Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แนะนำหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร คราบบบบ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
คณะสหเวชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชื่อปริญญา  :  วิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science) ด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร(Nutrition and Dietetics)

           โรคทางโภชนาการเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพและชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังที่ไม่มีโอกาสรักษาหายขาด เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคความดัน เป็นต้นประกอบกับในยุคปัจจุบันข้อมูลข่าวสารทางโภชนาการมากมายจนประชาชนสับสนไม่ทราบว่าจะเชื่อข้อมูลจากแหล่งใดสังคมจึงต้องการนักโภชนาการที่มีความรู้และศักยภาพเพื่อให้ความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องแก่ประชาชนในการใช้อาหารเพื่อป้องกันบำบัด และควบคุมโรคซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติสุขภาพที่เน้นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีพื้นฐานความรู้ที่สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้จึงได้อนุมัติให้คณะสหเวชศาสตร์ เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร ซึ่งจัดเป็นสาขาขาดแคลนเนื่องจากสังคมไทยยังต้องการบัณฑิตในสาขานี้อีกมากและยังไม่มีการผลิตบัณฑิตป้อนสู่สังคมโดยตรง
 
 
นักกำหนดอาหาร VS นักโภชนาการ ต่างกันยังไง
          "นักกำหนดอาหาร" คือผู้ที่มีความรู้ด้านอาหารเป็นอย่างดีโดยเฉพาะอาหารบำบัดโรคในการที่จะให้คำแนะนำหรือรักษาผู้ป่วยในผู้ที่ทำงานในสายงานของโภชนาการทั่วไปอาจจะทราบเพียงแค่การทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการทำอย่างไรแต่"หน้าที่ของนักกำหนดอาหาร" คือกำหนดให้คนไข้ได้รับสารอาหารแต่ละชนิดในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกาย หรือสภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่โดยสามารถกำหนดออกมาเป็นอาหารชี้และแสดงให้เห็นชนิดของอาหารให้คนไข้สามารถนำไปปฏิบัติและให้ผลในการรักษาได้จริงดังนั้น คำว่า "นักกำหนดอาหาร"จึงมีความหมายค่อนข้างเฉพาะเจาะจงมากกว่าคำว่า"นักโภชนาการ"หรือ"โภชนากร"ซึ่งอาจจะหมายถึงผู้ที่จบสาขาอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับอาหารแล้วมาทำงานในด้านนี้แต่สำหรับ "นักกำหนดอาหาร" ต้องจบปริญญาทางด้าน nutrition and dietetic มีการฝึกงานในโรงพยาบาล มีการเรียนโภชนบำบัดซึ่งจะมีความรู้ในเรื่องอาหารที่ใช้รักษาโรคได้อย่างแตกฉานสามารถขึ้นหวอดดูแลคนไข้เคียงคู่กับแพทย์ได้เพื่อประโยชน์อย่างสูงสุดในการรักษาคนไข้



 
จบมาทำอะไร ??

ตรงสายที่สุดคือนักกำหนดอาหารในโรงพยาบาล
เป็นผู้ที่ควบคุมดูแลเรื่องอาหารในโรงพยาบาลตั้งแต่วิธีการปรุงเพื่อให้เป็นไปตามที่แพทย์สั่งเช่น low salt เป็นต้นนอกจากนี้ ยังต้องให้คำแนะนำคนไข้ในเรือ่งอาหารดูแลว่าคนไข้รับประทานอาหารได้อย่างปกติรับประทานอาหารที่ถูกต้องกับโรคเพื่อให้หายจากโรคได้โดยเร็ว


อย่างที่สองในโรงงานอุตสาหกรรม
งานนี้จะเริ่มเบี่ยงสายไปใกล้เคียงกับ food sci แต่จะเข้าไปทำในส่วนของฉลากโภชนาการหรือหากมีผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพอย่างพวก digestive ก็จะเป็นผู้ดูแลค่ะ

