Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โครงงานเขียนนิทาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

 

โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เรื่อง เขียนนิทานสืบสานภูมินาม
หมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

 

จัดทำโดย

   . เด็กหญิงจุฬานีย์   ทะสิทธิ์             
         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๓/๒

   ๒. เด็กหญิงสายรุ้ง    โคตะศรี                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑

   . เด็กหญิงนุชจรินทร์   แสนข่วง   
        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๓/๑

   . เด็กหญิงมินตรา นามมหาวงษ์       
        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๓/๒

   . เด็กชายอลงกรณ์     ชาวศรี           
       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๒/๑

 

ครูที่ปรึกษา

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 

 

โรงเรียนท่าเกษมพิทยา

ตำบลท่าเกษม   อำเภอเมือง  จังหวัดสระแก้ว

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว  เขต

 

 

 

 

ชื่อโครงงาน     เขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้จัดทำโครงงาน    . เด็กหญิงจุฬานีย์   ทะสิทธิ์            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒

                       ๒. เด็กหญิงสายรุ้ง    โคตะศรี       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑

                       . เด็กหญิงนุชจรินทร์   แสนข่วง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑

                       . เด็กหญิงมินตรา นามมหาวงษ์   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒

                       . เด็กชายอลงกรณ์     ชาวศรี        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑

ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน    ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สถานที่ดำเนินโครงงาน   โรงเรียนท่าเกษมพิทยา  อำเภอเมืองสระแก้ว   จังหวัดสระแก้ว

 

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมาย  :  เพื่อสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

วิธีการดำเนินงาน  : ร่วมกันศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านต่างๆ จากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม   อีกทั้งได้สอบถามและสัมภาษณ์ผู้รู้ และภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ในหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่   บ้านหนองนกกระเรียน

บ้านหนองนกเขา   บ้านทุ่งพระ   บ้านห้วยใหญ่   บ้านหัวกุญแจ   บ้านท่าเกษม บ้านใหม่ไทยพัฒนา  
 บ้านโคกสัมพันธ์            บ้านคลองอุดมสุข   บ้านคลองนางชิง   บ้านสุขสำราญ   บ้านคำเจริญ
    และ
บ้านหนองพระสระเนตร   จากนั้นได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานในการทำโครงงาน
 
“
สืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม” ต่อไป

นอกจากนี้    คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับนิทาน   เพราะมีความคิดว่า  หากนำเรื่องราวประวัติ

ความเป็นมาของหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลท่าเกษม  มาผูกเรื่องเป็นนิทานให้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน  หรือผู้ที่สนใจ

ได้อ่าน  นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว  ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้คนรักบ้านเกิดและชุมชนของตน  

เป็นการช่วยให้ผู้อ่านได้จดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งสามารถนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้

ให้ชนรุ่นหลังได้รับทราบเกี่ยวกับภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษมด้วย          

ผลการศึกษาโครงงาน   “สืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม”   และการเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านทั้ง ๑๓ หมู่บ้าน นี้    คณะผู้จัดทำได้แบ่งประเภทของนิทานตามภูมินามหมู่บ้าน ดังนี้

นิทานปรัมปรา ได้แก่  บ้านหนองนกกระเรียน  บ้านหนองนกเขา   

นิทานท้องถิ่น ได้แก่   บ้านทุ่งพระ  บ้านห้วยใหญ่   บ้านหัวกุญแจ   บ้านท่าเกษม   
บ้านใหม่ไทยพัฒนา   บ้านโคกสัมพันธ์    บ้านคลองอุดมสุข  บ้านคลองนางชิง  บ้านสุขสำราญ  
บ้านหนองพระสระเนตร
 

นิทานเทพนิยาย  ได้แก่  บ้านคำเจริญ      

“ภูมินาม” ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของชาวบ้าน   ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงต้องการให้ทุกท่านร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานภูมินามของหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลท่าเกษม ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญานี้ไว้ ไม่ให้
สูญหาย โดยการ

รวบรวมประวัติความเป็นมา   และแต่งเป็นนิทานท้องถิ่น เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังในหมู่บ้านได้รู้จักประวัติและเกิดความเข้าใจภูมินามของหมู่บ้านตนเองมากยิ่งขึ้น   

 

 

 

กิตติกรรมประกาศ

 

           โครงงาน เรื่อง  “สืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม” นี้ สำเร็จเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน   ด้วยความอนุเคราะห์ให้การช่วยเหลือ แนะนำ ติชม   เป็นที่ปรึกษาและเป็นกำลังใจที่ดี   

จาก นายวณิชย์  สงวนวงษ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าเกษมพิทยา   และคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย  โรงเรียนท่าเกษมพิทยาทุกท่าน  ขอขอบพระคุณองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม   ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้าน

ในตำบลท่าเกษม  ทั้ง ๑๓  หมู่บ้าน   ซึ่งนับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาและจัดทำโครงงานให้มีความถูกต้อง

สมบูรณ์อย่างยิ่ง

 

คณะผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งและขอขอบพระคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านเป็นอย่างสูงมา ณ  โอกาสนี้

 

                                                                 คณะผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                   หน้า

บทคัดย่อ                                                                           

กิตติกรรมประกาศ                                                                 

บทที่ ๑  บทนำ                                                                                                                     

                     - ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                           

                      - วัตถุประสงค์                                                                  

                     - สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

                     - ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

                     - ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า

                     - นิยามศัพท์เฉพาะ

                บทที่    เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                            

                     - เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภูมินาม                                   

                     - เอกสารที่เกี่ยวข้องกับตำบลท่าเกษม   อำเภอเมือง    จังหวัดสระแก้ว

                     - เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิทาน

บทที่    วิธีการดำเนินการ                                                            

                    - อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา

                    - วิธีการศึกษา

บทที่    ผลการศึกษา                                                                     

นิทานท้องถิ่น   -บ้านคลองนางชิง                                                 

      - บ้านท่าเกษม                                                                                                                 

                      - บ้านหนองนกเขา                                                              ๑๐

                      - บ้านทุ่งพระ                                                                     ๑๑

                      - บ้านหนองนกกระเรียน                                                       ๑๒

                      - บ้านโคกสัมพันธ์                                                               ๑๓

                      - บ้านคลองอุดมสุข                                                                                                        ๑๔

                      - บ้านสุขสำราญ                                                                 ๑๕  

                      - บ้านหัวกุญแจ                                                                  ๑๖

                      - บ้านคำเจริญ                                                                    ๑๗   

                      - บ้านหนองพระสระเนตร                                                      ๑๘

                      - บ้านห้วยใหญ่                                                                  ๑๙

                      - บ้านใหม่ไทยพัฒนา                                                           ๒๐

 

 

 

 

                บทที่    สรุปผลและอภิปรายผล                                               

               -สรุปผล

-  อภิปรายผล                                                                             ๒๑

 - การจำแนกการเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านตามประเภทนิทานกรมวิชาการ      ๒๒

                 -  การจำแนกการเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านตามประเภทนิทานของประคอง   ๒๓

เอกสารอ้างอิง

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ ๑

บทนำ

 

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

              นาม หรือชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้เรียกขานบุคคล  สัตว์   สิ่งของ  เพื่อให้เข้าใจตรงกัน มีความไพเราะ  ความหมายดี  ชื่อสถานที่ก็เช่นกันความหมายของชื่อก็จะบอกลักษณะของสถานที่   บอกลักษณะภูมิประเทศ 

เรื่องต่างๆ ของสถานที่นั้นๆ  รวมถึงค่านิยมของคนในถิ่นนั้นๆ  ปัจจุบันชื่อสถานที่บางแห่ง  มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้ความหมายของถิ่นนั้นหายไปด้วย   จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายของคนรุ่นหลังที่ไม่ได้ทราบความหมายและเข้าใจ

ถึงอารมณ์   ความรู้สึกร่วมในวัฒนธรรมของตนเอง    เพราะไม่รู้ที่มาของถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ว่ามีความเป็นไปอย่างไรทำไมจึงเรียกเช่นนี้และหมายถึงอะไร ดังนั้น กลุ่มผู้จัดทำจึงได้ศึกษาและเขียนนิทานสืบสานภูมินามในตำบลท่าเกษม  อำเภอเมืองสระแก้ว  จังหวัดสระแก้ว   เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านตัวเอง และตระหนักถึงคุณค่าของภูมินามหมู่บ้าน  ก่อให้เกิดความภูมิใจและร่วมกันอนุรักษ์เป็นมรดกสืบทอดให้แก่ลูกหลานสืบไป

