Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แจกรูปสถาปัตยกรรมสวยๆ ^^

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เผื่อใครอยากได้เป็นข้อมูลในการทำงานสถาปนิก นี่เป็นข้อมูลทางด้าน สถาปัตยกรรม จากทั่วโลก
โพสครั้งแรกครับ มีอะไรผิดพลาดขออภัยล่วงหน้านะครับ

ผลงานที่โพสใหม่ จะอยู่ข้างล่างสุดนะครับ ^^

งานแรกครับ

D&G Headquarters | Piuarch


Photos courtesy of Piuarch

D&G ( Dolce & Gabbana) สำนักงานใหญ่ในที่มิลานออกแบบโดย Piuarch สถาปนิกอิตาเลียน เป็นโชว์รูมที่รวบรวมคอลเล็คชั่นขนาดใหญ่ เป็นสำนักงาน ภัตตาคารและพื้นที่สำหรับจัดงานอีเว้นต์ที่เกียวข้อง ด้วยพื้นที่รวมกันประมาณ 5,000 ตารางเมตร มีความสูงทั้งหมด 5 ชั้นและชั้นใต้ดินสองชั้น สถาปนิกมีแนวคิดที่จะสะท้อนงานออกแบบสินค้าของ D&G ออกมาเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของ D&G


Photos courtesy of Piuarch

ภาพร่างครับ


Photos courtesy of Piuarch




Photos courtesy of Piuarch

ห้องข้างใน


Photos courtesy of Piuarch

แอบมีสวนตรงนี้ด้วย

งานต่อไป

"พา-สาน" | Fars Studio


Courtesy Fars Studio Co.,Ltd

Fars Studio สำนักงานสถาปนิกรุ่นใหม่ มีผลงานชนะการประกวดแบบหลากหลายงานมาแล้ว
พวกเขาชนะการประกวดแบบสัญลักษณ์ต้นน้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ จัดโดยเทศบาลจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์ ชื่องานเรียกว่า"พา-สาน" คือการพาให้คนเข้าไปผสานเข้ากับสถานที่และสภาพแวดล้อมโดยรอบรูปแบบของสถาปัตยกรรมเกิดจากการเชื่อม และ บังคับมุมมองที่เราต้องการให้คนมองเห็นสภาพแวดล้อมในจุดต่างๆที่สะท้อนถึงเรื่องราวของสถานที่ได้ดีที่สุดสถาปัตยกรรม ณ ที่นี้เป็นเพียงสื่อกลางเชื่อมไปถึงธรรมชาติโดยรอบ


Courtesy Fars Studio Co.,Ltd

งานสัญลักษณ์ต้นน้ำเจ้าพระยา ได้แสดงการรับรู้ออกเป็นสามส่วนได้เแก่มุมมองจากภายในเกาะยม ผู้เข้าชมโครงการจะเริ่มมองเห็นแม่น้ำจากระดับผิวน้ำตอนขึ้นจากเรือ เห็นริมฝั่งคลองสองข้างจากจุดเริ่มต้นของเส้นทางเดินขนานน้ำ เห็นแม่น้ำสองสีจากจุดสูงสุดของโคงการจาก มุมกระทบแสงที่เหมาสมและร่มเงาที่พอเพียงสำหรับสายตาที่จะมองเห็นสีของน้ำ และจุดปลายของเส้นทาง ที่เปิดให้เห็นจุดที่น้ำสองเส้นประสานกัน


Courtesy Fars Studio Co.,Ltd

อีกมุมนึงครับ


Courtesy Fars Studio Co.,Ltd


Courtesy Fars Studio Co.,Ltd

ส่วนถัดมาเป็นมุมมองจากภายนอกหรือริมฝั่งเข้ามี่ที่โครงการ เป็นการแสดงให้เห็นความหมายของการผสมผสาน ของกายภาพของแม่น้ำที่มากจากสายหลักทั้ง 4 ปิง วัง ยม น่านค่อยผสานจากสี่เป็นสอง จากสองเป็น เจ้าพระยา ทั้งยังสือถึงการผสามรวมตัวกันของ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ต่างๆของท้องที่เข้าด้วยกัน การยกตัวของสถาปัตยกรรมขึ้นตรงกลางทำให้ประชาชนจากสองฝั่งแม่น้ำมองเห็นกัน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของทั้งสองฝั่งเข้าหากัน และส่วนสุดท้ายเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์
แสดงถึงเรื่องราวของแม่น้ำในเชิงกราฟิก และเนื้อหาที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเติมเต็มข้อมูลทีสถานที่ และสถาปัตยกรรมไม่สามารถสื่อถึงประชาชนได้


