ความสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจไทยกับเขมรฝ่ายนายฮุนเซน ส่วนใหญ่นักธุรกิจไทยที่สนิทสนมจะเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่เคยเข้าไปบุกเบิกธุรกิจในกัมพูชาตั้งแต่ยุคพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา


ภายหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีนายกรัฐมนตรีร่วมสองคน คือ เจ้านโรดม รณฤทธิ์ กับนายฮุนเซน ก็มีการปรับโครงสร้างระบบภาษี และปฏิรูประบบเศรษฐกิจใหม่ทั้งหมดภายใต้การบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสัม รังษี ผลจากการกระทำครั้งนี้ทำให้ธุรกิจของไทยต้องเสียหาย อาทิเช่น ธุรกิจการค้ารถยนต์ ของกลุ่มสี่เสือเกาะกง ต้องขาดทุนอย่างมหาศาล เนื่องจากต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลกัมพูชาเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว


การดำเนินมาตรการเข้มงวดทางด้านภาษีศุลกากรและทบทวนสัญญาการลงทุนนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อนักธุรกิจไทย โครงการสำคัญที่ถูกผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวมีดังนี้


1) โครงการโรงแรมลอยน้ำ "พนมเปญโฟลทติ้งโฮเต็ล" มูลค่า 300 ล้าน ของนักธุรกิจไทยโครงการดังกล่าวได้ถูกคำสั่งย้ายที่ตั้งโรงแรมออกไปจากบริเวณศาลาจตุรมุข ซึ่งเป็นเขตพระราชฐาน เนื่องด้วยที่ตั้งโรงแรมบดบังทัศนียภาพของพระราชวัง เขมรินทร์ ทางโรงแรมได้เสียผลประโยชน์ทางธุรกิจไปไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลกัมพูชายังสั่งยกเลิกสัญญาธุรกิจที่ทำไว้กับรัฐบาลกัมพูชาฉบับเก่าทิ้ง และทำสัญญาฉบับใหม่มีอายุสัญญาเพียง 5 ปีเท่านั้น แต่ยังสามารถต่อสัญญาได้เมื่อครบกำหนด


การกระทำของรัฐบาลกัมพูชาทำให้นักธุรกิจไทยเจ้าของโครงการยกเลิกการลงทุนทั้งหมดทันที รวมทั้งโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะกง ซึ่งได้สิทธิเช่าที่ดินริมทะเล 1,200 ไร่ ที่จะพัฒนาเป็นรีสอร์ต สนามกอล์ฟ คาสิโน ศูนย์บันเทิง โรงแรมลอยน้ำด้วยวงเงินลงทุนถึง 1,500 ล้านบาท (ฐานเศรษฐกิจ : 10-12 มีนาคม 2537)


2) ธุรกิจการบิน "คัมโบเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์" ของกลุ่มฟูลด้า รัฐบาลกัมพูชาได้มีหนังสือลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สั่งการให้สายการบินคัมโบเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ ยกเลิกการบินในทุกเส้นทางโดยเด็ดขาด นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป หลังจากที่ดำเนินการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-พนมเปญ สัปดาห์ละ 7 เที่ยว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 การดำเนินการของรัฐบาลกัมพูชากระทำไปเพื่อให้สายการบิน ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกัมพูชากับสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ทำการบินแทนทั้งหมด


นอกจากนี้ยังยกเลิกสัญญาในการลงทุนก่อสร้างปรับปรุงสนามบินโปเซนตงของนักธุรกิจไทยผู้หนึ่ง โดยให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติจากมาเลเซียชื่อบริษัท มูฮิบาร์ มาสเตอร์รอน จำกัด รับสัมปทานไปดำเนินกิจการแทนเช่นเดียวกัน ผลจากการกระทำดังกล่าวทำให้ กลุ่มฟูลด้าเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท (ฐานเศรษฐกิจ : 10-12 มีนาคม 2537)