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

                    . เพื่อสืบสานภูมินามของหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม  อำเภอเมืองสระแก้ว   จังหวัดสระแก้ว

      ๒. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม  อำเภอเมืองสระแก้ว  
จังหวัดสระแก้ว

                    ๓. เพื่อฝึกการเขียนนิทานโดยการสืบสานจากภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม
อำเภอเมืองสระแก้ว   
จังหวัดสระแก้ว

 

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

๑. รวบรวมภูมินามของหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม  อำเภอเมืองสระแก้ว   จังหวัดสระแก้ว

. ทราบประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม  อำเภอเมืองสระแก้ว  
จังหวัดสระแก้ว

๓. เขียนนิทานจากการสืบสานภูมินามของหมู่บ้านได้

๔. อนุรักษ์ภูมินามซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหายไปจากท้องถิ่นได้

 

                ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

        ๑. การศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลมาจากการสัมภาษณ์ผู้รู้และภูมิปัญญาในหมู่บ้าน

                     ๒. ชื่อหมู่บ้าน   สถานที่ตั้ง  และบริบทแวดล้อมได้จากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม

อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว    จำนวน  ๑๓ หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่      บ้านคลองนางชิง

                                หมู่ที่      บ้านท่าเกษม

                                หมู่ที่      บ้านหนองนกเขา

                                หมู่ที่      บ้านทุ่งพระ

                                หมู่ที่      บ้านหนองนกกระเรียน

                                หมู่ที่      บ้านโคกสัมพันธ์

                               หมู่ที่        บ้านคลองอุดมสุข

                                หมู่ที่        บ้านสุขสำราญ

                                หมู่ที่        บ้านหัวกุญแจ

                                หมู่ที่  ๑๐     บ้านคำเจริญ

                                หมู่ที่  ๑๑     บ้านหนองพระสระเนตร

                                หมู่ที่  ๑๒     บ้านห้วยใหญ่

                                หมู่ที่  ๑๓     บ้านใหม่ไทยพัฒนา

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

๑.  นิทาน               หมายถึง                 เหตุ ,เรื่องเดิม,เรื่องที่เล่ากันมา

๒. หมู่บ้าน            หมายถึง                 บ้านเรือนที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

๓. สืบสาน            หมายถึง                 สืบต่อกันเป็นทอดๆต่อกันมา

๔. ภูมินาม             หมายถึง                 ชื่อที่ใช้เรียก  โดยตั้งขึ้นจากภูมิประเทศ

                                                      หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้นๆ

 

ระยะเวลาในการศึกษา

วันที่  ๑ เมษายน ๒๕๕๑ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑

 

                ประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า

      ๑.  เพื่อรวบรวมภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม  อำเภอเมืองสระแก้ว  จังหวัดสระแก้ว

      ๒. เพื่อวิเคราะห์การตั้งภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม  อำเภอเมืองสระแก้ว  จังหวัดสระแก้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

       การศึกษาการเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม    อำเภอเมืองสระแก้ว     
จังหวัดสระแก้ว  เอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำโครงง   แบ่งออกเป็น    ประเภท  ดังนี้

                 .๑ ความหมายและลักษณะของนิทานโดยทั่วไป

                 .๒ การแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน

                 .๓ ความรู้เกี่ยวกับภูมินาม

 

.๑ ความหมายและลักษณะของนิทานโดยทั่วไป (รองศาสตราจารย์ประคอง นิมานเหมินท์, หน้า๕๘-๕๙)

         คำว่า  “นิทาน” เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า เหตุการณ์ เล่าเรื่อง นิยาย   และมีคำศัพท์นิทานกถา

แปลว่า  การเล่าเรื่อง  คำว่านิทานที่ใช้ในวิชาคติชนวิทยา  หมายถึง  เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมาจนถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง   นิทานเหล่านี้เรียกว่า  นิทานพื้นบ้านบ้าง  นิทานพื้นเมืองบ้าง  และนิทานชาวบ้านบ้าง 

มีความหายเฉพาะเจาะจงถึงเรื่องเล่าประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ  ไม่ได้มีความหมายกว้างขวางเหมือนนิทานดังกล่าวมาแล้ว   ในที่นี้จะเรียกนิทานประเภทนี้ว่านิทานพื้นบ้าน

(กรมวิชาการ๒๕๒๘, หน้า๑๖-๑๕)

                นิทาน    เป็นเรื่องเล่าสืบทอดกันมาแต่โบราณ   เป็นมรดกทางวัฒนธรรม   ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวิธี

มุขปาฐะ  แต่ก็จะมีอยู่เป็นจำนวนมากที่บันทึกไว้โดยใช้สำนวนเล่าด้วยปากเช่นเดิม   อาจจัดได้ว่า   นิทานเป็นสิ่ง

ให้ความบันเทิงใจชิ้นแรกของมนุษย์ชาติ   แต่ในปัจจุบัน   ยังหมายถึง  งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่เขียนขึ้นมาในรูปแบบของนิทานอีกด้วย   นิยามนิทาน  คือ  นิทานเป็นเครื่องให้ความบันเทิงใจที่เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณ

หากมีบันทึกก็บันทึกโดยใช้สำนวนเล่าด้วยปากดังเดิม  และในปัจจุบันนี้   ก็รวมถึงงานเขียน
ในเชิงสร้างสรรค์   
ที่นำมาเสนอในรูปแบบของนิทานเข้าไปด้วย

 

.๒ การแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน  

         (กรมวิชาการ๒๕๒๘, หน้า๑๗)

         นิทานแบ่งออกเป็นหลายประเภท   โดยอาศัยวิธีกำหนดต่างๆ กัน   แต่ที่นิยมกันมาก  คือ  การแบ่งนิทาน

ตามรูปแบบขอการเขียน  เป็น ๖  ประเภท  ดังนี้

                ๑. นิทานปรัมปรา                                                               

                ๒. นิทานท้องถิ่น

                ๓. นิทานเทพนิยาย

                ๔. นิทานเกี่ยวกับสัตว์

๕. นิทานตลก

๖. นิทานประยุกต์

 

                                                                                                                                                                            

ตัวอย่าง  เช่น  นิทานปรัมปรา  คือ  มีขนาดยาว   ไม่ระบุสถานที่ที่แน่นอน    แต่กำหนดเวลา    ดังนั้น            

จึงมักขึ้นต้นว่า  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  พระเอกของเรื่องกล้าหาญ  และมีความสามารถมากกว่าคนธรรมดา

ตอนท้ายของเรื่องมักจะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงหรือผู้สูงศักดิ์และได้ครองเมือง

              (รองศาสตราจารย์ประคอง  นิมานเหมินท์ , หน้า ๖๐-๗๐)

การจำแนกนิทานพื้นบ้าน  แบ่งออกเป็น  ๑๑  ประเภท ดังนี้

๑. นิทานมหัศจรรย์

๒. นิทานชีวิต

๓. นิทานวีรบุรุษ

๔. นิทานประจำถิ่น

๕. นิทานอธิบายเหตุ

๖. นิทานเทวปกรณ์

๗. นิทานสัตว์

๘. นิทานมุกตลก

๙.  นิทานศาสนา

๑๐.นิทานเรื่องผี

๑๑.นิทานเข้าแบบ

ตัวอย่าง  เช่น  นิทานเทวปกรณ์  เป็นเรื่องอธิบายถึงกำเนิดขอจักรวาล  โครงสร้างและระบบของจักรวาล

 

๒.๓  ความรู้เกี่ยวกับภูมินาม

(ประภาศรี   พวงจันทร์หอม, ๒๕๓๙ หน้า ๑)

                ชื่อมักจะเป็นสิ่งแรกที่สะดุดความสนใจเมื่อมีเหตุที่เราต้องเข้าใจเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ทั้งนี้  เพราะเรามักมีความคิดว่า   ชื่อต้องมีลักษณะที่เป็นตัวแทนของสิ่งนั้น  หรือบอกอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น  การศึกษาชื่อสถานที่ เช่น  ชื่อของหมู่บ้าน   เขตท้องที่ที่ใดที่หนึ่งที่น่าสนใจ  จะได้เห็นลักษณะ

บางประการของท้องถิ่นนั้นๆ

ที่สะท้อนออกมาจากการใช้ชื่อ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์  ตลอดจนความเชื่อหรือวัฒนธรรมบางอย่างของท้องถิ่น   ทำให้เห็นภาพรวมของท้องถิ่นนั้นได้

