Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สรรพคุณ ส้มโอ มะกรูด มะนาว และ ส้มเขียวหวาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
1. มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสามัญ : Leech Lime, Mauritius Papeda, Kaffir Lime, Porcupine Orange
ชื่อท้องถิ่น
• ภาคเหนือ เรียก มะขูด, มะขุน
• ภาคใต้ เรียก ส้มกรูด, ส้มมั่วผี
• เขมร เรียก โกร้ยเขียด
• กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก มะขู
ลักษณะทั่วไป มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดียว สีเขียวหนา มีลักษณะคอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน ใบสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผล มีหลายแบบแล้วแต่พันธุ์ผลเล็กเท่ามะนาว ผิวขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่หัวการปลูก มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางยา
• ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู
• ผล รสเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต ใช้สระผมทำให้ผมดกดำ ขจัดรังแค
• ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด
• น้ำมะกรูด รสเปรี้ยว กัดเสมหะ ใช้ดองยามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี
• ใบ รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน และดับกลิ่นคาว

คติความเชื่อ มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้อยู่อาศัยจะได้มีความสุข และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม โคหรือกระบือเมื่อได้กลิ่นสาบเสือจะหยุดเดิน เจ้าของจะต้องขูดผิวมะนาวหรือมะกรูด ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบ่อน โค กระบือจึงจะเดินต่อไป ดังนั้นการเดินทางสมัยก่อนผ่านป่า ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาวและมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ ในพิธีกรรมการทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์สำหรับพรมหรืออาบผู้ป่วยใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้ โดยใช้ร่วมกับใบส้มป่อย ใบเงินใบทอง ใบมะตูม หญ้าแพรก หมากผู้หมากเมีย ใบราชพฤกษ์ เชื่อกันว่าใบจากต้นไม้มงคลเหล่านี้จะช่วยปัดเป่าและบรรเทาเคราะห์โศกลงไปได้
2. มะนาว : Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia
วงศ์ : Rutaceae
เริ่มแรกจากแถบเอเชีย พื้นที่ที่มีการเพาะปลูกส่วนมากเป็นเขตอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอิตาลี, บริเวณ แถบเอเชียตอนใต้และอเมริกา มะนาวเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 4.5 เมตร (15 ฟิต) ใบเรียบสีเขียว มีหนามแหลมคม และเล็ก มีดอกสีขาว มะนาวมีผลสีเขียวและมีหลายชนิด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว มะนาวถูกนำมาเผยแพร่ในทวีปยุโรป โดยมัวร์ และได้กระจายไปถึงประเทศอเมริกา น้ำมะนาวช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด เนื่องจากน้ำ มะนาวมีวิตามินซีสูง ส่วนใหญ่ใช้แต่งกลิ่นและรสชาติ ในเครื่องดื่มอัลกอฮอล์และโคลา รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรม น้ำหอม
ส่วนที่ใช้ : ผิว
กลิ่น : สดชื่น, หวาน
อารมณ์ : สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
ส่วนประกอบทางเคมี : citral, limonene, glutathione, terpineol, cymene, myrcene, a-pinene, B-pinene, sabinene, myrcene, limonene, y-terpinene, terpinolene, octanal, nonanal, tetradecanal, pentadecanal, trans-a-bergaptene, caryophyllene, B-bisabolene, geranial, neryl acetate, geranyl acetate, a-terpineo, linalool.
คุณสมบัติ : บยั้งเลือดออกตามไรฟัน, ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อไวรัส, ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, ลดไข้, ซ่อมแซมและฟื้นฟูพละกำลัง
สรรพคุณ
ระบบทางเดินหายใจ : บรรเทาอาการเจ็บคอ, ช่วยลดอาการของไข้หวัด, อาการไอ
ระบบทางเดินอาหาร : กระตุ้นความอยากอาหาร, ช่วยย่อยอาหาร,
กล้ามเนื้อ / ข้อต่อ : บรรเทาอาการข้ออักเสบ
ผิวหนัง : สิว, ช่วยกระชับรูขุมขนสำหรับผิวมัน, ลดไขมันใต้ผิวหนัง, โรคผิวหนังเป็นเม็ดพุพองและลามออก
ระบบการหมุนเวียนโลหิต : บรรเทาอาการเส้นโลหิตดำโป่ง, เลือดคั่ง
ข้อพึงระวัง :
- หลังจากใช้แล้วห้ามถูกแสงแดดโดยตรง
3. ส้มโอ : Pomelo or Grapefruit
ชื่อวิทยาศาสตร์ : VCitrus maxima var. racemosa
วงศ์ : Rutaceae
ส้มโอ เป็นพืชตระกูลเดียวกับมะนาว ส้ม และมีวิตามินซีสูง ซึ่งป้องกันการติดเชื้อ ใช้ในการบำบัดต่างๆ เช่น สิว รอยแผลเป็น ช่วยปรับสภาพผิว เหมาะกับผิวมัน กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม นอกจากนี้ยังช่วยในการ ลดไขมันใต้ผิวหนัง และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันหอมระเหยจากส้มโอ ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำสบู่ เครื่องสำอาง น้ำหอม และใช้ในการทำขนม เครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ ทั้งให้ความหอมและเป็นการเพิ่มรสชาติ
ส่วนที่ใช้ : ราก
กลิ่น : ไอดิน และรากไม้
อารมณ์ : อบอุ่น
ส่วนประกอบทางเคมี : benzoic acid, vetiverol, furfurol, -vitivone, -etivone, vetivone vetivenyl vetivenate.
คุณสมบัติ : ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ฆ่าเชื้อโรค ผ่อนคลายความเครียด
สรรพคุณ
ระบบกล้ามเนื้อ / ข้อต่อ : บรรเทาอาการข้อต่ออักเสบ
จิตใจ / อารมณ์ : บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้นอนหลับง่าย ผ่อนคลายความตึงเครียด
ผิวหนัง : สิว ริ้วรอยที่เกิดจากวัย
ข้อพึงระวัง :
ไม่เป็นพิษ เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบางและแพ้ง่าย
4. ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน (Tangerine ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus reticulata Family: Rutaceae
ความสำคัญ
ส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อนมีถิ่นกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ส้ม Satsuma mandarins มีถิ่นกำเนิดอยู่ในญี่ปุ่น ส้ม King mandarins มีถิ่นกำเนิดในจีน ส้ม Mediterranean mandarins มีถิ่นกำเนิดในอิตาลี และส้ม Common mandarins มีถิ่นกำเนิดในฟิลิปปินส์ ส้มมีทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5 -3 เมตร ปลูกได้ดีในดิน ทุกภาคของประเทศไทย ดินควรมีสภาพเป็นกรด – ด่าง ประมาณ 5.7-6.9 ส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมบริโภคทั่วไป ในปี พ . ศ . 2541 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 185,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว 101,000 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 283,000 ตัน / ปี ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นเพื่อบริโภคภายในประเทศ แต่ก็สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศปีละหลายสิบล้านบาท ปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีดังนี้คือ ผลสด 154 ตัน มูลค่า 2.7 ล้านบาท น้ำส้มทุกชนิด 3.6 ตัน มูลค่า 33 ล้านบาท