 
อย่างที่สาม long stay
ชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนระยะยาวตาม long stay ต่างๆเขาต้องการดูแลทั้งสุขภาพกายและใจจึงต้องการการรับรองว่าอาหารที่เขารับประทานดีต่อสุขภาพจริงๆ



อย่างที่สี่สายการบิน
เที่ยวบินเที่ยวหนึ่ง ผู้โดยสารสามารถสั่งอาหารเบาหวานได้เขาต้องการความเชื่อมั่นว่า เขาจะไม่ช็อคตายบนเครื่องเนื่องจากน้ำตาลขึ้น นักกำหนดอาหารจึงมีบทบาทในการควบคุมและรับรองในส่วนนี้


อย่างที่ห้างานวิจัย
งานนี้มีในทุกสายอาชีพ

อย่างที่หกเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ข้าราชการ
ตรวจหาสารอันตรายในอาหาร ควบคุมดูแลเรื่องฉลากโภชนาการตรวจสอบการโฆษณาเกินจริง พยายามต่อสู้ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงมีโภชนาการที่ดี เพื่อคนไทยห่างไกลโรค


อย่างที่เจ็ดอาจารย์
อาจจะได้กลับมาสอนรุ่นน้องก็เป็นได้เพื่อจะได้ผลิตนักกำหนดอาหารออกมาอีกเยอะๆ ใครชอบงานสอนก็สามารถทำได้เช่นกัน
 
 
 
สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เหมือนหรือแตกต่างจากวิชา Food Science หรือ Food Tech อย่างไร

     สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารนั้นจะเน้นไปทางสุขภาพและการให้อาหารแก่ผู้ป่วยซึ่งเราต้องเรียนจัดเมนูอาหารกำหนดได้ว่าผู้ป่วยโรคนี้ต้องกินอาหารอย่างไร เท่าไร กี่แคลอรีถ้าต้องการลดน้ำหนักต้องจัดอาหารอย่างไร ซึ่งต้องเรียนวิชาพื้นฐานต่างๆ ได้แก่กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา(ระบบการทำงานของร่างกาย) พยาธิวิทยา (ความผิดปกติของโรค)เมตาบอลิซึมของอาหาร ชีวเคมี เป็นต้น นอกจากนี้ต้องเรียนการจัดเมนูอาหารการปรับพฤติกรรม การจัดระบบบริการอาหาร กฎหมายอาหารในประเทศและระหว่างประเทศปีสุดท้ายจะต้องมีการฝึกงานในโรงพยาบาล ในบริษัทอาหารต่างๆ ฝึกจำหน่าย (detail ขายผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์) นอกจากนี้ยังเรียนในเชิงการวิเคราะห์อาหารใช้เครื่องมือที่ทันสมัย

     Food Science
ก็เป็นวิชาที่น่าสนใจมากวิชาหนึ่งมุ่งไปที่ตัวอาหาร จะเรียนไปทางอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โรงงานอาหารระบบทางวิศวกรรมโรงงานบ้างเพื่อควบคุมการผลิตอาหารเรียนอาหารแต่ละกลุ่มแล้วนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับแง่จะทำยังไงมันจะคงตัวอยู่ได้แปรรูปไปเป็นอะไรที่ได้คุณค่ามากขึ้น มีดีไซน์ที่หลากหลาย Food Science จะได้เรียนโภชนาการบ้างเล็กน้อยเพื่อให้เชื่อมกับเรื่องอาหาร

     Food Science
จะเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการดูแลโรงงานผลิตอาหารแต่โภชนาการและการกำหนดอาหาร สามารถพูดได้ว่าเป็น"หมออาหาร"เพราะรู้เรื่องโภชนาการและการกำหนดอาหารเพราะฉะนั้นนักโภชนาการและกำหนดอาหารต้องเรียนรู้เรื่องโรคและสุขภาพพอสมควรและปราดเปรื่องเรื่องอาหารและพฤติกรรมการกิน กินอย่างไรให้มีสุขภาพดี
 