 

(ไพฑูรย์     ปิยะประกรณ์, ๒๕๓๑หน้า๗๖-๗๗) 

                ภูมินาม  หรือชื่อเรียกสถานที่    เป็นวัฒนธรรมทางด้านภาษาที่มนุษย์ตั้งขึ้น   เรียกชื่อสถานที่ต่างๆ

ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของตน   สำหรับภูมินามการตั้งถิ่นฐานในชนบท   หรือชื่อเรื่อง
หมู่บ้าน  
ที่อยู่อาศัยต่างๆ ในชนบท    ถ้าศึกษาและวิเคราะห์ที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้านต่างๆ   เกือบทุกแห่งจะมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชื่อเกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นๆ เฉพาะที่แตกต่างกันไป    ชื่อเรียกหมู่บ้านนี้   จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่บ่งบอกหรือสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการตั้งถิ่นฐานได้เป็นอย่างดี   จะเป็นดัชนีที่ให้ลักษณะที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน หรือให้ลักษณะเกี่ยวกับภูมิประเทศในพื้นที่นั้นๆได้    ตามปกติ   การเรียกชื่อสถานที่ใดที่หนึ่งนั้น    จะต้องตั้งชื่อแบบมีความหมายหรือมีประวัติที่มาของชื่อ  หรือบ่งบอกลักษณะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ทางพื้นที่นั้นๆ เอาไว้

 

 

 

                                                                                                                            

บทที่   

วิธีดำเนินการ

 

            อุปกรณ์และวัสดุในการศึกษา

.หนังสือที่เกี่ยวข้องภูมินามหมู่บ้าน

.แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับภูมินามหมู่บ้าน

.ปากกา

.กล้องถ่ายรูป

.คอมพิวเตอร์

.แฟ้มเก็บเอกสาร

.กาว

.กรรไกร

 

วิธีการศึกษา

การศึกษาภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม   อำเภอเมืองสระแก้ว    จังหวัดสระแก้ว

คณะผู้จัดทำ   มีวิธีการดำเนินการในการศึกษาค้นคว้าเป็นขั้นตอน   ดังนี้

. ขั้นสำรวจศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

สำรวจ  ศึกษาเอกสารและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับภูมินามหมู่บ้านดังนี้

.   นิทานพื้นบ้าน   (รองศาสตราจารย์ประคอง นิมานเหมินท์)

.๒ การเขียนนิทาน   (กรมวิชาการ)

.   เอกสารขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

. นำข้อมูลที่ได้จากเอกสารมาสรุปสาระสำคัญ  และนำมาเรียบเรียงใหม่     โดยแต่งเป็นนิทาน

        วิเคราะห์  จำแนกประเภทนิทาน

. ตรวจสอบถูกต้อง  ความเรียบร้อยสมบูรณ์ของข้อมูล

. เสนอและอภิปรายผลงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                                                                       

บทที่  

ผลการศึกษา

 

จากการศึกษาการเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว คณะผู้จัดทำโครงงาน   ได้รวบรวมนิทานจากการสืบสานความเป็นมาของหมู่บ้าน  ดังนี้

 

บ้านคลองนางชิง

********************************************

                    ในคืนหนึ่งพระจันทร์เต็มดวง มีปู่หลานคู่หนึ่ง ได้ออกมานั่งเล่นริมลำคลอง  ปู่หลานได้พูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ จนกระทั่งหลานถามถึง  เรื่องหมู่บ้าน  “คุณปู่ขาทำไมหมู่บ้านของเราถึงชื่อว่าหมู่บ้านคลองนางชิงเหรอคะ” แจ๋วถาม เมื่อปู่จองได้ฟังดังนั้น จึงได้เล่าให้หลานฟังว่า

 “เดิมแต่ก่อนนานประมาณได้ 50ปีมาแล้ว เดิมแถวนี้เป็นป่าทึบมีลำคลองไหลผ่านมีชาวบ้านอพยพ มีการตั้งบ้านเรือนในครั้งแรกที่นี่ไม่ค่อยมีบ้านเรือนมากนัก  พอตกกลางคืนก็จะมีพวกโจรมาซุ่มอยู่แถวลำคลอง   พวกมันจะคอยแอบดูผู้หญิงที่เดินไปมาเพียงคนเดียว  แล้วมันก็ค่อยๆ ย่องไปทำร้าย ผู้หญิงด้านหลัง แล้วมันก็จับไปข่มขืนและฆ่า   ฮึ....ฮึ...ฮือ....หนูแจ๋วได้ฟังดังนั้น  ก็รู้สึกกลัวแต่อยากฟังต่อ  จึงให้คุณปู่จองนั้นเล่าต่อ   ปู่จองก็พูดต่อไปว่าใน ลำคลองที่เดิมเป็นป่าทึบ    พอตกกลางคืนลำคลองแห่งนั้นก็จะได้ยินเสียงของผู้หญิงร้องเรียกให้ช่วย อย่างน่าสะพรึงกลัว ชาวบ้านต่างพากันเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า    “คลองชิงนาง”    ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นคลองนางชิงในที่สุด”

                    หนูแจ๋วได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกกลัวและไม่กล้าเดินไปไหนมาไหนเพียงคนเดียว  เพราะรู้สึกกลัวอย่างที่ปูจองเล่า  ปู่จองบอกหนูแจ๋วว่า   “จำไว้นะหลานรักจงอย่าไว้ใจ หรือเชื่อใจใครเพราะอาจถูกจับไปทำร้ายได้ เวลาไปไหนมาไหน ควรมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้งจึงจะทำให้ปลอดภัย”

 


เด็กหญิงมินตรา  นามมหาวงศ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓/๒

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บ้านท่าเกษม

*********************************************

                 บ้านหลังหนึ่งในหมู่บ้านท่าเกษม  มียายและหลานอยู่ด้วยกันมาหลายปี   ยายชื่อ มา ส่วนหลานสาว

ชื่อ มะลิ   แม่ของมะลิซึ่งเป็นลูกสาวของยายมาไปทำงานที่กรุงเทพฯ  นานๆครั้ง  จึงจะกลับมาเยี่ยมแม่และลูกสาวทุกๆ เย็น หลังจากยายและหลานสาวทานข้าวเสร็จ  ทั้งสองจะออกมานั่งเล่นที่ใต้ต้นปีบหน้าบ้าน กลิ่นของดอกปีบนั้นหอมฟุ้งขจรขจายไปทั่วบริเวณบ้าน   ยายมาจะชอบเล่าเล่านิทานให้หลานฟัง  วันนี้ก็เช่นกัน

“วันนี้จะเล่านิทานเรื่องอะไรให้หนูฟังจ๊ะยาย” มะลิเอ่ยถาม

“เอาเป็นว่าวันนี้ยายจะเล่านิทานเรื่องตำนานของหมู่บ้านเราก็แล้วกันนะ” ยายตอบ   จากนั้นยายก็เริ่มเล่า

ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มว่า...

               บ้านท่าเกษมในสมัยก่อนนั้น   เดิมทีเป็นเพียงป่าละเมาะเล็ก ๆ   ข้างทางรถไฟ   ต่อมาเริ่มมีคนมาสร้าง

บ้านเรือนอาศัยอยู่   เมื่อมีบ้านหลายหลังเข้า  จึงนับเป็นแหล่งชุมชนย่อม ๆ ชุมชนหนึ่ง   เมื่อความเจริญเข้าถึง ทางการจึงได้สร้างท่ารถไฟขึ้นใกล้ ๆ กับแหล่งชุมชนนั้น  ชาวบ้านมีอาชีพทำนา   ทำไร่  บ้างก็ทำงานเย็บปักถักร้อย   บางปีฝนตกดี  ทำให้ได้ผลผลิตมาก     ชาวบ้านจึงได้นำผลผลิตไปส่งขายที่ท่ารถไฟ    บ้างก็ทำงานที่ท่ารถไฟ   

ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มีความสุขเปรมปรีดิ์กันถ้วนหน้า  มองไปทางไหนก็มีแต่รอยยิ้ม   การคมนาคมก็เจริญ

อย่างมาก   ทำให้ผู้คนเล่าขานว่าหมู่บ้านแห่งนี้  เป็น  “หมู่บ้านท่าเกษม”   เพราะมีท่ารถไฟที่ทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข

“จบแล้วหรือจ๊ะยาย”   มะลิถาม

“จบแล้วจ้ะ เอาไว้วันหลังยายจะเล่าเรื่องใหม่ให้ฟังนะ”  ยายตอบ

“จริงนะยาย”  มะลิอ้อน

“จ้ะ ตอนนี้ก็มืดค่ำแล้ว  เราขึ้นบ้านกันเถอะ หน้านี้ยุงชุม เดี๋ยวจะโดนกัดได้” ยายเตือนหลานด้วยความหวังดี

“แต่หนูไม่กลัวหรอกค่ะ เพราะหนูมียาดี  ก็ยาหม่องสมุนไพรที่คุณยายทำจากตะไคร้นั่นไงคะ มีสรรพคุณดี

ทำก็ง่าย  แถมไม่ต้องเสียเงินซื้ออีกต่างหาก   ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้   ในหลวงท่านทรงวางแนวทางให้เราคนไทย

อยู่อย่างพอเพียงนะคะ”   มะลิคุยจ้อ    ยายมายิ้มและภูมิใจในความฉลาดของหลาน

“แต่ถ้าเป็นไข้เลือดออกขึ้นมา  ยาหม่องตะไคร้ก็ช่วยไม่ได้นะจ๊ะ”  ยายกล่าวเสริม

                จากนั้นทั้งสองยายหลานก็พากันขึ้นบ้าน  ปิดประตูลงกลอน.........