ชนิดของกรด
สารที่เป็นกรดแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. กรดที่ได้จากพืช
2. กรดที่ได้จากแร่ธาตุ
กรดที่ได้จากพืช
จัดเป็นกรดอินทรีย์ซึ่งจะเกิดจากพืชโดยตรง เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำผลไม้ และกรดบางชนิดได้จากพืชโดยทางอ้อมซึ่งเกิดจากการหมักพืช เช่น น้ำส้มสายชู เป็นกรดชนิดที่ได้จากธรรมชาติ จึงนำมาบริโภคได้โดยไม่เกิดอันตราย ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์กรดประเภทนี้จากแร่ธาตุได้ โดยมีสมบัติเช่นเดียวกับที่ผลิตได้จากพืช แต่นำมาบริโภคมากไม่ได้ เพราะจะเกิดอันตรายต่อร่างกาย

กรดอินทรีย์ที่สำคัญได้แก่
1. กรดฟอร์มิก หรือกรดมด เตรียมครั้งแรกโดยนำมดมากลั่น มีสถานะเป็นของเหลว กลิ่นฉุน สัมผัสกับ ผิวหนังจะคันและบวม อาการคันหรือบวม เมื่อถูกมดกัดก็เพราะกรดฟอร์มิกนี้เอง กรดฟอร์มิกใช้ในอุตสาหกรรมย้อมหนัง ย้อมผ้า
2. กรดอะเซติก หรือกรดน้ำส้ม เป็นกรดที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรม ใช้เป็นตัวทำละลาย ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและยางสังเคราะห์ ใช้ทำน้ำส้มสายชู โดยนำกรดอะเซติกบริสุทธิ์มาเจือจางเหลือความเข้มข้นประมาณ 4.5 % ใช้ในอุตสาหกรรมทำตะกั่วขาว
3. กรดออกซาลิก เตรียมจากการใช้ขี้เลื่อยเผากับโซเดียมไฮดรอกไซด์กรดนี้เป็นของแข็งเป็นพิษ มีประโยชน์ใช้กำจัดสนิมและ รอยเปื้อน หมึกบนผ้าขาวใช้ฟอกสีลินินและฟางข้าวและใช้ขัดทองเหลือง ทองแดง

สมบัติของกรดที่ได้จากพืช
ก. เมื่อทดสอบด้วยเจนเซียนไวโอเลตที่มีสีม่วงจะไม่เปลี่ยนสีของเจนเซียน
ไวโอเลต(น้ำยาป้ายลิ้นสีม่วง)
ข. ส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นกรดอ่อน มีฤทธิ์กัดกร่อนน้อย
ค. เป็นกรดที่ใช้ในการปรุงอาหารแต่งรสอาหารหรือเครื่องดื่มได้

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น