Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ใครเทพ ดาราศาสตร์ ช่วยหน่อย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โจทย์แบบว่า

ณ.จุดหนึ่งใน กทม. สังเกตเห็นดวงอาทิตย์ตรงศีรษะ ตอนเที่ยงวัน(เวลาท้องถิ่น) ในวันที่ 26 เมษา ในวันใด ที่ดวงอาทิตย์จะตรงศีรษะอีก

1. 26 กรกฏา
2. 16 สิงหา
3. 26 สิงหา
4. 8 กันยา

ถ้าผู้สังเกตข้างต้นอยู่ที่ ลองจิจูด 100 E เวลาที่ดวงอาทิตย์ตรงศีรษะควรจะเป็นเวลาใด
1. 11.40 น.
2. 12.00 น.
3. 12.15 น.
4. 12.40

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

MoO_Ain 14 ก.พ. 53 เวลา 22:23 น. 1

TT ไปเอาโจทย์มาจากไหนค่ะ

ปล.เราก็มึนกะดาราศาสตร์เหมือนกัน สอบครั้งล่าสุดโพยกระจายTT

ขอโทษน้าาาTT


PS.  จงใช้เพื่อนเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่ให้นำทาง
0
deksiam 14 ก.พ. 53 เวลา 22:31 น. 2

เป็นข้อสอบ เอิ่ม สอวน. อะครับ

พอดีฟลุ๊คติดรอบ 2 เพราะฟิสิกส์กับเคมี แท้ๆ

แบบดาราศาสตร์ โจทย์แบบนี้ เหมือนใน gat pat เลย เจอแล้วเจอเ่ล่า ก็ทำไม่ได้

0
number 9 14 ก.พ. 53 เวลา 22:50 น. 3
ข้อสอบ IESO นี่นา

หุหุ จขกท.เก่งเนอะติดรอบแรกด้วยละ
สู้ๆนะ

ข้อแรกนี่ตอบข้อ2   16 สิงหาอ่ะ
ลองไปคิดดูนะ
ส่วนข้อสองไว้จะลองไปคิดดูนะ

พี่ก็ไม่ได้ถนัดเรื่อง co-ordinate ซักเท่าไหร่อ่ะ มึนๆมันเหมือนกัน

PS.  ในทางคณิตศาสตร์ เส้นขนานไม่มีวันบรรจบกันได้ แต่ในทางดาราศาสตร์ เส้นขนานจะบรรจบกันที่จุดจุดหนึ่งบนทรงกลมท้องฟ้า
0
number 9 14 ก.พ. 53 เวลา 22:54 น. 4

อ้อ เอางี้ดีกว่า ถ้าน้องอยากได้คำตอบชัวร์ๆเร็วๆเลยนะ
พี่แนะนำให้ไปตั้งกระทุ้ถามในเว็บดาราศาสตร์ดอทคอมดีกว่า

ที่นั่นน่ะผู้รุ้เยอะ

http://www.darasart.com/webboard/default.asp  แต่ต้องสมัครสมาชิกก่อนนะถึงจะตั้งได้อ่ะ

หรือถ้าน้องไม่อยากสมัครสมาชิกก็ ไปถามที่ กระดานสนทนาของสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้เลยจ้ะ
http://tasboard.piesoft.net/


PS.  ในทางคณิตศาสตร์ เส้นขนานไม่มีวันบรรจบกันได้ แต่ในทางดาราศาสตร์ เส้นขนานจะบรรจบกันที่จุดจุดหนึ่งบนทรงกลมท้องฟ้า
0
วันชัย บุญทา เด็กโอ 3 มิ.ย. 53 เวลา 21:26 น. 7

ข้อหนึ่งตอบกรกฎาครับ วิธีคิดคือ มันยังไม่ถึง ซัมเมอร์โซสตีส โลกจึงต้องเอียงลงอีก 23.5 - 10 องศาเท่ากับ 13.5 องศา ถ้าคิดดู 23.5 องศาใช้เวลาเอียงไป3 เดือน เท่ากับ 90 วัน แล้ว 13.5 องศาละเท่ากับเท่าไร... พักไว้ก่อน แล้วคูณด้วย 2 เพราะมันเป็นเวลาที่โลกจะเอียงกลับมายังตำแหน่งเดิม นั่นแหละคือคำตอบ เพราะตราบใดที่อยู่ไม่เกิน 23.5 องศา 3เดือนได้ตรงศรีษะแน่
ข้อสองต้องคิดว่าโลกหันตรงตลอด แล้วหมุนไป 3 เดือนหมุนไป 23.5 องศา (ถ้าใช้สมบัติสามเหลี่ยม) อิคลิปติกไปข้างหน้า 23.5-10 องศา 13.5 องศา&nbsp (ต้องใช้จินตนาการมากๆนะครับ) ต้องคิดอิคลิปติกตอนเช้า กลางวัน เย็นด้วย จะเห็นได้ว่า มันถึงหัวก่อนเที่ยง (ไม่แน่ใจนะครับ

0
เด็ก TAO 9 4 ก.ย. 55 เวลา 21:34 น. 9

คือว่า ข้อสองน่ะครับ ลองติจูดจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับคำตอบนะครับ เนื่องจากเวลาในช้อยเป็นเวลาท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นน แม้จะมีลองติจูดเท่าไหร่ เวลาก็จะยังเหมือนเดิมทุกที่ครับ
ส่วนคำตอบ คือ เวลา 12.00 น.แน่นอนครับ เพระาเป็นจุด upper transit ของดวงอาทิตย์พอดี ( เรียนค่ายดาราศาสตร์แล้วจะเข้าใจครับ)

0
เด็กกากดาราศาสตร์ 25 ธ.ค. 57 เวลา 10:01 น. 10

ผมคิดว่าเเบบนี้ คือถ้าบริเวนนั้นใช้ Gmt +7 ซึ่งเหตุการจะเป็นจริงก็ต่อเมื่ออยู่ที่ 105 องศาตะวันออกพอดี เเต่โจทย์บอกว่า อยู่ที่ 100 องศาตะวันออก ถ้าเรามาคิดเเต่ละข้อเป็นเเบบนี้
1. 11:40 คือผู้สักเกตที่105 ยังเห็นดวงอาทิตยไม่ transit เเต่เราดันเห็นมัน transit พอดี นั้นคือ เราจะเร็วกว่า 105 อยู่ 5 องศา นั้นคือ 110 E ซึ่งผิด
2. 12:00 นั้นคือเราต้องอยู่ที่ 105 พอดี ซึ่งผิด
3. 12:15 คือเราเห็นมัน transit ตั้ง 12:15 ซึ่งปกติผู้สังเกตที่ 105 จะเหนตอน 12:00 ซึ่งเราเลยช้ากว่าเขา 15 นาที นั้นคือเราอยู่ที่ ลองติจูด 105-3.75=101.25 หรือถ้าเราคิดผลของ equation of time ก็จะได้มันปะมาน 100

0