                

 

เด็กหญิงนุชจรินทร์  แสนข่วง

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   ๓/๑

                  ผู้แต่ง

 

หมู่บ้านหนองนกเขา

***************************************

ในอดีตมีชุมชนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง  มีประชากรประมาณ  - ๗ ครัวเรือน    ที่ชุมชนแห่งนี้  มีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านทุกคนในชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในการเกษตร  และเลี้ยงสัตว์   รวมทั้ง

การจับปลาในหนองน้ำมาเป็นอาหารและการค้าขาย  นอกจากคนและสัตว์เลี้ยงจะได้ประโยชน์แล้ว   ยังมีฝูงสัตว์นานาชนิด  โดยเฉพาะนกเขาซึ่งมีฝูงขนาดใหญ่มาใช้ประโยชน์จากหนองน้ำแห่งนี้   และบริเวณนี้ก็มีบ้านหลังหนึ่งซึ่งเป็นของตาสากับยายเพ็ญ  ซึ่งบ้านของตายายเป็นบ้านติดหนองน้ำและมีลานกว้าง มีต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่น

และดอกไม้นานาพันธุ์  ที่สำคัญตากับยายเป็นคนใจดี  พวกเด็กๆจึงชอบที่จะไปเล่นยังบ้านของตากับยาย  ซึ่งยาย

มักจะทำขนมให้พวกเด็กๆ กิน 

วันหนึ่ง  เจ้าแกละได้พูดกับเพื่อนๆ ว่า “เฮ้ย...พวกเราไปเล่นที่หนองน้ำของบ้านตาสากับยายเพ็ญกัน”  

เจ้าเปี๊ยกตอบขึ้นทันทีว่า  “ไปสิ ข้ากำลังร้อนๆ อยู่พอดีเลย ”   จ้อนกล่าวสนับสนุน “เออ งั้นพวกเราก็ไปกันเถอะ”

เด็กทุกคนจึงพากันเดินไปยังหนองน้ำ   พอไปถึงก็พบกับนกเขาฝูงใหญ่ที่มาหากินยังหนองน้ำแห่งนี้เป็นประจำ ขณะนั้นสายตาของจุกก็ไปสะดุดยังนกเขาตัวหนึ่ง  ซึ่งมีขนสีทองและมีขนาดใหญ่กว่านกเขาตัวอื่นๆ  จึงเอ่ยถาม

กับเพื่อนๆ ว่า  “เฮ้ย...พวกแกเห็นนกเขาตัวนั้นไหม ตัวใหญ่และมีสีทองด้วย”   เด็กๆ ก็พากันมองดูและรู้สึกแปลกใจจึงลงความเห็นว่าจะไปบอกตาสากับยายเพ็ญ   โก๊ะได้อาสาที่จะไปบอกตากับยาย   และโก๊ะก็ไม่ลืมที่จะไปบอกชาวบ้านด้วย เมื่อทุกคนรู้ข่าวต่างก็รีบออกมาดู ขณะที่ผู้คนหลั่งไหลมาดูนกเขาสีทองนั้น นกเขาตัวนั้นก็ไม่หนี

ไปไหน  จนเมื่อเวลาผ่านไปเกือบพลบค่ำ  นกเขาสีทองนั้นก็บินขึ้นไปบนท้องฟ้าอย่างสง่างาม  ตาสาก็เอ่ยขึ้นว่า

“เป็นบุญแล้วที่มีนกเขาสีทองสวยสง่ามาเยือนหมู่บ้านของเรา”  จากนั้นมา  ชาวบ้านก็ได้พากันเรียกหนองน้ำแห่งนั้น

ว่า “หนองนกเขา”   และได้นำน้ำจากหนองนั้นมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก เช่น ปลูกผัก  ผลไม้  ซึ่งได้ผลผลิตดี  นำมาขายก็ได้ราคางาม   ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า  นกเขาสีทองตัวนั้นเป็นนกวิเศษหรือไม่ก็เป็นเทวดาแปลงร่างลงมา

ให้พรแก่ชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่   ชาวนา  ในหมู่บ้านแห่งนี้นั่นเอง

 

 

เด็กหญิงนุชจรินทร์  แสนข่วง

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   ๓/๑

                  ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บ้านทุ่งพระ

***************************************

         กาลครั้งหนึ่งมีทุ่งกว้างที่อุดมสมบูรณ์  มีครอบครัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ไกลจากทุ่งกว้าง   ครอบครัวนี้อาศัยอยู่ ๖ คน  มี  ตา  ยาย   พ่อ  แม่   และอิงฟ้า   เคียงเดือน   ซึ่งพ่อแม่ก็ได้กำลังหาที่ทำกินและได้ไปพบทุ่งกว้างเข้าจึงคิดจะทำนา ทำไร่ที่ทุ่งกว้างนี้   เพราะทุ่งกว้างนี้เป็นที่ ที่อุดมสมบูรณ์  จึงได้ใช้ทุ่งกว้างนี้แปลงเป็นที่ทำนาทำไร่   แต่บ้านที่อยู่อาศัยก็ไกลจากที่ทำกินมากจึงย้ายครอบครัวมาสร้างบ้านทำที่อยู่อาศัยอยู่ที่ทุ่งกว้างแห่งนี้    เมื่อเริ่มไถ  ขุด  ปลูกก็ได้พบกับซากปรักหักพังของพระพุทธรูป  เมื่อขุด ไถลึกลงไปก็พบองค์พระพุทธรูปที่ยังคงสภาพสมบูรณ์  จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็ได้ผลผลิตมากมาย    ชาวบ้านคนอื่นๆจึงย้ายเข้ามาทำกินด้วยและเมื่อเริ่มขุดและไถก็ได้พบกับพระพุทธรูปและซากปรักหักพัง เช่นเดียวกับครอบ ครัวของอิงฟ้า   และเมื่อมีผู้คนเริ่มเข้ามาทำกินมากขึ้น     จนพอที่จะตั้งเป็นหมู่บ้านได้ชาวบ้านทุกคนจึงปรึกษาหารือกัน     และคิดจะทำวัดเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านทุกคน     เพราะชาวบ้านทุกคนห่างเหินการทำบุญมานานมาก   เมื่อเริ่มคิดตั้งชื่อหมู่บ้านทุกคนก็แสดงความคิดเห็นต่างๆนานา

 แต่พ่อของอิงฟ้าได้เสนอชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านทุ่งพระ”   พร้อมกับให้เหตุผลว่าที่ชื่อว่าบ้านทุ่งพระก็เพราะว่า    ทุกครอบครัวที่มาทำกินเมื่อขุดไถกับพบแต่พระพุทธรูปอีกอย่างทุ่งกว้างแห่งนี้ เมื่อทำกินก็ได้ผลผลิตมากมายอาจเป็นเพราะแห่งนี้เคยเป็นวัดในสมัยก่อนและพระก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาจช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น เมื่อพูดจบชาวบ้านทุกคนก็เห็นดีด้วยและตกลงกันว่าจะให้ชื่อหมู่บ้าน นี้ว่าหมู่บ้าน “ทุ่งพระ”

เด็กหญิงสายรุ้ง   โคตะศรี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓/๑