3) กลุ่มชินวัตร ที่เข้าไปลงทุนทำธุรกิจในกัมพูชาเกี่ยวกับโทรศัพท์ไร้สาย ซึ่งได้รับสัมปทาน 15 ปี รวมทั้งกิจการเคเบิ้ลทีวี และโครงการสถานีโทรทัศน์ ในนามของ บริษัท ไอบีซี เคเบิ้ล ทีวี แคมโบเดีย จำกัด โดยเริ่มดำเนินการออกอากาศแพร่ภาพมาตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 ก็เริ่มประสบปัญหา เมื่อรัฐบาลกัมพูชาสั่งลดอายุสัญญาการดำเนินกิจการเคเบิ้ลทีวีลงเหลือ 30 ปี จากเดิมที่เคยทำสัญญากับรัฐบาลนายฮุนเซน ไว้เป็นระยะเวลา 99 ปี


การถูกลดสัมปทานของบริษัทนั้น ในมุมมองของประชาชนชาวกัมพูชาส่วนหนึ่งมองว่าการแพร่ภาพโทรทัศน์ของบริษัท ไอบีซี เคเบิ้ล ทีวี แคมโบเดียเป็นการนำเอารายการจากประเทศไทยเข้าไปเผยแพร่ ทำให้เกิดการรุกรานทางวัฒนธรรม แต่ประชาชาชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ก็ชมชอบที่จะดูรายการของบริษัทมากกว่ารายการโทรทัศน์ของกัมพูชา (ไทยไฟแนนเชียล : 17 ตุลาคม 2537)


นอกจากนี้กลุ่มชินวัตรได้เข้าไปบุกเบิกตลาดการสื่อสารโทรศัพท์ไร้สายโดยใช้ชื่อว่า แคมชิน (CAMSHIN) หรือแคมโบเดียชินวัตร ในอัตราร้อยละ 70:30 ด้วยเงินลงทุนขั้นต้น 6 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ แคมโบเดียชินวัตรใช้ระบบที่เรียกว่า (WELL) หรือ Wireless Local Loop ซึ่งเป็นระบบของโทรศัพท์เคลื่อนที่ NMT 450 เมกะเฮิอร์ต แต่ถูกออกแบบให้ใช้กับโทรศัพท์ภายในบ้านที่ยังคงรูปแบบของโทรศัพท์ไร้สาย แคมโบเดียชินวัตรบริการติดตั้งทันทีหลังการขอ ทั้งนี้ต้องเสียค่าบริการขั้นแรก 980 ดอลลาร์ เป็นค่าติดตั้ง 160 ดอลลาร์ ค่าประกันโทรศัพท์และค่าบริการ 820 ดอลลาร์ ซึ่งจะคืนให้เมื่อเลิกใช้


การเข้าไปบุกเบิกธุรกิจการสื่อสารดังกล่าวนั้น เริ่มมาจากเมื่อครั้งUNTAC ได้เข้ามาช่วยดำเนินการพร้อมจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2536 UNTAC ได้นำอุปกรณ์การสื่อสารเกือบทุกประเภทเข้ามารวมถึงการจัดตั้งสถานีดาวเทียมและอุปกรณ์สื่อสารมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 765 ล้านบาท



หลังจากที่ UNTAC ถอนตัวออกจากกัมพูชา พร้อมเจ้าหน้าที่กว่า 20,000 คน สิทธิในการดูแลเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมดจึงตกอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ที่ยังไม่มีการตัดสินว่าควรให้เอกชนรายใดเป็นผู้ประมูลได้ไป (ผู้จัดการรายสัปดาห์ : 1 สิงหาคม 2537)


4) กลุ่มวนชัน กรุ๊ป บริษัทดังกล่าวได้เข้าไปทำกิจการโรงเลื่อย เพื่อนำไม้เข้ามาป้อนโรงงานไม้อัดในประเทศไทย ตลอดจนโครงการรีสอร์ตและคาสิโนที่หาดทรายยาว จังหวัดเกาะกง และธุรกิจสายการบินของกลุ่มสยามกัมปูเจีย แอร์ไลน์ หรือกลุ่ม เอส.เค (Siam Kampuchea Airline-SK) ก็ประสบปัญหาทางธุรกิจ เพราะได้รับคำสั่งให้หยุดบินกระทันหัน เพื่อให้รัฐบาลกัมพูชาจัดตั้งสายการบินแห่งชาติ (Royal Air Cambodge) โดยรวมเอาสายการบินแห่งชาติเดิมที่ชื่อ กัมปูเจีย แอร์ไลน์ เข้ามาด้วย