 
สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เหมือนหรือแตกต่างจากวิทยาศาสตรบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล อย่างไร
    วิทยาศาสตรบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล มี 2 สาขาวิชาเอกที่เกี่ยวข้องกับอาหาร คือ สาขาวิชาเอกโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร Major in Nutrition and Dietetics และ สาขาวิชาวิทยาศาสตรการอาหารเพื่อสุขภาพ Major in Food Science for Health http://www.ph.mahidol.ac.th/news/ed/pargram.html เปรียบเทียบกับหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหารของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหารของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ชื่อปริญญาคือ วิทยาศาสตรบัณฑิต(โภชนาการและการกำหนดอาหาร) ภาษาอังกฤษ คือ Bachelor of Science (Nutrition and Dietetics) เป็นหลักสูตรที่เพิ่งเปิดปีแรกในปี 2548 โดยหลักสูตรนี้อาศัยโครงสร้างหลักสูตรปริญญาตรีด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารของหลายมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และได้นำหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหารของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ นี้ให้ สมาคมนักกำหนดอาหารของสหรัฐอเริกา(American Dietetic Association-ADA) ได้พิจารณาหลักสูตรแล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2549 และขณะนี้กำลังดำเนินการให้ ADA รับรองหลักสูตรของเราอยู่ ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่
http://www.ahs.chula.ac.th/

     ทั้งหลักสูตรของโภชนาการและการกำหนดอาหารของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ มี วิชาโภชนาการชุมชน อยู่เพียง 2 เครดิต เท่านั้น ซึ่งนี่คงเป็นส่วนต่างที่ชัดเจนกับวิทย์ สาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งจะสอนให้มีความรู้อย่างดีในด้านชุมชนและสาธารณสุข

     สำหรับหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหารของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เน้นออกมาเป็น 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 เน้นความเข้มข้นขององค์ความรู้และทักษะทางโภชนาการคลินิกเพื่อการทำงานร่วมทีมแพทย์ เภสัชกร และ พยาบาล ในการดูแลโภชนาการ เรียกง่ายๆว่า ต้อง round ward ร่วมกับทีมแพทย์ วิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับโภชนาการในผู้ป่วยโรคต่างๆและกำหนดอาหารให้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม วิเคราะห์ปัญหาคาบเกี่ยวหรือสหสาขากับโภชนาการผู้ป่วย เช่น การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาและอาหาร และเป็นศูนย์ข้อมูลทางอาหารและโภชนาการในโรงพยาบาล
แนวทางที่ 2 คือ เน้นการสร้างนักวิทยาศาสตร์โภชนาการ ซึ่งจะตั้งอยู่บนศาสตร์ใหม่ คือ ศาสตร์ทางอณูชีววิทยา Molecular Nutrition เช่น Nutrigenomis โภชนพันธุศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จะพลิกโฉมการดูแลสุขภาพของมนุษย์ไปอย่างมาก คล้ายกับการที่คอมพิวเตอร์เปลี่ยนวิถีชีวิตคนในโลกนี้ เดิมเราเน้นรักษา แต่ปัจจุบันและอนาคต เราเน้นป้องกันไม่ให้ป่วย แก้ไขความผิดปกติในพันธุกรรม

 แนวทางทั้งสองที่กล่าวมา คือมีปริญญาเอก Food and Nutrition 3 สาขา สาขาโภชนาการคลินิก สาขาโภชนชีวเคมี และสาขาอาหารและโภชนาการประยุกต์
 
 
CREDIT : รองศาสตราจารย์เภสัชกรหญิงจงจิตร อังคทะวานิช
http://nutritiond.3.forumer.com

PS.  "...ความฝัน ถ้าเราตั้งใจแรงกล้า มันจะต้องเป็นจริง..."