                                                                                                ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๐

บ้านหนองนกกระเรียน

*************************************

                  สถานที่แห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้  มีหนองน้ำขนาดใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวบ้านในละแวกนี้  รวมทั้งสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิด  ไม่ว่าจะเป็นฝูงกระรอก กระแต ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีฝูงนกกระเรียนขนาดใหญ่ก็พากันมาอาศัยหนองน้ำแห่งนี้  ต่อมาชาวบ้านได้ขุดลอกคลองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร  และใช้ในการอุปโภคบริโภค  ที่สำคัญคลองที่ขุดนั้นกั้นระหว่างตำบลเขาสามสิบกับอำเภอเขาฉกรรจ์  ชาวบ้านจึงได้ใช้ประโยชน์จากหนองน้ำแห่งนี้ ต่อมาก็ได้ถมหนองนี้ทิ้ง ฝูงสัตว์ต่างๆ ก็หายไป        รวมทั้งฝูงนกกระเรียนที่มาอาศัยหากินในหนองน้ำนี้ด้วย จากนั้นชาวบ้านก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านคลองคันทุง” หลังจากใช้ชื่อนี้ได้ไม่นาน ก็มีเหตุการณ์คนจมน้ำตายที่คลองนี้เมื่อมีคนตายหลายคนเข้า  ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านก็เห็นว่าชื่อนี้เป็นอัปมงคลต่อหมู่บ้าน ควรจะเปลี่ยนชื่อใหม่ อีกอย่างชื่อนี้ก็ไปซ้ำกับหมู่บ้านอื่นที่ผู้ใหญ่ได้ไปดูงานมา    จึงได้เรียกชาวบ้านมาประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่  จากนั้นจึงให้ชาวบ้านเสนอชื่อหมู่บ้านใหม่ที่เห็นว่าเป็นมงคล ตาพูได้เสนอให้ชื่อว่าบ้านหนองนกกระเรียนน่าจะดี  เพราะแต่ก่อนแถวบ้านเรามีฝูง          นกกระเรียนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  พร้อมกับอธิบายเหตุผลให้กับชาวบ้านฟังไปพร้อมๆกันว่า  เมื่อก่อนหมู่บ้านของเรามีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้ในการเกษตรได้ผลดี  และมีฝูงสัตว์มากมายมาอาศัย  แต่เมื่อพวกเราขุดลอกคลองและได้ถมหนองน้ำแห่งนี้ทิ้งทำให้ฝูงนกกระเรียนก็หายไปด้วย  ชาวบ้านก็รู้สึกเสียใจกับการกระทำของตนที่เป็นต้นเหตุทำให้ฝูงนกกระเรียนและสัตว์ต่างๆ หายไป  จึงตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า  “ บ้านหนองนกกระเรียน ”             เพราะถือว่า  นกกระเรียนกับหนองน้ำก็ไม่เคยทำให้ใครตาย  เมื่อนำน้ำจากหนองน้ำมาใช้ในการเกษตรก็ได้ผลดีตามเดิม

เด็กหญิงมินตรา   นามมหาวงศ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒

ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๑

บ้านโคกสัมพันธ์

***********************************

       ณ หมู่บ้านหนึ่ง นามว่า “บ้านทุ่งพระ” บ้านทุ่งพระเป็นพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร  และบริเวณทุ่งนา        ก็ขุดพบกับพระพุทธรูป  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างมีความสุข  จนทำให้กลายเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ ประชากรก็หนาแน่นมากขึ้น  จึงทำให้หมู่บ้านทุ่งพระเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่  การปกครองและการได้รับงบประมาณ  ไม่พอต่อประชากรที่มากขึ้น  จึงจะแบ่งหมู่บ้านแต่กว่าจะแบ่งกันได้ก็นานเพราะต้องคิดชื่อหมู่บ้าน     ผู้ใหญ่บ้านจึงจัดประชุม   มีชาวบ้านคนหนึ่งเสนอให้ตั้งชื่อหมู่บ้าน  ตามนิสัยของชาวบ้านที่อาศัยอยู่โคกนี้  มีอะไร  ก็แบ่งปันกัน  และพูดคุยทักทายกันอย่างเป็นมิตร  ชาวบ้านจึงเสนอชื่อตามนิสัยของชาวบ้านว่า  “บ้านโคกสัมพันธ์” ชาวบ้านต่างก็เห็นด้วย  จึงให้ใช้ชื่อบ้านนี้ว่า   บ้านโคกสัมพันธ์  

 

 

เด็กชายอลงกรณ์  ชาวศรี

ชั้นมัธยมศึกษาปี ๒/๑

ผู้แต่ง

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๒

นิทานบ้านคลองอุดมสุข

***********************************

         มีคลองสายหนึ่งที่มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  กล่าวง่ายๆคือ  มีความอุดมสมบรูณ์มากนั่นเอง  ซึ่งขณะนั้นคลองสายนี้ใช้ในการเดินทางไปค้าขายของชาวบ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง  เมื่อใครผ่านไปผ่านมามองเห็นปลาที่อยู่ในน้ำใส  ทำให้มีความสุขใจ  ดังเช่นครอบครัวของแก่นแก้วครั้งหนึ่ง  แก่นแก้ว  ได้ติดตามพ่อแม่มาขายของด้วย  ระหว่างพายเรือแก่นแก้วมองเห็นปลาในน้ำ  น้อยใหญ่หลายพันธุ์  ทำให้แก่นแก้วชอบและติดตามพ่อแม่มาทุกครั้ง อีกทั้งพ่อแม่ของแก่นแก้วก็กำลังปรึกษากันเรื่องจะย้ายครอบครัวมาอยู่ที่นี่   พอแก่นแก้วรู้ก็ดีใจเป็นอย่างมาก จนรีบอ้อนให้ย้ายมาเร็วๆ

 “แต่แม่ยังเป็นห่วงยายกับตา” แม่เอ่ยขึ้น

ใช่สิ  แก่นแก้วลืมไปเลยว่าบ้านเรายังมีใครอีกหลายคนทั้ง ลุง, ป้า, น้า, ยาย, ตา และน้องโก๋ แก่นแก้วจึงเสนอให้พ่อกับแม่มาลองทำนาที่นี่ก่อน ซึ่งพ่อแม่ก็เห็นด้วย เมื่อมาทำนาบริเวณลำคลองนี้ก็ได้ผลผลิตดี พ่อกับแม่จึงทำบ้านหลังเล็กๆริมคลอง และแม่ก็มารับแก่นแก้วไปอยู่ด้วย เมื่อทำนาครั้งต่อๆไปก็ได้ผลผลิตดีขึ้นอีก พอนำไปขายก็พอมีเงินเหลือเก็บ จึงไปรับยายกับตามาอยู่ด้วย และชวนคนอื่นๆมาทำบ้านอาศัยอยู่ด้วยกัน  เมื่อมีคนย้ายเข้ามาอยู่ได้ประมาณ ๒๐ หลังคาเรือน จึงคิดสร้างเป็นหมู่บ้านให้ชื่อหมู่บ้านตามสภาพลำคลอง คือ สภาพลำคลองมีความอุดมสมบูรณ์   น้ำในคลองใสมากจนมองเห็นตัวปลาหลายพันธ์  และบริเวณข้างลำคลองก็เหมาะแก่การทำการเกษตร  จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า   “บ้านคลองอุดมสุข”   และพ่อของแก่นแก้วก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน

 

 

เด็กหญิงสายรุ้ง  โคตะศรี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓/๑

ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๓

นิทานบ้านสุขสำราญ

********************************

                   ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งข้าวปลาอาหาร  และสภาพดินฟ้าอากาศก็ดี ร่มรื่นแจ่มใสชาวบ้านในหมู่บ้านต่างก็มีอาชีพทำไร่ทำนาตามชีวิตของคนในชนบท  แต่ละครอบครัวจะอยู่กันอย่างพอเพียงคือปลูกผัก  เลี้ยงปลา ปลูกข้าวซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจของชาวบ้าน  แต่ละครอบครัวในหมู่บ้านต่างก็อยู่กันอย่างมีความสุขและอบอุ่น  ชาวบ้านในหมู่บ้านต่างช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดภายในหมู่บ้าน  เช่น ช่วยกันเก็บขยะภายในหมู่บ้านทำให้หมู่บ้านแห่งนี้น่าอยู่  ที่สำคัญคนในหมู่บ้านมีความสามัคคีปรองดองกัน  แต่ยังไม่มีชื่อหมู่บ้าน  ระหว่างนั้นวิวกับกล้าก็ได้ปรึกษากันเกี่ยวกับวันประใหญ่ของหมู่บ้านที่ใกล้จะมาถึง 