Courtesy Fars Studio Co.,Ltd

งานต่อไป 

DnB NOR Headquarters | MVRDV


DnB NOR Headquarters - South-east view, rendering courtesy of MVRDV

สำนักงานสถาปนิก MVRDVจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่พวกเขาชนะการประกวดแบบอาคารสำนักงาน DnB NOR ที่เป็นสถาบันการเงินในประเทศนอร์เวย์ โดยส่งประกวดร่วมกับสถาปนิกท้องถิ่น DARK Arkitekter เป็นอาคารสูง 17 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 36,500 ตารางเมตร


DnB NOR Headquarters - South-east view, rendering courtesy of MVRDV

แนวความคิดโครงการสร้างอาคารโดยใช้วิธี pixilated สร้างชิ้นส่วนโมดูลคล้ายขนมวาฟเฟิ้ลวางตัวซ้อนกันมีคว้านบ้าง ดึงยื่นบ้าง โดยรักษาระยะโมดูลเอาไว้ ดูเหมือนการต่อเลโก้ยังไงยังงั้น การใช้วิธีนี้คุ้น ๆ กับโครงการอาคารที่กำลังจะสูงที่สุดในประเทศไทยที่เพิ่งจะนำเสนอกันไป ทั้งนี้การใช้แนวทางนี้สถาปนิกก็นำมาขายเจ้าของโครงการว่าเป็นการสื่อถึงประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น การทำงานร่วมกันเป็นทีมขององกรค์นั่นเอง



DnB NOR Headquarters - South-east view, rendering courtesy of MVRDV

สถาปัตยกรรมมีความสัมพันธ์กับชุมชน และโลกภายนอกด้วยการดึงและเชื่อมต่อสเปซให้เข้ามาภายในอาคารในรูปแบบของ Atrium ระเบียง รวมไปถึงการดึงพลาซ่าที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟใต้ดินสายออสโลเบื้องล่าง นอกจากนี้การ set back เป็นขั้นบันไดเพื่อให้ผ่านกฎหมายก็ทำได้โดยง่าย


DnB NOR Headquarters - South-east view, rendering courtesy of MVRDV

มีโมดูลของออฟฟิส 2,000 ชิ้นเรียงตัวกันโดยชั้นบนทำเป็นแคนทีนขนาด 140 ที่นั่ง ที่ส่วนประมาณชั้น 8 ตรงกลางทำเป็นสเปซใหญ่เป็นห้องค้าหลักทรัพย์ขนาด 250 ที่นั่งที่้เปิดเป็นผนังกระจกโล่งเปิดมุมมองเห็น fjord ที่สวยงาม มีการดึงบันไดหลักอาคารที่กรุผิวด้วยไม้มาไว้ติด facade ด้านหน้าเชื่อมต่อสเปซทุก ๆ ชั้นเปิดเป็น Atrium ช่วยทำให้การทำงาน การเดินเชื่อมต่อระหว่างชั้นดูไม่เหนื่อยเพราะว่าเห็นถึงกันหมด น่าจะช่วยประหยัดค่าลิฟท์ได้มากอยู่


งานต่อไป 

JS Bach/Zaha Hadid Architects Chamber Music Hall


Image courtesy of Zaha Hadid Architects Luke Hayes

งานจาก Zaha Hadid Architects ดีคอนตัวแม่ นำเสนอโครงการ Manchester Chamber Music Hall ที่ตั้งใจที่จะออกแบบและสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ดนตรีของ Johann Sebastian Bach


Image courtesy of Zaha Hadid Architects Luke Hayes

ด้านหลังครับ


Image courtesy of Zaha Hadid Architects Luke Hayes

งานนี้คล้าย ๆ เป็นงาน installation เนื่องจากมีห้องแสดงดนตรีเป็นกล่องสี่เหลี่ยมอยู่แล้ว ZHA ก็ออกแบบโดยใส่แนวผ้าโค้งม้วนเกลียวคว้านเข้าไปในสเปซเดิมนั้น โดยแนวผ้านี้จะล้อมรอบทั้งเวทีผู้แสดงและส่วนที่นั่งของผู้ชม การทำเช่นนี้ทำให้สเปซสี่เหลี่ยมทื่อ ๆ กลายเป็นสเปซที่ดูเหมือนกำลังขยายตัวอยู่ กำลังรวมตัวกัน และซ้อน intersect ระหว่างกัน แนวความคิดก็คือพยายามสะท้อนวิธีการแต่งเพลงของ Bach ซี่งเป็นการแต่งที่ใช้องประกอบที่ง่าย ๆ ได้ส่วน แต่กลายเป็นดนตรีคลาสสิคที่มีความซับซ้อน แต่ก็ยังมีความต่อเนื่องและรื่นหู แปลงมาเป็นสเปซซ้อนสเปซที่รื่นไหลอย่างที่เห็น