กำหนดการการบินของสายการบินแห่งชาติกัมพูชา ได้รับการกำหนดขึ้นบินปฐมฤกษ์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 นอกจากนี้กลุ่ม เอส.เค ยังมีธุรกิจสัมปทาน โรงแรมแกรนด์ซึ่งเป็นโรงแรมโบราณ ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ สัมปทานของโรงแรมดังกล่าว ได้ถูกระงับจากรัฐบาลกัมพูชาภายหลังการรัฐประหารที่ล้มเหลว วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 โดยให้กลุ่มบริษัท รัฟเฟิล กรุ๊ป จากสิงคโปร์เข้ามาดำเนินกิจการแทน (ผู้จัดการรายสัปดาห์: 30 มกราคม 2538)


5) ตลาดโอลิมปิค ภายใต้สัมปทานของบริษัท ไทยบุญรุ่ง จำกัด ของนักธุรกิจเขมรเชื้อสายไทยชาวเกาะกง ชื่อนายเท้ง บุญมา โดยตลอดโอลิมปิคได้รับผลกระทบจากมาตรการจัดเก็บภาษีนำเข้า บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาประกาศยกเลิกการเก็บภาษีแบบเหมาจ่าย มาเป็นแบบจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15-50 ของมูลค่าสินค้า อันเป็นผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้บริษัทไทยบุญรุ่ง จำกัด ต้องประกาศจัดเก็บค่าเช่าแผงของผู้ประกอบการสูงขึ้น จึงนำไปสู่การประท้วงเรื่องค่าเช่าแผงแพงของกลุ่มผู้ประกอบการจำนวนกว่า 500 คน


นายฮุนเซนได้เคยพบปะกับนักธุรกิจชั้นนำ ที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2538 การพบปะดังกล่าว นายฮุนเซนได้กล่าวถึง การเข้าไปลงทุนของนักธุรกิจไทยว่านักธุรกิจไทยเป็นนักธุรกิจที่กล้าหาญที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งเชื่อว่านักธุรกิจไทยคงประสบความเสียหายน้อยลง


หลังจากที่ตนได้ร่วมลงนามกับเจ้ารณฤทธิ์เพื่อขอ มติขับนายสัมรังษี อดีตรัฐมนตรีคลังออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของต่างประเทศ การหยิบยกสัญญาที่ได้ทำไว้กับรัฐบาลชุดก่อนขึ้นมาทบทวนแล้วบอกว่า เป็นสัญญาที่ไม่ถูกต้องหรือในกรณีที่ะนาคารต่างชาติไปลงทุนในกัมพูชาก็ถูกนายสัม รังษีกล่าวหาว่าเป็นแหล่งฟอกเงินแ



นายฮุนเซนได้กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนในกัมพูชา ตนขอเอาชีวิตเป็นประกันว่าธุรกิจและการลงทุนของไทยที่จะเข้าไปในกัมพูชาต่อไปนี้จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป และขอย้ำว่าจะมอบชีวิตเป็นประกันธุรกิจไทยในกัมพูชา ทั้งยังจะเสนอให้มีการหยิบยกสัญญาที่ยังมีปัญหาขึ้นมาพิจารณาอย่างยุติธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยจะเร่งให้เสร็จสิ้นปัญหาโดยเร็วที่สุด (ผู้จัดการ : 31 มีนาคม 2538)


การให้สัมภาษณ์ของนายฮุนเซน จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ 2 ประการ ประการแรก ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านโดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 กับนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ไม่ดี นับแต่เริ่มจัดตั้งรัฐบาลผสมและต้องทำงานร่วมกัน