กล้า  “ อีก ๓ วัน ก็จะถึงวันประชุมหมู่บ้านของเราแล้วนี่ ”          

“ ใช่  เห็นชาวบ้านเขาพูดว่าพ่อผู้ใหญ่จะให้ชาวบ้านตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ ”  วิวตอบ

กล้า “แล้วเราจะเสนอชื่ออะไรดีล่ะ” วิว “ไม่รู้สิ เดี๋ยวค่อยดูในวันประชุมดีกว่า”

เมื่อถึงวันประชุมชาวบ้านต่างก็มาอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา  ต่างก็เสนอมาด้วยกันหลายชื่อ  เช่น หมู่บ้านสุขใจบ้าง   บ้านสุขสำราญบ้าง  และชื่อที่ถูกใจชาวบ้านมากที่สุด  คือ ชื่อที่ตามเสนเสนอขึ้นมา  ชื่อหมู่บ้านสุขสำราญ ซึ่งตาเสนได้ให้เหตุผลว่าเมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านเราที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่กันอย่างมีความสุขสบายก็น่าจะเหมาะสมที่สุด  เมื่อพิจารณาจากเหตุผลที่ตาเสนเล่าให้ฟังทุกคนก็เห็นพ้องตรงกันว่าเป็นชื่อที่เหมาะสม  ดังนั้นจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “ บ้านสุขสำราญ ” มาจนถึงปัจจุบัน

 

 

เด็กหญิงจุฬานีย์   ทะสิทธ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓/๒

ผู้แต่ง

 

 

 

 

     

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๔

 

นิทานบ้านหัวกุญแจ

**********************************

  ใต้ต้นมะขามอากาศเย็นสบาย  ลมพัดลิ่วๆ  ได้ยินเสียงใบไม้ กระทบกับไผ่อยู่หลังบ้าน  เด็กหนุ่มคนหนึ่ง

ชื่อยศ  ได้แหงนมองไปบนท้องฟ้า พร้อมพูดกับตัวเองว่า “ทำอย่างไรดีหนอ การบ้านที่ครูวารีให้มาจึงจะเสร็จ    เด็กหนุ่มมีความคิดว่า“หากเรามีความสามารถถอดร่างเข้าไปในสมัยหมู่บ้านหัวกุญแจได้เราก็จะได้รู้ประวัติของหมู่บ้าน” เด็กชายนั่งนึกพร้อมพูดพึมพำอยู่คนเดียว อากาศเย็นสบาย จึงเผลอหลับไปโดยไม่รู้ตัว  เมื่อเด็กหนุ่มตื่นขึ้นมาปรากฏว่าตนเองนั้นได้อยู่ในยุคก่อตั้งหมู่บ้านหัวกุญแจสมัยก่อน ชาวบ้านนั้นกำลังอพยพหนีระเบิดลูกใหญ่จากที่อื่นมาตั้งรกรากอยู่ที่นี่  โดยสมัยนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพอดี  มีชายแก่คนหนึ่ง  เดินมาชนเด็กหนุ่มคนนี้    เด็กหนุ่มเลยล้มลงเด็กหนุ่มยกมือไหว้แล้วขอโทษ   “ขอโทษครับคุณปู่ผมไม่ได้ตั้งใจขวางทางคุณปู่” คุณปู่มองหน้าเด็กหนุ่มพร้อมกับยิ้ม แล้วรับคำขอโทษ พร้อมกับพูดว่า “ ไม่เป็นไรหรอกหลานชาย ว่าแต่เอ็งมาจากที่ไหนเป็นใคร  ทำไมข้าไม่เคยเห็นหน้าคร่าตากันมาก่อน ” เด็กหนุ่มอ้ำอึ้งไม่กล้าตอบเพราะมาจากโลกอนาคตของหมู่บ้านหัวกุญแจ

 “ผมเป็นคนแถวนี้แหละครับ  ผมไม่เคยมาแถวนี้เลย เพียงแต่ผมมาเยี่ยมญาติ เฉยๆเลย ไม่ค่อยได้เห็นหน้าผมเท่าไหร่”

   ชายแก่ได้ฟังดังนั้น จึงหายสงสัย เด็กหนุ่มได้โอกาสจึงถามต่อว่า “หมู่บ้านนี้ ทำไมถึงชื่อว่าหัวกุญแจครับ “ชายแก่ได้ฟังดั้งนั้นจึงได้สงสัยแล้วถามว่า “พ่อแม่เอ็งไม่ได้เล่าให้ฟังหรือ”  เด็กหนุ่มตอบ  “เปล่าเลยครับ”   “ก็ได้ข้าจะเล่าให้ฟัง”ชายแก่ตอบ    “เมื่อไม่นานมานี้   ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองพื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่กว้างขวางมีทางรถไฟตัดผ่าน  ชาวบ้านตั้งรกรากและถิ่นฐาน ณ ที่นี้ ระยะแรกมีผู้อาศัยไม่มากนัก  แต่เมื่อผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง 

เริ่มมีผู้คนมาอาศัยเพิ่มมากขึ้น  มีรถไฟขนส่งสินค้าที่สำคัญ  คือพวกไม้ซุงและพวกสินค้าต่างๆ ที่มาจากเมืองอื่นๆ  ผ่านมาแห่งนี้  ในวันนั้นมีฝนตกหนัก  พนักงานได้มาสับรางรถไฟ และได้นำประแจ  มาไว้ ณ ตำแหน่งที่ตั้งของหมู่บ้าน   ฉันจึงได้เสนอชื่อหมู่บ้านนี้ว่า    “หมู่บ้านหัวประแจ”   และเพี้ยนมาเป็น “หัวกุญแจ’’ จนในที่สุดชาวบ้านก็เรียกว่า “หมู่บ้านหัวกุญแจ’’

เมื่อเด็กชายตื่นขึ้นมาก็รู้ว่าตนเองฝันไปจึงมองไปรอบๆข้าง  ก็ปรากฏว่าฝันไปจริงๆ จึงรีบวิ่ง ไปเล่าเรื่องทั้งหมดให้ปู่กับย่าฟัง  เมื่อทั้งสองฟังจึงบอกว่าเป็นความจริง เด็กหนุ่มจึงขอดูรูป  ปู่คำ งามเงิน  เมื่อเห็นก็ตกใจว่าเป็นคนเดียวกับชายแก่ที่เล่าเรื่องหมู่บ้านหัวกุญแจในสมัยก่อนให้ฟัง

 

เด็กหญิงจุฬานีย์    ทะสิทธิ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓/๒

ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

๑๕

 

 

บ้านคำเจริญ

*******************************

มีหญิงสาวคนหนึ่งเธอเป็นลูกสาวชาวนา  “ชื่อแพร”  แต่ละวันแพรได้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน  ไม่เคยขาดตกบกพร่องต่อหน้าที่  เธอเป็นเด็กฉลาดและเรียนเก่ง  แต่ครอบครัวมีฐานะที่ยากจน  เธออาศัยอยู่หมู่บ้าน  “คำเจริญ”    อยู่มาวันหนึ่งมีจดหมายมาถึงโรงเรียนคือจดหมายทุนคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีแต่มีฐานะยากจนเพื่อที่จะส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ หนึ่งในนั้นมีชื่อของแพรอยู่ด้วย เมื่อแพรรู้ข่าวจึงนำข่าวนี้ไปบอกพ่อแม่ ท่านทั้งสองต่างดีใจ                แต่ความรู้สึกภายในใจเธอก็ยังเป็นห่วงทางบ้านและพ่อแม่  แต่เธอก็อยากไปเพื่ออนาคตของครอบครัวและตัวเธอเอง    เมื่อเธอไปถึงที่นั่นเธอได้มีเพื่อนใหม่เยอะแยะแต่ก็ไม่เคยลืมบ้านเกิดของตน    เมื่อถึงวิชาเรียนสังคมคุณครูก็มีการบ้านมาให้คือออกมาเล่าเรื่องประวัติหมู่บ้านของตนเอง   เมื่อเพื่อนๆเล่าจบถึงคิวที่แพรเล่า ก็มีอาการตื่นเต้นเล็กน้อย “ สะ ...สวัสดีค่ะ  ดิฉันจะมาเล่าประวัติของหมู่บ้านของดิฉันให้ทุกคนฟัง .........ประวัติคือ  นานมาแล้วหมู่บ้านคำเจริญ เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของหมู่บ้าน   เพราะพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์  เต็มไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารที่เพียบพร้อมต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน    เมื่อจะทำอะไรกับผืนดินแห่งนี้ก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  โดยเฉพาะการปลูกข้าว  เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว  ข้าวในนาออกรวงเป็นสีทองเต็มท้องทุ่ง  จึงได้ขนานนามว่า  “บ้านนาทองคำเจริญ”   และเวลาต่อมาชาวบ้านเห็นว่าชื่อนี้ยาวเกินไป   จึงเรียกสั้นๆว่า   “บ้านคำเจริญ”           แพรเล่าจบ   เพื่อนๆต่างปรบมือ  แพรได้ขอบคุณและเข้ามานั่งที่อย่างภูมิใจ

