Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

=== คณะแพทย์ที่คุณเลือกเป็นอย่างไร ===

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โรงเรียนแพทย์ที่คุณเลือกเป็นแบบไหน?

คุณรู้จักระบบการเรียนของสถาบันแห่งนั้นแล้วหรือยัง?

แพทย์ทุกที่ไม่ได้เรียนเหมือนกันเหรอ?

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จนถึงวันนี้คุณรู้หรือยังว่าโรงเรียนแพทย์ร์ที่เปิดการเรียนการสอนกว่า 19 สถาบัน ในประเทศไทยนั้น
มีเอกลักษณ์การเรียนการสอนไม่เหมือนกัน

ระบบการเรียนการสอนหลักๆของโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ
1. ระบบการสอนแบบบรรยาย (Lecturing)
2. ระบบการสอนแบบบรรยาย ควบคู่กับการใช้ปัญหาเป็นหลัก (Lecturing+Problem-based learning)

สำหรับระบบการสอนแบบบรรยาย หรือที่เรียกว่าเลคเชอร์นั้น ทุกคนคงจะคุ้นเคยกันดีแล้ว เพราะเรียนมาตั้งแต่อนุบาลยัน ม.ปลาย การเรียนก็จะมีอาจารย์มานั่งสาธยายเนื้อหาให้ผู้เรียนฟังหน้าชั้นเรียน อาจใช้อุปกรณ์ประกอบการสอนต่างๆ เช่น สไลด์ PowerPoint ฯลฯ

สำหรับระบบการสอนแบบที่ 2 นั้น ก่อนอื่นต้องขอเท้าความที่มาของการเรียนการสอนแบบนี้ให้ฟังก่อน การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก หรือ PBL เป็นที่นิยมมากในโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Oxford Havard บลาๆๆ
การสอนก็จะมีการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณไม่เกิน 10 คน แล้วจะมีการเข้ากลุ่มย่อยเพื่อศึกษาโจทย์คนไข้สมมติ ที่มีภาวะอาการต่างๆตามโรค โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่มเป็นผู้ควบคุมการดำเนินการของสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์สาเหตุของโรค กลไก การรักษา โดยประมวลความรู้ทั้งมวลมาสู้กันในกลุ่ม เพื่ออภิปราย dicuss กันว่าเหตุผลแบบไหนเหมาะสมในการอธิบายโรค โดยไม่มีเลคเชอร์! ไม่มีชีทให้! ผู้เรียนจะต้องหาความรู้เองจากในอินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ฯลฯ ซึ่งวิธีการเรียนแบบนี้จะคล้ายการวินิจฉัยโรคของแพทย์จริงๆ
แต่สำหรับประเทศไทยนั้นการเรียนแบบดังกล่าวนั้นอาจไม่เหมาะสมกับผู้เรียน จึงปรับให้มีเลคเชอร์ ควบคู่กับ PBL หรือที่เรียกว่าระบบ Hybrid PBL

โรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย แต่ละแห่งก็มีการจัดระบบการเรียนการสอนในส่วนที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น
ศิริราช, จุฬาฯ Lecture 100% PBL 0%
รามา Lecture 80% PBL 20%
ขอนแก่น Lecture 100% PBL 0%
ธรรมศาสตร์ Lecture 50% PBL 50% ฯลฯ

ข้อดีข้อเสียของ 2 ระบบ ก็คือ ระบบ Lecture นั้น ผู้เรียนค่อนข้างจะแน่นด้านเนื้อหาวิชาการมากกว่า แต่สำหรับระบบ Hybrid PBL ผู้เรียนจะสามารถคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงได้ดีกว่า
อาจเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการจะเปรียบเทียบว่าระบบใดดีกว่ากัน อย่างเช่นมหาวิทยาลัยมหิดล มีศิริราชซึ่งเป็นตัวแทนของระบบ Lecture และมีรามาเป็นตัวแทนของระบบ Hybrid PBL
แต่ทุกๆแห่งนั้นก็มีการทำปฏิบัติการ (Lab) เหมือนกันทุกแห่ง เพื่อเสริมทักษะทางการปฏิบัติควบคู่กับวิชาการ

และการเรียนการสอนนั้นก็ยังมีตารางเรียนไม่เหมือนกัน บางแห่งเรียนเหมือน ม.ปลาย คือเรียนหลายๆวิชาใน 1 สัปดาห์ โดยมักแยกเป็นวิชาเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ ฯลฯ มีการสอบมิดเทอม และสอบไฟนอล เช่น ขอนแก่น
แต่บางแห่งเรียนทีละวิชา โดยวิชานั้นจะครอบคุมทั้งระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ก็จะมีเรื่องยา กายวิภาค ฯลฯ รวมกัน เรียกการเรียนแบบนี้ว่า Block เมื่อเรียนจบระบบหนึ่งจะมีการสอบประมวลผลครั้งหนึ่ง และก็จะเรียนระบบต่อไปเลย ไม่มีสอบมิดเทอม ไม่มีสอบไฟนอล เช่น ธรรมศาสตร์

การเลือกสถานที่เรียนบางครั้งหากเราไม่ทำความรู้จักให้ดีพอ อาจจะทำให้เราไม่ชอบวิธีการเรียนการสอนแบบนั้นๆก็ได้ ปัจจุบันจึงมีการจัดค่ายของสถาบันต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้น้องๆนักเรียนได้เข้ามาทำความคุ้นเคยกับระบบการเรียนการสอนของแต่ละแห่ง เพื่อเป็นเหตุผลในการประกอบการตัดสินใจเลือกสถาบัน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผิดพลาดประการใด โปรดช่วยแนะนำด้วย ขอบคุณครับ


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2553 / 14:22
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2553 / 14:24

PS.  P!NKY EDEN : CRU >> Medicine TU 19

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

ตามนั้น 12 ก.พ. 53 เวลา 14:50 น. 1

อยากเข้าศิริราชมากที่สุด ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน

ทั้งๆที่ตัวเองไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับสถาบันมากนักหรอก

0
>>taiyou_tsuki 12 ก.พ. 53 เวลา 18:24 น. 4

แถมๆ...สำหรับทันตะนะคะ

ทันตะ จุฬาฯ ก็มีเรียนแบบLecture + PBL และ เรียนเป็น Block ตั้งแต่ปี 1 เลยค่ะ


PS.  ヽ(´ー`)ノ.......いいね〜 みんなさん がんばっ&
0
med psu 13 ก.พ. 53 เวลา 19:58 น. 8

ของ ม.สงขลานครินทร์ กำลังจะเปลี่ยน
จาก
Lecture 50 : PBL 50
เป็น
Lecture 70 : PBL 30


เพราะคะแนนมันขึ้นอยู่กับ facilitator ของแต่ละกลุ่ม
เห็นว่ารุ่นพี่บางคน สอบได้คะแนนสูง ทำ PBL ไม่ดี ได้ B

0
ลูกแพร 7 เม.ย. 54 เวลา 19:09 น. 9

ศิริราชไม่มี PBL แต่ก็มีการปฏิบัติในภาคพื้นความรู้(1 เดือน/ครั้ง) โดยอาจารย์ผู้สอนจะมีคนไข้จำลอง
แล้วแสดงภาพโดยใช้โปรแกรมนะค้ะ . จึงทำให้นักศึกษาของที่นี้ ไม่ด้อยกว่าที่อื่นน่ะค่ะ !.

0