Image courtesy of Zaha Hadid Architects Luke Hayes

ภาพ 3D Model ครับ

เพิ่มต่อจากคราวที่แล้ว คราวนี้ เอารุปใหญ่เลย ดีมะอ่า = = จะไดเห้น ชัดๆ

อันต่อไป 

Twin Houses | Predock_Frane Architects


Photo Courtesy Predock_Frane Architect

Twin houses ใน Palisades ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับหุบเขา Santa Monica ซึ่งจะเป็นย่านโครงการหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาที่ดินมาตั้งแต่ยุค 1950's โครงการนี้ออกแบบโดย
Predock_Frane Architects โครงการประกอบด้วยบ้านสองหลังที่รูปทรงไม่เหมือนกันซะทีเดียวแต่ก็มีแนวความคิดเดียวกัน


Photo Courtesy Predock_Frane Architect


Diagram Courtesy Predock_Frane Architect



แนวคิดของสถาปนิกก็คือต้องการที่จะออกแบบบ้านที่หลอมรวมบ้านสองแนวที่ทำกันมานานแล้วใน California ก็คือ Hillside house และ Courtyard house ซึ่งบ้านสองอย่างนี้โดยทั่วไปจะไม่มีคุณสมบัติเด่นของแต่ละประเภท กล่าวคือ Hillside house หรือบ้านเชิงเขาก็จะไม่มี Courtyard ในบ้านส่วนใหญ่ก็จะตัน และกลืนไปกับความชันของเชิงเขา ในขณะเดียวกันบ้านที่เป็นลักษณะ Courtyard ก็มักจะตั้งอยู่บนผืนที่ดินที่ราบเรียบ (ใครไม่เข้าใจลอง search รูปภาพว่า "hillside hosue" และ "courtyard house" )


Diagram Courtesy Predock_Frane Architect



สถาปนิกก็เอาบ้านสองแนวนี้มา Intersect กันดิ้อ ๆ เกิดเป็น Twin houses คู่นี้ โดยรูปทรงของบ้านที่เป็นรูปทรงเหลี่ยมด้านไม่เท่านั้นก็ได้มาจากการโปรเจ็คเส้นสายขอบเขตของข้อกำหนดกฎหมายท้องถิ่น เมื่อได้รูปทรงแล้ว cut & fill พื้นที่ตั้งเป็นสองระดับ จากนั้นเจาะ skylight ส่องทะลุบ้านผ่านลงมาที่ atrium สู่ courtyard เบื้องล่างจากนั้นเจาะ volume ตามแนวนอนออกไปสู่ภายนอก สร้างความสัมพันธ์เชื่อมต่อสเปซระหว่าง ภายนอกกับภายใน ระหว่างสเปซภายในบ้าน  ช่วยอากาศหมุนเวียน มองเห็นพื้นที่ใช้สอยส่วนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

วัสดุกรุพื้นผิวผนังภายนอกใช้ไม้ ซีดาร์สีดำสนิท กว้าง 12 นิ้ว กรุทุกด้าน ภายในตกแต่งสองโทน ขาวบวกกับพื้นไม้ลามิเนตลายสวย

เอาเท่านี้ก่อนนะครับ

ข้อมูลและรูปภาพที่ผมนำมาโพสนี้ เป็นแค่ส่วนหนึ่งเองครับ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บนี้เลยนะครับ (มีงานอื่นๆ สวยๆ แปลกๆ ให้ดูเยอะดีครับ)

Credit: www.archthai.com



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 1 ธันวาคม 2552 / 10:28
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 1 ธันวาคม 2552 / 10:30
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 1 ธันวาคม 2552 / 11:42
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 1 ธันวาคม 2552 / 12:03
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 1 ธันวาคม 2552 / 12:06
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 1 ธันวาคม 2552 / 13:34

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

boninza 25 พ.ค. 53 เวลา 01:45 น. 4

สวยดีค่ะ ความจิงแร้วเปนคนนึงที่ชื่นชอบงานสถาปัตยกรรมมากๆ ความจิงเปนคนชอบงานศิลปะ โดยเฉพาะงาน Drawing และมีโอกาสเหนงาน สถาปัตยกรรมผสมผสานกับงานศิลปะของ อาจารย์นิธิ ซึ่งเปนผู้ชำนาญด้านการออกแบบบ้าน ไทยร่วมสมัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า งานออกแบบของอาจารย์มีความสวยงามมาก โดยเฉพาะก่อนจะเป็นงานสถาปัตยกรรม อาจารย์นิธิ นั้นได้วาดแบบบ้านได้มีความละเอียดและสวยงามเป็นอย่างมาก&nbsp จึงทำให้ทราบว่า ก่อนจะได้งานสถาปัตยกรรมที่สวยงาม จะต้องผ่านงานศิลปะเสียก่อน

0