 

เด็กหญิงมินตรา นามมหาวงศ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีทื่  ๓/๒

 

 

                     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๖

 

บ้านหนองพระสระเนตร

***************************************

              เมื่ออดีต มีหมู่บ้านหนึ่งซึ่งไม่มีที่เรียกขนานนาม  และชาวบ้านก็อยู่กันอย่างมีความสุข  มีครอบครัวหนึ่งเป็นครอบครัวเศรษฐีซึ่งมีนิสัยใจคอเป็นคนตระหนี่  ครอบครัวนี้มีสมาชิก    คนคือ  คุณตา  คุณยาย  คุณพ่อ  คุณแม่และคุณหนูจันทร์  ซึ่งคุณหนูจันทร์เป็นคนที่มีจิตใจงามและเป็นคนสวย  น่ารัก  พูดจาไพเราะ  ดังนั้นจึงเป็นเหตุทำให้พ่อแม่ต้องหวงลูกสาว  วันหนึ่งได้มีนายจ้อยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกัน  ซึ่งได้แอบชอบและมาหาคุณหนูจันทร์ทุกๆวันที่สระน้ำ  ซึ่งสระน้ำแห่งนี้เป็นที่พระธุดงค์ให้ล้างหน้า  นายจ้อยได้มาหาคุณหนูจันทร์บ่อยครั้งจนพ่อแม่ของคุณหนูจันทร์รู้  พ่อแม่ของคุณหนูจันทร์ต่างก็พากันขัดขวางไม่ให้ทั้งสองได้พบกันจึงกักบริเวณคุณหนูจันทร์  วันหนึ่งคุณหนูจันทร์ได้หนีพ่อแม่เพื่อไปหานายจ้อยที่สระน้ำแห่งเดิม เมื่อพ่อแม่ของคุณหนูจันทร์รู้  ต่างก็โมโหจึงได้ไปหาคุณหนูจันทร์ที่สระน้ำและพ่อแม่จึงพาคุณหนูจันทร์กลับบ้านและบังคับไม่ให้หนูจันทร์คบกับนายจ้อยอีก  จากนั้นพ่อแม่ของคุณหนูจันทร์ได้สั่งลูกน้องให้ไปฆ่านายจ้อยและนำศพโยนลงน้ำ  เมื่อคุณหนูจันทร์รู้ว่านายจ้อยตายแล้วคุณหนูจันทร์ก็หนีพ่อแม่และไปกระโดดน้ำตายตามนายจ้อยเมื่อพ่อแม่และคนที่บ้านได้รู้ว่าคุณหนูจันทร์ตายแล้วต่างก็พากันเสียใจ  จากนั้นครอบครัวของคุณหนูจันทร์และนายจ้อยก็ได้ปรึกษาหารือกันว่าทุกๆปีจะไปทำบุญที่สระน้ำแห่งนั้น  ๑ ปีต่อมาทั้งสองครอบครัวจึงจัดทำบุญให้คุณหนูจันทร์และนายจ้อย  วันนั้นเกิดท้องฟ้ามืดครึ้ม  ลมแรงเมื่อฟ้าปิดก็มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งปรากฏขึ้นกลางน้ำและมีแสงสะท้อนชาวบ้านต่างก็พากันตื่นเต้นและพูดกล่าวขานกันไปทั่วทุกแห่งหน  จากนั้นมาหมู่บ้านแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า  หนองพระสระเนตร  จนมาถึงปัจจุบัน

 

 

เด็กหญิงสายรุ้ง        โคตะศรี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑

ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๗

บ้านห้วยใหญ่

************************************

                 ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งเป็นหมู่บ้านที่เจริญอุดมสมบูรณ์มีต้นไม้และธรรมชาติที่งดงาม  บรรยากาศสดชื่น  มีครอบครัวหนึ่งซึ่งเป็นครอบครัวเล็กๆมีสมาชิก    คน คือ  พ่อ  แม่และขจร  ซึ่งขจรเป็นลูกชาย  ขจรเป็นเด็กที่รักการเรียนเป็นอย่างมากและวันนี้คุณครูจันทร์ซึ่งเป็นคุณครูสอนวิชาสังคมศึกษา ได้สั่งการบ้านให้ไปค้นคว้าศึกษาประวัติหมู่บ้านที่ตนเองอยู่เมื่อขจรกลับถึงบ้านก็ได้ขอร้องให้พ่อและแม่เล่าประวัติหมู่บ้านให้ฟัง  “พ่อครับวันนี้ครูจันทร์สั่งให้ผมหาประวัติหมู่บ้านตัวเองพ่อจะเล่าให้ผมฟังได้ไหมครับ” ขจรบอกพ่อ

“วิชาอะไรล่ะลูก” พ่อถาม

“วิชาสังคมศึกษาครับ” ขจรตอบ

“ได้สิพ่อจะเล่าให้ฟัง” พ่อบอก   แล้วพ่อก็เล่าประวัติหมู่บ้านให้ขจรฟัง

“ย้อนอดีตไป หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่ยังไม่เจริญ พื้นดินแห้ง ฝนแล้ง และมีห้วยขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเป็นห้วยที่ชาวบ้านควรช่วยกันรักษาน้ำให้สะอาด แต่ชาวบ้านกลับนำขยะไปทิ้งในห้วย น้ำก็เริ่มเน่าเสียและขยะยังทำให้ลำห้วยตันและแคบเล็กส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วหมู่บ้าน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก ชาวบ้านจึงไม่ใช้น้ำในห้วยนั้น จนต่อมาได้มีผู้ใหญ่บ้านคนใหม่มาที่หมู่บ้านจึงได้ปรึกษาหารือกับลูกบ้านแล้วได้ตกลงกันว่าจะช่วยกันเก็บขยะ ทำความสะอาดและขุดลอกลำห้วยใหม่ ทำให้ห้วยมีขนาดกว้างขึ้นจนใหญ่ผิดหูผิดตาชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเรียกจนติดปากว่าห้วยใหญ่”

“เรื่องมันก็เป็นอย่างนี้แหละลูก” คุณพ่อเอ่ย

“จบแล้วหรือครับ เร็วจัง” ขจรพูด

“งั้นลูกมาช่วยแม่ทำกับข้าวดีกว่า” แม่เสริม

“ได้เลยครับแม่” ขจรพูดพร้อมอมยิ้ม

จากนั้นทั้งสามคน พ่อ แม่ ลูก ก็ช่วยกันทำกับข้าว และทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อย

 

 

เด็กหญิงมินตรา     นามมหาวงศ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒

ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๘

บ้านใหม่ไทยพัฒนา

*********************************

                หมู่บ้านแห่งหนึ่งเป็นหมู่บ้านที่เจริญเพราะมีชาวบ้านอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในทุกๆ ด้าน เช่น กลุ่มแม่บ้าน สหกรณ์หมู่บ้าน อยู่มาวันหนึ่งชาวบ้านได้ไปปรึกษาหารือกันเรื่องแยกหมู่บ้าน 

มีตาคนหนึ่งชื่อตาลาพูดว่า“ ผมว่าเฮาแยกหมู่บ้านได้แล้วครับเพราะว่าถ้าเป็นหมู่บ้านเดียวอยู่มันใหญ่เกินคนมันกะหลายขึ้นทุกปียากต่อการดูแล ”   

ชาวบ้านคนอื่นพูดว่า  “แม่นๆๆๆ”

ผู้ใหญ่บ้านจึงพูดขึ้นว่า “ แล้วเฮาสิตั้งซื่อหมู่บ้านว่าอีหยังลองเว้ามาแน่ผมสิได้ไปเสนอในที่ประซุม ”   จากนั้นก็ได้เสนอชื่อหลากหลาย  เย็นวันถัดมาผู้ใหญ่บ้านจึงนัดประชุมกับลูกบ้านอีกครั้ง 