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

BARBQ 10 เม.ย. 53 เวลา 16:47 น. 2

ฮือๆๆๆๆ รู้มั้ยค่ะ สาขานี้อ่ะ อยากเข้าที่สุดดด ใฝ่ฝันมานานมาก
แต่พอดูคะแนนแล้ว มันห่างไกลมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ไม่รู้จะเลือกดีมั้ย เลือกไปก็จะแป๊วซะเปล่า TT~

0
นู๋ออย 24 เม.ย. 53 เวลา 12:54 น. 4

ตอนนี้อยุ ม.6อ่ะค่ะ อยากเรียนม้ากมากค่ะ นู๋ต้องทำงัยบ้างค่ะ ช่วยแนะนำทีนะคะ ขอร้องอย่างแรง&nbsp นู๋สนจัยมั้กมากเรยอ่ะค่ะ อยากเข้า อยากเรียน อยากเข้า อยากเรียนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ช่วยทีพระเจ้า

0
sunita 4 ต.ค. 61 เวลา 00:12 น. 5-1

น้องต้องเลือกก่อนนะคะว่าน้องชอบด้านไหน แล้วลองศึกษาเรื่องมหาลัยคณะสาขาหลักสูตร


ถ้าน้องเลือกเรียนเกี่ยวกับfood sci จะเป็นคณะเทคโนโลยีอาหาร อุตสาหหรรมอาหาร หรือคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ถ้าโภชนาการ ก็จะเปป็นพวกคณะวิทย์ คณะคหกรรม ลองๆศึกษาดูนะ


0
020424 10 ก.ค. 54 เวลา 00:34 น. 8

ไม่มีรับตรงทั่วประเทศหรอคะ

>,,<&nbsp แล้วเราต้องสอบประมานไหน ยังไง ช่วยตอบหน่อยนะ ถ้ารู้ ^^

0
วิศวกรคนที่ 7 หมื่น 18 พ.ค. 55 เวลา 14:44 น. 9
ไปเจอลิ้งพวกนี้มา อย่าบอกว่าละอียดมว๊ากๆๆจ้า

>>> Top 10 คะแนนแอดมิดชั่น ปี 2555

>>> ข้อมูลเงินเดือน ความก้าวหน้า ในสายวิทย์สุขภาพ



http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2495025



0
bbgun 12 มี.ค. 58 เวลา 19:44 น. 10

555+ ผมก็เรียนอยุ่ อาหารและโชนาการและการประยุกต์ ของมศธ อ่ะ หลักสูตร 3ปีครึ่ง
อิอิ ก็ยากอยู่ วิชาวิทย์เยอะมาก และบากกว่า วิทย์ มปลายอีก เหอะๆๆๆ
แต่ก็ยังไม่รู้เลยจบมาจะทำงานอะไร เบื้องต้น คิดแค่ ในโรงแรม กับโรงงน
เพาะบ้านอยุ่ ชลบุรี โรงแรมเยอะโรงงนเยอะ โรงบาลก็มี แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะจบหรือ เปล่า แต่ ก้จะพยามโกรธแล้วนะ

1
เพ็ญนภา ทวีชีพ 29 พ.ค. 58 เวลา 11:21 น. 11

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหารกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
ใช่อันเดียวกันมั้ยค่ะ

1
bbbb 25 มี.ค. 59 เวลา 19:32 น. 11-1

ไม่ใช่ครับ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร ม.มหาสารคาม สาขานี้มันจะกล่ำกลึง โรงงาน กับโรงพยาบาล คือไม่เน้นไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานและ ลดอัตราการตกงานครับ

0
ชเนตตีนาถ 31 ม.ค. 64 เวลา 19:19 น. 13

คือหนูเรียนสายอาชีพอยู่ค่ะ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ อยากจะต่อคณะนี้ เค้ารับมั้ยคะเด็กสายอาชีพ

0