ประการที่สอง ชี้ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์อันเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง ระหว่างกลุ่มนักธุรกิจไทยกับนายฮุนเซนอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นการที่นายสัม รังษี และเจ้านโรดม รณฤทธิ์ เข้ามาทำการอันเป็นผลกระทบต่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจไทย


จึงเป็นที่ต้องสงสัยว่า การรัฐประในกัมพูชาครั้งนี้ ผู้ที่เข้าไปพัวพันกับการรัฐประหารก็คือ กลุ่มนักธุรกิจจากประเทศไทย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากการที่กลุ่มนักธุรกิจซึ่งนำโดยอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคการเมืองหนึ่งกับพรรคพวก ได้ให้ความช่วยเหลือนำตัวพลเอก สินสอง ผู้มีส่วนร่วมในการรัฐประหารกับพรรคพวกหลบหนีเข้าเมืองทางชายแดนด้านจังหวัดตราด หลังจากที่กลุ่มเขมรเหล่านี้ก่อการรัฐประหารไม่สำเร็จ (หมอความชาวบ้าน, ปีที่ 11: ฉบับที่ 122) รวมถึงการที่มีคนไทยจำนวน 14 คนถูกทางการกัมพูชาขอร้องให้ทางรัฐบาลไทยส่งตัวไปสอบสวนในฐานะเป็นผู้ต้องสงสัยร่วมกันวางแผนรัฐประหาร วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น

-นักฆ่าแห่งเมืองคาซิโอเรียท- 15 พ.ย. 52 เวลา 23:24 น. 2

รอด้วย...
ช่วยสรุปให้สั้นๆแล้วรู้เรื่องทีคห.ล่าง
v
v
v
v


PS.  ขอโทดที ช่วงนี้อารมณ์ค่อยข้างไม่ปกติ โปรดอภัยในความสาวหาวของเราด้วย!!!!!
0
maficeoza 16 พ.ย. 52 เวลา 09:26 น. 6
บุญคุณต่างตอบแทน



เรารักชาติไทย

จะบิดเบือนว่าคลั่งชาติก็ช่าง

มันเป็นเรื่องที่คนทรยศชาติไม่มีวันเข้าใจ
 

PS.  เข้ามาเยี่ยม ผู้ขี่ม้าสีทอง ฟีบัส เบเนดีน หยั่งรู้ชะตากรรมแห่งอนาคต...คิโบนี่ ปิดตำนานพยากรณ์กับคำทำนายครังสุดท้ายและเราก็มีโค้ดเพลงแปลกๆด้วย
0
ป ฐ พี 16 พ.ย. 52 เวลา 22:18 น. 9

คุณที่บอกเพ้อเจ้อไร้สาระอะครับ อ่านจบหรือยัง
แล้วคุณได้อ่านด้วยใจเป็นกลางหรือเปล่า

อีกอย่างการทำวิทยานิพนธ์ไม่ใช่ใครๆก็จะสามารถทำได้
เพราะคุณต้องมีความรู้ที่ดีมากๆมีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างไม่บิดเบือน
ต้องทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และผ่านการแนะนำ ให้คำปรึกษา ตรวจสอบของเหล่าอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย

แต่หากคุณยังกล่าวว่าวิทยานิพนธ์ฉบับนี้(และหลายฉบับ)เป็นเรื่องเพ้อเจ้อไร้สาระแล้วล่ะก็
ผมคิดว่าคนที่สมควรจะถูกกล่าวว่า ไร้สาระเพ้อเจ้อ คงเป็นคุณมากกว่ามั้งครับ
^^

0
ตีนแดง 26 ต.ค. 58 เวลา 16:52 น. 10

ถ้าบอกว่าเพ้อเจ้อ ก็แสดงว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ส่งให้ร่ำเรียนเขียนหนังสือถึงไม่ทราบว่า วิทยานิพนธ์คือการนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบต้องทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทุกอย่างกว่าจะสำเร็จขึ้นเป็นวิทยานิพนธ์ขึ้นมา ณ จุดนี้คนไมมีการศึกษาคงไม่ทราบ

0