ลูกบ้านคนหนึ่งชื่อนางหยาดได้พูดขึ้นว่า  “ถ้าเฮาสิแบ่งควรแบ่งเป็นฝั่งถนนดีบ่จะได้จำง่ายๆ” ซึ่งชาวบ้านส่วนมากก็เห็นดีด้วยแล้วชาวบ้านก็ได้เสนอชื่อว่า  บ้านใหม่ไทยพัฒนา เพราะบ้านแต่ละหลังก็เพิ่งสร้างเสร็จใหม่และส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทยอีกทั้งมีคนหนุ่มสาวเป็นกำลังแรงกายมากจนมีแรงมากพอที่จะพัฒนาให้หมู่บ้านเจริญยิ่งขึ้น  จากนั้นชาวบ้านก็ตกลงจะใช้ชื่อนี้เสนอในที่ประชุม  เช้าวันรุ่งขึ้นผู้ใหญ่บ้านไปประชุมที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้เสนอในที่ประชุมว่า  “จากที่กระผมได้ปรึกษาหารือกับลูกบ้านแล้วลูกบ้านมีความคิดตรงกันว่าจะแบ่งหมู่บ้านโดยใช้ถนนเป็นเขตกั้นและจะตั้งชื่อว่าบ้านใหม่ไทยพัฒนา ”  จากนั้นในที่ประชุมก็ลงมติกันว่าจะแยกหมู่บ้านเป็น ๒  ฝั่งตามที่ชาวบ้านขอและได้เลือกผู้ใหญ่บ้านอีก ๑ คนเพื่อบริหารหมู่บ้าน  หลังจากที่ได้ผู้ใหญ่บ้านแล้วหมู่บ้านก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แล้วผู้คนก็อยู่กันทุกคนต่างก็สมานสามัคคีกันก็มุ่งพัฒนาหมู่บ้านนี้ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก

 

 

เด็กหญิงจุฬานีย์       ทะสิทธิ์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓/๒

ผู้แต่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๙

บทที่ ๕

สรุปผลและอภิปราย

 

            อภิปรายผล

                จากการศึกษาเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว

จังหวัดสระแก้ว  ทั้ง  ๑๓  หมู่บ้าน พบว่าตำนานหมู่บ้าน จำแนกตามประเภทนิทานกรมวิชาการ

ดังต่อไปนี้

                ๑. นิทานปรัมปรา เป็นนิทานขนาดยาว เป็นนิทานที่มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วหรือในกาลครั้งหนึ่ง” ได้แก่หมู่บ้านหนองนกกระเรียน และบ้านหนองนกเขา

          . นิทานท้องถิ่น เป็นนิทานมีเหตุการณ์เดียว มีสถานที่แน่นอนนิทานประเภทนี้กล่าวถึง

ขนบธรรมเนียมประเพณี ตำนาน โชคลาง ความเชื่อ ได้แก่ บ้านทุ่งพระ บ้านห้วยใหญ่ บ้านหัวกุญแจ

บ้านท่าเกษม บ้านใหม่ไทยพัฒนา บ้านโคกสัมพันธ์ บ้านคลองอุดมสุข บ้านคลองนางชิง บ้านสุขสำราญ

บ้านท่าเกษม

                . นิทานเทพนิยาย เป็นนิทานที่มีเทวดา นางฟ้า หรือกึ่งเทพเป็นตัวละคร ได้แก่ บ้านคำเจริญ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๒๘). การเขียนนิทาน.  กรุงเทพมหานคร:  สำนักพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (๒๕๔๘).  การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด.  กรุงเทพมหานคร:  สำนักพิมพ์

                บริษัทธรรมสาร จำกัด.

ประคอง  นิมมานเหมินห์. (              ).  นิทานพื้นบ้าน.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.  (๒๕๔๗).โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.  กรุงเทพมหานคร: 

                 สำนักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพจำกัด.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                  สืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ถ่ายทอดเป็นกาพย์ยานี  ๑๑

                     โครงงานภาษานี้                                               พวกเรามีนามสืบสาน

               หมู่บ้านเป็นตำนาน                                                 เล่าขับขานต่อกันมา     

                      ตำบลท่าเกษม                                                 ชนปรีดิ์เปรมเป็นหนักหนา

              สิบสามบ้านแบ่งพา                                                 เชิญท่านมาร่วมรับฟัง

                      นามหนึ่งคลองนางชิง                                     โจรฉุดหญิงขืนริมฝั่ง

              ทำเรื่องให้เด่นดัง                                                     ใครได้ฟังช่างกังวล

                      นามสองท่าเกษม                                             ชนอิ่มเอมพืชพันธุ์ผล

              สร้างรางเพื่อผู้คน                                                    ได้ขนส่งสินค้าไป

                      นามสามหนองนกเขา                                                   เขาบอกเรานกเขาใหญ่

              สีทองผ่องอำไพ                                                       บินว่องไวในลำคลอง

                      นามสี่บ้านทุ่งพระ                                            พบพุทธากลางทุ่งหนอง

              เพริดพรายรายเรืองรอง                                            คนทั้งผองซ้องสุขใจ

                      นามหนองนกกระเรียน                                    วิหคเยียนแล้วคลาไคล

              พื้นที่มีหนองใส                                                       ตั้งนามใหม่กาลต่อมา

                      นามบ้านโคกสัมพันธ์                                      ซึ่งชื่อนั้นบอกแล้วหนา

              รวมญาติป้าน้าอา                                                     ได้พึ่งพาอาศัยกัน

                      นามคลองอุดมสุข                                            ดาษดื่นชุกปลาหลายพันธุ์

              พื้นที่ห่างไกลนั้น                                                     แต่อยู่กันด้วยไมตรี

                      นามบ้านสุขสำราญ                                         พี่น้องนั้นต่างพาที

              พืชผลล้นมากมี                                                       ชาวบ้านนี้มีสุขใจ

                      นามบ้านหัวกุญแจ                                          ชื่อจริงแท้ประแจไง

              ใช้ไขรางรถไฟ                                                        ชื่อเปลี่ยนไปได้ที่มา

                      นามบ้านคำเจริญ                                             ราชสรรเสริญองค์ราชา

              คุณล้ำนำเมตตา                                                       ไทยทั่วหล้าผาสุกใจ

                      นามหนองพระสระเนตร                                 แสนวิเศษกว่าสิ่งใด

              ด้วยมีพระองค์ใหญ่                                                 ผุดผ่องใสในสระน้ำ

                      นามว่าบ้านห้วยใหญ่                                       ชื่อบอกไว้ให้จดจำ

              มีห้วยสะอาดล้ำ                                                       นำความสุขทุกชุมชน

                      บ้านใหม่ไทยพัฒนา                                        แยกออกมาประชาล้น

              เดิมทีบรรพชน                                                        นั้นคือคนโคกสัมพันธ์

                      เจนจริงทุกสิ่งเล่า                                             เนิ่นนานเนาเรากล่าวขาน

              จดจำล้ำเลิศกาล                                                       ชั่วลูกหลานสืบสานเอย                  

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า  “เคยมีคนพูดต่อๆกันเคยมีหญิงคนหนึ่งผิดหวัง ในความรัก เพราะแฟนหนุ่มที่กำลังจะแต่งงานกันเกิดตายก่อน ทำให้ผู้หญิงคนนั้นเสียใจมาก จึงกระโดดน้ำตายตามกันไป”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า  “ได้มีการสร้างรางรถไฟเพื่อขนส่งสินค้าไปมา   จึงทำให้ผู้คนในละแวกนั้นมีแต่ความสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                                                      .................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า  “เคยมีนกเขาสีทองตัวหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่และสวยงาม ทำให้คนในหมู่บ้าน                  มีความประทับใจมาก จนเก็บมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                                                        .................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า  “เคยมีผัวเมียคู่หนึ่งมาทำไร่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                            .................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                                                   

 

 

  .................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

แบบสำรวจโครงงานเขียนนิทานสืบสานภูมินามหมู่บ้านในตำบลท่าเกษม

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์......................................  นามสกุล  ......................................................

บ้านเลขที่.......................  หมู่  ...............  ตำบล  ....................... อำเภอ..............................

จังหวัด...........................   ๒๗000

จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในหมู่บ้าน  ได้ข้อมูลว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.................................................

(....................................................)

                                                                                                                                                            ผู้สัมภาษณ์

                                                                                                                                                           ๑๕    พฤษภาคม    ๒๕๕๑

 

 

 

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

>

19 ความคิดเห็น

อาร์ม 6 ธ.ค. 52 เวลา 13:37 น. 2

สุโค่ย
สุดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆยอดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ7

0